การปรับตัวที่ช้าไป กับความยิ่งใหญ่ที่กลายเป็นอดีตของ MSN Messenger

เริ่มแรกที่เรารู้จัก MSN Messenger นั้นต้องนับย้อนไปตั้งแต่การถือกำเนิดของแพลตฟอร์มนี้ในปี 1999 และ ในภายหลังได้ถูกแปรเปลี่ยนมาเป็น Windows Live Messenger ซึ่งอดีตยักษ์ใหญ่แห่งบริการส่งข้อความถูกปิดฉากบริการไปในวันที่ 31 ตุลาคม 2014 และคุณอาจสงสัยว่ามันเกิดอะไรขึ้น?

MSN Messenger ได้แข่งขันกับยักษ์ใหญ่ด้านการส่งข้อความอื่น ๆ ในยุคบุกเบิก ซึ่งได้แก่ ICQ, AOL AIM และ Yahoo!  

ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1990 และในช่วงกลางของการเปิดตัว Windows 95 ที่ทำให้ Microsoft เผชิญกับความท้าทายครั้งใหญ่ครั้งแรกนั่นคือกระแสความนิยมของอินเทอร์เน็ตในบ้าน 

ยักษ์ใหญ่แห่ง Redmond กำลังจะปล่อยระบบปฏิบัติการใหม่อย่าง Windows 95 และในช่วงไม่กี่เดือนก่อนหน้านั้น Bill Gates ได้ส่งบันทึกให้ทีมผู้บริหารของเขาซึ่งกลายเป็นเอกสารที่มีความหมายมากสำหรับสถานการณ์ของ Microsoft ในขณะนั้น

เอกสารดังกล่าวมีชื่อว่า“ The Tidal Wave” ที่กล่าวถึง ความสำคัญของการพัฒนาอินเทอร์เน็ตสำหรับบริษัทในยุคต่อไป

ใจความสำคัญของเอกสารก็คือ Bill Gates ให้ความสำคัญสูงสุดกับอินเทอร์เน็ต ในบันทึกนี้ Gates ต้องการทำให้ชัดเจนว่าการให้ความสำคัญกับอินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจของ Microsoft ในทุก ๆ ส่วน 

อินเทอร์เน็ตเป็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ IBM เปิดตัวพีซีเครื่องแรกในปี 1981 มันสำคัญยิ่งกว่าการมาถึงของส่วนต่อประสานกราฟิกผู้ใช้ (GUI) เสียอีก

Gates ตกใจกับภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ตที่มีต่อธุรกิจของเขา เขาพิจารณาว่า Microsoft ยังไม่พร้อมสำหรับการมาถึงของอินเทอร์เน็ต และซอฟต์แวร์หลักของ Microsoft ในยุคนั้น ซึ่งก็คือ Internet Explorer และ MSN ยังไม่พร้อมให้บริการ แต่สุดท้ายแล้วพวกเขาก็สามารถผลักดันมันออกมาได้พร้อมกับ Windows 95 ในวันเปิดตัวได้แบบฉิวเฉียด

ในเวลานั้นอินเทอร์เน็ตถูกลดขนาดให้เหมาะกับสิ่งที่บริษัทอย่าง AOL หรือ Microsoft ที่มี MSN เสนอบนพอร์ทัลของพวกเขา การรวม MSN เข้ากับ Windows 95 เป็นการกระทำที่นำปัญหาทางกฎหมายมาสู่ Microsoft เนื่องจากคู่แข่งกล่าวหาว่าเขากำลังผูกขาดตลาดในทางที่ผิด

AOL (America OnLine) เป็นรายแรกที่เปิดตัวบริการ AIM (AOL Instant Messenger) ในปี 1997 ซึ่งทันทีที่ผู้ใช้เริ่มเข้ามาใช้บริการนี้มันก็ดังกระฉูดแทบจะทันที แทบจะทุกบ้านของชาวอเมริกันที่ใช้อินเทอร์เน็ตต้องมีบริการของ AIM

เนื่องจากความนิยมของคู่แข่ง Microsoft จึงเปิดตัว Client การส่งข้อความของตัวเองในปี 1999 MSN Messenger ถือกำเนิดขึ้นเป็นบริการแรกที่มีรายชื่อผู้ติดต่อ และบริการส่งข้อความผ่านออนไลน์

ตั้งแต่ต้น MSN Messenger ต้องการเสนอความเป็นไปได้ในการแชทกับผู้ใช้บริการส่งข้อความอื่น ๆ เช่นกัน ดังนั้นเมื่อมีการเปิดตัว พวกเขาก็ได้ทำให้มันสามารถเข้ากันได้กับเครือข่ายของ AIM ซึ่งทำให้ AOL ไม่ชอบใจเป็นอย่างยิ่ง จึงเป็นที่มาของการเริ่มเปิดสงครามระหว่างบริการทั้งสอง

เมื่อใดก็ตามที่ Microsoft เปิดใช้งานการสื่อสารนี้ AIM จะแก้ไขรหัสเพื่อยืนยันว่าลูกค้าสื่อสารกับลูกค้า AIM ได้เพียงเท่านั้น และ block บริการจากทางฝั่งของ MSN Messenger  ซึ่งในที่สุด Microsoft ได้ละทิ้งในความพยายามที่จะเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ของ AIM

ทุกคนที่เป็นวัยรุ่นในช่วงยุคทองของ MSN Messenger จะจดจำความสำคัญของโปรแกรมนี้ ทันทีที่คุณกลับถึงบ้านคุณจะนั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์แล้วเปิดโปรแกรมแชทกับเพื่อนที่โรงเรียนด้วย “ Messenger” แทนที่การโทรไปยังโทรศัพท์พื้นฐานซึ่ง MSN Messenger นั้นจะให้ความเป็นส่วนตัวมากกว่า

MSN Messenger ที่เป็นที่นิยมสำหรับวัยรุ่นมาก ๆ ในยุคนั้น
MSN Messenger ที่เป็นที่นิยมสำหรับวัยรุ่นมาก ๆ ในยุคนั้น (CR:CNBC)

MSN Messenger เริ่มที่จะรวมฟังก์ชั่นการใช้งานซึ่งเป็นพื้นฐานของเครือข่ายสังคมออนไลน์ ผู้ใช้แต่ละคนมีแถบสถานะที่เขาสามารถแสดงข้อความส่วนตัวได้ มันเป็นต้นแบบสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้ Facebook ประสบความสำเร็จในทุกวันนี้

นอกจากนี้ปุ่มสถานะยังได้รับความนิยมอย่างมากซึ่งคุณสามารถบอกผู้ติดต่อของคุณได้อย่างรวดเร็วว่า คุณว่าง ไม่ว่าง หรือออฟไลน์อยู่ หรือการตั้งค่าให้มองไม่เห็น ดังนั้นไม่มีใครจะรบกวนคุณได้ผ่าน MSN Messenger 

ฟังก์ชั่นนี้ได้รับความนิยมอย่างมากจนมีการสร้างเว็บไซต์ที่อนุญาตให้รู้สถานะของผู้ใช้แต่ละรายหากมีอีเมลของเขาหรือแม้กระทั่งรู้ว่าเพื่อนมีการบล็อกคุณหรือไม่

เมื่อถึงสิ้นปี 2005 MSN Messenger ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น Windows Live Messenger การเติบโตอย่างรวดเร็วของบริการรับส่งข้อความโดยเฉพาะตลาดนอกสหรัฐฯที่ AIM ยังคงเป็นผู้นำ และจีนเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการขยายบริการนี้อย่างรวดเร็วมาก ๆ จนทำให้บริษัท Tencent ตัดสินใจที่จะสร้างบริการส่งข้อความ QQ ของตัวเองออกมา

บริการส่งข้อความมีการแข่งขันกันอย่างดุเดือด : เพื่อให้บริการของตนเองดียิ่งขึ้นแต่ละแพลตฟอร์มจึงมีค่าใช้จ่ายสูงในการบำรุงรักษา แต่ในตอนนั้นมันยังไม่สามารถสร้างรายได้ด้วยตัวเอง และนั่นคือในยุคที่บริการส่งข้อความเป็นเพียงแค่ตัวช่วยให้สมาชิกของบริการอินเทอร์เน็ตภายในพอร์ทัลของพวกเขาเพิ่มมากขึ้นเพียงเท่านั้น ในยุคนั้นพวกเขาไม่ได้มองถึง Business Model รูปแบบอื่น ๆ เหมือนอย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน

Business Model ที่เพียงแค่เพิ่มฐานสมาชิกในเว๊บพอร์ทัลหลักเท่านั้น
Business Model ที่เพียงแค่เพิ่มฐานสมาชิกในเว๊บพอร์ทัลหลักเท่านั้น (CR:AOL)

เมื่อก้าวเข้าสู่เดือนมิถุนายน 2009 MSN Messenger ก้าวขึ้นไปสู่จุดสูงสุดมีผู้ใช้งานถึง 330 ล้านคนต่อเดือน แต่อุตสาหกรรมเทคโนโลยีกำลังก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเมื่อเรากำลังเข้าสู่ยุคสมาร์ทโฟน

แนวคิดเกี่ยวกับเครือข่ายสังคมออนไลน์นั้นกำลังเข้ามากลืนกินเครือข่ายการส่งข้อความ เช่น Windows Live Messenger แน่นอนว่า Facebook ไม่ได้เป็นเครือข่ายโซเชียลมีเดียแห่งแรกที่ทำการเปิดตัว แต่เป็นบริการแรกที่ทำได้ดี และเข้าใจถึงเรื่องเครือข่ายสังคมอย่างแท้จริง

เมื่อเครือข่ายโซเชียลมีเดียของ Mark Zuckerberg คลายข้อจำกัดลงจากเดิมที่ Focus แค่กลุ่มผู้ใช้งานมหาลัยหลังจากเปิดให้ใช้งานกับกลุ่มผู้ใช้อื่น ๆ แบบอิสระมากขึ้น ก็ทำให้ผู้ใช้ส่วนใหญ่เริ่มที่จะหนีออกจาก MSN Messenger มากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่แท้จริงอย่าง Facebook 

แต่สิ่งที่ทำให้ Windows Live Messenger ต้องจบชะตากรรมไป คือ การเกิดขึ้นของสมาร์ทโฟน แม้ว่า Microsoft จะไม่พลาดในคลื่นลูกใหม่นี้ และพยายามผลักดัน Windows Live Messenger ไปในทุก ๆ แพล็ตฟอร์มในยุคนั้นไม่ว่าจะเป็น BlackBerry OS, Xbox 360, iOS, Java ME, Symbian หรือแม้แต่เครื่องเล่น mp3 Zune HD ของ Microsoft เอง แต่ดูเหมือนมันไม่ได้ช่วยอะไรมากนัก

คู่แข่งอย่าง BlackBerry Messenger กลายเป็นผู้บุกเบิกในการส่งข้อความมือถือ แต่มันเป็นเช่นนั้นได้เพียงไม่นาน จนกระทั่งการปรากฏตัวขึ้นของ iPhone ในเดือนมกราคม 2007 การเปิดตัว App Store ในปี 2008 และความนิยมของ Android จากปี 2010 ทำให้ Windows Live Messenger ได้รับผลกระทบอย่างหนักมาก ๆ

Blackberry Messenger ที่กลายเป็นบริการยอดฮิตแรกในยุคของสมา์ทโฟน
Blackberry Messenger ที่กลายเป็นบริการยอดฮิตแรกในยุคของสมา์ทโฟน (CR:TechCrunch)

การล่มสลายของ Messenger สามารถตีความได้ว่าเป็นตัวบ่งชี้ถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นภายหลังในตลาดพีซี 

เมื่อสถานการณ์ตลาดพีซีในขณะนั้นยอดขายกำลังลดลงอย่างต่อเนื่อง เพราะฉะนั้นการล่มสลายของ Windows Live Messenger เป็นเหมือนสัญญาณเตือน ที่กำลังบ่งชี้ว่าสมาร์ทโฟนกำลังจะกลายเป็นอุปกรณ์ที่สมบูรณ์แบบเพื่อแทนที่การส่งข้อความแบบเดิม ๆ ผ่านพีซี นั่นเอง

สมาร์ทโฟนถือเป็นการปฏิวัติชนิดหนึ่ง มีบริษัทใหม่ ๆ ที่เริ่มสร้างบริการส่งข้อความบนแพล็ตฟอร์ม สมาร์ทโฟน ไม่วาจะเป็น  WhatsApp, Telegram, Facebook Messenger, Line, WeChat และดูเหมือนว่าพวกเขาก็เข้าใจ Ecosystem ใน สมาร์ทโฟนได้ดีกว่าที่ Microsoft สามารถเข้าใจได้ในยุคนั้น

Windows Live Messenger ไม่สามารถกู้คืนสถานการณ์ที่ตกต่ำลงอย่างต่อเนื่องของยุค Post-PC และในท้ายที่สุด ในช่วงปลายปี 2012 Microsoft ประกาศการรวมบริการ Windows Live Messenger เข้ากับ Skype และในช่วงสิ้นปี 2013 ถือเป็นเป็นการปิดฉากอดีตที่ยิ่งใหญ่ของ Windows Live Messenger ไปในท้ายที่สุด

ต้องบอกว่าถือเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่น่าสนใจของการไม่สามารถปรับตัวได้ เมื่อธุรกิจถูก Disrupt ซึ่งในยุคนั้นก็คือการเปลี่ยนผ่านจากยุค PC ไปยังยุคของสมาร์ทโฟนที่ดูเหมือน Microsoft นั้นจะปรับตัวช้าเกินไป ทั้งที่บริการอย่าง Windows Live Messenger มีผู้ใช้งานสูงสุดถึงกว่า 300 ล้านคนในยุคนั้น

ซึ่งตัวอย่างดังกล่าว มันแสดงให้เห็นว่า ถึงแม้จะเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่แค่ไหนมีเงินมากมายขนาดไหน แต่ในยุค Disruption นั้น การเคลื่อนตัวที่ช้าอาจจะส่งผลให้ธุรกิจถึงคราวล่มสลายได้ภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่ปีเลยทีเดียว เหมือนอย่างที่เราได้เห็นบทเรียนจาก MSN Messenger ในบทความนี้นั่นเองครับผม

References : https://pandorafms.com/blog/what-happened-with-msn-messenger/
https://www.msnmessenger-download.com/rise-and-fall-msn-messenger
https://www.theverge.com/2014/8/29/6082199/msn-messenger-shutting-down-15-years-history
https://community.plus.net/t5/Plusnet-Blogs/The-Rise-and-Demise-of-MSN-Messenger/ba-p/1322022

Smartphone War ตอนที่ 1 : Phone & Microsoft

Nokia ถือเป็นผู้บุกเบิกตัวจริงของแนวความคิดเกี่ยวกับ Smartphone ซึ่งคือการสร้างโทรศัพท์มือถือ ที่ทำได้มากกว่าแค่การโทรศัพท์ ซึ่ง แน่นอนว่าต้องทำงานได้เหมือนกับคอมพิวเตอร์แบบมือถือ ที่สามารถทำงานด้วยโปรแกรมของตัวเองได้ และใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด เนื่องจากต้องมีการพกพาอยู่ตลอดเวลา

Nokia ได้เริ่มสร้าง ระบบปฏิบัติการของตัวเอง และ สามารถทำให้ มือถือสามารถท่องเว๊บ และจัดการ Email สำหรับเหล่านักธุรกิจได้ ซึ่ง Nokia ได้ผลิตรุ่นแรกที่เป็น Smartphone ออกมาจริง  ๆ ก็คือรุ่น Nokia Communicator ที่ปล่อยออกมาในช่วงปี 1996 และเพียงแค่ปีเดียวเท่านั้น เนื่องจากยังไม่มีใครเข้ามาแข่งขันในตลาดนี้ ถือว่าเป็นตลาดใหม่ที่ใน ปี 1997 Nokia สามารถขาย Smartphone ไปได้กว่า 80 ล้านเครื่องทั่วโลก เพียงแค่ปีแรกที่ได้ผลิต Smartphone ออกมาเท่านั้น

Nokia Communicator กับการเป็น Smartphone เครื่องแรกของโลก
Nokia Communicator กับการเป็น Smartphone เครื่องแรกของโลก

และเพียงไม่นาน Nokia ก็เจอคู่แข่งรายแรก ซึ่งก็คือ Palm ซึ่งเริ่มต้นจากการผลิตคอมพิวเตอร์มือถือก่อน แล้วค่อยทำการใส่ฟังก์ชั่นของการโทรศัพท์เข้าไป ซึ่งถือว่าเป็นการเริ่มต้นคนละแบบกับ Nokia อย่างสิ้นเชิงเลยก็ว่าได้

แต่ปัญหาใหญ่ของ Plam ก็คือ การมีระบบปฏิบัติการที่ค่อนข้างล้าสมัยมาก ส่วนใหญ่จะทำงานได้ดีกับ PDA ที่ไม่มีฟังก์ชั่นการโทรศัพท์มากกว่า เพราะ Palm ถนัดในเรื่องนี้มากกว่านั่นเอง ซึ่งทำให้ ปี 2004 ผู้บริหารของ Palm เริ่มคิดถึงอนาคตว่า Palm คงก้าวต่อไปข้างหน้าไม่ได้ ต้องมีการหา Partner โดยด่วน

ซึ่ง Palm นั้นได้สร้างแนวคิดแรกของเครื่อง PDA ที่เปรียบเสมือคอมพิวเตอร์แบบพกพาขนาดเล็กมากกว่า และด้วยการที่ตลาดของ PDA ที่เริ่มหดตัวลงเรื่อย ๆ โทรศัพท์มือถือต่างเริ่มใส่ Features ต่าง ๆ เช่น ปฏิทิน และ แม้แต่การเช็ค Email เข้าไป มันทำให้อนาคตของ PDA นั้นเริ่มมืดมนลงไปทุกทีด้วยนั่นเอง

Palm ที่ในขณะนั้น สร้าง PDA ออกมาขายดิบขายดี
Palm ที่ในขณะนั้น สร้าง PDA ออกมาขายดิบขายดี

และนี่เองก็เป็นที่มาของการเข้ามาร่วมมือกันระหว่าง Palm และ Microsoft ในปี 2005 ซึ่งแน่นอนว่าสำหรับบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Microsoft นั้นการได้ Palm เข้ามาร่วมมือ ถือเป็นหลักชัยครั้งยิ่งใหญ่ของบริษัท ในการที่จะเป็นผู้กำชัยในตลาดมือถือนั่นเอง

ซึ่ง Microsoft ได้มีการออกระบบปฏิบัติการ Windows Mobile มาก่อนหน้านั้นแล้ว แต่ถือว่ายังไม่สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เนื่องจาก Microsoft นั้นไม่ถนัดได้ตลาดมือถือ หรือ อุปกรณ์พกพา เพราะตัว Windows หลักเองก็ใช้งานกับ PC ที่มีประสิทธิภาพสูงซะเป็นส่วนใหญ่นั่นเอง

ซึ่งการร่วมมือกันครั้งนี้ Palm ได้รับการอนุญาติให้มีการปรับแต่ง Interface กับ Features บางอย่างของ Windows Mobile ได้ เช่น การไม่ต้องรับสายที่เข้ามาแทนการส่งข้อความไปหาคนที่โทรเข้า หรือ ฟังก์ชั่นในการจัดการ Voicemail ให้ง่ายขึ้นเป็นต้น

ซึ่งเหล่าผู้บริหารของ Palm นั้นหันมา Focus ใหม่กับ Windows Mobile ของ Microsoft แทนการพัฒนาระบบปฏิบัติการด้วยตัวเองเหมือนเดิม รวมถึง ไม่สนใจที่จะใช้ระบบปฏิบัติการ Symbian ที่เป็น Open Source แต่มี Nokia เป็นพี่ใหญ่ในการหนุนหลังอยู่

ซึ่งแน่นอน ถือว่าเป็นการเดินเกมที่ถูกต้องอย่างยิ่งสำหรับทั้ง Palm และ Microsoft ในการร่วมมือกันครั้งนี้ เพราะเป็นการผสมผสานที่ลงตัวระหว่างความถนัดของทั้งสอง เพื่อพัฒนาระบบปฏิบัติการ รวมถึง Features ที่ให้ประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน Windows Mobile นั่นเอง

ซึ่งในขณะนั้น ถือเป็นยุครุ่งเรืองสุดขีดของความร่วมมือระหว่างทั้งสอง เพราะ ระบบปฏิบัติการ Windows Mobile กลายเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็ว และ เหล่านักธุรกิจต่าง ๆ นั้นก็เลือกใช้ Windows Mobile เสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งแตกต่างจากผู้ใช้งานทั่วไปที่จะใช้ มือถือของ Nokia 

และที่สำคัญที่สุดก็คือ Ecosystem ของ Windows Mobile นั้นกำลังแจ้งเกิดอย่างสวยงาม เพราะมีเหล่านักพัฒนา Software บนมือถือ มากกว่า 10,000 รายที่กำลังร่วมกันเขียน Application ที่จะใช้กับ Windows Mobile ซึ่งเป็นจุดที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้สำหรับระบบปฏิบัติการมือถือที่จะแจ้งเกิดได้ เหมือนกับที่เราเห็นกับ iOS หรือ Android ในปัจจุบัน ที่เมื่อสามารถจูงใจนักพัฒนาได้นั้น ก็สามารถทำให้ ผู้คนหันมาใช้งาน เพราะคนส่วนใหญ่เลือกใช้งานตาม Application ที่มีในระบบปฏิบัติการเป็นหลักนั่นเอง

ซึ่ง ณ ปี 2006 Microsoft Windows Mobile นั้นถือได้ว่าอยู่จุดสูงสุดของ Ecosystem ของ ระบบปฏิบัติการมือถือ กำลังที่จะกลายเป็นระบบปฏิบัติการมือถือ ที่คนใช้งานทั่วโลกได้ เหมือนที่ Microsoft สามารถทำได้กับ Windows on PC ซึ่งตอนนั้น ถือได้ว่าได้นำหน้าทั้ง Symbian ของ Nokia หรือน้องใหม่อย่าง RIM ผู้ผลิต Blackberry จากแคนาดา

แล้วมันเกิดอะไรขึ้น Microsoft ที่ควรจะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในระบบปฏบัติการของ Smartphone ทั่วโลก และในตอนนั้นมี Partner ที่สำคัญอย่าง Palm เข้ามาเสริมทัพ กลับกลายเป็น ต้อง สูญหายไปจากระบบปฏิบัติการมือถือโลกอย่างที่เราได้เห็นในทุกวันนี้ โปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 2 : Android & Google

คุณกำลังถูกสวมเขา! ภัยร้ายใหม่จากคนเสพติดมือถือ

เทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตของเราไม่ว่าจะเป็นวิธีการอ่านการทำงานการสื่อสารการจับจ่าย หรือ วิถีชีวิตอื่น ๆ ประจำวันของมนุษย์เรา

สิ่งที่เรายังไม่เข้าใจคือวิธีที่มืถือข้างหน้าเรากำลังทำโครงกระดูกของเราใหม่ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เราแสดงออกมา 

การวิจัยใหม่ในชีวกลศาสตร์แสดงให้เห็นว่าคนหนุ่มสาวสร้างสิ่งที่เหมือนเขาที่ด้านหลังของกะโหลกศีรษะ – กระดูกเดือยเกิดจากการเอียงไปข้างหน้าของศีรษะซึ่งเปลี่ยนน้ำหนักจากกระดูกสันหลังไปยังกล้ามเนื้อที่ด้านหลังของศีรษะ เอ็นที่เชื่อมต่อ  การถ่ายโอนน้ำหนักที่ทำให้เกิดการสะสมนั้นสามารถนำมาเปรียบเทียบกับวิธีที่ผิวหนังหนาขึ้นเป็นแคลลัสเพื่อตอบสนองต่อแรงกดหรือการเสียดสี

ผลที่ได้คือคุณสมบัติตะขอหรือ hornlike ยื่นออกมาจากกะโหลกศีรษะเหนือคอ

ในเอกสารวิชาการนักวิจัยคู่หนึ่งที่มหาวิทยาลัยชายฝั่งซันไชน์ในรัฐควีนส์แลนด์ออสเตรเลียระบุว่าการเกิดขึ้นจำนวนมากของการเจริญเติบโตของกระดูกในวัยเด็กชี้ให้เห็นว่าท่าทางการขยับของร่างกาย ที่สาเหตุเกิดจากการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย พวกเขากล่าวว่าสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์พกพาอื่น ๆ กำลังเปลี่ยนแปลงรูปร่างของมนุษย์ทำให้ผู้ใช้ต้องก้มศีรษะไปข้างหน้าเพื่อให้เข้าใจถึงสิ่งที่เกิดขึ้นบนหน้าจอขนาดเล็ก

นักวิจัยกล่าวว่าการค้นพบของพวกเขาเป็นเอกสารแรกของการปรับตัวทางสรีรวิทยาหรือโครงกระดูกเพื่อตอบสนองต่อการรุกของเทคโนโลยีขั้นสูงที่กำลังเข้ามามีบทบาทอย่างมากในชีวิตประจำวัน

ตั้งแต่นั้นมาการก่อตัวที่ผิดปกติได้ดึงดูดความสนใจของสื่อออสเตรเลียและได้รับการขนานนามว่า “หัวเขา” หรือ “กระดูกโทรศัพท์” 

แต่ละคำอธิบายที่เหมาะสมเดวิด Shahar ผู้เขียนคนแรกของผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกที่เพิ่งจบปริญญาเอกสาขาชีวกลศาสตร์ที่ชายฝั่งซันไชน์กล่าว

“ นั่นขึ้นอยู่กับจินตนาการของทุกคน” เขาบอกกับเดอะวอชิงตันโพสต์ “ คุณอาจบอกว่ามันดูเหมือนจะงอยปากนก”

พฤติกรรมการเสพมือถือ กำลังสร้างความเปลี่ยนแปลงทางสรีระ
พฤติกรรมการเสพมือถือ กำลังสร้างความเปลี่ยนแปลงทางสรีระ

อย่างไรก็ตามมันถูกกำหนดไว้ Shahar กล่าวว่าการก่อตัวเป็นสัญญาณของความผิดปกติอย่างร้ายแรงในท่าทางที่สามารถทำให้เกิดอาการปวดหัวและปวดเรื้อรังที่หลังส่วนบนและคอ

ส่วนหนึ่งของสิ่งที่โดดเด่นเกี่ยวกับการค้นพบของพวกเขาคือขนาดของกระดูกเดือยซึ่งเชื่อว่ามีขนาดใหญ่ถ้าวัดความยาว 3 หรือ 5 มิลลิเมตร 

ซึ่งตรงกันข้ามกับความเข้าใจทั่วไปของโครงสร้างที่คล้ายเดือยดังกล่าวนี้ ซึ่งได้รับการคิดว่าจะเกิดขึ้นยากและส่วนใหญ่จะพบในหมู่ผู้สูงอายุที่ทุกข์ทรมานจากความเครียดเป็นเวลานาน Shahar สังเกตเห็นว่าลักษณะดังกล่าวนั้นจะปรากฏเด่นชัดในฟิล์ม X-Ray ของอาสาสมัครอายุน้อยรวมถึงผู้ที่ไม่แสดงอาการที่ชัดเจน

รายงานฉบับแรกของทั้งคู่ที่ตีพิมพ์ในวารสารกายวิภาคศาสตร์ในปี 2016 ได้รับตัวอย่างฟิล์ม X-Ray จำนวน 218 ตัวอย่าง ในช่วงอายุ 18 ถึง 30 เพื่อชี้ให้เห็นว่าการเจริญเติบโตของกระดูกสามารถสังเกตได้ในร้อยละ 41 ของผู้ใหญ่วัยหนุ่มสาว ซึ่งคุณลักษณะนี้จะพบในหมู่ผู้ชายมากกว่าในหมู่ผู้หญิง

บทความอื่นที่ตีพิมพ์ในชีวกลศาสตร์คลินิกในฤดูใบไม้ผลิปี 2018 ใช้กรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องกับวัยรุ่นสี่คนยืนยันว่าเขาไม่ได้เกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมหรือการอักเสบชี้ไปที่ภาระเชิงกลของกล้ามเนื้อในกะโหลกศีรษะและคอ

“ การก่อตัวเหล่านี้ใช้เวลานานในการพัฒนาซึ่งหมายความว่าบุคคลเหล่านั้นที่ทุกข์ทรมานจากพวกเขาอาจได้รับการสร้างเดือยดังกล่าวตั้งแต่วัยเด็ก” Shahar อธิบาย

“ สิ่งที่เราต้องการคือกลไกการรับมือที่สะท้อนถึงความสำคัญของเทคโนโลยีที่กำลังมีบทบาทในชีวิตของเรา” เขากล่าว

References : 
https://www.washingtonpost.com/nation/2019/06/20/horns-are-growing-young-peoples-skulls-phone-use-is-blame-research-suggests/

ติดตาม ด.ดล Blog เพิ่มเติมได้ที่
Fanpage :facebook.com/tharadhol.blog
Blockdit :blockdit.com/tharadhol.blog
Twitter :twitter.com/tharadhol
Instragram :instragram.com/tharadhol


TikTok Startup อันดับ 1 ของโลกเตรียมสร้างมือถือ

ByteDance บริษัท ที่อยู่เบื้องหลังแอปวิดีโอ TikTok กำลังสร้างสมาร์ทโฟนของตัวเองเช่นกัน ตามสองแหล่งข่าวใน สื่อดังอย่าง Financial Times ที่รายงานว่าโทรศัพท์จะมาพร้อมกับแอปหลายตัวของ ByteDance 

Financial Times กล่าวว่าซีอีโอ ByteDance Zhang Yiming มีความฝัน ในการสร้างมาร์ทโฟนเต็มรูปแบบเพื่อรองรับแอพพลิเคชั่นของ ByteDance บริษัทซึ่งมีฐานอยู่ในปักกิ่งยืนยันข้อตกลงกับผู้ผลิตโทรศัพท์ Smartisan เมื่อต้นปีที่ผ่านมาโดยกล่าวว่า บริษัท ได้รับสิทธิบัตรและว่าจ้างพนักงานของ Smartisan บางคน ByteDance อ้างว่าสิ่งนี้จะช่วยให้“ สำรวจความเป็นไปได้ของธุรกิจมือถือ” 

รายงานดังกล่าวไม่ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการออกแบบโทรศัพท์หรือตลาดที่ตั้งใจไว้แม้ว่าจะแสดงให้เห็นว่า ByteDance อาจถูกขัดขวางจากรัฐบาลสหรัฐที่มีต่อ บริษัท โทรคมนาคมจีน ByteDance เผชิญกับปัญหาในอินเดียซึ่ง TikTok ได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม แต่รัฐบาลสั่งห้ามในช่วงสั้น ๆ เพราะมีปัญหาในเรื่องการสร้างความเสื่อมโทรมทางวัฒนธรรมที่ไม่ดีให้กับวัยรุ่นชาวอินเดีย

TikTok ถูกแบนชั่วคราวในอินเดีย
TikTok ถูกแบนชั่วคราวในอินเดีย

โดยรวมแล้วรายงานของ FT ก็เกิดข้อสงสัยอย่างมากเกี่ยวกับโอกาสของธุรกิจโทรศัพท์ พวกขาตั้งข้อสังเกตว่า Facebook และ Amazon ได้เปิดตัวโทรศัพท์พร้อมกับแอปพิเศษ แต่ทั้งสอง บริษัท ก็ไม่สามารถแจ้งเกิดในธุรกิจมือถือได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของ Facebook ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดแอพที่พวกเขาต้องการบนโทรศัพท์ได้เหมือนมือถืออื่น ๆ แต่ก็ไม่สามารถดึงดูผู้ใช้ได้

ByteDance อาจต้องเผชิญความท้าทายแบบนี้เช่นเดียวกัน ซึ่งมือถือหลาย ๆ แบรนด์ในจีน เช่น Meitu ก็ประสบความสำเร็จในธุรกิจสมาร์ทโฟนได้เช่นเดียวกับ Xiami ที่ผู้ใช้ติดการใช้งาน MIUI ที่มีความลื่นเป็นพิเศษ เมื่อเทียบกับ มือถือ Android อื่น ๆ 

References : 
https://www.theverge.com/2019/5/27/18641295/bytedance-tiktok-owner-reportedly-building-smartphone-smartisan-patents