iPhone กับการทำลายล้างมาเฟียผู้ยิ่งใหญ่แห่งวงการเครือข่ายมือถือ

ถามว่าก่อนยุคที่ iPhone จะได้ถือกำเนิดขึ้นมาในปี 2007 นั้นสิ่งใดเป็นอุปสรรค ต่อการพัฒนานวัตกรรมใหม่ให้กับวงการมือถือมากที่สุดคงจะหนีไม่พ้น เหล่า มาเฟีย แห่งเครือข่ายโทรศัพท์มือถือทั้งหลายที่มีกระจายอยู่ทั่วโลก ที่เป็นตัวคั่นกลางระหว่างเหล่าผู้ผลิตบริษัทมือถือกับผู้บริโภคที่เป็นลูกค้าโดยตรง

ซึ่งแม้ว่าในช่วงก่อนปี 2007 เทคโนโลยีต่าง ๆ มันจะได้รับการพัฒนาไปไกลมากแล้วก็ตาม แต่เราจะเห็นได้ว่า ธุรกิจมือถือยังเป็นอะไรที่ล้าหลังเป็นอย่างมากในหลาย ๆ เรื่องแม้กระทั่งการเล่นเว๊บไซต์ต่าง ๆ ก็เป็นอุปสรรคต่อการใช้งานของผู้ใช้งานทั่วโลก ที่จะเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ทั่วโลกผ่านทางอุปกรณ์ที่พกติดตัวเราอยู่ตลอดเวลาอย่างมือถือนั่นเอง

ในขณะนั้น ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วโลกต่างคุ้นเคยกับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบ Broadband กันแล้ว แต่ค่าบริการข้อมูลแบบ 3G ผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าเหมือนได้ย้อนตัวเองกลับไปสู่การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตยุคโมเด็มผ่านสายโทรศัพท์

แน่นอนว่าเหล่ามาเฟียเครือข่ายเหล่านี้ คอยจ้องแต่จะคิดค่าบริการต่าง ๆ แทบทุกอย่าง มีการคิดค่าบริการการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นนาทีที่ใช้งาน แต่ผู้บริโภคกลับได้รับการบริการจากอินเทอร์เน็ตที่ห่วยแตกกว่าการใช้โทรศัพท์บ้านเสียอีก

เพราะเว๊บต่าง ๆ ที่โหลดมานั้นเป็นเว๊บที่ไร้คุณภาพเนื่องจากปริมาณข้อมูลที่มีจำนวนมากทำให้เหล่าผู้ให้บริการไม่อยากเสีย bandwidth ไปกับบริการเหล่านี้ และทำการชาร์จเงินกับผู้บริโภคให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

การเล่นเว๊บผ่านมือถือ ที่ไร้ซึ่งคุณภาพ
การเล่นเว๊บผ่านมือถือ ที่ไร้ซึ่งคุณภาพ

แต่ iPhone ของ Apple ได้มาเปลี่ยนแปลงทุกอย่าง Apple ต้องการให้ iPhone นั้นใช้ปริมาณข้อมูลได้อย่างไม่จำกัด และทำการเจรจากับ Cingular ที่เป็นเครือข่ายโทรศัพท์ที่ใหญ่ที่สุดในสมัยนั้นหลายครั้ง

สุดท้ายได้มีการประกาศรูปแบบการจ่ายค่าบริการมือถือแบบให้ปริมาณข้อมูลไม่จำกัด ซึ่งสูงกว่าแบบโทรศัพท์โทรเข้าออกเพียงอย่างเดียวราว ๆ 20 ดอลลาร์ต่อเดือน โดย Cingular (ตอนหลังกลายมาเป็น AT&T) จะได้รับเงินบางส่วนจากการดาวน์โหลดทาง iTunes ขณะที่ทาง Apple นั้นได้ส่วนแบ่งจากค่าบริการรายเดือนของ iPhone แต่ละเครื่องที่เชื่อมต่อกับ Cingular

และนี่เองได้เป็นการปฏิวัติครั้งสำคัญของเหล่ามาเฟียเครือข่ายมือถือทั้งหลายทั่วโลก โดย Apple ได้เปลี่ยนบทบาทของเหล่าเครือข่ายโทรศัพท์ ให้เป็นเพียงแค่ทางผ่านของโลกโทรศัพท์มือถือยุคใหม่หลังการเกิดขึ้นของ iPhone ให้พวกเขาเป็นเพียงแค่ท่อส่งข้อมูลระหว่างมือถือของลูกค้ากับโลกอินเทอร์เน็ตเท่านั้น

ทำให้เหล่าเครือข่ายมือถือไม่สามารถที่จะไปชาร์จค่าบริการใด ๆ กับลูกค้าได้อีก เรียกได้ว่า เป็นครั้งแรกที่เหล่ามาเฟียมือถือต้องมาง้อ บริษัทมือถืออย่าง Apple ซึ่งไม่เคยปรากฏขึ้นมาก่อนเลยในธุรกิจมือถือ

iPhone ที่มาพร้อมแผนที่ของ Google และ การท่องเว๊บที่แสนง่ายดาย ได้กลายเป็นหายนะของเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ที่ตอนแรกได้วางแผนที่จะคิดค่าบริการการเข้าถึงข้อมูลแผนที่ผ่านเครือข่ายมือถือ

ซึ่งแน่นอนว่าส่งผลกระทบโดยตรงต่อแผนธุรกิจของ Nokia ที่ตอนนั้นเพิ่งซื้อ Navteq บริษัทแผนที่ยักษ์ใหญ่มาในราคาสูงถึง 8.1 พันล้านดอลลาร์  โดยหวังจะได้รายรับกลับคืนมาด้วยการขายบริการแผนที่ให้บรรดาค่ายโทรศัพท์มือถือทั่วโลกนั่นเอง

Navteq ที่ Nokia หวังที่จะมาสร้างรายได้กับกับบริษํท
Navteq ที่ Nokia หวังที่จะมาสร้างรายได้กับกับบริษํท

Apple ได้พยายามอย่างหนักเพื่อเปลี่ยนอุตสาหกรรมมือถือไปแนวทางที่ตัวเองต้องการ เป็นครั้งแรกที่เหล่ามาเฟีย เครือข่ายโทรศัพท์มือถือเริ่มหวาดกลัวกับการเข้ามาของ Apple ซึ่งพวกเขาประเมิน Apple ไว้ต่ำมาก ๆ ในตอนแรก

Apple กลายเป็นราชาแห่งวงการมือถือ ทุกเครือข่ายต้องเข้ามานำเสนอสิ่งที่เย้ายวนใจให้ Apple เพื่อร่วมธุรกิจกัน Apple ทำให้ทุกอย่างนั้นกลับตาลปัตรไปหมด เพราะตั้งแต่ช่วงก่อนปี 2007 นั้น ไม่มีผู้ผลิตมือถือรายใดกล้ากำหนดเงื่อนไขกับบรรดาค่ายมือถือต่าง ๆ 

Nokia เป็นยักษ์ใหญ่มือถือเจ้าเดียวที่เคยลองทำแบบ Apple มาก่อน แล้วก็ได้บทเรียนครั้งสำคัญจากการนำโทรศัพท์ที่สามารถเล่นเพลงได้เข้าไปสู่ตลาดอเมริกา โดย Nokia ได้เคยพยายามรวมรวมข้อมูลลูกค้าที่เป็นเจ้าของโทรศัพท์เข้ามาในระบบของตัวเอง โดยไม่ผ่านค่ายโทรศัพท์มือถือ

แต่เหล่ามาเฟีย เครือข่ายมือถือ ยื่นคำขาดให้ Nokia หยุดการกระทำนั้นทันที โดย Nokia ต้องยอมทำตามแต่โดยดี เพราะไม่งั้นจะถูกแบนโดยเครือข่ายโทรศัพท์มือถือทั่วโลก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของมาเฟียเครือข่ายมือถือเหล่านี้นั่นเอง

จะเห็นได้ว่า หลังการเกิดขึ้นของ iPhone นั้นไม่เพียงแค่ปฏิวัติแค่วงการผู้ผลิตมือถือเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ที่ได้สร้างมือถือที่มีความแตกต่างออกมาเท่านั้น แต่ได้กำจัดเหล่ามาเฟียเครือข่ายมือถือ ที่เป็นอุปสรรคในการพัฒนานวัตกรรมให้กับวงการมือถือโลกมาอย่างยาวนานได้อย่างราบคาบ

มันได้ทำให้เปลี่ยน ecosystem ใหม่ทั้งหมดของ Supply Chain ของธุรกิจมือถือ ให้ทุกส่วนนั้น ทำงานที่ควรจะทำ ไม่มายุ่งย่ามกับส่วนของธุรกิจอื่น ๆ อย่างที่เหล่าเครือข่ายโทรศัพท์มือถือเคยทำมาในอดีต และที่สำคัญมันได้ทำให้วิถีชีวิตของมนุษย์เราเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง หลังจากปลดแอกจากเหล่ามาเฟียเครือข่ายมือถือเหล่านี้ได้สำเร็จนั่นเองครับ

Smartphone War ตอนที่ 14 : The Patent Fight

เกือบจะในทันทีที่ iPhone ได้ออกวางจำหน่ายในปี 2007 ทาง Nokia ก็ไม่รอช้าได้เริ่มฟ้องศาลในคดีละเมิดสิทธิบัตรหลายคดี โดยกล่าวหา Apple ว่าได้ทำการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของ Nokia ในเรื่องที่เกี่ยวกับจอสัมผัส และส่วนประกอบอื่น ๆ อีกมากมายที่ใช้ในโทรศัพท์มือถือ iPhone

เนื่องด้วยเรื่องของสิทธิบัตร เดิมทีนั้น ตั้งมาเพื่อเป็นการป้องกันบริษัทต่าง ๆ ไม่ให้ถูกลอกเลียนแบบหรือละเมิดการใช้งานสิ่งที่พวกเขาประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมา แต่ในเรื่องเทคโนโลยีนั้น มันเต็มไปด้วยรายละเอียดยิบย่อยมากมายสำหรับการสร้างสิ่ง ๆ หนึ่งที่เป็นนวัตกรรมออกมา

ซึ่งตัวอย่างในธุรกิจมือถือนั้น มันมีส่วนประกอบต่าง ๆ มากมายที่จะมารวมกันให้กลายเป็นมือถือ 1 เครื่อง ทำให้ ไม่ว่าจะเป็น วิธีในการประหยัดแบตเตอรี่ การเชื่อมต่อสื่อสารให้ดีขึ้น เสารับสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่ง User Interface ที่ใช้งาน ก็สามารถนำไปจดสิทธิบัตรได้ มันเป็นขอบเขตที่กว้างขวางอย่างมากในเรื่องของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจดสิทธิบัตร

ยิ่งเรื่องของ Software นั้นมันยิ่งเป็นเรื่องยากมาก ๆ สิทธิบัตรนั้นมักจะอยู่ที่กระกวนการสร้างสิ่ง ๆ หนึ่งขึ้นมา ไม่ใช่ผลลัพธ์ที่เกิดสิ่ง ๆ นั้น และแน่นอนว่าการสร้าง Software นั้นมันมีวิธีต่าง ๆ มากมายที่จะให้ผลลัพธ์เดียวกันได้

ซึ่งสิทธิบัตรของ Nokia ส่วนใหญ่นั้นจะเกี่ยวข้องกับ Hardware และ Process ต่าง ๆ ทาง Apple ก็พยายามต่อสู้ในเรื่องดังกล่าวว่ามันไม่ได้เกี่ยวข้องกับการสร้าง iPhone มาเลยด้วยซ้ำ และมันไม่ได้สร้างความแตกต่างให้ iPhone ขึ้นมายืนบนตลาดมือถือได้

แต่เพื่อไม่ให้เรื่องบานปลาย สุดท้าย Apple ก็ยอมจ่ายให้กับ Nokia โดยมีการจ่ายค่าลิขสิทธิ์ทั้งแบบเงินก้อน และ ลิขสิทธิ์แบบต่อเนื่อง แต่ตัวเลขไม่มีการเปิดเผยออกมา

และเหตุนี้เอง Apple จึงต้องใช้เรื่องสิทธิบัตรมาปกป้องตัวเองบ้าง โดยหลังจากเริ่มเห็น Android เริ่มเลียนแบบหลาย ๆ อย่างของ Apple ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดน่าจะเป็น Features Pinch-to-Zoom ซึ่งเป็นสิ่งที่ Apple คิดค้นมาเป็นเจ้าแรก ซึ่ง จ๊อบส์นั้นโมโหเป็นอย่างมากในเรื่องดังกล่าว

จ๊อบส์โมโหกับการที่ Android พยายามเลียนแบบ iPhone เป็นอย่างมาก
จ๊อบส์โมโหกับการที่ Android พยายามเลียนแบบ iPhone เป็นอย่างมาก

Apple เริ่มทำสงครามกับ Android ในเดือนมีนาคม 2010 เมื่อมีการฟ้องร้อง บริษัท HTC Corp ของไต้หวันที่มีการละเมิดสิทธิบัตร มากกว่า 20 ฉบับที่เกี่ยวข้องกับส่วนติดต่อผู้ใช้และระบบปฏิบัติการ นอกเหนือจากคดีความของรัฐบาลกลางแล้ว Apple ได้ยื่นเรื่องร้องเรียนต่อคณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกาอีกครั้งโดยเป้าหมายคือระบบปฏิบัติการ Android ที่อยู่เบื้องหลังการทำงานของ สมาร์ทโฟนของ HTC

คณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศออกคำสั่งเมื่อปลายปี 2011 เพื่อให้อเมริกาหยุดการนำเข้า smartphone ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ในรุ่น HTC – One X และ LTE 4G EVO โดยเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน การจัดส่งสมาร์ทโฟนทั้งสองรุ่นไปยังสหรัฐอเมริกาถูกเลื่อนออกไป Apple ได้ยื่นเรื่องร้องเรียนเพิ่มเติมอย่างน้อยสองเรื่องกับคณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศซึ่งเรียกร้องให้มีการดำเนินการฉุกเฉินกับอุปกรณ์ HTC มากกว่า 25 รายการ

ส่วนฝั่งของ Microsoft ก็จดสิทธิบัตร Software ทุกอย่างที่ทำได้ และยังเป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัทอื่น ๆ อีกมากมายที่ Microsoft ได้ไป take over มา และหลังจาก Windows Phone ดูท่าว่าสถานการณ์จะไม่ดีนัก และ Android กำลังตีปีกขยายตลาดอย่างรวดเร็ว

 Microsoft จึงตัดสินใจเริ่มฟ้องร้องโดยอ้างว่าโทรศัพท์มือถือ Android ได้มีการละเมิดสิทธิบัตรของ Microsoft ในหลาย ๆ ส่วน

พอดึงเดือนตุลาคมปี 2011 Microsoft ได้ลงนามกับเหล่าผู้ผลิต Android หลายสิบราย เพื่อให้จ่ายค่าอนุญาตสิทธิการใช้งาน ซึ่ง มีรายงานข่าวว่า HTC ต้องจ่ายสูงถึง 5 ดอลลาร์ให้กับ Microsoft ต่อการขายมือถือ Android ในแต่ละเครื่อง รวมถึง Samsung ด้วย

ซึ่งมันได้เหมือนกลายเป็น Business Model ใหม่ของ Microsoft ในตลาดมือถือได้เลยด้วยซ้ำ เพราะราคาค่าลิขสิทธิ์การใช้งาน Windows Phone ที่เดิม Microsoft หวังเป็นเรือธงนั้น ก็แทบจะไม่ต่างจากค่าอนุญาติสิทธิการใช้งานสิทธิบัตรต่าง ๆ ของ Microsoft เลยด้วยซ้ำ

ยิ่ง Android จากบริษัทเหล่านี้ขายได้มากขึ้นเท่าไหร่ Microsoft ก็ยิ่งรวยขึ้น และแทบจะไม่ต้องลงทุนอะไรเลยด้วยซ้ำ เหมือนกับใน Windows Phone ที่มีการลงทุนไปมหาศาลแต่แทบจะไม่ได้อะไรกลับมาเลย

Google ได้เรียกการฟ้องร้องของ Microsoft ในตลาด smartphone ว่าเป็นความล้มเหลวของ Microsoft ที่ไม่สามารถสร้างนวัตกรรมขึ้นมาสู้ได้ จึงใช้มาตรการทางกฏหมายเข้ามาช่วยเอากำไรจากการแข่งขันที่ดุเดือดในตลาด smartphone จากผู้ผลิตรายใหญ่ ๆ แต่ Microsoft ก็ไม่เคยแคร์ในเรื่องดังกล่าว ดังจะเห็นได้จากปัจจุบันที่ Windows Phone แทบจะสูญพันธุ์ไปแล้วแต่รายได้จากธุรกิจมือถือของ Microsoft ยังมีมากมายอยู่

Google ที่ดูเป็นรองจึงต้องหาวิธีบางอย่างมาสู้ จึงได้ไปเจรจากับ Motorola เพื่อคุยกันเรื่องความเป็นไปได้ในการซื้อบริษัทเพื่อนำสิทธิบัตรจำนวนมากที่ครอบคลุมฟังก์ชันสำคัญ ๆ ของ โทรศัพท์มือถือ ที่ Motorola ถืออยู่ 

หลังจากการเจรจากันอยู่นาน สุดท้าย Google ประกาศซื้อกิจการ Motorola Mobility ซึ่งรวมมูลค่าสูงถึง 1.25 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (หรือราว 3.75 แสนล้านบาท) ซึ่งนับว่าเป็นการซื้อกิจการที่ทาง Google ทุ่มเงินมากที่สุดในประวิติศาสตร์ของ Google เลยทีเดียว แต่มันเป็นทางเลือกไม่มากนักของ Google เพื่อที่จะปกป้อง Android

Google ทุ่มเต็มที่ในการซื้อ Motorola เพื่อปกป้อง Android
Google ทุ่มเต็มที่ในการซื้อ Motorola เพื่อปกป้อง Android

Google ไม่ได้ต้องการธุรกิจ Hardware ของ Motorola เลยด้วยซ้ำ ต้องการเพียงแค่สิทธิบัตรเท่านั้น แต่ก็ต้องทำเพื่อช่วยเหล่าผู้ผลิตมือถือที่ใช้ Android ไม่ว่าจะเป็น Samsung HTC เพื่อสู้กับการไล่ล่าทางกฏหมายจากทั้ง Apple และ Microsoft นั่นเอง

ซึ่งในเวลาเดียวกันนี่เอง ที่ Microsoft เริ่มเห็นว่า Android นั้นได้กลายเป็นโมเดลธุรกิจที่ดีกว่า Windows Phone ไปเสียแล้ว แทบจะไม่ต้องลงทุนอะไรเลยด้วยซ้ำ ไม่ต้องเหนื่อย ไม่ต้องผลิต Hardware อยู่เฉย ๆ เพียงรอการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของ Android ก็ทำให้ Microsoft ได้เงินกว่าหลายพันล้านเหรียญจากค่าสิทธิบัตรต่าง ๆ เหล่านี้ และนั่นแทบจะไม่มีรายจ่าย มันมีแต่รายรับ และเป็นกำไรเน้น ๆ ให้กับ Microsoft และสุดท้าย อาจเรียกได้ว่า การเก็บค่าสิทธิบัตรเหล่านี้มันได้กลายเป็น Passive Income ดี ๆ นี่เองสำหรับธุรกิจมือถือกับ Microsoft 

–> อ่านตอนที่ 15 : The Winner Is (ตอนจบ)

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 Phone & Microsoft *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Smartphone War ตอนที่ 13 : Trojan Horse

สถานการณ์ของ Nokia ที่เริ่มระส่ำระส่ายหลังจากการเกิดขึ้นของ iPhone และ เหล่าบรรดาโทรศัพท์มือถือ Android ที่หลาย ๆ ค่ายยักษ์ใหญ่ ต่างหันมาผลิต ทำให้งาน Stephen Elop หนักหนาสาหัสเป็นอย่างมาก ในการที่จะกู้ Nokia ให้กลับมายิ่งใหญ่ได้อีกครั้ง

Elop ได้เดินหน้าปรับองค์กรของ Nokia ครั้งใหญ่หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการยกเลิกโครงการขนาดใหญ่ซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนา, ยกเลิกการจ้างงานหลายพันตำแหน่ง ไปจนถึงขายอาคารบริษัทแม่ในฟินแลนด์ ซึ่งเขานั้นยังเป็นซีอีโอคนแรกของโนเกียที่ไม่ใช่ชาวฟินแลนด์

โดย Elop ได้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของทีมผู้บริหาร โครงสร้างการปฏิบัติการและแนวทางการทำงาน โดยสร้างทีมบริหารชุดใหม่ ที่มีความมุ่งมั่น และมีความคิดสร้างสรรค์ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาของตลาดมือถือในขณะนั้น เพื่อเร่งกระบวนการตัดสินใจและปรับปรุงเวลาในการออกผลิตภัณฑ์และนวัตกรรม โดยเน้นที่ผลลัพธ์ ความรวดเร็ว และความรับผิดชอบ

โดยในขณะนั้น Elop มีทางเลือกไม่มากนัก ในการที่จะพา Nokia ก้าวต่อไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง และต้องหาระบบปฏิบัติการใหม่ ซึ่ง ทางเลือกในตอนนั้นคงเหลือเพียงแค่ 2 choice คือ Windows Phone ของ Microsoft และ Android ของ Goolge

เพราะแผนสำรองเดิมนั้นที่วางอนาคตไว้กับ Meego ที่ Nokia ได้พัฒนาร่วมกับ Intel ดูท่าทางแล้วจะไม่ได้ผล เพราะ Meego ยังไม่พร้อมที่จะสู้ศึกใหญ่ขนาดนี้ หลังจาก Elop วิเคราะห์ โดยถี่ถ้วนแล้ว Meego ยังไม่สามารถเป็น ฐานกลยุทธ์ของ smartphone ในอนาคตของ Nokia ได้

Elop จึงได้โทรหา บอลเมอร์ ซึ่งเป็นนายเก่าทันที เพื่อสำรวจทางเลือกในการใช้ Windows Phone และขณะเดียวกันนั้นก็ได้ติดต่อกับ Eric Schmidt  CEO ของ Google ด้วยอีกทางหนึ่่ง

แม้สถานการณ์ในขณะนั้น Nokia จะยังคงเป็นผู้ผลิตมือถือรายใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ แต่กราฟมันเริ่มดิ่งลงเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในตลาด smartphone ที่ Symbian โดยแย่งชิงตลาดจากทั้ง Android และ iOS ของ Apple อย่างหนัก

ทางบอลเมอร์ ก็รู้ว่า Elop นั้นคุยกับ Google ด้วย จึงได้เริ่มทำการไล่บี้ Android ด้วยกลยุทธ์เก่าอย่างการฟ้องเรื่องการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของ Microsoft ซึ่งเป็นการขู่เหล่าผู้ผลิตมือถือไปในตัวด้วย ไม่ให้หนีไปอยู่กับ Android ทั้งหมด

และ Microsoft นั้นยังพร้อมเป็นพี่ใหญ่ Backup ให้กับผู้ผลิตมือถือทุกคน สำหรับผู้ที่ใช้งาน Windows Phone ถ้ามีการฟ้องร้องอะไรก็ตามเกี่ยวกับสิทธิ์การใช้งาน Windows Phone ทาง Microsoft จะขึ้นศาลแทนให้เอง แต่ Google ไม่พร้อมจะทำอย่างงั้นกับ Android

และท่าทีของ Elop เริ่มที่จะหันคล้อยตาม บอลเมอร์ทันที โดยมีการประกาศอย่างเป็นทางการว่า Windows Phone จะเป็นแพลตฟอร์มที่สาม ในตลาดโทรศัพท์มือถือ ไล่จะไล่บี้ iOS ของ Apple และ Android ของ Google ได้ในไม่ช้า

Nokia เดิมพันครั้งสำคัญกับ Windows Phone
Nokia เดิมพันครั้งสำคัญกับ Windows Phone

ซึ่งสุดท้าย Elop ก็ได้ตัดสินใจว่าจะร่วมวงกับ Microsoft ในการผลักดัน Windows Phone และรอให้ Windows Phone นั้นสมบูรณ์พร้อมซึ่งคาดว่าน่าจะภายในปี 2012

โดยทั้ง 2 บริษัทจะใช้ระบบปฏิบัติการ Windows Phone เป็นแพลทฟอร์มหลักของ smartphone ของ Nokia โดย Nokia จะอาศัยความเชี่ยวชาญด้านการปรับแต่งฮาร์ดแวร์ การเลือกสรรซอฟต์แวร์ ภาษาที่รองรับและขีดความสามารถในการผลิตและการเข้าถึงตลาด นอกจากนี้จะร่วมกันให้บริการเพื่อขับเคลื่อนสินค้าใหม่ ๆ เช่น Nokia Maps ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญของบริการเด่นของ Microsoft อย่าง Bing และ AdCenter แอพพลิเคชั่นและคอนเทนท์ของ Nokia จะรวมเข้ากับ Microsoft Marketplace ด้วยเช่นกัน

และแน่นอนว่า Symbian นั้นถูกลอยแพจาก Elop เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และยอดขายเริ่มตกลงอย่างชัดเจน เหล่าผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือนั้นรู้ตัวแล้วว่า Symbian ไม่สามารถที่จะมาทาบรัศมีของ Android หรือ iOS ของ Apple ได้เลย

Nokia ประกาศลอยแพ Symbian ในที่สุด
Nokia ประกาศลอยแพ Symbian ในที่สุด

มันแทบจะเหมือนแผนที่ถูกวางไว้ในการส่ง Elop มากุมบังเหียน Nokia ของ Microsoft เพราะ เพียงแค่ปีเดียวนั้น ยอดขายโทรศัพท์ของ Nokia ลดลงถึง 20% ทำให้บริษัท Nokia เริ่มขาดทุนเป็นครั้งแรกในรอบหลายสิบปี  และแน่นอนว่าตอนนี้ชะตากรรมของ Nokia ไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวเองเสียแล้ว แต่มันขึ้นอยู่กับ Windows Phone ของ Microsoft นั่นเอง แล้วจะเกิดอะไรขึ้นต่อในศึก Smartphone War สุดมันส์ครั้งนี้ โปรดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 14 : The Patent Fight

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 Phone & Microsoft *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Smartphone War ตอนที่ 10 : The Loser

ความปรารถนาของ Apple ที่ต้องการควบคุมทุกอย่างมันได้เริ่มเห็นผลในตลาด smartphone Apple ต้องการควบคุมทั้งตลาดแอพ ต้องการยอดขาย และป้องกันไม่ให้ใครมาตัดสินใจว่า iPhone ควรมีรูปลักษณ์อย่างไร 

สิ่งสำคัญอีกประการคือ ตอนนี้ เหล่านักพัฒนาเริ่มได้กลิ่นเงินจากตลาดที่จะใหญ่โตมหาศาลของ Apple มันได้ทำให้นักพัฒนาไหลมากองรวมกันเพื่อพัฒนา App บน iPhone และมันส่งผลโดยตรงต่อยอดขาย iPhone ทันที

เพราะหลังจากเปิดตัว iTunes App Store นั้นยอดขาย iPhone ก็พุ่งขึ้นไป 4 เท่าเป็น 20.25 ล้านเครื่อง และมันได้ผลักดันให้ตลาด smartphone เติบโตขึ้นร้อยละ 20 คนทั่วไปเริ่มหันมาสนใจ smartphone จากเดิมที่มีแต่ผู้ใช้งานเฉพาะกลุ่มเท่านั้น

ซึ่งตอนนี้ คนไม่ได้ซื้อ smartphone เพื่อมาใช้ email กับ ท่องเว๊บอีกต่อไป ตอนนี้ smartphone กำลังจะทำได้ทุกอย่าง เพราะมีเหล่านักพัฒนามากมายที่พร้อมจะมาให้บริการกับลูกค้าที่ต้องการ App ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น เกม โปรแกรมจัดการเอกสาร โปรแกรมบัญชี แผนที่ หรือ โปรแกรมจองร้านอาหาร เป็นต้น ทุกอย่างมันสามารถสร้างได้หมดโดย Ecosystem ของ Apple และเหล่านักพัฒนาก็พร้อมจะทำมันอย่างเต็มที่นั่นเอง

การเกิดขึ้นของ iTunes App Store ทำให้คนเริ่มหันมาสนใจ smartphone ขึ้นเป็นวงกว้าง
การเกิดขึ้นของ iTunes App Store ทำให้คนเริ่มหันมาสนใจ smartphone ขึ้นเป็นวงกว้าง

และเมื่อตัวเลขผลกระกอบการต่าง ๆ มันได้เริ่มเปิดเผยออกมาสู่สาธารณะ มันได้เริ่มเห็น Trend ที่เปลี่ยนไปอย่างชัดเจนของวงการมือถือโลก ต้นปี 2008 iPhone ได้เริ่มที่จะคว้าส่วนแบ่งของกำไรจำนวนมหาศาลในตลาด smartphone ไปครอบครองอย่างรวดเร็ว

แม้ดูเหมือนว่ายอดขายของ iPhone นั้นจะไม่มากนัก ซึ่งมันทำให้ Microsoft หรือ Nokia ยังไม่ระแคะระคายซักเท่าไหร่ มันเป็นการเข้ามาโกยตลาด Hi-End User ของ Apple ซึ่งตลาดนี้ ลูกค้าพร้อมที่จะเปย์หนักเพื่อให้ได้สิ่งที่ดีที่สุดที่พวกเขาต้องการ

และแน่นอนว่า มันเป็นตลาดที่มีกำไรสูง แม้ตัวส่วนแบ่งการตลาดของ Apple จะยังไม่มากนัก แต่กำไรต่อเครื่องของ Apple นั้นสูงมาก และสูงกว่าใครเพื่อนในตลาดมือถือ smartphone ซึ่งลูกค้าของ Apple นั้นพร้อมที่จะจ่ายสูงถึง 600 ดอลลาร์ เพื่อครอบครอง iPhone แต่ละเครื่อง

Nokia จึงไม่ได้เพียงบริษัทเดียวที่โดนผลกระทบดังกล่าว มันได้กลายเป็นผลกระทบไปยังวงกว้าง แม้แต่ Sony Ericsson หรือ Motorola ที่เป็นผู้ผลิตมือถือรายใหญ่นอกทวีปเอเชีย ก็ได้พบกับความจริงที่ว่า iPhone ได้เข้ามาแย่งส่วนกำไรของตลาดของพวกเขาไป และสถานะของบริษัทเหล่านี้ ก็เริ่มสั่นคลอนทันที

แค่เพียงเปิดตัวปีแรกของ iPhone ในปี 2007 นั้น Sony Ericsson เปลี่ยนจากบริษัทที่ทำกำไรได้ตลอดมา พลิกกลับมาขาดทุนได้ทันที และราคาขายโดยเฉลี่ยของโทรศัพท์มือถือ เริ่มพังทลายลง เงิดสดเริ่มไหลออกไปเรื่อย ๆ กำไรและยอดขายเริ่มลดลง

เนื่องจากวงจรการขายของธุรกิจมือถือนั้น เป็นวงจรที่สั้นมาก มันส่งกระทบไปในวงกว้าง ผู้จัดจำหน่ายนั้นก็พร้อมจะเลิกการขายสินค้าที่ดูเหมือนเป็นสินค้ามีตำหนิ เพราะตกรุ่นเร็ว และหายไปจากสายตาของผู้บริโภคอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกัน

Sony และ Ericsson ที่เป็นบริษัทร่วมทุนกันนั้น ต้องเทเงินเข้ามาเพื่อรักษาสภาพคล่องของบริษัท และมีการปรับโครงสร้างองค์กร ปลดพนักงานออกไปกว่าหลายพันคน ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2011 บริษัทมีการขาดทุนสะสมในช่วง ตั้งแต่ iPhone เริ่มออกจำหน่าย เป็นเงินถึง 169 ล้านปอนด์ 

สถานการณ์ของ Sony Ericsson ดูจะเลวร้ายกว่าใครเพื่อนหลังการเปิดตัวของ iPhone
สถานการณ์ของ Sony Ericsson ดูจะเลวร้ายกว่าใครเพื่อนหลังการเปิดตัวของ iPhone

Palm ก็อยู่ในสถานะไม่ต่างกัน เมื่อ iPhone เข้ามาทำตลาด มันก็ได้ถึงจุดจบของ Palm มีการขาดทุนต่อเนื่องหลายไตรมาสติดต่อกัน หลังการเปิดตัวของ iPhone บริษัทต้องปลดพนักงานออกไปเป็นจำนวนมากเพื่อรักษาสภาพคล่องของบริษัทเช่นเดียวกับเหยื่อรายอื่น ๆ 

ส่วน Microsoft บอลเมอร์ ก็เจอปัญหาที่เกิดขึ้นในแผนกโทรศัพท์มือถือ บริษัทเดนเจอร์ที่ Microsoft เพิ่ง Take Over มานั้น กลายมาเป็นปัญหาที่สำคัญ มันเป็นการรวมกันของสองบริษัทที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม บริษัทเดนเจอร์นั้น ถนัดด้าน Hardware ส่วน Microsoft เกิดมากับ Software ทำให้การทำงานผสานกันนั้นทำได้ยากมาก ๆ และเป็นอุปสรรค์ที่สำคัญของ Microsoft ในการเดินหน้าในตลาดมือถือ smartphone

ความแตกต่างในองค์กรที่รุ่นแรง ได้เป็นตัวบ่อนทำลาย Microsoft ไปเอง มันเป็นปัญหาภายใน ไม่เพียงแค่ iPhone เท่านั้นที่มาเปลี่ยนธุรกิจโทรศัพท์มือถือ แต่ Microsoft ก็เจอปัญหาของตัวเองที่ทำให้ไม่สามารถก้าวต่อไปได้ในเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อเช่นนี้

Apple นั้นไม่เหมือนใคร Apple สร้างสิ่งที่พวกเขารักขึ้นมา และทำนายในสิ่งที่ผู้บริโภคอยากได้มันจริง ๆ ส่วน Microsoft นั้น แม้จะมีแนวคิดในการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ทุกคนรัก และไปทำการสำรวจตลาด พอคนไม่ชอบตรงไหน Microsoft ก็เปลี่ยนตามที่พวกเขาชอบกัน แต่สุดท้ายก็จบลงที่ผลิตภัณฑ์ที่ไร้ซึ่งอารมณ์ร่วมกับผู้บริโภค แม้ทุกคนยอมรับก็จริง แต่ไม่มีใครรักผลิตภัณฑ์ของ Microsoft จริง เหมือนกับที่รักผลิตภัณฑ์ของ Apple นั่นเองครับ

–> อ่านตอนที่ 11 : The Rise of Android

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 Phone & Microsoft *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Smartphone War ตอนที่ 7 : The Fall of Mafia Empire

ถามว่าก่อนยุค iPhone นั้นสิ่งใดเป็นอุปสรรค ต่อการพัฒนานวัตกรรมใหม่ให้กับวงการมือถือมากที่สุดของจะหนีไม่พ้น เหล่า มาเฟีย แห่งเครือข่ายโทรศัพท์มือถือทั้งหลายทั่วโลก ที่เป็นตัวคั่นกลางระหว่างเหล่าผู้ผลิตบริษัทมือถือกับผู้บริโภคที่เป็นลูกค้าโดยตรงนั่นเอง

ซึ่งแน่นอนว่า ก่อนปี 2007 เทคโนโลยีต่าง ๆ มันได้พัฒนาไปไกลมากแล้ว แต่เราจะเห็นได้ว่า ธุรกิจมือถือยังเป็นอะไรที่ล้าหลังเป็นอย่างมากในหลาย ๆ เรื่องแม้กระทั่งการเล่นเว๊บไซต์ต่าง ๆ ก็เป็นอุปสรรคต่อการใช้งานของผู้ใช้งานทั่วโลก ที่จะเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ทั่วโลกผ่านทางอุปกรณ์ที่พกติดตัวเราอยู่ตลอดเวลาอย่างมือถือนั่นเอง

ในขณะนั้น ผู้คนทั่วโลกต่างคุ้นเคยการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบ Broadband กันแล้ว แต่ค่าบริการข้อมูลแบบ 3G ผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าเหมือนย้อนตัวเองกลับไปสู่การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตยุคโมเด็มผ่านสายโทรศัพท์

แน่นอนว่าเหล่ามาเฟียเครือข่ายเหล่านี้ คอยจ้องแต่จะคิดค่าบริการต่าง ๆ แทบทุกอย่าง มีการคิดค่าบริการการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นนาทีที่ใช้งาน แต่ผู้บริโภคกลับได้รับการบริการจากอินเทอร์เน็ตที่ห่วยแตกกว่าการใช้โทรศัพท์บ้านเสียอีก เพราะเว๊บต่าง ๆ ที่โหลดมานั้นเป็นเว๊บที่ไร้คุณภาพเนื่องจากปริมาณข้อมูลที่มีจำนวนมากทำให้เหล่าผู้ให้บริการไม่อยากเสีย bandwidth ไปกับบริการเหล่านี้ มีการชาร์จกับผู้บริโภคให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

ถึงเวลาที่เหล่ามาเฟียเครือข่ายมือถือต้องถอยลงมาอยู่ในจุดที่ควรเป็น
ถึงเวลาที่เหล่ามาเฟียเครือข่ายมือถือต้องถอยลงมาอยู่ในจุดที่ควรเป็น

แต่ iPhone ของ Apple ได้มาเปลี่ยนแปลงทุกอย่าง Apple ต้องการให้ iPhone นั้นใช้ปริมาณข้อมูลได้อย่างไม่จำกัด และทำการเจรจากับ Cingular ที่เป็นเครือข่ายโทรศัพท์ที่ใหญ่ที่สุดในสมัยนั้นหลายครั้ง

สุดท้ายได้มีการประกาศรูปแบบการจ่ายค่าบริการมือถือแบบให้ปริมาณข้อมูลไม่จำกัด ซึ่งสูงกว่าแบบโทรศัพท์โทรเข้าออกเพียงอย่างเดียวราว ๆ 20 ดอลลาร์ต่อเดือน โดย Cingular (ตอนหลังกลายมาเป็น AT&T) จะได้รับเงินบางส่วนจากการดาวน์โหลดทาง iTunes ขณะที่ทาง Apple นั้นได้ส่วนแบ่งจากค่าบริการรายเดือนของ iPhone แต่ละเครื่องที่เชื่อมต่อกับ Cingular

และนี่เองได้เป็นการปฏิวัติครั้งสำคัญของเหล่ามาเฟียเครือข่ายมือถือทั้งหลาย โดย Apple ได้เปลี่ยนบทบาทของเหล่าเครือข่ายโทรศัพท์ ให้เป็นเพียงแค่ทางผ่านของโลกโทรศัพท์มือถือยุคใหม่หลังการเกิดขึ้นของ iPhone เป็นเพียงแค่ท่อส่งข้อมูลระหว่างมือถือของลูกค้ากับโลกอินเทอร์เน็ตเท่านั้น

ทำให้เหล่าเครือข่ายมือถือไม่สามารถที่จะไปชาร์จค่าบริการใด ๆ กับลูกค้าได้อีก เรียกได้ว่า เป็นครั้งแรกที่เหล่ามาเฟียมือถือต้องมาง้อ บริษัทมือถืออย่าง Apple ซึ่งไม่เคยปรากฏขึ้นมาก่อนเลยในธุรกิจมือถือ

iPhone ที่มาพร้อมแผนที่ของ Google และ ข้อมูล ได้กลายเป็นหายนะของเครืองข่ายโทรศัพท์มือถือ ที่ตอนแรกได้วางแผนที่จะคิดค่าบริการการเข้าถึงข้อมูลแผนที่ผ่านเครือข่ายมือถือ

ซึ่งแน่นอนว่าส่งผลกระทบโดยตรงต่อแผนธุรกิจของ Nokia ที่ตอนนั้นเพิ่งซื้อ Navteq บริษัทแผนที่ยักษ์ใหญ่มาในราคาสูงถึง 8.1 พันล้านดอลลาร์  โดยหวังจะได้รายรับกลับคืนมาด้วยการขายบริการแผนที่ให้บรรดาค่ายโทรศัพท์มือถือทั่วโลก

Nokia ที่เพิ่งทุ่มซื้อ Navteq มาหวังจะชาร์จค่าบริการจากลูกค้า แต่แผนต้องล่มแบบไม่เป็นท่า
Nokia ที่เพิ่งทุ่มซื้อ Navteq มาหวังจะชาร์จค่าบริการจากลูกค้า แต่แผนต้องล่มแบบไม่เป็นท่า

Apple ได้พยายามอย่างหนักเพื่อเปลี่ยนอุตสาหกรรมมือถือไปแนวทางที่ตัวเองต้องการ เป็นครั้งแรกที่เหล่ามาเฟีย เครือข่ายโทรศัพท์มือถือเริ่มหวาดกลัวกับการเข้ามาของ Apple ซึ่งพวกเขาประเมิน Apple ไว้ต่ำมาก ๆ ในตอนแรก

Apple กลายเป็นราชาแห่งวงการมือถือ ทุกเครือข่ายต้องเข้ามานำเสนอสิ่งที่เย้ายวนใจให้ Apple เพื่อร่วมธุรกิจกัน Apple ทำให้ทุกอย่างนั้นกลับตาลปัตรไปหมด เพราะตั้งแต่ช่วงก่อนปี 2007 นั้น ไม่มีผู้ผลิตมือถือรายใดกล้ากำหนดเงื่อนไขกับบรรดาค่ายมือถือต่าง ๆ 

Nokia เป็นยักษ์ใหญ่มือถือเจ้าเดียวที่เคยลองทำแบบ Apple มาก่อน แล้วก็ได้บทเรียนครั้งสำคัญจากการนำโทรศัพท์ที่สามารถเล่นเพลงได้เข้าไปสู่ตลาดอเมริกา โดย Nokia ได้เคยพยายามรวมรวมข้อมูลลูกค้าที่เป็นเจ้าของโทรศัพท์เข้ามาในระบบของตัวเอง โดยไม่ผ่านค่ายโทรศัพท์มือถือ

แต่เหล่ามาเฟีย เครือข่ายมือถือ ยื่นคำขาดให้ Nokia หยุดการกระทำนั้นทันที โดย Nokia ต้องยอมทำตามแต่โดยดี เพราะไม่งั้นจะถูกแบนโดยเครือข่ายโทรศัพท์มือถือทั่วโลก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของมาเฟียเครือข่ายมือถือเหล่านี้นั่นเอง

จะเห็นได้ว่า หลังการเกิดขึ้นของ iPhone นั้นไม่เพียงแค่ปฏิวัติแค่วงการผู้ผลิตมือถือ ที่ได้สร้างมือถือที่แตกต่างออกมาเท่านั้น แต่ได้กำจัดเหล่ามาเฟียเครือข่ายมือถือ ที่เป็นอุปสรรคในการพัฒนานวัตกรรมให้กับวงการมือถือโลกมานานได้อย่างราบคาบ

มันได้ทำให้เปลี่ยน ecosystem ใหม่ทั้งหมดของ Supply Chain ของธุรกิจมือถือ ให้ทุกส่วนนั้น ทำงานที่ควรจะทำ ไม่มายุ่งย่ามกับส่วนของธุรกิจอื่น ๆ อย่างที่เหล่าเครือข่ายโทรศัพท์มือถือเคยทำมาในอดีต และที่สำคัญมันได้ทำให้วิถีชีวิตของมนุษย์เราเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง หลังจากปลดแอกจากเหล่ามาเฟียเครือข่ายมือถือเหล่านี้ได้สำเร็จนั่นเองครับ

–> อ่านตอนที่ 7 : It’s time to open

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 Phone & Microsoft *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***