มารู้จัก Textbook ที่ถูกเขียนโดย AI

สำนักพิมพ์ Springer Nature ได้เปิดเผยสิ่งที่อ้างว่าเป็นหนังสือวิจัยครั้งแรกที่ถูกสร้างขึ้นโดยใช้เทคโนโลยี Machine Learning 

โดยหนังสือชื่อ Lithium-Ion Batteries: A Machine-Generated Summary of Current Research  มันเป็นบทสรุปของเอกสารที่ผ่านการตรวจสอบโดยสำนักพิมพ์ที่ตีพิมพ์ในหัวข้อที่เป็นปัญหา โดยมีการเชื่อมโยงไปยังงานที่อ้างถึงและมีการสร้างเนื้อหาอ้างอิงแบบอัตโนมัติ นอกจากนี้ยังมีให้ดาวน์โหลดและอ่านฟรี

ในขณะที่เนื้อหาของหนังสือนั้นน่าตื่นเต้นโดยทาง Henning Schoenenberger  จากสปริงเกอร์เนเจอร์ กล่าวว่าหนังสือเช่นนี้มีศักยภาพที่จะเริ่มต้น “ยุคใหม่ของการเผยแพร่ทางวิทยาศาสตร์” เลยก็ว่าได้

Schoenenberger ชี้ให้เห็นว่าในช่วงสามปีที่ผ่านมามีการตีพิมพ์งานวิจัยมากกว่า 53,000 ชิ้นในเรื่องที่เกี่ยวกับแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน นี่แสดงให้เห็นถึงความท้าทายอย่างมากสำหรับนักวิทยาศาสตร์ที่พยายามควานหาความรู้ในเรื่องเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้

แต่ด้วยการใช้ AI เพื่อสแกนและสรุปผลลัพธ์นี้โดยอัตโนมัตินักวิทยาศาสตร์สามารถประหยัดเวลาและทำงานวิจัยที่สำคัญได้ โดยใช้เวลาน้อยลงเป็นอย่างมาก

“ วิธีนี้ช่วยให้ผู้อ่านสามารถเร่งกระบวนการในการสรุปเนื้อหาของการวิจัยที่กำหนดแทนที่จะต้องอ่านบทความที่ตีพิมพ์นับร้อยเล่ม” Schoenenberger เขียน “ ในเวลาเดียวกันหากจำเป็นผู้อ่านก็สามารถระบุและคลิกไปยังแหล่งข้อมูลอ้างอิง เพื่อที่จะค้นหาข้อมูลที่ลึกลงไปและศึกษาเรื่องต่อ ๆ ไป”

จะเกิดอะไรขึ้นเมื่องค์ความรู้ของมนุษย์จะถูกสร้างขึ้นโดย AI
จะเกิดอะไรขึ้นเมื่องค์ความรู้ของมนุษย์จะถูกสร้างขึ้นโดย AI

แม้ว่า Machine Learning ในช่วงที่ผ่านมาจะช่วยพัฒนาความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการสร้างคำที่เขียนขึ้นอย่างมากแต่ผลลัพธ์ของ AI เหล่านี้ก็ยังมีข้อจำกัด มันไม่สามารถโต้เถียงถึงการเชื่อมโยงและโครงสร้างของงานวิจัยที่นักเขียนที่เป็นมนุษย์สร้างขึ้น และความพยายามในการสร้างนวนิยายที่แต่งขึ้นโดย AI ซึ่งเนื้อหามักเป็น Pattern มากกว่า การสร้างเรื่องราวที่น่าสนใจ

สิ่งที่ AI สามารถทำได้คือสร้างตำราที่เป็นสูตรสำเร็จ ส่วนในแวดวงสื่อสารมวลชน ก็มีการใช้เหล่า AI หรือ Machine Learning มาช่วยเช่นใน The Associated Press ที่นำมาใช้ในการสร้างผลสรุปของการแข่งขันฟุตบอล แผ่นดินไหว หรือข่าวด้านการเงิน ซึ่งหัวข้อเหล่านี้เป็นข้อมูลที่ตรงไปตรงมา ที่หุ่นยนต์สามารถจะมาช่วยเหลือได้แบบอัตโนมัติ

ซึ่งที่จริงแล้วนั้นเมื่ออ่านข้อความมันจาก AI เขียนก็ไม่ยากที่จะหาประโยคที่อ่านไม่ออกและไม่ต่อเนื่องกัน  ซึ่งทำให้เหล่านักวิชาการนั้นไม่ยอมรับการตีพิมพ์ข้อความทางวิชาการที่ AI สร้างขึ้น ซึ่งในอนาคตเราก็ต้องดูกันต่อไปว่างานวิชาการที่ถูกสร้างขึ้นโดย AI นั้นมีประโยชน์หรือไม่?

References : 
https://www.theverge.com/2019/4/10/18304558/ai-writing-academic-research-book-springer-nature-artificial-intelligence