Email & Bulletin Board กับการถือกำเนิดขึ้นของชุมชนออนไลน์ครั้งแรกของโลก

ย้อนกลับไปในยุคแรก ๆ ที่เครือข่ายเน็ตเวิร์กอย่าง ARPANET ถือกำเนิดขึ้นมาใหม่ ๆ เหล่านักวิจัยต่างสรรหาแนวคิด เพื่อที่จะให้มันกลายเป็นเครือข่ายสำหรับการใช้ทรัพยากรทางด้านคอมพิวเตอร์ร่วมกันให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

ความจริงอย่างหนึ่งเกี่ยวกับยุคแรก ๆ ของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ก็คือ ความปรารถนาที่จะสื่อสารเชื่อมต่อทำงานร่วมกัน และ จัดตั้งชุมชนออนไลน์นั้น มีแนวโน้มที่จะสร้างแอปที่มีความน่ากลัวสำหรับในยุคนั้น

แต่ ARPANET ก็ได้สร้างสิ่งประดิษฐ์ที่ล้ำค่าขึ้นมาสำเร็จในปี 1972 ซึ่งสิ่ง ๆ นั้นก็คือ email ที่เราได้ใช้กันมาจวบจนถึงทุกวันนี้

ในยุคนั้นโปรแกรมที่มีชื่อว่า SNDMSG อนุญาตให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ส่วนกลางขนาดใหญ่ สามารถที่จะส่งข้อความไปยังโฟลเดอร์ส่วนตัวของผู้ใช้รายอื่นที่ใช้คอมพิวเตอร์เครื่องเดียวกันร่วมกันได้

ในช่วงปลายปี 1971 Ray Tomlinson วิศวกรจาก MIT ที่ BBN ได้ตัดสินใจ hack เพื่อสร้างสิ่งที่น่าสนใจซึ่งจะช่วยให้สามารถส่งข้อความดังกล่าวไปยังโฟลเดอร์บนเครื่องเมนเฟรมอื่น ๆ ได้

ซึ่งเขาได้ทำการรวม SNDMSG เข้ากับโปรแกรมถ่ายโอนไฟล์ และเรียกมันว่า CPYNET ซึ่งสามารถที่จะแลกเปลี่ยนไฟล์ระหว่างคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกลกันบน ARPANET ได้ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่น่าทึ่งมาก ๆ ในยุคนั้น

ตัวอย่างการส่ง email ในยุคแรก ๆ
ตัวอย่างการส่ง email ในยุคแรก ๆ

ซึ่งหลังจากนั้นเขาก็ได้คิดสิ่งที่เราได้ใช้กันมาจนถึงทุกวันนี้ นั่นก็คือ @ ชื่อโฮสต์ ซึ่ง Tomlinson ไม่เพียงแต่สร้าง email เท่านั้น แต่เขาเป็นคนคิดค้นสัญลักษณ์ @ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญของโลกเราที่ใช้ในการเชื่อมต่อกัน ที่ใช้มาจวบจนถึงทุกวันนี้อีกด้วย

ซึ่งการเกิดขึ้นของ email นี่เองที่ทำให้ กลายเป็นวิธีการหลักในการทำงานร่วมกัน ของคนในยุคนั้น มันได้เปลี่ยนการสื่อสารของมนุษย์เราไปตลอดกาล

Stephen Lukasik ผู้อำนวยการของ ARPA ก็กลายเป็นหนึ่งในผู้ติด email รายแรก ๆ จึงทำให้นักวิจัยทุกคนที่ต้องการติดต่อกับเขา ต้องปฏิบัติตามไปด้วย ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ในช่วงปี 1973 เพียงไม่ถึง 2 ปี หลังจากการคิดค้นของ email ข้อมูลในเครือข่าย ARPANET กว่า 75% เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันผ่านระบบ email

email ไม่เพียงแค่อำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่มันได้นำไปสู่การสร้างชุมชนออนไลน์ครั้งแรกของโลกเรา ซึ่งไม่เคยปรากฏขึ้นมาก่อน

ซึ่งชุมชนออนไลน์ยุคแรก ๆ นั้น เป็นกลุ่มของ email ที่กระจายไปยังสมาชิกในกลุ่ม ตัวอย่างกลุ่ม email ยอดฮิตในยุคแรก ๆ ได้แก่ SF-Lovers ซึ่งเป็นกลุ่มของแฟนนิยายวิทยาศาสตร์ ซึ่งต้องบอกว่าในตอนแรกผู้อำนวยการ ARPA ต้องการที่จะปิดมัน ด้วยความกลัวว่าวุฒิสมาชิกบางคนอาจไม่สนุกด้วยที่รู้ว่า มีการเกิดขึ้นของชุมชมออนไลน์ Sci-Fi ที่ใช้งบจากทางการทหาร

แต่ในไม่ช้า วิธีการอื่น ๆ ในการสร้างชุมชนออนไลน์ก็ได้ถือกำเนิดขึ้น โดยใช้เทคโนโลยีเบื้องหลังของอินเทอร์เน็ต

ในเดือนกุมภาพันธ์ปี 1978 พนักงานบริษัทคอมพิวเตอร์สองคนในเมืองชิคาโก Ward Christensen และ Randy Suess ได้พบว่าตัวเองกำลังถูกถล่มจากหิมะที่กำลังตกหนัก

พวกเขาจึงได้ใช้เวลาช่วงดังกล่าวที่ไม่สามารถออกไปไหนได้ สร้างระบบ Bulletin Board System ซึ่งอนุญาตให้ hacker มือสมัครเล่น หรือ ผู้ดูแลระบบ สามารถตั้งค่า Forum ออนไลน์ของตัวเองขึ้นมาได้ โดยมีการนำซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์มาปล่อย และ สร้างระบบโพสต์ข้อความออนไลน์ขึ้นมาให้แลกเปลี่ยนไฟล์กัน

Bulletin Board System ชุมชนออนไลน์ที่สามารถใช้ PC เครื่องเดียวเชื่อมต่อคนทั้งโลก
Bulletin Board System ชุมชนออนไลน์ที่สามารถใช้ PC เครื่องเดียวเชื่อมต่อคนทั้งโลก

และใครก็ตามที่สามารถเข้าถึงโลกออนไลน์ได้ในยุคนั้น ก็สามารถที่จะเข้ามาร่วมใน Board ดังกล่าวได้

ซึ่งในปีต่อมานักศึกษาจาก Duke University และ University of North Carolina ซึ่งตอนนั้นยังไม่ได้เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ได้พัฒนาอีกระบบ ที่ใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ซึ่งมี Forum สนทนาแบบข้อความและการตอบกลับ ซึ่งกลายเป็นที่รู้จักกันในชื่อง “Usenet” โดยมีผู้เข้ามาร่วมใช้งานกว่าพันแห่งในมหาวิทยาลัยและสถานบันต่าง ๆ ทั่วประเทศ

ต้องบอกว่าการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีทั้งสองนี้ทั้ง email และ Bulletin Board ได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงการสื่อสารของมนุษย์เราไปตลอดกาล ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไปสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารผ่านชุมชนออนไลน์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาในภายหลังได้อย่างง่ายดาย

ซึ่งข้อมูลต่างๆ เหล่านี้นั้นเดิมทีมนุษย์เราต้องทำการค้นคว้าในห้องสมุดเพียงอย่างเดียว เรียกได้ว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ส่งผลกระทบต่อความเปลี่ยนแปลงของโลกเราให้ก้าวหน้าขึ้น อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ด้วยองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่แผ่กระจายไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ที่ทุก ๆ คนสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ต่าง ๆ ได้ผ่านทางคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวนั่นเองครับ

References : https://spectrum.ieee.org/tech-history/cyberspace/social-medias-dialup-ancestor-the-bulletin-board-system
https://www.networkworld.com/article/3220488/history-of-computers-part-1-the-bulletin-board-system.html
หนังสือ The Innovators How a Group of Hackers, Geniuses, and Geeks Created the Digital Revolution โดย Walter Isaacson

Geek Story EP15 : Xerox กับบทเรียนครั้งสำคัญในการสร้างนวัตกรรมให้กับผู้อื่น

Xerox เป็นบริษัทแรก ๆ ที่สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่มีหน้าจอ คีย์บอร์ด เมาส์ และ GUI ที่เรียกว่า Xerox Alto ซึ่งในปี 1973 ในช่วงเวลาที่ผู้คนยังคงคิดว่าคอมพิวเตอร์เป็นเมนเฟรมขนาดใหญ่ในห้องคอมพิวเตอร์

Xerox ได้สร้างเครื่องจักรที่ปฏิวัติวงการอย่างบ้าคลั่งในยุคนั้น และมันทำให้เกิดสิ่งต่าง ๆ มากมายที่เปลี่ยนแปลงโลกเราอย่างที่ไม่เคยเป็นมากก่อน แล้วมันเกิดอะไรขึ้น? ที่พวกเขาแทบจะไม่ได้ใช้ประโยชน์จากมัน

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/2PDoJdE

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://bit.ly/31A0OBs

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/2PALwqz

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/T8X5bBTHl0Y

NetScape Time ตอนที่ 12 : Fighting the Real Enemy

สถานการณ์ของ NetScape ดูเหมือนจะดูดีไปเสียทุกอย่าง บริษัทสามารถเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ได้สำเร็จ สร้างสถิติต่าง ๆ ไว้มากมาย สำหรับบริษัทหน้าใหม่ที่เพิ่งเข้าตลาดหลักทรัพย์ มีสื่อมากมายต่างชื่นชมพวกเขา มีการเปรียบเทียบ Marc Andreessen ว่าเป็น Bill Gates คนใหม่แห่งโลก internet

แต่ความจริงแล้วมันไม่ได้เป็นเช่นนั้น ตัวอย่างมีให้เห็นในธุรกิจคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ซึ่งใช้เวลาเพียงไม่ถึง 20 ปี ทุกสิ่งทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลงอย่ารวดเร็ว ผู้ให้กำเนิด Computer ส่วนบุคคลอย่าง Steve Jobs ก็ไม่สามารถพา Apple ไปสู่ฝั่งฝันได้

ในธุรกิจเทคโนโลยี สินค้าใหม่ๆ ที่ดีกว่าเดิมนั้นเกิดขึ้นทุก ๆ วัน ไม่มีใครเข้าใจเรื่องดีกว่า Bill Gates แม้เรื่องที่เขาประสบความสำเร็จในการผูกขาดธุรกิจนี้ แต่ไม่มีมีอะไรมาหยุดยั้งความทะเยอทะยานของเขาได้เลย

วิธีการของ Bill Gates นั้น เขาทำราวกับว่า Microsoft นั้นถูกคุกคามอยู่ตลอดเวลา และต้องต่อสู้เพื่อดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด อยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นปรัชญาที่สำคัญที่เราจะได้เห็น Microsoft นั้นลงไปแข่งขันในหลากหลายธุรกิจด้านไฮเทค

ในยุคนั้นต้องบอกว่า Microsoft เป็นบริษัทที่แข็งแกร่งมาก ๆ เครื่อง PC แทบจะทั้งโลกใช้ระบบปฏิบัติการของเขา และ Microsoft ก็ยังเป็นผู้ควบคุมโปรแกรมที่อยู่บนเครื่องเหล่านี้

Bill Gates นั้นมักจะแสดงออกอย่างชัดเจน ว่าไม่ต้องการให้ใครมาเติบโตและเข้มแข็ง และเป็นภัยคุกคามกับธุรกิจของเขา Gates จะมองว่า Microsoft คือตัวแทนของเขา ที่มีความทะเยอทะยาน มีความมุ่งมั่น และชอบเอาชนะ

ในปี 1994 กว่า 80% ของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลใช้ระบบปฏิบัติการของ Microsoft และพวกเขายังมีความทะเยอทะยาน ที่จะเอาชนะ คู่ต่อสู้ทางธุรกิจในทุก ๆ ราย ไม้เว้นแม้กระทั่งธุรกิจ internet

แม้ในตอนแรก Microsoft จะไม่เข้ามาแข่งโดยตรงกับ NetScape โดยมองธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ internet และทำการก่อตั้ง Microsoft Network เพื่อให้บริการด้านออนไลน์ในปี 1994

Jim นั้นรู้ดีว่า อย่างไรเสีย Microsoft ก็จะกลายเป็นคู่แข่งขันที่น่ากลัวที่สุดสำหรับ NetScape จึงต้องเร่งพัฒนาตัวเองเต็มที่ให้ได้มากที่สุด เพื่อรอการแข่งขันที่กำลังจะมาถึงในไม่ช้า

NetScape ต้องการลงในระบบปฏิบัติการใหม่ของ Microsoft อย่าง Windows 95
NetScape ต้องการลงในระบบปฏิบัติการใหม่ของ Microsoft อย่าง Windows 95

ในเดือนกันยายนปี 1994 ซึ่งเป็นเวลา 1 เดือนก่อนการเปิดตัวโปรแกรม NetScape มีการติดต่อจากผู้บริหารที่ดูแลการพัฒนาระบบปฏิบัติการ Windows 95 จาก Microsoft ได้แจ้งมาทาง NetScape Communication ว่าต้องการที่จะซื้อลิขสิทธิ์โปรแกรมไปลง โดยเสนอเงินสูงถึง 1 ล้านเหรียญเพื่อเป็นค่าลิขสิทธิ์ดังกล่าว

แน่นอนว่า Jim นั้นไม่ต้องการดำเนินธุรกิจร่วมกับ Microsoft เพราะประวัติศาสตร์มันบอกว่า บริษัทใดที่มอบลิขสิทธิ์โปรแกรมให้ Microsoft แล้วนั้น มักจะถูกกำจัดออกจากเส้นทางอยู่เสมอ ซึ่ง Jim นั้นรู้ในเรื่องนี้ดี

มี Case ตัวอย่างมากมายที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Rob Glaser ผู้ก่อตั้ง RealNetwork ผู้ขายลิขสิทธิ์ให้ Microsoft สุดท้ายลงเอยด้วยการขึ้นศาลฟ้องร้องบริษัท Microsoft ในไม่กี่ปีต่อมา หรือใน case ของ Sun Microsystem ที่ให้ลิขสิทธิ์โปรแกรมกับ Microsoft เช่นเดียวกัน และภายหลังต้องยื่นฟ้อง Microsoft ในกรณีละเมิดข้อตกลง

ซึ่ง Microsoft นั้นมักจะใช้วิธี ในการดูดกลืนบริษัทเล็ก ๆ เข้าเป็นส่วนหนึ่งของ Microsoft มากเสียกว่า และ Spyglass ที่เพิ่งเจรจากับ Microsoft ในเรื่องลิขสิทธิ์ของ Mosaic ก็กำลังจะกลายเป็นเหยื่อรายต่อไป

Rob Glacer จาก Realnetwork ที่จบไม่สวยกับ Microsoft
Rob Glacer จาก Realnetwork ที่จบไม่สวยกับ Microsoft (ภาพจาก : GettyImages)

แต่การที่ James Barksdale เข้ามาบริหาร NetScape นั้น ก็ช่วยให้สามารถเพิ่มยอดขายได้เป็นอย่างมาก มีการเพิ่มพนักงานขายเพิ่มอีกเท่าหนึ่ง และสถานการณ์ในขณะนั้น ธุรกิจของ NetScape ยังอยู่ในจุดที่ดีมาก ๆ ซึ่งระหว่างนั้น Jim เองก็คิดว่า Microsoft ก็กำลังจับจ้องมามองที่พวกเขาอยู่ตลอดเวลาเช่นเดียวกัน

หลังจากเปิดตลาดผลิตภัณฑ์ NetScape Communicator 1.0 ในช่วงกลางเดือนธันวาคม ปี 1994 กระแสตอบรับนั้นออกมาดีมาก ๆ มีลูกค้าหลั่งไหล่เข้ามาเซ็นสัญญาจำนวนมากมาย รวมถึงเกิดช่องทางธุรกิจอื่นๆ ที่ตามมาอีกมากมายด้วยเช่นกัน

จนกระทั่งถึงเดือนมีนาคม ปี 1995 มีการพัฒนา NetScape version 2.0 ออกมา และต้องการมีส่วนร่วมกับการทำงานกับโปรแกรมของ Microsoft ในส่วนของ APIs (Application Programming Interfaces ) เพื่อให้โปรแกรม NetScape สามารถต่อสายโทรศัพท์ผ่านเครื่องที่ใช้งานระบบปฏิบัติการ Windows 95 ได้ ซึ่งแน่นอนว่าต้องการความร่วมมือกับ Microsoft

และ Microsoft ก็ได้เริ่มแผนการแรกด้วยการ ดึงเวลา ไม่ยอมมอบ APIs ให้กับ NetScape ซึ่ง Jim คิดว่าเป็นแผนการของ Microsoft ที่ต้องการเขี่ย NetScape ออกจากวงจรธุรกิจนี้ โดยไม่ให้ผู้ใช้เครื่อง PC ที่มีถึง 80% ของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมดใช้งานโปรแกรม NetScape Communicator version 2.0 ที่จะลงใน Windows 95

เรียกได้ว่า สถานการณ์ในตอนนั้น เริ่มสร้างความกดดันให้กับ NetScape เป็นครั้งแรกจากคู่แข่งที่น่ากลัวที่สุดอย่าง Microsoft ซึ่งมันดูเหมือนเป็นเกมส์ที่ไม่ค่อยแฟร์เท่าไหร่เลย เพราะ Microsoft มีระบบปฏิบัติการที่ Control ทุกอย่างของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มันคือแผนการตัดแข้งตัดขา NetScape แบบเห็นได้ชัดเจนครั้งแรก เพราะ APIs เหล่านี้นั้น บริษัทอื่น ๆ ได้รับจาก Microsoft แทบจะทั้งหมด ยกเว้น NetScape เพียงบริษัทเดียวที่ไม่ได้รับความร่วมมือในครั้งนี้

ดูเหมือน Microsoft ยักษ์ใหญ่ สามารถควบคุมเกมส์ ของเขาได้ แน่นอนว่าไม่มีใครอยากสู้กับ Microsoft แต่ Jim และทีมงานจาก NetScape นั้นมาไกลเกินกว่าที่จะถอยแล้ว แล้วพวกเขาจะจัดการปัญหานี้อย่างไร และ เรื่องราวของ NetScape จะลงเอยที่ไหน โปรดอย่าพลาดติดตามตอนหน้าครับผม

–> อ่านตอนที่ 13 : Monopoly Power

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Billion Dollar Company *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

References : https://www.telegraph.co.uk/technology/microsoft/windows/11817065/Twenty-years-ago-Microsoft-launched-Windows-95-changing-the-world.html

ประวัติ Tim Cook ตอนที่ 3 : Jobs in Time

ต้องบอกว่าการได้งานที่ IBM ถือเป็นช่วงเวลาที่โชคดีอย่างยิ่งของ Cook เพราะอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์กำลังอยู่ในช่วงเริ่มเฟื่องฟู ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1980 เหล่าผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลต่างกำลังต่อสู้เพื่อดึงดูดกลุ่มลูกค้าที่กำลังคิดจะมีคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องแรก

คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของ IBM ถือเป็นเครื่องจักรที่ล้ำสมัยในยุคนั้น ที่ราคาขายราว ๆ 1,565 เหรียญ การใช้งานภาษา BASIC ซึ่งเป็นภาษาเขียนโปรแกรมยอดนิยมในยุคนั้น และให้ความยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพสูง มีการใช้งานไมโครโพรเซสเซอร์ขนาด 16 บิต , Ram 16 กิโลไบต์ และสามารถเก็บข้อมูลได้ 40 กิโลไบต์ ซึ่งถือว่ามีขนาดใหญ่มาก ๆ ในยุคสมัยนั้น

โดยแผนกคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของ IBM ตั้งอยู่ในโรงงานขนาดใหญ่ที่ Research Triangle Park โดยกลยุทธ์ของ IBM ก็คือการว่าจ้างบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยดัง ๆ จำนวนมาก มาฝึกอบรม และมาทำการโปรโมตเลื่อนตำแหน่งในกลุ่มของตนเอง

และ Cook ก็อยู่ในสถานการณ์เดียวกันกับบัณฑิตจบใหม่เหล่านั้น เขาได้ร่วมงานที่โรงงาน RTP ที่มีขนาดกว่าหกแสนตารางฟุต มีจำนวนการผลิต ถึง 6 สายการผลิตทำงานตลอด 24 ชั่วโมง ตั้งแต่วันจันทร์ถึงศุกร์ สามารถผลิตคอมพิวเตอร์ได้ราว ๆ นาทีละเครื่อง

โดยประมาณครึ่งหนึ่งของพนักงานในโรงงานทั้งหมด 12,000 คนนั้น เป็นผู้ประกอบชิ้นส่วนต่าง ๆ และแทบจะทั้งหมดนั้นทำด้วยมือ โดยสามารถประกอบคอมได้ราว ๆ 6-8 พันเครื่องต่อวัน และอาจเพิ่มขึ้นถึงหมื่นเครื่องต่อวันในช่วงพีค

IBM PC ที่เป็นเจ้าตลาดและทันสมัยมากในยุคนั้น
IBM PC ที่เป็นเจ้าตลาดและทันสมัยมากในยุคนั้น

โดยโรงงานของ IBM ใช้แนวคิดการผลิตแบบลีน โดยใช้ระบบการผลิตแบบทันเวลา (JIT) โดยปรัชญาของ JIT ในสหรัฐอเมริกาได้รับการออกแบบเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพในขณะที่หลีกเลี่ยงสินค้าส่วนเกิน ซึ่งมันได้รับความนิยมในประเทศญี่ปุ่นในช่วงปี 1960 และ 1970 ซึ่งนำโดยบริษัทผลิตรถยนต์ยักษ์ใหญ่อย่าง Toyota ที่ใช้ JIT เป็นเสาหลักของระบบการผลิตทั้งหมดเพื่อให้กระบวนการผลิตมีประสิทธิภาพมาขึ้นและให้ผลตอบแทนจากการลงทุนสูงนั่นเอง

และเป็นบทบาทแรกของ Cook ที่ IBM ที่เขาได้เรียนรู้ความซับซ้อนของ JIT (just-in-time) ซึ่งเขาจะใช้ในการปรับปรุงกระบวนการผลิตทั้งหมดของ Apple ในภายหลัง ซึ่งานแรกที่ IBM นั้นเขาอยู่ในสายการผลิตจากโรงงาน และเขามีหน้าที่ในการจัดการไปป์ไลน์เพื่อให้แน่ใจว่าโรงงานมีชิ้นส่วนเพียงพอที่จะสร้างคอมพิวเตอร์ ซึ่งถือเป็นงานที่ท้าทายมาก ๆ งานแรกที่ Cook ได้ทดสอบฝีมือ

และเพียงแค่ 2-3 ปีหลังจากได้เข้าร่วมงานกับ IBM ตัว Cook เองก็ได้รับการประเมินให้เป็นพนักงานที่มีศักยภาพสูงหรือ “HiPo” ซึ่งเป็นศัพท์เฉพาะของ IBM ซึ่งเป็นการวางเส้นทางสำหรับผู้นำในอนาคตของบริษัท ซึ่งในทุก ๆ ปีนั้นผู้บริหารระดับสูงในโรงงานจะเขียนรายชื่อพนักงานที่มีแนวโน้มมากที่สุด 25 คน โดยมีรายเอียดของสิ่งต่าง ๆ เช่น ประสิทธิภาพการทำงาน ความรับผิดชอบ ศักยภาพในการเป็นผู้นำ และแน่นอนว่าที่นั่น Cook คะแนนมาเป็นอันดับหนึ่งอยู่เสมอ

ซึ่งต้องบอกว่าเพื่อนร่วมงานหลายคนก็พูดในทำนองเดียวกันถึงความโดดเด่นของ Cook เพราะเขาฉายแววผู้นำมาตั้งแต่เข้าทำงานใหม่ ๆ เขามีความโดดเด่น แต่มีความสุภาพ ซึ่ง IBM ก็ช่วยส่งเสริมเขาในเรื่องความเป็นผู้นำ และเริ่มสร้างเสริมทักษะเขาด้วยการส่ง Cook ไปศึกษาเพิ่มเติมด้านธุรกิจที่มหาวิทยาลัย Duke

โดยตัว Cook นั้นได้เข้าเรียนตอนเย็นที่ Fuqua School of Business ของ Duke University ซึ่งทำให้เขาได้รับปริญญาโทสาขาบริหารธุรกิจในปี 1988 และการได้ดีกรีด้านบริหารธุรกิจนี่เองที่ช่วยพัฒนาอาชีพของเขาที่ IBM ที่ทำให้เขาเรียนรู้เรื่องของธุรกิจมายิ่งขึ้น ไม่ใช่เก่งเพียงแค่ทางด้านวิศวกรรมอย่างเดียวอีกต่อไป

เมื่อ Cook ทำงานกับ IBM เป็นเวลา 12 ปี เขาก็ได้เริ่มหาความท้าทายใหม่โดยมารับบทบาทหัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการของแผนกผู้จำหน่ายคอมพิวเตอร์ที่บริษัท Intelligent Electrics ในเมืองเดนเวอร์ มันดูเหมือนอาชีพเขาจะ Drop ลงหลังจากย้ายมาอยู่กับบริษัทเล็ก ๆ เมื่อเทียบกับ IBM ที่เป็นยักษ์ใหญ่วงการเทคโนโลยีโลก

เขาช่วยให้ Intelligent Electrics เปิดตัวโปรแกรมที่เรียกว่า PowerCorps ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อเพิ่มยอดขายผลิตภัณฑ์ Apple ผ่านตัวแทนจำหน่ายของ Intelligent Electrics โดยทำให้รายรับของ Intelligent Electrics มีรายรับเพิ่มขึ้น 21% แต่สุดท้าย Intelligent Electrics ก็เจอปัญหาเกี่ยวกับเรื่องเกี่ยวกับการขยายราคาหุ้นทำให้ตัว Cook เองแนะนำให้ผู้บริหารขายบริษัทให้กับ General Electric ในราคา 136 ล้านเหรียญ

และมันได้ทำให้เขาพบกับจุดเปลี่ยนสำคัญในอาชีพซึ่งก็คือ การได้เข้ามาร่วมงานกับ Compaq ในตำแหน่งรองประธานฝ่ายสื่อสารองค์กร เนื่องจาก Compaq เองเป็นซัพพลายเออร์รายหนึ่งของ Intelligent Electrics หลังจากขายกิจการสำเร็จ Compaq จึงได้ดึงตัว Cook เข้ามาร่วมงานเนื่องจากมองเห็นในศักยภาพของเขา

ในช่วงนั้น Compaq ได้กลายเป็นผู้ผลิต PC รายใหญ่ที่สุดของโลก แซงหน้า Apple และ IBM ได้สำเร็จ ทำให้ดูเหมือนชีวิตของ Cook จะเข้าสู่วงโคจรที่รุ่งโรจน์อีกครั้ง

สถานการณ์การแข่งขันในขณะนั้น ได้มีแนวคิดในการสร้างคอมพิวเตอร์ในราคาไม่แพงที่ต่ำกว่า 1,000 เหรียญออกมาแข่งกัน ซึ่งแน่นอนว่าทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าถึงได้มากขึ้นทำให้ตลาดมีขนาดใหญ่ขึ้น

Compaq ที่ได้ก้าวขึ้นมาเป็นเบอร์ 1 ของโลกในยุคนั้น
Compaq ที่ได้ก้าวขึ้นมาเป็นเบอร์ 1 ของโลกในยุคนั้น

Intel ได้เปิดตัว Celeron ซึ่งเป็น CPU ราคาประหยัดในเดือนเมษายน ปี 1998 รวมถึง AMD ก็ผลิตชิปในราคาถูกเข้ามาแข่งขัน ทำให้ราคาของเครื่องคอมพิวเตอร์ลดลงเป็นอย่างมาก

และแน่นอนว่า ราคา PC ที่ลดลงส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อ Apple เป็นอย่างมาก ในขณะที่เครื่อง PC ราคาถูกลง ทำให้ผู้คนเมินที่จะซื้อผลิตภัณฑ์ของ Apple ที่มีราคาแพง ทำให้มีสินค้าของ Apple ขายไม่ออกและค้างอยู่ในโกดังเป็นจำนวนมาก

ตัว Cook เองในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งที่ Compaq นั้น ได้ช่วยให้บริษัท เปลี่ยนไปสู่รูปแบบการผลิตตามคำสั่ง ซึ่งเป็นแนวคิดต่อยอดจาก JIT ที่เขาเคยได้เรียนรู้ที่ IBM นั่นเอง โดยใช้ชื่อว่า “Optimized Distribution Model” ซึ่งแทนที่จะลงทุนสร้างเครื่องจักรเพื่อคาดการณ์อุปสงค์ แต่ Compaq จะเริ่มกระบวนการผลิตหลังจากได้รับคำสั่งซื้อแทน

สิ่งนี้นี่เองที่ทำให้การผลิตคอมพิวเตอร์ของ Compaq มีความยืดหยุ่นมากขึ้น และช่วยลดปริมาณสินค้าคงคลัง แต่ในทางกลับกัน บริษัทต้องจัดการซัพพลายเออร์ของตนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อที่จะตอบสนองความต้องการได้อย่างรวดเร็วและคุ้มค่า

Cook เป็นผู้ที่บทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลง Optimized Distribution Model ที่ Compaq และทำให้ชื่อของเขากลายเป็นที่จับตามองในวงการผลิตคอมพิวเตอร์ ซึ่งที่ Compaq นี่เอง ที่ Cook ได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับเหล่าซัพพลายเออร์ เพื่อให้เปลี่ยนมาใช้รูปแบบ Model ใหม่ดังกล่าว

และสถานการณ์ในขณะนั้นบริษัทอย่าง Apple ที่เริ่มหมดหวังกับการที่จะปรับปรุงกระบวนการผลิตที่สุดยุ่งเหยิงของตัวเอง เพื่อให้สามารถกลับมาแข่งขันกับคู่แข่งในวงการคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ที่ดูเหมือนจะเริ่มหมดหวังเข้าไปทุกที สถานการณ์ของบริษัทย่ำแย่ถึงภาวะใกล้ล้มละลาย

แต่ก็เป็น Steve Jobs ที่ได้กลับมากุมบังเหียน Apple ในรอบที่สองอีกครั้ง และงานสำคัญของเขาก็คือมองหาวิธีแก้ไขปัญหา ในเรื่องการผลิต และหาคนที่เหมาะสมสำหรับงานดังกล่าว และ Cook เองก็เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุดที่จะช่วยพลิก Apple ให้กลับมารุ่งเรืองได้อีกครั้ง

ต้องบอกว่า เมื่อทั้งสองได้มาเจอกัน มันคือจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของวงการคอมพิวเตอร์ ที่ Jobs และ Cook สองผู้นำที่แตกต่างกันจะมาร่วมมือกันเพื่อสร้างระบบการผลิตแบบ Just-in-Time ให้กับ Apple จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อสองผู้นำที่จะได้มาร่วมมือกันเปลี่ยนโลกอีกครั้งให้กับ Apple ที่ใกล้ล้มละลายเต็มที โปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 4 : The Operations Guy

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :The Death of God *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

ติดตาม ด.ดล Blog เพิ่มเติมได้ที่
Fanpage :facebook.com/tharadhol.blog
Blockdit :blockdit.com/tharadhol.blog
Twitter :twitter.com/tharadhol
Instragram :instragram.com/tharadhol

Geek Story EP7 : Compaq ผู้ปฏิวัติวงการ PC ตัวจริงที่ถูกลืม

ถ้ากล่าวถึง brand Compaq คิดว่าหลายคนคงจะลืมกันไปแล้วว่ามี Brand นี้อยู่ในโลกด้วยหรือ แต่ถ้าย้อนไปในยุคเริ่มต้นของการกำหนดของ PC หรือ ยุคคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลนั้น ต้องถือว่า Brand Compaq เป็น Brand แรก ๆ ที่กล้ามาต่อกรกับยักใหญ่อย่าง IBM ในสมัยนั้นได้

ต้องบอกว่า Compaq นั้นมีประวัติที่น่าสนใจ ที่ไม่ค่อยมีคนกล่าวถึงกันนัก ซึ่ง Campaq นั้นเกิดขึ้นในช่วงประมาณปี 1982 ซึ่งเป็นยุคตั้งไข่ของ PC พอดิบพอดี ซึ่งก่อตั้งโดยอดีตพนักงานของบริษัทยักษ์ใหญ่ในสมัยนั้นอย่าง Texus Intrument ซึ่งเหล่าผู้ก่อตั้งทั้ง 3 คนประกอบไปด้วย Rod Canion , Jim Harris และ Bill Murto

มันเป็นการเริ่มต้นจากงานอดิเรก พร้อมกับความคิดบ้า ๆ ของทั้งสามคน ที่ต้องการจะก่อตั้งบริษัท ซึ่งตอนนั้นต้องบอกว่าทั้งสามไม่ได้มีเงินมากมาย รวมถึง ไม่ได้มีแหล่งเงินทุน ที่เข้าถึงง่ายอย่าง Startup ในปัจจุบัน ทั้งสามต้อง จำนองบ้าน รวมถึงขายรถ เพื่อมาเป็นทุนในการเริ่มต้นเปิดบริษัท

ในยุคนั้นต้องบอกว่า IBM นั้นถือเป็นยักษ์ใหญ่มาก ๆ ของวงการธุรกิจของอเมริกา ควบคุมทุกอย่างอย่างเบ็ดเสร็จในโลกเทคโนโลยี ทำทุกอย่างตั้งแต่ computer mainframe สำหรับองค์กร ไปจนถึง คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล การที่จะมาสู้กับยักษ์ใหญ่อย่าง IBM นั้นถือว่าไม่ใ่ช่เรื่องที่ควรจะทำเป็นอย่างยิ่ง

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน Podbean : http://bit.ly/2VKPbEJ

ฟังผ่าน Apple Podcast :   https://apple.co/2lEqPPg

ฟังผ่าน Google Podcast :  http://bit.ly/2B6TsbW

ฟังผ่าน Spotify : https://spoti.fi/2Vz02Bg

ฟังผ่าน Youtube :   https://youtu.be/HHq5I2dqTTU