Geek Story EP20 : Masayoshi Son สุดยอดนักลงทุนอัจฉริยะแห่งวงการเทคโนโลยี

ต้องบอกว่าประวัติที่ผ่านมาของ Masayoshi Son นั้น ถือเป็นนักลงทุนที่น่าทึ่ง แม้เขาจะผิดพลาดในการลงทุนกับ WeWork หรือ Uber

แต่คำ ๆ หนึ่ง นั่นก็คือ คำว่า “Believe” ที่เขามักพูดออกสื่ออยู่บ่อย ๆ นั้น สิ่งที่เขาพูดมักจะกลายเป็นความจริงในทุก ๆ ครั้ง ด้วยความเชื่อ และประสบการณ์ของเขานั้น แม้จะมีความผิดพลาดบ้าง

แต่ความเชื่อของเขาโดยส่วนใหญ่นั้นสามารถทำนายอนาคตของเราได้ว่า เทคโนโลยีใหม่ ๆ ในด้านไหน ที่จะมีบทบาทที่สำคัญอย่างมาก กับการดำรงชีวิตของมนุษย์ในอนาคตนั่นเองครับ

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/2FSHJmQ

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://bit.ly/31v9Fpp

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/2Ejh3vl

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/x4fojSAwPpk

ประวัติ Adam Neumann ผู้ก่อตั้ง WeWork จากดาวรุ่งสู่ดาวร่วง

Adam Neumann เป็นผู้ก่อตั้งบริษัท WeWork ซึ่งเป็น บริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่เขาร่วมก่อตั้งขึ้นในปี 2010 เพื่อเป็นผู้นำในระดับโลกและเป็นสัญลักษณ์สำหรับสำนักงานระดับแนวหน้าด้วยแนวคิดแบบ Startup ยุคใหม่

โดย WeWork มีสถานที่ตั้งมากกว่า 500 แห่งใน 29 ประเทศและเมื่อเร็ว ๆ นี้ในเดือนสิงหาคม ทั่วทั้งโลกได้หันมาจับตามอง Neumann ในฐานะนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ที่กำลังมีบทบาทสำคัญ

แต่เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา คำแถลงของ WeWork ประกาศว่าเขาจะก้าวลงจากตำแหน่งในฐานะหัวหน้าผู้บริหาร ซึ่งเป็นเพียงไม่นานหลังจากที่แผนการของบริษัทที่จะขายหุ้นออกสู่สาธารณะนั้นประสบกับปัญหา

นับเป็นการล่มสลายที่น่าตกใจ ดังนั้นเรื่องมันได้เกิดอะไรขึ้นกับเรื่องราวของเขาที่กำลังพุ่งแรงสุด ๆ แต่ต้องมาตกม้าตายในช่วงเวลาหน้าสิ่วหน้าขวานของบริษัทเช่นนี้?

จาก Kibbutz ไปสู่ Co-Working Space

ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 100 ปีก่อน เมื่อครั้งที่ชาวยิวที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก พากันอพยพกลับมาตั้งถิ่นฐานยังดินแดนที่เป็นประเทศอิสราเอลในปัจจุบัน ในครั้งนั้นชาวยิวส่วนหนึ่งได้รวมตัวกันเป็นชุมชนเกษตรกรรมตามชนบท หรือที่เรียกว่า ‘คิบบุตซ์’ (Kibbutz) ซึ่งปัจจุบันทั่วทั้งประเทศอิสราเอลยังมีคิบบุตซ์อยู่มากกว่า 250 แห่ง

N์eumann เกิดที่อิสราเอล โดยเขาได้มีโอกาสรับใช้กองทัพเรืออิสราเอล ก่อนที่จะย้ายไปนิวยอร์กเพื่อ “รับงานที่ยอดเยี่ยม มีความสนุกสนานมากมาย และทำเงินได้อีกมากโข” ในขณะที่เขาให้สัมภาษณ์กับ TechCrunch ในปี 2017

เขาลงทะเบียนเรียนที่ Baruch College ที่ City University of New York ในปี 2002 แต่ต้องลาออกจากการเรียนเพื่อหันไปทำธุรกิจแบบเต็มตัว

หนึ่งในกิจกรรมแรก ๆ ของเขาคือ บริษัท เสื้อผ้าเด็กที่พัฒนาเป็นแบรนด์ Egg Baby สุดหรู

ต่อมาเขาและหุ้นส่วนทางธุรกิจ Miguel McKelvey ที่เป็นสถาปนิก ได้ทำการปรับปรุงพื้นที่สำนักงานและให้เช่าช่วงทรัพย์สิน พวกเขาขายธุรกิจนั้นออกไป แต่นั่นได้กลายเป็นแนวคิดเริ่มต้นก่อนที่จะกลายมาเป็น WeWork อย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน

สองคู่หูที่ช่วยกันปลุกปั้นธุรกิจ WeWork
สองคู่หูที่ช่วยกันปลุกปั้นธุรกิจ WeWork

ในปี 2008 ณ จุดตกต่ำของวิกฤตการณ์ทางการเงินทั่วโลก Neumann และผู้ร่วมก่อตั้งของเขา Miguel McKelvey เริ่มให้เช่าพื้นที่สำนักงานชั่วคราวเพื่อ Freelance , Startup และใครก็ตามที่ต้องการสถานที่ทำงาน ที่มากกว่าแค่โต๊ะทำงานและเก้าอี้

สิ่งที่ Neumann เชื่อคือ พวกเขาขาย ความทุเลาจากความโกลาหลของโลกภายนอก WeWork มันเหมือนคลับเฮาส์ ที่หนุ่มสาวที่อาจจะไม่รู้จักกัน สามารถทำงานร่วมกนแบบไม่รู้สึกโดดเดี่ยว

จากจุดเริ่มต้นด้วยแนวคิดเล็ก ๆ ของ Neumann WeWork นั้นเจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ระหว่างปี 2010 ถึงปี 2019 จำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้นจาก 450 เป็น 527,000  และมันทำให้เริ่มดึงดูดความสนใจของคนร่ำรวยและมีอำนาจเข้ามาอยู่ใกล้ ๆ ตัว Neumann

ในการสัมภาษณ์ Neumann ผู้ซึ่งได้รับปริญญาของเขาในปี 2017 ได้มีการเชื่อมโยงเรื่องราวต้นกำเนิดของ WeWork เข้ากับตัวเขาเอง โดยเชื่อมโยงวัยเด็กของเขาและเวลาที่ใช้ในการเดินทางไป Kibbutz กับ WeWork

เขาบอกกับหนังสือพิมพ์อิสราเอล Haaretz ในปี 2017 ว่าบางครั้งเขาก็พูดถึง WeWork ว่าเป็น “Kibbutz 2.0”

วิธีการหาเงินง่าย ๆ

บุคลิกที่มีสีสันของ Neumann นั้นเป็นที่ดึงดูดใจนักลงทุนรวมถึง Softbank ยักษ์ใหญ่ด้านการลงทุนของญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้สนับสนุนหลักของ WeWork

Masayoshi Son ผู้บริหาร Softbank รายงานว่าได้ตัดสินใจลงทุนใน WeWork นระหว่างการนั่งรถ หลังจากการที่เขาได้เข้าไปใช้เวลาประมาณ 12 นาทีในการสำรวจ สำนักงานของ WeWork ในนิวยอร์ก

การลงทุนของ Softbank ช่วยให้ บริษัท มีการประเมินมูลค่าสูงสุดที่ประมาณ 47,000 ล้านเหรียญ แม้จะมีการขาดทุนที่สูงอย่างต่อเนื่องก็ตามที

SoftBank ของ Son ยังลงทุนใน WeWork
SoftBank ของ Son ยังหลงมนต์เสน่ห์ Neumann และร่วมลงทุนใน WeWork

Neumann อธิบายการขาดทุนของ WeWork โดยบอกกับ Forbes ในปี 2017 ว่า : “การประเมินค่าและขนาดของเราในวันนี้นั้นขึ้นอยู่กับพลังงานและจิตวิญญาณของเรามากกว่ารายได้ที่เป็นตัวเลขหลายเท่า”

เส้นบาง ๆ ระหว่างธุรกิจหรือความเพ้อฝัน

การเติบโตของ WeWork ทำให้ Neumann กลายเป็นมหาเศรษฐีด้วยมูลค่าหุ้นของเขาที่มีสุทธิประมาณ 2.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ

และชีวิตส่วนตัวอันน่าดึงดูดใจของเขา ภรรยาของเขาคือ เรเบคาห์ เป็นลูกพี่ลูกน้องของนักแสดงหญิง กวินเน็ธ พัลโทรว์ ในขณะที่น้องสาวของเขาอาดีเป็นอดีตนางแบบที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นมิสทีนอิสราเอล

Neumann กับ อาดี น้องสาวของเขา
Neumann กับ อาดี น้องสาวของเขา

แต่การผสมผสานระหว่างการทำงานและความสุขซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของวัฒนธรรมของ WeWork ได้กลายเป็นปัญหาเมื่อ บริษัทวางแผนที่จะเปิดตัวสู่สาธารณะ

นักลงทุนที่มีศักยภาพได้ตั้งคำถามถึงความเชื่อมโยงระหว่างการเงินส่วนบุคคลของ Neumann กับ WeWork รวมถึงการตัดสินใจที่จะขยายกิจการ WeWork ไปสู่ธุรกิจใหม่ที่น่าสนใจ เช่น การท่องเที่ยว และ การศึกษา

พวกเขายังตั้งคำถามเกี่ยวกับการตัดสินใจของเขาท่ามกลางข้อร้องเรียนเกี่ยวกับวิธีการสังสรรค์ของเขา เนื่องจากเขาเป็นหนุ่มปาร์ตี้ ตัวยง นั่นเอง

เมื่อถึงยุคตกต่ำ

แม้ WeWork จะพยายามตอบสนองต่อข้อกังวลเหล่านั้น แต่ก็ยังีเรื่องราวอื้อฉาวอื่น ๆ เช่น กรณีที่ Neumann ขายเครื่องหมายการค้า “We” ให้กับบริษัท WeWork มูลค่า 5.9 ล้านเหรียญ ซึ่งถือเป็นเจตนาไม่ดีในทางจริยธรรม ในขณะที่บริษัทของเขากำลังจะเข้าตลาดหุ้น

แต่แม้จะมีการประกาศเมื่อไม่กี่วันทีผ่านมาว่า Neumann ยอมที่จะหลีกทางและลดอำนาจในการยุ่งเกี่ยวกับบริษัทของตัวเขาเองลง เพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับคำถามจากสื่อมวลชนมากมายในเรื่องเกี่ยวกับอนาคตระยะยาวของ WeWork

เหล่านักวิจารณ์ตามสื่อต่าง ๆ กล่าวมานานแล้วว่า WeWork นั้นมีขนาดเล็กกว่า บริษัท อสังหาริมทรัพย์ทั่วไปมาก และการเงินที่สั่นคลอนที่เป็นรายได้จากการทำธุรกิจจริง ๆ ของ WeWork นั้น ได้ถูกบดบังด้วยสไตล์ส่วนตัวของผู้ก่อตั้งอย่าง Neumann ที่ทำให้ WeWork นั้นก้าวมาไกลเกินความเป็นจริงของธุรกิจที่เขาทำ อย่างที่เราได้เห็นในตอนนี้นั่นเอง

References : https://www.bbc.com
https://www.fastcompany.com

Masayoshi Son นักลงทุนอัจฉริยะผู้ครอบครอง ARM

ข่าวใหญ่ที่สุดของวันคงจะหนีไม่พ้นเรื่องการยกเลิกธุรกิจของ ARM ยักษ์ใหญ่ทางด้านชิปของโลก ที่มีต่อ Huawei เรียกได้ว่าตอนนี้ สถานการณ์หัวเว่ย นั้นหนักหนาสาหัสพอสมควรที่เรียกได้ว่าโดนโจมตีจากรอบด้านเลยก็ว่าได้

การแบนของ Google นั้นต้องบอกว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยเลยเมื่อเทียบกับการแบนโดย ARM เนื่องจากเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนและเทคโนโลยีหลักของชิป ในมือถือเกือบจะแทบทั้งโลกเลยด้วยซ้ำ เรียกได้ว่า มือถือค่ายไหน  ๆ ก็ต้องพึ่งพาชิปของ ARM แทบจะทั้งสิ้น

และแน่นอนว่าเจ้าของ ARM ตัวจริงอย่าง Softbank ซึ่งผู้ก่อตั้งคือ Masayoshi Son นักลงทุนระดับอัจฉริยะ ที่ลงทุนในบริษัทที่มีแนวโน้มที่จะเติบโตในอนาคตมากมาย คือคนที่มีบทบาทค่อนข้างสำคัญ ในการตัดสินใจเรื่องการยกเลิกธุรกิจกับ Huawei ครั้งแน่อย่างแน่นอน

ซึ่ง Masayoshi son นั้นประวัติเขาค่อนข้างน่าสนใจเลยทีเดียว เมื่อตอนสมัยเรียนที่อเมริกา ที่ uc berkeley นั้น เนื่องจากฐานะทางบ้านที่ไม่ค่อยดีเท่าที่ควร รวมถึงการที่ เขา มีเชื้อสายของเกาหลีอยู่ ทำให้ ใช้ชีวิตอยากในสังคม ที่เคร่งครัด และ ค่อนข้างชาตินิยม อย่าง ญี่ปุ่น  เขาจึงต้องการหาเงินให้เร็วที่สุด และใช้เวลาน้อยที่สุด

เขาได้บอกกับเพื่อนใน class สมัยเรียนวิทยาลัย ว่า ต้องทำอย่างไรถึงจะหาเงินได้ 1000 เหรียญต่อเดือน โดยใช้เวลาเพียง 5 นาทีต่อวัน ซึ่งเพื่อนร่วม class ก็หาว่าเขาบ้าอย่างแน่นอน แต่ด้วยตอนนั้นเทคโนโลยีทางด้าน computer กำลังเริ่มบูม ทำให้เขาสามารถหาเงินได้กว่า 3 ล้านเหรียญ ภายในเวลาไม่กี่ปีในช่วงมหาวิทยาลัย โดยได้มาจากการสร้าง dictionnary รวมถึงการสร้างเกมส์ และขายให้บริษัทยักษ์ใหญ่ ทำให้เขามีเงินเริ่มต้นในการมาลงทุนทำ softbank ที่ญี่ปุ่น หลังจากเรียนจบ

เขาเริ่มต้นธุรกิจที่ญี่ปุ่นด้วยการทำการรวมรวบ software และขายให้บริษัทจำหน่าย hardware ซึ่งตอนนั้น คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล กำลังเริ่มบูม ทำให้เขาสามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ จากการทำ ธุรกิจ software ซึ่งเป็นที่มาของ เครือบริษัทใหญ่อย่าง softbank ในปัจจุบัน

เริ่มจากธุรกิจ software จนกลายมาเป็นยักษ์ใหญ่ด้านโทรคมนาคม ของญี่ปุ่นในปัจจุบัน

เริ่มจากธุรกิจ software จนกลายมาเป็นยักษ์ใหญ่ด้านโทรคมนาคม ของญี่ปุ่นในปัจจุบัน

Masayoshi son นั้นผ่านการลงทุนมามายมายตั้งแต่ช่วง dot com boom เมื่อปี 2000  จนสามารถกลายเป็นบุคคลที่รวยที่สุดในโลกแซงหน้า bill gate ได้ แต่ก็เพียงไม่นาน ชีวิตก็ต้องเปลี่ยนผัน เนื่องจากภาวะ dot com crash ในปี 2000 ทำให้เงินของเขาหายไปกว่า 99% แต่ด้วยความเชื่อของเขาว่า สุดท้าย บริษัทเทคโนโลยีก็จะเข้าสู่จุดสมดุลอีกครั้ง

เนื่องจากการเติบโตของผู้ใช้ internet รวมถึง การพัฒนาการของเทคโนโลยีที่มีอย่างรวดเร็ว ทำให้เขาสามารถกลับมายืนบนเส้นทางนักลงทุนทางด้านเทคโนโลยีได้อีกครั้ง

ที่น่าสนใจคือ เขาเป็นคนแรก ๆ ที่ให้ทุนแก่ jack ma ที่สร้างอาณาจักร alibaba ได้อย่างยิ่งใหญ่ในปัจจุบัน ตอนนั้น บริษัทของ jack ma นั้นแทบจะไม่มีกำไร และมีพนักงานเพียงน้อยนิดเท่านั้น เรียกว่าเป็นการลงทุนที่เชื่อมั่นใน jack ma เป็นอย่างมากเลยก็ว่าได้

เป็นผู้ให้เงินทุนคนแรก ๆ กับ jack ma

เป็นผู้ให้เงินทุนคนแรก ๆ กับ jack ma

ที่ให้ทุนกับ jack ma ไปสร้างอาณาจักร alibaba จนสามารถยิ่งใหญ่ได้ในปัจจุบัน และสามารถทำกำไรให้เขาได้อย่างมากมาย เนื่องจาก alibaba นั้นกลายเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ แห่งหนึ่งของโลกในขณะนี้ก็ว่าได้

ซึ่งการลงทุนในระดับตำนานของเขาคือการลงทุนใน ARM  ซึ่งเขามองว่า ARM นั้นครองส่วนแบ่งได้ถึง 99% ในตลาด chip ของมือถือ ซึ่งกว่า 1000 ล้าน device ในปัจจุบัน นั้นใช้ chip ของ ARM แล้วทำไมเขาถึงจะไม่ลงทุนในบริษัทที่ส่วนแบ่งการตลาดขนาดนี้ รวมถึง ในอนาคตนั้น ไม่ใช่แค่มือถืออย่างเดียวที่ใช้ chip

ในยุค internet of thing ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวเราจะต้องใช้ chip หมด ซึ่งการที่ ARM สามารถครองส่วนแบ่งการตลาดขนาดนี้นั้น เขามองว่า การลงทุนกับ ARM ถึงแม้จะเป็นการลงทุนเรื่อง chip ที่ไม่ใช่เทคโนโลยีของอนาคตซะทีเดียวนั้น ถือว่าเป็นการลงทุนที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง

อ่านเกมส์ขาดในการลงทุนใน ARM ผู้ผลิตชิพ มือถือ

อ่านเกมส์ขาดในการลงทุนใน ARM ผู้ผลิตชิป มือถือ

สำหรับเรื่องของอนาคตการลงทุน ซึ่งเขามองเรื่อง Singularity รวมถึงเรื่อง AI ที่เป็นเทคโนโลยีในอนาคต ที่จะเป็น port การลงทุนที่สำคัญของเขาในอนาคตต่อจากนี้ไป ซึ่งส่วนนี้สำคัญมาก

อนาคตเลือกลงทุนใน AI และ Robot เพราะเป็นอนาคตใหม่ของโลกเรา

อนาคตเลือกลงทุนใน AI และ Robot เพราะเป็นอนาคตใหม่ของโลกเรา

เพราะคำว่า Believe ของเขา ที่มักพูดออกสื่ออยู่บ่อย ๆ นั้นแทบจะเป็นจริงในทุก ๆ ครั้ง ความเชื่อ และประสบการณ์ของเขา นั้นสามารถทำนายอนาคตของเราได้ว่า เทคโนโลยีทางด้าน AI นั้น จะมีบทบาทสำคัญอย่างมากกำลังมีบทบาทที่สำคัญเป็นอย่างกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ในอนาคตอันใกล้นี้

แน่นอนว่าการใกล้ชิดกับอเมริกาตั้งแต่เรียน รวมถึงการได้ไปลงทุนในธุรกิจมากมายในอเมริกานั้น น่าจะเป็นส่วนสำคัญที่เขาต้องเลือกช่วยเหลืออเมริกาในการยกเลิกธุรกิจกับ หัวเว่ย ซึ่ง แน่นอนว่า ARM นั้นได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน เพราะ Huawei เป็นค่ายยักษ์ใหญ่มือถืออันดับสองของโลก แต่ ก็ต้องบอกว่าแค่ลูกค้าที่มีอยู่ในมือนั้น ARM ก็แทบจะผลิตชิป รองรับความต้องการแทบจะไม่ทันแล้วในตอนนี้ ซึ่งการตัดสินใจครั้งนี้ ดูแล้ว คนที่ได้รับผลกระทบหนักมากที่สุดน่าจะเป็น Huawei เสียมากกว่านั่นเองครับ

ติดตาม ด.ดล Blog เพิ่มเติมได้ที่
Fanpage :facebook.com/tharadhol.blog
Blockdit :blockdit.com/tharadhol.blog
Twitter :twitter.com/tharadhol
Instragram :instragram.com/tharadhol