ทำไม Linkedin ถึงสามารถบุกตลาดจีนได้สำเร็จ

ต้องบอกว่า Linkedin นั้นถือเป็นหนึ่งในบริษัททางด้าน internet น้อยรายจากอเมริกาที่สามารถเข้าถึงได้ในประเทศจีน ซึ่ง Facebook , Google , Twitter หรือ Pinterest นั้นต่างถูกบล็อก

ซึ่ง Linkedin นั้นจะมุ่งเน้นไปที่เครือข่ายของมืออาชีพ และได้รับความสนใจจากประชากรชาวเน็ตในประเทศจีน ซึ่งมีการเติบโตของกลุ่มผู้คนมืออาชีพกว่า 140 ล้านคน ซึ่งเป็นตัวแทนของเหล่าพนักงานที่มีความรู้ประมาณ 1 ใน 5 ของโลก

โดย Jeff Weiner ซีอีโอ ของ Linkedin ได้กล่าวในการเปิดตัวเว๊บไซต์ภาษาจีนในปี 2014 ว่า “เป้าหมายของ Linkedin คือ เชื่อมโยงเหล่าผู้ใช้งานมืออาชีพชาวจีน เข้ากับสมาชิกที่เหลือของ Linkedin กว่า 277 ล้านคนใน 200 ประเทศทั่วโลก”

ต้องบอกว่า Linkedin นั้นได้ทำสิ่งที่แตกต่างจากบริการอื่น ๆ สิ่งแรกคือ เวอร์ชั่นภาษาจีนที่มีเนื้อหาเป็นภาษาท้องถิ่น และมีการตั้งบริษัทเข้าไปลงทุนในประเทศจีน รวมถึงการว่าจ้าง Derek Chen ผู้ประกอบการทางด้านเทคโนโลยีที่มีประสบการณ์ ที่ได้รับการว่าจ้างเป็นผู้นำ Linkedin ในสาขาประเทศจีน

ซึ่ง Chen นั้น มีอิสระในการปรับแต่งเว๊บไซต์ ซึ่งสมาชิก Linkedin ในประเทศจีนนั้นสามารถที่จะ import รายชื่อผู้ติดต่อจาก Weibo และเชื่อมโยงบัญชีของพวกเขาไปยัง Wechat เพื่อทำการแบ่งปันเนื้อหาข้ามเครือข่ายได้

และเป็นเวลาเพียงไม่ถึง 4 ปี ที่ Linkedin China นั้นมีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 8 เท่า และจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้นจาก 4 ล้านคน เป็น 41 ล้านคนในประเทศจีน และนับเป็นความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ที่ทำให้บริการท้องถิ่นที่เข้ามาแข่งขันนั้นต้องปิดตัวลง ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นน้อยมากกับบริการ internet ในประเทศจีน

ซึ่งแม้ว่า Linkedin China นั้นจะรอดพ้นเงื้อมมือจาก Startup ในประเทศจีน ที่ทำการลอกเลียนแบบ Features ของ Linkedin เหมือนกับที่ทำในบริการอื่น ๆ มีบริการอย่าง Vaideo จากฝรั่งเศษ หรือ Ushi บริการอีกรายที่ก่อตั้งในเซี่ยงไฮ้ ที่พยายามทำตัวเป็น Linkedin of china แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ

แล้วสาเหตุใดที่ Linkedin สามารถประสบความสำเร็จได้ในแผ่นดินจีน

ต้องบอกว่ามีปัจจัยหลายประการที่ Linkedin สามารถยืนหยัดได้ในประเทศจีน การทำความเข้าใจกับวัฒนธรรมจีน การปรับแต่งบริการสำหรับผู้บริโภคชาวจีน รวมถึงการให้อำนาจแก่ผู้นำในท้องถิ่น เพื่อการตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว ในตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่ง แตกต่างจากบริการอื่นๆ ก่อนหน้านี้ ที่มักจะใช้นโยบายเดียวกับบริษัทแม่ในอเมริกาเสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งสามารถสรุปเป็นหัวข้อได้ดังนี้

  1. ให้หาหุ้นส่วนจีนในท้องถิ่น อย่าบุกตะลุยเดี่ยวเพียงอย่างเดียว
  2. จ้างทีมงานท้องถิ่นที่มีประสบการณ์ในธุรกิจและเทคโนโลยีของจีน
  3. ให้ความเป็นอิสระแก่ทีมงาน ที่สามารถตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ได้ทันท่วงที โดยไม่ต้องขึ้นกับสำนักงานใหญ่ที่อเมริกา
  4. ปรับแต่งบริการและคุณสมบัติสำหรับลูกค้าชาวจีน
  5. วางกลยุทธ์การซื้อกิจการที่สามารถเริ่มต้นธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว
  6. เรียนรู้ที่จะเจรจากับลูกค้าชาวจีนที่ต้องการ และอย่าคาดหวังว่าจะชนะทุกครั้ง
  7. ตั้งเป้าที่การเติบโตก่อนมองหาผลกำไร
  8. พัฒนากลยุทธ์ส่งเสริมการขายที่สร้างสรรค์
  9. เตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงในเรื่องการเมืองอย่างกะทันหันในจีน
  10. พยายามรักษาวิสัยทัศน์ และ มองการแข่งขันในระยะยาว

References : หนังสือ Tech Titans of China เขียนโดย Rebecca A.Fannin

Geek Story EP16 : Linkedin กับบริการ Social Network สำหรับมืออาชีพ

Reid Hoffman ทำการสร้าง Linkedin ซึ่งเขาให้สโลแกนของ Linkedin คือ Online social network for Professional ก็ถือได้ว่าเป็นจุดแตกต่างจาก social network อื่น ๆ ในสมัยนั้น โดยเน้นกลุ่มไปที่ลูกค้าที่เป็นกลุ่มคนทำงานแทน จึงได้รับผลตอบรับจากนักลงทุนเป็นจำนวนมาก และทำให้สามารถขยายกิจการได้อย่างรวดเร็ว

โดยจุดประสงค์หลักของ Linkedin คือ อนุญาตให้ผู้ใช้ที่ลงทะเบียนแล้ว สามารถสร้างรายการที่ติดต่อของผู้คนที่พวกเขารู้จักและเชื่อถือในการทำธุรกิจ ซึ่งผู้คนในรายการนี้เรียกว่า “Connections” โดยผู้ใช้สามารถเชิญใครก็ได้ (ไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้ลิงกต์อินหรือไม่ก็ตาม) เข้ามาเป็น connectionของพวกเขา ซึ่งประโยชน์ของ Connection เหล่านี้ ก็เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้รายการอันนี้ในการหางานหรือหาผู้ร่วมงานได้แบบง่าย ๆ นั่นเอง

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3gR60Yi

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/3kw1GzX

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/NWiPTbLyYF4

ประวัติการก่อตั้ง Linkedin Social Network สำหรับมืออาชีพ

Linkedin นั้นถูกก่อตั้งโดย Reid Hoffman ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่ม Founder Paypal ผู้ซึ่งมีบทบาทสำคัญในวงการดอทคอมของสหรัฐอเมริกาหลังยุคฟองสบู่ดอทคอมในปี 2000 เป็นต้นมา

โดย Reid Hoffman นั้น เป็นคนที่ไม่ได้จบมาทางด้าน computer science โดยตรงแต่มีความชอบในเรื่องของ game มาตั้งแต่เด็ก ๆ โดยส่วนตัวนั้นของชอบ game แนว RPG  แต่เนื่องจากการที่ได้มาพบกับ Peter Thiel โดยเป็นเพื่อนร่วมชั้นกันที่ มหาวิทยาลัย Standford ก็ทำให้ Reid Hoffman หันเหชีวิตเข้ามาสู่การทำงานทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

ชีวิตการทำงานของเค้านั้นเริ่มต้นที่ apple computer โดยงานแรกที่เขาได้ทำนั้นเป็นการสร้าง eWorldซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานทางด้าน software ที่ใช้ทำงานที่เป็น social network แรก ๆ ของ apple ในยุคนั้นแต่ไม่ค่อย boom เท่าไหร่ และสุดท้ายได้ขายไปให้กับ AOL ในที่สุด

หลังจากออกจาก apple นั้นเขาก็ได้สร้าง online dating website ชื่อ socialnet.com ก่อนที่จะมามีปัญหากับผู้ร่วมทุนในภายหลังและได้ออกมา ซึ่งในช่วงนั้นทาง Peter Thiel นั้นได้เริ่มสร้างระบบ Payment Online ที่ชื่อ Confinity และเนื่องจากเขารู้จักกับ Peter Thiel อยู่แล้วนั้นจึงได้รับการชักชวนให้มาทำงานกับ Confinity

ในช่วงนั้นก็ได้มีการแข่งขันกันระหว่าง X.com ที่ถูกสร้างโดย Elon Musk และ Confinity ที่ก่อตั้งโดย Peter Thiel ซึ่งมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง และเป็นช่วงปลายก่อนที่จะเกิดฟองสบู่ดอทคอมแตกในยุคปี 2000

ซึ่งต่อมา Peter Thiel และ Elon Musk ก็ได้ตัดสินใจร่วมมือกันแทนที่จะแข่งกัน และรวมตัวกันใหม่ภายใต้ชื่อ Paypal.com และทำให้ทั้งคู่รอดพ้นยุคฟองสบู่ดอมคอมของสหรัฐอเมริกามาได้อย่างหวุดหวิด

Reid Hoffman นั้นถือเป็นหนึ่งในบุคคลที่ถูกขานในวงการเทคโนโลยีสหรัฐว่าเป็นกลุ่ม Paypal Mafia ซึ่งมีบทบาทที่สำคัญหลังจากยุคฟองสบู่ดอทคอมในปี 2000  ซึ่งหลังจากตัดสินใจขาย Paypal ให้กับ Ebay ในช่วงปี 2002 แล้วนั้น ( มูลค่าประมาณ 1.5 พันล้านเหรียญ) ก็ทำให้เขาได้รับส่วนแบ่งเป็นจำนวนมากพอที่จะมาตั้งบริษัทใหม่ที่ใจเขาต้องการคือ Linkedin

Reid Hoffman เพื่อนสนิทของ Peter Thiel ที่ถูกมองเป็นหนึ่งใน paypal mafia
Reid Hoffman เพื่อนสนิทของ Peter Thiel ที่ถูกมองเป็นหนึ่งใน paypal mafia

เนื่องจากเป็นคนที่มีชื่อเสียงอยู่แล้ว เมื่อทำการสร้าง Linkedin ซึ่งเขาให้สโลแกนของ Linkedin คือ Online social network for Professional ก็ถือได้ว่าเป็นจุดแตกต่างจาก social network อื่น ๆ ในสมัยนั้น โดยเน้นกลุ่มไปที่ลูกค้าที่เป็นกลุ่มคนทำงานแทน จึงได้รับผลตอบรับจากนักลงทุนเป็นจำนวนมาก และทำให้สามารถขยายกิจการได้อย่างรวดเร็ว

โดยจุดประสงค์หลักของ Linkedin คือ อนุญาตให้ผู้ใช้ที่ลงทะเบียนแล้ว สามารถสร้างรายการที่ติดต่อของผู้คนที่พวกเขารู้จักและเชื่อถือในการทำธุรกิจ ซึ่งผู้คนในรายการนี้เรียกว่า “Connections” โดยผู้ใช้สามารถเชิญใครก็ได้ (ไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้ลิงกต์อินหรือไม่ก็ตาม) เข้ามาเป็น connectionของพวกเขา ซึ่งประโยชน์ของ Connection เหล่านี้ ก็เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้รายการอันนี้ในการหางานหรือหาผู้ร่วมงานได้แบบง่าย ๆ นั่นเอง

โดย Linkedin มีรูปแบบการทำรายได้จากสามทางคือ การโฆษณา , Premium Subscribtion และ  Hiring solution for company ซึ่งก็คือรูปแบบการหาเงินจากบริษัทจัดหางานแบบเก่า แต่ linkedin แตกต่างตรงมีส่วนของการเป็น social network ทำให้แตกต่างจาก web หางานแบบเดิม ๆ ที่แข่งขันกันในตลาดอยู่ทำให้ได้ผลตอบรับที่ดีจากกลุ่มคนทำงานทั่วโลกจนถึงปัจจุบัน

ในช่วงปี 2008 เขาก็ได้ตัดสินใจปล่อยงานบริหารบริษัทให้กับ Jeff Weiner ที่ได้ย้ายมาจาก Yahoo เพื่อเข้ารับตำแหน่ง CEO ต่อจากเขา และ เขาก็เริ่มเข้าไปตั้งบริษัทด้านการลงทุนในบริษัทด้านเทคโนโนยี  คือ GreylockPartner ในปี 2009 เพื่อลงทุนในบริษัทเกิดใหม่เช่นเจริญรอยตามอดีตเพื่อนร่วมงานของเขาที่ paypal อย่าง peter thiel 

และในที่สุดในปี 2016 Microsoft ก็ได้ประกาศซื้อหุ้นของ LinkedIn  ด้วยมูลค่าสูงถึง 26.2 พันล้านเหรียญ  ซึ่งแน่นอนว่าเหตุผลที่ไมโครซอฟท์ทุ่มเม็ดเงินก้อนใหญ่มหาศาลขนาดนี้ ก็เพราะจำนวนผู้ใช้งานของ LinkedIn ซึ่งมีมากถึง 433 ล้านรายแล้วในขณะนั้น อีกทั้งยังมี Data มหาศาลของผู้ใช้งาน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผู้ใช้ที่เป็นมืออาชีพที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับธุรกิจหลักของ Microsoft นั่นเอง

ซึ่งดีลดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากบอร์ดบริหารทั้งสองฝั่ง โดย Jeff Weiner จะดำรงตำแหน่ง CEO ของ LinkedIn ต่อไป แล้วทำงานรายงานตรงต่อ Satya Nadella ซีอีโอของไมโครซอฟท์

Linkedin ที่สุดท้ายได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของ Microsoft
Linkedin ที่สุดท้ายได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของ Microsoft

และจากเรื่องราวประสบการณ์ต่างๆ เหล่านี้ของ Reid Hoffman ที่ทำให้เขาได้กลายมาเป็นวิทยากรคอยสอนคนรุ่นใหม่ๆ ให้ตามโลกแห่งธุรกิจให้ทัน โดยในบทสัมภาษณ์หนึ่งเขาเคยได้กล่าวไว้ว่า “Hard work isn’t enough. And more work is never the real answer,” การขยันมากๆ นั้นไม่เพียงพอ และการทำงานหนักๆ นั้นก็ไม่ใช่คำตอบเช่นกัน

ซึ่งก็เปรียบเทียบเหมือนกับการที่คนพยายามขับรถขึ้นเนินสูงชัน แต่ไม่สามารถขึ้นได้ทั้งๆ ที่พยายามหลายรอบโดยที่ไม่เปลี่ยนวิธีการเลย ซึ่ง Reid Hoffman บอกว่าทุกๆครั้งที่เราทำอะไรพลาด เราก็ควรจะพยายามหาข้อแก้ไขที่คิดว่ามีประสิทธิภาพสูงสุด ใช้แรงน้อยที่สุด โดยให้คิดเสมอว่าแรงที่เราใช้นั้นมันเป็นสิ่งล้ำค่ามาก ๆ นั่นเองครับ

โดยในปัจจุบัน Reid Hoffman มีทรัพย์สินมากถึง 3.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 1.2 แสนล้านบาท และอยู่ในอันดับที่ 159 ของผู้ที่รวยที่สุดในโลกตามการจัดอันดับจาก Forbes

References : 
https://www.wikipedia.org/
https://about.linkedin.com/

Paypal Mafia ตอนที่ 10 : Reid Hoffman

Reid Hoffman นั้นเป็นเด็กที่คลั่งไคล้ในการเล่นวีดีโอเกมส์ มาตั้งแต่ยังเยาว์วัย สิ่งที่เขาเรียนในมหาวิทยาลัยนั้นไม่เกี่ยวกับโลก digital เลยด้วยซ้ำ ซึ่งนั้นก็คือวิชาปรัชญา แต่เนื่องจากเขามีเพื่อนสนิทคนหนึ่งที่ชื่นชอบเรื่องคอมพิวเตอร์มากทำให้เขาได้ซีมซับเอาเรื่องเทคโนโลยีต่าง ๆ มาจากเพื่อนสนิทของเขานั่นเอง และทำให้ Reid หันเหชีวิตมาสนใจ และทำงานด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

งานแรกที่เขาทำเกี่ยวกับเทคโนโลยีนั้นเริ่มต้นที่ Apple Computer ในยุคที่ Apple เป็นเพียงบริษัทคอมพิวเตอร์ที่เพิ่งเริ่มตั้งไข่เพียงเท่านั้น เขาไม่ได้ชอบงานที่นี่มากนัก เขาจึงตัดสินใจลาออก

หลังจากนั้นเขาก็ได้สร้างเว๊บไซต์ ที่ช่วยในการหาคู่คือ socialnet.com ก่อนที่เขาจะมีปัญหากับผู้ร่วมทุน จนทำให้เขาต้องลาออกอีกครั้งจากบริษัทที่ตัวเองสร้างขึ้นมา แต่เขาก็ไม่หยุดแค่นั้น เพราะเขามั่นใจแล้วว่าจะเดินในทางสายเทคโนโลยีอย่างแน่นอน

Socialnet.com บริการแรกที่ Reid นั้นได้สร้างขึ้นมา
Socialnet.com บริการแรกที่ Reid นั้นได้สร้างขึ้นมา

เขาได้มาร่วมงานในบริษัท Online Payment โดยการชักชวนของ Peter Thiel ซึ่งเป็น classmate ที่ Standford และได้ตั้งบริษัทConfinity สร้างบริการชำระเงินเพื่อปฏิรูปการชำระเงินออนไลน์ในชื่อ Paypal และในช่วงนั้นก็เป็นช่วงก่อนที่ฟองสบู่ดอทคอมกำลังจะแตกในยุคปี 2000

เขากับ Peter Thiel ได้จับมือร่วมกับ Elon Musk ที่เป็นคู่แข่งในการสร้างบริการเดียวกันอย่าง X.com ในช่วงก่อนหน้า ซึ่งที่ Paypal นั้นเขาได้รับตำแหน่ง COO (Chief Operating Officer) ดูแลงานสำคัญหลาย ๆ อย่าง ที่่ทำให้ Paypal สามารถแข่งขันในตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เขาเป็นหนึ่งใน Keyman ของ Paypal ที่พาบริษัทให้รอดพ้นยุคฟองสบู่มาได้อย่างหวุดหวิด ซึ่งหลังจากผ่านวิกฤติดอทคอมมา เพียงไม่นาน Paypal ก็ถูกขายให้กับ Ebay ทำให้เขามีเงินทุนในการสร้างฝันของเขาให้เป็นจริงได้ ซึ่งก็คือ LinkedIn นี่เอง

เนื่องจากเป็นคนที่มีชื่อเสียงอยู่แล้ว เมื่อทำการสร้าง Linkedin ซึ่งเขาให้สโลแกนของ Linkedin คือ Online social network for Professional ก็ถือได้ว่าเป็นจุดแตกต่างจาก social network อื่น ๆ ในสมัยนั้น โดยเน้นกลุ่มไปที่ลูกค้าที่เป็นกลุ่มคนทำงานแทน จึงได้รับผลตอบรับจากนักลงทุนเป็นจำนวนมาก และทำให้สามารถขยายกิจการได้อย่างรวดเร็ว

LinkedIn Social Network สำหรับมืออาชีพ ผลงานชิ้นโบว์แดงของ Reid Hoffman
LinkedIn Social Network สำหรับมืออาชีพ ผลงานชิ้นโบว์แดงของ Reid Hoffman

โดยมี รูปแบบการทำรายได้จากสามทางคือ การโฆษณา , Premium Subscribtion และ  Hiring solution for company ซึ่งก็คือรูปแบบการหาเงินจากบริษัทจัดหางานแบบเก่า แต่ linkedin แตกต่างตรงมีส่วนของการเป็น social network ทำให้แตกต่างจาก web หางานแบบเดิม ๆ ที่แข่งขันกันในตลาดอยู่ทำให้ได้ผลตอบรับที่ดีจากกลุ่มคนทำงานทั่วโลกจนถึงปัจจุบัน

ในช่วงปี 2008 เขาก็ได้ตัดสินใจปล่อยงานบริหารบริษัทให้กับ Jeff Weiner ที่ได้ย้ายมาจาก Yahoo เพื่อเข้ารับตำแหน่ง CEO ต่อจากเขา และ เขาก็เริ่มเข้าไปตั้งบริษัทด้านการลงทุนในบริษัทด้านเทคโนโนยี  คือ GreylockPartner ในปี 2009 เพื่อลงทุนในบริษัทเกิดใหม่เช่นเจริญรอยตามอดีตเพื่อนร่วมงานของเขาที่ paypal อย่าง peter thiel ซึ่งจะทำให้กลุ่ม Paypal Mafia นั้นน่าจะมีบทบาทที่สำคัญกับบริษัทดอมคอมของอเมริการในอนาคตต่อจากนี้ไปนั่นเอง

–> อ่านตอนที่ 11 : Max Levchin

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Jawed Karim *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Paypal Mafia ตอนที่ 9 : Keith Rabois

Keith Rabois นั้นเป็นหนึ่งในทีมงานของ paypal ที่จัดการเรื่องการกำหนดนโยบายที่สำคัญ ๆ ของบริษัท โดยเขาสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัย stanford ในสาขารัฐศาสตร์ ต่อด้วยการเรียนจบทางด้านกฏหมายที่ Harvard Law School สถาบันด้านกฏหมายอันดันหนึ่งของอเมริกา

หลังจากเรียนจบด้านกฏหมายจาก Harvard เขาก็ได้เข้ามาทำงานในสำนักงานกฏหมายชื่อดังอย่าง Sullivan & Cromwell โดยเน้นไปทางด้านคดีที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา

หลังจากนั้นเขาก็ได้มาทำงานด้านการเมือง โดยเป็นคนช่วยในการร่างสุนทรพจน์ของรองประธานาธิบดี Quayle รวมถึงงานด้านสื่อคอยตตอบข้อซักถามของสื่อเกี่ยวกับนโยบายของรองประธานาธิบดี

หลังจากทำงานด้านการเมืองได้เพียงปีเดียวเท่านั้น เขาก็เข้าสู่แวดวงธุรกิจอีกครั้งที่ Voter.com บริการเว๊บท่าที่เกี่ยวข้องกับการเมือง โดยเขามีบทบาทสำคัญในการปรับรูปแบบธุรกิจของ Voter.com จากเว๊บท่า ไปสู่การทำการตลาดผ่าน email 

และในปี 2000 เขาได้เข้ามาร่วมงานกับ paypal ในตำแหน่ง Business Development เพื่อเพิ่มกลยุทธ์ในการแข่งขันกับ ebay , VISA และ MasterCard รวมถึงการจัดการเรื่องกฏระเบียบทางการเงินต่าง ๆ ที่มีอยู่ในขณะนั้น ทำหน้าที่ในการล็อบบี้เหล่าสมาชิกสภาคองเกรสกว่า 70 คน รวมถึงการประสานกับเหล่าวุฒิสมาชิก 20 คนในการจัดการเรื่องกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับด้านการเงินให้ paypal สามารถเติบโต และสามารถทำกำไรได้ในที่สุด

หลังจาก paypal ถูกขายให้ ebay ในปี 2002 แล้วนั้น Rabois ก็ได้ย้ายมาทำงานกับ LinkedIn ที่เป็น Social Network ของมืออาชีพ โดยเขาเป็นส่วนหนึ่งในการทำให้ LinkedIn นั้นมีผู้ใช้งานเติบโตขึ้นจาก 1.5 ล้านคนไปจนถึง 10 ล้านคนในช่วงปี 2007

ย้ายไปร่วมงานกับ LinkedIn
ย้ายไปร่วมงานกับ LinkedIn เครือข่ายสังคมออนไลน์ของมืออาชีพ

Rabois ถูกยกย่องว่าเป็นผู้นำแนวคิดในการทำการตลาดโฆษณาออนไลน์ ที่ล้ำสมัยที่สุดคนหนึ่ง และยังเป็นคนที่กำหนดแนวคิดสำคัญในเรื่อง Premium Subscriptions ซึ่งเป็นโมเดลการทำงานอย่างนึงของ LinkedIn โดยยังเป็นแหล่งรายได้หลักของ LinkedIn มาจวบจนถึงปัจจุบัน

หลังจากการทำงานที่ LinkedIn เขาก็ได้เข้าร่วมงานกับ Jack Dorsey ที่กำลังสร้างผลิตภัณฑ์ชำระเงินรูปแบบใหม่อย่าง Square โดยรับตำแหน่ง COO (Chief Operating Officer)  เขาได้เข้าร่วมงานกับ Square ในช่วงตั้งไข่ของบริษัท ตั้งแต่มีลูกค้าทดลองใช้งานเพียงแค่ 841 ราย โดยขณะนั้น Square มีพนักงานรวมทั้งสิ้นแค่ 24 คนเท่านั้น

เขาได้ช่วย Jack Dorsey ในการขยายตลาดของ Square อย่างรวดเร็ว จนพนักงานมีถึงกว่า 440 คน ทำให้ Square มีการใช้บริการผ่านอุปกรณ์ของ Square เป็นจำนวนเงินมากกว่า 12 พันล้านเหรียญ ซึ่งทำให้มูลค่าของ Square เพิ่มจาก 40 ล้านเหรียญจนกลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากกว่า 3.6 พันล้านเหรียญ

เข้าร่วมงานกับ Square จนมูลค่าบริษัทสูงขึ้นถึง 3.4 พันล้านเหรียญ
เข้าร่วมงานกับ Square จนมูลค่าบริษัทสูงขึ้นถึง 3.6 พันล้านเหรียญ

สำหรับงานด้านการลงทุน เขายังเข้าร่วมงานกับ Khosla Ventures ในตำแหน่ง Managing Director และเข้าร่วมในฐานะคณะกรรมการของบริษัท Scribd หลังจากที่ Khosla Ventures ได้กลายเป็นบริษัทลงทุนหลักของ Scribd

ในปี 2014 Rabois เขาได้กลายเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง Opendoor ซึ่งเป็น Marketplace ของ การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ 

และเขายังเป็นนักลงทุนในสเตจแรกของหลาย ๆ ธุรกิจเกิดใหม่ชื่อดัง โดยเป็น Angel Investor ของทั้ง Youtube , Airbnb , Palantir , Eventbrite , Lyft ,Quora , Yammer , Skybox, Counsyl , Weebly , Wish รวมถึง Eventbrite

–> อ่านตอนที่ 10 : Reid Hoffman

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Jawed Karim *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***