South Korea ตอนที่ 6 : More than K-Pop

วัฒนธรรม K-pop จากเกาหลี ที่ปรกติจะบุกไปทั่วเอเชีย แต่ตอนนี้มันไม่ใช่แค่เพียง เอเชีย อีกต่อไป เพราะวัฒนธรรมนี้ มันได้บุกไปถึง อเมริกา และ ยุโรป ได้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องธรรมดาจริง ๆ สำหรับการดังขึ้นมาเปรี้ยงปร้างอย่างรวดเร็วของวงการเพลงเกาหลี ที่กลายเป็นอุตสาหกรรมใหม่ที่มูลค่ากว่า 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐครอบคลุมไปทั่วโลกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

การปรากฏตัวของวงดัง ๆ ของเกาหลี ที่เมือง ลอสแองเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อพวกเขาเข้ามาถึงสนามบินนั้น บรรยากาศมันแทบไม่ต่างจากตอนที่วงระดับตำนานอย่าง The Beatles ได้มาที่นี่เลย และ เกาหลีใต้สร้างวงการเพลงที่ประสบความสำเร็จระดับโลกนี้ได้อย่างไร เป็นเรื่องที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก

ต้องย้อนไปตั้งแต่ ช่วงปี 1992 ที่วง Seo Taiji & Boys ได้ปรากฏตัวขึ้นมา อย่างที่เคยกล่าวไว้ในบทก่อน ๆ หน้า วัฒนธรรมเพลงอย่างนึงที่ถูกฝังมากับประชาชนชาวเกาหลีในยุค 80 คือ เพลงปลุกใจให้รักชาติอย่างเพลง Oh Korea ซึ่งมีการเปิดให้ประชาชนฟังอย่างต่อเนื่องทั้งในสื่อทางวิทยุ หรือ โทรทัศน์

มันเป็นเพลงปลุกใจที่ถูกผลิต และ สนับสนุนโดยรัฐบาล และแรกเริ่มเดิมทีนั้น วัฒนธรรมทางด้านเพลงของเกาหลี ก็ถูกกำหนดโดย ท่านนายพล ปาร์ค ในยุคนั้นรัฐบาลยังควบคุมระบบการออกอากาศแทบจะทั้งหมดของทุกสื่อในประเทศ

มันไม่มีทีท่า ว่าเกาหลีจะพัฒนาวัฒนธรรม K-Pop มาได้ไกลถึงเพียงนี้ ถ้ามองย้อนกลับไปในช่วงนั้น เป็นเรื่องยากที่จะเกิดวัฒนธรรมใหม่ ๆ ขึ้นมา แต่การปรากฏตัวของ Seo Taiji &Boys ทางทีวี ในฤดูใบไม้ผลิปี 1992

มันเป็นช่วงเวลาสำคัญที่แสดงให้เห็นว่า ความเจริญทางวัฒนธรรมของเกาหลีใต้ มันคือสิ่งที่มีโอกาสเป็นไปได้ มันเป็นการแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงทุกอย่าง กับกรอบความคิดเดิม ของวัฒนธรรมดนตรีของเกาหลี และที่สำคัญมันยังเปลี่ยนสภาพแวดล้อมทั้งหมดของเกาหลีขึ้นมาใหม่ด้วย

Seo Taiji &Boys ร้องเพลงแร็ป ใส่กางเกงทรงหลวม และเต้นเหมือน B Boy มันเป็นสิ่งที่ผู้ชมชาวเกาหลี แทบจะไม่เคยได้ยินกลุ่มนักร้องเกาหลีทำมาก่อน มันได้กลายเป็นปรากฏการณ์ใหม่ของประเทศ ถ้่าพวกเขาใส่อะไร มันจะกลายเป็นกระแสฮิตทันที พวกเขาได้นำเอาแฟชั่น Hip Hop แบบอเมริกันมาสู่เกาหลี

Seo Taiji & Boys ที่มาปฏิวัติวงการเพลงเกาหลี
Seo Taiji & Boys ที่มาปฏิวัติวงการเพลงเกาหลี

เพลงฮิตในปี 1995 ของพวกเขา คือ single “Come Back Home” ซึ่งเนื้อหาเกี่ยวกับวัยรุ่นที่หนีออกจากบ้าน ซึ่งเนื้อหาของเพลงส่วนใหญ่นั้น เน้นไปที่การเสียดสีสังคม ทำให้มีบางเพลงถูกแบน เพราะมีเนื้อเพลงที่ไม่ให้เกียรติคนรุ่นก่อนโดยตรง

Seo Taiji &Boys ได้กลายเป็นปรากฏการณ์ขึ้นในเกาหลี มีการแสดงที่เป็นหนึ่งในการแสดงที่โด่งดังที่สุดในเกาหลีใต้ แต่เวลามันก็แสนสั้น เพราะพวกเขาอยากลาออกจากวงการตอนขึ้นสู่จุดสูงสุดเช่นนี้ ดังนั้น เมื่อถึงช่วงที่พวกเขาโด่งดังสุดขีด พวกเขาก็ได้ประกาศยุบวง

มันเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ประเทศเกาหลีใต้ได้ก้าวผ่านความเป็นประเทศยากจน ได้สำเร็จ ตอนนั้น เกาหลีใต้ กลายเป็นประเทศที่ร่ำรวยติดอันดับที่ 11 ของโลก ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

จุดเปลี่ยนที่สำคัญอีกส่วนนึงคือการก้าวเข้ามาของ อี ซูมาน อดีตศิลปินเกาหลีที่ผันตัวกลายมาเป็นนักธุรกิจ เขามองว่าดนตรีคือสินค้าส่งออกที่ยิ่งใหญ่ลำดับถัดไป เขาเป็นผู้ริเริ่มแนวคิดที่จะทำการตลาดดนตรี ให้กลายเป็นสินค้าทางวัฒนธรรม

อี ซูมาน ผู้เริ่มแนวคิด วัฒนธรรม K-Pop
อี ซูมาน ผู้เริ่มแนวคิด วัฒนธรรม K-Pop

และในที่สุดเขาก็ได้ผลิตสินค้ายอดฮิตชิ้นแรกออกมา นั่นก็คือ วง H.O.T ซึ่งเป็นวงที่คล้ายคลึงหลายอย่างกับ Seo Taiji &Boys ซึ่ง H.O.T ได้ผสมผสานเพลง Hip Hop กับ เพลงแดนซ์ได้อย่างลงตัว  

เอกลักษณ์อีกอย่างของ H.O.T คือท่าเต้นที่ได้รับการออกแบบมาอย่างดี มันทำให้เกิดกระแสโด่งดังไปทั่วประเทศ และนี่เองเป็นจุดที่ทำให้ อี ซูมาน ค้นพบอย่างชัดเจนถึงความต้องการบางอย่างของผู้คน

ซึ่งช่วงนั้นเป็นช่วงเดียวกันกับวิกฤติเศรษฐกิจที่กำลังลุกลามไปทั่วเอเชีย และเกาหลีก็เป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักเช่นเดียวกัน กับวิกฤติในครั้งนี้ ส่งผลให้รัฐบาลเกาหลีใต้ เริ่มมีความคิดเช่นเดียวกับ อี ซูมาน 

รัฐบาลเกาหลีได้เริ่มมองเห็นว่า วัฒนธรรม อาจเป็นสินค้าส่งออกที่ยิ่งใหญ่ลำดับถัดไปของประเทศได้ มีการปรับแก้ไขกฏหมายเพื่อสนับสนุนผลงานด้านดนตรีและศิลปะ โดยจะเป็นการสละเงินงบประมาณ อย่างน้อย 1% ให้กับอุตสาหกรรมวัฒนธรรมนี้

และในตอนนั้น มี 3 บริษัทที่พร้อมที่จะกระโจนเข้าสู่อุตสาหกรรมใหม่นี้ทันที หนึ่งคือ SM Entertainment ของ อี ซูมาน นั่นเอง รวมถึงค่ายเพลงใหม่อีกสองค่าย คือ JYP Entertainment และ YG Entertainment

และผู้ก่อตั้ง YG Entertainment ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน เพราะเขาคือ ยอนฮยุนซอก หนึ่งในสมาชิกของ Seo Taiji &Boys สามบริษัทนี้ได้สร้างสูตรสำเร็จ สำหรับการทำ K-Pop ขึ้นมา ที่ใช้มาสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

สามยักษ์ใหญ่แห่งวงการ K-Pop เกาหลี
สามยักษ์ใหญ่แห่งวงการ K-Pop เกาหลี

แม้ตอนนี้ทั่วโลกจะคุ้นเคยกับคำว่า K-Pop ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ในเกาหลีพวกเขาถูกเรียกว่า “Idol Group” เพราะพวกเขาถูกสร้างขึ้นโดยขั้นตอนที่พิเศษมาก

ค่ายเพลงจะทดสอบหรือค้นหาไอดอล ฝึกให้พวกเขาร้องเพลง เต้น และแสดง และค่อย ๆ นำพวกเขามารวมกัน เป็นกลุ่มที่ผ่านการขัดเกลาอย่างดี และมีความสามารถรอบด้านเป็นอย่างมาก ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้อาจจะใช้เวลายาวนานหลายปี 

ซึ่งแนวคิดการสร้างแบบดังกล่าวนี้ พวกเขาไม่ได้คิดขึ้นมาเองเป็นครั้งแรก ระบบแบบนี้ Motown เคยใช้มาแล้ว ค่ายอย่าง Motown สามารถที่จะสร้างศิลปินยอดนิยมอย่าง The Supremes , วง The Temptations หรือ แม้กระทั่ง The Jackson Five

จะเห็นได้ว่า วง K-Pop ส่วนใหญ่นั้นจะมีสมาชิกในวงอย่างน้อย 5 คน และบางทีก็มากกว่านั้น และทุกคนต่างมีบทบาทเฉพาะ  มีนักร้อง แร๊ปเปอร์ แด๊นเซอร์ ฯลฯ ทำให้เกิดส่วนผสมที่ลงตัว 

ซึ่งเหล่าศิลปิน K-Pop เหล่านี้ต้องมีภาพลักษณ์ที่ขาวสะอาด ต้องมีความอ่อนโยน และสุภาพ ที่สำคัญต้องไม่เกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์ ยาเสพติด หรือ ข่าวฉาวใด ๆ เลย รวมถึงเรื่องความรัก ที่เหล่า ศิลปิน K-Pop นั้นไม่ได้รับการอนุญาติให้พูดถึงอีกด้วย 

ซึ่งมันทำให้เหล่าแฟนคลับ เชื่อว่า ศิลปินเหล่านี้เกิดมาเพื่อแฟนคลับเท่านั้น เวลาที่วง K-Pop จะเจาะกลุ่มผู้ชมนั้น เขาไม่ได้แค่มองแต่ตลาดภายในประเทศมาตั้งแต่แรก พวกเขามักมองไปไกลกว่าพรมแดนเกาหลีแทบจะทุกครั้งเลยก็ว่าได้

ทุกอย่างที่ค่ายยักษ์ใหญ่ทำ มันเป็นกลยุทธ์ระดับโลกแทบจะทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการตั้งชื่อวง ซึ่งมักจะใช้อักษรย่อ เพื่อไม่ให้มีปัญหาในการแปลภาษาเมื่อเข้าสู่ตลาดโลก

ตัวอย่างแรกก็ ชื่อเกาหลีที่ไม่ซ้ำใครอย่างวงตำนาน Seo Taiji ตามมาด้วยชื่อวงที่ทำการตลาดได้ง่ายมาก ๆ อย่าง H.O.T.  และเมื่อมาลองดูวงหน้าใหม่อย่าง EXO เราจะได้เห็นกลยุทธ์ทางการตลาดอีกอย่างซึ่งก็คือ กลุ่มย่อย หรือ Sub-Groups

นักร้องหนุ่มวง EXO
นักร้องหนุ่มวง EXO

ในวง EXO นั้นมีสมาชิกในวงสองคน ร้องเพลง และแร็ปภาษาจีนโดยเฉพาะ วงนี้ไม่ได้แค่ปล่อยเพลง ๆ เดียว แต่ออกมาสองเวอร์ชั่นเป็นประจำ ซึ่งบางครั้งก็มีการลงทุน ถึงขนาดที่ว่า มาถ่ายทำมิวสิกวีดีโอสองเวอร์ชั่นเลยด้วยซ้ำ

และทุกคนสามารถมอง K-Pop เป็นงานศิลปะ ที่พอ ๆ  กับงานด้านดนตรี กล่าวคือ ในมิวสิกวีดีโอ จะเห็นงานศิลปะที่เด่นชัน มีการเล่นสีสัน และ การเต้นให้ตรงกับจังหวะได้อย่าง perfect  

ตัวอย่าง มิวสิก วีดีโอเพลง “Blood Sweat & Tears” ของวง BTS มันได้กลายเป็นแรงผลักดันที่สำคัญ ที่แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จที่แพร่หลายไปทั่วโลกของ K-Pop 

ตัวอย่างจาก MV Blood Sweet Tears
ตัวอย่างจาก MV Blood Sweet & Tears

ซึ่งในขณะที่เพลง K-Pop ส่วนใหญ่นั้น จะร้องเป็นภาษาเกาหลี  แต่มันคงไม่ง่ายนักที่จะหาเพลง K-Pop ที่ไม่มีเนื้อร้องภาษาอังกฤษแทรกอยู่เลย ซึ่งข้อดีของการมีคำที่เป็นภาษาอังกฤษก็คือ มันทำให้ฟังแล้วติดหูทันทีสำหรับชาวต่างชาติ 

ซึ่งไม่ใช่แค่เพียงเนื้อเพลงเพียงเท่านั้น ความจริงแล้ว มีเพลง K-Pop หลายเพลงที่แต่งโดยนักแต่งเพลงระดับอินเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นสวีเดน หรือ สหรัฐอเมริกา ซึ่ง K-Pop นั้นยินดีที่จะรับความคิดดี ๆ จากทุก ๆ ที่ทั่วโลก 

ตัวอย่างเช่น ซิงเกิล “red flavor” จากวง RED VELVET นั้นได้กลายเป็นหนึ่งในเพลง K-Pop ที่ดังที่สุดในปี 2017 ซึ่งเพลงนี้ถูกแต่งขึ้นโดย ซีซาร์แอนด์หลุย สองโปรดิวเซอร์ชาวสวีเดน ที่เดิมทีนั้นจะแต่งเพลงนี้ให้กับนักร้องชาวตะวันตก

สุดท้ายเป็นค่าย SM Entertainment ได้เปลียนเนื้อเพลงให้กลายเป็นเพลงฮิตที่สนุกสนานในช่วงฤดูร้อนในปีนั้นได้สำเร็จ ซึ่ง สิ่งที่ซ๋อนอยู่ก่อนท่อนคอรัส ของเพลง red flavor นั้นมันคือ บทสรรเสริญราชาดนตรีเพลงป๊อปแห่งสวีเดน ABBA

และสิ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดอย่างนึงในการประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วของ ศิลปิน K-Pop คือวิธีผสมผสานแนวเพลงของ K-Pop มันเต็มไปด้วยการทดลองไอเดียใหม่ ๆ ของแนวเพลง

เพลงอาจจะเริ่มด้วยสไตล์ป๊อปใส ๆ น่ารัก ๆ อยู่ประมาณ หนึ่งนาที แล้วจู่ ๆ ก็กระชากอารมณ์แบบฮาร์ดคอร์ ขึ้นมาทันที ซึ่งเป็นสิ่งที่แฟน K-Pop ส่วนใหญ่นั้นไม่แปลกใจกับมันเลย

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ซิงเกิล เพลง “I GOT A BOY” ของวง Girls’ Generation ที่มีอย่างน้อย 9 ท่อนที่ผสมแนวดนตรีหลายแนวเข้าด้วยกัน ซึ่ง เป็นการผสมทั้ง HipHop , PopRock , EDM  ซึ่งมันได้รวมเอาทุกแนวเพลงที่ได้รับความนิยมในขณะนั้น มามัดรวมกันอยู่ในเพลงเดียวได้อย่างลงตัว ซึ่งมันถือได้ว่าเป็นความคลาสสิกอย่างหนึ่งของ K-Pop

และรูปแบบเค้าโคลงลักษณะนี้ ก็พบได้ในเพลง K-Pop อีกหลายเพลง  ซึ่งในแง่ของวิธีการที่ค่ายเพลงสร้างสรรค์ K-Pop ขึ้นมานั้น มันมีความเป็นสินค้ามากกว่างานศิลปะ แต่เหล่าแฟนเพลงไม่ได้บริโภคเหมือนมันเป็นเพียงแค่สินค้าอย่างหนึ่งเช่น รถยนต์ หรือ มือถือ แต่พวกเขาหาจะหาวิธีที่จะเพลิดเพลินกับมันในแบบของตัวเอง 

ในปี 2011 นั้น วงการ K-Pop ได้มาถึงจุดสำคัญอันยิ่งใหญ่ ค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ทั้งสามค่าย ได้เริ่มจัดทัวร์คอนเสิร์ตครั้งแรกนอกเอเชีย และทีวีเกาหลีก็ถ่ายทอดภาพเหล่านั้นกลับมายังประเทศเกาหลี ซึ่งเป็นการพิสูจน์ว่าในที่สุดวัฒนธรรมเกาหลีได้เข้าถึงผู้ชมระดับโลกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

และจุดเปลี่ยนที่สำคัญที่ทำให้ K-Pop มันได้กลายเป็นกระแสลามไปทั่วโลกน่าจะมาจาก มิวสิกวีดีโอของ Psy ในซิงเกิล “Gangnam Style” ที่โด่งดังไปทั่วโลก เรียกได้ว่า มิวสิกวีดีโอนี้ ได้นำพาสไตล์ ของ K-Pop ไปถึงในระดับที่สุดโต่ง 

สามารถทำลายทุกสถิติได้แทบจะทั้งสิ้น เป็นวีดีโอ youtube คลิปแรกที่มีผู้เข้าชมสูงถึง 1,000 ล้านครั้ง มันทำให้กระแส K-Pop นั้น เกิดกระแสความตื่นเต้นและเร้าใจทั่วโลกไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว 

PSY กับ Gangnamstyle ที่ทำลายทุกสถิติเลยก็ว่าได้
PSY กับ Gangnamstyle ที่ทำลายทุกสถิติเลยก็ว่าได้

ในปี 2005 ตลาดเพลงเกาหลีทั้งหมดอยู่ในอันดับที่ 29 ของโลก และหลังจากก้าวเข้าสู่ปี 2016 ตลาดเพลงเกาหลีได้ขึ้นมาอยู่ที่อันดับ 8  ความสำเร็จที่เหลือเชื่อเหล่านี้ ยังทำให้ทั่วโลกสนใจ กับคำวิจารณ์ที่มีต่อเนื่องยาวนานของอุตสาหกรรมนี้ 

ซึ่งว่ากันว่า กว่าศิลปินจะได้ออกอัลบั้ม หรือ ซิงเกิลออกมานั้น ค่ายเพลงต่างกดดันให้ศิลปินวัยรุ่นของพวกเขา เซ็นสัญญาระยะยาว และ ได้ทำการควบคุมทุกแง่มุมในอาชีพของพวกเขา แต่ก็ได้มีกฏหมายออกมาคลี่คลาย สัญญาแบบเดิมในปี 2009 ทำให้ศิลปินนั้นมีอิสระเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม

สำหรับปรากฏการณ์ที่น่าสนใจของวง BTS ที่สามารถเจาะตลาดอเมริการ ที่ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมานั้นยากที่จะเจาะเข้าไปได้หากไม่ใช่เพลงที่มีภาษาอังกฤษ ตอนที่พวกเขาบินมาถึงสนามบิน แอลเอ นั้น ผู้คนแห่แหนมารอรับกันเต็มสนามบิน แทบไม่ต่างจากตอนที่ The Beatles มาที่นี่เลยก็ว่าได้

ปรากฏการณ์คนแห่มารับถึงสนามบิน LA
ปรากฏการณ์คนแห่มารับถึงสนามบิน LA

BTS นั้นได้ทุบทุกสถิติในสหรัฐสำหรับวง K-Pop ซึ่ง BTS นั้นได้ขึ้นชาร์ตบิลบอร์ด นานกว่า 1 ปี มันเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่ธรรมดาเลยจริง ๆ สำหรับวงน้องใหม่อย่าง BTS  และทางบิลบอร์ดก็ได้นำบรรดาหนุ่ม ๆ BTS มาขึ้นปก บิลบอร์ดในที่สุด 

ติดชาร์ต Social Billboard กว่า 1 ปี สำหรับ BTS
ติดชาร์ต Social Billboard กว่า 1 ปี สำหรับ BTS

ความแตกต่างของ BTS จากศิลปิน K-Pop ส่วนใหญ่นั่นก็คือเนื้อเพลง ซึ่งเนื้อเพลงส่วนใหญ่นั้นจะพูดถึงชีวิตของเด็กวัยรุ่น เป็นการพูดไปยังกลุ่มคนรุ่นเดียวกัน ที่รู้สึกกดดันอย่างมหาศาล 

เกาหลีใต้ได้กลายเป็นมหาอำนาจของวัฒนธรรมป๊อป ด้วยการนำเอาสไตล์ของ Seo Taiji &Boys มาเปลี่ยนเป็นสูตรสำเร็จ ซึ่งเป็นสูตรสำเร็จที่ประสบความสำเร็จมาก ๆ จนตอนนี้มันทำให้ K-Pop นั้นเข้าถึงได้เกือบทุกทวีปแล้ว 

K-Pop  นั้นช่วยให้โลกเข้าใจและเปิดรับประเทศหนึ่ง ที่โลกแทบไม่เคยรู้จัก และมันได้เริ่มที่จะออกนอกสูตรสำเร็จ ด้วยการนำเสนอความคิดของตัวเอง เกี่ยวกับประเทศ และวัฒนธรรมของพวกเขา และมันทำให้มีแฟนเพลงหลายล้านคน ที่พร้อมจะฟังพวกเขาอยู่ทุกเมื่ออยู่ทุกเมื่อ

และสุดท้าย K-Pop  มันก็ได้ก้าวเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ มีการเติบโตในเลขสองหลักทุก ๆ ปี ทำให้เหล่าบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ผลิตศิลปินทั้งหมดนั้น มีมูลค่ารวมอยู่ในตลาดหลักทรัพย์เกาหลี หลายพันล้านเหรียญ และ มูลค่ากำลังพุ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ และมันเป็นหนึ่งอุตสาหกรรมที่ช่วยผลักดันเกาหลีให้กลายเป็นชาติแนวหน้าของโลก ไม่ใช่แค่เพียงด้านเศรษฐกิจเท่านั้น แต่วัฒนธรรม K-Pop ตอนนี้ มันได้บุกไปทั่วโลกไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

-> อ่านตอนที่ 7 (ตอนจบ)  : The Glory of Korea

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Foundation *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ