Failed Startup Stories : Beepi Secondary Online Marketplace for cars

Beepi เป็นบริษัที่ให้บริการสำหรับซื้อขายรถมือสองผ่านระบบ online โดยมีที่ตั้งอยู่ใน Mountain View , California ซึ่งสามารถทำ Transaction ในการซื้อขายได้ผ่านทาง smart phone หรือ desktop pc โดยเริ่มให้บริการในเดือนเมษายน ในปี 2014

โดยรูปแบบบริการของ Beepi ผ่าน model การหารายได้แบบง่าย ๆ โดยคิดค่า commission สูงสุดที่ 9%  และหากรถขายไม่ได้ภายใน 30 วันนั้น ทาง Beepi จะเป็นคนซื้อไว้เอง โดยที่ผู้ซื้อนั้นไม่ต้องทำการทดสอบรถใด ๆ ก่อนซื้อ ซึ่ง Beepi ให้เวลา 10 วันในการรับประกันสามารถคืนได้ โดย Beepi เปิดทางเลือกให้ลูกค้าสามารถชำระเงินได้ผ่านบริการใหม่ ๆ เช่น bitcoin รวมถึง credit card โดยในปี 2016 นั้นบริษัทก็ได้ประกาศให้บริการด้านสินเชื่อรถยนต์ของตัวเองเพื่อให้ผู้ซื้อสามารถซื้อได้ง่ายที่สุดผ่านระบบ Beepi

ประวัติของ Beepi

Beepi นั้นก่อตั้งโดย Ale Resnik โดยรับตำแหน่ง CEO และ Owen Savir ที่รับตำแหน่ง COO ของบริษัท โดยก่อตั้งขึ้นในเดือนเมษายนในปี 2014  ในตอนแรกนั้นจะให้บริการเฉพาะพื้นที่ในบริเวณ Sanfrancisco เท่านั้น ซึ่งแรงบรรดาลใจในการสร้าง Beepi นั้นเกิดมาจากประสบการณ์ส่วนตัวของ Resnik ที่ได้รับประสบการณ์ที่แย่มากในการซื้อรถมือสองในขณะเรียนที่ MIT

Beepi นั้นสามารถระดมทุนในรอบ Series A ในเดือนเมษายนปี 2014 ได้ถึง ห้าล้านเหรียญสหรัฐ โดย Jeff Brody จาก Redpoint Ventures รวมถึง angle investors ของอุตสาหกรรมทางด้านเทคโนโลยี และการเติบโตอย่างรวดเร็วทำให้บริษัทได้รับเงินลงทุนใน Series B ถึง 60 ล้านเหรียญสหรัฐในเดือนตุลาคม ปี 2014 ทำให้มูลค่าของบริษัทพุ่งขึ้นไปสูงถึง 200 ล้านเหรียญสหรัฐภายในเวลาเพียง 6 เดือนหลังจากเริ่มปล่อย product version แรกออกสู่ตลาด ซึ่งในตอนนั้นคาดการณ์ว่าจะมีรายได้ถึง 15 ล้านเหรียญสหรัฐ และได้เริ่มทำการขยายบริการไปยังเมือง Los Angeles รวมถึง San Diego

ในเดือนเมษายน ปี 2015 หลังจากบริษัทดำเนินการมาได้ 1 ปีก็ได้ไปเปิด office ที่เมือง Phoenix เป็นเมืองแรกนอกรัฐ California ที่มี office เป็นของตัวเอง ซึ่งในขณะนั้นผู้คนกว่า 200 เมืองสามารถใช้งาน Beepi ได้แล้ว แต่บริการ free delivery นั้นจะให้บริการเฉพาะใน California และ Arizona เท่านั้น

ในเดือน พฤษภาคมปี 2015 นั้น Resnik ได้บอกกับ the wall street journal ว่าเขาคาดหวังจะได้รับการลงทุนมากกว่า 300 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งจะทำให้มูลค่าของบริษัทพุ่งสูงไปถึง สองพันล้านเหรียญ หลังจากการดำเนินงานบริษัทมาได้แค่ปีเศษ  และ ในเดือน ตุลาคม ปี 201ุ6 นั้น Beepi ได้รับเงินลงทุนอีกรอบจาก SAIC Motor บริษัทยักษใหญ่ทางด้าน automobile market ของประเทศจีน

แต่บริษัทก็เริ่มมีผลงานต่ำลงโดยในฤดูใบไม้ร่วงของปี 2016 นั้น ยอดขายของ Beepi เหลือเพียง 153 คันต่อเดือน สำหรับเมืองหลักที่เป็นจุดเริ่มต้นอย่าง California ในขณะที่คู่แข่งที่ให้บริการลักษณะเดียวกันนั้นขายได้กว่า 8,500 คันต่อเดือน

หลังจากนั้น Beepi ก็ต้องเร่งปรับเกมสู้ในตลาดรถมือสอง โดยการปิดจุดอ่อนของตัวเองคือไม่มีบริการด้านสินเชื่อเป็นของตัวเอง  โดยการจับมือกับ Ally Financial เพื่อให้บริการด้านสินเชื่อแก่ลูกค้าของ Beepi

สุดท้ายก็ต้องปิดบริการ

หลังจากมีปัญหาเรื่องเงินลงทุนจากจีนในเดือนธันวาคมปี 2016 Beepi ก็เริ่มเข้าสู่ความยากลำบาก จากบริการของตัวเอง ที่ไม่สามารถแบกรับต้นทุนได้ เนื่องจากปัญหาหลาย ๆ อย่าง ทั้งเกิดจากความไม่เต็มใจของทั้งผู้ซื้อและผู้ขายที่จะมาทำการขายผ่าน E-commerce โดยที่ไม่ได้เห็นหน้ากัน รวมถึงภาระในการที่ต้องเก็บรถไว้เองหากขายไม่ได้ภายใน 30 วันนั้น ก็เป็นปัจจัยหลัก เพราะรถเป็นสินทรัพย์ที่มีแต่มูลค่าจะลดลงไม่เหมือนบ้านหรือที่ดิน การเก็บ stock ไว้เองนั้น แม้จะเรียกลูกค้าได้ในตอนแรกเพราะสามารถการันตีว่าถ้าขายไม่ได้ Beepi จะซื้อไว้เอง แต่ไม่สามารถยืนได้ในระยะยาว เนื่องมาจากปัจจัยเรื่องมูลค่าของรถที่มีแต่จะลดลงนั่นเอง การคิด idea แบบ Beepi นั้นไม่ได้คิดถึงผลที่จะตามมาภายหลังอย่างรอบคอบ คิดแค่จะสร้างฐานลูกค้าเพื่อไปรับเงินลงทุนเพิ่มเติม แต่มันไม่สามารถที่จะทำให้กลายเป็นธุรกิจจริง ๆ ได้ เมื่อพ้นช่วงของการระดมทุน ก็เกิดปัญหา เพราะภาระค่าใช้จ่ายที่สูง สุดท้ายก็ได้เริ่มปิดกิจการนอกเขต California และเริ่มหาทางขายกิจการให้กับคู่แข่งอย่าง Shift และทำการปลดพนักงานกว่า 180 คน และเริ่มต้นกระบวนการในการควบรวมกับ Fair.com  แต่ในเดือนกุมภาพันธ์ 2017 การควบรวมกับ Fair.com ก็ต้องล้มลง  และบริษัทก็ต้องเริ่มขายสินทรัพย์เพื่อเข้าสู่กระบวนการปิดกิจการอย่างถาวร

สรุป

ปัญหาของ Beepi เราสามารถวิเคราะห์ได้มาจากปัจจัยหลัก ๆ คือ idea ที่มันคิดได้ง่ายมาก ในการเก็บรถไว้เองหากขายไม่ได้ใน 30 วัน ซึ่งมันเป็นแรงจูงใจง่าย ๆ ให้คนเข้ามาใช้บริการ เพราะคนก็อยากการันตีว่าขายรถได้อย่างแน่นอน ซึ่ง idea นี้นั้นสุดท้ายก็มาทำร้ายบริษัทเอง เพราะต้องแบกรับต้นทุนในการจัดการทั้ง stock รวมถึงมูลค่าของรถ ที่มีแต่จะลดลง ในตอนแรกอาจจะหานักลงทุนมาลงเงินได้ง่าย เพราะ กิจการ เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในแง่ของ ยอดผู้ใช้งาน หรือ ยอดการซื้อขายในระบบ แต่สุดท้ายเมื่อไม่สามารถหาเงินมาต่อยอดได้อีกก็ต้องพบสัจธรรมที่แท้จริงว่า idea ลักษณะนี้ไม่สามารถมาทำให้เป็นกิจการที่สร้างรายได้ รวมถึงกำไรให้กับบริษัทแบบถาวรได้ จึงใช้เวลาเพียงแค่ไม่ถึง 3 ปีก็ต้องปิจกิจการลงไปในที่สุด

References :  en.wikipedia.orgblog.caranddriver.com