Geek China EP14 : China Internet Landscape and Digital Giants Part 9

สำหรับใน EP 14 นี้จะมาย้อยเล่าเรื่องราวของยักษ์ใหญ่อย่าง Tencent 腾讯 (HKG: 0700) ในช่วงเวลาปี 2009-2015

ในยุคนี้มีการถือกำเนิดของตัวละครสำคัญในวงการ Digital ของจีน อย่าง Weixin (微信 เวย ซิ่น) หรือ WeChat ที่กลายเป็น Super App สำคัญของคนจีน
EP นี้ จะมาชำแหละการกำเนิดและวิวัฒนาการการกำเนิดของ 微信 WeChat ในยุคนี้อย่างละเอียด

• จุดเปลี่ยนที่สำคัญที่ทำให้ 微信 WeChat กลายมาเป็นปัจจัยที่ 5 ในการดำรงชีวิตของคนจีน จุดปฏิวัติวงการของ WeChat สิ่งนั้นเป็นอะไร
• ผลิตภัณฑ์ชูธงด้าน social network ของ Tencent ที่เกิดมาในยุคก่อนหน้าอย่าง QQ, QQ 空间 (Q Zone) จะตายไปในยุคนี้หรือไม่

ทั้งหมดติดตามได้ใน EP ที่ 14

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/36GyFfK

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/2m0PTzR

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/dAG_IQFu0DQ

Geek Monday EP18 : Tencent กับกลยุทธ์ Make AI Everywhere

ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งบริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้านเทคโนโลยีของจีนที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีนผลักดันให้พัฒนาเทคโนโลยี AI รุ่นต่อไป Tencent ก็กำลังประสบความสำเร็จในการลงทุนด้านเทคโนโลยีใหม่

Tencent เป็นนักลงทุนอันดับต้น ๆ (รายงานว่ามีมูลค่า 120 ล้านเหรียญสหรัฐ) ในการก่อตั้ง UBTech ซึ่งเป็น บริษัท ที่มุ่งเน้นไปที่หุ่นยนต์ ซึ่งหุ่นยนต์ของ UBTech ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ Walker ซึ่งเป็นหุ่นยนต์สองเท้าที่เปิดตัวในงาน Consumer Electronics Show ปี 2018 ที่สามารถเดินลงบันไดได้เหมือนมนุษย์ 

และในบรรดา บริษัท เทคโนโลยีจีนที่รู้จักกันในชื่อ BAT (Baidu, Alibaba และ Tencent), Tencent มีส่วนร่วมในข้อตกลงและความร่วมมือด้าน AI มากที่สุด และการลงทุนด้าน AI ส่วนใหญ่นั้นอยู่ในสหรัฐอเมริกา

ซึ่งในความร่วมมือกับบริษัทในหลายอุตสาหกรรมรวมถึงกลุ่มยานยนต์ปักกิ่ง (BAIC) Tencent ลงทุนในการพัฒนาเทคโนโลยี AI เพื่อใช้ในยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยตนเอง

ในด้านอุตสาหกรรม Healthcare ก็เช่นกัน ที่ AI เป็นหลักสำคัญที่ Tencent ต้องวิจัยและพัฒนา ซึ่งจีนต้องการเป็นผู้นำระดับโลกด้านการแพทย์โดยใช้เทคโนโลยี AI 

สถาบันทางการแพทย์มากกว่า 38,000 แห่ง มีบัญชี WeChat และ 60% ของสถาบันเหล่านี้อนุญาตให้ผู้ป่วยจองนัดหมายออนไลน์ นอกจากนี้ยังมีโรงพยาบาล 2,000 แห่งที่รับชำระเงิน WeChat บริการเหล่านี้อนุญาตให้ Tencent รวบรวมข้อมูลผู้ผู้ป่วยที่มีค่าซึ่งจะช่วยในการฝึกอบรมอัลกอริทึมด้าน AI ให้มีความฉลาดมากยิ่งขึ้น

และในการเป็นหุ้นส่วนล่าสุดกับ Babylon Health ผู้ใช้ WeChat จะสามารถเข้าถึงผู้ช่วยด้านการดูแลสุขภาพแบบเสมือน Tencent ได้ลงทุนใน iCarbonX ซึ่งเป็น บริษัท ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาตัวแทนแบบดิจิทัลของแต่ละบุคคลเพื่อช่วยให้การแพทย์ส่วนบุคคลสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น

ความพยายามด้านการวิจัยและพัฒนาภายในของ Tencent ทำให้เกิดการพัฒนาแพลตฟอร์ม AI ในการดูแลสุขภาพอย่าง Miying ที่เปิดตัวในปี 2017 แพลตฟอร์มนี้ช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพสามารถวินิจฉัยโรคมะเร็งประเภทต่างๆและวิเคราะห์รวมถึงจัดการบันทึกการดูแลสุขภาของผู้ป่วยได้

Tencent ถือเป็นผู้เล่นคนสำคัญในความทะเยอทะยานของจีนที่จะเป็นผู้นำด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในระดับโลก เนื่องจากในอนาคต AI จะเปลี่ยนอุตสาหกรรมในทุกประเภท และ Tencent กำลังก้าวนำเพื่อสร้างบริษัทให้แข็งแกร่งในอนาคตด้วยกลยุทธ์ Make AI Everywhere นั่นเองครับ

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน Podbean : 
https://tharadhol.podbean.com/e/geek-monday-ep18-tencent-make-ai-everywhere/

ฟังผ่าน Spotify : https://open.spotify.com/episode/17Wrb6NvMKdGsvQ0wLtHAF

ฟังผ่าน Youtube :
https://youtu.be/4-DZSIp9oFw

Martin Lau, President of Tencent: Our Mission is to Enhance People’s Quality of Life

พูดถึง Tencent คิดว่าหลายคนคงไม่รู้จักเท่าที่ควร แต่ถ้าพูดถึง chat application ชื่อดังอย่าง Wechat นั้น ก็น่าจะรู้จักกัน เนื่องจากทาง Wechat นั้นก็ได้มาทำตลาดในไทยมาช่วงหนึงแล้ว ถึงแม้จะยังไม่สามารถโค่นผู้นำอย่าง LINE ไปได้ แต่ถือว่าในประเทศจีนนั้น WeChat ไม่เป็นสองรองใคร

Martin Lau นั้นขณะนี้รับตำแหน่ง President ของ Tencent Group บริษัทเทคโนโลยีระดับแถวหน้าของประเทศจีน จากวีดีโอข้างต้นนั้น ทาง Martin Lau นั้นได้ไปพูดในงานเสวนาที่ Stanford University ของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งสิ่งที่เป็นข้อดีสำหรับนักศึกษาในมหาลัยชั้นนำของอเมริกา คือ จะได้รับแรงบรรดาลใจจากผู้ที่ประสบความสำเร็จมากมายทั่วโลก มาบรรยายให้ฟังกันบ่อย ๆ

สำหรับ Tencent นั้นมีผลิตภัณฑ์ที่ดูแลอยู่มากมาย แต่ส่วนใหญ่จะเป็น Platform ในระบบ internet แทบทั้งสิ้น โดย product เปิดตัวที่ทำให้ Tencent เริ่มแจ้งเกิดคือ QQ โปรแกรมแชทชื่อดังในอดีต ซึ่งในยุคแรก ๆ ของการ chat นั้น QQ ก็ถือว่าเป็น chat application ยอดนิยมของจีน ที่ครองตลาดมาจนถึงปัจจุบัน

Marting Lau นั้นได้กล่าวเปรียบเทียบ Business Model ของทางฝั่ง US และ China ที่มีความแตกต่างกัน โดยตลาดที่ใหญ่ที่สุดจะเป็น Ecommerce ซึ่งน่าจะเหมือนกับใน US แต่ส่วนที่ต่างที่ทำให้ Tencent กลายเป็นบริษัทแนวหน้าในจีนนั้นคือ ส่วนของ Online Game ซึ่งมีมูลค่าตลาดสูงกว่าตลาดของ Display Ads และ Search Ads รวมกัน ซึ่งถือว่าเป็นจุดแตกต่างที่สำคัญของตลาด US และ China ซึ่งทาง Tencent นั้นสร้าง Platform ขึ้นมาอยู่ใน QQ.com ซึ่งจะประกอบไปด้วย service ต่าง ๆ มากมายทั้ง Game online , Instant Messenging , Ecomerce ซึ่งตรงนี้เป็นสิ่งที่น่าสนใจสำหรับตลาดใน จีน ซึ่งมีขนาดตลาดที่ใหญ่ อเมริกา อยู่มากทำให้สามารถทำรายได้อย่างมหาศาลจาก User

ซึ่ง User ที่เป็น Monthly Active User ของ Tencent นั้นตัวหลักคือ QQ ที่มีสูงถึง 818 ล้าน user ส่วน Wechat ที่เป็น product ใหม่ก็มีสูงถึง 236 ล้าน User ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงข้อได้เปรียบของบริษัทเทคโนโลยี ในตลาดที่มีขนาดใหญ่ จะมีความได้เปรียบกว่า การเริ่มสร้างในตลาดที่มีขนาดเล็ก เพราะต้นทุนทางด้าน Technology นั้นจะสูงแค่ในช่วงแรก ๆ สำหรับการจ้างคน หรือ สร้าง server เท่านั้น และสามารถหากินกับ จำนวน User ที่เพิ่มขึ้นได้เรื่อย ๆ โดยลงทุนการลงทุนเพิ่มนั้นไม่ได้มากมายเหมือนช่วงแรกที่เริ่มการสร้าง Product

นี่คือข้อได้เปรียบที่สำคัญของเหล่าบริษัทเทคโนโลยีจีน ที่สามารถสร้างรายได้มากมายมหาศาล ซึ่งสามารถสู้กับบริษัทเทคโนโลยีของ อเมริกา ได้อย่างสบาย เนื่องจากขนาดของตลาดที่ใหญ่กว่าในตอนเริ่มต้น และ สิ่งสำคัญคือนโยบายการ Block Service แทบจะทุกอย่างจากอเมริกาเช่น facebook , twitter , youtube … ซึ่งทำให้บริษัทภายในจีนนั้นสามารถแจ้งเกิดขึ้นมาได้ และเนื่องจากความสามารถของคนจีนในด้านเทคโนโลยีนั้น ก็ถือว่าแทบไม่ต่างจากทางฝั่งอเมริกาเลย และ โดยเฉลี่ยสูงกว่าด้วยซ้ำ ซึ่งเราจะเห็นคนฝั่งเอเชียชื่อดังใน silicon valley เป็นจำนวนมากในปัจจุบัน

ก็น่าสนใจเหมือนกันว่าในอนาคตนั้นบริษัทเทคโนโลยีจีนเหล่านี้อาจจะกลับมาบุกประเทศอเมริกาก็เป็นได้หลังจากสร้างความแข็งแกร่งจากตลาดภายในประเทศเรียบร้อย คิดว่าคงอีกไม่กี่จากนี้ เราอาจจะได้เห็นบริษัทเทคโนโลยีจีน เข้าซื้อกิจการบริษัทยักษ์ใหญ่ของอเมริกาก็เป็นได้