NetScape Time ตอนที่ 5 : The Investor

แม้ในช่วงแรก ๆ นั้น Jim จะพยายามจัดการเรื่องเงินลงทุนให้เพียงพอกับการดำเนินธุรกิจได้ตามแผนงานที่เขาตั้งไว้ เพื่อที่จะยังไม่จำเป็นต้องไปร้องขอเงินทุนก้อนใหม่จากเหล่าบริษัท Venture Capital

แต่ด้วยสถานการณ์หลาย ๆ อย่างที่เกินความคาดหมาย ตอนนี้บริษัทได้ตั้งชื่ออย่างเป็นทางการคือ Mosaic Communication ส่วนตัวโปรแกรมแม้จะยังไม่เสร็จเรียบร้อยดีนัก แต่ ก็มีลูกค้าหลาย ๆ รายสนใจที่จะมาใช้บริการเสียแล้ว รวมถึง การจ้างงานที่เริ่มเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจจะเกิดหายนะกับภาระทางด้านการเงินได้ หากไม่จัดเรื่องเงินลงทุนให้เรียบร้อย

และดูเหมือนตัวเลือกแรก ๆ ของ Jim สำหรับการระดมทุนรอบสอง นั่นก็คือ กองทุน Mayfield  แม้จะเคยมีปัญหากันบ้างในบริษัทแรกของเขาอย่าง SGI ที่ Mayfield เข้าถือหุ้นถึงกว่า 40%

แต่ดูเหมือนเมื่อติดต่อทาง Mayfield ไปนั้น ก็แทบจะไม่ได้รับคำตอบจากพวกเขาอีกเลย จากนั้น Jim ก็ได้ลองพยายามหาบริษัทลงทุนใหม่ ๆ เช่น กองทุน NEA แต่ก็ได้รับการตอบสนองด้วยความระมัดระวัง ซึ่ง Jim เองนั้นก็ยังไม่ค่อยพอใจกับท่าทีจากบริษัทลงทุนทั้งสอง

ดังนั้นเขาจึงคิดว่ากองทุนอื่นที่ไม่เคยรู้จักเขา น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า โดยเฉพาะในแง่ที่เขาเคยเป็นผู้ก่อตั้งของ SGI และรู้ไส้รู้พุง นักลังทุนกลุ่มนี้หมดแล้ว และที่สำคัญในยุคนั้นบริษัทกองทุนร่วมทุน มีอยู่เต็มไปหมดใน Silicon Valley เขาไม่จำเป็นต้องแคร์ในเรื่องการถูกปฏิเสธแต่อย่างใด เพราะมีทางเลือกอื่น ๆ อีกมากมาย พร้อมโอกาสใหม่ ๆ อีกเพียบ

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในอดีต ก็คือ Arthur Rock ที่เคยถูกปฏิเสธกว่า 30 ครั้ง ในช่วงที่กำลังมองหาเงินลงทุน ในช่วง ปี 1960 เพื่อที่จะก่อตั้งบริษัท Fairchild Semiconductor แต่สุดท้ายความพยายามของพวกเขาก็สำเร็จเมื่อเขาได้ร่วมมือกับ Robert Noyce และ Gordon Moore ก่อตั้ง intel ให้ยิ่งใหญ่อย่างที่เราได้เห็นในปัจจุบัน

Arthur Rock ตำนานแห่ง Silicon Valley ผู้เคยถูกปฏิเสธกว่า 30 ครั้ง
Arthur Rock ตำนานแห่ง Silicon Valley ผู้เคยถูกปฏิเสธกว่า 30 ครั้ง

จนเขาได้ติดต่อไปยัง John Doerr แห่งกองทุน KPCB ซึ่งถือเป็นหนึ่งในนักลงทุนยุคใหม่ที่น่าจับตา และมีบทบาทที่ค่อนข้างสำคัญมาก ๆ ในยุคปฏิวัติข้อมูลข่าวสาร และประสบความสำเร็จมาแล้วในหลากหลายอุตสาหกรรมที่ได้เข้าไปลงทุน

โดย John นั้นจบการศึกษาระดับปริญญาโทในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า และ ในสาขาบริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เขาเป็นหนึ่งในผู้ถือครองลิขสิทธิ์ของการประดิษฐ์ หน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ (RAM) และเป็นคนที่เข้าใจเทคโนโลยีไฮเทคใหม่ ๆ เหล่านี้ได้อย่างลึกซึ้ง และเข้าใจสิ่งที่ Jim และ Marc กำลังสรรค์สร้างขึ้นมาได้อย่างเต็มที่

ซึ่ง Jim ได้พิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้ว พบว่า ข้อเสนอของ John จาก KPCB นั้นดูจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับบริษัท ซึ่งมีเหตุผลหลัก ๆ อยู่ 2 ประการก็คือ

หนึ่ง John นั้นมักจะกล่าวอยู่เสมอว่าไม่ต้องการเข้าไปก่อตั้งบริษัทใหม่อีกแล้ว แต่มีความต้องการที่จะสร้างอุตสาหกรรมใหม่ขึ้นมาทั้งหมด และสิ่งที่ Jim และ Marc กำลังทำอยู่นั้นถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งในอุตสาหกรรมใหม่ ซึ่งน่าจะตรงกับ concept การลงทุนของ John มากที่สุด

ohn Doerr อีกหนึ่งตำนานนักลงทุนแห่ง Silicon Valley
John Doerr อีกหนึ่งตำนานนักลงทุนแห่ง Silicon Valley

ส่วนประการที่สอง ก็คือ John มักเข้าไปมีส่วนอย่างยิ่งสำหรับการคัดเลือกพนักงานในธุรกิจใหม่ ๆ นี้ และที่สำคัญเขายังมีความสามารถอย่างยิ่งในการหาผู้บริหารที่เหมาะสมกับงาน ซึ่งการมีคนอย่าง John มาช่วยเหลือในเรื่องนี้ ถือว่าส่งผลดีอย่างยิ่งต่อบริษัท

ซึ่ง John ก็คงมองออกเหมือนกับสิ่งที่ Jim และ Marc มองเห็นในขณะนั้น หากพวกเขาสามารถยึดครองส่วนแบ่งทางการตลาดสำหรับโปรแกรม Browser ในการเข้าถึง internet ได้สำเร็จ มันก็จะตามมาด้วยเงินจำนวนมหาศาลนั่นเอง

ซึ่ง Deal สุดท้ายของ KPCB นั้น จะทำการลงทุนด้วยเงินจำนวน 5 ล้านเหรียญสหรัฐ และตัว Jim จะเพิ่มการลงทุนเข้าไปอีก 2 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อรักษาส่วนแบ่งของเขาไม่ให้ถูกลดทอนลงไปนั่นเอง และให้ John เข้ามาเป็นกรรมการของบริษัทในที่สุด

ต้องบอกว่าสถานการณ์ ณ ตอนนี้ โปรแกรม Browser ของพวกเขาก็พร้อมใกล้เสร็จสมบูรณ์เต็มที่แล้ว และที่สำคัญยังได้เงินทุนระลอกใหม่จาก KPCB และ ชายผู้มีวิสัยทัศน์ที่ยอดเยี่ยมอย่าง John Doerr เข้ามาเป็นกรรมการบริษัท ก็ต้องมาตามกันต่อว่า เมื่อผลิตภัณฑ์ออกมาได้สำเร็จจริง ๆ มันจะเป็นไปตามแผนที่พวกเขาวาดไว้หรือไม่ โปรดติดตามต่อตอนหน้าครับผม

–> อ่านตอนที่ 6 : True Leader

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Billion Dollar Company *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

ประวัติ Jeff Bezos แห่ง Amazon ตอนที่ 5 : Growth Fund

ต้องบอกว่าการเติบโตของ amazon.com เป็นไปอย่างน่าสนใจมากกับเว๊บไซต์เกิดใหม่ ที่ขณะนั้นเกิดขึ้นเป็นดอกเห็ด พร้อมกับการเติบโตของผู้ใช้ internet  แต่ปัญหาที่สำคัญของ amazon คือ เงินทุน ที่ไม่เพียงพอรองรับการเติบโตแบบก้าวกระโดดดังกล่าวได้

แรกเริ่มเดิมทีนั้น เจฟฟ์ ใช้เงินทุนส่วนตัวรวมถึงเงินจากครอบครัว เพื่อใช้ในการบริหารธุรกิจ amazon ในช่วงแรก แต่มันก็หมดไปอย่างรวดเร็ว การเติบโตมาพร้อมกับ ค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นเป็นอย่างมากทั้งทางด้านการ operation รวมถึงการจ้างพนักงานที่ต้องเพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว

และเจฟฟ์ ก็ต้องโทรไปหามหามิตรเก่าอย่าง นิก แฮนนาเออร์ ซึ่งเป็นหนึ่งที่ได้ชักชวนเจฟฟ์มาตั้งธุรกิจที่ซีแอตเทิล แฮนนาเออร์นั้นได้ทำการรวบรวมทุนจากเหล่าบรรดาเศรษฐีในเมืองซีแอตเทิลให้มาร่วมลงทุนใน amazon โดยระดมทุนได้ประมาณ 981,000 เหรียญ 

amazon เติบโตอย่างรวดเร็วทำให้ต้องการทุนเพิ่ม เพราะรองรับคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นไม่ทัน
amazon เติบโตอย่างรวดเร็วทำให้ต้องการทุนเพิ่ม เพราะรองรับคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นไม่ทัน

ตอนนี้ชื่อของ amazon เริ่มดังกระฉ่อนไปไกลถึงซิลิกอน วัลเลย์แล้ว และ นักลงทุนที่เก่งที่สุดใน ซิลิกอน วัลเลย์ ในขณะนั้นก็คือ จอห์น ดูเออร์ แห่ง KPCB ที่เริ่มหันเหความสนใจที่จะมาลงทุนใน amazon รวมถึง บริษัทด้านการลงทุนยักษ์ใหญ่อย่าง เจเนอรัล แอตแลนติก ก็สนใจใน amazon เช่นกัน

เริ่มมีการประเมินมูลค่าใน amazon จากบริษัทลงทุนยักษ์ใหญ่เหล่านี้ KPCB นั้นประเมิน มูลค่า amazon ไว้ที่ 60 ล้านเหรียญ ส่วน เจเนอรัล แอตแลนติก ได้ประเมินไว้ประมาณ 50 ล้านเหรียญ แม้เจฟฟ์ จะพยายามต่อรองจนในที่สุด ได้มูลค่าสูงถึง 60-70 ล้านเหรียญ

มันเริ่มมีการแข่งขันกันอย่างบ้าคลั่งในการเข้าร่วมลงทุนใน amazon เจฟฟ์ถือได้ว่าเป็นต่อเล็กน้อย เมื่อ amazon กำลังเนื้อหอม รวมถึงการเจริญเติบโตของ amazon ก็สูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด

มันเป็นนิสัยสำคัญอย่างนึงในการประเมินเรื่องต่าง ๆ ก่อนที่จะตัดสินใจสำหรับเจฟฟ์ ในทุก ๆ ครั้ง เขาได้วิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนในการเลือกบริษัทที่จะมาลงทุนด้วย แม้เจเนอรัล แอตแลนติกจะให้เงินที่สูงกว่า แต่จากการวิเคราหะ์ผลดีผลเสียทุกอย่างแล้ว  เจฟฟ์ รู้สึกว่าชื่อเสียงของ จอห์น ดูเออร์ แห่ง KPCB นั้นดูจะคุ้มค่ากว่า โดย KPCB เสนอเงิน 8 ล้านเหรียญแลกกับหุ้นราว ๆ 13% ของ amazon จึงตัดสินใจร่วมทุนกับ KPCB ในที่สุด

ตัดสินใจร่วมกับ KPCB ของ จอห์น ดูเออร์ เพราะเชื่อมั่นใจศักยภาพ
ตัดสินใจร่วมกับ KPCB ของ จอห์น ดูเออร์ เพราะเชื่อมั่นใจศักยภาพ

แต่หลังจากได้เงินทุนนั้น เขาปรับกลยุทธ์ ของ amazon แทนที่จะเริ่มหากำไรจากบริษัท แต่เขาจะทำการทุ่มเงินในการเพิ่มกำลังคน เทคโนโลยีใหม่ ๆ รวมถึง ทางด้านการตลาดแทน เขามองว่าใครก็ตามที่สามารถยึดส่วนแบ่งการตลาดได้แบบเบ็ดเสร็จเป็นรายแรกนั้น จะอยู่ในจุดที่ได้เปรียบที่สุด และยากที่จะโค่นลงได้ ถึงตอนนี้ภารกิจหลักของเจฟฟ์ คือ เติบโตให้เร็วที่สุดเพียงเท่านั้น

และการเติบโตอย่างรวดเร็วแบบฉุดไม่อยู่ของ amazon ทำให้ เพียงแค่ 1 ปีหลังจากนั้นในเดือน พฤษภาคมปี 1997 เขาก็ได้นำหุ้น amazon ออกขายสู่สาธารณะด้วยราคา 18 เหรียญต่อหุ้น ก่อนจะระดมทุนเพิ่มได้อีก 54 ล้านเหรียญ ทำให้มูลค่าของ amazon นั้นพุ่งขึ้นไปถึง 429 ล้านเหรียญ ภายในเวลาปีเดียวเพียงเท่านั้น 

ออก IPO ขายหุ้นให้กับสาธารณชนภายในปีเดียว
ออก IPO ขายหุ้นให้กับสาธารณชนภายในปีเดียว

และหนึ่งปีหลังจากการขายหุ้นต่อสาธารณชน หุ้นของ amazon ขึ้นไปแตะหลัก 105 เหรียญ ทำให้มูลค่าของ amazon ขึ้นไปสูงถึง 5,000 ล้านเหรียญ ซึ่งถึงตอนนี้กลายเป็นว่า มูลค่าของ amazon นั้นได้สูงกว่า มูลค่าจากการประเมินของ บาร์นส์แอนด์โนเบิลและบอร์เดอร์ เครือข่ายร้านหนังสือยักษ์ใหญ่ของอเมริกา รวมกันเสียอีก

แม้สถานะทางการเงิน amazon จะขาดทุนอยู่กว่า 30 ล้านเหรียญนับตั้งแต่วันที่เปิดขายหุ้น  แต่ตอนนี้ amazon ได้นำเงินจากการระดมทุน ไปพัฒนาเว๊บไซต์ รวมถึง จ้างนักบริหารมืออาชีพเข้ามาร่วม มันจึงทำให้ amazon กลายเป็นเว๊บไซต์เชิงพาณิชย์ระดับโลกไปแล้ว

แบรนด์ของ amazon นั้นแข็งแกร่งเป็นอย่างมาก เนื่องจากเปิดตัวมาก่อนใครเพื่อน ผู้คนต่างจดจำ แบรนด์ของ amazon ได้มากขึ้นเรื่อย ๆ แม้จะมีปริมาณหนังสือในคลังสินค้าน้อย แต่ สถิตินั้นบ่งบอกถึงประสิทธิภาพของการบริหารของเจฟฟ์ โดยสามารถทำยอดขายได้ถึง 300,000 เหรียญต่อพนักงาน amazon 1 คน ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงมากเมื่อเทียบกับร้านหนังสือแบบเก่า โดยสูงถึงกว่า 3 เท่า และมันยิ่งทำให้เป็นที่ดึงดูดใจเหล่านักลงทุนเพิ่มมากขึ้น และคอยผลักดันให้ราคาหุ้นของ amazon ถีบตัวสูงขึ้นไปเรื่อย  ๆ

ประสิทธิภาพของพนักงาน amazon สามารถทำรายได้สูงกว่าพนักงานร้านหนังสือถึง 3 เท่า โดยเฉลี่ย
ประสิทธิภาพของพนักงาน amazon สามารถทำรายได้สูงกว่าพนักงานร้านหนังสือถึง 3 เท่า โดยเฉลี่ย

เรียกได้ว่า amazon เป็นเว๊บไซต์แรกที่ทำการปฏิวัติรูปแบบการค้าปลีก ผู้คนหลงรักเว๊บไซต์แห่งนี้ ความใส่ใจในรายละเอียดของเจฟฟ์ รวมถึงนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่มีการพัฒนาขึ้นตลอดเวลาเพื่อตอบโจทย์การใช้งานของลูกค้า  มันทำให้เป็นที่ถูกอกถูกใจของลูกค้าเป็นอย่างมาก เมื่อหนังสือทุกเรื่องอยู่ใกล้เพียงแค่ปลายนิ้ว แถมบทวิจารณ์ที่เขียนโดยผู้อ่านยังดึงลูกค้าเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์กับเว๊บไซต์ได้ดีอีกด้วย

และแนวทางสร้างการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยไม่มุ่งหวังกำไรมันกลายเป็นแนวทางที่บริษัท internet หรือ บริษัทเทคโนโลยีอื่น ๆ แทบทุกแห่งตามไปใช้กันหมด มันเป็นหัวใจหลักของตลาดดอทคอมในยุคปลายปี 1990 เลยทีเดียว amazon จึงกลายเป็นบริษัท internet แห่งแรกที่ปฏิวัติอุตสาหกรรมให้ต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง

–> อ่านตอนที่ 6 : Let’s Expand

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 : My name is Jeff Bezos *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ