Virtual Reality กับการช่วยรักษาโรคทางพันธุกรรม

ทีมนักวิจัยได้พัฒนาวิธีการใช้ Virtual Reality Headsets เพื่อดูแบบจำลองข้อมูลพันธุกรรมแบบ 3 มิติ ซึ่งเป็นการจำลองรวบรวมข้อมูลจากการหาลำดับจีโนม , DNA โดยนำข้อมูลมาจากกล้องจุลทรรศน์

“ โดยการรวมข้อมูลลำดับจีโนมกับข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิสัมพันธ์ของยีน เราสามารถสร้างแบบจำลอง 3 มิติที่แสดงให้เห็นว่าองค์ประกอบด้านจัดระเบียบของยีนนั้นสัมพันธ์กันหรือไม่” ศ. จิม ฮิวจ์ รองศาสตราจารย์ด้าน Genome Biology จาก Oxford University ได้กล่าวในการแถลงข่าว  “ มันทำให้ง่ายต่อการเข้าใจกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต”

แต่ละเซลล์ของทั้งหมดที่มีจำนวน 37 ล้านล้านเซลล์ในร่างกายมนุษย์ที่เป็นผู้ใหญ่ จะมี DNA ขนาดสองเมตรแฝงอยู่ภายในนิวเคลียส เรามีความสามารถในการลำดับดีเอ็นเอมานานมากแล้ว

แต่หากเราใช้เทคโนโลยี VR มาช่วยให้สามารถเห็นภาพการจัดเรียงแบบเฉพาะ ก็อาจทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในการค้นหาข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญเกี่ยวกับโรคทางพันธุกรรมของมนุษย์เพราะมนุษย์นั่นเอง

นักวิจัยกำลังใช้เทคนิคการสร้างภาพโดยใช้เทคโนโลยี VR เพื่อศึกษาโรคเบาหวานโรคมะเร็งและเส้นเลือดตีบ โดยเป้าหมายระยะยาวของโครงการนี้จะช่วยให้ความพยายามในการสร้างวิธีการแก้ไขยีนที่ผิดปกติและทำการแก้ไขมัน เพื่อให้มนุษย์ปราศจากโรคภัยร้ายแรงดังกล่าวในอนาคตได้อย่างยั่งยืนนั่นเอง

References : 
https://futurism.com