Geek Monday EP18 : Tencent กับกลยุทธ์ Make AI Everywhere

ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งบริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้านเทคโนโลยีของจีนที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีนผลักดันให้พัฒนาเทคโนโลยี AI รุ่นต่อไป Tencent ก็กำลังประสบความสำเร็จในการลงทุนด้านเทคโนโลยีใหม่

Tencent เป็นนักลงทุนอันดับต้น ๆ (รายงานว่ามีมูลค่า 120 ล้านเหรียญสหรัฐ) ในการก่อตั้ง UBTech ซึ่งเป็น บริษัท ที่มุ่งเน้นไปที่หุ่นยนต์ ซึ่งหุ่นยนต์ของ UBTech ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ Walker ซึ่งเป็นหุ่นยนต์สองเท้าที่เปิดตัวในงาน Consumer Electronics Show ปี 2018 ที่สามารถเดินลงบันไดได้เหมือนมนุษย์ 

และในบรรดา บริษัท เทคโนโลยีจีนที่รู้จักกันในชื่อ BAT (Baidu, Alibaba และ Tencent), Tencent มีส่วนร่วมในข้อตกลงและความร่วมมือด้าน AI มากที่สุด และการลงทุนด้าน AI ส่วนใหญ่นั้นอยู่ในสหรัฐอเมริกา

ซึ่งในความร่วมมือกับบริษัทในหลายอุตสาหกรรมรวมถึงกลุ่มยานยนต์ปักกิ่ง (BAIC) Tencent ลงทุนในการพัฒนาเทคโนโลยี AI เพื่อใช้ในยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยตนเอง

ในด้านอุตสาหกรรม Healthcare ก็เช่นกัน ที่ AI เป็นหลักสำคัญที่ Tencent ต้องวิจัยและพัฒนา ซึ่งจีนต้องการเป็นผู้นำระดับโลกด้านการแพทย์โดยใช้เทคโนโลยี AI 

สถาบันทางการแพทย์มากกว่า 38,000 แห่ง มีบัญชี WeChat และ 60% ของสถาบันเหล่านี้อนุญาตให้ผู้ป่วยจองนัดหมายออนไลน์ นอกจากนี้ยังมีโรงพยาบาล 2,000 แห่งที่รับชำระเงิน WeChat บริการเหล่านี้อนุญาตให้ Tencent รวบรวมข้อมูลผู้ผู้ป่วยที่มีค่าซึ่งจะช่วยในการฝึกอบรมอัลกอริทึมด้าน AI ให้มีความฉลาดมากยิ่งขึ้น

และในการเป็นหุ้นส่วนล่าสุดกับ Babylon Health ผู้ใช้ WeChat จะสามารถเข้าถึงผู้ช่วยด้านการดูแลสุขภาพแบบเสมือน Tencent ได้ลงทุนใน iCarbonX ซึ่งเป็น บริษัท ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาตัวแทนแบบดิจิทัลของแต่ละบุคคลเพื่อช่วยให้การแพทย์ส่วนบุคคลสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น

ความพยายามด้านการวิจัยและพัฒนาภายในของ Tencent ทำให้เกิดการพัฒนาแพลตฟอร์ม AI ในการดูแลสุขภาพอย่าง Miying ที่เปิดตัวในปี 2017 แพลตฟอร์มนี้ช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพสามารถวินิจฉัยโรคมะเร็งประเภทต่างๆและวิเคราะห์รวมถึงจัดการบันทึกการดูแลสุขภาของผู้ป่วยได้

Tencent ถือเป็นผู้เล่นคนสำคัญในความทะเยอทะยานของจีนที่จะเป็นผู้นำด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในระดับโลก เนื่องจากในอนาคต AI จะเปลี่ยนอุตสาหกรรมในทุกประเภท และ Tencent กำลังก้าวนำเพื่อสร้างบริษัทให้แข็งแกร่งในอนาคตด้วยกลยุทธ์ Make AI Everywhere นั่นเองครับ

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน Podbean : 
https://tharadhol.podbean.com/e/geek-monday-ep18-tencent-make-ai-everywhere/

ฟังผ่าน Spotify : https://open.spotify.com/episode/17Wrb6NvMKdGsvQ0wLtHAF

ฟังผ่าน Youtube :
https://youtu.be/4-DZSIp9oFw

ประวัติ Jack Ma แห่ง Alibaba ตอนที่ 18 : Ma vs Ma

แจ๊ค กับ อาลีบาบานั้น เรียกได้ว่าผ่านมรสุมด้านธุรกิจมามากมาย และเนื่องจากโลกของ internet นั้นมันเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และรุนแรงมาก เกิดบริการต่าง ๆ ขึ้นมากมาย ตั้งแต่ยุคแรกของ เว๊บไดเรคทอรี่ และเปลี่ยนมาเป็น อีคอมเมิร์ซ จากนั้นมาเป็น search engine ที่กำลังมาแรง ทุกคนก็ต่างกระโจนเข้ามาสู่ธุรกิจนี้ และล่าสุดคือธุรกิจแพลตฟอร์มบน mobile ไม่ว่าจะเป็น Chat หรือ Social Network ใครสามารถครองใจลูกค้าได้มากกว่า ก็มีสิทธิ์ที่จะแย่งลูกค้าออกมาจากบริการเดิม ๆ ที่เป็นเจ้าตลาดอยู่ได้ง่าย ๆ 

มันเป็นคลื่นลูกใหม่ที่เป็นรูปแบบเดียวกันทั่วโลก ที่ ใครสามารถดึงคนให้อยู่ในบริการตัวเองบนมือถือ ก็ถือว่าเป็นต่อทางด้านธุรกิจเป็นอย่างมาก เพราะสามารถนำเสนอบริการต่าง ๆ เข้าไปยังลูกค้าได้อย่างง่ายดายผ่านมือถือ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ติดตัวกับมนุษย์ทุกคนเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว

และมันนำพาให้แจ๊ค เข้าสู่สงครามของ แพล็ตฟอร์มมือถือ ซึ่งคู่ต่อสู้นั้นค่อนข้างโลว์โปรไฟล์อย่าง WeChat ของ Tencent แต่ฐานลูกค้ามีจำนวนมหาศาลมาก มันเป็นศึกใหม่ที่แจ๊คต้องมาประสบพบเจออีกครั้ง WeChat ที่กำลังมาแรงมากในขณะนั้น และมันทำให้เป็นการเผชิญกันของสองตระกูล หม่า ระหว่าง แจ๊ค หม่า และ โพนี่ หม่าเจ้าของ Tencent ผู้พัฒนา WeChat

โพนี่ หม่า แสดงให้แจ๊คเห็นโลกใหม่ในแพล็ตฟอร์มมือถือ
โพนี่ หม่า แสดงให้แจ๊คเห็นโลกใหม่ในแพล็ตฟอร์มมือถือ

สำหรับ Tencent เจ้าของ WeChat นั้น ก่อตั้งเมื่อปี 1998 โดยทีมผู้ก่อตั้งเป็นคนจีนล้วน โดยมีฐานที่มั่นอยู่ในเมืองเสิ่นเจิ้น ในช่วงแรกให้บริการเว๊บพอร์ทัลสำหรับคนจีน ก่อนจะมีผลิตภัณฑ์แรกที่สร้างชื่อให้บริษัทคือ QQ ( โดยเป็นการ copy idea มาจาก ICQ โปรแกรม chat ชื่อดังในขณะนั้น) และมีการแปลงมาเป็น WeChat หลังจากเข้าสู่ยุคของมือถือ

WeChat นั้นมีฐานลูกค้ามาจากบริการ QQ ซึ่งเป็นบริการ Instant Messenger ที่สะสมมาหลายปี มันเป็นลูกค้ากลุ่มเดิมที่ทำให้ตัวเลขของผู้ใช้ WeChat ที่ได้รับมาจาก QQ นั้นมีจำนวนมหาศาลกว่า 600 ล้านรายในขณะนั้น

WeChat ที่แปลงร่างมาจาก QQ
WeChat ที่แปลงร่างมาจาก QQ

ซึ่งแจ๊คได้ส่งบริการอย่าง Laiwang.com (ชื่อในขณะนั้น) เข้ามาสู้กับ WeChat สงครามนี้มันเริ่มมาจาก Tmall นั้นได้เริ่มลบบริการของ WeChat ออกไปจำนวนมาก โดยอ้างเรื่องของความปลอดภัยของข้อมูล ทาง WeChat ได้ตอบโต้กลับด้วยการปิดบัญชี taobao ของผู้ค้าบางรายที่มีการเชื่อมต่อกับ WeChat

แม้ในสายตาคนส่วนมาก Laiwang นั้นไม่สามารถเทียบได้กับ WeChat เลย เพราะ WeChat ในขณะนั้นได้ยึดครองส่วนแบ่งโดยเฉพาะในส่วนของบริการ Chat ในจีนแทบจะเบ็ดเสร็จ โดยมีบริการเสริมต่าง ๆ ภายในตัวแอป WeChat เพิ่มเติมอีกมากมาย โดยจะเน้นด้านเกมส์เป็นหลัก ซึ่งเป็นรายได้หลักของบริษัทในขณะนั้น

แจ๊คนั้นร้อนรน ถึงขนาดที่ว่า ต้องเขียนจดหมายถึงพนักงานบริษัท โดยมีใจความสำคัญในเรื่อง ความสำคัญของสงครามครั้งนี้ โดยให้พนักงานทุกคนนั้นมีส่วนร่วม ถึงขนาดว่าใครไม่เข้าร่วมก็ไม่ควรอยู่ในบริษัทนี้ต่อไปเลยด้วยซ้ำ สิ่งที่แจ๊คกำลังทำมันไม่ใช่ยุทธศาสตร์เพียงอย่างเดียว แต่มันคือความพยายามเพื่อให้ได้สิทธิที่อาลีบาบาจะอยู่รอดในสงครามยุค Mobile และมีการเปรียบเทียบกับสงครามครั้งเก่า ๆ ว่าขนาด ebay ซึ่งเป็นคู่ต่อสู้ที่แข็งแกร่งมาก ๆ ในขณะนั้น ที่ไม่มีใครเคยเชื่อว่าจะเอาชนะได้ เขาก็สามารถนำอาลีบาบาเอาชนะได้สำเร็จมาแล้ว

แจ๊คส่ง Laiwang หวังจะมาสู้กับ WeChat
แจ๊คส่ง Laiwang หวังจะมาสู้กับ WeChat

ต้องบอกว่าการมาของ WeChat นั้นทำให้ ทุกอย่างที่อาลีบาบาสร้างมายาวนานนั้น ไม่มีความมั่นคงอีกต่อไป เพราะตอนนี้โลกกำลังเข้าสู่ยุคของ Mobile เต็มตัว หากแพลตฟอร์มใดปรับตัวช้านั้น มีโอกาสที่จะถูกกินรวบได้เลยทีเดียว

WeChat แม้จะไม่ใช่ธุรกิจ อีคอมเมิร์ซก็ตาม แต่มีผู้ใช้กว่า 600 ล้านคน ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าที่ใคร ๆ ก็อยากได้ จุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้แจ๊คเห็น ทิศทางที่น่ากลัว คือปี 2013 ในเทศกาลคนโสด นักช็อปออนไลน์ของจีนส่วนใหญ่ได้เปลี่ยนการสั่งซื้อจากทางคอมพิวเตอร์ ไปเป็นสั่งซื้อผ่านทางมือถือแทนแล้ว และในยอดขายจาก 35,000 ล้านหยวนนั้น มีถึง 5,350 ล้านหยวนที่มาจากคำสั่งซื้อผ่านโทรศัพท์มือถือ และแพลตฟอร์มที่กำลังครองโลก Mobile ของประเทศจีนในขณะนั้น ก็คือ WeChat นั่นเอง

สาเหตุสำคัญเนื่องมาจากตอนนั้น สมาร์ทโฟน นั้นมีวิวัฒนาการที่สมบูรณ์แล้ว และราคาของมือถือเริ่มถูกลงอย่างมาก ทำให้ประชากรส่วนใหญ่ของจีนนั้นสามารถเข้าถึงมือถือเหล่านี้ได้ มีบริษัทมือถือเกิดขึ้นมากมายในประเทศจีนไม่ว่าจะเป็น Xiami , VIVO , OPPO ซึ่งล้วนแล้วแต่สามารถผลิตมือถือจำนวนมาก ๆ ได้ในราคาย่อมเยาว์แทบจะทั้งสิ้น ทำให้ชาวจีนนั้นเปลี่ยนจากการใช้คอมพิวเตอร์มาใช้งานบนมือถือแทนในแทบทุกบริการออนไลน์ ซึ่งรวมถึงบริการทั้งหมดของอาลีบาบาด้วย

บริษัทผลิตมือถือเกิดขึ้นมากมายในประเทศจีน และแข่งขันกันอย่างดุเดือดโดยเฉพาะเรื่องราคา
บริษัทผลิตมือถือเกิดขึ้นมากมายในประเทศจีน และแข่งขันกันอย่างดุเดือดโดยเฉพาะเรื่องราคา

มันเป็นเรื่องน่ากลัว แม้ตัว WeChat นั้นจะไม่ได้ทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซโดยตรงก็ตาม แต่ WeChat กลายเป็นช่องทางหลักของข้อมูลจำนวนมหาศาลจากผู้ใช้ มันจึงเป็นที่ดึงดูดใจ ต่อลูกค้าของ taobao ที่ใช้ WeChat เป็นช่องทางหนึ่งในการสั่งซื้อสินค้า

แม้ท่าทีของ WeChat นั้นไม่ได้คุกคาม อาลีบาบาโดยตรงก็ตาม แต่แจ๊คนั้นคาดการณ์ล่วงหน้าไว้แล้วว่า ใครสามารถคอนโทรล ต้นน้ำของข้อมูลได้ก่อน ก็มีโอกาสที่จะชนะได้ในทุกศึก ไม่เว้นแม้กระทั่งศึก อีคอมเมิร์ซเองก็ตาม แต่แม้จะส่ง Laiwang มาสู้ แต่ดูเหมือนจะไม่ได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคเท่าที่ควร

แจ๊คนั้นพยายามพัฒนา Features เพื่อลอกเลียนแบบ WeChat แทบจะทุกอย่างให้กับ Laiwang โดยกว่า 80% ของโปรแกรมนั้นแทบจะเลียนแบบมาจาก WeChat เลยก็ว่าได้ มีต่างกันนิดหน่อยในเรื่องของ concept ของการเป็นเพื่อนกัน ที่ดูเหมือน Laiwang นั้นจะมองความสัมพันธ์ของผู้ใช้งานน้อยกว่า WeChat

Laiwang นั้นแทบจะโคลนทุกอย่างของ WeChat มาด้วยซ้ำ
Laiwang นั้นแทบจะโคลนทุกอย่างของ WeChat มาด้วยซ้ำ

Laiwang นั้นไม่มีความคิดที่จะทำให้ลูกค้าของ taobao กลายเป็นลูกค้าของตนเอง หากแต่ต้องการสร้างตัวตนใหม่ให้หลุดจากภาพเดิม ๆ ของอีคอมเมิร์ซ ให้มองมันเป็นแพลตฟอร์มด้าน Social media ล้วน ๆ 

แจ๊คไม่เพียงเป็น พรีเซ็นเตอร์ให้ Laiwang ด้วยตนเองเท่านั้น เขายังเชิญเหล่ามิตรสหายของเขาทั้งหลายมาช่วยโฆษณาให้ Laiwang อีกด้วย เขาแจ้งให้พนักงานในเครือของเขาให้หันมาใช้ Laiwang และเพิ่มภารกิจให้ชวนเพื่อนมาอีก 100 คนมาช่วยใช้งาน Laiwang พนักงานทุกคนต้องลงทะเบียน Laiwang ไม่อย่างงั้นมีโอกาสที่จะอดโบนัสปลายปีได้ ซึ่งแม้จะพยายามทำทุกวิถีทางอย่างไรก็ดี มันก็ไม่สามารถเปลี่ยนใจผู้ใช้ส่วนใหญ่ที่ผูกติดกับบริการของ WeChat ได้แล้ว

แต่มันเป็นสิ่งที่แจ๊คต้องทำ เพราะเขาสู้มาโดยตลอดไม่ว่าจะเป็นคู่แข่งรูปแบบใด นั้นเขาไม่เคยที่จะยอมแพ้ ซึ่งแม้สุดท้าย Laiwang ของแจ๊ค นั้นจะแพ้อย่างราบคาบให้กับ WeChat แต่มันทำให้เห็นจิตวิญญาณของนักสู้ของแจ๊ค ที่เริ่มมองเห็นภัยคุกคามที่กำลังคืบคลานเข้ามา มันเป็นเรื่องของวิสัยทัศน์ และจิตวิญญาณนักสู้ของแจ๊คที่มีมาตั้งแต่แรกเริ่มก่อตั้งอาลีบาบา

ตอนหน้าจะเป็นตอนสุดท้ายของ Series ชุดนี้แล้วนะครับ โปรดติดตามตอนจบของ Series และบทสรุปสุดท้ายของชายที่ชื่อ Jack Ma ครับผม

–> อ่านตอนที่ 19 : Retirement (ตอนจบ)

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Internet *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ