ประวัติ Elon Musk ตอนที่ 14 : A Burning Man

พี่น้องตระกูลไรฟ์ ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องของมัสก์นั้นคือเหล่าเด็กหนุ่มกลุ่มเดียวกันที่โตมาในประเทศแอฟริกาใต้ ซึ่งพวกเขามีสิ่งบางอย่างที่เหมือนกัน คือ เป้าหมายในการสร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งพวกเขาเหล่านี้คิดมาตั้งแต่เยาว์วัย แม้ในช่วงทศวรรษ 1990 นั้นพวกเขาจะเป็นเพียงแค่เด็กที่ไร้เดียงสา ที่เดินไปตามถนนเพื่อถามร้านต่าง ๆ ในเมืองว่าต้องการให้ช่วยจัดการเรื่องระบบคอมพิวเตอร์หรือไม่

เช่นเดียวกับมัสก์ พี่น้องตระกูลไรฟ์ ได้ใช้ความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ มาสร้างระบบงานมาตรฐานหลายอย่างให้สามารถทำงานได้แบบอัติโนมัติ ภายใต้บริษัท Everdream นำโดย ลินดอน ไรฟ์ ผู้เป็นพี่ใหญ่ ร่วมกับ ปีเตอร์ และ รัสส์ ไรฟ์ ได้กลายมาเป็นเศรษฐีดอทคอม คนหนึ่งใน ซิลิกอน วัลเลย์ เหมือน ๆ กับที่มัสก์สามารถทำได้สำเร็จ ในยุคแรกเริ่มกับ Zip2 

ลินดอน ไรฟ์ กับพี่น้อง สร้าง Everdream จนประสบความสำเร็จ
ลินดอน ไรฟ์ กับพี่น้อง สร้าง Everdream จนประสบความสำเร็จ

โดยในปี 2004 ลินดอน กับ น้องชาย ปีเตอร์ และ รัสส์ ต้องการความท้าทายใหม่ ๆ  พวกเขาได้เช่ารถบ้านหนึ่งคัน และเดินทางร่วมกันมัสก์ ไปยังทะเลทราย แบล็กร็อก และชมความบ้าคลั่งของงานเทศกาลศิลปะ เบิร์นนิ่งแมน ที่ ๆ มัสก์ มักจะไปเป็นประจำอยู่แล้วในทุก ๆ ปี

มันเป็นทริป ที่ใช้ในการผ่อนคลาย สำหรับพวกเขาหลังจากที่เคยออกผจญภัยอยู่สม่ำเสมอในวัยเด็กที่ประเทศ แอฟริกา มันเป็นทริปย้อนรำลึกความหลังของพวกเขา และเป็นการถามไถ่สารทุกข์สุขดิบ ของอดีตเพื่อนในวัยเยาว์

เทศกาล เบิร์นนิ่งแมน กลางทะเลทราย
เทศกาล เบิร์นนิ่งแมน กลางทะเลทราย

และสิ่งสำคัญที่สุดก็คือ มันเป็นการระดมสมองเรื่องธุรกิจ ที่ พี่น้องตระกูล ไรฟ์ ต้องการความท้าทายใหม่ ๆ ในชีวิต ซึ่งระหว่างทริปนี้ นี่เอง ที่มัสก์ได้แนะนำลินดอน ให้ลองไปดูตลาดพลังงานแสงอาทิตย์ มันเป็น ไอเดียที่เจ๋งมากสำหรับ ลินดอน ที่ต้องการความท้าทายใหม่ ๆ ในชีวิตอยู่แล้ว

จากการจุดประกายของมัสก์ ในครั้งนี้ มันทำให้ หลังจากกลับจากงานเบิร์นนิ่งแมน ทำให้พวกเขาต่างไฟลุกโชนขึ้นมาอีกครั้ง พี่น้องไรฟ์ ตัดสินใจอย่างทันทีทันใดว่าจะกระโจนเข้าสู่อุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ และได้ทำการศึกษามันอย่างจริงจัง ผ่านข้อมูลต่าง ๆ ทั้งหนังสือ รวมถึงข้อมูลออนไลน์ และองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ในตอนนั้น มีผู้ผลิตแผงพลังงานแสงอาทิตย์อยู่ไม่กี่ราย ที่ส่วนใหญ่จะมาจากประเทศจีน ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้คิดอยู่อย่างเดียวคือ การรอให้ราคาแผงพลังงานแสงอาทิตย์ลดลง เพื่อดึงดูดให้คนเข้ามาใช้งานพลังงานทดแทนตัวนี้เพิ่มมากขึ้น มันเป็นการแข่งขันกันเรื่องราคาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

มันไร้ซึ่ง ไอเดียใหม่ ๆ สิ้นดี  การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ นั้นเป็นเรื่องยุ่งยาก เต็มไปด้วยกระบวนการมากมาย  ทั้งที่มันเป็นพลังงานแห่งอนาคตชัด ๆ 

นี่เองเป็นสาเหตุสำคัญให้พี่น้องไรฟ์ ได้ตัดสินใจตั้งบริษัท SolarCity ขึ้นในปี 2006  แนวคิดหลักแรกที่ทำการตั้ง SolarCity ขึ้นมานั้น พวกเขาจะไม่ผลิตแผงโซล่าร์เซลล์เอง แต่จะจัดการ Ecosystem ทั้งหมดในการติดตั้งแผงพลังงานนี้แทน โดยนำเทคโนโลยีมาช่วยเหลือให้ได้มากที่สุด ซึ่งเป็นงานที่พวกเขาถนัดอยู่แล้ว

ตั้ง SolarCity ขึ้นมาโดยใช้เทคโนโลยีในการช่วยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ตั้ง SolarCity ขึ้นมาโดยใช้เทคโนโลยีในการช่วยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ในช่วงเริ่มต้นนั้น มัสก์ ได้ลงทุนในตอนเริ่มต้นเป็นเงินกว่า 10 ล้านเหรียญเพื่อเริ่มต้นบริษัทในการจ้าง นักการตลาด นักวิจัย และเหล่านักพัฒนาให้มาคิดโมเดลใหม่ ๆ รวมถึงหาลู่ทางในการทำธุรกิจด้านพลังงานไฟฟ้าให้แตกต่างไปจากที่มีอยู่เดิม

พวกเขาได้ใช้ความรู้ทางด้านเทคโนโลยี มาสร้างซอฟท์แวร์ สำหรับวิเคราะห์บิลค่าพลังงานปัจจุบันของลูกค้า และตำแหน่งบ้านรวมถึงปริมาณแสงแดดที่ได้รับเพื่อให้ลูกค้าได้ตัดสินใจว่า การลงทุนติดแผงโซล่าร์เซลล์นั้น จะคุ้มหรือไม่

พวกเขาได้คิด โมเดล ธุรกิจขึ้นมาใหม่ โดยให้ลูกค้าเช่าแผงโซล่าร์เซลล์ เป็นรายเดือนแทน โดยแทบจะไม่ต้องมีการลงทุนล่วงหน้าเลย จากการคำนวณผ่าน ซอฟต์แวร์ที่พวกเขาได้พัฒนาขึ้น และที่สำคัญยังสามารถอัพเกรดเป็นแผงรุ่นใหม่ ๆ ได้ทันที ไม่ต้องลงทุนใหม่ทั้งระบบ

ซึ่งมัสก์ ก็เป็นตัวตั้งตัวตีในการสร้าง SolarCity นี้ขึ้นมา อีกทั้งกลายมาเป็นประธานบริษัทและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุด

และเพียงแค่ หกปีให้หลัง SolarCity ได้กลายมาเป็นผู้ติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์รายใหญ่ที่สุดของประเทศ เป็นการปฏิวัติวงการติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์ ทำให้เป็นเรื่องง่าย ไม่ยุ่งยากเหมือนในอดีตอีกต่อไป 

ไม่ใช่แค่ลูกค้าทั่วไปเท่านั้น พวกเขายังขยายตลาดไปยังลูกค้าที่เป็นองค์กรขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น Intel , Walgreens , Wal-Mart ได้มีการเซ็นสัญญาติดตั้งกับ SolarCity แทบจะทั้งสิ้น ทำให้ในปี 2012 SolarCity ได้กลายเป็นบริษัทมหาชน และ มูลค่าหุ้นก็พุ่งสูงติดเพดาน ในปี 2014 SolarCity กลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่ากว่า 7,000 ล้านเหรียญ

กลายมาเป็นผู้ผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์รายใหญ่ในที่สุด
กลายมาเป็นผู้ผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์รายใหญ่ในที่สุด

แม้ซิลิกอน วัลเลย์ จะได้ทุ่มเงินไปมากมายกับเทคโนโลยีสีเขียว แต่ส่วนใหญ่นั้นก็จะล้มไม่เป็นท่าเสียเป็นส่วนมาก นักลงทุนชื่อดังหลายราย สูญเสียเงินมากมาาย กับ Trend ที่เรียกว่าเทคโนโลยีสีเขียว ไม่ว่าจะเป็น ฟิซเกอร์ หรือ เบทเทอร์เพลซ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นเทคโนโลยีที่ดีต่อโลกจริง แต่เป็นไปได้ยากในทางธุรกิจ

มีเพียงชายที่ชื่อ อีลอน มัสก์ เท่านั้น ที่เป็นผู้รอดเหลือจากธุรกิจเหล่านี้มาได้ ซึ่งเขาเป็นคนที่ค้นพบวิธีในการ บาลานซ์ กันระหว่างโลกธุรกิจ กับ เรื่องของแนวคิดของเทคโนโลยีสีเขียว มัสก์ มีบริษัทเทคโนโลยีสะอาดที่ประสบความสำเร็จด้วยดี ถึงสองแห่ง

ซึ่ง SolarCity ก็เหมือน ๆ กับการลงทุนอย่างอื่นของมัสก์ มันได้แสดงให้เห็นศักยภาพทางด้านธุรกิจที่จะประสบความสำเร็จตั้งแต่แรก นักลงทุนต่างบ่ายหน้าหนี เหมือนทุก ๆ ครั้ง แต่มัสก์ เชื่อโดยสนิทใจว่า พลังงานแสงอาทิตย์นั้นมีความสมเหตุสมผล เพราะแสงอาทิตย์ นั้นได้ถูกกำหนดมาแล้วว่าจะกลายเป็นพลังงานที่ดีกว่าของมนุษยชาติในอนาคต

ซึ่งเหล่าผู้สังเกตการณ์ SolarCity อย่างใกล้ชิด นั้นได้มองเห็นภาพอย่างชัดเจนว่า บริษัทได้กลายมาเป็นหน่วยงานสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานเลยก็ไม่อาจจะกล่าวเกินไปนัก เพราะ SolarCity ได้สร้างเครือข่ายระบบพลังงานแสงอาทิตย์ให้อยู่ภายใต้การควบคุมทั้งหมด

โดยบริหารจัดการด้วยซอฟต์แวร์อัจฉริยะ ที่พวกเขาสร้างขึ้นมา ซึ่งในปี 2015 มีการประเมินว่า SolarCity นั้นจะติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์ ได้เทียบเท่าพลังงานไฟฟ้า 2 กิกะวัตต์ ผลิตไฟฟ้าได้ถึงปีละ 2.8 เทราวัตต์ต่อชั่วโมง ซึ่งจะทำให้ SolarCity นั้นกลายเป็นหนึ่งใน ซัพพลายเออร์พลังงานไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ

และไม่ใช่เพียงแค่เรื่องธุรกิจเพียงเท่านั้น องค์กรการกุศล Musk Foundation ที่อีลอน มัสก์ได้ก่อตั้งขึ้นมานั้น ได้ช่วยเหลือในเรื่องการสร้างแหล่งพลังงาน ให้กับผู้ประสบภัยจากทั้ง พายุ เฮอริเคน แคทาริน่า ในปี 2005 รวมถึงในเหตุการณ์วิกฤติ Deepwater Horizon Oil การรั่วไหลของน้ำมันครั้งใหญ่ ในปี 2010 อีกด้วย

และยิ่งไปกว่านั้น SolarCity เป็นส่วนประกอบสำคัญของทฤษฏีสนามรวมของ อีลอน มัสก์ ธุรกิจแต่ละอย่างของเขานั้นเกี่ยวโยงกันทั้งในระยะสั้นและระยะยาว Tesla สร้างชุดแบตเตอรี่ให้ SolarCity นำไปขายให้กับผู้บริโภคปลายทางได้ 

ส่วน SolarCity นั้นเป็นตัวส่งพลังงานแสงอาทิตย์ให้สถานีซุเปอร์ชาร์จของ Tesla ซึ่งช่วยให้ Tesla นั้นให้บริการชาร์จใหม่ฟรีให้กับเหล่าลูกค้าของ Tesla ซึ่งกลายเป็นข้อได้เปรียบอย่างสำคัญของ Tesla ที่เหมือนมีปั๊มน้ำมันของตัวเองแต่ใช้พลังงานจากแสดงอาทิตย์แทน

SolarCity ให้พลังงานแสดงอาทิตย์แก่ SuperCharger ของ Tesla
SolarCity ให้พลังงานแสดงอาทิตย์แก่ SuperCharger ของ Tesla

รวมถึงการช่วยเหลือกันของ ทั้ง SpaceX และ Tesla เช่นเดียวกัน เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ต่าง ๆ ในด้านการผลิต หรือวัตถุดิบต่าง ๆ ที่ส่วนใหญ่แล้วจะเริ่มต้นมาจากศูนย์ และสุดท้ายมันก็ได้ทำให้เครือข่ายธุรกิจของมัสก์แข็งแกร่งเกินกว่าที่ใครจะล้มได้ง่าย ๆ ในที่สุดนั่นเอง

–> อ่านตอนที่ 15 : Idea Overload

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Sand Hill Road *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ