GLITCH: World’s first AI fashion brand!

บริษัท แฟชั่นอย่าง Glitch กำลังขายชุดที่ออกแบบโดยคอมพิวเตอร์อัลกอริทึม โดย “ ชุดเดรสสีดำเล็ก ๆ ” ถือเป็นไอเท็มสำคัญที่ควรอยู่ในตู้เสื้อผ้าของผู้หญิงทุกคน”  นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์และผู้ร่วมก่อตั้งอย่าง Pinar Yanardag กล่าวกับสื่อชื่อดัง Vice.com  “ ในไม่ช้าก็เร็ว AI จะเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับทุกคนในการคำนวณดังนั้นเราจึงคิดว่า ‘ชุดเดรสสีดำนั้นถือ ‘ เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี”

ความผิดพลาดเกิดขึ้นจากวิธีการสร้างโดย ทีมนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ที่ MIT และพวกเขาทำงานร่วมกันเพื่อสร้างอัลกอริทึมแปลก ๆ อย่าง สูตรพิซซ่า น้ำหอม และแฟชั่น 

เช่นเดียวกับ  Glitch พวกเขาใช้ประเภท AI ที่เรียกว่า Generative Adversarial Network ซึ่งเกี่ยวข้องกับNeural Network สองอันที่ติดกันเพื่อสร้างตัวอย่างที่เหมือนจริงของสิ่งต่าง ๆ ซึ่งในกรณีนี้คือชุดแฟชั่นเดรส ซึ่งเป็นการใช้ AI ที่สร้างสิ่งที่นอกเหนือจากการออกแบบที่มนุษย์สร้างขึ้นมา

สำหรับตอนนี้ Glitch เป็นเพียงการขายชุดสีดำที่ได้รับการออกแบบโดยอัลกอริทึมเพียงเท่านั้น ซึ่งในอนาคตก็จะมีการออกแบบที่มีสีสันมากขึ้น โดยครึ่งหนึ่งของยอดขายชุดเดรสสีดำจะถูกบริจาคให้ AnitaB.org องค์กรที่สนับสนุนผู้หญิงในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

“ เราเชื่อว่าเราสามารถเพิ่มการเป็นตัวแทนและการมีส่วนร่วมของผู้หญิงใน AI โดยการพัฒนาโครงการที่มุ่งเป้าไปที่ผู้หญิง” Yanardag เขียนในอีเมลถึง Futurism” และจนถึงตอนนี้เราก็ได้สร้างน้ำหอม เครื่องประดับ รองเท้าและการออกแบบแฟชั่นโดยใช้ AIได้สำเร็จ!

References : 
https://futurism.com/the-byte/startup-bizarre-dresses-designed-ai

Deep Learning ทำนายได้ว่าคุณต้องการ Taxi เมื่อไหร่?

คอมพิวเตอร์สามารถที่จะทำนายความต้องการบริการรถแท็กซี่และแบ่งปันเส้นทางในการขับขี่ให้กับเหล่าคนขับแท็กซีได้ดีขึ้น ซึ่งจะปูทางไปสู่ Smart City ที่มีความปลอดภัยและยั่งยืนมากขึ้น

ในการศึกษานักวิจัยใช้ Neural networks  วิเคราะห์รูปแบบความต้องการรถแท็กซี่ ซึ่งการใช้ร่วมกับเทคโนโลยีของ Deep Learning ซึ่งจะช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถที่จะเรียนรู้ด้วยตัวเอง และทำนายรูปแบบความต้องการอย่างมีนัยสำคัญได้ดีกว่าเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน

“บริการอย่าง Uber ในสหรัฐอเมริกา และ Didi Chuxing ในประเทศจีนกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ และเปลี่ยนวิธีการเข้าถึงการขนส่งของเหล่าผู้คนทั่วไป” เจสซี หลี่ รองศาสตราจารย์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีของ Penn State กล่าวว่า “คุณสามารถจินตนาการได้ว่าการคาดการณ์ความต้องการรถแท็กซี่มีความสำคัญมากเพียงใดเนื่องจากจะช่วยให้บริษัทรถแท็กซี่สามารถจัดส่งรถยนต์ไปถึงลูกค้าได้ก่อนที่ความต้องการจะเกิดขึ้น”

บริการเรียกแท็กซี่ชื่อดังอย่าง Uber และ Didi
บริการเรียกแท็กซี่ชื่อดังอย่าง Uber และ Didi Chuxing

การคาดการณ์ที่ดีขึ้นสามารถลดเวลาที่รถแท็กซี่ไม่ได้ใช้งานต้องมาวิ่งบนถนนโดยเปล่าประโยชน์ และยังมีส่วนลดมลพิษในเมืองได้ดีขึ้น เนื่องจากอุบัติเหตุมักเกิดขึ้นบ่อยครั้งในพื้นที่แออัด เทคโนโลยีการทำนายการขับขี่ที่ดีขึ้นก็สามารถปรับปรุงความปลอดภัยได้เช่นกัน

นักวิจัยวิเคราะห์ชุดข้อมูลขนาดใหญ่ของการร้องขอการขับขี่ไปยัง Didi Chuxing หนึ่งใน บริษัท รถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีนจากข้อมูลของ Huaxiu Yao นักศึกษาปริญญาเอกสาขาวิทยาศาสตร์ข้อมูลและเทคโนโลยี

เมื่อผู้ใช้ต้องการนั่งรถพวกเขาจะทำการร้องขอผ่านทางแอปพลิเคชัน- ตัวอย่างเช่นแอพในโทรศัพท์มือถือ นักวิจัยกล่าวว่าการใช้คำร้องขอขี่เหล่านี้แทนที่จะอาศัยข้อมูลการขี่เพียงอย่างเดียวนั้นสะท้อนความต้องการโดยรวมได้ดีกว่า

ด้วยข้อมูลประวัติซึ่งรวมถึงเวลาและสถานที่ตั้งของการเรียกบริการแท็กซี่ ทำให้สามารถคาดการณ์ความต้องการที่จะมีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเมื่อเห็นภาพข้อมูลต่าง ๆ บนแผนที่ นักวิจัยสามารถเห็นความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปได้

“ในตอนเช้าคุณจะเห็นว่าในส่วนที่พักอาศัยมีรถปิคอัพมากขึ้นและมีรถไปส่งในตัวเมืองมากขึ้น” หลี่กล่าว “ในตอนเย็นมันกลับด้านสิ่งที่เรากำลังทำอยู่คือการใช้ข้อมูลรถกระบะในอดีตเพื่อคาดการณ์ว่าแผนที่นี้เปลี่ยนไปอย่างไรในอีก 30 นาที หรืออีกชั่วโมงต่อไปเป็นต้น”

ใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลจำนวนมหาศาลจาก Didi Chuxing  มาวิเคราะห์ผ่าน Deep Learning
ใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลจำนวนมหาศาลจาก Didi Chuxing มาวิเคราะห์ผ่าน Deep Learning

นักวิจัยที่นำเสนอสิ่งที่ค้นพบในการประชุม AAAI เมื่อเร็ว ๆ นี้ที่เป็นการประชุมทางด้านวิชาการที่เกี่ยวข้องปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในการประชุมที่ใหญ่ที่สุดในด้านการวิจัยของ AI

การใช้ข้อมูลเกี่ยวกับการเรียกบริการแท็กซี่ในกวางโจวประเทศจีนตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ถึง 26 มีนาคม 2017 ประมาณ 300,000 ครั้งต่อวัน จากการเปรียบเทียบ ในเมืองนิวยอร์กซึ่งมีประมาณ 500,000 ครั้งต่อวัน

ในขณะที่เทคโนโลยีใช้ Neural Network โดยนักวิจัยได้รวมเครือข่ายประสาทสองเครือข่ายซึ่ง ได้แก่ convolutional neural network (CNN) และ  Long Short Term Memory network (LSTM) เพื่อช่วยลำดับการทำนายที่มีความซับซ้อน โดย CNN สามารถสร้างแบบจำลองความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ ที่มีความซับซ้อนได้ดียิ่งขึ้น และ LSTM สามารถจัดการกับแบบจำลองตามลำดับได้ดียิ่งขึ้น

“โดยทั่วไปเราใช้ Neural Network ที่มีความซับซ้อนมากๆ ในการจำลองว่าผู้คนย่อยข้อมูลที่เป็นรูปแบบของการจราจรได้อย่างไร” หลี่กล่าว

หลี่กล่าวว่าการเข้าถึงชุดข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และความก้าวหน้าในเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สามารถประมวลผลข้อมูลจำนวนมากได้ ซึ่งช่วยให้โครงการนี้สามารถใช้ Deep Learning ในรูปแบบวิธีอื่น ๆ ได้

“ ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบดั้งเดิมผู้คนจำเป็นต้องบอกคอมพิวเตอร์ว่าใช้ค่าตัวแปรอะไร ซึ่งมันจำเป็นต้องดูจากข้อมูล ณ ขณะนั้น ทำให้ต้องสร้างแบบจำลองซึ่งต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการแก้ปัญหาดังกล่าว” หลี่กล่าว “แต่ Deep Learning คือการปฏิวัติที่ทำให้ตอนนี้เราสามารถข้ามขั้นตอนนั้นไปได้ คุณสามารถใส่ข้อมูลภาพจำนวนมหาศาลให้กับคอมพิวเตอร์เพื่อวิเคราะห์ได้ทันที  และไม่จำเป็นต้องบอกคอมพิวเตอร์ว่าต้องมาวิเคราะห์อะไรอีกต่อไป เพราะการพัฒนาของเทคโนโลยี Deep Learning ที่มาช่วยเติมเต็มในส่วนนี้นั่นเอง”

References : 
https://phys.org/news/2018-03-deep-people.html

มาลองฟังเพลงที่แต่งจาก AI กันเถอะ

ที่ผ่านมาผมได้เขียน Blog ที่เกี่ยวข้องกับ AI ในหลาย ๆ แขนง เช่น การลงทุน การแพทย์ หรือ การตลาด ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นงานที่มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์แทบจะทั้งสิ้น แต่ในสายงานด้านศิลปะ นั้น ยังไม่ค่อยเห็นการนำ AI เข้ามาพัฒนามากนัก

เนื่องจากงานด้านศิลปะ เป็นงานที่ยากสำหรับการจะใช้ AI มาช่วยเหลือ เพราะมันเป็นศาสตร์ ที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งต่างจากด้าน วิทยาศาสตร์ ที่สามารถนำข้อมูลต่าง ๆ มาวิเคราะห์ได้

แต่ Ash Koosha นักแต่งเพลงชาวอิหร่าน ที่หลงไหลในเทคโนโลยี ได้ทำการทดลองบางสิ่งออกมา โดยการเป็นการร่วมมือกับ AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ ในการแต่งเพลงขึ้นมา ซึ่งต้องบอกว่าผลที่ออกมานั้น น่าสนใจเป็นอย่างมาก

ซึ่งในวันศุกร์ที่แล้วทาง Ash Koosha ได้ปล่อยอัลบั้มที่ 4 ของตัวเอง ที่ใช้ชื่อว่า “Return O” ซึ่งมี Single พิเศษที่ทำการแต่งโดย AI ที่ใช้ชื่อว่า Yona ซึ่งเป็น AI ที่ทาง Koosha ได้สร้างขึ้น โดยเป็นการสร้างผลงานร่วมกันระหว่างมนุษย์ กับ AI เป็นครั้งแรก

ซึ่ง Yona นั้นเป็น AI Software ที่ทำการประมวลผล ตัวโน๊ต ดนตรีต่าง ๆ รวมถึง การใส่คำร้อง ที่เป็นการ Training มาจาก Koosha โดยตรง ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า Machine Learning

ซึ่งอัลบั้ม Return O ได้รับคะแนน 6/10 จาก Pitchfork นิตยสารด้านเพลงชื่อดัง และได้กล่าวถึงผลงานของอัลบั้มดังกล่าว ว่า เป็นอัลบั้มที่น่าสนใจ แต่ เรื่องทักษะการแต่งเนื้อเรื่องด้วย Yona อาจจะต้องมีการปรับปรุงทักษะบางอย่าง ให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น

อนาคตของวงการศิลปะกับ AI

สำหรับ Yona นั้นไม่ใช่เป็นผลงานแรกที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ ที่เป็นการนำ AI มาช่วยเหลือ แต่ มีหลาย ๆ งานที่นำร่องไปก่อนแล้วเช่น  งานถ่ายภาพบุคคล , เขียนบทกวีและเขียนสคริปต์  ที่ได้มีการนำเอา AI มาช่วยเหลือมนุษย์ในการทำงาน

แต่ถ้าเทียบกับสาขาด้านวิทยาศาสตร์ ก็ต้องบอกว่า ยังเป็นแค่ ก้าวเล็ก ๆ ของ AI เท่านั้นที่จะมาแข่งกับมนุษย์ ในงานด้าน ศิลปะ ที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ และ idea ต่าง ๆ มาประกอบกัน ซึ่ง เป็นเรื่องยาก ที่ AI จะสามารถมาแข่งกับมนุษย์ได้ แต่ในอนาคตนั้นเราก็ไม่สามารถมั่นใจได้หรอกว่า งานวิจัย และพัฒนาด้าน AI ใน Lab ต่าง ๆ ทั่วโลก กำลังบรรจงใส่ความคิดสร้างสรรค์ เข้าไปใน AI กันอยู่ และสุดท้าย ก็สามารถที่จะมาแข่งกับมนุษย์ ได้ เหมือนกับที่เห็นในหลาย ๆ งานในสาขาวิทยาศาสตร์

References : futurism.com

ติดตาม ด.ดล Blog เพิ่มเติมได้ที่
Fanpage : facebook.com/tharadhol.blog
Blockdit : blockdit.com/tharadhol.blog
Twitter : twitter.com/tharadhol
Instragram : instragram.com/tharadhol

AI สามารถบอกได้ว่าคุณเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่

ต้องบอกว่า ปัจจุบัน นั้นโรคซึมเศร้าถือว่ากลายมาเป็นที่พูดถึงในวงกว้าง หลังจากที่มีข่าวทั้ง ดารา เซเลบริตี้ หรือ คนดัง ในวงการต่าง ๆ ต้องมาจบชีวิตตัวเองด้วยโรคซึมเศร้า

ทำให้คนเริ่มหันมาสนใจ โรคซึมเศร้า มากยิ่งขึ้น แม้กระทั่งในไทยเองก็ตามที่โรคทางด้านจิตเวชนั้น ถือว่ายังห่างไกลกับการยอมรับของคนไทย แต่หลังจากข่าวที่ออกมาตามสื่อต่าง ๆ ที่มีการฆ่าตัวตายเนื่องจากซึมเศร้านั้น ก็ทำให้คนไทยหันมาสนใจมากยิ่งขึ้น

ต้องบอกว่าเดิมทีนั้น การที่จะระบุได้ว่าผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า หรือ ไม่นั้น ต้องมีการพบกับจิตแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ โดยจะเป็นรูปแบบของการซักถาม ซึ่งเป็นวิธีการของแพทย์ผู้เชี่ยวที่จะถามคำถามที่เกี่ยวกับ อารมณ์ พฤติกรรมการใช้ชีวิต รวมถึง ประวัติส่วนตัวโดยละเอียด

ซึ่งจิตแพทย์ ก็จะใช้คำตอบเหล่านั้นมาประมวลผลเพื่อทำการวินัจฉัย ว่าคนไข้นั้นเป็นโรคซึมเศร้า หรือไม่

แต่ข่าวล่าสุดนั้น นักวิจัยที่ MIT ได้ทำการสร้างโมเดลที่จะสามารถตรวจวินิจฉัยโรคซึมเศร้าโดยไม่ต้องมีการไปตอบคำถามดังที่กล่าวข้างต้นกับจิตแพทย์เลยด้วยซ้ำ โดยจะทำการตรวจจากพฤติกรรมการพูด รวมถึง พฤติกรรมของการเขียนของผู้ป่วยที่กำลังสงสัยว่าเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่

ซึ่งนักวิจัยเรียก model นี้ว่า “context-free” model  ซึ่งจะไม่เกี่ยวข้องกับชุดของคำถามหรือคำตอบ แบบเดียวกับที่จิตแพทย์ทำ โดยจะใช้เทคนิคที่เรียกว่า “Sequence Modelling”  โดยนักวิจัยนั้นจะนำเอารูปแบบของ text ซึ่งอาจจะมาได้จากการ chat ของ ผู้ป่วย หรือถึง ส่วนของเสียง เพื่อนำมาวิเคราะห์ โดยจะทำการใช้ข้อมูลการ Training จากคนไข้ที่เป็นโรคซึมเศร้า และ คนไข้ที่ไม่เป็นโรคซึมเศร้า ซึ่งจะวิเคราะห์ pattern ของคำที่เกิดขึ้น เช่น “Sad”  หรือ “Down” รูปถึงรูปแบบของ Pattern ของเสียงที่เป็น Flatter หรือ Monotone

ซึ่งรูปแบบของ Pattern ทั้งในรูปแบบข้อความ หรือ เสียงเหล่านี้จากผู้ป่าวนั้น จากการทดสอบของ MIT สามารถให้ความแม่นยำในการตรวจสอบว่าคนไข้เป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ มีความแม่นยำสูงถึง 77% เลยทีเดียว ซึ่งต้องบอกว่าโรคทางจิตเวชนั้น ค่อนข้างที่จะ Diagnostic ได้ยากกว่า เพราะเป็นเรื่องของจิตใจ ที่ไม่ได้เป็นรูปธรรมมากนัก เมื่อเทียบกับ โรคอื่น ๆ เช่น โรคเบาหวาน ความดัน หัวใจ ซึ่งเหล่านี้สามารถใช้เครื่องมือในการตรวจได้ง่ายกว่า

ซึ่งต้องบอกว่ารูปแบบ model เหล่านี้นั้น สามารถที่จะช่วยเหลือจิตแพทย์ได้ และสามารถช่วยระบุให้แพทย์เป็น Guideline ว่าผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า หรือไม่ ซึ่งในอนาคตนั้น ทางทีมนักวิจัยจาก MIT จะทำการสร้าง Mobile Application ที่สามารถที่จะตรวจสอบพฤติกรรมการใช้ข้อความ text หรือ เสียง แล้วแจ้งเตือนผู้ป่วยได้จาก app ทันที ซึ่งเป็นการช่วยคัดกรองเบื้องต้น ก่อนที่จะไปพบจิตแพทย์หากผู้ป่วยมี Pattern ในการเกิดรูปแบบนี้ ซึ่งก็ต้องบอกว่าจะสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยที่ไม่รู้ตัวได้ดียิ่งขึ้นว่าตัวเองนั้นได้ป่วยเป็น “โรคซึมเศร้า” เรียบร้อยแล้ว

References : www.engadget.com

ติดตาม ด.ดล Blog เพิ่มเติมได้ที่
Fanpage : facebook.com/tharadhol.blog
Blockdit : blockdit.com/tharadhol.blog
Twitter : twitter.com/tharadhol
Instragram : instragram.com/tharadhol

AI สามารถเอาชนะหมอได้ในการจำแนกมะเร็ง

ต้องบอกว่า AI กำลังเริ่มที่จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในวงการแพทย์หลังจากผลวิจัยล่าสุดที่ชี้ให้เห็นว่า AI มีความสามารถในการวิเคราะห์มะเร็งเต้านมได้ดีกว่าแพทย์ผู้เชี่ยวชาญซะอีก ซึ่งก็ต้องบอกว่าไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจใด ๆ กับผลการวิจัยดังกล่าวเนื่องจาก AI ที่มีพื้นฐานจาก Machine Learning นั้น เป็นการเลียนแบบการทำงานของสมองมนุษย์เรา

แต่ทำไมถึงมีประสิทธิภาพมากกว่าล่ะ?  ก็เพราะมนุษย์ยังมีขีดจำกัดหลาย ๆ อย่างที่ไม่สามารถต่อกรกับ AI ได้เช่น หน่วยความจำ  หรือ อารมณ์ ที่มีผลเกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพการทำงานของมนุษย์เรา

ผมได้เคยเขียน blog ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ทั้ง  Machine Learning กับการวิเคราะห์มะเร็งเต้านม ที่เป็นงานวิจัยเมื่อหลายปีมาแล้วยังให้ประสิทธิภาพที่น่าตกใจ หรือ blog AI ตัวช่วยหรือภัยคุกคามอาชีพรังสีแพทย์  ซึ่งจะเห็นภาพได้ถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้าน AI ที่กำลังมีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ กับวงการแพทย์ โดยเฉพาะงานที่สามารถเลียนแบบการทำงานของสมองมนุษย์ได้อย่าง การวิเคราะห์มะเร็ง จากภาพ Digital Mammogram Image

ซึ่งจาก งานวิจัย ล่าสุด ของ Babak Ehteshami Bejnordi ที่ Radbound University Medical Center ในประเทศ Netherlands นั้น ได้รายงานผลการแข่งขันในหัวข้อ การแพร่กระจายของมะเร็งในมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ( หรือที่เรียกว่า CAMELYON16) ซึ่งการแข่งขันใช้เวลา 12 เดือน จนถึงเดือนพฤศจิกายนปี 2016

ซึ่ง CAMELYON16 นั้นเป็นการวิจัยที่ต้องหาวิธีการตรวจหาเซลล์มะเร็งในการตรวจชิ้นเนื้อต่อมน้ำเหลืองจากผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านมโดยวิธีอัติโนมัติ ซึ่งในระหว่างการผ่าตัดนั้นศัลยแพทย์ จะทำการฉีดสารรังสีและทำให้เนื้อเยื่อเต้านมที่ใกล้กับเนื้องอกกลายเป็นสีน้ำเงิน ซึ่งบริเวณเหล่านี้นั้นจะได้รับการหล่อเลี้ยงโดยระบบต่อมน้ำเหลือง โดยจะอยู่บริเวณรักแร้ ของร่างกายเรา

โดยแพทย์สามารถตรวจหาต่อมน้ำเหลืองด้วยวิธีการนับ Geiger และใช้สายตาในการวิเคราะห์ เพื่อค้นหา node ที่เป็นสีน้ำเงิน ซึ่งใช้ชื่อเรียกว่า “Sentinel Node”  โดย และขั้นตอนสำคัญสุดท้ายคือการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจสอบโดยนักพยาธิวิทยาโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ในการตรวจหา

ซึ่งการตรวจที่ไม่พบเซลล์มะเร็งนั้นเป็นเรื่องที่ดีอย่างแน่นอน แต่หากพบเซลล์มะเร็งใน Sentinel Node นั้น ก็อาจจะบ่งบอกพฤติกรรมถึงการแพร่กระจาย ซึ่งต้องรักษาต่อด้วยการฉายรังสี หรือ ทำการผ่าตัดต่อ ซึ่งการผ่าตัดเพื่อกำจัดต่อมน้ำเหลืองใต้วงแขนนั้นอาจจะทำให้เกิด effect ให้ผู้ป่วยแขนบวม หรือ ทำให้แขนใช้การไม่ได้ ก็เป็นได้

และจากการศึกษาในปี 2012 พบว่า หลังจากการส่งตรวจสอบโดยละเอียดจากพยาธิแพทย์พบว่า  1 ใน 4 ของผลการตรวจนั้นถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นประเภทที่ร้ายแรงมากยิ่งขึ้น เพราะผ่านการตรวจละเอียดผ่านกล้องจุลทรรศน์ และเมื่อเปรียบเทียบกับการศึกษาล่าสุดที่อ้างอิงจากงานวิจัยในวารสาร The Journal of the American Medical Association (JAMA) การใช้เทคนิคของ Machine Learning Algorithm นั้น พบว่าในการตรวจจำนวน 129 ชิ้นเนื้อนั้น พบว่า 49 ชิ้นมีเซลล์ของมะเร็ง ส่วนอีก 80 ชิ้นนั้นไม่พบความผิดปรกติ

ซึ่งจากงานศึกษาดังกล่าวเมื่อเปรียบเทียบแล้วนั้น พยาธิแพทย์ ต้องใช้เวลาและประสบการณ์ทำงานมาหลายปี แต่ ต่างจาก AI ที่ได้รับการ trained เพียง 270 ตัวอย่าง โดย 110 ตัวอย่างที่นำมา train ผ่าน Machine Learning Algorithm นั้นจะเป็น cell มะเร็งโดยจะมีป้ายกำกับอยู่

และยิ่งเมื่อเทียบกับเวลาที่ใช้ตรวจสอบนั้น พยาธิแพทย์ ใช้เวลา 2 ชม.ในการตรวจสอบชิ้นเนื้อของคนไข้แต่ละรายใน workload การทำงานปรกติ แต่หากในกรณีพยาธิแพทย์ที่ไม่มีการ limit เวลาเพื่อให้ตรวจได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นนั้นพบว่าใช้เวลาถึง 30 ชม.ในการตรวจสอบ

นักพยาธิวิทยา ใช้เวลาเยอะกว่า AI มากในการวิเคราะห์ผล

นักพยาธิวิทยา ใช้เวลาเยอะกว่า AI มากในการวิเคราะห์ผล

ซึ่งหากเป็น workload ปรกตินั้น พยาธิแพทย์ สามารถตรวจสอบได้ความแม่นยำ 31 ชิ้น จาก 49 ชิ้นที่เป็นเซลล์มะเร็ง แต่หากปล่อยให้มีเวลามากขึ้นและให้ตรวจสอบอย่างละเอียดนั้นสามารถตรวจได้ความแม่นยำ 46 ชิ้น จาก 49 ชิ้นที่เป็นเซลล์มะเร็ง

จะเห็นได้ว่าเรื่องของเวลานั้นก็มีผลต่อความแม่นยำในการตรวจสอบเหมือนกัน ตามภาระ workload การทำงานของพยาธิแพทย์ จึงไม่ได้รีดเอาประสิทธิภาพทั้งหมดของพยาธิแพทย์จริง ๆ หากทำงานในภาวะปรกติที่มีเวลาจำกัด

ซึ่งเมื่อเทียบกับ AI นั้น อัลกอริทึม ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด นำเสนอโดย Harvard Medical School และสถาบัน MIT ซึ่งสามารถให้ความแม่นยำเทียบเท่าพยาธิแพทย์ ที่ใช้เวลา 30 ชม.ในการตรวจสอบในแต่ละชิ้นเนื้อ ซึ่งแต่ถ้าเทียบความเร็วนั้น AI สามารถทำได้ภายในไม่กี่วินาที

ต่างจากพยาธิแพทย์ที่ต้องใช้เวลาถึง 30 ชม.ต่อชิ้นเนื้อเพื่อให้ได้ความแม่นยำเท่า AI  ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติจริงที่พยาธิแพทย์มี workload การทำงานมหาศาล

ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2017 มีอีกรายงานจากนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ที่ได้รายงานว่าอัลกอริธึมที่ได้วินิจฉัยโรคมะเร็งผิวหนังมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับแพทย์ผิวหนังที่ได้รับ Certified ทางด้าน Dermatologists

จากนั้นในเดือนเมษายน ปี 2017 งานวิจัยที่นำโดย Stephen Weng จาก University of Nottingham พบว่า AI นั้นมีความสามารถในการทำนายอาการหัวใจวาย และโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยทั่วไป ซึ่ง ผลจากงานวิจัยดังกล่าวทำให้นำไปสู่แนวทางการหาทางป้องกันให้กับผู้ป่วยได้ดีขึ้น

ในเดือนกรกฎาคมปี 2017 การศึกษาของทีม Andrew Ng จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ได้รายงานว่า Deep Learning Algorithm นั้นสามารถที่จะตรวจพบภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่ถูกบันทึกจากเครื่อง ECG มีความแม่นยำกว่าการตรวจของหมอ

และมีการศึกษาอื่น ๆ ของทีม Andrew Ng ที่เผยแพร่ในเดือน พฤศจิกายน ปี 2017 ที่ได้รายงาน Algorithm ที่สามารถตรวจสอบหาโรคปอดบวมได้ดีกว่ารังสีแพทย์ จากการตรวจ Chest X-rays

Andrew Ng ปรมาจารย์ด้าน AI ลำดับต้น ๆ ของโลก

Andrew Ng ปรมาจารย์ด้าน AI ลำดับต้น ๆ ของโลก

และในเดือนเดียวกันนี้ Tien Yin Wong จาก Singapore National Eye Center ได้ทำการศึกษาด้วยเทคนิค Deep Learning เพื่อตรวจสอบภาพจากม่านตาที่ใช้ข้อมูลในการทดสอบกว่า 500,000 ภาพนั้น พบว่าสามารถใช้ Deep Learning ในการหาผู้ป่วยที่มีโรคเบาหวานได้จากม่านตา ได้ความแม่นยำ เทียบเท่า ผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้

Jeffrey Golden จาก Harvard Medical School ได้กล่าวไว้ว่า “AI และการใช้เทคนิคทางคอมพิวเตอร์อื่น ๆ นั้นต้องมีการรวมเข้ากับโปรแกรมการฝึกอบรมของเหล่านักศึกษาแพทย์ ซึ่งอนาคตของนักพยาธิวิทยานั้นต้องปรับตัวในการทำงานร่วมกับ AI ในการปฏิบัติงานประจำวันของพวกเขา เพื่อให้มีประสิทธิภาพการทำงานที่ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีกับผู้ป่วย”

งานเขียนในวารสาร New England Journal of Medicine ในเดือนกันยายนของปี 2017 นั้น Dr.Ziad Obermeyer และ Thomas Lee ได้กล่าวไว้ว่า “การเตรียมความพร้อมของนักศึกษาแพทย์ในช่วงปริญญาตรีในปัจจุบันนั้นเป็นสิ่งที่ล้าสมัยไปแล้ว ในภาวะที่เทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์กำลังก้าวรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว แต่การศึกษาด้านแพทย์นั้นไม่ค่อยมีการฝึกอบรมด้าน Data Science , ข้อมูลสถิติ หรือ ด้านวิทยาศาสตร์ที่สามารถนำ computer algorithm ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติทางคลินิกได้” ซึ่งเรื่องเหล่านี้นั้นเป็นสิ่งจำเป็นที่เหล่าผู้บริหารของ Medical School รวมถึง คณบดีคณะแพทย์ในทุกพื้นที่ทั่วโลก ที่รับผิดชอบในการออกแบบหลักสูตรทางการแพทย์ควรรับฟังเป็นอย่างยิ่ง

References : cosmosmagazine.com , camelyon16.grand-challenge.org

ติดตาม ด.ดล Blog เพิ่มเติมได้ที่
Fanpage :facebook.com/tharadhol.blog
Blockdit :blockdit.com/tharadhol.blog
Twitter :twitter.com/tharadhol
Instragram :instragram.com/tharadhol