Geek Story EP8 : How iPod Builds an Apple Empire (ตอนที่ 1)

หลาย ๆ ท่านอาจจะคิดว่า iPhone เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของบริษัท apple ให้กลายมาเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่ของโลกได้จวบจนถึงทุกวันนี้ แต่นั่นเป็นเพียงส่วนนึงเท่านั้น แนวคิดของ apple รูปแบบใหม่ ที่หันมาสร้างนวัตกรรม และ เปลี่ยนจากบริษัทคอมพิวเตอร์ ให้กลายมาเป็นบริษัทที่จำหน่าย สินค้า consumer product มันเริ่มมาจาก iPod 

มันเป็นนวัตกรรม ชิ้นเอกของ apple ในศตวรรษที่ 21 เลยก็ว่าได้ แม้เวลาจะร่วงเลยมาทำให้ตัว iPod เองได้สูญหายไปตามกาลเวลา แต่เรื่องราวสตอรี่ ของการสร้างมันขึ้นมานั้น ถือว่าเป็นเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะมันเต็มไปด้วยอุปสรรคต่าง ๆ มากมาย กับการที่จะสร้างเครื่องเล่น Mp3 ขึ้นมา แล้วสามารถบรรจุเพลงได้ถึง 1,000 เพลง ถือว่าในตอนนั้นมันเป็นเรื่องที่เหลือเชื่อมาก ๆ ที่ apple สามารถสร้างมันขึ้นมาและกลายเป็นสินค้า hot hit ติดตลาดโลกได้อย่างรวดเร็ว

ทุก ๆ ทั่วโลกต่างพกเจ้า iPod ตัวนี้ พร้อมด้วยหูฟังสีขาว ที่เป็นเอกลักษณ์ ถึงวัฒนธรรมของยุคใหม่ของบริษัท apple บริษัท ที่ก่อนจะสร้าง iPod นั้น แทบจะกลายเป็นบริษัทที่ใกล้จะล้มละลายเต็มที สถานะการเงินก็ย่ำแย่ สินค้าตัวชูโรงอย่าง apple หรือ macintosh ก็แทบจะทำตลาดไม่ได้เลยด้วยซ้ำ

มันเกิดอะไรขึ้นในช่วงเวลาเพียงไม่กี่ปี ที่เปลี่ยนบริษัท apple จากบริษัทที่ใกล้ตาย กลับมายิ่งใหญ่ในโลกของธุรกิจได้อีกครั้ง

สำหรับเรื่องราวของ Blog Series ชุดนี้นั้น จะอ้างอิง จากหนังสือที่เกี่ยวข้องกับ iPod รวมถึงหนังสือ อัตชีวประวัติของ Steve Jobs รวมถึงข้อมูลจาก wikipedia online ต่างๆ  มารวมรวมใหม่ ในแบบฉบับของผมเองครับ โปรดอย่าพลาดติดตามเป็นอันขาด รับรองสนุกอย่างแน่นอนคร้าบผม

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน Podbean : http://bit.ly/36hZ94r

ฟังผ่าน Apple Podcast :   https://apple.co/2lEqPPg

ฟังผ่าน Google Podcast :  http://bit.ly/341JeWm

ฟังผ่าน Spotify : https://spoti.fi/2PmDi52

ฟังผ่าน Youtube :  https://youtu.be/Dj-WePZS7Ws 

ประวัติ Bill Gates ตอนที่ 11 : Glorious Failure

แม้สถานการณ์ในช่วงที่การแข่งขันด้านมือถือ smartphone กำลังขับเคี่ยวกันอย่างสนุก และ ณ ช่วงเวลาดังกล่าว Steve Ballmer ได้ขึ้นมากุมบังเหียนใหญ่เป็น CEO ของ Microsoft อยู่ในขณะนั้น แต่ต้องบอกว่า Bill Gates ในฐานะประธานบริษัท ก็ยังคงมีบทบาทที่สำคัญในการตัดสินใจทางยุทธศาสตร์แทบจะทั้งหมดของ Microsoft อยู่

ฟากฝั่ง Android จาก Google นั้นเริ่มต้นใหม่ด้วยแนวคิดแบบจอสัมผัส ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกับที่ Apple ประสบความสำเร็จกับ iPhone ซึ่ง Android ได้ทำการเปิดตัวมือถือรุ่นแรกคือ HTC G1 โดยเปิดตัวไปเมื่อเดือนตุลาคมปี 2008 

HTC G1 มือถือ Android รุ่นแรกของ Google ที่ดูไม่มีแววว่าจะรุ่ง
HTC G1 มือถือ Android รุ่นแรกของ Google ที่ดูไม่มีแววว่าจะรุ่ง

มันแทบจะไม่มีอะไรพิเศษในแง่ของ Hardware แุถมยังมีแป้นพิมพ์แบบเลื่อนได้คล้าย ๆ มือถือของ Nokia ด้วยซ้ำ และความสามารถในการใช้จอแบบสัมผัสก็ดูต่างจาก iPhone ราวฟ้ากับเหว มันเหมือนรุ่น เบต้า ของ iPhone เสียมากกว่าที่จะมาเป็นคู่แข่งกับ iPhone

แม้จ๊อบส์ จะโมโหมากที่ Google มาทำ Android ออกมาเพื่อแข่งกับ iPhone เพราะตอนแรกทั้งสองเหมือนจะเป็น พาร์ทเนอร์กันมากกว่า แต่ความสัมพันธ์ของทั้งสองได้ขาดสะบั้นลงไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว Google ก็ต้องการที่ยืนในตลาด smartphone เช่นเดียวกัน ดีกว่าการไปผูกชะตาชีวิตไว้กับ iPhone ของ Apple ที่จะนำบริการของพวกเขาออกไปเมื่อไหร่ก็ได้

แต่จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของ Android ที่ทำให้พวกเขาสามารถแจ้งเกิดได้สำเร็จในวงการมือถือโลก น่าจะมาจาก Samsung ที่ได้ลองเปลี่ยนจาก Symbian มาใช้ Android โดยรุ่นแรกที่ได้ใช้ชื่อตระกูล Samsung Galaxy คือรุ่น “Samsung I7500 Galaxy” ที่ได้ถูกเปิดตัวครั้งแรกในปี 2009

โดยกลายเป็น smartphone รุ่นแรกของค่ายที่รันบนระบบปฏิบัติการ Android เวอร์ชั่น 1.5 (Cupcake) ซึ่งต่อมาทาง Samsung ยังคงพัฒนา smartphone ของตัวเองอย่างต่อเนื่องด้วยการเปิดตัวสมาร์ทโฟนในตระกูล Galaxy รุ่นใหม่อย่าง Samsung Galaxy S

และช่วยให้ผู้คนเริ่มหันมามอง Android เพราะเริ่มมี Features ที่ดูคล้าย iPhone เข้าไปทุกที ในสนนราคาที่ต่ำกว่า และ Galaxy S ก็กลายเป็นมือถือที่ทำให้เห็นศักยภาพของ Android อย่างแท้จริงนั่นเอง

และความชัดเจนมันได้เริ่มเกิดขึ้นในไตรมาส 4 ของปี 2009 Android เริ่มเติบโตขึ้นทั่วโลก มีการขายโทรศัพท์ Android ไปได้กว่า 4 ล้านเครื่อง ซึ่งในขณะนั้นได้ขึ้นมาทาบรัศมีของ Windows Mobile ที่ยอดขายใกล้เคียงกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งถือเป็นการเติบโตแบบก้าวกระโดดที่น่ากลัวมาก ๆ ของ Android ในช่วงนั้น

ในขณะที่ Android กำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น ฝั่ง Microsoft ก็ได้เริ่มตระหนักแล้วว่าสถานการณ์ของ Windows Mobile เริ่มจะมีปัญหาครั้งใหญ่ เหล่าผู้บริหารของ Microsoft เริ่มรู้ตัวว่า Windows Mobile นั้นไม่สามารถแข่งขันกับ smartphone รุ่นใหม่ ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น iPhone จอสัมผัส หรือ ระบบปฏิบัติการน้องใหม่อย่าง Android

จึงได้เริ่มมีความคิดที่จะสร้าง แพลตฟอร์ม มือถือใหม่ ที่เป็นจอสัมผัสบ้าง โดยจะใช้ code name ว่า “Windows Phone” ซึ่งจะมีการ Design Interface ของหน้าจอรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า “Metro” และหันมาใช้เทคโนโลยีของตัวเองในการสร้างระบบปฏิบัติการใหม่นี้ขึ้นมาแทน

Metro UI ของ Windows Phone ที่เหล่านักพัฒนาร้องยี้
Metro UI ของ Windows Phone ที่เหล่านักพัฒนาร้องยี้

และสถานการณ์ของ Nokia ที่แม้จะยังคงเป็นผู้ผลิตมือถือรายใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ แต่กราฟการเติบโตของพวกเขาเริ่มดิ่งลงเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในตลาด smartphone ที่ Symbian โดนแย่งชิงตลาดจากทั้ง Android และ iOS ของ Apple อย่างหนัก จนต้องมีการปลด CEO คนเก่าออกแล้วตั้ง Stephen Elop ที่เป็นอดีตลูกหม้อของ Microsoft ขึ้นมากุมบังเหียนแทน

ซึ่งสุดท้าย Elop ที่ด้วยความเป็นลูกหม้อเก่าของ Microsoft ก็ได้ตัดสินใจว่าจะร่วมวงกับ Microsoft ในการผลักดัน Windows Phone และรอให้ Windows Phone นั้นสมบูรณ์พร้อมซึ่งคาดว่าน่าจะภายในปี 2012

โดยทั้ง 2 บริษัทจะใช้ระบบปฏิบัติการ Windows Phone เป็นแพลทฟอร์มหลักของ smartphone ของ Nokia โดย Nokia จะอาศัยความเชี่ยวชาญด้านการปรับแต่งฮาร์ดแวร์ การเลือกสรรซอฟต์แวร์ ภาษาที่รองรับและขีดความสามารถในการผลิตและการเข้าถึงตลาด

นอกจากนี้จะร่วมกันให้บริการเพื่อขับเคลื่อนสินค้าใหม่ ๆ เช่น Nokia Maps ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญของบริการเด่นของ Microsoft อย่าง Bing และ AdCenter แอพพลิเคชั่นและคอนเทนท์ของ Nokia จะรวมเข้ากับ Microsoft Marketplace ด้วยเช่นกัน

แต่ดูเหมือนกลยุทธ์ดังกล่าว ก็ไม่ได้ทำให้ Nokia สถานการณ์ดีขึ้นแต่อย่างใด จนสุดท้าย Microsoft ก็ได้เดินเกมเดิมพันครั้งสุดท้ายในตลาดมือถือ smartphone ด้วยการเข้า Take Over เอา Nokia มาครอบครองได้สำเร็จในช่วงปลายปี 2013 

แต่เนื่องด้วยความล่าช้า และการพัฒนาอย่างรวดเร็วของทั้ง android และ iOS ของ iPhone รวมถึงการที่ตัว Windows Phone ไม่ได้รับความสนใจจากเหล่านักพัฒนา App ให้มาสนใจ Windows Phone เลยด้วยซ้ำ และที่สำคัญด้วย UI ใหม่แบบ Metro นั้นทำให้เหล่านักพัฒนาแขยงที่จะร่วมวงด้วยเพราะมันมีความแตกต่างอย่างชัดเจนกับ iOS และ Android ที่พวกเขาแทบจะต้องพัฒนาแอปต่าง ๆ ขึ้นมาใหม่หมด

ทำให้ App ดี ๆ ที่คนใช้งานทั่วไปในทั้ง Android และ iOS ไม่มีการมาพัฒนาบนแพลตฟอร์มของ Windows Phone และมันก็ได้ทำให้ผู้ใช้งานแทบจะไม่สนใจ Windows Phone เลย จนท้ายที่สุด Windows Mobile ก็ต้องปิดฉากตัวเองไปจากวงการมือถือโลก อย่างที่เราได้เห็นจวบจนถึงปัจจุบันนั่นเองครับ

–> อ่านตอนที่ 12 : Hit Refresh (ตอนจบ)

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 A Revolution Begins *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

ประวัติ Bill Gates ตอนที่ 10 : Glorious Reaction

หลังจากช่วงผ่อนคลายในสถานการณ์ในตลาด Search Engine ที่ Microsoft ได้ส่ง Facebook เข้าไปตัดแข้งตัดขา Google แทน ทำให้ Gates และ Microsoft เหมือนจะได้หายใจหายคอ กลับมาโฟกัสกับผลิตภัณฑ์ตัวเองบ้าง

และในตอนนั้นตลาดมือถือ Smartphone กำลังกลายเป็นตลาดใหม่ที่เริ่มกลายเป็นที่นิยมทั่วโลก ซึ่งแน่นอนว่า Microsoft ในขณะนั้น ก็มีระบบปฏิบัติการมือถือของตัวเองอย่าง Windows Mobile ซึ่งต้องบอกว่าเป็นระบบปฏิบัติการที่ดูดีมีอนาคตอย่างมากสำหรับ Microsoft ในตลาดมือถือโลก

Windows Mobile ที่กำลังเป็นระบบปฏิบัติการมือถือที่มีอนาคต
Windows Mobile ที่กำลังเป็นระบบปฏิบัติการมือถือที่มีอนาคต

ซึ่ง Gates ก็ได้ใช้กลยุทธ์แบบเดียวกันกับระบบปฏิบัติการบน PC ก็คือ เขาจะไม่ยุ่งกับส่วน Hardware แต่จะขายเป็น License ของระบบปฏิบัติการอย่าง Windows Mobile ออกมาแทนนั่นเอง มันน่าจะเป็นเกมที่ Gates และ Microsoft ถนัดเป็นอย่างยิ่ง เพราะมันคล้ายกับธุรกิจของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล แต่เหตุการณ์ที่เหลือเชื่อในวงการมือถือโลกมันก็ได้ถึงจุดเปลี่ยนแปลงขึ้นในปี 2007

การเกิดขึ้นของ iPhone จาก Apple ที่ได้แอบซุ่มทำอยู่หลังจากประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูงจาก iPod เครื่องเล่น MP3 ของ Apple ซึ่ง Apple ได้ต่อยอดมาทำมือถือรูปแบบใหม่ ที่ถือว่าเป็นการปฏิวัติวงการในขณะนั้น

และการเกิดขึ้นของ iPhone นี่เองที่ได้ส่งผลกระทบไปทั่วทั้งตลาดมือถือโลกเลยก็ว่าได้ เหล่าผู้ผลิตมือถือยักษ์ใหญ่ ที่คาดไม่ถึงว่า Apple จะสามารถสร้างสิ่งที่กำลังจะมาปฏิวัติวงการมือถือโลกอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนได้ มันเป็นการเปลี่ยนไปแบบสิ้นเชิงระหว่างยุคก่อน iPhone กับ มือถือยุคหลัง iPhone ก่อกำเนิดขึ้นมานั่นเอง

แต่เห็นได้ชัดว่าในศึกของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลนั้น Apple พ่ายแพ้ให้กับ Microsoft อย่างราบคาบ เนื่องจาก Windows ของ Microsoft นั้นสามารถที่จะไปลงกับ Hardware ของผู้ผลิตรายใดก็ได้ ต่างจาก Mac ของ Apple ที่สามารถรันกับเครื่อง Apple ได้เพียงเท่านั้น และสุดท้าย Windows ก็เติบโตอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นมาตรฐานของวงการคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั่วโลกในที่สุด

และเช่นเดียวกันกับในเรื่องนักพัฒนา ส่วนใหญ่ Apple จะค่อนข้างปิดไม่ให้นักพัฒนาภายนอกเข้ามายุ่มย่ามกับ Ecosystem ของ Apple มีเปิดบ้าง แต่เพียงน้อยนิดเท่านั้น เช่นใน iPod ที่มีการสร้างเกมส์เข้ามาจากนักพัฒนาภายนอกนั่นเอง

แต่สุดท้ายในเดือนตุลาคม ปี 2007 หลังจากปล่อย iPhone ออกจำหน่ายได้ประมาณ 10 เดือน จ๊อบส์ ก็ได้ประกาศครั้งสำคัญที่เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของ iPhone อีกครั้ง เมื่อจ๊อบส์ประกาศให้มีการสร้าง  Native App ของนักพัฒนาภายนอก และมีการวางแผนจะเอา SDK (Software Development Kit) ให้เหล่านักพัฒนาได้ในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2008

แต่มันเป็นการตัดสินใจเชิงยุทธศาสตร์ที่สำคัญของจ๊อบส์ ที่ต้อง balance กันระหว่าง การสร้างแพลตฟอร์มระดับเทพ และเป็นระบบเปิดให้กับเหล่านักพัฒนา ขณะเดียวกันก็ต้องคุ้มครองผู้ใช้ iPhone จาก ไวรัส มัลแวร์ รวมถึงการเข้าถึงข้อมูลความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานด้วย

จ๊อบส์ตัดสินใจครั้งสำคัญให้นักพัฒนาภายนอกมาเข้าร่วมกับ iPhone
จ๊อบส์ตัดสินใจครั้งสำคัญให้นักพัฒนาภายนอกมาเข้าร่วมกับ iPhone

ซึ่งทำให้แม้จะไม่เปิดหมดซะทีเดียว แต่จ๊อบส์ เชื่อในแนวทางของตนเพื่อรักษาประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับผู้ใช้ iPhone นั่นเอง ซึ่ง App ภายนอกนั้นจะมีการตรวจสอบอย่างละเอียด ซึ่งผู้ใช้ iPhone จะสบายใจได้ว่ามีความปลอดภัยสูงสุดนั่นเอง 

และทางฝั่ง Google ก็ได้เริ่มแอบทำบางอย่างลับ ๆ โดยหลังจากเปลี่ยนแผนโดยฉับพลันจากมือถือที่ต้องมี keyboard แบบ Blackberry ให้กลายมาเป็นมือถือแบบจอสัมผัสแบบที่ iPhone ทำ ซึ่งการซุ่มพัฒนานี้ทำโดย Apple แทบจะไม่ระแคะระคายเลยด้วยซ้ำ เพราะหนึ่งในบอร์ดของ Apple ในขณะนั้น ก็คือ เอริก ชมิตต์ ที่เป็น CEO ของ Google นั่นเอง

ส่วนทางฝั่ง Microsoft สตีฟ บอลเมอร์ CEO ของ Microsoft ( *** Gates ได้ขึ้นไปเป็นประธานของบริษัทแทน แต่ยังมีบทบาทกับกลยุทธ์ต่าง ๆ ของ Microsoft อยู่*** ) ถึงกับหัวเราะดังลั่น หลังจากสื่อได้เข้าไปถามหลังการเปิดตัว iPhone ซึ่ง บอลเมอร์ นั้นมองว่า iPhone จะไม่สามารถดึงดูดลูกค้าธุรกิจได้ เพราะมันไม่มีแป้นพิมพ์ และ Microsoft นั้นก็มีกลยุทธ์ของตัวเองสำหรับ Windows Mobile แล้วและกำลังไปได้สวยอยู่ในตลาดเสียด้วย

แล้วสถานการณ์จะเกิดอะไรขึ้นอีกครั้งกับ Microsoft ที่ดูเหมือนจะไปได้ดีกับตลาดมือถือโลกด้วย Windows Mobile แต่การเกิดขึ้นของ iPhone รวมถึง Google ศัตรูตัวฉกาจคนเดิมที่แอบไปซุ่มทำระบบปฏิบัติการมือถือบางอย่างอยู่นั้น จะเกิดอะไรขึ้นต่อกับ Microsoft โปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 11 : Glorious Failure

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 A Revolution Begins *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

Smartphone War ตอนที่ 11 : The Rise of Android

หลังจากการเกิดขึ้นของ iPhone และได้ทำลายเหล่ามาเฟียเครือข่ายให้ลดอำนาจลงไปอย่างมาก ทำให้วิวัฒนาการของธุรกิจมือถือนั้น ก็ได้พุ่งไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ซึ่งก่อนปี 2007 นั้น ตลาด smartphone เป็นตลาดที่เล็กมาก ๆ คนส่วนใหญ่ทั่วโลกใช้งานมือถือเพื่อ โทรเข้า-ออก และ ส่ง SMS เพียงเท่านั้น พวกเขาไม่ได้จินตนาการถึงโลกของ smartphone อยู่ในหัวเลยด้วยซ้ำ

ซึ่งหลังจากการเกิดขึ้นของ iPhone บรรดาผู้จัดจำหน่ายทั่วโลกก็ได้พยายามหาอะไรบางอย่างเพื่อมาแข่งกับ iPhone เพื่อไม่ให้ Apple ผูกขาดทุกอย่างมากเกินไป และ Android ก็เป็นหนึ่งในนั้น แม้จะต้องหักลำกลับมาพัฒนามือถือแบบจอสัมผัส ซึ่งแต่เดิมนั้นวาง Position ของตัวเองเป็นมือถือแบบมี คีย์บอร์ QWERTY ซึ่งก็ต้องเสียเวลาอยู่พอสมควรในการปรับกระบวนทัพใหม่

Android นั้นสร้าง Model ขึ้นมาคล้าย ๆ กับ Symbian ของ Nokia ที่เป็น Open Source เหมือนกัน แต่ผู้ผลิตมือถือต้องขอสิทธิ์บางอย่างในการลงบริการของตัวเองเช่น Google Service ของ Google หรือ Nokia Map ผ่านทาง Symbain

แต่ Android นั้นเริ่มต้นใหม่ด้วยแนวคิดแบบจอสัมผัส ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกับที่ Apple ประสบความสำเร็จกับ iPhone ซึ่งได้เปิดตัวรุ่นแรกคือ HTC G1 ที่เปิดตัวไปเมื่อเดือนตุลาคมปี 2008 

มันแทบจะไม่มีอะไรพิเศษในแง่ของ Hardware แุถมยังมีแป้นพิมพ์แบบเลื่อนได้คล้าย ๆ มือถือของ Nokia ด้วยซ้ำ และความสามารถในการใช้จอแบบสัมผัสก็ดูต่างจาก iPhone ราวฟ้ากับเหว มันเหมือนรุ่น เบต้า ของ iPhone เสียมากกว่าที่จะมาเป็นคู่แข่งกับ iPhone

HTC G1 มือถือรุ่นแรกของ Android ที่แทบจะสู้อะไร iPhone ไม่ได้เลย
HTC G1 มือถือรุ่นแรกของ Android ที่แทบจะสู้อะไร iPhone ไม่ได้เลย

แต่สิ่งสำคัญที่ Android มีคือ การผูกติดกับบริการของ Google อย่างแน่นหนา ไม่ว่าจะเป็น แผนที่ email Calendar ซึ่งพอจะช่วงชิงพื้นที่ของส่วนแบ่งการตลาดได้บ้าง

แม้จ๊อบส์ จะโมโหมากที่ Google มาทำ Android ออกมาเพื่อแข่งกับ iPhone เพราะตอนแรกทั้งสองเหมือนจะเป็น พาร์ทเนอร์กันมากกว่า แต่ความสัมพันธ์ของทั้งสองได้ขาดสะบั้นลงไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว Google ก็ต้องการที่ยืนในตลาด smartphone เช่นเดียวกัน ดีกว่าการไปผูกชะตาชีวิตไว้กับ iPhone ของ Apple ที่จะนำบริการของพวกเขาออกไปเมื่อไหร่ก็ได้

จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของ Android บนวงการมือถือโลก น่าจะมาจาก Samsung ที่ได้ลองเปลี่ยนจาก Symbian มาใช้ Android โดยรุ่นแรกที่ได้ใช้ชื่อตระกูล Samsung Galaxy คือรุ่น “Samsung I7500 Galaxy” ที่ได้ถูกเปิดตัวครั้งแรกในปี 2009

โดยกลายเป็น smartphone รุ่นแรกของค่ายที่รันบนระบบปฏิบัติการ Android เวอร์ชั่น 1.5 (Cupcake) ซึ่งต่อมาทาง Samsung ยังคงพัฒนา smartphone ของตัวเองอย่างต่อเนื่องด้วยการเปิดตัวสมาร์ทโฟนในตระกูล Galaxy รุ่นใหม่อย่าง Samsung Galaxy S

ซึ่งในขณะนั้นทาง Samsung ได้วางการตลาดให้ smartphone ในตระกูลนี้เป็นรุ่นเรือธงของค่าย และเป็นการรุกตลาดสมาร์ทโฟนอย่างเต็มตัวของทาง Samsung และช่วยให้ผู้คนเริ่มหันมามอง Android เพราะเริ่มมี Features ที่ดูคล้าย iPhone เข้าไปทุกที ในราคาที่ต่ำกว่า และ Galaxy S เป็นมือถือที่ทำให้เห็นศักยภาพของ Android ที่แท้จริง ซึ่งทำให้ยอดขายเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายมาเป็นมือถือเรือธงของ Samsung มาจวบจนถึงปัจจุบัน

จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญที่ทำให้ Android แจ้งเกิดได้น่าจะมาจาก Samsung Galaxy S
จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญที่ทำให้ Android แจ้งเกิดได้น่าจะมาจาก Samsung Galaxy S

และความชัดเจนมันได้เริ่มเกิดขึ้นในไตรมาส 4 ของปี 2009 Android เริ่มเติบโตขึ้นทั่วโลก มีการขายโทรศัพท์ Android ไปได้กว่า 4 ล้านเครื่อง ซึ่งในขณะนั้นได้ขึ้นมาทาบรัศมีของ Windows Mobile ที่ยอดขายใกล้เคียงกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งถือเป็นการเติบโตแบบก้าวกระโดดที่น่ากลัวมาก ๆ ของ Android ในช่วงขณะนั้น

และที่สำคัญ Android ได้กลายเป็นสินค้ายอดฮิตของประเทศจีน เพราะราคาถูกกว่า iPhone มาก และชนชั้นกลางที่เติบโตเพิ่มมากขึ้นของประเทศจีน ทำให้ผู้คนต่างอยากจะเปลี่ยนมาใช้ smartphone กันเป็นจำนวนมาก ซึ่งทำให้ตลาดของ Android ยิ่งเติบโตขึ้นไปอีก

แม้ทาง Apple นั้นจะเน้นไปที่ตลาด Hi-End ที่เป็นส่วนของกำไรส่วนใหญ่ของตลาดมือถือ smartphone แต่ Android ได้เริ่มกินส่วนแบ่งการตลาดมาจากด้านล่าง ซึ่งถ้านับเป็นจำนวนนั้น เป็นตลาดที่ใหญ่มหาศาลเป็นอย่างมาก

ซึ่งหลังจากเห็นการประสบความสำเร็จของ Samsung จาก Galaxy S บรรดาผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือยักษ์ใหญ่ต่างเปลี่ยนแผนกันอย่างฉับพลันเพื่อย้ายไปสู่ Android ที่ดูมีอนาคตกว่า Symbian อย่างเห็นได้ชัด ทั้ง LG , Motorola , HTC เริ่มขายโทรศัพท์ Android หรือแม้กระทั่ง Sony เองก็ตาม ก็ยังต้องตามกระแสของ Android ไปด้วย

ซึ่งแน่นอนว่า ตอนนี้ตลาดของมือถือโลกได้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงแล้ว ตลาดบนนั้น iPhone คว้าไปครองแทบจะเบ็ดเสร็จ ส่วนตลาดจากล่างขึ้นมานั้น Android ก็ค่อย ๆ กัดกินตลาดเรื่อยมา สถานการณ์ของ Nokia ที่มี Symbian รวมถึง Microsoft ที่ยังยึดติดกับความสำเร็จของ Windows Mobile นั้น พวกเขาจะทำอย่างไรต่อไปกับตลาดมือถือ ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วเช่นนี้ โปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 12 : The Fall of Windows (Mobile)

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 Phone & Microsoft *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Smartphone War ตอนที่ 10 : The Loser

ความปรารถนาของ Apple ที่ต้องการควบคุมทุกอย่างมันได้เริ่มเห็นผลในตลาด smartphone Apple ต้องการควบคุมทั้งตลาดแอพ ต้องการยอดขาย และป้องกันไม่ให้ใครมาตัดสินใจว่า iPhone ควรมีรูปลักษณ์อย่างไร 

สิ่งสำคัญอีกประการคือ ตอนนี้ เหล่านักพัฒนาเริ่มได้กลิ่นเงินจากตลาดที่จะใหญ่โตมหาศาลของ Apple มันได้ทำให้นักพัฒนาไหลมากองรวมกันเพื่อพัฒนา App บน iPhone และมันส่งผลโดยตรงต่อยอดขาย iPhone ทันที

เพราะหลังจากเปิดตัว iTunes App Store นั้นยอดขาย iPhone ก็พุ่งขึ้นไป 4 เท่าเป็น 20.25 ล้านเครื่อง และมันได้ผลักดันให้ตลาด smartphone เติบโตขึ้นร้อยละ 20 คนทั่วไปเริ่มหันมาสนใจ smartphone จากเดิมที่มีแต่ผู้ใช้งานเฉพาะกลุ่มเท่านั้น

ซึ่งตอนนี้ คนไม่ได้ซื้อ smartphone เพื่อมาใช้ email กับ ท่องเว๊บอีกต่อไป ตอนนี้ smartphone กำลังจะทำได้ทุกอย่าง เพราะมีเหล่านักพัฒนามากมายที่พร้อมจะมาให้บริการกับลูกค้าที่ต้องการ App ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น เกม โปรแกรมจัดการเอกสาร โปรแกรมบัญชี แผนที่ หรือ โปรแกรมจองร้านอาหาร เป็นต้น ทุกอย่างมันสามารถสร้างได้หมดโดย Ecosystem ของ Apple และเหล่านักพัฒนาก็พร้อมจะทำมันอย่างเต็มที่นั่นเอง

การเกิดขึ้นของ iTunes App Store ทำให้คนเริ่มหันมาสนใจ smartphone ขึ้นเป็นวงกว้าง
การเกิดขึ้นของ iTunes App Store ทำให้คนเริ่มหันมาสนใจ smartphone ขึ้นเป็นวงกว้าง

และเมื่อตัวเลขผลกระกอบการต่าง ๆ มันได้เริ่มเปิดเผยออกมาสู่สาธารณะ มันได้เริ่มเห็น Trend ที่เปลี่ยนไปอย่างชัดเจนของวงการมือถือโลก ต้นปี 2008 iPhone ได้เริ่มที่จะคว้าส่วนแบ่งของกำไรจำนวนมหาศาลในตลาด smartphone ไปครอบครองอย่างรวดเร็ว

แม้ดูเหมือนว่ายอดขายของ iPhone นั้นจะไม่มากนัก ซึ่งมันทำให้ Microsoft หรือ Nokia ยังไม่ระแคะระคายซักเท่าไหร่ มันเป็นการเข้ามาโกยตลาด Hi-End User ของ Apple ซึ่งตลาดนี้ ลูกค้าพร้อมที่จะเปย์หนักเพื่อให้ได้สิ่งที่ดีที่สุดที่พวกเขาต้องการ

และแน่นอนว่า มันเป็นตลาดที่มีกำไรสูง แม้ตัวส่วนแบ่งการตลาดของ Apple จะยังไม่มากนัก แต่กำไรต่อเครื่องของ Apple นั้นสูงมาก และสูงกว่าใครเพื่อนในตลาดมือถือ smartphone ซึ่งลูกค้าของ Apple นั้นพร้อมที่จะจ่ายสูงถึง 600 ดอลลาร์ เพื่อครอบครอง iPhone แต่ละเครื่อง

Nokia จึงไม่ได้เพียงบริษัทเดียวที่โดนผลกระทบดังกล่าว มันได้กลายเป็นผลกระทบไปยังวงกว้าง แม้แต่ Sony Ericsson หรือ Motorola ที่เป็นผู้ผลิตมือถือรายใหญ่นอกทวีปเอเชีย ก็ได้พบกับความจริงที่ว่า iPhone ได้เข้ามาแย่งส่วนกำไรของตลาดของพวกเขาไป และสถานะของบริษัทเหล่านี้ ก็เริ่มสั่นคลอนทันที

แค่เพียงเปิดตัวปีแรกของ iPhone ในปี 2007 นั้น Sony Ericsson เปลี่ยนจากบริษัทที่ทำกำไรได้ตลอดมา พลิกกลับมาขาดทุนได้ทันที และราคาขายโดยเฉลี่ยของโทรศัพท์มือถือ เริ่มพังทลายลง เงิดสดเริ่มไหลออกไปเรื่อย ๆ กำไรและยอดขายเริ่มลดลง

เนื่องจากวงจรการขายของธุรกิจมือถือนั้น เป็นวงจรที่สั้นมาก มันส่งกระทบไปในวงกว้าง ผู้จัดจำหน่ายนั้นก็พร้อมจะเลิกการขายสินค้าที่ดูเหมือนเป็นสินค้ามีตำหนิ เพราะตกรุ่นเร็ว และหายไปจากสายตาของผู้บริโภคอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกัน

Sony และ Ericsson ที่เป็นบริษัทร่วมทุนกันนั้น ต้องเทเงินเข้ามาเพื่อรักษาสภาพคล่องของบริษัท และมีการปรับโครงสร้างองค์กร ปลดพนักงานออกไปกว่าหลายพันคน ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2011 บริษัทมีการขาดทุนสะสมในช่วง ตั้งแต่ iPhone เริ่มออกจำหน่าย เป็นเงินถึง 169 ล้านปอนด์ 

สถานการณ์ของ Sony Ericsson ดูจะเลวร้ายกว่าใครเพื่อนหลังการเปิดตัวของ iPhone
สถานการณ์ของ Sony Ericsson ดูจะเลวร้ายกว่าใครเพื่อนหลังการเปิดตัวของ iPhone

Palm ก็อยู่ในสถานะไม่ต่างกัน เมื่อ iPhone เข้ามาทำตลาด มันก็ได้ถึงจุดจบของ Palm มีการขาดทุนต่อเนื่องหลายไตรมาสติดต่อกัน หลังการเปิดตัวของ iPhone บริษัทต้องปลดพนักงานออกไปเป็นจำนวนมากเพื่อรักษาสภาพคล่องของบริษัทเช่นเดียวกับเหยื่อรายอื่น ๆ 

ส่วน Microsoft บอลเมอร์ ก็เจอปัญหาที่เกิดขึ้นในแผนกโทรศัพท์มือถือ บริษัทเดนเจอร์ที่ Microsoft เพิ่ง Take Over มานั้น กลายมาเป็นปัญหาที่สำคัญ มันเป็นการรวมกันของสองบริษัทที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม บริษัทเดนเจอร์นั้น ถนัดด้าน Hardware ส่วน Microsoft เกิดมากับ Software ทำให้การทำงานผสานกันนั้นทำได้ยากมาก ๆ และเป็นอุปสรรค์ที่สำคัญของ Microsoft ในการเดินหน้าในตลาดมือถือ smartphone

ความแตกต่างในองค์กรที่รุ่นแรง ได้เป็นตัวบ่อนทำลาย Microsoft ไปเอง มันเป็นปัญหาภายใน ไม่เพียงแค่ iPhone เท่านั้นที่มาเปลี่ยนธุรกิจโทรศัพท์มือถือ แต่ Microsoft ก็เจอปัญหาของตัวเองที่ทำให้ไม่สามารถก้าวต่อไปได้ในเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อเช่นนี้

Apple นั้นไม่เหมือนใคร Apple สร้างสิ่งที่พวกเขารักขึ้นมา และทำนายในสิ่งที่ผู้บริโภคอยากได้มันจริง ๆ ส่วน Microsoft นั้น แม้จะมีแนวคิดในการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ทุกคนรัก และไปทำการสำรวจตลาด พอคนไม่ชอบตรงไหน Microsoft ก็เปลี่ยนตามที่พวกเขาชอบกัน แต่สุดท้ายก็จบลงที่ผลิตภัณฑ์ที่ไร้ซึ่งอารมณ์ร่วมกับผู้บริโภค แม้ทุกคนยอมรับก็จริง แต่ไม่มีใครรักผลิตภัณฑ์ของ Microsoft จริง เหมือนกับที่รักผลิตภัณฑ์ของ Apple นั่นเองครับ

–> อ่านตอนที่ 11 : The Rise of Android

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 Phone & Microsoft *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***