Geek Daily EP177 : จุดเปลี่ยนบริษัท Big Tech จีน กับการสยายปีกเตรียมบุกตลาดทั่วโลก

การปราบปรามทางเทคโนโลยีของรัฐบาลจีนและการขับเคลื่อนนโยบาย “ความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน” มุ่งเป้าไปที่ผู้มีอิทธิพลทางธุรกิจของประเทศ ทำให้ความเชื่อมั่นในตลาดบ้านเกิดของพวกเขาลดลง ผู้ประกอบการจีนเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงทั้งในประเทศและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ไม่แน่นอน ดังนั้นหลายๆ คนกำลังมองหาโอกาสในต่างประเทศ

ความสำเร็จที่เพิ่มขึ้นของกลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมชั้นนำของจีนในตลาดโลก เช่น แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ Shein และ Temu กำลังเข้ามาตีตลาดสหรัฐฯ ได้อย่างรวดเร็ว ด้วยเดรส 7 ดอลลาร์และกระเป๋าเป้ราคา 3 ดอลลาร์ที่มาจากโรงงานในแผ่นดินใหญ่ TikTok กำลังครองใจผู้ใช้ทั่วโลก 1 พันล้านคนและมีแนวโน้มเติบโตมากขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะที่ยอดขายโดยผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า เช่น BYD กำลังผลักดันให้จีนขึ้นสู่อันดับต้น ๆ ของการส่งออกรถยนต์ทั่วโลก

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3MEi0yl

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://bit.ly/3Isnb1Z

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://bit.ly/3WwwzaV

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://bit.ly/3MBYGSz

🎧 ฟังผ่าน Youtube : 
https://youtu.be/hJKaUhcNVfk

1% ของเราไม่เท่ากัน กับการคิดค่าธรรมเนียมการขายของ Shopee ที่สั่นสะเทือนวงการ Ecommerce ไทยอีกครั้ง

ต้องเรียกได้ว่าเป็นประกาศครั้งใหม่อีกครั้งในรอบไม่กี่เดือน ที่สั่นสะเทือนวงการค้าขายออนไลน์บนแพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่อย่าง Shopee สำหรับการการประกาศเก็บค่าธรรมเนียมการขาย 1% สำหรับที่ไม่ใช่กลุ่มใน Shopee Mall (ผู้ขายทั่วไป)

ต้องบอกว่าการประกาศเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในครั้งนี้ถือว่ามีความน่าสนใจนะครับ เพราะปรกติ Shopee จะไม่เก็บค่าธรรมเนียมในการขายมาก่อน การปรับรอบก่อนหน้านี้ เป็นเรื่องของค่าธรรมเนียมการชำระเงินทีผู้ขายต้องมีการจ่ายอยู่แล้ว 3%

แม้ตัวเลขเฉลี่ยมันจะเป็นตัวเลขเพียงเล็กน้อยที่ราว ๆ 1% เพียงเท่านั้น แต่การปรับครั้งนี้ ถือว่าส่งผลกระทบต่อพ่อค้าแม่ค้าที่ขายอยู่ในแพลตฟอร์มพอสมควรเลยทีเดียว

ต้องเข้าใจก่อนว่า Shopee นั้นกลุ่มลูกค้า ค่อนข้างที่จะแตกต่างจาก Lazada อย่างชัดเจน ใครเข้ามา Shopee แน่นอนว่าต้องการสินค้าถูกที่สุดเป็นส่วนใหญ่ เพราะระบบได้ออกแบบแพลตฟอร์มมาให้เป็นแบบนี้

ทั้งเรื่อง User Experience ที่มีการเปรียบเทียบราคาอยู่ตลอดเวลา แม้กระทั่งตอนลูกค้าตัดสินใจที่จะจ่ายเงิน ยังมีสินค้ามาให้เปรียบเทียบอยู่เสมอ ทำให้เป็นแพลตฟอร์มที่มีโอกาสสูงที่ใครถูกกว่า ก็มักจะมีโอกาสขายได้มากกว่า

เอาจริง ๆ ตรงนี้ค่อนข้างต่างจาก Lazada ที่จะไม่ค่อยเห็นการเปรียบเทียบราคาในทุก ๆ ขั้นตอนของการซื้อแบบ Shopee ทำให้ผมมองว่า ลูกค้าส่วนใหญ่ของ Shopee มักจะเน้นที่ของถูกที่สุดเป็นหลัก

เมื่อแบรนด์ยักษ์ใหญ่เริ่มหนีไปสร้างช่องทางการขายของตนเอง

ถ้าใครสังเกต เราจะเห็นได้ว่าช่วงนี้แบรนด์หลายแบรนด์ยักษ์ใหญ่ เริ่มโปรโมตช่องทางการขายของแพลตฟอร์มตัวเองหรือเว็บไซต์ของตัวเอง แทนที่จะพึ่งพา marketplace เป็นช่องทางหลักเหมือนเมื่อก่อน

ซึ่งเมื่อเราได้เห็นเทรนด์ที่ชัดเจน เรื่องการเก็บค่าธรรมเนียมต่าง ๆ เพิ่มขึ้น มันก็เป็นสัญญาณชัดเจนว่า ในอนาคต อะไรก็เกิดขึ้นได้ อาจจะขึ้นไปถึง 5% 10% ก็ได้ใครจะไปรู้ ซึ่งคล้ายกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับแพลตฟอร์ม Ecommerce ของจีน

เราจะเห็นได้ว่าพวกเขามีการสร้าง Ecosystem ที่ทำการชักจูงพฤติกรรมผู้บริโภคโดยใช้เงินทุนมหาศาลในการ ลด แลก แจก แถม แจกโปรโมชั่นกันอย่างบ้าคลั่ง ซึ่งเป็นเงินที่ระดมทุนมาแทบจะทั้งสิ้น ซึ่งเห็นได้จากตัวเลขการขาดทุนมหาศาลมาหลายปีแล้วของแพลตฟอร์มต่าง ๆ เหล่านี้

เพราะฉะนั้น สิ่งที่พ่อค้าแม่ค้า โดยเฉพาะเหล่าพ่อค้าคนกลางทั้งหลาย ควรทำกับแพลตฟอร์มเหล่านี้ คือ รีบโกยมาให้มากที่สุด ให้เร็วที่สุด และควรหาทางเลือกสำรองไว้ ที่เราสามารถ control ทุกอย่างได้บ้าง ตัวอย่างเช่น การสร้างเว๊บไซต์ของตัวเองขึ้นมาแทน เพราะยังไงหากเป็นบ้านของตัวเองก็ไม่มีใครสามารถมาเปลี่ยนอะไรเราได้อยู่แล้ว

แล้วเปลี่ยนมุมมองกับพวกแพลตฟอร์ม ต่าง ๆ เหล่านี้ ที่เรากำลังพึ่งพานั้นเป็นเพียงช่องทางหนึ่งในการขายเพียงเท่านั้น อย่ามองเป็นช่องทางทำรายได้หลักเด็ดขาด เพราะวันนึงพวกเขาจะเปลี่ยนนโยบายอะไรก็ได้ เราไม่สามารถที่จะ control อะไรได้เลย

ตัวอย่างมีให้เห็นมากมายแล้วที่อยู่ดี ๆ ก็เปลี่ยน policy ต่าง ๆ มากมาย ซึ่งสุดท้ายเราก็อยู่ไม่ได้ อย่างเช่นในแพลตฟอร์ม ใหญ่ ๆ หลายแห่งที่เคยทำมาก่อนหน้านี้ เช่น Facebook ที่ปรับการเข้าถึง รวมถึงค่าโฆษณาที่แพงขึ้นอย่างมหาศาล

ซึ่งตอนนี้ในตลาด Marketplace มันก็ได้ส่งสัญญาณชัดเจนแล้วว่า มันถึงเวลาที่พวกเขาต้องกอบโกยเงินกลับ หลังจากที่ได้ถลุงเงินไปจำนวนมหาศาลเป็นเวลานานมากแล้วนั่นเองครับผม

11.11 กับคลื่นวัฒนธรรมช็อปปิ้งใหม่จากจีนที่กำลังกลืนกินพฤติกรรมคนไทย

ต้องบอกว่าเป็นกระแสที่มาแรงมาก ๆ กับมหกรรมช็อปปิ้ง 11.11 วันคนโสดจีน ที่กำลังกลายมาเป็นวัฒนธรรมใหม่ของการช็อปปิ้งในประเทศไทย ที่ตอนนี้ยอดขายในเทศกาลดังกล่าวกำลังเติบโตแบบต่อเนื่องในทุก ๆ ปี

ซึ่งแน่นอนว่า มันมีทั้งทีส่งผลดี และส่งผลกระทบต่อพ่อค้าแม่ค้าชาวไทย หลังจากการบุกเข้ามาอย่างหนักของสินค้าจีน และ พ่อค้าแม่ค้าชาวจีน ที่แห่กันมาเปิดร้านในแพล็ตฟอร์มเหล่านี้เป็นว่าเล่น

รวมถึงการที่รัฐบาลไทยได้ส่งเสริมนโยบายด้วยการ ให้ผู้ประกอบการใหญ่จากจีน มาจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าขึ้นในไทย ซึ่งกำลังส่งผลกระทบมาก ๆ ต่อพ่อค้าแม่ค้าชาวไทยในขณะนี้

แน่นอนว่าการเกิดขึ้นของกิจกรรม เทศกาลต่าง ๆ เหล่านี้ ล้วนเป็นผลดีต่อผู้บริโภคชาวไทย ที่ได้ใช้สินค้าราคาถูกมาก ๆ ซึ่งถูกจนเหลือเชื่อในสินค้าบางรายการ ที่เรียกได้ว่าเป็นการ สปอยล์ ผู้ใช้งานชาวไทย ด้วยการลดราคาแบบกระหน่ำ โดยแบกรับภาระต่าง ๆ ด้วยตัวของแพล็ตฟอร์มเอง

ซึ่งเราจะได้เห็นถึงผลประกอบการอย่างที่รู้ ๆ กันว่า พวกเขายิ่งโต ก็ยิ่งขาดทุน และขาดทุนเพิ่มขึ้นจำนวนมหาศาล ผ่านการอัดฉีดเม็ดเงินในการโฆษณา และ จัดแคมเปญ อย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างนิสัยใหม่ให้คนไทยมาซื้อสินค้าผ่าน แพล็ตฟอร์มออนไลน์ของพวกเขา เหมือนที่ทำสำเร็จในประเทศจีนมาแล้วนั่นเอง

และสินค้าจากประเทศจีน ซึ่งเป็นประเทศที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็น โรงงานผลิตสินค้าของโลก​ ไปแล้ว ก่อนหน้านี้ หลายธุรกิจทั่วโลกต่างพากันสั่งสินค้าจากจีนมาขายในประเทศของตน แล้วเพิ่มกำไรเข้าไป และทำกำไรได้อย่างมหาศาล

แต่ตอนนี้พ่อค้าแม่ค้าที่ไปนำสินค้าจากจีนมาขาย กำลังจะค่อยๆ หายไป เพราะตอนนี้ หลายๆ ธุรกิจและผู้ผลิตของจีน ได้เริ่มรุกคืบ เปิดตลาดการค้าของตน ขายตรงไปยังผู้บริโภคทั่วโลกผ่านทางแพล็ตฟอร์มออนไลน์เหล่านี้ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งดีลเลอร์หรือพ่อค้าคนกลางอีกต่อไป

หรือแม้กระทั่งยังส่งผลกระทบไปยังธุรกิจ Retail เองก็ตาม โดยเฉพาะในสินค้าบางหมวดหมู่ที่ตอนนี้ พฤติกรรมของผู้ซื้อได้เปลี่ยนไป เราเพียงแค่ไปจับ ไปทดลองในห้าง แล้วมาสั่งซื้อสินค้าจริง ๆ ผ่าน online โดยเฉพาะหมวดสินค้า Gadgets IT หรือ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ตอนนี้มาลดกระหน่ำบนแพล็ตฟอร์มออนไลน์ที่มีต้นทุนในการบริหารสินค้าที่ถูกกว่าร้านค้า Retail ที่เป็น physical จริง ๆ

และที่น่าสนใจ ผมเป็นคนหนึ่งที่เข้าไป join group ที่เป็นกลุ่มพ่อค้าในแพล็ตฟอร์มต่าง ๆ เหล่านี้ พบว่าตอนนี้แพล็ตฟอร์มเหล่านี้ เริ่มบีบพ่อค้าต่าง ๆ ในแพล็ตฟอร์มมากขึ้น เพื่อดึงเงินคืนเข้าสู่ระบบ ไม่ว่าจะเป็นการบังคับเข้าร่วม โปรโมชั่นต่าง ๆ เช่น ส่งฟรี ซึ่งเป็นการผลักภาระไปให้กับพ่อค้าที่กำไรแทบจะน้อยนิดอยู่แล้ว หรือ การเริ่มลดการมองเห็นสินค้า เพื่อให้ต้องมีการลงโฆษณากับแพล็ตฟอร์มเพิ่มมากขึ้น

ซึ่งเราจะเห็นบทเรียนจากช่วงก่อนหน้านี้ที่กระแส Social Commerce มาแรงนั้น Facebook ก็ได้ทำในลักษณะเดียวกัน คือการลด Reach และ บีบให้พ่อแม่ค้ามาลงโฆษณา ที่ดูเหมือนต้นทุนค่าโฆษณาจะแพงขึ้นเรื่อย ๆ จนแทบจะไม่เหลือกำไรให้อยู่รอดกันอีกต่อไปแล้ว สำหรับพ่อค้าหลาย ๆ รายที่พึ่งพา facebook เป็นแพล็ตฟอร์มหลัก

ซึ่งในระยะยาว นั้นต้องบอกว่า แพล็ตฟอร์มเหล่านี้ เหล่าพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ต่าง ๆ ต้องมองเป็นหนึ่งในช่องทางการขายเพียงเท่านั้น ไม่ใช่ช่องทางการขายหลัก ต้องกระจายความเสี่ยงออกไปในหลาย ๆ ทางเพิ่มมากขึ้น และหาพยายามสร้างเว๊บไซต์ของตัวเองเพื่อให้เป็นฐานหลักที่เราสามารถ control ทุกอย่างได้โดยไม่ต้องรอลุ้นว่าใครจะปรับอะไรของเราได้ในอนาคตนั่นเองครับ

Zero to Hero บทเรียนกลยุทธ์ด้านการตลาดออนไลน์ของ Shopback

ในช่วงแรกของการสร้างธุรกิจ โดยเฉพาะ Startup ส่วนใหญ่มักจะเกี่ยวข้องกับวิธีในการค้นหาผู้ใช้งานก่อน และรับฟังความคิดเห็นเพื่อแสดงถึงความเป็นไปได้ในการทำธุรกิจ 

แน่นอนว่าเราอาจเคยเห็นบล็อกจำนวนมากที่กล่าวถึงกลยุทธ์การซื้อของลูกค้าในทางทฤษฎี แต่โดยทั่วไปมักจะยากที่จะทำซ้ำโดยที่ไม่เข้าใจบริบทเหล่านี้

บทความนี้เรามาดูวิธีการของ Shopback ในการสร้างการเติบโตอย่างรวดเร็วภายใน 1 ปี จาก Shanru Lai หัวหน้าฝ่ายการตลาดของ ShopBack ว่าพวกเขามีวิธีการอย่างไร

กลยุทธ์ทางการตลาดจาก Shanru Lai ของ Shopback
กลยุทธ์ทางการตลาดจาก Shanru Lai ของ Shopback

ทำไมต้อง ShopBack

ผู้ก่อตั้ง ShopBack, Henry Chan และ Joel Leong ได้กลายมาเป็นผู้ประกอบการครั้งแรก แต่พวกเขาสามารถสร้างฐานลูกค้าขนาดใหญ่ได้ภายในหนึ่งปีหลังจากเปิดตัว ซึ่งเริ่มในเดือนสิงหาคม 2014

ShopBack ได้สร้างรายการธุรกรรมลูกค้ากว่า 100,000 รายการ ในเว๊บไซต์อีคอมเมิร์ซยอดนิยมทั้งในสิงคโปร์และต่างประเทศภายในระยะเวลาไม่ถึง 10 เดือน ShopBack ให้ผู้ซื้อออนไลน์ได้รับเงินคืนสูงถึง 30% เมื่อซื้อสินค้าออนไลน์กว่า 300 แบรนด์ในเอเชียและอเมริกาเหนือ 

หมวดหมู่สินค้านั้น มีตั้งแต่แฟชั่นไปจนถึงอาหารและเครื่องดื่ม การท่องเที่ยวและสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และยังสามารถใช้งาน Shopback ได้ในเหล่าผู้นำอีคอมเมิร์ซหรือค้าปลีกที่รู้จักกันดีเช่น Zalora, ASOS และ Groupon

ประการแรกระบุกลุ่มตลาดของคุณ

การสร้างสรรค์แคมเปญการตลาดที่ประสบความสำเร็จเริ่มต้นที่จุดเริ่มต้นโดยคำนึงถึงจุดสิ้นสุด ShopBack ระบุตลาดเป้าหมายของพวกเขาว่าเป็นใครก็ตามที่ซื้อสินค้าออนไลน์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอายุระหว่าง 18 ถึง 45 ปี 

โดย Shanru แบ่งปันว่าสิ่งนี้ช่วยให้พวกเขามุ่งเน้นไปที่การเลือกช่องทางการตลาดซึ่งตลาดเป้าหมายของพวกเขามีส่วนร่วมบ่อยครั้ง ซึ่งได้แก่ Facebook, Instagram และ Blog เธอยืนยันว่าไม่มี Social Network ใดที่เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด

ลูกค้าบางคนไม่ได้ใช้งานบน Facebook แต่เป็นผู้ใช้ SnapChat ที่หนักหน่วง ดังนั้น ShopBack จึงต้องการสื่อที่มีความผสมผสาน แต่อย่างไรก็ตามพฤติกรรมเหล่านี้ขึ้นอยู่กับตลาดและที่ตั้งของผู้ใช้ด้วยเช่นกัน

กลยุทธ์แจกโบนัสสำหรับผู้ใช้รายใหม่

ในขณะที่การตลาดแบบ Cashback นั้นทำงานได้ดีมากสำหรับบริษัทอีคอมเมิร์ซ แต่ทั้งหมดนี้กลับกลายเป็นกลยุทธ์ง่ายๆ ส่งมอบคุณค่าที่แท้จริงให้กับลูกค้า เพื่อดึงดูดลูกค้าใหม่ ShopBack อาศัยโฆษณาบน Facebook การมีส่วนร่วมกับโซเชียลมีเดียและบล็อกอื่น ๆ

ขั้นตอนแรกคือการสร้างงบประมาณรายวันสำหรับโฆษณา Facebook ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายรายเดือน การปรับภาพเนื้อหาและเวลาของการปรับให้เหมาะสมเป็นงานต่อเนื่อง 

โดย Shanru กลั่นกรองข้อมูล และมีการวิเคราะห์เป็นประจำเพื่อระบุแนวโน้มหรือยืนยันสมมติฐานบางอย่าง เช่น เวลาที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการโพสต์ Facebook เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วม เนื้อหาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในหมู่ผู้ใช้ ShopBack

โปรโมชั่นราคาโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อส่วนลดสามารถรับ Cashback เป็นเงินสดกลับไปยังผู้ใช้ กุญแจสำคัญคือการหาสัดส่วน 80/20 เมื่อมาถึงการเลือกโปรโมชั่นการขายของพันธมิตรแบรนด์เพื่อส่งเสริมการขาย 

ต้องบอกว่า การรู้จักแบรนด์ออนไลน์ชั้นนำที่ทำให้เกิดการแปลงสูงสุดหรือมีอัตราการเข้าชมเว็บไซต์สูงที่สุดทำให้ ShopBack สามารถจัดลำดับความสำคัญของแบรนด์เพื่อเน้นในการทำการตลาดเป็นหลักได้

สำหรับ Startup รายใหม่ ๆ ที่ไม่มีประวัติของข้อมูล Shanru แนะนำว่า สามารถเริ่มต้นได้โดยการสังเกตเนื้อหาและเวลาของการโพสต์บนหน้า Facebook ของคู่แข่งรายใหญ่แล้วปรับกลยุทธ์ให้เหมาะสม

แต่งานยังไม่สิ้นสุดหลังจากได้ลูกค้าใหม่ เนื่องจากยังคงต้องชักชวนลูกค้าหรือผู้ใช้งานทำธุรกรรมหรือมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการทำธุรกรรมซ้ำๆ เพื่อให้กลายมาเป็นลูกค้าประจำ

โดยกลยุทธ์ของ Shanru คือ การทำการตลาดผ่านอีเมล เพื่อให้ได้อัตราการคลิกที่สูง ShopBack นำเสนอเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับงานฝีมือพร้อมตัวอย่างที่น่าดึงดูดใจและการออกแบบที่ได้รับการปรับแต่งให้เหมาะสม 

ผ่านการวิเคราะห์อีเมลที่เธอได้ทำ Shanru ตระหนักดีว่ามักจะมีประสิทธิภาพในการดึงดูดลูกค้าใหม่หรือผู้ที่ไม่ได้ทำธุรกรรมล่าสุดโดยการส่งโบนัสพิเศษในการซื้อครั้งต่อไป

นอกจากนี้ Shanru แบ่งปันว่าบล็อกของพวกเขามีบทบาทสำคัญในการนำเข้าสู่การเข้าชมเว็บไซต์และแปลงไปสู่ยอดขาย โดยพวกเขาจะแบ่งปันโปรโมชั่นที่ดีจากพันธมิตรแบรนด์ของพวกเขาในบล็อก

ซึ่งสิ่งนี้ยังทำให้พวกเขาสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับแคมเปญการตลาดที่พวกเขาทำกับเหล่าพันธมิตร นี่เป็นวิธีการมอบคุณค่าที่แท้จริงให้กับลูกค้าของพวกเขา สำหรับ Startup หน้าใหม่ ข้อกังวลอย่างหนึ่งอาจเป็นวิธีการดูแลทีมบล็อกให้มีความยั่งยืน ShopBack เริ่มต้นจากการทำงานกับ freelance และใช้ทีมงานของบริษัทบางส่วนเท่านั้นในการจัดการและแก้ไขโพสต์

บางเวลา Shanrun ก็พบว่ามันมีประสิทธิภาพในการดึงดูดแฟน ๆ ด้วยวิธีที่สนุกและแตกต่างกัน พวกเขาใช้การแข่งขันบน Facebook และบล็อกของพวกเขาเดือนละครั้งในรูปแบบของการจับรางวัลหรือแจกของบัตรกำนัล หรือผลิตภัณฑ์ของแบรนด์ที่เฉพาะเจาะจงเพื่อดึงดูดผู้ใช้งาน

หวังว่ามันจะเป็นไวรัลในที่สุด

Shanru ยืนยันว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดนั้นยังคงเป็นคำพูดของการตลาดแบบปากต่อปาก แต่แน่นอนว่าจะต้องใช้เวลาระยะหนึ่งก่อนที่ธุรกิจจะถึงจุดนั้น เนื่องจากจำนวนลูกค้าที่ต้องไปถึงระดับหนึ่งก่อนที่จะมีการเพิ่มแบบ exponential 

ต้องบอกว่าโปรแกรมการอ้างอิง (referral programs) ควรเริ่มมีตั้งแต่วันแรก ๆ ของการเปิดบริการ และควรตั้งค่าระบบการอ้างอิงที่เรียบง่ายและน่าเชื่อถือเพื่อให้ลูกค้าในพื้นที่ของคุณแบ่งปันเกี่ยวกับเว็บไซต์ของคุณได้แบบง่าย ๆ  

referal program อีกหนึ่งกลยุทธ์สำคัญของ Shopback
referal program อีกหนึ่งกลยุทธ์สำคัญของ Shopback

ทุกๆไตรมาสนอกเหนือจากแคมเปญโซเชียลมีเดียแล้ว Shanru จะจัดทำแคมเปญอ้างอิงโบนัสพิเศษเพื่อลูกค้าจะได้รับแรงจูงใจมากขึ้นในการแบ่งปันในช่วงเดือนนั้น ๆ ที่มีการจัดโปรโมชั่นเพิ่มเติมขึ้นนั่นเอง

บทสรุป

ต้องบอกว่าถือเป็นกลยุทธ์ที่น่าสนใจมาก ๆ สำหรับ Shopback ที่ใช้เวลาเพียง 1 ปี เติบโตแบบก้าวกระโดด จนสามารถบุกไปในหลาย ๆ ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างที่เราได้เห็นในปัจจุบัน

ถือเป็นการใช้พลังงานของการตลาดออนไลน์ ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ด้วยทีมงานจำนวนไม่มาก แต่สร้างการเติบโตได้แบบก้าวกระโดด จนเป็นที่สนใจของเหล่านักลงทุนในท้ายที่สุด ซึ่งถือเป็น Case Study ที่น่าสนใจสำหรับเหล่าบริษัท Startup ในไทย ที่ต้องการเติบโตแบบก้าวกระโดด โดยเฉพาะในช่วงขวบปีแรกของการก่อตั้งได้อย่างดีเลยครับ

References : https://vulcanpost.com/174511/steady-silent-and-deadly-inside-singapores-hidden-gem-startup-shopback/
https://www.asianentrepreneur.org/singapore-start-up-shopback-pays-you-to-shop-online/
https://www.techinasia.com/talk/hero-12-months-shopback

กล่องพัสดุ ที่ไม่ได้แกะ

ต้องบอกว่า ตอนนี้พฤติกรรมของผู้บริโภค ในการจับจ่ายใช้สอย ได้เปลี่ยนไปอย่างสมบูรณ์แบบแล้ว ผ่าน platform online ต่าง ๆ ที่รายล้อมอยู่รอบตัวเรา ตั้งแต่ตื่นนอน จน เข้านอนเมื่อสิ้นสุดวัน

platform online เหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น Social Network อย่าง Facebook หรือ Instragram หรือ platform ecommerce อย่าง shopee , lazada หรือน้องใหม่อย่าง jd.com กำลังเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของพวกเราไปอย่างสิ้นเชิง

แน่นอนว่า platform ไหนที่สามารถช่วงชิงเวลาเราไปได้มากที่สุด ก็มีโอกาสที่จะเสนอสินค้า หรือ บริการให้เราสูงสุดด้วยเช่นกัน เนื่องจากพฤติกรรมการเสพติดมือถือของมนุษย์เรา ไม่ว่าจะเป็นรุ่นเด็ก ไปจนถึงคนแก่สูงอายุ ซึ่งก็แทบจะเหมือนกันหมดแล้วในยุคนี้

แน่นอนว่า สินค้า และ บริการเหล่านี้ มันสามารถทำให้เราเข้าถึงได้ง่ายกว่าเดิมมาก ๆ จากเมื่อก่อนที่เราต้องเสียเวลาไปเดินตามห้างสรรพสินค้า หรือ ตลาด เพื่อไปจับจ่ายใช้สอยสินค้าที่เราอยากได้ หรือ สินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

แต่ตอนนี้ มันถูกอัด ทั้งโปรโมชั่น campaign การตลาดมากมาย ทำให้เราได้หลงไปอยู่ในวังวนของสินค้าและบริการเหล่านี้ และ ซื้อมันได้ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งบางครั้ง สิ่งของเหล่านี้ เราอาจจะยังไม่รู้ด้วยซ้ำ ว่าจะไปใช้ทำอะไร แต่ขอซื้อไว้ก่อน เนื่องจาก โปรโมชั่น ราคา ที่ดึงดูดใจ ที่ส่งผ่านมาทาง platform online เหล่านี้ ที่ติดอยู่กับเราแทบจะ 24 ชั่วโมง

ซึ่งเราก็จะได้เห็นพฤติกรรมในหลาย ๆ ครอบครัว ที่มีพัสดุ มาส่งถึงหน้าบ้าน แทบจะทุกวัน แล้วเกิดคำถามขึ้นหลายครั้ง มันคืออะไร?

ซึ่งคำถามนี้ หลาย ๆ คนน่าจะเคยเจอกัน ว่าเราสั่งอะไรมา? ของข้างในคืออะไร? เพราะพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของเรานั่นเอง ที่สั่งซื้อสินค้าเหล่านี้ ได้ง่ายดายยิ่งขึ้น และคิดน้อยลงยิ่งขึ้นมาก ๆ ในยุคปัจจุบัน ในการที่จะซื้อสินค้าสักชิ้น

และสุดท้าย กล่องพัสดุที่มาส่งเหล่านี้ บางครั้ง ก็ถูกวางไว้ อย่างงั้น โดยที่เราแทบจะไม่ได้แกะมันออกมาดูเลยด้วยซ้ำ ว่าเราได้พลาด หรือ เผลอ สั่งอะไรไป เพราะเมื่ออีกวันผ่านพ้นไป กล่องพัสดุใบใหม่ ก็ถูกส่งมาที่หน้าบ้านเราอีกแล้ว นั่นเองครับ

References Image : https://www.flickr.com/photos/158301585@N08/46085930691