11.11 กับคลื่นวัฒนธรรมช็อปปิ้งใหม่จากจีนที่กำลังกลืนกินพฤติกรรมคนไทย

ต้องบอกว่าเป็นกระแสที่มาแรงมาก ๆ กับมหกรรมช็อปปิ้ง 11.11 วันคนโสดจีน ที่กำลังกลายมาเป็นวัฒนธรรมใหม่ของการช็อปปิ้งในประเทศไทย ที่ตอนนี้ยอดขายในเทศกาลดังกล่าวกำลังเติบโตแบบต่อเนื่องในทุก ๆ ปี

ซึ่งแน่นอนว่า มันมีทั้งทีส่งผลดี และส่งผลกระทบต่อพ่อค้าแม่ค้าชาวไทย หลังจากการบุกเข้ามาอย่างหนักของสินค้าจีน และ พ่อค้าแม่ค้าชาวจีน ที่แห่กันมาเปิดร้านในแพล็ตฟอร์มเหล่านี้เป็นว่าเล่น

รวมถึงการที่รัฐบาลไทยได้ส่งเสริมนโยบายด้วยการ ให้ผู้ประกอบการใหญ่จากจีน มาจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าขึ้นในไทย ซึ่งกำลังส่งผลกระทบมาก ๆ ต่อพ่อค้าแม่ค้าชาวไทยในขณะนี้

แน่นอนว่าการเกิดขึ้นของกิจกรรม เทศกาลต่าง ๆ เหล่านี้ ล้วนเป็นผลดีต่อผู้บริโภคชาวไทย ที่ได้ใช้สินค้าราคาถูกมาก ๆ ซึ่งถูกจนเหลือเชื่อในสินค้าบางรายการ ที่เรียกได้ว่าเป็นการ สปอยล์ ผู้ใช้งานชาวไทย ด้วยการลดราคาแบบกระหน่ำ โดยแบกรับภาระต่าง ๆ ด้วยตัวของแพล็ตฟอร์มเอง

ซึ่งเราจะได้เห็นถึงผลประกอบการอย่างที่รู้ ๆ กันว่า พวกเขายิ่งโต ก็ยิ่งขาดทุน และขาดทุนเพิ่มขึ้นจำนวนมหาศาล ผ่านการอัดฉีดเม็ดเงินในการโฆษณา และ จัดแคมเปญ อย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างนิสัยใหม่ให้คนไทยมาซื้อสินค้าผ่าน แพล็ตฟอร์มออนไลน์ของพวกเขา เหมือนที่ทำสำเร็จในประเทศจีนมาแล้วนั่นเอง

และสินค้าจากประเทศจีน ซึ่งเป็นประเทศที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็น โรงงานผลิตสินค้าของโลก​ ไปแล้ว ก่อนหน้านี้ หลายธุรกิจทั่วโลกต่างพากันสั่งสินค้าจากจีนมาขายในประเทศของตน แล้วเพิ่มกำไรเข้าไป และทำกำไรได้อย่างมหาศาล

แต่ตอนนี้พ่อค้าแม่ค้าที่ไปนำสินค้าจากจีนมาขาย กำลังจะค่อยๆ หายไป เพราะตอนนี้ หลายๆ ธุรกิจและผู้ผลิตของจีน ได้เริ่มรุกคืบ เปิดตลาดการค้าของตน ขายตรงไปยังผู้บริโภคทั่วโลกผ่านทางแพล็ตฟอร์มออนไลน์เหล่านี้ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งดีลเลอร์หรือพ่อค้าคนกลางอีกต่อไป

หรือแม้กระทั่งยังส่งผลกระทบไปยังธุรกิจ Retail เองก็ตาม โดยเฉพาะในสินค้าบางหมวดหมู่ที่ตอนนี้ พฤติกรรมของผู้ซื้อได้เปลี่ยนไป เราเพียงแค่ไปจับ ไปทดลองในห้าง แล้วมาสั่งซื้อสินค้าจริง ๆ ผ่าน online โดยเฉพาะหมวดสินค้า Gadgets IT หรือ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ตอนนี้มาลดกระหน่ำบนแพล็ตฟอร์มออนไลน์ที่มีต้นทุนในการบริหารสินค้าที่ถูกกว่าร้านค้า Retail ที่เป็น physical จริง ๆ

และที่น่าสนใจ ผมเป็นคนหนึ่งที่เข้าไป join group ที่เป็นกลุ่มพ่อค้าในแพล็ตฟอร์มต่าง ๆ เหล่านี้ พบว่าตอนนี้แพล็ตฟอร์มเหล่านี้ เริ่มบีบพ่อค้าต่าง ๆ ในแพล็ตฟอร์มมากขึ้น เพื่อดึงเงินคืนเข้าสู่ระบบ ไม่ว่าจะเป็นการบังคับเข้าร่วม โปรโมชั่นต่าง ๆ เช่น ส่งฟรี ซึ่งเป็นการผลักภาระไปให้กับพ่อค้าที่กำไรแทบจะน้อยนิดอยู่แล้ว หรือ การเริ่มลดการมองเห็นสินค้า เพื่อให้ต้องมีการลงโฆษณากับแพล็ตฟอร์มเพิ่มมากขึ้น

ซึ่งเราจะเห็นบทเรียนจากช่วงก่อนหน้านี้ที่กระแส Social Commerce มาแรงนั้น Facebook ก็ได้ทำในลักษณะเดียวกัน คือการลด Reach และ บีบให้พ่อแม่ค้ามาลงโฆษณา ที่ดูเหมือนต้นทุนค่าโฆษณาจะแพงขึ้นเรื่อย ๆ จนแทบจะไม่เหลือกำไรให้อยู่รอดกันอีกต่อไปแล้ว สำหรับพ่อค้าหลาย ๆ รายที่พึ่งพา facebook เป็นแพล็ตฟอร์มหลัก

ซึ่งในระยะยาว นั้นต้องบอกว่า แพล็ตฟอร์มเหล่านี้ เหล่าพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ต่าง ๆ ต้องมองเป็นหนึ่งในช่องทางการขายเพียงเท่านั้น ไม่ใช่ช่องทางการขายหลัก ต้องกระจายความเสี่ยงออกไปในหลาย ๆ ทางเพิ่มมากขึ้น และหาพยายามสร้างเว๊บไซต์ของตัวเองเพื่อให้เป็นฐานหลักที่เราสามารถ control ทุกอย่างได้โดยไม่ต้องรอลุ้นว่าใครจะปรับอะไรของเราได้ในอนาคตนั่นเองครับ

Geek Story EP29 : Quora บริการถาม-ตอบหมื่นล้าน ที่แสวงหาคำตอบจากคนที่รู้จริง

Quora ก่อตั้งขึ้นในปี 2009 โดย Adam D’Angelo อดีต CTO ของ Facebook และ Charlie Cheever อดีตพนักงาน Facebook ได้เผยแพร่สู่สาธารณะในเดือนมิถุนายน 2010 Quora เป็นแพลตฟอร์มตอบคำถามที่ให้ความสะดวกแก่ผู้ใช้ในการถามคำถาม และแสวงหาคำตอบจากคนที่รู้จริง

วิวัฒนาการของ Quora แสดงให้เห็นว่าความคิดที่อยากรู้อยากเห็นสามารถกลายเป็นสิ่งประดิษฐ์และเปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้คนได้อย่างไร วันนี้มันเป็นหนึ่งในเว็บไซต์ที่น่าสนใจและมีประโยชน์มากที่สุดบนอินเทอร์เน็ตซึ่งไม่เพียง แต่สร้างรายได้เท่านั้น แต่ยังเป็นการเพิ่มคุณค่าที่สำคัญให้กับชีวิตประจำวันของมนุษย์เราได้อีกด้วย

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/2G5w7NI

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/33URc5m

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/gAhYANqJGYA

Geek Story EP14 : Zynga ผู้สร้าง Farmville จากบริษัทดาวรุ่ง สู่ดาวร่วง

สำหรับผู้ที่เล่น facebook ตั้งแต่ในช่วงแรก ๆ ที่เริ่มโด่งดังนั้น คงไม่มีใครรู้จักกับ Zynga บริษัทที่ทำเกมส์บน facebook ชื่อดังอย่าง farmville ซึ่งถือว่าเป็น social network games ที่ดังเอามาก ๆ ในยุคนั้นคนติดกันงอมแงม เราจะเห็น notification ที่เกี่ยวเกมส์นี้เด้งมาตลอด

เพียงไม่กี่ปีสถานการณ์นั้นก็กลับพลิกผันไปอย่างสิ้นเชิง กำบริษัท ที่ถูกตีมูลค่ากว่าหลายพันล้านเหรียญอย่าง zynga กลายเป็นแทบจะไม่มีผู้เล่นในตอนนี้ มันเกิดขึ้นได้อย่างไรเรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจสำหรับบริษัทเทคโนโลยีทีว่ากันว่าเป็น ดาวรุ่งพุ่งแรงและดับแสงลงไปภายในเวลาไม่กี่ปี

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/33EE329

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://bit.ly/3a0oMcQ

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/3a5PZv0

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/JcQT9aKHKiA

References : https://www.npr.org/2012/02/02/145839904/zynga-ceo-wants-to-bring-play-time-to-the-masses

ถ้า TikTok กลายมาเป็นของอเมริกา คุณคิดว่าใครควรจะเป็นเจ้าของ?

แน่นอนว่า เรื่องราวของ TikTok นั้นถือเป็นวิบากกรรมของบริษัท ที่พยายามสร้างบริการแบบ Global แต่ต้องมาถูกเตะตัดขาจากพี่ใหญ่แห่งอเมริกา ที่มองว่า เป็นภัยต่อความมั่นคงหากให้บริการเหล่านี้มาเฉิดฉายในประเทศอเมริกา

การแพร่กระจายไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะหลังเหตุการณ์ COVID-19 ที่เกิดขึ้น ทำให้บริการอย่าง TikTok นั้นยิ่งแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วทั่วโลก และสามารถเจาะขุมทรัพย์ตลาดที่สำคัญที่สุดได้นั่นก็คือ วัยรุ่นชาวอเมริกัน

ซึ่งเป็นตลาดที่เจาะได้ยากที่สุดและ หากเจาะตลาดนี้ได้แล้วนั้น บริการพร้อมที่จะทะยานขึ้นไปสู่กลุ่มคนอื่น ๆ ได้ง่าย เหมือนอย่างที่ facebook ทำสำเร็จมาแล้วกับบริการของพวกเขาในช่วงแรกที่เจาะกลุ่มเริ่มต้นที่นักศึกษามหาวิทยาลัยทั่วโลก ก่อนจะแพร่ระบาดอย่างไรวัส มีผู้ใช้งานกว่าพันล้านคนทั่วโลกอย่างที่เราได้เห็นในปัจจุบัน

เช่นเดียวกับ อีกหลากหลายบริการที่มักเจาะไปที่กลุ่มวัยรุ่นก่อน ก่อนที่จะทะยานขึ้นบริการที่สำคัญทั่วโลกได้ และ TikTok สามารถที่จะทำมันได้สำเร็จ

ปัญหาใหญ่ของพวกเขาตอนนี้ คือ กำลังจะถูกแบน หรือ ถูกบีบบังคับให้ขายให้กับบริษัทจากอเมริกา ซึ่งจากข่าวที่ออกมานั้น ดูเหมือน Microsoft จะกลายเป็นตัวเต็งในการซื้อกิจการนี้

ซึ่งแน่นอนว่า Microsoft นั้นต้องการตลาดนี้มานาน ต้องการส่วนแบ่งตลาดการโฆษณาในโลกออนไลน์ที่มีมหาศาล ที่ Microsoft ยังไม่สามารถเข้าไปกอบโกยได้ แม้จะมี บริการ Search Enginge อย่าง Bing แต่ก็ดูเหมือนจะเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ให้กับ Google อย่างย่อยยับ

Bing ที่ดูเหมือนจะไม่สามารถสู้ Google ได้เลย
Bing ที่ดูเหมือนจะไม่สามารถสู้ Google ได้เลย

แต่ถ้าถามว่าใครอยากได้ TikTok มากที่สุด คงหนีไม่พ้น Facebook อย่างแน่นอน ที่ตอนนี้ กำลังถูกแย่งชิงฐานผู้ใช้งานไปอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องของเวลาที่อยู่ใน Platform นั้นดูเหมือน ว่า TikTok จะสามารถดึงดูดวัยรุ่นให้อยู่ใน Platform ของพวกเขาได้มากกว่า

มันคือภัยคุกคามอย่างชัดเจนต่อธุรกิจ ของ Facebook แม้จะพยายามสร้างบริการเลียนแบบอย่าง Lasso หรือ สร้างบริการขึ้นมาในผลิตภัณฑ์ตัวเองอย่าง Instagram Reels ก็ตาม แต่ดูเหมือนยังไม่สามารถที่จะการันตีได้ว่าจะเอาชนะ TikTok ที่กำลังฮิตติดลมบนได้

แต่ดูจากประวัติศาตร์แล้วนั้น ต้องบอกว่า Microsoft กับ Facebook ถือเป็นพันธมิตรที่ดีต่อกันมานานแสนนาน ตั้งแต่ตั้งใจซื้อหุ้นสร้างมูลค่าให้กับ Facebook ในยุคแรกเริ่มเพื่อกันท่า Google ไม่ให้มาครอบครอง Facebook แล้วนั้น ดูเหมือนว่าหลังจากนั้นทั้งสองบริษัทจะกลายเป็นพันธมิตรกันอย่างเหนียวแน่น

ยามใดที่ Facebook ต้องออกศึกกับ Google ก็ดูเหมือนพี่ใหญ่อย่าง Microsoft ก็มักจะมาช่วยเหลืออยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น ในตอนที่สู้กันเมื่อ Google Plus ของ Google ได้ออกมาพร้อม Features มากมายพร้อมฟังก์ชั่นเด็ดอย่าง Hangout ทางฝั่ง Microsoft ก็ส่ง Skype เข้ามาช่วยเหลือ Facebook ได้อย่างทันท่วงที ไม่ให้พลาดท่าแก่ Google ในศึกครั้งนั้น

ซึ่งด้วยความที่เป็นพันธมิตรที่เหนียวแน่น ถึงขนาดว่า faceboook ยอมใช้ map ของ microsoft ไม่ได้ใช้ map ของ Google ใน platform ของตัวเอง ต้องบอกว่า หาก Microsoft ได้ TikTok มาครอบครอง โลกของ Social นั้นก็จะถูกยึดโดยทีมพันธมิตร Microsoft-Facebook ได้อย่างแน่นอน

แต่อีกฝั่งที่ผมเชียร์ ก็คือ Google ที่มองว่ายังขาด Product ที่เป็น Social Platform ที่แม้จะพยายามปลุกปั้น (Google Plus) หรือ เข้าซื้อกิจการมาก็แล้ว (Orkut) ก็ดูเหมือนว่ายังคงปั้นไม่ขึ้น กับบริการในด้าน Social

Orkut ที่ Google เคยซื้อกิจการมา
Orkut ที่ Google เคยซื้อกิจการมา

ซึ่ง TikTok เอง ก็ถือว่า เข้ามารุกรานธุรกิจหลักของ Google เช่นกัน เพราะมันก็ถือว่าเป็น Platform วีดีโอ ที่แม้จะเป็น วีดีโอ แบบสั้น ๆ แต่ก็ถือว่าแย่งฐานผู้ใช้งานหลักที่เป็นวัยรุ่นไปจาก Youtube เช่นเดียวกัน

ส่วนตัวก็ยังคิดว่า ควรจะ Balance โลก Social ให้เกิดการแข่งขันกันมากกว่านี้ ซึ่ง หาก TikTok ได้มาเป็นเจ้าของโดย Google น่าจะเป็นการดีกว่า ซึ่งจะคอย Balance โลก Social ให้แข่งขันกันสนุกขึ้น และ ข้อมูล พฤติกรรม ของพวกเราใน social จะไม่ตกอยู่ในฝั่งใดฝั่งหนึ่งมากเกินไปนั่นเอง

แล้วถ้า TikTok ต้องถูกครอบครองโดยบริษัท อเมริกันจริง ๆ คุณคิดว่าใครควรจะเป็นเจ้าของ Platform น้องใหม่ที่มาแรงสุด ๆ อย่าง TikTok กันแน่ครับ?

References : https://findyoursounds.com/2020/08/01/microsoft-in-talks-to-acquire-tiktok-say-reports/

Geek Daily EP22 : MISIM กับเครื่องมือการเขียนโปรแกรมใหม่ที่ไม่ต้องพึ่งพา Programmer

MISIM เครื่องมือการเขียนโปรแกรมใหม่ที่หวังว่า ในวันหนึ่งการเขียนซอฟต์แวร์จะทำเพียงแค่อธิบายสิ่งที่ต้องการทำในรูปแบบคำพูด แล้วเครื่องมือเหล่านี้จะเปลี่ยนมันเป็น Software ให้เองโดยอัตโนมัติ

MISIM ไม่ได้เชื่อมโยงกับไวยากรณ์ของโปรแกรมเฉพาะ จึงมีสิ่งต่าง ๆ อีกมากมาย ที่มันสามารถทำได้ ตัวอย่างเช่น สามารถใช้เพื่อแปลรหัสที่เขียนด้วยภาษาเก่า ๆ เช่น COBOL เป็นภาษาที่ทันสมัยกว่า เช่น Python 

เนื่องจากยังมีบริษัทหรือองค์กรต่าง ๆ อีกจำนวนมากรวมถึงหน่วยงานรัฐบาลหลายแห่ง ที่ยังคงพึ่งพาซอฟต์แวร์ที่เขียนเป็นภาษาซึ่งผู้เขียนโค้ดบางคนรู้วิธีการบำรุงรักษาหรือปรับปรุงเพียงไม่กี่คนเท่านั้น

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/314BKSV

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://bit.ly/2BRfYcU

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/3hSBqgU

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/12ByXhPzVOk

References : https://www.technologyreview.com/2020/07/29/1005768/neural-network-similarities-between-programs-help-computers-code-themselves-ai-intel/