Rare Earth น้ำมันแห่งศตวรรษที่ 21

Rare Earth เป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตชิปเซ็ต คอมพิวเตอร์และบรรดาเหล่าอุปกรณ์ไฮเทคอีกมากมาย รวมถึงอาวุธ และมันเป็นสินค้าสำคัญอีกอย่างนึงยังไม่ได้ถูกขึ้นบัญชีเพิ่มภาษีนำเข้าโดยสหรัฐ จากสงคราม Trade War ครั้งนี้ เนื่องจากสหรัฐมีความจำเป็นต้องนำเข้าแร่ดังกล่าวจากจีนถึงถึง 80% จากปริมาณนำเข้าทั้งหมด

ธาตุโลหะหายากหรือที่เรียกภาษาอังกฤษว่า Rare Earth Element หรือ Rare Earth Metal คือธาตุ 17 ธาตุที่จริงๆ พบได้ในดินทั่วไปไม่ยากนัก แต่มักจะมีลักษณะกระจัดกระจาย โดยที่ทั้ง 17 ธาตุยังมีลักษณะคล้ายคลังกันอีก ซึ่งมันทำให้ส่งผลต่อการสกัดธาตุออกจากกันในระบวนการถลุงแร่นั้นต้องใช้ทั้งเทคนิคขั้นสูงและสร้างของเสียทางเคมีออกมาอย่างมหาศาล

และด้วยสาเหตุนี้ทำให้ชาติตะวันตกโดยเฉพาะสหรัฐที่เคยเป็นผู้ผลิตและส่งออกแร่หายากในยุคทศวรรษที่ 60-80 ยอมถอยให้กับจีนที่มีแรงงานราคาถูก และไม่คำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเสียเท่าไหร่นัก

สำหรับสินแร่หายากที่นำมาใช้ในทางอุตสาหกรรมมีอยู่ 5 ประเภท คือสแคนเดียม (Scandium) ที่ใช้ในอุตสาหกรรมขุดเจาะน้ำมัน โพรมีเทียม (Promethium) ใช้ในการผลิตแบตเตอรี่พลังงานนิวเคลียร์ แลนทานัม (Lanthanum) ใช้ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์และกล้องถ่ายรูป อิตเทรียม (Yttrium) ใช้ในการผลิตโทรทัศน์และเตาอบไมโครเวฟ และเพรซีโอดีเมียม (Praseodymium) ซึ่งใช้อุตสาหกรรมผลิตใยแก้วนำแสงและเครื่องยนต์ของเครื่องบิน

แรงงานราคาถูก รวมถึงของเสียออกจากโรงงานเยอะ ทำให้จีนกลายเป็นเจ้าตลาดธาตุโลหะหายากพวกนี้
แรงงานราคาถูก รวมถึงของเสียออกจากโรงงานเยอะ ทำให้จีนกลายเป็นเจ้าตลาดธาตุโลหะหายากพวกนี้

ความยากเห็นในการได้มาซึ่งธาตุโลหะหายากนี้ก็ดูจะบ่งว่ามันมีความสำคัญไม่น้อยต่อโลกยุคปัจจุบัน ที่กำลังนำโดยเทคโนโลยี รวมถึงอุปกรณ์ไฮเทค Gadget ต่าง ๆ  โดยธาตุโลหะเหล่านี้ก็เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ขาดไม่ได้ของอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีทั้งหลายในปัจจุบันเช่น คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน เลนส์กล้องถ่ายรูป ทีวีจอแบน เครื่องยิงแสงเลเซอร์สารพัด แบตเตอร์รี่รถยนต์แบบลิเธี่ยม แผงโซล่าร์เซลล์ กังหันลม แม่เหล็ก เซรามิค ระบบนำวิถีของจรวดมิสไซล์ เป็นต้น

ซึ่ง ณ ขณะนี้ จีนกลายเป็นเป็นผู้ผลิตธาตุโลหะหายากกว่า 90% ในโลก จีนได้ขยายการผลิตธาตุโลหะหายากส่วนใหญ่ของโลกมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ทศวรรษ 1990 ดังที่เติ้ง เสี่ยว ผิง ประกาศในขณะเป็นผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ในปี 1992 ว่า “ตะวันออกกลางมีน้ำมัน แต่จีนเรามีธาตุโลหะหายาก” และอัตราส่วนแบ่งตลาดก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มาเป็นกว่า 90% ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นการครองตลาดแทบจะเบ็ดเสร็จของจีนในการผลิตธาตุโลหะหายากเหล่านี้

แม้สถานการณ์ดังกล่าวดูเหมือนจะทำให้จีนมีอำนาจในตลาดอย่างมหาศาล จนในปี 2010 จีนตัดสินใจจำกัดการส่งออก “ธาตุโลหะหายาก” จริงๆ เป็นครั้งแรก โดยขู่จะตัดการส่งออกแร่หายากให้กับญี่ปุ่น เพื่อกดดันให้ญี่ปุ่นปล่อยตัวกัปตันเรือชาวจีนที่ขับเรือชนเรือยามฝั่งของญี่ปุ่น และการข่มขู่ดังกล่าวก็เหมือนจะได้ผลเมื่อญี่ปุ่นปล่อยตัวกัปตันเรือในทันที

ซึ่งเมื่อเทียบกับสถานการณ์ในตอนนี้ ในสงคราม Trade War ระหว่างจีนกับสหรัฐ จีนอาจใช้ Rare Earth เพื่อเป็นมาตรการตอบโต้ในช่วงเวลาที่สงครามการค้ากำลังดุเดือดมากขึ้น ซึ่งหากจีนใช้ Rare Earth เป็นตัวต่อรอง ด้วยการระงับการส่งออกหรือเพิ่มภาษีในอัตราที่สูงมาก ก็จะส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตในประเทศเช่นกัน แต่ก็อาจเป็นผลดีให้จีนเริ่งพัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้แร่ชนิดนี้ เพื่อเพิ่มระดับความต้องการภายในประเทศให้มากยิ่งขึ้น

ซึ่งทางฝั่งอเมริกาเอง ก็ได้เตรียมรับมือกับแผนนี้ไว้เรียบร้อยแล้ว โดยช่วงที่เกิดสงครามการค้า สหรัฐก็ได้เริ่มทำการรื้อฟื้นอุตสาหกรรม Rare Earth ในประเทศ หรือมองหาทางเลือกอื่นในการนำเข้าจากเวียดนามหรือเม็กซิโก  แถมยังมีแหล่งผลิตอีกมากมายทั่วโลก และมีช่องทางในการหลีกเลี่ยงการผูกขาดของจีนในอีกหลายทางนั่นเอง

References : 
https://thediplomat.com/2013/01/the-new-prize-china-and-indias-rare-earth-scramble/?allpages=yes&fbclid=IwAR1XnaGBNxA3gaY57PFLHSQTjrTqqshS70QEaKI4GsimDpWmFSIuMRVZazU