Smartphone War ตอนที่ 10 : The Loser

ความปรารถนาของ Apple ที่ต้องการควบคุมทุกอย่างมันได้เริ่มเห็นผลในตลาด smartphone Apple ต้องการควบคุมทั้งตลาดแอพ ต้องการยอดขาย และป้องกันไม่ให้ใครมาตัดสินใจว่า iPhone ควรมีรูปลักษณ์อย่างไร 

สิ่งสำคัญอีกประการคือ ตอนนี้ เหล่านักพัฒนาเริ่มได้กลิ่นเงินจากตลาดที่จะใหญ่โตมหาศาลของ Apple มันได้ทำให้นักพัฒนาไหลมากองรวมกันเพื่อพัฒนา App บน iPhone และมันส่งผลโดยตรงต่อยอดขาย iPhone ทันที

เพราะหลังจากเปิดตัว iTunes App Store นั้นยอดขาย iPhone ก็พุ่งขึ้นไป 4 เท่าเป็น 20.25 ล้านเครื่อง และมันได้ผลักดันให้ตลาด smartphone เติบโตขึ้นร้อยละ 20 คนทั่วไปเริ่มหันมาสนใจ smartphone จากเดิมที่มีแต่ผู้ใช้งานเฉพาะกลุ่มเท่านั้น

ซึ่งตอนนี้ คนไม่ได้ซื้อ smartphone เพื่อมาใช้ email กับ ท่องเว๊บอีกต่อไป ตอนนี้ smartphone กำลังจะทำได้ทุกอย่าง เพราะมีเหล่านักพัฒนามากมายที่พร้อมจะมาให้บริการกับลูกค้าที่ต้องการ App ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น เกม โปรแกรมจัดการเอกสาร โปรแกรมบัญชี แผนที่ หรือ โปรแกรมจองร้านอาหาร เป็นต้น ทุกอย่างมันสามารถสร้างได้หมดโดย Ecosystem ของ Apple และเหล่านักพัฒนาก็พร้อมจะทำมันอย่างเต็มที่นั่นเอง

การเกิดขึ้นของ iTunes App Store ทำให้คนเริ่มหันมาสนใจ smartphone ขึ้นเป็นวงกว้าง
การเกิดขึ้นของ iTunes App Store ทำให้คนเริ่มหันมาสนใจ smartphone ขึ้นเป็นวงกว้าง

และเมื่อตัวเลขผลกระกอบการต่าง ๆ มันได้เริ่มเปิดเผยออกมาสู่สาธารณะ มันได้เริ่มเห็น Trend ที่เปลี่ยนไปอย่างชัดเจนของวงการมือถือโลก ต้นปี 2008 iPhone ได้เริ่มที่จะคว้าส่วนแบ่งของกำไรจำนวนมหาศาลในตลาด smartphone ไปครอบครองอย่างรวดเร็ว

แม้ดูเหมือนว่ายอดขายของ iPhone นั้นจะไม่มากนัก ซึ่งมันทำให้ Microsoft หรือ Nokia ยังไม่ระแคะระคายซักเท่าไหร่ มันเป็นการเข้ามาโกยตลาด Hi-End User ของ Apple ซึ่งตลาดนี้ ลูกค้าพร้อมที่จะเปย์หนักเพื่อให้ได้สิ่งที่ดีที่สุดที่พวกเขาต้องการ

และแน่นอนว่า มันเป็นตลาดที่มีกำไรสูง แม้ตัวส่วนแบ่งการตลาดของ Apple จะยังไม่มากนัก แต่กำไรต่อเครื่องของ Apple นั้นสูงมาก และสูงกว่าใครเพื่อนในตลาดมือถือ smartphone ซึ่งลูกค้าของ Apple นั้นพร้อมที่จะจ่ายสูงถึง 600 ดอลลาร์ เพื่อครอบครอง iPhone แต่ละเครื่อง

Nokia จึงไม่ได้เพียงบริษัทเดียวที่โดนผลกระทบดังกล่าว มันได้กลายเป็นผลกระทบไปยังวงกว้าง แม้แต่ Sony Ericsson หรือ Motorola ที่เป็นผู้ผลิตมือถือรายใหญ่นอกทวีปเอเชีย ก็ได้พบกับความจริงที่ว่า iPhone ได้เข้ามาแย่งส่วนกำไรของตลาดของพวกเขาไป และสถานะของบริษัทเหล่านี้ ก็เริ่มสั่นคลอนทันที

แค่เพียงเปิดตัวปีแรกของ iPhone ในปี 2007 นั้น Sony Ericsson เปลี่ยนจากบริษัทที่ทำกำไรได้ตลอดมา พลิกกลับมาขาดทุนได้ทันที และราคาขายโดยเฉลี่ยของโทรศัพท์มือถือ เริ่มพังทลายลง เงิดสดเริ่มไหลออกไปเรื่อย ๆ กำไรและยอดขายเริ่มลดลง

เนื่องจากวงจรการขายของธุรกิจมือถือนั้น เป็นวงจรที่สั้นมาก มันส่งกระทบไปในวงกว้าง ผู้จัดจำหน่ายนั้นก็พร้อมจะเลิกการขายสินค้าที่ดูเหมือนเป็นสินค้ามีตำหนิ เพราะตกรุ่นเร็ว และหายไปจากสายตาของผู้บริโภคอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกัน

Sony และ Ericsson ที่เป็นบริษัทร่วมทุนกันนั้น ต้องเทเงินเข้ามาเพื่อรักษาสภาพคล่องของบริษัท และมีการปรับโครงสร้างองค์กร ปลดพนักงานออกไปกว่าหลายพันคน ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2011 บริษัทมีการขาดทุนสะสมในช่วง ตั้งแต่ iPhone เริ่มออกจำหน่าย เป็นเงินถึง 169 ล้านปอนด์ 

สถานการณ์ของ Sony Ericsson ดูจะเลวร้ายกว่าใครเพื่อนหลังการเปิดตัวของ iPhone
สถานการณ์ของ Sony Ericsson ดูจะเลวร้ายกว่าใครเพื่อนหลังการเปิดตัวของ iPhone

Palm ก็อยู่ในสถานะไม่ต่างกัน เมื่อ iPhone เข้ามาทำตลาด มันก็ได้ถึงจุดจบของ Palm มีการขาดทุนต่อเนื่องหลายไตรมาสติดต่อกัน หลังการเปิดตัวของ iPhone บริษัทต้องปลดพนักงานออกไปเป็นจำนวนมากเพื่อรักษาสภาพคล่องของบริษัทเช่นเดียวกับเหยื่อรายอื่น ๆ 

ส่วน Microsoft บอลเมอร์ ก็เจอปัญหาที่เกิดขึ้นในแผนกโทรศัพท์มือถือ บริษัทเดนเจอร์ที่ Microsoft เพิ่ง Take Over มานั้น กลายมาเป็นปัญหาที่สำคัญ มันเป็นการรวมกันของสองบริษัทที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม บริษัทเดนเจอร์นั้น ถนัดด้าน Hardware ส่วน Microsoft เกิดมากับ Software ทำให้การทำงานผสานกันนั้นทำได้ยากมาก ๆ และเป็นอุปสรรค์ที่สำคัญของ Microsoft ในการเดินหน้าในตลาดมือถือ smartphone

ความแตกต่างในองค์กรที่รุ่นแรง ได้เป็นตัวบ่อนทำลาย Microsoft ไปเอง มันเป็นปัญหาภายใน ไม่เพียงแค่ iPhone เท่านั้นที่มาเปลี่ยนธุรกิจโทรศัพท์มือถือ แต่ Microsoft ก็เจอปัญหาของตัวเองที่ทำให้ไม่สามารถก้าวต่อไปได้ในเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อเช่นนี้

Apple นั้นไม่เหมือนใคร Apple สร้างสิ่งที่พวกเขารักขึ้นมา และทำนายในสิ่งที่ผู้บริโภคอยากได้มันจริง ๆ ส่วน Microsoft นั้น แม้จะมีแนวคิดในการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ทุกคนรัก และไปทำการสำรวจตลาด พอคนไม่ชอบตรงไหน Microsoft ก็เปลี่ยนตามที่พวกเขาชอบกัน แต่สุดท้ายก็จบลงที่ผลิตภัณฑ์ที่ไร้ซึ่งอารมณ์ร่วมกับผู้บริโภค แม้ทุกคนยอมรับก็จริง แต่ไม่มีใครรักผลิตภัณฑ์ของ Microsoft จริง เหมือนกับที่รักผลิตภัณฑ์ของ Apple นั่นเองครับ

–> อ่านตอนที่ 11 : The Rise of Android

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 Phone & Microsoft *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Smartphone War ตอนที่ 3 : iTunes Phone

แม้จะสร้าง iPod ให้กลายเป็นสินค้ายอดฮิต ยอดขายถล่มทลาย กลายเป็นปรากฏการณ์ไปทั่วโลก แต่ในปี 2004 หากพูดถึง Apple กับมือถือนั้น คงไม่มีใครคาดคิดว่า Apple บริษัทที่เริ่มต้นด้วยการขายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลนั้น จะพลิกธุรกิจมาลุยในตลาดมือถือได้อย่างแน่นอน

สิ่งแรกคือเรื่องของ Knowhow ต่าง ๆ ในเรื่องมือถือ นั้น ต้องเรียกได้ว่า Apple แทบจะไม่เคยย่างกายเข้าไปเกี่ยวข้องกับธุรกิจนี้เลยด้วยซ้ำ และการครองตลาดอย่างเบ็ดเสร็จของ Nokia ที่มีทีมงานที่พร้อมทุกอย่างทั้งเรื่อง Hardware , Software รวมถึง Knowledge ด้านโทรคมนาคม คงเป็นเรื่องยากที่ใครจะสามารถล้ม Nokia ลงได้ในขณะนั้น

แนวคิดแรกของ Apple กับมือถือนั้น เป็นเพียงการร่วมเป็น Partner กับ โมโตโรลล่า เพื่อผลิตมือถือ เพื่อนำ iTunes เข้าไปลงเป็นส่วนของ Software จัดการเพลงเพียงเท่านั้น

ตลาดโทรศัพท์มือถือนั้น เป็นตลาดที่ใหญ่โตมหาศาล เมื่อเทียบกับตลาดเครื่องเล่นเพลงแบบดิจิตอลที่ iPod สามารถเอาชนะได้สำเร็จนั้น เรียกได้เป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ของตลาด Consumer Product เพียงเท่านั้น

ทั้ง Apple และ Motorola จึงได้ร่วมกันพัฒนา ROKR มือถือรุ่นใหม่ของ Motorola และยังได้ร่วมมือกับ  Cingular ซึ่ง ณ ขณะนั้นเป็นค่ายโทรศัพท์มือถือรายใหญ่ที่สุดของอเมริกา และหวังจะลองชิมลาง เขาสู่ตลาดที่ใหญ่โตมหาศาลอย่างตลาดโทรศัพท์มือถือ

Apple ลองชิมลางในตลาดมือถือด้วย ROKR phone
Apple ลองชิมลางในตลาดมือถือด้วย ROKR phone

แต่กระบวนการสร้าง มือถือ ROKR นั้น เต็มไปด้วยอุปสรรคมากมาย ด้วยการที่ต้องมีการร่วมมือกันของหลาย ๆ บริษัทที่เกี่ยวข้อง ระบบบริหารที่ล้าหลังของ Motorola ก็เป็นหนึ่งในอุปสรรคที่สำคัญในการกีดขวางกระบวนการออกแบบ

ซึ่งแน่นอนว่าวัฒนธรรมองค์กร มันไม่เหมือนกับ Apple ที่เน้นที่ประสบการณ์ของผู้ใช้งานเป็นหลัก สุดท้าย ROKR มันได้กลายเป็นมือถือที่ห่วยแตก เหมือนสินค้าด้อยคุณภาพ ไม่ต่างจาก iPod ห่วย ๆ ที่มีฟังก์ชั่นในการโทรศัพท์ได้นั่นเอง

รวมถึงรูปแบบการโอนเพลงเข้าโทรศัพท์ที่ใช้สาย USB กับคอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมต่อกับ iTunes ซึ่งแน่นอนว่าจ๊อบส์ อยากให้ Ecosystem ของ Apple นั้นคงไว้เหมือนกับที่ทำสำเร็จกับ iPod

แต่มันเป็นที่ถูกใจของบริษัทเครือข่ายมือถืออย่าง Cingular ที่ต้องการขายเพลงผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตของพวกเขาเท่านั้น และมันได้ทำให้เรื่อง Promotion ที่ปรกติต้องทำกับเครือข่ายนั้นถูกตัดออกทันที ทำให้ผู้ซื้อที่ต้องการใช้ ROKR นั้นต้องจ่ายราคาเต็มของมือถือที่ 250 ดอลลาร์ แถมยังต้องจ่ายค่าบริการรายเดือนอีกด้วย

ซึ่งแน่นอนว่า ROKR นั้นมันคือหายนะอย่างสิ้นเชิง สำหรับ Apple ในการที่จะก้าวเข้าสู่ตลาดโทรศัพท์มือถือ ทำให้ จ๊อบส์นั้นหงุดหงิดหัวเสียกับเรื่องนี้เป็นอย่างมาก และเป็นแรงผลักดันที่สำคัญที่ ต้องการจะตัดคนกลางทั้งหลายออกจากวงจรนี้

Apple นั้นต้องการควบคุมทุกอย่างแบบเบ็ดเสร็จ แบบที่พวกเขาทำได้กับ iPod ทั้ง Hardware , Software หรือแม้กระทั่งเครือข่ายโทรศัพท์ก็ตาม และสามารถที่จะนำผลิตภัณฑ์ของ Apple ส่งไปถึงมือของลูกค้าได้โดยตรงนั่นเอง

และไม่ใช่ว่าในช่วงนั้นจะไม่มีคู่แข่งเลยเสียทีเดียวสำหรับ บริษัทมือถือที่ต้องการเข้ามาลุยในตลาดเพลง แน่นอนว่าบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Nokia ก็ได้ออก Nokia N91 ที่สามารถเก็บเพลงได้กว่า 1,000 เพลง คล้าย ๆ iPod Mini แต่สุดท้าย Nokia ก็ไม่สามารถที่จะผลักดันตัวเองให้เข้าไปสู่ธุรกิจเพลงอย่างที่คาดหวังได้เช่นกัน เพราะ เหล่าค่ายโทรศัพท์มือถือในสหรัฐอเมริการไม่ยอมนั่นเอง

N91 ที่  Nokia หวังมาเจาะตลาดธุรกิจเพลงเหมือนกัน
N91 ที่ Nokia หวังมาเจาะตลาดธุรกิจเพลงเหมือนกัน

ซึ่งในตอนนี้เราจะเห็นได้ถึีงบทสรุปของการลุยเข้าไปสู่ตลาดมือถือของ Apple ครั้งแรกนั้น ต้องจบลงด้วยความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง เพราะ ROKR ไม่ได้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีเหมือนที่ลูกค้าคาดหวังจาก Apple และเป็นจุดเริ่มต้นแห่งความตกต่ำของ Motorola ในคราเดียวกัน

แต่อย่างน้อย ROKR ได้กลายเป็นประสบการณ์ที่ล้ำค่าของทีมงาน Apple ทุก ๆ คนที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะตัวจ๊อบส์เอง และมันได้ทำให้จ๊อบส์นั้นค้นพบว่า Apple ควรทำอะไรที่แท้จริงในตลาดโทรศัพท์มือถือ ซึ่งแน่นอนว่าจ๊อบส์ จะไม่ยอมให้ใครมาครอบงำการสร้างผลิตภัณฑ์ของ Apple อีกต่อไปมันได้เป็นบทเรียนครั้งสำคัญ ว่าหาก Apple ไม่สามารถ Control ทุกอย่างได้เหมือนที่พวกเขาเคยทำ หายนะก็มาเยือนอย่างที่ประสบพบเจอกับมือถือ ROKR นั่นเอง

–> อ่านตอนที่ 4 : Turning Point

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 : Phone & Microsoft *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***