Smartphone War ตอนที่ 1 : Phone & Microsoft

Nokia ถือเป็นผู้บุกเบิกตัวจริงของแนวความคิดเกี่ยวกับ Smartphone ซึ่งคือการสร้างโทรศัพท์มือถือ ที่ทำได้มากกว่าแค่การโทรศัพท์ ซึ่ง แน่นอนว่าต้องทำงานได้เหมือนกับคอมพิวเตอร์แบบมือถือ ที่สามารถทำงานด้วยโปรแกรมของตัวเองได้ และใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด เนื่องจากต้องมีการพกพาอยู่ตลอดเวลา

Nokia ได้เริ่มสร้าง ระบบปฏิบัติการของตัวเอง และ สามารถทำให้ มือถือสามารถท่องเว๊บ และจัดการ Email สำหรับเหล่านักธุรกิจได้ ซึ่ง Nokia ได้ผลิตรุ่นแรกที่เป็น Smartphone ออกมาจริง  ๆ ก็คือรุ่น Nokia Communicator ที่ปล่อยออกมาในช่วงปี 1996 และเพียงแค่ปีเดียวเท่านั้น เนื่องจากยังไม่มีใครเข้ามาแข่งขันในตลาดนี้ ถือว่าเป็นตลาดใหม่ที่ใน ปี 1997 Nokia สามารถขาย Smartphone ไปได้กว่า 80 ล้านเครื่องทั่วโลก เพียงแค่ปีแรกที่ได้ผลิต Smartphone ออกมาเท่านั้น

Nokia Communicator กับการเป็น Smartphone เครื่องแรกของโลก
Nokia Communicator กับการเป็น Smartphone เครื่องแรกของโลก

และเพียงไม่นาน Nokia ก็เจอคู่แข่งรายแรก ซึ่งก็คือ Palm ซึ่งเริ่มต้นจากการผลิตคอมพิวเตอร์มือถือก่อน แล้วค่อยทำการใส่ฟังก์ชั่นของการโทรศัพท์เข้าไป ซึ่งถือว่าเป็นการเริ่มต้นคนละแบบกับ Nokia อย่างสิ้นเชิงเลยก็ว่าได้

แต่ปัญหาใหญ่ของ Plam ก็คือ การมีระบบปฏิบัติการที่ค่อนข้างล้าสมัยมาก ส่วนใหญ่จะทำงานได้ดีกับ PDA ที่ไม่มีฟังก์ชั่นการโทรศัพท์มากกว่า เพราะ Palm ถนัดในเรื่องนี้มากกว่านั่นเอง ซึ่งทำให้ ปี 2004 ผู้บริหารของ Palm เริ่มคิดถึงอนาคตว่า Palm คงก้าวต่อไปข้างหน้าไม่ได้ ต้องมีการหา Partner โดยด่วน

ซึ่ง Palm นั้นได้สร้างแนวคิดแรกของเครื่อง PDA ที่เปรียบเสมือคอมพิวเตอร์แบบพกพาขนาดเล็กมากกว่า และด้วยการที่ตลาดของ PDA ที่เริ่มหดตัวลงเรื่อย ๆ โทรศัพท์มือถือต่างเริ่มใส่ Features ต่าง ๆ เช่น ปฏิทิน และ แม้แต่การเช็ค Email เข้าไป มันทำให้อนาคตของ PDA นั้นเริ่มมืดมนลงไปทุกทีด้วยนั่นเอง

Palm ที่ในขณะนั้น สร้าง PDA ออกมาขายดิบขายดี
Palm ที่ในขณะนั้น สร้าง PDA ออกมาขายดิบขายดี

และนี่เองก็เป็นที่มาของการเข้ามาร่วมมือกันระหว่าง Palm และ Microsoft ในปี 2005 ซึ่งแน่นอนว่าสำหรับบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Microsoft นั้นการได้ Palm เข้ามาร่วมมือ ถือเป็นหลักชัยครั้งยิ่งใหญ่ของบริษัท ในการที่จะเป็นผู้กำชัยในตลาดมือถือนั่นเอง

ซึ่ง Microsoft ได้มีการออกระบบปฏิบัติการ Windows Mobile มาก่อนหน้านั้นแล้ว แต่ถือว่ายังไม่สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เนื่องจาก Microsoft นั้นไม่ถนัดได้ตลาดมือถือ หรือ อุปกรณ์พกพา เพราะตัว Windows หลักเองก็ใช้งานกับ PC ที่มีประสิทธิภาพสูงซะเป็นส่วนใหญ่นั่นเอง

ซึ่งการร่วมมือกันครั้งนี้ Palm ได้รับการอนุญาติให้มีการปรับแต่ง Interface กับ Features บางอย่างของ Windows Mobile ได้ เช่น การไม่ต้องรับสายที่เข้ามาแทนการส่งข้อความไปหาคนที่โทรเข้า หรือ ฟังก์ชั่นในการจัดการ Voicemail ให้ง่ายขึ้นเป็นต้น

ซึ่งเหล่าผู้บริหารของ Palm นั้นหันมา Focus ใหม่กับ Windows Mobile ของ Microsoft แทนการพัฒนาระบบปฏิบัติการด้วยตัวเองเหมือนเดิม รวมถึง ไม่สนใจที่จะใช้ระบบปฏิบัติการ Symbian ที่เป็น Open Source แต่มี Nokia เป็นพี่ใหญ่ในการหนุนหลังอยู่

ซึ่งแน่นอน ถือว่าเป็นการเดินเกมที่ถูกต้องอย่างยิ่งสำหรับทั้ง Palm และ Microsoft ในการร่วมมือกันครั้งนี้ เพราะเป็นการผสมผสานที่ลงตัวระหว่างความถนัดของทั้งสอง เพื่อพัฒนาระบบปฏิบัติการ รวมถึง Features ที่ให้ประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน Windows Mobile นั่นเอง

ซึ่งในขณะนั้น ถือเป็นยุครุ่งเรืองสุดขีดของความร่วมมือระหว่างทั้งสอง เพราะ ระบบปฏิบัติการ Windows Mobile กลายเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็ว และ เหล่านักธุรกิจต่าง ๆ นั้นก็เลือกใช้ Windows Mobile เสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งแตกต่างจากผู้ใช้งานทั่วไปที่จะใช้ มือถือของ Nokia 

และที่สำคัญที่สุดก็คือ Ecosystem ของ Windows Mobile นั้นกำลังแจ้งเกิดอย่างสวยงาม เพราะมีเหล่านักพัฒนา Software บนมือถือ มากกว่า 10,000 รายที่กำลังร่วมกันเขียน Application ที่จะใช้กับ Windows Mobile ซึ่งเป็นจุดที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้สำหรับระบบปฏิบัติการมือถือที่จะแจ้งเกิดได้ เหมือนกับที่เราเห็นกับ iOS หรือ Android ในปัจจุบัน ที่เมื่อสามารถจูงใจนักพัฒนาได้นั้น ก็สามารถทำให้ ผู้คนหันมาใช้งาน เพราะคนส่วนใหญ่เลือกใช้งานตาม Application ที่มีในระบบปฏิบัติการเป็นหลักนั่นเอง

ซึ่ง ณ ปี 2006 Microsoft Windows Mobile นั้นถือได้ว่าอยู่จุดสูงสุดของ Ecosystem ของ ระบบปฏิบัติการมือถือ กำลังที่จะกลายเป็นระบบปฏิบัติการมือถือ ที่คนใช้งานทั่วโลกได้ เหมือนที่ Microsoft สามารถทำได้กับ Windows on PC ซึ่งตอนนั้น ถือได้ว่าได้นำหน้าทั้ง Symbian ของ Nokia หรือน้องใหม่อย่าง RIM ผู้ผลิต Blackberry จากแคนาดา

แล้วมันเกิดอะไรขึ้น Microsoft ที่ควรจะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในระบบปฏบัติการของ Smartphone ทั่วโลก และในตอนนั้นมี Partner ที่สำคัญอย่าง Palm เข้ามาเสริมทัพ กลับกลายเป็น ต้อง สูญหายไปจากระบบปฏิบัติการมือถือโลกอย่างที่เราได้เห็นในทุกวันนี้ โปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 2 : Android & Google

Blog Series : Smartphone War Apple vs Google vs Microsoft

สงคราม Smartphone ถือได้ว่าเป็นสงครามธุรกิจ Case ที่ Classic Case นึงทีเดียวในวงการธุรกิจโลก การล่มสลายของ Nokia ผู้ครองตลาดมาอย่างยาวนาน รวมถึง Microsoft ที่มีที่ยืนอยู่ใน Windows Mobile ในช่วงเริ่มต้นของ Smartphone นั้น ถือว่าเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง

การเกิดขึ้นของ iPhone จาก Apple ในปี 2007 ได้เปลี่ยนแปลง รูปแบบธุรกิจมือถือ ที่มีเจ้าตลาดอย่าง Nokia เคยครองมาก่อนอย่างสิ้นเชิง ซึ่ง เหล่ายักษ์ใหญ่ที่เป็นอดีตเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่ประมาท การแจ้งเกิดของ iPhone เป็นอย่างมาก ไม่คิดว่า Apple จะสามารถมาล้มล้าง การครองตลาดแบบเบ็ดเสร็จของ Nokia ลงได้ภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่ปีเท่านั้น

รวมถึง Android ระบบปฏิบัติการของ Google ที่ถือว่าสามารถแจ้งเกิดได้อย่างทันท่วงที ซึ่งคงกล่าวไม่เกิดเลยว่า พวกเขานั้นได้รับแรงบันดาลใจที่สำคัญจากระบบปฏิบัติการ iOS ของ Apple นั่นเอง

แล้วมันเกิดอะไรขึ้นระหว่างศึกครั้งนี้ ที่ใช้เวลาเพียงไม่กี่ปี แต่ได้ปฏิวัติวงการมือถือ รวมถึงได้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้คนทั่วโลกไปตลอดกาลผ่านระบบ SmartPhone ที่ได้แจ้งเกิดขึ้นใหม่นี้ อย่าพลาดติดตามได้จาก Series ชุดนี้ครับผม

–> อ่านตอนที่ 1 : Phone & Microsoft

Search War ตอนที่ 12 : Microsoft has Fallen

ล่วงเลยมาถึงปี 2011 สถานการณ์ของ Bing ก็ไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้น แผนกออนไลน์ของ Microsoft ที่รับผิดชอบ Bing นั้นขาดทุนย่อยยับกว่า 728 ล้านดอลลาร์ ในขณะที่คู่แข่งคนสำคัญอย่าง google รายได้เติบโตเพิ่มขึ้นกว่า 4 เท่า

มันเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ตอนนี้ Microsoft ถึงคราวพ่ายแพ้อย่างหมดรูปใน Search Engine มันเป็นตลาดเดียวกันแท้ ๆแต่ตัวเลขมันต่างกันลิบลับ และไม่มีทีท่าว่า Microsoft จะกู้สถานการณ์กลับมาได้เลย

ตั้งแต่ปี 2006 เป็นต้นมานั้น google สามารถทำกำไรได้กว่า 3 หมื่นล้านเหรียญ ซึ่ง Search Engine นั้นเปรียบเสมือนเครื่องจักรผลิตเงินของ google ไปเสียแล้ว มันทำให้ google แข็งแกร่งขึ้น สามารถจ้างวิศวกรระดับหัวกะทิ แย่งชิงมาจาก Microsoft ได้จำนวนมาก ด้วยวัฒนธรรมการทำงานที่ใช้ DNA ของ Engineering เป็นหลัก

มันได้ทำให้คนรุ่นใหม่ ที่จบใหม่ ๆ  นั้นต่างใฝ่ฝันที่จะได้ทำงานกับ google ซึ่งเรียกได้ว่าตอนนี้ google ได้กลายมาเป็นภัยคุกคามใหญ่ของ Microsoft อย่างเต็มตัวแล้ว แถม Microsoft ยังเสียพนักงานสำคัญ ๆ จำนวนมากไปให้กับ google เสียอีกด้วย

และไม่ต้องพูดถึงฝั่งมือถือ แม้ Microsoft จะทำ Big Deal โดยการเข้าไป take over ธุรกิจมือถือของ Nokia มาได้สำเร็จ และมีการบรรลุข้อตกลงที่จะใช้ระบบปฏิบัติการ Windows Phone ของ Microsoft ซึ่งแน่นอนว่า Bing จะกลายเป็น Search Engine ค่าเริ่มต้นของเหล่ามือถือ Windows Phone ทั้งหมด

ตลาดมือถือ ก็พ่ายแพ้อย่างหมดรูปสำหรับ Microsoft
ตลาดมือถือ ก็พ่ายแพ้อย่างหมดรูปสำหรับ Microsoft

แต่ก็อย่างที่เราได้ทราบในปัจจุบันว่า ตอนนี้ มันแทบจะไม่เหลือที่ยืนให้ระบบปฏิบัติการ Windows Phone เสียแล้ว ความหวังของ Bing ที่จะมารุกไล่ google ในตลาดมือถือก็เป็นอันจบสิ้น

ตอนนี้มันได้พิสูจน์ว่า ความคิดของ บิลล์ เกตส์ ก็ไม่ได้ถูกไปเสียทุกเรื่อง การที่ Microsoft จะพลิกกลับมาทำลายบริษัทที่เพิ่งเกิดอย่าง google นั้นดูเหมือนมันจะเป็นเรื่องที่่ห่างไกลออกไปเรื่อย ๆ ยิ่งเวลาผ่านไป ช่องว่างระยะห่างระหว่าง Bing กับ google นั้นก็ดูเหมือนจะห่างขึ้นเรื่อย ๆ เช่นเดียวกัน

แม้ Microsoft นั้นจะเคยรบชนะในศึกเทคโนโลยีมาหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นกับ NetScape ในธุรกิจ Browser หรือแม้กระทั่งโปรแกรม Word Microsoft ก็ผ่านการรบราฆ่าฟันกับคู่ต่อสู้มานับไม่ถ้วน 

แต่ก็ต้องยอมรับความจริงว่า google นั้นเป็นคู่แข่งที่ไม่เหมือนใครจริง ๆ สิ่งสำคัญมันเป็นเรื่องของวัฒนธรรม รวมถึงความแตกต่างของรุ่นระหว่างผู้บริหารระดับสูงของทั้งสองบริษัท google นั้นชนะในสงคราม Search Engine เพราะ Microsoft กำลังเข้าไปรบในดินแดนที่ตัวเองนั้นไม่คุ้นเคยแต่อย่างใด

และที่สำคัญยังมีการตัดสินใจผิดพลาดหลายครั้งในระหว่างการทำศึกคร้งนี้ รวมถึงการที่ Microsoft ประเมิน google ต่ำไป กว่าจะรู้ตัว ว่าตลาด Search Engine มันมีมูลค่าตลาดที่มหาศาล google ก็ได้พัฒนาไปไกลเสียแล้ว

บิลล์ เกตส์ นั้นต้องใช้เวลามากกว่า 15 ปีในการทำให้ Microsoft ขึ้นสู่จุดสูงสุดขององค์กรธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่การปล่อยให้ google ที่ประกอบไปด้วยเหล่าเด็กรุ่นใหม่ที่เพิ่งหัดทำธุรกิจ ได้แจ้งเกิดมาอย่างรวดเร็วนั้น หากมองในระยะยาว เราจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าในที่สุด google นั้นได้กลายเป็นภัยคุกคามธุรกิจหลาย ๆ อย่างของ Microsoft อย่างเต็มตัว มาจวบจนถึงปัจจุบันอย่างที่เราเห็นนั่นเองครับ

แล้วเราได้อะไรจากการเรื่องราวของ สงคราม Search War จาก Blog Series ชุดนี้

สงคราม Search Engine มันได้เป็นตัวอย่างนึงที่แสดงให้เห็นถึง การต่อสู้ของบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Microsoft ที่ผ่านศึกสงครามกับบริษัทต่าง ๆ มานับไม่ถ้วน และแทบจะไม่เคยพ่ายแพ้ให้กับบริษัทหน้าไหนมาก่อน

เมื่อเราลองจินตนาการกลับไปในยุคนั้น Microsoft เป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่มาก ๆ พร้อมด้วยทุนทรัพย์มากมาย บิลล์ เกตส์ ก็เป็นบุคคลที่รวยที่สุดในโลกติดอันดับหนึ่งอยู่หลายปี เรียกได้ว่า Microsoft นั้นพร้อมทุกๆ  อย่างถ้าคิดจะสู้กับบริษัทหน้าไหนก็ตาม

แต่ google บริษัทที่เกิดจากงานวิจัยที่บังเอิญ โดย ลาร์รี่ เพจ และ เซอร์เกย์ บริน นั้นได้เห็นศักยภาพที่สูงมากของ google แม้จะพยายามเสนอ idea รวมถึงขาย idea ไปยังบริษัทยักษ์ใหญ่ต่างๆ  แต่ก็ไม่มีคนสนใจ พวกเขาจึงต้องมาลุยในธุรกิจนี้ด้วยตัวเอง

ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งแรกที่เราเห็นจากสงครามครั้งนี้คือ การเลือกมืออาชีพอย่าง เอริก ชมิตต์ เข้ามาคอยดูแล google ในช่วงตั้งไข่ ซึ่งแม้จะมีศักยภาพแค่ไหน แต่การขาดผู้นำที่ดีก็อาจจะทำให้ google ไม่สามารถเติบโตระยะยาวได้อย่างมั่นคงมาจนถึงทุกวันนี้

ลองคิดดูว่าหากเป็น ทั้งเพจ และ บริน มาลุยเองตั้งแต่ช่วงแรก คงพ่ายแพ้ให้กับ Microsoft อย่างย่อยยับไปนานแล้ว การที่ ชมิตต์นั้น พยายามหลีกเลี่ยงการปะทะกับ Microsoft ให้มากที่สุด และพยายามทำทุกอย่างให้เงียบที่สุด เพราะเขาเคยปะทะกับยักษ์ใหญ่อย่าง Microsoft มาแล้วในสมัยที่ทำงานที่ Sun Microsystem และ Novell นั่นเอง และรู้ดีว่าไม่ควรจะไปสู้กับ Microsoft โดยตรง

เอริก ชมิตต์ ผู้เคยประมือกับ Microsoft มาก่อนหน้านี้แล้ว
เอริก ชมิตต์ ผู้เคยประมือกับ Microsoft มาก่อนหน้านี้แล้ว

เรื่องของประสบการณ์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่เหล่า startup ต้องมี mentor ที่ดีในช่วงตั้งไข่แบบที่ google มี เอริก ชมิตต์ เพราะหากลุยด้วยตัวผู้ก่อตั้งเองที่ประสบการณ์ยังไม่มี หรือมีน้อย และความมั่นใจในตัวเองที่สูงเกินไปนั้น โอกาสที่จะพ่ายแพ้นั้นสูงมากนั่นเอง

และด้วยเงินทุนที่น้อยกว่าอย่างเห็น ๆ  เมื่อเทียบกับ Microsoft google จึงใช้วัฒนธรรมการคิดแบบ engineering เป็นหลัก ทุก ๆ จุด ทุกรายละเอียด แม้กระทั่ง design หน้าจอในระดับ pixel หรือ เฉดสีที่แตกต่าง มันนำมาซึ่งผลที่แตกต่างกันอย่างมากหากมีการ Scale ระบบให้มีขนาดใหญ่อย่างที่ google ทำ เพราะสถิติต่าง ๆ แค่มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยนั้น ก็มีโอกาสสร้างรายได้ให้กับบริษัทเพิ่มขึ้นได้อีกมหาศาลเช่นกัน

รายละเอียดเล็กน้อยเหล่านี้ แม้จะดูเหมือนไร้สาระ แต่ความจริงแล้ว ยิ่งบริษัทที่ทุนน้อยกว่าอย่าง google ทำให้สามารถที่จะต่อการกับ ยักษ์ใหญ่อย่าง Microsoft ได้อย่างไม่เกรงกลัว และสุดท้าย พวกเขาก็สามารถเอาชนะไปได้ในที่สุดในศึก Search Engine ครั้งนี้นั่นเองครับ

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :The Beginning of Search *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

รวม Blog Series ที่มีผู้อ่านมากที่สุดรวม Blog Series ที่มีผู้อ่านมากที่สุด

อย่าลืมติดตามผลงานเรื่องต่อ ๆ ไปของผมก่อนใครได้ที่ blockdit นะครับ โหลดได้เลย

อย่าลืม ค้นหา “ด.ดล Blog” แล้ว กด follow กันด้วยนะครับผม