ประวัติ Jeff Bezos แห่ง Amazon ตอนที่ 5 : Growth Fund

ต้องบอกว่าการเติบโตของ amazon.com เป็นไปอย่างน่าสนใจมากกับเว๊บไซต์เกิดใหม่ ที่ขณะนั้นเกิดขึ้นเป็นดอกเห็ด พร้อมกับการเติบโตของผู้ใช้ internet  แต่ปัญหาที่สำคัญของ amazon คือ เงินทุน ที่ไม่เพียงพอรองรับการเติบโตแบบก้าวกระโดดดังกล่าวได้

แรกเริ่มเดิมทีนั้น เจฟฟ์ ใช้เงินทุนส่วนตัวรวมถึงเงินจากครอบครัว เพื่อใช้ในการบริหารธุรกิจ amazon ในช่วงแรก แต่มันก็หมดไปอย่างรวดเร็ว การเติบโตมาพร้อมกับ ค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นเป็นอย่างมากทั้งทางด้านการ operation รวมถึงการจ้างพนักงานที่ต้องเพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว

และเจฟฟ์ ก็ต้องโทรไปหามหามิตรเก่าอย่าง นิก แฮนนาเออร์ ซึ่งเป็นหนึ่งที่ได้ชักชวนเจฟฟ์มาตั้งธุรกิจที่ซีแอตเทิล แฮนนาเออร์นั้นได้ทำการรวบรวมทุนจากเหล่าบรรดาเศรษฐีในเมืองซีแอตเทิลให้มาร่วมลงทุนใน amazon โดยระดมทุนได้ประมาณ 981,000 เหรียญ 

amazon เติบโตอย่างรวดเร็วทำให้ต้องการทุนเพิ่ม เพราะรองรับคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นไม่ทัน
amazon เติบโตอย่างรวดเร็วทำให้ต้องการทุนเพิ่ม เพราะรองรับคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นไม่ทัน

ตอนนี้ชื่อของ amazon เริ่มดังกระฉ่อนไปไกลถึงซิลิกอน วัลเลย์แล้ว และ นักลงทุนที่เก่งที่สุดใน ซิลิกอน วัลเลย์ ในขณะนั้นก็คือ จอห์น ดูเออร์ แห่ง KPCB ที่เริ่มหันเหความสนใจที่จะมาลงทุนใน amazon รวมถึง บริษัทด้านการลงทุนยักษ์ใหญ่อย่าง เจเนอรัล แอตแลนติก ก็สนใจใน amazon เช่นกัน

เริ่มมีการประเมินมูลค่าใน amazon จากบริษัทลงทุนยักษ์ใหญ่เหล่านี้ KPCB นั้นประเมิน มูลค่า amazon ไว้ที่ 60 ล้านเหรียญ ส่วน เจเนอรัล แอตแลนติก ได้ประเมินไว้ประมาณ 50 ล้านเหรียญ แม้เจฟฟ์ จะพยายามต่อรองจนในที่สุด ได้มูลค่าสูงถึง 60-70 ล้านเหรียญ

มันเริ่มมีการแข่งขันกันอย่างบ้าคลั่งในการเข้าร่วมลงทุนใน amazon เจฟฟ์ถือได้ว่าเป็นต่อเล็กน้อย เมื่อ amazon กำลังเนื้อหอม รวมถึงการเจริญเติบโตของ amazon ก็สูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด

มันเป็นนิสัยสำคัญอย่างนึงในการประเมินเรื่องต่าง ๆ ก่อนที่จะตัดสินใจสำหรับเจฟฟ์ ในทุก ๆ ครั้ง เขาได้วิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนในการเลือกบริษัทที่จะมาลงทุนด้วย แม้เจเนอรัล แอตแลนติกจะให้เงินที่สูงกว่า แต่จากการวิเคราหะ์ผลดีผลเสียทุกอย่างแล้ว  เจฟฟ์ รู้สึกว่าชื่อเสียงของ จอห์น ดูเออร์ แห่ง KPCB นั้นดูจะคุ้มค่ากว่า โดย KPCB เสนอเงิน 8 ล้านเหรียญแลกกับหุ้นราว ๆ 13% ของ amazon จึงตัดสินใจร่วมทุนกับ KPCB ในที่สุด

ตัดสินใจร่วมกับ KPCB ของ จอห์น ดูเออร์ เพราะเชื่อมั่นใจศักยภาพ
ตัดสินใจร่วมกับ KPCB ของ จอห์น ดูเออร์ เพราะเชื่อมั่นใจศักยภาพ

แต่หลังจากได้เงินทุนนั้น เขาปรับกลยุทธ์ ของ amazon แทนที่จะเริ่มหากำไรจากบริษัท แต่เขาจะทำการทุ่มเงินในการเพิ่มกำลังคน เทคโนโลยีใหม่ ๆ รวมถึง ทางด้านการตลาดแทน เขามองว่าใครก็ตามที่สามารถยึดส่วนแบ่งการตลาดได้แบบเบ็ดเสร็จเป็นรายแรกนั้น จะอยู่ในจุดที่ได้เปรียบที่สุด และยากที่จะโค่นลงได้ ถึงตอนนี้ภารกิจหลักของเจฟฟ์ คือ เติบโตให้เร็วที่สุดเพียงเท่านั้น

และการเติบโตอย่างรวดเร็วแบบฉุดไม่อยู่ของ amazon ทำให้ เพียงแค่ 1 ปีหลังจากนั้นในเดือน พฤษภาคมปี 1997 เขาก็ได้นำหุ้น amazon ออกขายสู่สาธารณะด้วยราคา 18 เหรียญต่อหุ้น ก่อนจะระดมทุนเพิ่มได้อีก 54 ล้านเหรียญ ทำให้มูลค่าของ amazon นั้นพุ่งขึ้นไปถึง 429 ล้านเหรียญ ภายในเวลาปีเดียวเพียงเท่านั้น 

ออก IPO ขายหุ้นให้กับสาธารณชนภายในปีเดียว
ออก IPO ขายหุ้นให้กับสาธารณชนภายในปีเดียว

และหนึ่งปีหลังจากการขายหุ้นต่อสาธารณชน หุ้นของ amazon ขึ้นไปแตะหลัก 105 เหรียญ ทำให้มูลค่าของ amazon ขึ้นไปสูงถึง 5,000 ล้านเหรียญ ซึ่งถึงตอนนี้กลายเป็นว่า มูลค่าของ amazon นั้นได้สูงกว่า มูลค่าจากการประเมินของ บาร์นส์แอนด์โนเบิลและบอร์เดอร์ เครือข่ายร้านหนังสือยักษ์ใหญ่ของอเมริกา รวมกันเสียอีก

แม้สถานะทางการเงิน amazon จะขาดทุนอยู่กว่า 30 ล้านเหรียญนับตั้งแต่วันที่เปิดขายหุ้น  แต่ตอนนี้ amazon ได้นำเงินจากการระดมทุน ไปพัฒนาเว๊บไซต์ รวมถึง จ้างนักบริหารมืออาชีพเข้ามาร่วม มันจึงทำให้ amazon กลายเป็นเว๊บไซต์เชิงพาณิชย์ระดับโลกไปแล้ว

แบรนด์ของ amazon นั้นแข็งแกร่งเป็นอย่างมาก เนื่องจากเปิดตัวมาก่อนใครเพื่อน ผู้คนต่างจดจำ แบรนด์ของ amazon ได้มากขึ้นเรื่อย ๆ แม้จะมีปริมาณหนังสือในคลังสินค้าน้อย แต่ สถิตินั้นบ่งบอกถึงประสิทธิภาพของการบริหารของเจฟฟ์ โดยสามารถทำยอดขายได้ถึง 300,000 เหรียญต่อพนักงาน amazon 1 คน ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงมากเมื่อเทียบกับร้านหนังสือแบบเก่า โดยสูงถึงกว่า 3 เท่า และมันยิ่งทำให้เป็นที่ดึงดูดใจเหล่านักลงทุนเพิ่มมากขึ้น และคอยผลักดันให้ราคาหุ้นของ amazon ถีบตัวสูงขึ้นไปเรื่อย  ๆ

ประสิทธิภาพของพนักงาน amazon สามารถทำรายได้สูงกว่าพนักงานร้านหนังสือถึง 3 เท่า โดยเฉลี่ย
ประสิทธิภาพของพนักงาน amazon สามารถทำรายได้สูงกว่าพนักงานร้านหนังสือถึง 3 เท่า โดยเฉลี่ย

เรียกได้ว่า amazon เป็นเว๊บไซต์แรกที่ทำการปฏิวัติรูปแบบการค้าปลีก ผู้คนหลงรักเว๊บไซต์แห่งนี้ ความใส่ใจในรายละเอียดของเจฟฟ์ รวมถึงนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่มีการพัฒนาขึ้นตลอดเวลาเพื่อตอบโจทย์การใช้งานของลูกค้า  มันทำให้เป็นที่ถูกอกถูกใจของลูกค้าเป็นอย่างมาก เมื่อหนังสือทุกเรื่องอยู่ใกล้เพียงแค่ปลายนิ้ว แถมบทวิจารณ์ที่เขียนโดยผู้อ่านยังดึงลูกค้าเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์กับเว๊บไซต์ได้ดีอีกด้วย

และแนวทางสร้างการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยไม่มุ่งหวังกำไรมันกลายเป็นแนวทางที่บริษัท internet หรือ บริษัทเทคโนโลยีอื่น ๆ แทบทุกแห่งตามไปใช้กันหมด มันเป็นหัวใจหลักของตลาดดอทคอมในยุคปลายปี 1990 เลยทีเดียว amazon จึงกลายเป็นบริษัท internet แห่งแรกที่ปฏิวัติอุตสาหกรรมให้ต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง

–> อ่านตอนที่ 6 : Let’s Expand

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 : My name is Jeff Bezos *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ