South Korea ตอนที่ 2 : Fighting DNA

สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งของประเทศเกาหลี คือ จิตวิญญาณของนักสู้ ว่ากันว่า มีแต่เหล่านักสู้เท่านั้้นที่จะอยู่รอดในสังคมของประเทศเกาหลีใต้ได้ ทุกคนต่างต้องแข่งขันกัน ขับเคี่ยวกันในทุกเรื่องในชีวิต ตั้งแต่ การพยายามอย่างหนักในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย การหางาน การเลือกคู่ครอง ต้องเรียกได้ว่าคนเกาหลีนั้นจะต้องแข่งขันตั้งแต่วัยเด็ก และไม่มีทีท่าว่าจะลดลงเลยแม้จะเกษียณจากการทำงานไปแล้วก็ตาม

หลังจากสงครามเกาหลีจบสิ้น แม้มันจะไม่ได้เป็นการจบเลยเสียทีเดียว มันเป็นแค่การเจรจาสงบศึกชั่วคราวมาจวบจนถึงปัจจุบันเพียงเท่านั้น ด้วยความยากจนข้นแค้น เป็นชาติที่ถูกรุกราน และถูกโจมตีอยู่เสมอ มันบีบให้เกาหลีใต้ต้องคิดหาทางให้หลุดพ้นจากสถานภาพอันเลวร้ายนี้

ซึ่งทางออกเดียวที่มีคือ การทุ่มเทพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างเต็มที่เพื่อ จะได้ไปเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป

แม้ในปี 1945 มีประชากรชาวเกาหลีใต้เพียง 5% เท่านั้นที่ได้รับการศึกษาระดับมัธยม หรือ สูงกว่า แต่หลังจากที่นายพล ปาร์ค ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในปี 1961 นั้น ประชาชนได้ถูกกระตุ้น ให้ทำงานอย่างหนัก และร่วมแรงแข็งขันกัน เพื่อพัฒนาชาติ และยกระดับให้เกาหลีใต้เหนือกว่าประเทศอื่นให้จงได้

ท่านประธานาธิบดี ปาร์ค ต้องการให้เกาหลีเติบโตให้เร็วที่สุด
ท่านประธานาธิบดี ปาร์ค ต้องการให้เกาหลีเติบโตให้เร็วที่สุด

ถึงขั้นที่ว่า มีการ รณรงค์ ให้ โค่นญี่ปุ่น โดยผ่านการพัฒนาอุตสาหกรรม มีการปลุกจิตวิญญาณนักสู้ของชาวเกาหลี มีการตั้งเป้าหมายของประเทศ ให้ทำลายสถิติการส่งออกผลิตภัณฑ์ ให้ได้ทุก ๆ ปี เพื่อให้เกาหลีใต้นั้น ก้าวสู่การพัฒนาอย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ มันเป็นการร่วมแรงร่วมใจของชาวเกาหลีทุกคน ไม่ว่าอุตสาหกรรม ยักษ์ใหญ่ แรงงาน หรือ เหล่าชนชั้น กลาง ทุกคนต่างร่วมใจกันพัฒนาให้เกาหลีใต้ ก้าวขึ้นไปเทียบเคียงกับยักษ์ใหญ่อย่างญี่ปุ่นให้ได้

เกาหลีต้องการโค่นญี่ปุ่นลงให้จงได้ ทั้งสองมีประวัติที่ไม่ลงรอยกันมานาน
เกาหลีต้องการโค่นญี่ปุ่นลงให้จงได้ ทั้งสองมีประวัติที่ไม่ลงรอยกันมานาน

ถึงขั้นที่ว่า คนเกาหลีนั้นถูกปลุกฝังตั้งแต่เยาว์วัย ว่า เมื่อเติบโตขึ้นนั้น เขาจะต้องเป็นเหมือนดั่งนักรบ นักรบในอุตสาหกรรม เด็ก ๆ ทุกคนมีหน้าที่ในการสร้างประวัติศาสตร์ในการฟื้นฟูชาติขึ้นมาใหม่ เหล่านักเรียนทุกคน ต้องขยันเรียนมากขึ้น มากกว่าชาติอื่น ๆ ที่เขาร่ำเรียนกัน เพราะเมื่อเติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่แล้วนั้น เหล่าเด็ก ๆ เหล่านี้ จะต้องอุทิศกำลังทั้งชีวิต เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้ดีขึ้น เป้าหมายใหญ่ของประเทศในตอนนั้นคือ การขยับตัวเลขการส่งออกของเกาหลีใต้ให้ไต่เต้าขึ้นไปอยู่อันดับต้น ๆ ของโลกให้จงได้

มันเป็นเพราะสถานะที่ไม่มั่นคงเลยของเกาหลี พวกเขาได้พลิกวิกฤตนี้ให้เป็นโอกาส พวกเขาต้องรีบสั่งสมอำนาจทางเศรษฐกิจโดยเร็วที่สุด ประเทศเล็ก ๆ แห่งนี้เกิดมาพร้อมกับความยากจน ทรัพยากรก็น้อยนิด แถมยังมาถูกแบ่งแยกจากเขตอุตสาหกรรมที่มีอยู่เดิมในแถบทิศเหนือ ที่ตอนนี้กลายเป็นของเกาหลีเหนือเป็นที่เรียบร้อย

เกาหลีใต้ถูกโอบล้อมด้วยรัฐที่มีทั้งอำนาจและแข็งแกร่งกว่าในทุก อย่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นจีน รัสเซีย หรือ ญี่ปุ่นก็ตาม เหล่าผู้นำจึงต้องพยายามทำทุกอย่าง ให้เกาหลีใต้มีความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจมากที่สุด และเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งการค้าขายนั้น ไม่ได้เพียงทำให้เกาหลีใต้มีความมั่งคั่งเพียงเท่านั้น แต่มันยังช่วยให้ประเทศอยู่อย่างปลอดภัยจากชาติมหาอำนาจรอบข้างด้วยอีกอย่างหนึ่ง

เกาหลีใต้ถูกโอบรอบด้วยชาติมหาอำนาจทั้ง จีน รัสเซีย ญี่ปุ่น รวมถึง เกาหลีเหนือที่มีความไม่แน่อน
เกาหลีใต้ถูกโอบรอบด้วยชาติมหาอำนาจทั้ง จีน รัสเซีย ญี่ปุ่น รวมถึง เกาหลีเหนือที่มีความไม่แน่อน

มีอุตสาหกรรมอย่างนึงที่น่าสนใจเป็นอย่างมากคือ อุตสาหกรรมการต่อเรือ ซึ่ง ในช่วงแรกนั้น เกาหลีใต้แทบจะไม่มีอุตสาหกรรมต่อเรืออยู่เลย แต่ท่านผู้นำอย่างปาร์ค นั้นต้องการให้เกาหลีใต้เป็นประเทศอุตสาหกรรมต่อเรืออันดับหนึ่งของโลก และพยายามหาช่องทางทุกวิถีทางให้ยุทธศาสตร์นี้เป็นจริงขึ้นมาได้ และเรื่องเหลือเชื่อก็คือ เป้าหมายนี้สำเร็จได้ในช่วงปี 1980 แต่เสียดายว่าในตอนนั้น ท่านนายพล ปาร์ค ได้เสียชีวิตไปเสียแล้ว ไม่ได้มาเห็นความฝันของท่าน เป็นจริงได้สำเร็จ

นโยบายที่สำคัญของการศึกษาของเกาหลีใต้ ก็คือ ความเสมอภาค รวมถึงสิทธิในการเข้าถึงการศึกษาอย่างเท่าเทียม ซึ่งมันทำให้การแข่งขันเพื่อเข้าศึกษาในปริญญาตรีของเกาหลีใต้เป็นไปอย่างดุเดือด

งานราชการ งานกฏหมาย การแพทย์ และงานในบริษัทชั้นนำอย่างกลุ่ม แชโบล นั้น สามารถเปลี่ยนชีวิตเด็กคนนึงได้จากความยากจนข้นแค้น ให้กลายเป็นคนที่มีความมั่งคั่งได้ ซึ่งมันทำให้เกิดการแข่งขันอย่างรุนแรง ทุกคนต้องเป็นนักสู้ ต้องมีการทำสิ่งต่าง ๆ ให้เหนือกว่าผู้อื่นอยู่เสมอ ตั้งแต่แต่ที่โรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือแม้กระทั่งในที่ทำงานก็ตาม 

และมันได้ส่งผลรุ่นต่อรุ่น มายังลูกหลานของพวกเขาด้วย จิตวิญญาณแห่งการต่อสู้ รวมถึงการเอาชนะนั้น ทุกครอบครัวต้องต่อสู้กัน มันเลยได้นำพาเกาหลีใต้ ก้าวไกลมาได้จนถึงปัจจุบัน มันเหมือน DNA ของชาวเกาหลีใต้ ที่ถูกปลูกฝังมารุ่นต่อรุ่น ตั้งแต่ยุคหลังสงครามเกาหลีเลยก็ว่าได้

ซึ่งการศึกษาของเกาหลีนั้น มีการแข่งขันที่สูงมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกเลยก็ว่าได้ เหล่าผู้ปกครองพร้อมที่จะทุ่มหมดหน้าตักให้ลูกหลานของตัวเองได้เรียนในโรงเรียนกวดวิชา หรือ ครูสอนพิเศษ

การแข่งขันด้านการเรียนในเกาหลีใต้ นั้นสูงมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
การแข่งขันด้านการเรียนในเกาหลีใต้ นั้นสูงมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

ซึ่งนับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 นั้น เหล่าเด็ก ๆ ในเกาหลีใต้จะใช้ช่วงเวลาในช่วงบ่ายและเย็นเรียนพิเศษในวิชาต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงการที่ต้องทำการบ้านทั้งของโรงเรียน และ ที่มาจากการเรียนพิเศษด้วย และ มันเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมากสำหรับบรรดาผู้ปกครองชาวเกาหลีใต้ ซึ่งสิ่งนี้ได้ส่งผลต่ออัตราการเกิดของเกาหลีใต้ที่ลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ

และการที่ทุกคนต้องลงทุน และ ลงแรงอย่างหนักเพื่อให้ประสบความสำเร็จทางด้านการศึกษานี่เอง มันจึงส่งผลต่อการเรียนในระดับปริญญาตรี ซึ่งหากมีผลการเรียนที่ดีนั้น ก็จะเปิดโอกาสให้สามารถหางานที่ดีได้ แต่ ด้วยจำนวนงานนั้นมีอยู่อย่างจำกัด

มันทำให้วังวนแห่งการแข่งขันนี้ยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นไปอีก ต่างคนต่างถูกบีบให้สร้างความโดดเด่นขึ้นมาให้เหนือคนอื่น ซึ่งมันทำให้ในปัจจุบันนั้น ปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยชั้นน้ำของเกาหลีอย่าง มหาวิทยาลัยโซล นั้นไม่เพียงพออีกต่อไป

มันทำให้ทุกคนต่างไขว่ขว้า โอกาสที่สูงขึ้นไปอีก โดยเฉพาะมหาลัยชั้นนำระดับท็อป ๆ ของโลก ตัวอย่างเช่นที่ มหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ด มีจำนวนนักศึกษาเกาหลีใต้สูงเป็นอันดับสามในบรรดานักศึกษาต่างชาติทั้งหมด ด้วยเหตุนี้เหล่าผู้ปกครองที่มีเงินมากพอ ก็จะพยายามส่งลูกหลานไปในประเทศชั้นนำในมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ทั้งหมดก็เพื่อแต้มต่อในการสมัครงานของลูกหลานของพวกเขานั่นเอง

แม้ในระดับประเทศ เกาหลีใต้นั้น จะสั่งสมอำนาจทางเศรษฐกิจมาโดยตลอด คนเกาหลีใต้ถูกปลูกฝังให้มีความสำเร็จจากการศึกษาเป็นบันได้ขั้นแรก ซึ่ง แม้ในขณะที่ประเทศจะติดอันดับประเทศร่ำรวยแล้วในช่วงปี 1990 นั้น แต่จิตวิญญาณแห่งการแข่งขันมันก็ไม่ได้ลดลงเลย 

ต้องแข่งขันแม้กระทั่งตอนทำงาน ยิ่งบริษัทยักษ์ใหญ่ยิ่งแข่งขันสูง
ต้องแข่งขันแม้กระทั่งตอนทำงาน ยิ่งบริษัทยักษ์ใหญ่ยิ่งแข่งขันสูง

บริษัททั้งหลายโดยเฉพาะยักษ์ใหญ่อย่าง กลุ่ม แชโบล นั้น ก็ยังคงกระตุ้นให้พนักงานทำงานหามรุ่งหามค่ำต่อไป ทุก ๆ ปี พนักงานชาวเกาหลีนั้นทำงานโดยเฉลี่ย 2,193 ชั่วโมง ซึ่งสูงที่สุดในกลุ่มประเทศ OECD แุถมบางครั้งยังต้องทำงานนอกเวลาแบบไม่จ่ายค่าแรงอีกด้วย

วงเวียนแห่งการแข่งขันของชาวเกาหลีนั้น ยังคงหมุนอย่างไม่หยุดหย่อน ทุก ๆ ปีจะมีบัณฑิตจบใหม่จำนวน 500,000 คน ในขณะที่บริษัทใหญ่ ๆ หน่วยงานรัฐ มีตำแหน่งรองรับเพียงแค่ 100,000 ตำแหน่งเท่านั้น และมันทำให้ อีก 400,000 คนนั้น ต้องทำงานกับบริษัทขนาดกลางหรือขนาดเล็กที่ไม่มีความมั่นคงแต่อย่างใด บริษัทขนาดเล็กเหล่านี้ ไม่สามารถที่จะต่อการกับบริษัทยักษ์ใหญ่ใน แชโบล ได้เลย 

ซึ่งทั้งหมดทั้งมวล นั้นเป็นสิ่งที่เรียกว่า Fighting DNA ของชาวเกาหลี ที่มีมาตั้งแต่เยาว์วัย มันทำให้ชาติสามารถเจริญรุดหน้าไปได้ก็จริง แต่ก็มีการถกเถียง เรื่องของคุณภาพชีวิตของชาวเกาหลีที่ดูแย่ลงเรื่อย ๆ 

แม้ประเทศจะก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว แต่คุณภาพชีวิต โดยเฉพาะเรื่องการทำงานนั้น ย่ำแย่สำหรับชาวเกาหลี
แม้ประเทศจะก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว แต่คุณภาพชีวิต โดยเฉพาะเรื่องการทำงานนั้น ย่ำแย่สำหรับชาวเกาหลี

พวกเขาเริ่มที่จะตระหนักว่าการพักผ่อนไม่เพียงพอ และการทุ่มเทแรงกายอย่างไม่มีสิ้นสุดนั้น อาจจะเริ่มส่งผลให้การทำงานไม่มีประสิทธิภาพ มันทำให้เกิดความเครียดสูงในหมู่ชาวเกาหลี  และการแข่งขันนี้เอง ที่เป็นปัจจัยให้ประเทศนี้มีอัตรการฆ่าตัวตายที่สูงมาก

ซึ่ง ความเครียด การไร้ความสุขในการทำงาน คุณภาพชีวิต สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ อาจจะเป็นปัจจุัยที่คอยขัดขวางการเกิดขึ้นของนวัตกรรมใหม่ ๆ ซึ่งถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของเกาหลีในอนาคต

ซึ่ง Fighting DNA นี่แหละเป็นปัจจัยสำคัญ และเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ ที่ทำให้เกาหลีใต้ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว แต่ทั้งหมดนี้ ก็ต้องแลกมาด้วยผลเสียทางลบที่ คอยบั่นทอนอารมณ์ และจิตใจของผู้คนชาวเกาหลีเช่นเดียวกัน ซึ่งบางทีนั้น ตอนนี้ในวันที่เกาหลีใต้ได้กลายเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วสำเร็จ เป้าหมายหลายอย่างของพวกเขาก็ประสบความสำเร็จแล้วแทบจะทั้งสิ้น มันก็อาจจะถึงเวลาที่พวกเขาอาจจะต้องละทิ้งความทะเยอทะยานที่จะเป็นที่หนึ่งลงเสียบ้าง เพื่อแลกกับคุณภาพชีวิตของชาวเกาหลีที่ดีขึ้นกว่าเดิม

–> อ่านตอนที่ 3 : Trendy Korea

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Foundation *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

Blog Series : Rise of South Korea

มันเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากเลยทีเดียวกับการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของประเทศเกาหลี ดินแดนที่ใช้เวลาเพียงไม่กี่ทศวรรษ เปลี่ยนจากประเทศที่แทบจะยากจนที่สุดแห่งหนึ่งของโลกให้กลายมาเป็นประเทศพัฒนาแล้ว เทียบกับ ญี่ปุ่น , ยุโรป หรือแม้กระทั่งประเทศยักษ์ใหญ่อย่างอเมริกาได้อย่างไร?

เทคโนโลยีจากประเทศเกาหลีใต้ แรกซึมอยู่ในทุกผลิตภัณฑ์ ไล่ตั้งแต่ โทรศัพท์มือถือ ไปจนถึง เครื่องบิน หรือ เรือขนส่งขนาดยักษ์ ประเทศที่มีประชากรเพียง 50 ล้านคนแห่งนี้ บัดดนี้กำลังก้าวขึ้นมาเป็นประเทศมหาอำนาจยักษ์ใหญ่ มี GDP ต่อหัวสูงอันดับต้น ๆ ของโลก Blog Series ชุดนี้ จะพาไปทำความเข้าใจกับสิ่งต่าง ๆที่เกิดขึ้นกับประเทศเกาหลี ที่ใคร ๆ หลาย ๆ คนยังไม่รู้

ในขณะที่เทียบกับประเทศยักษ์ใหญ่ในเอเชียอย่าง สิงคโปร์ หรือ จีน ที่เป็นระบอบผสมผสานระหว่าง อำนาจนิยม (การควบคุมอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จจากรัฐบาล) และ ทุนนิยม แต่ เกาหลีใต้นั้น ไม่ได้ใส่ใจแค่เรื่องความมั่งคั่งร่ำรวยเพียงเท่านั้น แต่พวกเขายังยึดหลักประชาธิปไตย และสิทธิพลเมืองอีกด้วย ซึ่งเป็นเพียงไม่กี่ประเทศที่จะสามารถก้าวมาได้ไกลถึงขนาดนี้

หนังสือ Korea The Imppossible Country
หนังสือ Korea The Imppossible Country โดย Daniel Tudor

โดยข้อมูลที่มาจะมาจาก 2 แหล่งหลักคือ Documentary ของ History Channel : South Korea : A Nation to Watch และ หนังสือ Korea The Imppossible Country โดย Daniel Tudor ที่แปลโดยคุณ ฐิติพงษ์ เหลืองอรุณเลิศ ฝากติดตามกันด้วยน้า

–> อ่านตอนที่ 1 : Foundation

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

หนังสือ Korea The Imppossible Country โดย Daniel Tudor

หนังสือ มหัศจรรย์เกาหลี : จากเถ้าถ่านสู่มหาอำนาจทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม
ผู้เขียน Daniel Tudor (แดเนียล ทิวดอร์)
ผู้แปล ฐิติพงษ์ เหลืองอรุณเลิศ

หนังสือ Samsung’s Way วิถีแห่งผู้ชนะ
ผู้เขียน John Hyungjin Moon (จอห์น ฮยองจิน มุน)
ผู้แปล ภัททิรา จิตต์เกษม

Documentary ของ History Channel : South Korea : A Nation to Watch

Netflix Documentary : Explained ( K- Pop )

en.wikipedia.org/wiki/South_Korea