Smartphone War ตอนที่ 4 : Turning point

หลังจากความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงกับ ROKR ที่ทาง Apple ได้ร่วมมือกับ Motorola เพื่อหวังจะเป็นบันไดสำคัญในการก้าวเข้าสู่ธุรกิจมือถือของ Apple ซึ่งแน่นอนว่ามันทำให้ จ๊อบส์ นั้นโกรธหัวฟัดหัวเหวี่ยง แทบจะไม่อยากเอ่ยถึงในเรื่องดังกล่าวเลยเสียด้วยซ้ำ

แต่การทดลองครั้งนี้ของ จ๊อบส์ และ Apple มันก็ไม่ได้เสียเปล่าไปเลยเสียทีเดียว เพราะมันทำให้ปลุกไฟของ จ๊อบส์ ให้มีความอยากที่จะสร้างมือถือที่จะปฏิวัติวงการไปแบบสิ้นเชิง มันได้ปลุกไฟของจ๊อบส์ ให้กลับมาลุกโชติช่วงอีกครั้งหลังจากได้ปฏิวัติวงการเพลงสำเร็จไปแล้วด้วย iPod

และแน่นอนว่า จ๊อบส์ ต้องการจับมือกับ Cingular เครือข่ายโทรศัพท์มือถือที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกาอีกครั้ง แต่เขารับประกันว่าครั้งนี้จะไม่เลวร้ายเหมือนที่ได้ร่วมผลิต ROKR กับ Motorola อย่างแน่นอน

ซึ่งในขณะนั้น มือถือ ไม่ได้เป็นเป้าหมายแรกของจ๊อบส์ ที่จะปล่อยออกสู่ตลาด แต่มันคือ Tablet ที่ทีมงานของพวกเขากำลังสร้างอยู่ต่างหาก โดยตอนนั้น Apple กำลังพัฒนา Tablet แบบจอสัมผัส จ๊อบส์ จึงสั่งการให้ลูกทีมเปลี่ยนทิศทางของผลิตภัณฑ์มาที่มือถือทันที

แต่การสร้างมือถือตั้งแต่ศูนย์ นั้นมันไม่ใช่เรื่องง่ายเลยสำหรับบริษัทที่สร้างคอมพิวเตอร์อย่าง Apple แม้กระทั่ง Palm เองก็ต้องดิ้นรนอย่างหนักกว่าจะประสบความสำเร็จในตลาด smartphone แต่มันก็กลายเป็นความสำเร็จเพียงชั่วครู่เท่านั้นสำหรับ Palm เพราะคู่แข่งรายใหญ่ที่น่ากลัวที่สุดมันกำลังจะเกิดขึ้น

อีกบริษัทหนึ่งที่กำลังสร้างผลงานในตลาดมือถือ ที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือ บริษัท รีเสิร์ช อิน โมชั่น (Research in Motion หรือ RIM) เป็นบริษัทจากแคนาดา ซึ่งเป็นผู้พัฒนาอุปกรณ์ไร้สายที่มีจุดเด่นในการ “ส่งอีเมล” ถึงมือถือผู้ใช้ ทุกที่ ทุกเวลา โดยรู้จักกันในชื่อว่า “แบล็กเบอร์รี่ (Blackberry)”

ระยะแรกเมื่อปี 2001 “แบล็กเบอร์รี่” เป็นเพียงเพจเจอร์ (Pager) ขนาดเล็ก ที่ผู้ใช้แต่ละคนสามารถพิมพ์ข้อความรับ-ส่งหากันได้เอง โดยมีหน้าจอขาวดำ และ แผงปุ่มกดเหมือนแป้นพิมพ์ของคอมพิวเตอร์

และ Blackberry นี่เองที่ได้กลายเป็น smartphone ที่มีประโยชน์อย่างแท้จริงเครื่องแรก ๆ ของโลก เพราะมีทั้ง email รวมถึงสามารถเชื่อมต่อได้อย่างง่ายได้เมื่อเดินทางไปไหนมาไหน และจุดเด่นที่คนหลงรักก็คือ แป้นพิมพ์ QWERTY 

และรูปแบบการเข้ารหัสของข้อความที่ส่งผ่านกันในเครือข่าย Blackberry นั้น ทำให้เหล่าบริษัทยักษ์ใหญ่ โดยเฉพาะด้านการเงิน นั้นมั่นใจที่จะใช้งาน เพราะข้อมูลที่มีมูลค่ามหาศาลของเหล่านักการเงินในบริษัทนั้นจะไม่ถูกขโมยออกไปอย่างแน่นอน

Blackberry ที่เน้นด้านความปลอดภัยของข้อมูล
Blackberry ที่เน้นด้านความปลอดภัยของข้อมูล

และทุกส่วนต่าง  ๆ ดังที่กล่าวนี้เองที่ทำให้ในปี 2006 RIM สามารถสร้างรายได้มากกว่า 835 ล้านดอลลาร์ ซึ่งสูงกว่ารายรับของ Palm ถึง 2 เท่า และมีกำไรสูงถึง 176 ล้านดอลลาร์ ซึ่งสูงกว่ากำไรของ Palm กว่า 10 เท่า สามารถจำหน่ายเครื่อง Blackberry ออกไปได้กว่า 1.8 ล้านเครื่องเลยทีเดียว

ส่วนฟากฝั่ง Microsoft นั้น ก็ดูเหมือนจะเป็นยักษ์ใหญ่ที่ตายใจ ตอนนั้น Microsoft ได้เข้ามาสู่ธุรกิจมือถือมาหลายปีแล้ว และ หลังจากการร่วมกับ Palm ก็หวังจะช่วงชิงส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้น 

ซึ่ง Microsoft นั้นใช้ Model เดียวกับธุรกิจระบบปฏิบัติการ Windows บน PC ก็คือ การขายสิทธิการใช้งานระบบปฏิบัติการ Windows Mobile นั่นเอง โดยไม่ได้ลงไปเล่นในตลาด Hardware เหมือนเจ้าอื่น ๆ ที่ทำกัน โดยเน้นทำส่วนที่ตัวเองถนัดอย่าง Software มากกว่า

โดยในปี 2006 นั้น Microsoft สามารถขายสิทธิ์การใช้งาน Windows Mobile ไปยังผู้ผลิตมือถือ Brand ต่าง ๆ ได้ถึง 5.9 ล้านชุด  และหลังจากนั้นอีก 1 ปีให้หลัง สามารถทำยอดขายเพิ่มขึ้นได้เป็นสองเท่า โดยสามารถขายได้ 11 ล้านชุด และมันเป็นช่วงขาขึ้นอย่างชัดเจนสำหรับ Microsoft ในตลาดมือถือโลก

และในช่วงเวลาดังกล่าวนี้เอง ถ้าพูดถึงระบบปฏิบัติการที่ใช้งานง่ายที่สุด ก็คงเป็น Windows Mobile ของ Microsoft เพราะมีการออกแบบมาตั้งแต่ต้นให้มาจัดการรูปแบบ email ของ Microsoft รวมถึงการท่องเว๊บ การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต และแน่นอนว่า Microsoft ต้องการเข้ามาผูกขาดตลาดมือถือให้ได้อีกครั้งหลังจากทำสำเร็จมาแล้วกับ Windows บน PC นั่นเอง

อนาคตของ Windows Mobile ที่ค่อนข้างสดใสมาก ๆ
อนาคตของ Windows Mobile ที่ค่อนข้างสดใสมาก ๆ

ส่วนฟากฝั่งของ Google หลังจากได้ Android ของ Rubin ตอนนี้ Google ก็พร้อมแล้วเช่นเดียวกันสำหรับการกระโจนเข้าสู่ตลาดโทรศัพท์มือถือ ซึ่งจะกลายเป็นอนาคตของอินเตอร์เน็ต Google ก็หวังจะกลายเป็นโปรแกรมการค้นหาอันดับ 1 บนมือถือให้ได้เหมือนกับที่เขาทำได้ผ่านเว๊บไซต์บน PC

จากตอนนี้ เราจะเห็นได้ว่า ช่วงปี 2006-2007 ถือเป็นรอยต่อครั้งสำคัญของการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจมือถือโลก ผู้ที่ดูเหมือนได้เปรียบที่สุด ที่จะกลายเป็นเจ้าตลาดมือถือ ควรจะเป็น Microsoft เพราะตอนนั้น พร้อมทุกอย่าง ทั้งระบบปฏิบัติการ บริการ email ที่อยู่เบื้องหลัง รวมถึงได้จับมือกับ Palm เพื่อช่วยเหลือด้าน Hardware อีกด้วย

รวมถึงเหล่าพัฒนาในขณะนั้น ก็เริ่มเทใจมาที่ Microsoft เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เรียกได้ว่าทุกอย่างพร้อมไปเสียหมดสำหรับ Microsoft อีกเพียงนิดเดียวก็จะถึงเส้นชัยในการกินรวบตลาดแบบที่พวกเขาทำได้บน PC เสียแล้ว

แล้วจุดเปลี่ยนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ธุรกิจมือถือ ในปี 2007 ซึ่งเรียกได้ว่ามันเป็นการเปลี่ยนวิถีชีวิตของมนุษย์ ก่อนยุค 2007 ไปอย่างสิ้นเชิง อุปกรณ์ที่เป็นนวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตั้งแต่โลกเราก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ที่เปลี่ยนบริษัท Apple ที่แทบจะไม่ติดอันดับในบริษัทยักษ์ใหญ่ Fortune 500 เสียด้วยซ้ำ ในขณะนั้น ให้ก้าวมาสู่บริษัทที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลกอย่างที่เราเห็นได้อย่างไร โปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 5 : That’s iPhone

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 : Phone & Microsoft *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Smartphone War ตอนที่ 2 : Android & Google

ในเดือนกันยายนปี 2005 การประกาศรวมตัวของ Microsoft กับ Palm นั้นทำให้พนักงาน Google คนหนึ่งเกิดความสนใจขึ้นมา เขาคือ Andy Rubin ผู้เป็นอดีตพนักงาน Apple และเพิ่งได้ทำการขายบริษัทที่สองของเขาคือ Android ไปให้กับ Google ได้ไม่นาน

Andy Rubin เป็นชาวยิวอเมริกัน ที่เติบโตในนิวยอร์ก เป็นลูกของนักจิตวิทยาที่ก่อตั้งบริษัทขึ้นมาเอง และพ่อของเขาก็ทำงานเกี่ยวกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ด้วย เขาสามารถสร้างกระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ ได้ด้วยตนเอง ขณะที่ยังเด็ก

โดยเขาเรียนจบจากวิทยาลัยอูตีกา ในอูตีกา นิวยอร์ก ในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ เขามีประวัติการทำงานอันน่าทึ่ง เพราะเริ่มทำงานที่บริษัท คาร์ล ไซซ์ ในตำแหน่ง วิศวกรหุ่นยนต์  ก่อนที่จะก้าวเข้าสู่บริษัทแอปเปิล ในฐานะวิศวกรควบคุมฝ่ายการผลิต

หลังจากนั้นก็ได้เข้าร่วมงานกับ Artemis Research ที่ก่อตั้งโดย Steve Perlman ซึ่งเป็นผู้สร้าง WebTV ที่สุดท้ายได้ถูก Microsoft ซื้อไปในที่สุด

หลังจากนั้นอีกหลายปีต่อมา Rubin ก็ได้ออกมาตั้งบริษัทเองชื่อ Danger Inc. ซึ่งบริษัท Danger นี่เองที่เป็นผลงานโดดเด่นมากของ Rubin ในการทำระบบ OS บนมือถือ

ซึ่งได้กลายเป็นสินค้ายอดฮิตของวัยรุ่นอเมริกานั่นคือ Danger Hiptop (T-Mobile SideKick) ซึ่งเป็นโทรศัพท์ที่มีความสามารถคล้าย ๆ กับ PDA โดยมีการบอกความเป็น Entertainment ให้ดูมีความสนุกสนานเหมาะกับวัยรุ่นมากขึ้น ซึ่งต่อมา Microsoft ก็ได้เข้าไปซื้อกิจการในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2008 

Danger Hiptop (T-Mobile SideKick) สินค้ายอดฮิตของวัยรุ่นอเมริกา
Danger Hiptop (T-Mobile SideKick) สินค้ายอดฮิตของวัยรุ่นอเมริกา

สำหรับ Android นั้น ดูเหมือนว่าในตอนแรก Google จะดูไม่มีท่าทีจะสนใจโดยเฉพาะ CEO ในขณะนั้นอย่าง เอริก ชมิตต์ ดูจะส่ายหัวกับ idea การจะสร้างระบบปฏิบัติการมือถือของ Google ขึ้นมา

แต่สองผู้ก่อตั้งของ Google อย่าง แลร์รี่ เพจ และ เซอร์เกย์ บริน นั้นได้มองเห็นโทรศัพท์มือถือว่าเป็นอนาคตที่สำคัญ จึงได้ทำการไปแอบซื้อ Android มาโดยไม่ปรึกษา CEO ในขณะนั้นอย่าง ชมิตต์ แต่อย่างใด

แน่นอนว่าพวกเขาทั้งสองนั้นได้เล็งเห็นถึงอนาคตของวงการมือถือ เพราะผลิตภัณฑ์หลักอย่าง Search Engine ของ Google นั้น ต่อไปในอนาคต คนต้องใช้งานผ่านมือถืออย่างแน่นอน ซึ่งเป็นการตัดสินใจซื้อบริษัทครั้งสำคัญครั้งนึงเลยของ Google ที่มีต่อแผนธุรกิจระยะยาวของพวกเขา

ทั้ง เพจ บริน และ รูบิน นั้น มองเห็นอนาคตของ อินเตอร์เน็ตที่จะเคลื่อนไปสู่มือถือ และเมื่อถึงตอนนั้น คนก็จะค้นหาผ่านมือถือมากกว่า PC และ Smartphone จะกลายเป็นอุปกรณ์ประจำกายของมนุษย์ และเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้อย่างแน่นอน

เพราะคนสามารถใช้ Smartphone เคลื่อนที่ไปไหนก็ได้อย่างอิสระเสรี ไม่ต้องมาอยู่กับที่เหมือนกับการเล่นอินเตอร์เน็ตบน PC หรือ Desktop และจะเกิดข้อมูลขึ้นอย่างมหาศาลเมื่อเหล่าผู้ใช้งานเคลื่อนที่ไปแต่ละแห่งอยู่ตลอดเวลา และขณะนั้นพวกเขาอยู่ที่ไหนเมื่อตอนที่กำลังท่องเว๊บเพื่อค้นหาบางอย่าง และเมื่อมีข้อมูลจากเหล่าผู้ใช้งานมากขึ้น ก็จะทำให้ประสิทธิภาพการค้นหาของ Google นั้นดียิ่งขึ้นไปอีก และยากที่ใครจะมาโค่นล้ม Google ในธุรกิจการค้นหาได้

Andy Rubin บิดาของ Android ผู้เปลี่ยน Google ไปตลอดกาล
Andy Rubin บิดาของ Android ผู้เปลี่ยน Google ไปตลอดกาล

แต่มุมของ Microsoft นั้นต่างกันกับ Google เล็กน้อยในวิสัยทัศน์ของธุรกิจมือถือ ซึ่ง Microsoft มอง internet เป็นตัวเสริม Software ของ Microsoft ที่สามารถสร้างรายได้ในตลาดธุรกิจอย่าง Exchange 

ซึ่งเมื่อมือถือกลายเป็นตลาดที่เติบโตมหาศาล ในที่สุดผู้ผลิตก็จะเรียกร้องเงินจำนวนมหาศาล เพื่อนำบริการการค้นหาใด ๆ เป็นค่าเริ่มต้นของมือถือของตัวเอง ซึ่งแน่นอนว่า Google คงไม่อยากเสียเงินแบบนี้อยู่เรื่อย ๆ อย่างแน่นอน หลังจากเสียเงินเป็นจำนวนมหาศาลเพื่อเป็น การค้นหาเริ่มต้นใน Browser อย่าง Firefox และ Safari

และหาก Microsoft และ Palm สามารถสร้างมาตรฐานใหม่ของ Smartphone ขึ้นมาได้จริง ๆ อาจจะเป็นฝันร้ายของ Google ก็เป็นได้ แม้ในศึกการค้นหาบน Desktop & PC นั้น Microsoft จะพ่ายแพ้ไปอย่างหมดรูปให้กับ Google แต่ความทะเยอทะยานครั้งใหม่ของ Microsoft ในตลาดมือถือ ก็มีโอกาสที่จะทำให้ Search Engine ของ Microsoft กลับมาแจ้งเกิดได้อีกครั้ง มันอาจจะกลายเป็นค่าเริ่มต้นของ มือถือนับล้าน ๆ เครื่องทั่วโลกสำหรับศึกการค้นหาใหม่บนมือถือก็เป็นได้

ซึ่งวิธีเดียวที่จะรับประกันอนาคตของ Google ให้มีที่ยืนในโปรแกรมค้นหาบนมือถือได้ ณ ขณะนั้นก็คือ Android และต้องมีแรงจูงใจพิเศษที่เหล่าผู้ผลิตมือถือได้รับแล้วไม่อาจปฏิเสธข้อเสนอได้ แล้ววิธีการนั้นกับระบบปฏิบัติการน้องใหม่อย่าง Android มันคืออะไร และเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญต่อธุรกิจในอนาคตของ Google เป็นอย่างยิ่ง โปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 3 : iTunes Phone

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 : Phone & Microsoft *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Smartphone War ตอนที่ 1 : Phone & Microsoft

Nokia ถือเป็นผู้บุกเบิกตัวจริงของแนวความคิดเกี่ยวกับ Smartphone ซึ่งคือการสร้างโทรศัพท์มือถือ ที่ทำได้มากกว่าแค่การโทรศัพท์ ซึ่ง แน่นอนว่าต้องทำงานได้เหมือนกับคอมพิวเตอร์แบบมือถือ ที่สามารถทำงานด้วยโปรแกรมของตัวเองได้ และใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด เนื่องจากต้องมีการพกพาอยู่ตลอดเวลา

Nokia ได้เริ่มสร้าง ระบบปฏิบัติการของตัวเอง และ สามารถทำให้ มือถือสามารถท่องเว๊บ และจัดการ Email สำหรับเหล่านักธุรกิจได้ ซึ่ง Nokia ได้ผลิตรุ่นแรกที่เป็น Smartphone ออกมาจริง  ๆ ก็คือรุ่น Nokia Communicator ที่ปล่อยออกมาในช่วงปี 1996 และเพียงแค่ปีเดียวเท่านั้น เนื่องจากยังไม่มีใครเข้ามาแข่งขันในตลาดนี้ ถือว่าเป็นตลาดใหม่ที่ใน ปี 1997 Nokia สามารถขาย Smartphone ไปได้กว่า 80 ล้านเครื่องทั่วโลก เพียงแค่ปีแรกที่ได้ผลิต Smartphone ออกมาเท่านั้น

Nokia Communicator กับการเป็น Smartphone เครื่องแรกของโลก
Nokia Communicator กับการเป็น Smartphone เครื่องแรกของโลก

และเพียงไม่นาน Nokia ก็เจอคู่แข่งรายแรก ซึ่งก็คือ Palm ซึ่งเริ่มต้นจากการผลิตคอมพิวเตอร์มือถือก่อน แล้วค่อยทำการใส่ฟังก์ชั่นของการโทรศัพท์เข้าไป ซึ่งถือว่าเป็นการเริ่มต้นคนละแบบกับ Nokia อย่างสิ้นเชิงเลยก็ว่าได้

แต่ปัญหาใหญ่ของ Plam ก็คือ การมีระบบปฏิบัติการที่ค่อนข้างล้าสมัยมาก ส่วนใหญ่จะทำงานได้ดีกับ PDA ที่ไม่มีฟังก์ชั่นการโทรศัพท์มากกว่า เพราะ Palm ถนัดในเรื่องนี้มากกว่านั่นเอง ซึ่งทำให้ ปี 2004 ผู้บริหารของ Palm เริ่มคิดถึงอนาคตว่า Palm คงก้าวต่อไปข้างหน้าไม่ได้ ต้องมีการหา Partner โดยด่วน

ซึ่ง Palm นั้นได้สร้างแนวคิดแรกของเครื่อง PDA ที่เปรียบเสมือคอมพิวเตอร์แบบพกพาขนาดเล็กมากกว่า และด้วยการที่ตลาดของ PDA ที่เริ่มหดตัวลงเรื่อย ๆ โทรศัพท์มือถือต่างเริ่มใส่ Features ต่าง ๆ เช่น ปฏิทิน และ แม้แต่การเช็ค Email เข้าไป มันทำให้อนาคตของ PDA นั้นเริ่มมืดมนลงไปทุกทีด้วยนั่นเอง

Palm ที่ในขณะนั้น สร้าง PDA ออกมาขายดิบขายดี
Palm ที่ในขณะนั้น สร้าง PDA ออกมาขายดิบขายดี

และนี่เองก็เป็นที่มาของการเข้ามาร่วมมือกันระหว่าง Palm และ Microsoft ในปี 2005 ซึ่งแน่นอนว่าสำหรับบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Microsoft นั้นการได้ Palm เข้ามาร่วมมือ ถือเป็นหลักชัยครั้งยิ่งใหญ่ของบริษัท ในการที่จะเป็นผู้กำชัยในตลาดมือถือนั่นเอง

ซึ่ง Microsoft ได้มีการออกระบบปฏิบัติการ Windows Mobile มาก่อนหน้านั้นแล้ว แต่ถือว่ายังไม่สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เนื่องจาก Microsoft นั้นไม่ถนัดได้ตลาดมือถือ หรือ อุปกรณ์พกพา เพราะตัว Windows หลักเองก็ใช้งานกับ PC ที่มีประสิทธิภาพสูงซะเป็นส่วนใหญ่นั่นเอง

ซึ่งการร่วมมือกันครั้งนี้ Palm ได้รับการอนุญาติให้มีการปรับแต่ง Interface กับ Features บางอย่างของ Windows Mobile ได้ เช่น การไม่ต้องรับสายที่เข้ามาแทนการส่งข้อความไปหาคนที่โทรเข้า หรือ ฟังก์ชั่นในการจัดการ Voicemail ให้ง่ายขึ้นเป็นต้น

ซึ่งเหล่าผู้บริหารของ Palm นั้นหันมา Focus ใหม่กับ Windows Mobile ของ Microsoft แทนการพัฒนาระบบปฏิบัติการด้วยตัวเองเหมือนเดิม รวมถึง ไม่สนใจที่จะใช้ระบบปฏิบัติการ Symbian ที่เป็น Open Source แต่มี Nokia เป็นพี่ใหญ่ในการหนุนหลังอยู่

ซึ่งแน่นอน ถือว่าเป็นการเดินเกมที่ถูกต้องอย่างยิ่งสำหรับทั้ง Palm และ Microsoft ในการร่วมมือกันครั้งนี้ เพราะเป็นการผสมผสานที่ลงตัวระหว่างความถนัดของทั้งสอง เพื่อพัฒนาระบบปฏิบัติการ รวมถึง Features ที่ให้ประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน Windows Mobile นั่นเอง

ซึ่งในขณะนั้น ถือเป็นยุครุ่งเรืองสุดขีดของความร่วมมือระหว่างทั้งสอง เพราะ ระบบปฏิบัติการ Windows Mobile กลายเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็ว และ เหล่านักธุรกิจต่าง ๆ นั้นก็เลือกใช้ Windows Mobile เสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งแตกต่างจากผู้ใช้งานทั่วไปที่จะใช้ มือถือของ Nokia 

และที่สำคัญที่สุดก็คือ Ecosystem ของ Windows Mobile นั้นกำลังแจ้งเกิดอย่างสวยงาม เพราะมีเหล่านักพัฒนา Software บนมือถือ มากกว่า 10,000 รายที่กำลังร่วมกันเขียน Application ที่จะใช้กับ Windows Mobile ซึ่งเป็นจุดที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้สำหรับระบบปฏิบัติการมือถือที่จะแจ้งเกิดได้ เหมือนกับที่เราเห็นกับ iOS หรือ Android ในปัจจุบัน ที่เมื่อสามารถจูงใจนักพัฒนาได้นั้น ก็สามารถทำให้ ผู้คนหันมาใช้งาน เพราะคนส่วนใหญ่เลือกใช้งานตาม Application ที่มีในระบบปฏิบัติการเป็นหลักนั่นเอง

ซึ่ง ณ ปี 2006 Microsoft Windows Mobile นั้นถือได้ว่าอยู่จุดสูงสุดของ Ecosystem ของ ระบบปฏิบัติการมือถือ กำลังที่จะกลายเป็นระบบปฏิบัติการมือถือ ที่คนใช้งานทั่วโลกได้ เหมือนที่ Microsoft สามารถทำได้กับ Windows on PC ซึ่งตอนนั้น ถือได้ว่าได้นำหน้าทั้ง Symbian ของ Nokia หรือน้องใหม่อย่าง RIM ผู้ผลิต Blackberry จากแคนาดา

แล้วมันเกิดอะไรขึ้น Microsoft ที่ควรจะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในระบบปฏบัติการของ Smartphone ทั่วโลก และในตอนนั้นมี Partner ที่สำคัญอย่าง Palm เข้ามาเสริมทัพ กลับกลายเป็น ต้อง สูญหายไปจากระบบปฏิบัติการมือถือโลกอย่างที่เราได้เห็นในทุกวันนี้ โปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 2 : Android & Google