มองสงครามการค้า มองไทย

ข่าวกระแสสงครามการค้าระหว่างจีน กับ สหรัฐ นั้นดูวี่แววแล้วน่าจะไม่จบลงอย่างง่าย ๆ หลังการใช้เรื่องภาษี ถล่มกันไปมา อย่างหนัก เรียกได้ว่าเจ็บตัวด้วยกันทั่งคู่เลยก็ว่าได้

ประเด็นที่ร้อนที่สุดของสงครามการค้าครั้งนี้ น่าจะเป็นเรื่องของ huawei ยักษ์ใหญ่ทางด้านโทรคมนาคมจากจีน ที่โดนแบน จากบริษัทผู้ผลิตทั้ง software และ hardware ของสหรัฐอเมริกา

แน่นอนว่ามีกระแสข่าว ในแง่ลบมากมายที่มากระทบ huawei ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา รวมถึงเรื่องของการค้าขายกับอิหร่าน

การจับกุม Meng Wanzhou รองประธานและ CFO ของ Huawei ในประเทศแคนาดา ที่เป็นข่าวดังไปทั่วโลก โดยสหรัฐฯ กล่าวอ้างว่าว่า Meng Wanzhou พยายามปกปิดความจริงเรื่องที่หัวเว่ยกำลังทำธุรกิจกับอิหร่านซึ่ง ซึ่งฝ่าฝืนมาตรการคว่ำบาตรอิหร่านของสหรัฐฯ แถมยังมีหลักฐานเพิ่มเติมว่าแอบทำการค้ากับซีเรีย อีกหนึ่งชาติที่มีนโยบายคว่ำบาตรเช่นกัน

ซึ่งแน่นอน มุมหนึ่งนั้น มันดูเหมือนทางฝั่งสหรัฐอเมริกาเอง ก็ทำสิ่งที่ถูกต้อง จากการกระทำของ huawei หลาย ๆ อย่างที่ผ่านมาโดยเฉพาะประเด็นในการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา

แต่อีกแง่มุมที่น่าสนใจจากฝั่งจีน ก็คือเรื่องของประเด็นข้อมูลส่วนตัว รวมถึงข้อมูลทางธุรกิจต่าง ๆ ที่เรากำลังปล่อยให้บริษัท เทคโนโลยียักษ์ใหญ่จาก ซิลิกอน วัลเลย์นั้นกำลังดูดข้อมูลของเราไป ผ่านบริการต่าง ๆ ที่อาจจะใช้ฟรีบ้างหรือไม่ฟรีบ้าง

ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลด้านพฤติกรรมผ่าน Social Network ต่าง ๆ อย่าง facebook , instagram หรือ ข้อมูลด้านธุรกิจอย่างการส่งข้อมูลผ่าน email ที่ให้บริการฟรีอย่าง google gmail , yahoo , microsoft hotmail,outlook 

บริการจากต่างแดนที่ยอดฮิตในไทย
บริการจากต่างแดนที่ยอดฮิตในไทย

ซึ่งบริการเหล่านี้นั้น เราจะเห็นได้ว่าไม่สามารถเจาะตลาดจีนได้เลย หากเป็นการล้วงข้อมูลทางดิจิตอลของประชาชนชาวจีน โดยที่ประเทศจีนจะเกิดบริการแบบเดียวกันขึ้นมาเพื่อใช้กันในจีนโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็น weibo , youkou , alibaba หรืออื่น ๆ อีกมากมายที่เป็นบริษัทอินเตอร์เน็ตของจีน

ซึ่งส่วนนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะสินค้า และ บริการอื่นๆ  ที่ไม่ใช่บริการที่ใช้ข้อมูลดิจิตอลของคนจีน นั้น จีนได้เปิดเสรีเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็น Brand สินค้าอุปโภคบริโภค หรือ เชน ร้านอาหาร fastfood ชื่อดังของสหรัฐไม่ว่าจะเป็น KFC , McDonald , Starbuck ฯลฯ 

เราจะเห็นได้ชัดว่าบริการเหล่านี้นั้น ไม่ได้ถูกปิดกั้นแต่อย่างใด เหมือนกับบริการที่เป็น ข้อมูลเชิงลึกของพฤติกรรมต่าง ๆ ของผู้ใช้งานชาวจีนที่เป็นดิจิตอล

ซึ่งแน่นอนว่าเรื่องหนึ่งที่สำคัญก็คือ อุดมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกัน เพราะจีนเป็นคอมมิวนิสต์ ส่วนอเมริกา นั้นเป็นประชาธิปไตย การปล่อยให้บริการต่าง ๆ ที่เป็นบริการออนไลน์เข้าไปสู่จีนได้นั้น น่าจะเป็นเรื่องไม่ปลอดภัยเท่าไหร่กับแนวคิดของเหล่านักการเมืองชาวจีน

แล้วหันมามองที่ประเทศเราที่ตอนนี้ เราแทบจะเสพทุกอย่างผ่านบริการของบริษัทเทคโนโลยีจากอเมริกาแทบจะทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นส่วนของ social network อย่าง facebook , instragram หรือบริการด้าน email จากทั้ง google , microsoft ,yahoo

แม้ส่วนของ chat application เราจะใช้ของประเทศญี่ปุ่นอย่าง LINE ก็ตามที แต่เราจะไว้ใจบริการเหล่านี้ได้อย่างไร กับข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลพฤติกรรม รวมถึง ข้อมูลทางธุรกิจต่าง ๆ ที่เรากำลังส่งกันผ่านบริการเหล่านี้

แม้ประเทศเรายังไม่มีบริการแบบนี้จะไปสู้ได้ก็ตาม แต่ เรากำลังปล่อยข้อมูลให้บริษัทพวกเขาเหล่านี้ไปแบบฟรี ๆ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ นั้นเป็นข้อมูลที่มีผลประโยชน์อย่างมหาศาล ที่ส่งผลโดยตรงต่อทั้ง สังคม เศรษฐกิจ หรือการเมือง แทบจะทั้งสิ้น ซึ่งในทางการเมืองเราจะเห็นได้จากการเลือกตั้งครั้งล่าสุดที่เหล่า social media เหล่านี้กำลังมีอิทธิพลขึ้นเป็นอย่างมาก

ซึ่งผมคิดว่าสุดท้ายแล้วนั้น ทางเลือกที่ดีสุด เราก็ควรไว้ใจกับบริการที่เป็นคนไทยด้วยกันเอง อย่างตัว blockdit เองที่เป็น social network รูปแบบหนึ่ง หรือ application อื่น ๆ อย่าง wongnai ที่ให้บริการเกี่ยวกับร้านอาหาร หรือ บริการอื่นๆ  อีกมากมายที่เหล่า startup ของไทยกำลังสร้างสรรค์กันอยู่

บริการอย่าง Wongnai ที่สามารถตอบโจทย์ผู้ใช้งานชาวไทย ได้ไม่แพ้ app ดัง ๆ จากต่างประเทศเลย
บริการอย่าง Wongnai ที่สามารถตอบโจทย์ผู้ใช้งานชาวไทย ได้ไม่แพ้ app ดัง ๆ จากต่างประเทศเลย

ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าในอนาคตนั้นเหล่า startup ไทย จะสามารถสร้างบริการต่าง ๆ เพื่อให้คนไทยใช้งานได้ครอบคลุมทุกอย่างจริง ๆ เพราะอย่างน้อยมันก็น่าไว้วางใจกว่า การเอาข้อมูลของพวกเราไปให้กับบริการจากประเทศอื่น ๆ เหมือนที่จีนทำได้สำเร็จนั่นเองครับ

Image References : https://storage.googleapis.com/stateless-thailandbusinessnews/2018/05/china-us-trade-war.jpg