เข้าสู่ Apple ยุคผลัดใบ เมื่อ Jony Ive เตรียมจากลา

Jony Ive ผู้นำด้านการออกแบบของ Apple กำลังจะออกจาก บริษัท ในปลายปีนี้หลังจากใช้เวลานานกว่าสองทศวรรษใน บริษัทจนทำให้ apple ยิ่งใหญ่ได้ถึงทุกวันนี้

Ive จะเริ่มธุรกิจออกแบบของตัวเองในนาม LoveFrom และเขาวางแผนที่จะทำงานอย่างใกล้ชิดกับ Apple ในฐานะลูกค้าแทน ตามการรายงานของ Financial Times ซึ่งเป็นสื่อแรกที่รายงานข่าวการจากไปของเขา โดยทางApple ยังไม่ออกมาให้ความเห็นใด ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้

ข่าวดังกล่าวสร้างความประหลาดใจเนื่องจาก Ive เป็นเสาหลักที่ยาวนานของ Apple ที่ช่วยบุกเบิกการออกแบบที่ทำให้ Apple เป็นหนึ่งใน บริษัท ที่ทำกำไรได้มากที่สุดในโลก – จาก iPhone ถึง iMac ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ Ive ได้ดูแลงานออกแบบที่ Apple และการเปิดสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ที่ชื่อว่า “spaceship”ในเมือง Cupertino รัฐแคลิฟอร์เนีย

“ หลังจากผ่านไปเกือบ 30 ปีและโครงการที่นับไม่ถ้วนผมภูมิใจในงานที่เราได้ทำเพื่อสร้างทีมงานออกแบบกระบวนการและวัฒนธรรมของ Apple  วันนี้ Apple มีความแข็งแกร่งแข็งแกร่งและมีความสามารถมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของ Apple เลยก็ว่าได้” Ive กล่าวในการแถลงบนเว็บไซต์ของ Apple

ความเคลื่อนไหวดังกล่าวอาจบ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ สำหรับรูปแบบธุรกิจที่เน้นฮาร์ดแวร์ในอดีตของ Apple  โดยเมื่อปีที่แล้วเป็นครั้งแรกในรอบ 16 ปีที่แอปเปิ้ลปรับลดการคาดการณ์รายได้ลง ; บริษัท บางส่วนของยอดขายฮาร์ดแวร์ที่ลดลงมาจากสงครามการค้าสหรัฐจีน

เมื่อเร็ว ๆ นี้ Apple มีความพยายามที่จะขยายช่องทางการหารายได้ของตนด้วยการเปิดตัวบริการใหม่ ๆ นอกเหนือไปจากผลิตภัณฑ์ฮาร์ดแวร์หลักเช่น  วิดีโอสตรีมมิ่ง

โดยจะยังไม่มีตัวแทนที่ทันทีสำหรับ Jony Ive แต่ VP of industrial design อย่าง Evans Hankey และ VP of human interface design อย่าง Alan Dye จะมีการรายงานตรงไปที่ Apple COO Jeff Williams แทน

“ Jony เป็นบุคคลสำคัญในโลกการออกแบบและบทบาทของเขาในการฟื้นฟู Apple ตั้งแต่ iMac ที่ก้าวล้ำในปี 1998 สู่ iPhone และความทะเยอทะยานที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนของ Apple Park   

Ive รายงานว่าจะให้ Apple เป็นลูกค้ารายแรกสำหรับกิจการใหม่ของเขาซึ่งเขามีเป้าหมายที่จะเริ่มมันในปี 2020

References : 
https://www.vox.com/recode/2019/6/27/18761773/jony-ive-design-legend-helped-create-iphone-leaving-apple?fbclid=IwAR3V3-J4MO2PtZuF6FYOvQ__pmWo020-tEOkkXtJZ59ekXJnT9zsPody0Hk

ประวัติ Steve Jobs ผู้สร้าง iPod ตอนที่ 11 : Welcome to the iPod era

จ๊อบส์ เผยโฉมเครื่อง iPod ครั้งแรก เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2001 ในงานเปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจนเป็นแบบฉบับของตัวเอง ในบัตรเชิญที่ส่งไปยังสื่อ นั้น มีข้อความยั่วยวนว่า “คำใบ้: คราวนี้ไม่ใช่ Mac” 

และเมื่อถึงเวลาเผยโฉมผลิตภัณฑ์ หลังจากบรรยายสมรรถนะทางเทคนิคแล้วจ๊อบส์ไม่ได้เดินไปเปิดผ้าคลุมกำมะหยี่บนโต๊ะ อย่างที่เคยทำในทุก ๆ ครั้งที่มีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ของ apple แต่เขาแค่พูดขึ้นว่า “ผมบังเอิญมีเจ้านี่อยู่ในกระเป๋า” เขาล้วงเอาอุปกรณ์สีขาววาววับออกจากกระเป๋ากางเกงยีนส์ “เจ้าเครื่องเล็ก ๆ น่าทึ่งนี่ จุเพลงได้ 1,000 เพลง และใส่กระเป๋าผมได้พอดี” เขาใส่มันกลับเข้าไปในกระเป๋า แล้วเดินลงจากเวทีท่ามกลางเสียงปรบมือเกรียวกราวจากเหล่าสาวก

นาที ที่จ๊อบส์ หยิบ เจ้า iPod ออกมาจากกระเป๋า
นาที ที่จ๊อบส์ หยิบ เจ้า iPod ออกมาจากกระเป๋า

ซึ่งในตอนแรกนั้นบรรดาสาวกแฟนพันธุ์แท้ทางเทคโนโลยีไม่ค่อยเชื่อราคาคุยของจ๊อบส์ สักเท่าไหร่ โดยเฉพาะการตั้งราคาไว้สูงถึง 399 เหรียญ ทำให้ชาวบล็อกต่างพากันไปเขียนล้อเลียนชื่อ iPod ย่อมาจาก “idiots price our devices” หรือแปลเป็นไทยว่า “คนปัญญาอ่อนเป็นคนตั้งราคาเครื่องให้เรา”

โดยที่วันวางจำหน่ายจริง ๆ ของ iPod ที่ออกสู่ตลาดคือ วันที่ 10 พฤศจิกายน ซึ่งเป็นหลังเหตุการณ์ 9-11 เพียงหนึ่งเดือน ช่างเป็นลางที่ไม่ดีเลยสำหรับ iPod และไม่เพียงแต่เป็นการออกสู่ตลาดหลังเหตุการณ์เศร้าโศกครั้งยิ่งใหญ่ของชาวอเมริกาเท่านั้น แต่ยังเป็นช่วงเวลาที่ตลาดเทคโนโลยีร่วงตกต่ำแบบสุด ๆ อีกต่างหาก

ไม่เพียงแค่ราคาที่แพงสุดกู่ มันยังต้องใช้คู่กับเครื่อง Macintosh เท่านั้นด้วย ซึ่งขณะนั้น Windows แทบจะครองตลาดแบบเบ็ดเสร็จ ในตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล

จุดอ่อนอย่างนึงคือ ใช้ได้กับ macintosh เท่านั้น
จุดอ่อนอย่างนึงคือ ใช้ได้กับ macintosh เท่านั้น

ไอฟฟ์ ได้กล่าวหลังจากเปิดตัว iPod ไว้ว่า  “apple นำปรัชญาด้านการออกแบบมาใช้กับผลิตภัณฑ์ที่เรายังไม่มี และ iPod ก็เป็ฯผลิตภัณฑ์ที่เราต้องการมาก ๆ เพื่อเปลี่ยนแปลง apple เข้าสู่ยุคใหม่อย่างแท้จริง” ซึ่งสิ่งสำคัญอย่างนึงก็คือ พนักงานของ apple นั้น บ้าดนตรีอยู่เป็นจำนวนมาก พนักงานส่วนใหญ่ต่างคลั่งไคล้ในเสียงดนตรี แม้ว่าสุดท้ายแล้วบทสรุป คือ การสร้างเครื่องเล่น mp3 ตัวใหม่ขึ้นมา แต่เป้าหมายสำคัญของ apple ไม่ใช่การหาเงิน เป้าหมายอยู่ที่การผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคที่โครตเจ๋งออกสู่ตลาด เพื่อให้สามารถทำเงินมหาศาลจากมันได้มากกว่า

นอกเหนือจากนั้น iPod ยังกลายเป็นแก่นสำคัญของทุกอย่างที่ apple ถูกชะตาได้กำหนดมาแล้ว ทั้งบทกวี ที่เชื่อมโยงกับวิศวกรรม ศิลปะ และ ความคิดสร้างสรรค์ มาบรรจบกับเทคโนโลยี การออกแบบที่กล้าแต่เรียบง่าย การใช้งานที่ง่ายมาก ๆ ซึ่งมันเป็นผลจากการทำงานอย่างหนัก และทำอย่างบูรณาการตั้งแต่ต้นจนจบ ตั้งแต่ FireWire ถึงตัวเครื่อง ซอฟต์แวร์ และการจัดการคอนเทนต์ เมื่อลูกค้าหยิบเครื่อง iPod ออกจากกล่อง มันสวยจนดูคล้ายเรืองแสงได้ เทียบกันแล้ว ดูเหมือนเครื่องเล่นเพลงยี่ห้ออื่น ๆ ถูกออกแบบและผลิตในดินแดนที่ล้าหลังเลยทีเดียว

ต้องยอมรับว่า ตอนนั้น iPod โครตที่จะสมบูรณ์แบบเลย มันแทบจะสุดยอดนวัตกรรมใหม่ ที่คนทั่วโลกต่างตื่นเต้นกับเจ้า iPod เครื่องนี้ และเพียงไม่นาน ผู้บริโภคก็ทำให้มันกลายเป็นสินค้าขายดี 

iPod กลายเป็นสินค้าขายดีแทบจะทันทีหลังจากวางขาย
iPod กลายเป็นสินค้าขายดีแทบจะทันทีหลังจากวางขาย

และมันส่งผลชัดเจนในเรื่องตัวเลข  ยอดขายในไตรมาสแรก หลังจากวางตลาดนั้นสูงถึง 250,000 เครื่อง และอีกสิบแปดเดือนต่อมา ยอดขายก็ทะยานเพิ่มขึ้นมากกว่า 800,000 เครื่อง ส่งผลให้ iPod เป็นเครื่องเล่นเพลงดิจิตอลที่ประสบความสำเร็จที่สุดในโลกทันที

ต้องบอกได้ว่า นับตั้งแต่เครื่อง Mac รุ่นแรกเป็นต้นมา ไม่มีครั้งใดที่ความชัดเจนเรื่องวิสัยทัศน์ด้านผลิตภัณฑ์ผลักดันให้บริษัทก้าวสู่อนาคตได้มากเท่าครั้งนี้ ทุกคนต่างกล่าวชื่นชม ทั้งสื่อต่าง ๆ ดารา Celebrity ต่างชอบ iPod โดยเฉพาะ ศิลปินชื่อดัง แทบจะทุกคนต้องมี iPod เป็นอุปกรณ์ประจำกาย

มันเห็นได้ชัดเจนว่า วิสัยทัศน์ของจ๊อบ ในเรื่องการ control ทั้ง ecosystem ของระบบ ทำทั้ง ฮาร์ดแวร์ , ซอฟต์แวร์ รวมทั้ง คอนเทนต์ นั้น ผลที่ตามมาก็คือ ทุก ๆ ส่วนของผลิตภัณฑ์ทำงานได้อย่างเข้ากันได้ดีมาก และมันสามารถที่จะควบคุมประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้ได้หมดทุกส่วน และทุกคนก็ตกหลุมรัก เจ้า iPod

ตอนหน้า จะเป็นตอนจบ ของ series ipod ชุดนี้แล้วนะครับ ต้องบอกว่ามันเป็นผลิตภัณฑ์ที่ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญที่สุดของ apple ในยุคใหม่เลยก็ว่าได้ เพราะหลังจากสร้าง iPod ได้สำเร็จ ก็ไม่มีอะไรที่ จ๊อบส์ คิดว่า เขาสร้างไม่ได้อีกแล้ว เพราะ iPod มันเป็นการฉีกกฏเกณฑ์ ของทุกอย่าง ทั้งเรื่องวิศวกรรม การดีไซต์ ซึ่งล้วนแล้วแต่ผ่านความยากระดับหิน ๆ มาได้สำเร็จแล้วแทบจะทั้งสิ้น บทสรุปของ series ชุดนี้จะเป็นอย่างไร โปรดอย่าพลาดติดตามในตอนหน้ากันนะครับผม

–> อ่านตอนที่ 12 : GoodBye iPod (ตอนจบ)

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :The Second Coming  *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

ประวัติ Steve Jobs ผู้สร้าง iPod ตอนที่ 10 : The Whiteness of the Whale

ผลงานอันโดดเด่นของ ไอฟฟ์ ในการ ดีไซต์ นั้นมันเห็นผลอย่างชัดเจนกับ iMac หลากสีสัน ที่ออกสู่ตลาดในปี 1998 ใช้เวลาเพียงหยุดสัปดาห์แรกเท่านั้น ก็สามารถทำยอดขายได้สูงเกิน 150,000 เครื่อง ด้วยโครงสร้างเครื่องที่โค้งลงตัว และดูแปลกแหวกแนวกว่าคอมพิวเตอร์ที่มีขายทั่วไปในตลาดอย่างชัดเจน

ไม่เพียง iMac จะตีรูปแบบคอมพิวเตอร์แบบเดิมให้แตกกระเจิงเท่านั้น ยังสร้าง คาแร็กเตอร์ ของตนเองขึ้นมาใหม่ เป็นคาแร็กเตอร์ที่คูลสุด ๆ มันทำให้ iMac นั้นไม่ใช่ พีซี ไม่ใช่เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ผลิตโดย Microsoft แถมการอัดแคมเปญโฆษณา “Chick , not Greek” ระดับ High Profile ส่งให้ผลให้ iMac ทะยานเป็นคอมพิวเตอร์ที่ขายดีที่สุดในอเมริการทันที

งานดีไซน์ ของ ไอฟฟ์ ประสบคามสำเร็จอย่างสูงกับ iMac
งานดีไซน์ ของ ไอฟฟ์ ประสบคามสำเร็จอย่างสูงกับ iMac

และการดีไซต์ iPod ให้ได้อยู่ในแถวหน้าระดับเดียวกับ iMac ที่ประสบความสำเร็จ นั้น  ก็ต้องถูกบรรจงสรรสร้างงานดีไซต์ โดย ไอฟฟ์ เช่นเดียวกัน  และ ไอฟฟ์ กำลังทราบดีว่าตนกำลังดีไซต์เครื่องเล่นเพลงเครื่องแรกที่เป็นตัวการสำคัญที่สุดในศตวรรษที่ 21 ซึ่งสำคัญแท้ทั้งในด้านการใช้งาน และ การปฏิวัติอุตสาหกรรมเพลงไปตลอดกาล

งานทางด้านวิศวกรรมนั้น เป็นหน้าที่ของ ฟาเดลล์ แต่สิ่งสำคัญที่สุดของ iPod ที่จะทำให้แตกต่างจากเครื่องเล่น MP3 ที่มีในตลาดได้ คือ งานด้านการ Design ผลิตภัณฑ์ ซึ่ง ไอฟฟ์ เข้ามารับหน้าที่สานงานดังกล่าว ต่อ จาก ฟาเดลล์

จ๊อบส์ นั้น ต้องการผลิตภัณฑ์ ที่ดูเป็นธรรมชาติ และเห็นแล้วอยากเป็นเจ้าของทันที รวมถึงใช้งานง่ายในแบบที่ใครก็คิดไม่ถึงว่าจะ ดีไซน์ออกมาได้ และ ยังยืนยันว่าต้องเป็นสีขาว สีขาวในแบบของ Apple ซึ่งแตกต่างจากใคร

ไอฟฟ์ เล่นกับโมเดล เครือง iPod ที่ทำจากโฟม และพยายามนึกว่าเครื่องที่เสร็จแล้วนั้น จะมีหน้าตาอย่างไร เช้าวันหนึ่งระหว่างขับรถจากบ้านแถบซานฟรานซิสโก เขาก็เกิดความคิดว่าด้านหน้าของ iPod ควรเป็นสีขาวบริสุทธิ์ ซึ่ง เป็นแนวคิดเดียวกับจ๊อบส์ และต้องเชื่อมติดกับฝาหลังเหล็กกล้ากันสนิมขัดมันอย่างแนบเนียนไร้รอยต่อ

และที่สำคัญ มันต้องทำจากการฉีดพลาสติกสองชั้น ซึ่งถือเป็นกรรมวิธีการผลิตของจากพลาสติก ที่ไม่เคยมีบริษัทใดทำมาก่อน ในการหล่อพลาสติกครั้งที่สองนั้น เป็นการขึ้นแม่พิมพ์ที่ใช้วัสดุต่างประเภทกัน อาจเป็นชนิดพลาสติกที่แตกต่างกัน หรือ ใช้พลาสติกเชื่อมกับโลหะ ซึ่งกรรมวิธีเช่นนี้เป็นการเปิดโอกาสให้วิศวกร ได้คิดค้นความเป็นไปได้ในการวางแบบแม่พิมพ์และกระบวนการทำงานอย่างที่ไม่เคยที่จะปรากฏมาก่อนในตำราไหนๆ  iPod ต้องไม่มีสลักและช่องใส่แบตเตอรี่

และสีขาวที่เขาจะใช้ไม่ใช่ขาวแบบธรรมดา แต่เป็นขาวบริสุทธิ์ และ ไม่ใช่แค่เพียงตัวเครื่องเท่านั้น แต่ หูฟัง สาย และแท่งแบตเตอรี่ก็ต้องเป็นสีขาวด้วยเหมือนกัน แม้จะมีทีมงานหลายคนเถียงว่า หูฟังนั้น ต้องเป็นสีดำเหมือนหูฟังทั่วไป แต่จ๊อบส์ เข้าใจทันที และยอมให้ใช้สีขาวอย่างเต็มใจ และ การที่สายหูฟังมีสีขาว จะทำให้ iPod กลายเป็นไอคอน ที่มีความเป็นเอกลักษณ์ แตกต่างจากผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่มีอยู่ในตลาด ผู้คนจะรู้ทันทีว่านี่คือ iPod

สีขาวทั้งตัวเครื่องรวมถึงหูฟัง ที่เป็นเอกลัษณ์ที่สำคัญของ iPod
สีขาวทั้งตัวเครื่องรวมถึงหูฟัง ที่เป็นเอกลัษณ์ที่สำคัญของ iPod

ทีมโฆษณา ของ ลี คลาว ที่ TBWA\Chiat\Day อยากฉลองความเป็นไอคอนแลความขาวของเครื่อง iPod แทนที่จะทำโฆษณาเปิดตัวสินค้าโดยเน้นองค์ประกอบของอุปกรณ์เป็นหลัก แบบที่ทำกันทั่วไปในตลาด

เจมส์ ิวินเซนต์ หนุ่มอังกฤษ ร่างผอมสูง ซึ่งเคยเป็นสมาชิกวงดนตรี และเคยเป็นดีเจมาก่อน จะมาทำงานกับเอเยนซี่แห่งนี้ เป็นตัวเลือกที่เหมาะมากสำหรับการทำให้โฆษณา ของ apple โดนใจกลุ่มเป้าหมายคนรุ่นใหม่ที่รักเสียงเพลง ลี คลาว ได้ร่วมงาน กับ ซูซาน อลินซันกัน อาร์ต ไดเร็กเตอร์ ออกแบบบิลบอร์ดโฆษณา และ โปสเตอร์ สำหรับ iPod แล้วนำผลงานการออกแบบทั้งหมด ไปให้จ๊อบส์ดูในห้องประชุม

ด้านขวาสุดของโต๊ะ ทีมโฆษณา วางเลย์เอาต์งานที่ออกแบบตามแนวดั้งเดิมที่สุด เป็นรูปถ่ายเครื่อง iPod บนพื้นแบ็กกราวด์สีขาว เรียบง่าย และ มีความตรงไปตรงมา ด้านซ้ายสุด เป็นโฆษณา ที่ใช้ กราฟฟิก และสัญลักษณ์เข้ามาช่วยให้มากที่สุด เป็นร่างเงาทึบของใครบางคนกำลังเต้นตามจังหวะเพลงจากเครื่อง iPod อย่างสนุกสนาน จนสายหูฟังพลิ้วไหวไปตามจังหวะเพลง 

กราฟฟิก โฆษณา ที่สุดแหวกแนว เป็นชิ้นที่คลาสสิกที่สุดชิ้นนึงของ apple
กราฟฟิก โฆษณา ที่สุดแหวกแนว เป็นชิ้นที่คลาสสิกที่สุดชิ้นนึงของ apple

จ๊อบส์ ไปประดับใจตอนแรกที่เห็น เพราะไม่ได้โชว์ตัวสินค้า และก็ไม่ได้บอกด้วซ้ำว่ามันคืออะไร วินเซนต์ จึงเสนอให้เติมข้อความตบท้ายเข้าไปว่า “1,000 เพลงในประเป๋าคุณ” เท่านี้ก็สื่อความได้ครบทุกอย่างที่จ๊อบส์ต้องการ

จ๊อบส์ นั้น รู้ดีว่าการที่ apple มีระบบบูรณาการที่เอาทั้ง คอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และ อุปกรณ์พกพาเข้าด้วยกัน ยังมีข้อได้เปรียบอีกอย่างหนึ่ง คือ ยอดขาย iPod จะช่วยหนุดยอดขายเครื่อง iMac ซึ่งแปลว่าสามารถโยกงบโฆษณา 75 ล้านเหรียญ ที่ apple จัดไว้สำหรับโฆษณา iMac ไปใช้กับโฆษณา iPod และได้ผลตอบแทนเป็นสองเท่าสำหรับเงินที่ใช้โฆษณาเท่าเดิม หรือ อาจจะเป็นสามเท่าก็ได้ เพราะโฆษณา iPod จะช่วยเพิ่มราศี และ ความสดใหม่ให้กับแบรนด์ apple

การค้นหาเพลงเพื่อมาประกอบภาพยนต์โฆษณา นั้น เป็นเรื่องที่สนุกลำดับต้น ๆ ในกระประชุมเรื่องโฆษณา ของ iPod อย่างที่หลายคนรู้กันว่า จ๊อบส์ นั้นชอบศิลปิน อย่าง บ๊อบ ดีแลน หรือ ศิลปิน เก่า ๆ ในยุคเขา แต่การจะโฆษณา ให้เข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่เป็นเป้าหมายหลักของ iPod ต้องเป็นเพลงที่นำยุคสมัย

ซึ่งโฆษณา ของ iPod นั้นทำให้เกิดวงดนตรีหน้าใหม่หลายวงเลยทีเดียว ที่โดดเด่นที่สุดน่าจะเป็น วง Black Eyed Peas เจ้าของเพลง “Hey Mama” ซึ่งใช้ประกอบโฆษณาชิ้นที่คลาสสิกที่สุดในกลุ่มที่ใช้ภาพเงาทึบ

ถึงตอนนี้ จ๊อบส์ นั้นโครตมั่นใจกับผลิตภัณฑ์ตัวนี้มาก เขาเที่ยวบอกใครต่อใคร ถึงคุณสมบัติที่สุดเจ๋งของมัน  เครื่องเล่นเพลงที่จะมาเป็นตัวกำหนดตลาด เครื่องเล่นที่สามารถเก็บเพลงทุกเพลงที่มีไว้เพื่อฟัง เป็นเครื่องที่ใช้ง่าย ทั้งยังต้องเป็นสิ่งที่มีคุณภาพสุดยอดแบบ Apple อีกด้วย และ ตอนนี้มันก็พร้อม ที่จะเปิดเผยตัวต่อชาวโลกแล้ว จะเกิดอะไรขึ้น กับ iPod สินค้านวัตกรรมตัวใหม่ของ apple และเป็นสินค้าที่ apple ไม่เคยทำมาก่อน เป็นการฉีก Apple ออกจากกฏเกณฑ์เดิม ๆ ที่เคยมีมา แล้วชาวโลกล่ะ จะคิดยังไงกับ iPod โปรดติดตามตอนต่อไป

–> อ่านตอนที่ 11 : Welcome to the iPod era

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :The Second Coming  *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

ประวัติ Steve Jobs ผู้สร้าง iPod ตอนที่ 6 : The Magical Port

ไม่ว่าจะเป็นในยุคไหน หรือ สมัยใดก็ตาม เวลาของมนุษย์เรานั้น ก็มีเพียงแค่ 24 ชั่วโมงเท่าเดิม และทุก ๆ คนนั้นมีเวลาเท่าเทียมกัน มันเป็นกฏเกณฑ์ของธรรมชาติ ที่ไม่มีใครสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงความจริงในข้อนี้ได้

หากเราย้อนเวลากลับไปในช่วงยุคปลายของ ค.ศ. 1990 การถ่ายโอนข้อมูลต่าง ๆ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์นั้น โดยเฉพาะข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ อย่าง ข้อมูลเพลง รูปภาพ หรือ วีดีโอ มันต้องใช้เวลานานมาก ๆ กับการที่ผู้คนจะนำเอาข้อมูล ดิจิตอล ไลฟ์สไตล์ เหล่านี้ลงไปยังคอมพิวเตอร์

และแทบไม่ต้องพูดถึงการ upload ขึ้นระบบ internet ซึ่งยุคนั้น ยังเป็นช่วงที่ใหม่มากสำหรับ internet บริษัทอย่าง google ก็เพิ่งเปิดตัวมาได้ไม่นาน ยังไม่ได้ใช้งานแพร่หลายทั่วโลกเหมือนปัจจุบัน  แทบจะยังไม่มีการใช้งาน internet แบบ hi-speed มีคนไม่มากนักที่จะได้เข้าถึง internet การใช้งานส่วนใหญ่เป็นการเชื่อมต่อผ่าน modem ที่มีความเร็วเพียง 56kbps ซึ่งถ้าเทียบกับปัจจุบัน ที่มีความเร็วระดับ 100 Mbps ใช้กันทั่วบ้านทั่วเมืองนั้น ต้องบอกว่ามันแตกต่างกันมาก ๆ แบบเทียบกันไม่ติด

ในยุคนั้นยังใช้ internet ผ่าน modem ความเร็ว 56kbps
ในยุคนั้นยังใช้ internet ผ่าน modem ความเร็ว 56kbps

วิสัยทัศน์ของ จ๊อบส์ ที่ว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลสามารถที่จะผันตัวไปเป็น ดิจิตอลฮับส่วนตัวได้นั้น มันเริ่มต้นมาจากเทคโนโลยีที่ชื่อ FireWire ที่ apple ได้พัฒนาขึ้นในต้นทศวรรษ 1990 

FireWire เป็นซีเรียลพอร์ต ที่สามารถจะถ่ายโอนข้อมูลขนาดใหญ่ เช่น ไฟล์ วีดีโอ จากอุปกรณ์หนึ่ง ไปยังอีกอุปกรณ์หนึ่งด้วยความเร็วสูง ซึ่งในตอนนั้น ผู้ผลิตกล้องหลายรายในญี่ปุ่น เลือกจะนำเอาเทคโนโลยีนี้ไปใช้ และ จ๊อบส์ นั้นก็ได้ตัดสินใจที่จะบรรจุ FireWire Port นี้ไปในเครื่อง iMac เวอร์ชั่น ที่จะออกตลาดในเดือน ตุลาคม ปี 1999

FireWire Port ที่สามารถ transfer ข้อมูลได้เร็วถึง 400 Mbps
FireWire Port ที่สามารถ transfer ข้อมูลได้เร็วถึง 400 Mbps

ในตอนนั้น iMac ยังขาดซอฟต์แวร์ ตัดต่อวีดีโอชั้นเยี่ยม จ๊อบส์ จึงได้โทรติดต่อไปหาเกลอเก่าที่ Adobe บริษัทดิจิตอลกราฟิก ที่เขาช่วยให้สามารถแจ้งเกิดได้ เพื่อขอให้ Adobe ช่วยพัฒนาซอฟต์แวร์ Adobe Premiere ซึ่งขณะนั้น กำลังเป็นที่นิยมมากในหมู่ผู้ใช้งาน Windows ของ Microsoft

และเนื่องจาก ผู้ใช้ Mac ในขณะนั้น ยังมีน้อยเกินไป ทางผู้บริหารของ Adobe จึงปฏิเสธจ๊อบส์ อย่างไม่ใยดี ยิ่งกว่านั้น ยังปฏิเสธ ไม่ยินยอมเขียนโปรแกรมยอดฮิต อย่าง Photoshop และ Quark สำหรับระบบปฏิบัติการ Mac OSX แม้ว่าตัวเครื่อง Macintosh นั้นจะเป็นที่นิยมในหมู่นักออกแบบ และคนทำงานด้านครีเอทีฟ ที่ล้วนเป็นผู้ใช้งานหลักของ ซอฟต์แวร์เหล่านี้ก็ตาม มันทำให้จ๊อบส์ โมโหมาก และ รู้สึกเหมือนกำลังถูกหักหลัง เพราะเค้าเป็นคนเปิดโอกาสให้ Adobe ได้แจ้งเกิดในช่วงแรก ๆ ของการก่อตั้งบริษัท

และการถูกปฏิเสธครั้งนี้ ทำให้ จ๊อบส์ ได้รับบทเรียนที่สำคัญ คือ ไม่ควรไปทำธุรกิจใด ๆ โดยไม่สามารถควบคุมทั้งฮาร์ดแวร์ และ ซอฟต์แวร์ ไม่อย่างงั้นจะเจ็บตัวทุกที ซึ่งแนวคิดดังกล่าวก็ยังสืบทอดจนมาถึงปัจจุบัน ที่ apple มักจะ control ecosystem ของตัวเองไว้ทุกอย่าง

ดังนั้น ตั้งแต่ปี 1999 เป็นต้นมา apple จึงได้เริ่มสร้างซอฟต์แวร์สำหรับเครื่อง Mac ด้วยตัวเอง โดยกลุ่มเป้าหมายของ apple คือ กลุ่มคนที่อยู่ ณ จุดบรรจบระหว่างศิลปะ กับ เทคโนโลยี ซึ่ง ซอฟต์แวร์ เหล่านี้ประกอบไปด้วย Final Cut Pro สำหรับตัดต่อวีดีโอสำหรับมืออาชีพ iMovie ซึ่งทำหน้าที่คล้าย ๆ กัน แต่ใช้สำหรับผู้บริโภคทั่วไป iDVD สำหรับบันทึกวีดีโอ หรือ เพลงลงแผ่น CD , iPhoto ซึ่งตั้งใจออกมาแข่งกับ Adobe Photoshop โดยตรง  GarageBand สำหรับทำเพลงและมิกซ์เพลง และสุดท้ายและสำคัญอย่างยิ่งต่ออุปกรณ์เครื่องเล่นเพลงแบบพกพาตัวใหม่ของ apple คือ iTunes ที่ใช้สำหรับจัดระเบียบไฟล์เพลง ซึ่งมี iTunes Store สำหรับใช้ในการซื้อเพลงแบบดิจิตอล

ชุด ซอฟต์แวร์สามัญประจำเครื่อง mac ที่ apple ต้องสร้างขึ้นมาเองทั้งหมด
ชุด ซอฟต์แวร์สามัญประจำเครื่อง mac ที่ apple ต้องสร้างขึ้นมาเองทั้งหมด

ซึ่งเครื่องมือต่าง ๆ เหล่านี้นั้น ทำให้คนสามารถสร้างสรรค์งานที่แสดงออกถึงตัวตนได้ และสร้างสิ่งที่มีความหมายทางอารมณ์ และมันกำลังจะทำให้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งนึงเลยทีเดียว

และมีเพียง apple บริษัทเดียวเท่านั้น ที่อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะที่สุดที่จะทำงานนี้ คู่แข่งอย่าง Microsoft นั้นผลิตเพียง ซอฟต์แวร์เพียงอย่างเดียว ส่วน Dell และ Compaq นั้นผลิตฮาร์ดแวร์ Sony นั้นทำอุปกรณ์ดิจิตอลหลากหลายประเภทไปหมด ส่วน Adobe นั้นทำได้เพียงพัฒนาแอพพลิเคชันมากมายเท่านั้น

แต่มีเพียง apple เท่านั้น ที่ทำทุกอย่างที่กล่าวมาได้ apple เป็นบริษัทเพียงแห่งเดียวที่เป็นเจ้าของหมดทุกอย่าง ทั้ง ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และ ระบบปฏิบัติการ ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลทำให้ apple นั้นสามารถที่จะ control ประสบการณ์ของผู้ใช้งานได้อย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นสิ่งที่บริษัทอื่นทำไม่ได้อย่างที่ apple ทำอย่างแน่นอน

apple สามารถควบคุมได้หมดทั้ง ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และระบบปฏิบัติการ
apple สามารถควบคุมได้หมดทั้ง ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และระบบปฏิบัติการ

แม้มีสิ่งนึง ที่จ๊อบส์มองพลาดไป คือ ในช่วงนั้น HP และ บริษัทอื่นอีก 2-3 บริษัท กำลังผลิตไดร์ฟ ที่สามารถเบิร์นซีดีเพลงได้ แต่จ๊อบส์นั้นยืนกรานอย่างหนักแน่นให้กำจัดดิสก์ไดร์ฟ แบบถาดที่ดูน่าเกลียดเหล่านี้ออกจากเครื่อง iMac แล้วใส่ไดร์ฟแบบสอดแผ่นซีดีเข้าไปแทน ซึ่งมันทำให้ไม่สามารถใส่ไดร์ฟ ที่สามารถเบิร์นซีดีเพลงลงไปได้ในเครื่อง iMac 

แต่คุณสมบัติของบริษัทที่สร้างนวัตกรรม ไม่ได้อยู่เพียงแค่การสร้างไอเดียใหม่ ๆ เป็นรายแรกเพียงอย่างเดียวเพียงเท่านั้น แต่อยู่ที่การรู้ว่า เมื่อตกเป็นฝ่ายตามหลัง จะต้องทำอย่างไรถึงจะกระโดดข้ามคู่แข่งได้ด้วยต่างหาก

และแน่นอน การที่จะกระโดดข้ามคู่แข่งที่นำหน้าไปได้แล้ว นั้นจ๊อบส์ ก็ต้องทำทุกอย่างเพื่อให้ บริษัทมาอยู่ในลู่วิ่งของการแข่งขันอีกครั้ง ตอนนั้น ถือว่ายังไม่มีใครที่สามารถคลองตลาดแบบเบ็ดเสร็จได้อย่างชัดเจน และเขาก็เริ่มจะตระหนักได้แล้วว่า ในไม่ช้าเพลงจะกลายเป็นธุรกิจขนาดใหญ่มหึมา เนื่องมาจาก หลังจากปี 2000 คนคัดลอกเพลงจากซีดีใส่คอมพิวเตอร์ หรือ ดาวน์โหลดจากบริการแชร์ไฟล์เพลงอย่าง Napster แล้วบันทึกเพลงที่น่าสนใจลงใน CD แผ่นเปล่าๆ   กันอย่างแพร่หลาย แล้ว จ๊อบส์ จะทำอย่างไรกับ ตลาดใหม่ ที่กำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งเป็นตลาดที่คาดว่าจะใหญ่โต และเติบโตอย่ารวดเร็วที่สุดตลาดหนึ่งของโลกเรา  จ๊อบส์จะทำอย่างไรกับธุรกิจเพลงนี้ โปรดติดตามตอนต่อไป

อ่านตอนที่ 7 : iTunes

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :The Second Coming  *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ