SpaceX เตรียมเปิดบริการ ‘RideShare’ สำหรับกระสวยอวกาศ

SpaceX กำลังสร้างข้อเสนอด้วยตัวเลือกใหม่ในราคาที่ไม่แพง และสอดคล้องกับรูปแบบธุรกิจใหม่ ๆ มากขึ้น สำหรับผู้ให้บริการดาวเทียมขนาดเล็กที่ต้องการเพิ่มน้ำหนักบรรทุกขนาดเบาลงสู่วงโคจรโลก

ข้อเสนอบริการใหม่นี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อทำงานให้กับลูกค้าที่สามารถใช้ประโยชน์จากการเปิดตัว “rideshare” โดยแบ่งปันพื้นที่บน Falcon 9 เมื่อต้องการส่งดาวเทียมขนาดเล็กอื่น ๆ ออกไปสู่วงโคจร

ตัวเลือก rideshare จะให้บริการในกำหนดเวลาปกติ และ SpaceX บอกว่ามันถูกออกแบบมาเพื่อความยืดหยุ่น และนำเสนอความสามารถในการจองล่วงหน้าให้แก่ลูกค้า และมั่นใจได้ว่าหากพวกเขาพร้อมที่จะเปิดตัว rideshare พร้อมจรวดที่จำนวนเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน 

หนึ่งในปัญหาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของบริการ rideshare ในวันนี้ คือเรื่องของเวลาและความพร้อมของ Falcon 9 ที่จะรองรับน้ำหนักของลูกค้า ซึ่งโดยทั่วไปแล้วของที่บรรทุกขนาดใหญ่เพียงหนึ่งหรือสองใบจะครอบคลุมค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่สำหรับการเดินทางแล้ว

บริการใหม่ของ SpaceX ได้รับการออกแบบคล้ายกับโปรแกรม rideshare ที่มีอยู่ทั่วไปในตอนนี้ ลูกค้าที่พร้อมจะใช้บริการและบริษัท ต้องการเติมที่เดิมสูญเสียไปเปล่า ๆ ด้วยการจองล่วงหน้า (1 ปีขึ้นไป) และตอนนี้ใกล้ถึงเวลาเปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้วในอีกประมาณ 1 ปี

โดยการเปิดตัวจะมีราคาเริ่มต้นเพียง 2.25 ล้านดอลลาร์สำหรับการรับน้ำหนักสูงสุด 150 กิโลกรัม (330 ปอนด์) หรือ 4.5 ล้านดอลลาร์สำหรับน้ำหนัก 300 กิโลกรัม (660 ปอนด์) ฟังดูเหมือนว่าบริการใหม่นี้เหมือนจะราคาสูงมาก แต่ลองจินตนาการว่าราคาต่ำสุดสำหรับการใช้งานบริการของ SpaceX ปัจจุบันนั้นอยู่ที่ประมาณ 57 ล้านดอลลาร์

ซึ่งแน่นอนว่านี่เป็นวิธีที่ชาญฉลาดในการขยายธุรกิจให้กับ SpaceX ซึ่งแน่นอนว่าแต่เดิมการขนส่งไปยังอวกาศนั้นต้องใช้เงินลงทุนด้วยสูง ทำให้มีแต่ลูกค้าขนาดใหญ่เท่านั้นที่จะสามารถเข้าถึงบริการดังกล่าวได้ แต่การเปิดบริการใหม่นี้ เป็นการเติมเต็มบริการของ SpaceX ให้กับลูกค้ารายเล็กให้สามารถใช้บริการได้ด้วยราคาที่ถูกลงนั่นเอง

References : 
https://techcrunch.com

ประวัติ Elon Musk ตอนที่ 12 : Rocket Launcher

หลังจากมัสก์ ได้พาทั้ง Tesla และ SpaceX ผ่านวิกฤติครั้งสำคัญมาได้สำเร็จ มันก็ถึงเวลาที่เขาจะได้สร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่ต่อไป ที่จะเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของมนุษยชาติ เป้าหมายใหญ่ของมัสก์ สำหรับ SpaceX คือ การใช้ความก้าวหน้าทางการผลิตและพัฒนาการของแท่นปล่อยเพื่อทำให้ต้นทุนสำหรับนำสิ่งต่าง ๆ ไปยังอวกาศถูกลงจนกลายเป็นธุรกิจได้

ฟัลคอน 9 นั้นถือเป็นหน้าเป็นตาของ SpaceX จรวดที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ 9 ตัว โดยมีเครื่องหนึ่งอยู่ตรงกลาง และ อีกแปดเครื่องล้อมรอบไว้ มันได้มีการใส่ตู้สัมภาระรูปกลมสำหรับขนดาวเทียม หรือ แคปซูล ที่สามารถขนส่งมนุษย์ขึ้นอวกาศได้ 

ซึ่งรูปลักษณ์ภายในนอกของฟัลคอน 9 นั้นไม่มีอะไรฉูดฉาดเป็นพิเศษ มันคือยานอวกาศที่เทียบเท่ากับแล็ปท็อปของ apple มันเป็นเครื่องจักรที่เรียบหรูมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน สำหรับงานด้านอวกาศ

หลังการปล่อยได้ 20 วินาที ผู้ชมที่อยู่ห่างออกไปสองไมล์ จึงจะได้ยินเสียงกึกก้องแบบเต็ม ๆ หูของฟัลคอน 9 เป็นเสียงที่ไม่เหมือนใคร ราวหนึ่งนาทีให้หลังมันจะเหลือแค่จุดสีแดงบนท้องฟ้า แล้วจากนั้นก็หายวับไปในอวกาศ

ฟัลคอน 9 กับเครื่องยนต์ 9 ตัว
ฟัลคอน 9 กับเครื่องยนต์ 9 ตัว

สำหรับอีลอนมัสก์ ภาพที่น่าตื่นเต้นเหล่านี้กลายเป็นประสบการณ์ที่คุ้นชินอย่างหนึ่ง SpaceX ส่งจรวดขึ้นไปประมาณเดือนละครั้ง ขนส่งดาวเทียมให้บริษัทและชาติต่าง ๆ รวมทั้งเสบียงไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ

ตอนที่ฟัลคอน 1 พุ่งทะยานจาก ควาจนั้น มันยังเป็นผลงานของสตาร์ทอัพ ซึ่งต่างจาก ฟัลคอน 9 ที่เป็นผลงานของประเทศมหาอำนาจทางการบินและอวกาศ SpaceX สามารถตัดราคาคู่แข่งในสหรัฐของตัวเอง ทั้ง โบอิ้ง ล็อกฮีดมาร์ติน และ ออร์บิทัลไซแอนเซส ด้วยราคาที่มีส่วนต่างมากจนเหลือเชื่อ

มัสก์ได้พิสูจน์ว่า จรวดสามารถที่จะผลักดันสัมภาระขึ้นสู่อวกาศจากนั้นก็กลับมายังโลก และลงจอดอย่างแม่นยำที่สุดบนแท่นที่ลอยอยู่กลางทะเล หรือ แม้แต่แท่นปล่อยเดิมของมันเองก็ตาม

ซึ่งแทนที่จรวดจะแตกเป็นเสี่ยง ๆ หลังกระแทกลงในทะเล SpaceX ใช้เครื่องยนต์ขับดับถอยกลับค่อย ๆ ลดลงจอดอย่างนุ่มนวล และนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ซึ่งทำให้ในอนาคตนั้น SpaceX คาดไว้ว่าจะตัดราคาลงเหลือแค่ หนึ่งในสิบของคู่แข่งได้สำเร็จ

ซึ่งโมเดลการนำจรวดกลับมาใช้ใหม่นั้น มันไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน มันทำให้เกิดการลดราคาครั้งใหญ่ในอุตสาหกรรมด้านอวกาศ และมันจะกลายเป็นข้อได้เปรียบที่สำคัญที่สุดของ Spacex ที่คู่แข่งที่จะเข้ามาใหม่ยากที่จะตามทัน

ซึ่งสุดท้าย มัสก์มองว่า มันจะกลายเป็นอุตสาหกรรมใหม่ เหมือนกับสายการบินต่าง ๆ ในทุกวันนี้ ที่ใช้เครื่องบินลำเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพื่อสร้างรายได้ ซึ่ง SpaceX นั้นหวังจะยึดส่วนแบ่งการตลาดใหญ่ในการปล่อยจรวดเชิงพาณิชย์ของโลกให้ได้

ซึ่งเป้าหมายของมัสก์คงไม่ได้ไกลเกินเอื้อม ในปัจจุบันนั้น SpaceX ส่งดาวเทียมให้ลูกค้า ทั้งชาว แคนาดา ยุโรป และ เอเชีย ไปกว่า 24 ครั้ง มีลูกค้ามารอต่อคิวกับ SpaceX กว่า 50 ราย ซึ่งมีมูลค่ารวมกันกว่า 5,000 ล้านเหรียญ

SpaceX นั้นไม่ได้พึ่งพา ซัพพลายเออร์จากต่างชาติมากนัก ซึ่งเป็นโมเดลที่หลาย ๆ บริษัทมักจะทำกัน มันทำให้ง่ายที่จะเข้ามาในอุตสาหกรรมนี้ แต่ก็ทำให้ต้นทุนสูงเช่นเดียวกัน สำหรับ SpaceX นั้น นอกจากจะสร้างเครื่องยนต์ ลำตัวจรวด และแคปซูลเองแล้ว SpaceX ยังออกแบบเมนบอร์ด และแผงวงจร เซ็นเซอร์ตรวจจับการสั่นสะเทือน ซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์ รวมถึง แผงพลังงานแสงอาทิตย์ของตัวเองด้วย

SpaceX พยายามอยู่หลายปีเพื่อพิสูจน์กับ NASA ว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาตรฐานก็ดีพอที่จะสู้กับอุปกรณ์เฉพาะราคาแพงที่เชื่อกันมาในอดีต ซึ่งอุปกรณ์ของ SpaceX โดยส่วนใหญ่นั้นมักจะสร้างขึ้นจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับอุปโภคที่หาได้ทั่วไปเป็นส่วนใหญ่

ซึ่งหลาย ๆ เทคโนโลยีของ SpaceX นั้น เริ่มลอกเลียนแบบโดยคู่แข่ง โดยเฉพาะคู่แข่งทีสำคัญอย่าง Blue Origin ของ เจฟฟ์ เบซอส ซึ่งใช้วิธีการดึงคนของ SpaceX โดยเสนอเงินให้มากกว่าถึงสองเท่า มันทำให้ความสัมพันธ์ของมัสก์ และ เบซอสย่ำแย่

Blue Orign ของ เจฟฟ์ เบซอส คู่รักคู่แค้นของ มัสก์
Blue Orign ของ เจฟฟ์ เบซอส คู่รักคู่แค้นของ มัสก์

ตัวของมัสก์เองนั้น เติบโตในฐานะของ CEO และผู้เชี่ยวชาญด้านจรวด พร้อม ๆ กับที่ SpaceX ได้รับการบ่มเพาะในฐานะบริษัทจนได้ที่ ในตอนเริ่มต้นการเดินทางของ ฟัลคอน 1 ที่ SpaceX มัสก์นั้นได้เรียนรู้จากหน้างานเสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งรวมกับตำราที่เขาหามาอ่านเพื่อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับจรวดขนาดใหญ่ขึ้นมา 

และ SpaceX ไม่เคยหยุดนิ่งในการพัฒนา พวกเขายังทำการทดลองยานพาหนะใหม่ ๆ ระหว่างการปล่อยจรวดจริง ๆ ในแบบที่บริษัทอื่นไม่กล้าทำกัน หลายครั้ง SpaceX มักประกาศว่าพวกเขากำลังทดลองเครื่องยนต์ใหม่หรือขาสำหรับลงพื้นแบบใหม่

ซึ่งทั้งหมดทั้งมวล ก็ล้วนแล้วมาจากความคิดของมัสก์แทบจะทั้งสิ้น มัสก์มักจะขอให้พนักงานทำเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ และความทะเยอทะยานในการทำสิ่งใหม่ ๆ ของมัสก์ก็ไม่มีทีท่าว่าจะหมดลงไป

ตัวอย่างการปล่อยยานในเดือนธันวาคมปี 2010 ซึ่ง SpaceX ได้ส่ง ดรากอนอคปซูลไปยังวงโคจรโลกและกลับมาได้สำเร็จ  ซึ่งถือเป็นความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ของบริษัท และใคร ๆ ก็ทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยมานานหลายปีกับโครงการดังกล่าว

ดรากอน แคปซูลของ SpaceX
ดรากอน แคปซูลของ SpaceX

ซึ่งหลังจากปล่อยสำเร็จ ก็ได้มีงานเลี้ยงฉลองขึ้น แต่แทนที่จะเป็นการฉลองชัยสำหรับ SpaceX แต่มัสก์นั้นกลับต่อว่าทีมงานเป็นชั่วโมง เพราะโครงยึดหลังคาสำหรับจรวดในอนาคตล่าช้ากว่ากำหนด

แต่สุดท้ายนั้นคำถามที่ค้างคาใจของเหล่าพนักงาน SpaceX คือ เมื่อไหร่กันที่พวกเขานั้นจะได้เห็นผลตอบแทนก้อนโต หลังจากความพยายามทุ่มเทอย่างหนักให้กับ SpaceX ตลอดหลายปีที่ผ่านมา แม้พนักงาน SpaceX ส่วนใหญ่นั้นจะได้รับค่าจ้างที่ดี แต่มันก็ไม่ได้มากมายจนเกินไปเมื่อเทียบกับความทุ่มเท และความอัจฉริยะของพวกเขาเหล่านี้

ส่วนใหญ่พวกเขามาเพราะต้องการที่จะสร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่ร่วมกับมัสก์ พวกเขาเห็นวิสัยทัศน์ที่ยิ่งใหญ่ แม้จะสามารถไปทำงานที่รับเงินเดือนได้สูงกว่านี้ แต่ เป้าหมายของ SpaceX เป็นสิ่งที่ท้าทายพวกเขาให้ยืนหยัดอยู่สู้กับมัสก์ เพื่อสร้างสิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ของมนุษย์ชาติเราในเรื่องอวกาศนั่นเอง 

–> อ่านตอนที่ 13 : The Revenge of The Electric Car

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Sand Hill Road *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

ประวัติ Elon Musk ตอนที่ 8 : I don’t Need These Russians

หลังจากขาย Paypal ได้สำเร็จ วันหนึ่ง มัสก์ และ อดีตเพื่อนร่วมหอพัก ที่ University of Pennsylvania อย่าง อาดีโอ เรสซี่ ได้ร่วมทริปไปยัง Long Island โดยร่วมกับ ภรรยาของ เรสซี่ และ ภรรยาของมัสก์ มันเป็นทริปพักผ่อนสำหรับคู่รักสองคู่ นอกเมืองนิวยอร์ก แต่มันกำลังจะเกิดสิ่งที่ยิ่งใหญ่หลังจบทริปนี้

เรสซี่ ก็ประสบความสำเร็จกลายเป็นมหาเศรษฐีเช่นเดียวกันมัสก์ เพราะเขาเพิ่งขายบริษัททางด้านอินเตอร์เน็ต Methodfive ให้กับ Xceed มูลค่ากว่า 88 ล้านเหรียญ ระหว่างขากลับจากทริปดังกล่าวท่ามกลางรถติดบนทางด่วนที่ Long Island ทั้งคู่ต่างคิดเหมือนกันว่าจะทำอะไรต่อไปหลังจากนี้ ซึ่งสิ่งที่พวกเขาจะทำมันต้องเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่แบบเปลี่ยนโลกได้เท่านั้น

ทั้งคู่นั้นมีความหลงไหลในเรื่องของอวกาศเช่นเดียวกัน เขาได้ถกเถียงกันเรื่องการเดินทางไปยังดาวอังคาร แต่มัสก์ นั้นคิดว่า NASA คงทำสิ่งเหล่านี้ได้ดีอยู่แล้ว และคงกำลังดำเนินการอยู่ในการพามนุษย์ไปสู่ดาวอังคารให้สำเร็จหลังเคยพามนุษย์ไปดวงจันทร์ได้มาแล้ว

แต่หลังจากกลับจากทริปดังกล่าว มัสก์ ที่เริ่มสนใจ ไอเดียเก่า ๆ ของเขา เริ่มค้นหาข้อมูลใน website ของ NASA เกี่ยวกับการเดินทางไปยังดาวอังคาร ซึ่งเขาพบว่าข้อมูลแทบจะไม่มีอะไรอัพเดทความคืบหน้าเลยด้วยซ้ำ

มัสก์ค้นหาข้อมูลในเว๊บ NASA พบว่าไม่มีการอัพเดทเรื่องดาวอังคารเลยด้วยซ้ำ
มัสก์ค้นหาข้อมูลในเว๊บ NASA พบว่าไม่มีการอัพเดทเรื่องดาวอังคารเลยด้วยซ้ำ

หลังจากพามนุษย์ไปดวงจันทร์ได้สำเร็จ มันแทบจะไม่มีความคืบหน้าในการไปดาวอังคารของมนุษย์เลยด้วยซ้ำ ตอนนี้มันไม่ได้มีแรงจูงใจ เหมือนยุคที่ต้องขับเคี่ยวกับ รัสเซีย ในการพามนุษย์ไปดวงจันทร์ และแน่นอน อเมริกาเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ แต่อยู่บนค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ๆ ในโครงการอวกาศเหล่านั้น

เที่ยวบินสู่อวกาศเที่ยวสุดท้ายของ โครงการ Apollo ต้องย้อนกลับไปถึงปี 1975 มันเป็นการสิ้นสุดการแข่งขันอย่างถาวร ของทั้งอเมริกาและรัสเซีย สงครามทุกอย่างมันจบลงแล้ว และตอนนี้รัฐบาลก็ไม่ได้สนับสนุนงบประมาณให้กับ NASA มากมายเหมือนเดิมอีกต่อไปแล้ว

อย่างที่มัสก์ ได้คิดไว้ตั้งแต่แรก สามสิ่งที่จะมีผลกระทบต่อชีวิตของมนุษย์โลกในอนาคต นั้น ส่วนของอินเตอร์เน็ตนั้นเขาสามารถทำได้สำเร็จแล้วถึงสองครั้ง ทั้งกับ Zip2 รวมถึง Paypal มันได้หมดซึ่งความท้าทายต่อมัสก์อีกต่อไปในเรื่องของโลกอินเตอร์เน็ต เขาอิ่มตัวกับเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตแล้วในตอนนั้น

ส่วนเรื่องพลังงานที่ยั่งยืนนั้น ณ ตอนนั้น มีคนที่สนใจเรื่องดังกล่าวที่กำลังพัฒนาและวิจัยอยู่แล้ว มันเหลือแค่เรื่องของการสำรวจอวกาศ ซึ่งตอนนี้ดูเหมือน NASA จะชะลอโครงการต่าง ๆ ไว้ชั่วคราว เพราะไม่มีแรงผลักดันทั้งเงินทุน และ เรื่องการแข่งขันเหมือนในยุค 70 ที่ขับเคี่ยวกันอย่างหนักกับรัสเซีย

NASA ไม่มีแรงผลักดันในโครงการอวกาศเพื่อสานต่อ
NASA ไม่มีแรงผลักดันในโครงการอวกาศเพื่อสานต่อ

มัสก์ และ เรสซี่ ต้องการหาวิธีที่จะทำให้เรื่องการสำรวจอวกาศ กลับมาเป็นเรื่องที่น่าสนใจอีกครั้ง ซึ่งแนวคิดแรกของทั้งสองคือ การส่งพืช ไปยังดาวอังคาร โดยโปรเจคนี้ถูกตั้งชื่อว่า Mars Oasis ซึ่งประเมินว่าต้องใช้เงินลงทุนกว่า 65 ล้านเหรียญเลยทีเดียว 

ส่วนอีกแนวคิด เป็นเรื่องการส่งสิ่งมีชีวิตอย่าง หนู ไปยังดาวอังคาร เขาต้องการทดลองว่า หากส่งหนูไปแล้ว จะสามารถผสมพันธ์ ในสภาวะแวดล้อมบนดาวอังคารได้หรือไม่ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับความฝันที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของมัสก์ ก็คือ การจะพามนุษย์ไปใช้ชีวิตบนดาวอังคารนั่นเอง

ซึ่งเขาต้องพึ่งพาคนที่มีประสบการณ์ มัสก์ ได้พยายามติดต่อ วิศวกร ที่เป็นที่ปรึกษาด้านอวกาศอย่าง จิม แคนเทรล ซึ่งหลังจากได้พบและคุยกัน แคนเทรล นั้นตัดสินใจที่จะช่วยเหลือมัสก์ ในโปรเจคแรกอย่าง Mars Oasis โดยได้ติดต่อผู้ที่สามารถจัดการเรื่องกระสวยอวกาศที่มีราคาต้นทุนไม่สูงมากนัก

ซึ่งกระสวยอวกาศที่มีราคาถูกสุดในอเมริกาคือ Boeing’s Delta II ของบริษัท โบอิ้ง โดยต้องใช้เงินประมาณ 50 ล้านเหรียญ ซึ่งมันยังเป็นงบประมาณที่สูงเกินไป แคนเทรล ได้พยายามติดต่อ หากระสวยราคาถูก ทุก ๆ ที่ไม่ว่าจะเป็นในฝรั่งเศษ หรือ แม้กระทั่งรัสเซียเองก็ตาม

จรวดถูกสุดในอเมริกาอย่าง Delta II ยังมีมูลค่าสูงถึง 50 ล้านเหรียญ
จรวดถูกสุดในอเมริกาอย่าง Delta II ยังมีมูลค่าสูงถึง 50 ล้านเหรียญ

ในปลายเดือน ตุลาคมปี 2001 มัสก์ แคนเทรล และ เรสซี่ ได้จับเที่ยวบินไปมอสโก คนรวยสามารถที่จะซื้อกระสวยอวกาศได้ในตลาดเปิดอย่างรัสเซีย ซึ่ง เรสซี่นั้นมองว่าเป็นความคิดที่บ้า ที่มาบุกถึงรัสเซียเพื่อซื้อกระสวยอวกาศ

มัสก์ และ ทีม ต้องเดินทางไปมา ระหว่างรัสเซีย และ อเมริกาอยู่หลายครั้ง เพื่อเจรจา มันเป็นการเจรจา ที่ไม่คืบหน้าไปไหน พวกรัสเซีย ไม่ค่อยที่จะไว้ใจทีมของมัสก์ซักเท่าไหร่ และใช้มารยาทแบบรัสเซีย ในการเจรจาดีลธุรกิจนี้

สุดท้ายการเจรจาก็ล่มไม่เป็นท่า ด้วยการเจรจาต่อรองที่พลิกไปพลิกมาตลอดของทางฝั่งรัสเซีย ทำให้มัสก์หมดความอดทนในที่สุด ทุกคนต่างโล่งใจคิดว่ามัสก์คงเลิกล้มความตั้งใจในเรื่องนี้ไปแล้ว

แต่หารู้ไม่ ในช่วงเวลาเจรจาดังกล่าว มัสก์ ได้ไปยืมหนังสือจากแคนเทรลมาศึกษาเรื่องการสร้างกระสวยอวกาศด้วยตัวเอง เขายืมหนังสืออย่าง Rocket Propulsion Elements , Fundamentals of Astrodynamics และ Aerothermodynamics of Gas Turbine and Rocket รวมทั้งบทความต่าง ๆ อีกมากมาย เขาสวมจิตวิญญาณนักอ่านในวัยเด็กอีกครั้ง เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการที่จะสร้างจรวดด้วยตัวเอง

สุดท้าย เขาก็ตระหนักได้ว่าจรวดนั้นสามารถสร้างได้ถูกกว่าที่พวกรัสเซีย เสนอราคามาเสียอีก มันเป็นความอัจฉริยะของมัสก์อีกครั้ง ในการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับการสร้างจรวดอย่างถ่องแท้ มัสก์ได้เริ่มจุดประกายให้คนคิดเรื่องการสำรวจอวกาศอีกครั้งโดยทำให้การสำรวจอวกาศราคาถูกลงกว่าเดิมเป็นอย่างมาก

แม้มัสก์ นั้นจะรู้ดีว่าการตั้งบริษัทจรวดนั้นมีความเสี่ยงเป็นอย่างมาก แต่มัสก์ ก็ได้บุคคลากรชั้นยอดอย่าง ทอม มึลเลอร์ วิศวกรผู้เป็นอัจฉริยะ ด้านการสร้างจรวดมาตั้งแต่เด็ก เขามีชื่อเสียงเรื่องดังกล่าวยาวเป็นหางว่าว มัสก์ได้มือดีมาอีกคนแล้ว ที่จะมาเติมเต็มความฝันของเขาให้จงได้

คอนเซ็ปต์ของจรวดของมัสก์นั้น จะเป็นจรวดที่เหมาะเจาะพอดีสำหรับกลุ่มสำภาระขนาดเล็ก มันสามารถลดราคาการปล่อยจรวดลงไปได้อย่างมหาศาล ซึ่งเป็นตลาดใหม่ที่ไม่เคยมีใครทำมันมาก่อนในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ

และในที่สุด Space Exploration Technologies (SpaceX) ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นในเดือนมิถุนายนปี 2002 แถบชานเมืองลอสแอนเจลิส มัสก์ได้ซื้อโกดังเก่าแห่งหนึ่งไว้เป็นสถานที่ปฏิบัติงานหลักของ SpaceX 

SpaceX ได้ถือกำเนิดขึ้นในที่สุด
SpaceX ได้ถือกำเนิดขึ้นในที่สุด

SpaceX นั้นถือเป็นความพยายามของอเมริกาที่จะเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ในธุรกิจจรวด หลังจากมันได้หยุดนิ่งมากว่า 50 ปีแล้ว  มัสก์ประกาศว่าจรวดลำแรกของ SpaceX ต้องชื่อ ฟัลคอน 1 เพื่อระลึกถึงยานมิลเลนเนียมฟัลคอนในภาพยนต์เรื่อง สตาร์วอร์ส ที่เขาชื่นชอบ

เป้าหมายของ SpaceX นั้นจะสร้างเครื่องยนต์ตัวแรกให้เสร็จในเดือนพฤษภาคมปี 2003 และประกอบเสร็จสิ้นเดือนสิงหาคม และ มีกำหนดที่จะปล่อยจรวดครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายนปี 2003 หรือ ประมาณ 15 เดือนหลังจากบริษัทได้ก่อตั้ง และเป้าหมายสูงสุดคือ การไปยังดาวอังคารจะเกิดตามมาราว ๆ ปลายทศวรรษ ก่อนปี 2010

มัสก์ ได้เริ่มว่าจ้างเหล่าวิศวกรหัวกะทิ เข้ามาจากทั่วทั้งสหรัฐอเมริกา คนเก่ง ๆ ด้านวิศวกรรมในสาขาต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับการสร้างจรวด ไม่รอดพ้นสายตาของมัสก์ บางคนเขาก็โทรไปชักชวนด้วยตัวเองด้วยซ้ำ

เหล่าวิศวกรทำงานกันอย่างหนักหน่วง ไม่ต่ำกว่าสัปดาห์ละ 100 ชั่วโมง พวกเขากำลังสร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่ และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาระหว่างการพัฒนา ทั้งเรื่อง เชื้อเพลิง การควบคุมความชื้น การเผาไหม้ของเครื่องยนต์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายเหล่าวิศวกรของมัสก์แทบจะทั้งสิ้น  

มัสก์ อยากให้สาธารณชนเห็นว่าคนงานที่ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยของเขาทำอะไรสำเร็จ และช่วยปลุกความตื่นเต้นไปทั่ว SpaceX เขาตัดสินใจจะเปิดตัวต้นแบบฟัลคอน 1 ให้คนทั่วไปได้เห็นในเดือน ธันวาคม ปี 2003 บริษัทจะลากจรวดฟัลคอน 1 สูงเท่าตึกเจ็ดชั้นไปทั่วประเทศบนแท่นที่สร้างขึ้นมาแบบพิเศษ และโชว์มันอย่างยิ่งใหญ่ที่สำนักงานใหญ่องค์การบริหารการบินแห่งชาติในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.

ฟัลคอน 1 จรวดตัวแรกของ SpaceX
ฟัลคอน 1 จรวดตัวแรกของ SpaceX

และงานในวอชิงตัน ก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี SpaceX จึงประกาศที่จะสร้างจรวดลำที่สองแล้ว และมองไปถึงฟัลคอน 5 ไปพร้อมกันด้วย โดยตัวฟัลคอน 5 จะมีเครื่องยนต์ 5 ตัวตามชื่อของมัน

พนักงาน SpaceX ส่วนใหญ่ตื่นเต้นที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการผจญภัยของบริษัท และลืมเรื่องพฤติกรรมบางอย่างของมัสก์ที่บางครั้งดูหยาบกระด้างไปบ้าง กับพนักงานในบางครั้ง หลายครั้งมัสก์พยายามบอกกับสื่อว่าเขาเป็นคนออกแบบทั้งหมดของฟัลคอน 1 ซึ่งทำให้พนักงานบางส่วนไม่พอใจ

ปัญหาอีกอย่างก็คือ การที่ บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง โบอิ้ง หรือ ล็อกฮีด ต่างมอง SpaceX นั้นเป็นภัยคุกคามต่อธุรกิจของพวกเขา และที่สำคัญ SpaceXยังเป็นแขกที่ไม่เป็นที่ต้องการของฐานทัพอากาศที่ฟานเดนเบิร์ก ฐานปล่อยจรวดที่มัสก์จะใช้เป็นที่มั่นอีกด้วย

มันเป็นเรื่องที่ลำบากใจสำหรับมัสก์มาก ไม่มีใครสนับสนุนเขาเต็มที่แม้กระทั่งรัฐบาลเองก็ตาม เขากำลังพยายามทำงานที่ยากเข็ญที่สุดเท่าที่มนุษย์รู้จักให้เป็นผลสำเร็จ

มัสก์ จึงต้องหาที่ใหม่ ทีมงานเริ่มมองหาชื่อที่พวกเขารู้จักแถบเส้นศูนย์สูตร ซึ่งโลกหมุนเร็วกว่าและเสริมแรงส่งเพิ่มให้จรวดได้ ซึ่ง ชื่อที่ออกมาคือ เกาะควาเจเลน หรือ ควาจ เกาะใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะหินปะการังรูปวงแหวนระหว่างเกาะกวมกับฮาวายในมหาสมุทรแปซิฟิก

 เกาะควาเจเลน หรือ ควาจ ที่มั่นใหม่ของ SpaceX
เกาะควาเจเลน หรือ ควาจ ที่มั่นใหม่ของ SpaceX

และในที่สุด วันที่ 24 มีนาคม 2006 ระบบทั้งหมดก็พร้อม ฟัลคอน 1 ตั้งบนแท่นปล่อยสี่เหลี่ยมและติดเครื่อง มันพุ่งสูงขึ้นไปบนฟ้า เปลี่ยนเกาะควาจให้กลายเป็นจุดสีเขียวท่ามกลางพื้นที่กว้างใหญ่ของท้องทะเลสีฟ้า

จากนั้นประมาณ 25 วินาทีก็ปรากฏชัดเจนว่าทุกอย่างไปได้ไม่สวย มีไฟลุกไหม้เหนือเครื่องยนต์ แล้วจู่ ๆ เครื่องที่กำลังบินตรงก็เริ่มหมุน จากนั้นก็ตกลงมายังพื้นโลกแบบควบคุมไม่อยู่ สุดท้าย ฟัลคอน 1 ดิ่งลงมากระแทกจุดปล่อยอย่างจัง 

ปัญหาปรากฏว่า บี-นอตซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญชิ้นหนึ่งของจรวดร้าวเกือบทั้งชิ้น เพราะการกัดกร่อนจากสภาพอากาศเค็มของเกาะควาจนานหลายเดือน 

ซึ่งหลังจากนั้นเกือบหนึ่งปี SpaceX พร้อมลองปล่อยจรวดอีกครั้งในวันที่ 15 มีนาคม ปี 2007 การทดสอบติดเครื่องประสบความสำเร็จด้วยดี จากนั้นในวันที่ 21 มีนาคม ฟัลคอน 1 ก็ได้พุ่งขึ้นและมุ่งตรงสู่อวกาศจากแท่นปล่อยได้สำเร็จ ทุกอย่างเป็นไปตามแผน เครื่องยนต์สามารถทำงานตามที่วางแผนขึ้นสู่วงโคจรได้สำเร็จ

เหล่าวิศวกรต่างโห่ร้องด้วยความดีใจ มันเป็นช่วงเวลาห้านาทีอันแสนปลื้มปิติ แต่เรื่องไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นอีก ขณะที่จรวดขึ้นสู่อวกาศตามแผน แต่แล้ว การส่ายไปมาจนนำมาสู่การตกอีกครั้ง เครื่องยนต์ดับวูบ เริ่มแตกเป็นชิ้น ๆ และตามมาด้วยการระเบิด อีกครั้งในที่สุด

มัสก์ไม่ยอมแพ้แม้ ฟัลคอล 1 จะล้มเหลวถึงสองครั้ง
มัสก์ไม่ยอมแพ้แม้ ฟัลคอล 1 จะล้มเหลวถึงสองครั้ง

ความล้มเหลวครั้งนี้ถือเป็นความปราชัยอีกครั้งหนึ่งของเหล่าวิศวกรของ SpaceX มันเป็นเวลาเกือบสองปีที่พวกเขาเฝ้าทุ่มเทพัฒนา มัน delayed จากเป้าหมายเดิมของมัสก์มากว่าสี่ปี และมันได้ผลาญเงินมัสก์ไปเป็นจำนวนมหาศาลแล้ว

แม้มัสก์ จะเครียดกับสิ่งที่เกิดขึ้น แต่เขาก็จัดการกับสิ่งเหล่านี้ได้ดีมาก เขามองโลกในแง่ดีมาก ๆ การล้มเหลว ไม่อาจบั่นทอนวิสัยทัศน์ที่ยิ่งใหญ่ของมัสก์ที่มีต่ออนาคตหรือสร้างความกังขาในความสามารถของเขาได้เลย แม้ตอนนี้สถานการณ์ทางด้านการเงินนั้น SpaceX มีเงินพอให้พยายามได้อีกแค่ครั้งเดียวเท่านั้น มัสก์จะผ่านช่วงเวลานี้ไปได้อย่างไร โครงการ SpaceX ความฝันอันยิ่งใหญ่ที่สุดของเขาจะเดินไปทางไหนต่อ โปรดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 9 : The Electric Stars

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Sand Hill Road *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ