Search War ตอนที่ 7 : The Underdog Project

ในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2003 ผู้บริหารอาวุโสของบริษัท Microsoft รวมทั้งสิ้น 25 คน ซึ่งรวมรวมถึงผู้บริหารระดับสูงอย่าง Bill Gates และ Steve Ballmer ได้มารวมตัวกันที่อาคาร 36 ฝั่งตะวันออกของสำนักงาน Microsoft HQ ที่เรดมอนต์ เพื่อร่วมฟัง คริสโตเฟอร์ เพย์น ซึ่งตอนนั้นอายุเพียง 37 ปี และเป็นรองประธานบริษัท และดูแลรับผิดชอบ MSN โดยตรง เล่าถึงภัยคุกคามครั้งสำคัญต่อ Microsoft ที่เหล่าผู้บริหารต่างมองข้าม

เพย์น นั้นมีประสบการณ์อยู่เบื้องหลัง MSN Search ซึ่งเมื่อ เพย์น ได้มารับผิดชอบในส่วนของ บริการออนไลน์ของ Microsoft ซึ่งในขณะนั้นมีรายได้เพียงน้อยนิด เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์หลักของบริษัทอย่าง Windows และชุด Office เมื่อ เพย์น โฟกัสมาที่ธุรกิจค้นหา เขาได้เริ่มตระหนักว่า บริษัทกำลังเผชิญปัญหาใหญ่หลวงที่กำลังรุกคลานเข้ามา

ซึ่งแน่นอนว่า เพย์น ที่ได้รับผิดชอบแผน online ของ Microsoft ทำให้รู้ทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับ traffic ที่เข้ามายัง MSN ที่เป็นเว๊บ portal หลักของ Microsoft และ เพย์น ก็เริ่มพบความผิดปรกติบางอย่างเกิดขึ้น เมื่อพบว่า เหล่าผู้ใช้ MSN นั้นมาที่มาจาก google มากเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ 

ซึ่งต้องบอกว่าตอนนั้น Inktomi ได้รับผิดชอบผลการค้นหาของ MSN และส่วนของการโฆษณานั้นจะมาจาก Overture ซึ่ง Microsoft นั้นไม่ได้ทำอะไรเลยกับส่วนของการค้นหา เพียงแค่พึ่งบริการของที่อื่นแทบจะทั้งสิ้น

Microsoft ใช้บริการจากบริษัทอื่น ๆ ในโปรแกรมการค้นหา
Microsoft ใช้บริการจากบริษัทอื่น ๆ ในโปรแกรมการค้นหา

ทั้ง ๆ ที่มันกำลังจะกลายเป็นกระแสความนิยมใหม่ในโปรแกรม การค้นหา แต่ Microsoft ยังเริ่มต้นจากศูนย์ ซึ่งเพยน์ต้องการโน้มน้าวให้ผู้บริหารระดับสูงที่มาเข้าร่วมประชุม ให้เริ่มระแวดระวังภัยที่อาจจะมาจาก google และยังโน้มน้าวให้ลงทุนในการค้นหาแบบเต็มตัวเสียทีหลังจากพึ่งบริการอื่น ๆ มานาน

ซึ่งเหล่าผู้เข้าฟัง ก็คล้อยตาม เพย์น โดยที่ทั้ง Gates และ Ballmer นั้นค่อนข้างเห็นด้วย และพร้อมที่จะผลักดันโครงการโปรแกรมค้นหา Microsoft อย่างเต็มที่ และมันเป็นความท้าทายทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ครั้งสำคัญที่สุดอีกครั้งนึงของ Gates ซึ่งตอนนั้นอยู่ในตำแหน่งหัวหน้าแผนกสถาปนิกซอฟต์แวร์เสียด้วย

หลังจากได้รับความเห็นชอบจากผู้บริหาร เพย์น ก็ได้เลือก เคน มอสส์ โปรแกรมเมอร์มือฉกาจ ที่ได้รับการยอมรับนับถือและมีประสบการณ์สูง โดยทำงานร่วมกับ Microsoft มาถึง 16 ปี และเป็นหนึ่งในทีมงานที่ช่วยกันสร้าง Microsoft Excel ผลิตภัณฑ์ยอดนิยมของ Microsoft นั่นเอง

และมอสส์ ก็ได้รวบรวมทีมงานเล็ก ๆ เพื่อที่จะมาสร้างโปรแกรมค้นหาตัวใหม่นี้ของ Microsoft และตั้งชื่อโครงการนี้ว่า “Underdog” ซึ่งความหมายแบบไทย ๆ ก็คือไก่รองบ่อนนั่นเอง ซึ่งต้องบอกว่า เป็นชื่อโครงการที่ดูไม่เข้ากับ Microsoft ยักษ์ใหญ่ในวงการเทคโนโลยีในขณะนั้นเลยก็ว่าได้

เกตส์ นั้น เข้ามาสนับสนุนอย่างเต็มที่ในโครงการนี้ มันเป็นความท้าทายครั้งสำคัญอีกครั้งของ เกตส์ และรับปากกับทีมงานว่า เขามั่นใจว่าจะตามเจ้าตลาดอย่าง google ให้ทันภายใน 6 เดือน

แต่มันมีปัญาหาอยู่ 3 อย่างที่จะไล่ google ที่ถูกออกแบบโดย บริน และ เพจ ที่ทำงานวิจัยเรื่อง PageRank มาก่อนที่สแตนฟอร์ด ซึ่ง หนึ่ง ทำอย่างไรจะส่งผลที่เกี่ยวข้องกับการค้นหาให้ถึงผู้ใช้งานให้เร็วที่สุด สอง จะทำรายได้อย่างไรกับโปรแกรมการค้นหา และ สาม ปัญหาทางเทคนิค ในเรื่องการกระจาย Index เนื้อหา ที่มี Server อยู่กระจายทั่วโลกได้

โดยโครงการ Underdog ของ Microsoft ได้คัดเลือกเหล่าวิศวกรหัวกระทิจากแผนก R&D ของ Microsoft เพื่อสร้างระบบในการจัดลำดับผลการค้นหา ที่เกี่ยวข้องมากที่สุด กับคำที่ผู้ใช้งานค้นหา

แต่ทีมงานใน Project Underdog นั้นก็ต้องเจออุปสรรคมากมาย และเริ่มรู้ความจริงที่ว่า การสร้างโปรแกรมการค้นหาที่ดีนั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องง่ายกว่าที่คิด  ปัญหาใหญ่ที่สำคัญอย่างนึงคือ โปรแกรม Crawler ที่ใช้ในการคลานเข้าไปตาม www เพื่อ index ข้อมูลนั้น ได้เข้าไปติดกับดักของเหล่าเครือข่าวเว๊บลามก อนาจร ที่มีอยู่ทั่วอินเตอร์เน็ต

และมันจะอยู่เป็นเครือข่าย ที่เหล่า Crawler นั้นหลุดเข้าไปแล้วจะออกไปสู่เว๊บไซต์ปรกติอื่น ๆ ได้ยากมาก ทีมจึงต้องมีการปรับแต่งตัว Web Crawler หลายครั้งเพื่อไม่ให้ไปเก็บข้อมูลขยะที่โปรแกรมการค้นหาไม่ต้องการ

ปัญหาเรื่อง Web Crawler ที่ Google นั้นได้พัฒนาไปไกลมากแล้ว
ปัญหาเรื่อง Web Crawler ที่ Google นั้นได้พัฒนาไปไกลมากแล้ว

ส่วนเรื่องความเร็วในการส่งผลการค้นหาไปยังผู้ใช้งานนั้น เป็นเรื่องที่ยากกว่า เพราะต้องได้ผลการค้นหารที่่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งานด้วย ซึ่งการใช้ความเร็วในระดับ Millisecond แถมยังต้องจัดการกับคำร้องขออีกเป็นล้าน ๆ เครื่องจาก User นั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก ๆ 

และสำหรับเหล่าผู้ใช้งานนั้น ดูเหมือนว่า ผู้คนไม่ได้ตัดสินคุณภาพของ Search Engine จากผลการค้นหาแบบธรรมดา แต่เป็นล้วนตัดสินใจจากการค้นหาแบบไม่ธรรมดาเสียมากกว่า เช่นการหาข้อมูลส่วนตัวของคู่เดทลงไป เพื่อใช้ในการเตรียมตัวออกเดท ซึ่ง หากพวกเขาเหล่านี้ไม่พบผลการค้นหา ก็มักจะย้ายไปยัง Search Engine ตัวอื่นทันที โดยเฉพาะ google 

ซึ่งแน่นอนว่า หาก Microsoft สร้างผลลัพธ์ที่พวกเขาต้องการไม่ได้ พวกเขาจะมุ่งหน้าไปยัง google แทนอย่างแน่นอน เพราะในขณะที่ Microsoft เพิ่งตั้งไข่โปรเจค Underdog ของตัวเองนั้น google ได้กลายเป็นคำติดปากคนทั่วไปที่ใช้ในการค้นหาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

เรียกได้ว่า เป็นงานที่หนักหน่วงมาก ๆ สำหรับ ยักษ์ใหญ่อย่าง Microsoft ที่ต้องการเข้ามาในตลาดการค้นหา ซึ่ง google ได้นำหน้าไปไกลแล้ว เพราะไม่ใช่แค่เรื่องทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่มันเป็นเรื่องของความเข้าใจต่อผู้ใช้งาน ว่าพวกเขาต้องการอะไร และ Search Engine ต้องให้สิ่งที่ดีที่สุดให้กับพวกเขาได้ ดูแล้วงานนี้น่าจะเป็นการประลองศึกทางด้านเทคโนโลยีที่สนุกที่สุดครั้งนึงเลยก็ว่าได้ระหว่าง Microsoft และ google จะเกิดอะไรขึ้นกับ Project Underdog จะไล่ตาม google ทันภายใน 6 เดือนอย่างที่ bill gates ว่าไว้หรือไม่? โปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 8 : Let the war begin!

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :The Beginning of Search *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Search War ตอนที่ 1 : The Beginning of Search

ไม่ว่ามันเป็นโชคชะตา หรือ เรื่องบังเอิญให้ ลาร์รี่ เพจ ได้มาพบกับ เซอร์เกย์ บริน ในฤดูใบไม้ผลิของปี 1995 ปีที่ อินเตอร์เน็ตกำลังเติบโตอย่างสุดขีด มันได้กลายเป็นวัฒนธรรมใหม่ของคนทั่วโลกกับกระแสของ อินเตอร์เน็ตที่เกิดขึ้น

เซอร์เกย์ นั้นเป็นยอดอัจฉริยะทางด้านคณิตศาสตร์ ที่หาตัวจับยากคนหนึ่งในสแตนฟอร์ดเลยก็ว่าได้ เขาสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีด้วยวัยเพียงแค่ 19 ปีเพียงเท่านั้น เป็นคนที่ชื่นชอบการเล่นกีฬา โดยเฉพาะ ว่ายน้ำ และ ยิมนาสติก เขาเป็นคนชอบเข้าสัมคมมากกว่า ลาร์รี่ ที่ดูเหมือนจะรู้สึกอึดอัดกับการเป็นนักเรียนระดับปริญญาเอกของสแตนฟอร์ด

หลังจากการพบกัน ทั้งคู่ก็เริ่มตัวติดกัน ไปไหนมาไหนด้วยกัน และมักจะทำงานด้วยกันอยู่เสมอ ทั้งคู่มีความคิดว่าอินเตอร์เน็ตนั้นจะเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงทุกอย่างได้ในอนาคตอย่างแน่นอน อินเตอร์เน็ตมันมีพลังที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงของโลกให้เจริญรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว

การแจ้งเกิดของ NetScape เว๊บ Browser ตัวแรก  ๆที่สามารถสร้างมูลค่าบริษัทได้กว่าพันล้านเหรียญ ภายในระยะเวลาไม่กี่เดือน ทั้งที่ยังไม่สร้างกำไรเลยเสียด้วยซ้ำ ตอนนั้นนักลงทุนต่างพร้อมแล้วที่จะเสี่ยงกับเทคโนโลยีใหม่อย่างอินเตอร์เน็ต ที่กำลังจะมาเปลี่ยนโลก

และเรื่องราวของ NetScape ที่เองที่ทำให้เกิดความคึกครื้นขึ้นกับกระแสของเงินทุน และมันได้หลั่งไหลเข้ามาสู่ภาควิชาคอมพิวเตอร์ของสแตนฟอร์ด ด้วยเช่นกัน ซึ่งได้เริ่มเป็นที่ฟูมฟักให้เหล่านักธุรกิจทางด้านเทคโนโลยีหน้าใหม่ที่พร้อมจะเปลี่ยนโลก

NetScape ทำให้กระแสดอทคอมเฟื่องฟู
NetScape ทำให้กระแสดอทคอมเฟื่องฟู

และทั้งเพจและบริน ก็ได้เริ่มทำการสร้าง Index หรือ ดัชนีให้กับเหล่าเว๊บไซต์ทั้งหลายทั่วโลก ซึ่งแม้วิธีเริ่มต้นในสิ่งที่ทั้งคู่ทำนั้นจะไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ในขณะนั้น มีหลายบริษัทก็ทำอยู่เช่นกัน แต่ปัญหาก็คือ ตอนนั้นไม่มีใครคาดคิดถึง Model ธุรกิจของ Search Engine ว่าจะทำเงินจากมันได้อย่างไร เพราะกระแสในขณะนั้นกำลังแห่ไปทาง Web Directory อย่าง Yahoo ที่กำลังดังอยู่ในขณะนั้น

เนื่องจากเว๊บเพจได้เริ่มเกิดขึ้นเป็นดอกเห็ดจึงทำให้ Yahoo นั้นได้เริ่มสร้าง Directory ให้กับเหล่าเว๊บไซต์หน้าใหม่เหล่านี้ โดยใช้การคัดเลือกจากบรรณาธิการที่เป็นมนุษย์ และแน่นอนว่า พอจำนวนเว๊บไซต์ยิ่งมากขึ้น มันก็เริ่มที่จะลำบากขึ้นเรื่อย ๆ ในการคัดเลือกเหล่านี้

อีกฝากฝั่งหนึ่งนั้น Microsoft และเหล่าผู้บริหาร แทบจะไม่ยินดียินร้ายกับการเกิดขึ้นของเหล่าบริการค้นหาทางออนไลน์เลยเสียด้วยซ้ำ ต้องเข้าใจว่า Microsoft นั้นชัดเจนว่าเกิดมาจาก Software ด้านองค์กร ไม่ว่าจะเป็น Windows หรือ ชุด Microsoft Office ซึ่งพวกเขาก็ขายกันไม่ทันอยู่แล้วแค่เพียง product สองตัวนี้

มันไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ ว่า Microsoft แทบไม่แยแสกับกระแสออนไลน์ บ้าเห่อ ของเหล่าบริษัทหน้าใหม่ในขณะนั้น เพราะมันมีจำนวนผู้ใช้งานเพียงน้อยนิด และยังไม่มีใครคิดว่าจะทำเงินจากมันได้อย่างไร

แต่ด้วยความเป็นยักษ์ใหญ่ จึงได้ทำการกระจายความเสี่ยงไว้ โดยในปี 1997 นั้น Microsoft ได้สร้างเว๊บท่าขนาดใหญ่ แต่จะใช้บริการค้นหาจริง ๆ ของอีกหนึ่งบริษัทคือ Inktomi ซึ่งตอนนั้นเริ่มทำบริการที่เป็นลักษณะเว๊บ Crawler เพื่อไปดึงดูดข้อมูลต่าง ๆ ทั่ว WWW มาทำ Index หรือดัชนี

Microsoft เริ่มต้นโปรแกรมค้นหาด้วยการพึ่งพา Inktomi
Microsoft เริ่มต้นโปรแกรมค้นหาด้วยการพึ่งพา Inktomi

แต่ Microsoft ก็ไม่ได้เพิ่มเทคโนโลยีการค้นหาที่วิเศษอะไรเลยให้กับ  Inktomi และไม่ได้จริงจังกับมันมากนักในขณะนั้น ทำให้หลาย ๆ บริการค้นหาในออนไลน์ในขณะนั้น แทบจะมีความสามารถไม่ต่างกัน

ซึ่งในรายปลายทศวรรษ 1990 แม้จะมี Search Engine มากมาย เช่น Yahoo , Altavista , Lycos , Excite , AOL , Infoseek แต่ดูเหมือนว่าเหล่า Search Engine เหล่านี้นั้น ไม่มีตัวไหนเลย ที่ทำให้เหล่าผู้บริโภคถูกใจและแก้ปัญหาสำคัญของเหล่า User เมื่อมาค้นหาได้

ตอนนี้ยังไม่มีใครที่เข้าใจอย่างลึกซึ้งจริง ๆ ในเรื่องการค้นหา ทำให้ผลการค้นหาไม่ได้ดั่งใจคนใช้งานเท่าที่ควร คือมีแค่ให้ใช้ แต่ไม่มีตัวไหนที่ประทับใจผู้ใช้งาน แม้กระทั่ง Microsoft เองก็ตามก็ยังไม่เข้าใจจริง ๆ ของความต้องการของ User

ซึ่งในช่วงเวลานั้นนั่นเอง ขณะที่เหล่าผู้ใช้งานกำลังเบื่อกับ โปรแกรมการค้นหาที่มีอยู่เต็มไปหมดในตลาด เพจและบริน ได้สร้างอัลกอริทึมสำหรับจัดลำดับเว๊บเพจที่เรียกว่า “PageRank” ภายใน Lab ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด

ซึ่งตอนนั้น พวกเขาทั้งสองเองก็ตามก็ยังไม่รู้เลยว่าสิ่งยิ่งใหญ่กำลังจะเกิดขึ้น การทดลองที่บังเอิญของพวกเขา สิ่งที่ทั้งสองต้องการนั่นคือ การนำไปสู่หัวข้อวิทยานิพันธ์ปริญญาเอก โดยใช้เพจแรงค์ กับ อินเตอร์เน็ต ซึ่งตอนแรกนั้น พวกเขาทั้งสองรวมถึง อาจารย์ที่ปรึกษาไม่ได้คิดถึงการสร้างโปรแกรมค้นหาเลยด้วยซ้ำ แต่เมื่อทำไประยะหนึ่ง กับพบกับความเป็นจริงที่ว่า สิ่งที่พวกเขาร่วมกันสร้าง มันได้ยิ่งใหญ่เกินกว่างานวิชาการเสียแล้ว จะเกิดอะไรขึ้นต่อไปหลังจากนั้น อย่าพลาดติดตามชมตอนหน้าครับผม

–> อ่านตอนที่ 2 : Google Search