Cheeky Chunk กับการทิ้งปริญญา MBA สู่เส้นทางมหาเศรษฐีค้าร่มออนไลน์

ร่ม อย่างที่เราได้รู้จักกันดีว่ามันถูกใช้เพื่อปกป้องเราจากฝน หรือ แสงแดด หลายคนมองร่มเป็นสินค้าที่มีคู่แข่งมากมาย และเป็นธุรกิจที่ไม่น่าสนใจ แต่ชายที่มีนามว่า Pratik Doshi มองเห็นโอกาสที่ต่างออกไป

Pratik เติบโตขึ้นในเมือง Wadala ทางมุมไบตอนใต้ ประเทศอินเดีย พ่อของ Pratik เป็นนักธุรกิจธรรมดา ๆ คนหนึ่งที่ไม่ได้มีฐานะร่ำรวยแต่อย่างใด แต่เขาไม่ต้องการที่จะอยู่ภายใต้เงาพ่อเขาเขา ต้องการสร้างความสำเร็จด้วยตัวของเขาเอง

Pratik ได้เริ่มต้นธุรกิจ Cheeky Chunk ในปี 2014 ในตอนแรกนั้นเขาได้วางจำหน่ายร่มสุดแหวกแนวของเขาไม่กี่แห่งในตลาดเล็ก ๆ ของประเทศอินเดีย แต่เนื่องจากได้รับการตอบรับที่ดี เขาจึงได้เริ่มมาเอาจริงเอาจัง และเริ่มต้นสร้างบริษัทขายร่มที่มีดีไซน์และเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร

แล้วคำถามว่าทำไมต้องเป็นร่ม? คำตอบของ Pratik คือ “ทุกคนใช้ร่ม และผมก็คิดว่าทำไมไม่ออกแบบมันในลักษณะที่ผู้คนจะรู้สึกผูกพันกับมัน แล้วจึงต้องพกมันไปเพราะความรักสิ่ง ๆ นี้ ไม่ใช่เพียงเพื่อประโยชน์ใช้สอยเท่านั้น และนั่นคือวิธีที่ Cheeky Chunk ถูกสร้างขึ้น”

Pratik ที่เรียนจบ MBA จากมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศอินเดีย ต้องทนให้เพื่อนหัวเราะเยาะเขาอยู่ตลอดเวลาในช่วงแรก ๆ ของการตั้งบริษัทค้าร่มของเขา ซึ่งในขณะที่เพื่อน ๆ MBA ได้รับเงินเดือนมหาศาล และนั่งโต๊ะทำงานสบาย ๆ ในห้องแอร์ แต่ชีวิตของ Pratik นั้นแตกต่างออกไป

Pratik คิดอย่างเดียวว่า ต้องสร้างตัวให้ทัดเทียมเพื่อน ๆ ให้ได้เร็วที่สุด เขาก็พยายามขยายตลาดร่มของเขาไปทั่วเมือง โดยการเริ่มต้นจาก 0 เพราะเขาเองก็แทบจะไม่มีเงินทุนในการขยายกิจการมากนัก

Pratik เริ่มต้นจากการทำงานร่วมกับนักเรียนศิลปะที่ดูมีแวว เขาได้นำร่ม 500 คันที่ทำการผลิตและจำหน่ายผ่านทางเพื่อน ๆ และครอบครัวของเขา โดยใช้เงินทุนตั้งต้นราว ๆ 135,000 รูปี หรือราว ๆ ห้าหมื่นบาทไทย เพื่อนำมาเป็นทุนในการออกแบบผลิตภัณฑ์และพัฒนาเว็บไซต์ โดยเป็นเงินที่เขาได้รับจากการสอนพิเศษในสมัยเรียนมหาวิทยาลัย

ร่มที่ดีไซต์เป็นเอกลักษณ์ของ Cheeky Chunk
ร่มที่ดีไซต์เป็นเอกลักษณ์ของ Cheeky Chunk (CR:yourstory)

แต่ครึ่งปีแรกผ่านไปอย่างทุลักทะเล เพราะแทบจะไม่มีลูกค้านอกจากจากเพื่อนและครอบครัวของเขา ซึ่งแทบจะไม่สร้างกำไรจากธุรกิจขายร่มของเขาได้เลย ตอนนั้นเขาคิดว่าตัวเองต้องไปหางานที่เหมาะสมจริง ๆ ที่ดีกว่าการมาขายร่ม และทำตัวให้เหมือนกับเพื่อน ๆ ที่นั่งตากแอร์ทำงานสบาย ๆ

มันเป็นเรื่องที่เจ็บปวดมาก ๆ และเต็มไปด้วยความเครียดและความผิดหวัง ที่เมื่อเขามองเพื่อน ๆ ที่ได้ดิบได้ดีกันถ้วนหน้า เขาจึงต้องเลือกทางเดินของชีวิต โดยตัดสินใจที่จะลองพยายามอีกครั้ง เป็นครั้งสุดท้ายหากไม่ work ก็จะกลับไปทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือนเหมือนเพื่อน ๆ คนอื่น

เขาจึงต้องทำร่มที่สมบูรณ์แบบที่ดีที่สุดในตลาด โดยปรับกระบวนการผลิต Pratik ได้ทำการจัดหาเฟรมร่มคุณภาพสูงจากซัพพลายเออร์ในประเทศ และจ้างผู้รับเหมามืออาชีพในเรื่องการพิมพ์และเย็บร่ม

เขาต้องทำหลาย ๆ อย่างด้วยตัวคนเดียวไม่ว่าจะเป็นการซ่อมเครื่องพิมพ์ลายเพื่อให้มันกลับมาทำงานได้อีกครั้ง หรือ การแบกผ้า 10 กก. ไว้บนบ่าเป็นระยะทาง 1 กิโลเมตร เพื่อให้แน่ใจว่าร่มของเขาจะได้รับการผลิตที่ตรงตามเวลา

หลังจากมาโฟกัสเรื่องคุณภาพ คำสั่งซื้อก็เพิ่มเข้ามามากขึ้น ซึ่งสูงถึง 400 คันต่อวัน จึงเป็นเรื่องยากที่เขาจะสามารถแบกรับทุกอย่างไว้คนเดียวอีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการแพ็คสินค้า ตรวจสอบผลิตภัณฑ์ การออกใบแจ้งหนี้ หรือ ดูแลงานอื่น ๆ

เมื่อยอดขายเพิ่มขึ้น Pratik ก็ต้องการทีมงานเพื่อขยายกิจการ
เมื่อยอดขายเพิ่มขึ้น Pratik ก็ต้องการทีมงานเพื่อขยายกิจการ (CR:yourstory.com)

ในปี 2015 เขาจึงได้เพิ่มทีมงานระดับท็อป 6 คน ซึ่งประกอบไปด้วยนักศึกษาฝึกงาน MBA 2 คน นักบัญชี และ เจ้าหน้าที่บรรจุร่มอีกตำแหน่งละ 2 คน เพื่อมาขยายกิจการร่มของเขา

เมื่อฝนตกหนัก

แน่นอนว่าจุดเปลี่ยนสำคัญของกิจการร่มของเขาก็คือ เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนที่ฝนในอินเดียตกหนักมาก ๆ และร่มของ Pratik ก็เริ่มขายดีเป็นเทน้ำเทท่า

และการที่ Pratik ได้นำร่มเข้าสู่ตลาด Ecommerce เขาใช้เทคนิควิธีในการอัปโหลดรายชื่อผลิตภัณฑ์ทั้งหมด และใส่คำค้นหามากกว่า 100 คำ เพื่อให้ผู้คนสามารถค้นพบผลิตภัณฑ์ของเขาได้

ซึ่งเป็นการทำตลาดแบบ SEO (Search Engine Optimization) เมื่อเขาวางขายร่มคันแรกในเว๊บไซต์อย่าง amzon ตอนแรกคำค้นหาของเขาอยู่หน้า 20 แต่เพียงไม่ถึง 3 สัปดาห์มันก็ได้พุ่งขึ้นไปอยู่หน้าแรก และกลายเป็นร่มที่ขายดีที่สุดใน amazon.in ทันที

ปัจจุบัน Cheek Chunk ขายผ่านเว๊บไซต์ของพวกเขาเอง รวมถึงในแพล็ตฟอร์ม Ecommerce ต่างๆ มากมายไม่ว่าจะเป้น Flipkart , Amazon , Snapdeal และร้านค้าปลีกอีก 2-3 แห่งในเมืองมุมไบ

ยอดขายส่วนใหญ่มาจาก Ecommerce แทบจะทั้งสิ้น ทำให้บริษัทร่มของเขากลายเป็นอีกหนึ่งบริษัทที่มีอัตราการเติบโตสูงสุดใน แพล็ตฟอร์ม Ecommerce ของอินเดีย

Pratik ยังตัดสินใจที่เพิ่มสีสันให้กับร่มของเขาด้วย เขาตัดสินใจผลิตร่มที่มีสีต่าง ๆ กัน ทำให้ผลิตภัณฑ์ของเขากลายเป็นที่นิยมเพื่อจุดประสงค์อื่นนอกเหนือจากการเป็นเพียงแค่ร่มกันฝนเพียงเท่านั้น

เป้าหมายของ Cheeky Chunk ไม่ใช่เรื่องความเชี่ยวชาญในการผลิตร่ม เพราะคงมีคนทำได้จำนวนมากในอินเดีย แต่ Pratik เลือกที่จะผลิตร่มที่มีธีมและการออกแบบที่สร้างสรรค์เพื่อเชื่อมโยงความทรงจำของสายฝนกับอารมณ์ความรู้สึกของผู้ใช้ร่ม

แนวคิดที่น่าสนใจจาก Pratik กับธุรกิจขายร่มอย่าง Cheek Chunk เขาได้กล่าวว่า การถ่ายภาพที่สวยงามนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญต่อธุรกิจของเขา เขาเชื่อว่า 50 % ของการตลาดของผลิตภัณฑ์ของเขา มันได้ถูกสร้างการบอกต่อโดยตัวผลิตภัณฑ์และลูกค้าของเขาเอง

เขาแนะนำสิ่งที่สำคัญว่า อย่าจ่ายเงินให้ใครเด็ดขาด เพื่อมาอวยผลิตภัณฑ์ของตัวเอง ปล่อยให้การรีวิวแบบธรรมชาติจากลูกค้าเป็นการบอกต่อสร้างคุณค่าของผลิตภัณฑ์ของตัวคุณเองจะดีกว่า

มีคำพูดที่น่าสนใจจาก Pratik ที่กล่าวว่า “คุณจะไม่มีทางเห็นพวกเราขาย แก้วกาแฟธรรมดา ๆ หรือ เสื้อยืดธรรมดา ๆ ที่มีหลายคนทำมัน และเราไม่อยากเสียเวลาในการทำแบบเดียวกันกับคนอื่น คุณจะเห็นเราแก้ปัญหาที่แท้จริงด้วยความคิดสร้างสรรค์ของเราเท่านั้น”

“คุณอาจจะเห็นคนสิบคนที่ถือร่มสีดำที่ดูซ้ำซากจำเจน่าเบื่อ แต่คุณต้องยิ้มเมื่อเห็นคนที่สิบเอ็ดถือร่ม Cheeky Chunk สีเหลืองที่ออกแบบมาโดยความคิดสร้างสรรค์ของเรา นั่นคือสิ่งที่เราตั้งใจจะทำเพื่อผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของเรา”

References : https://yourstory.com/2015/07/cheeky-chunk-pratik-doshi
https://medium.com/the-innovation/the-man-whose-startup-made-millions-just-by-selling-umbrellas-2ab1d802a7
https://www.theweekendleader.com/Success/2693/happy-rainy-days.html
https://www.hfumbrella.com/umbrella-manufacturer-story

ยินดีต้อนรับสู่ปี 2029 ในวันที่โลกเราไม่มีห้างสรรพสินค้าอีกต่อไป

พอดีเพิ่งได้มีโอกาสหนังสือ The Future is Faster Than You Think จากนักเขียน Peter H.Diamandis และ Steven Kotler ต้องบอกว่ามีหลากหลายเรื่องราวจากหนังสือเล่มนี้ที่น่าสนใจที่ผมอยากมาเล่ากัน

เป็นหนังสือที่ว่าด้วยเรื่องราวของการทำนายโลกอนาคต ผ่านการวิเคราะห์เทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งในบทหนึ่ง หนังสือได้ฉายภาพอนาคตของการที่จะไม่มีห้างสรรพสินค้าอีกต่อไปได้อย่างน่าสนใจเลยทีเดียว

ซึ่งผมคิดว่ามันเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ โดยเฉพาะในประเทศอย่างอเมริกา ที่วัฒนธรรมการช็อปปิ้งออนไลน์กำลังกลายเป็นกระแสหลัก และห้างสรรพสินค้าเริ่มทยอยล้มหายตายจากไปทีละราย จากที่ได้เราได้เห็นจากข่าวกัน

และแน่นอนว่า มันมี 2-3 เทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นแน่ ๆ เช่น Virtual Reality , 3D Printing , Voice Assistant ที่กำลังเริ่มเข้ามามีบทบาทอย่างมากในปัจจุบัน

โดยทางผู้เขียนได้ทำนายไว้ว่าในปี 2029 เครือข่ายเซ็นเซอร์ต่าง ๆ รวมถึงเทคโนโลยี AI ได้พัฒนาจนถึงขีดสุด

เราไม่จำเป็นต้องเดินทางไปห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ อีกต่อไป เพราะโลกของห้างสรรพสินค้านั้นมาอยู่บนโลก Virtual Reality ทั้งหมดแล้วนั่นเอง เราสามารถเข้าถึงนักออกแบบชื่อดัง แบรนด์ชื่อดัง ของทั้งโลกผ่าน VR

ระบบ Voice Assistant จะช่วยให้เราได้รู้ว่า มีอะไรที่กำลังเป็นเทรนด์อยู่บนโลกนี้ที่ถูกเชื่อมต่อถึงกันแบบไร้รอยต่อ

ยิ่งโดยเฉพาะสินค้าแฟชั่น นั้น จะเป็นการสร้างเพื่อตอบความต้องการของลูกค้าแต่ละราย การ Customise ไปยังลูกค้าแต่ละรายที่แตกต่างกัน เราไม่ต้องใส่เสื้อผ้าเหมือนใครอีกต่อไป เราอาจจะได้เห็น เสื้อผ้าชิ้นเดียวของแบรนด์ชื่อดัง ที่มีแค่เราเท่านั้นที่ใส่อยู่คนเดียวบนโลกใบนี้

แน่นอน เพราะเทคโนโลยีอย่าง 3D Printing ก็กำลังพัฒนาไปอย่างมาก ไม่ต้องมีการ stock ไปยังร้านค้าที่เป็น Physical อีกต่อไป มีการผลิตตาม Demand ความต้องการแบบทันที และตรงทุกความต้องการของลูกค้าแต่ละราย

และการจัดส่งสินค้าก็จัดส่งอย่างรวดเร็วผ่าน Drone ทำให้ได้รับสินค้าแทบจะในทันทีหลังการผลิตออกมาจากเครื่องปริ้นต์ 3 มิติ

ถือได้ว่าเป็นการทำนายที่น่าสนใจ ที่อ้างอิงพื้นฐานของเทคโนโลยีที่กำลังจะเกิด การ scan ร่างกายแบบ 3 มิติ นั้นเรามีเทคโนโลยีที่รองรับอยู่แล้วในปัจจุบัน และ Amazon ก็ได้ซื้อกิจการ Body Labs ที่มีเทคโนโลยีนี้อยู่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ที่ปรึกษาแฟนชั่นด้าน AI ทั้ง Alibaba และ Amazon ก็ใช้เทคโนโลยี Deep Learning เพื่อให้คำแนะนำ โดยอาศัยคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านแแฟชั่นที่เป็นมนุษย์ หรือ อัลกอริธึมของ Amazon ให้คำแนะนำเสื้อผ้าตามความต้องการของผู้ใช้และพฤติกรรมในโลก Social Media

ส่วนระบบ VR นั้น Hololux ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง Microsoft และ London College of Fashion แว่นตา VR ที่ช่วยให้คุณเลือกซื้อสินค้าในความเป็นจริงได้แบบผสมผสานจากทุก ๆ ที่ในโลก

ต้องบอกว่าโลกเราจะเปลี่ยนไปอย่างที่เราคาดไม่ถึงในอีก 10 ปีข้างหน้า และในวันนั้นเราอาจจะได้เห็น วันสิ้นสุดของห้างสรรพสินค้า ที่เราผูกพันกับมันมาอย่างยาวนานก็เป็นได้นั่นเองครับผม

References : หนังสือ The Future is Faster Than You Think โดย Peter H.Diamonds และ Steven Kotler

11.11 กับคลื่นวัฒนธรรมช็อปปิ้งใหม่จากจีนที่กำลังกลืนกินพฤติกรรมคนไทย

ต้องบอกว่าเป็นกระแสที่มาแรงมาก ๆ กับมหกรรมช็อปปิ้ง 11.11 วันคนโสดจีน ที่กำลังกลายมาเป็นวัฒนธรรมใหม่ของการช็อปปิ้งในประเทศไทย ที่ตอนนี้ยอดขายในเทศกาลดังกล่าวกำลังเติบโตแบบต่อเนื่องในทุก ๆ ปี

ซึ่งแน่นอนว่า มันมีทั้งทีส่งผลดี และส่งผลกระทบต่อพ่อค้าแม่ค้าชาวไทย หลังจากการบุกเข้ามาอย่างหนักของสินค้าจีน และ พ่อค้าแม่ค้าชาวจีน ที่แห่กันมาเปิดร้านในแพล็ตฟอร์มเหล่านี้เป็นว่าเล่น

รวมถึงการที่รัฐบาลไทยได้ส่งเสริมนโยบายด้วยการ ให้ผู้ประกอบการใหญ่จากจีน มาจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าขึ้นในไทย ซึ่งกำลังส่งผลกระทบมาก ๆ ต่อพ่อค้าแม่ค้าชาวไทยในขณะนี้

แน่นอนว่าการเกิดขึ้นของกิจกรรม เทศกาลต่าง ๆ เหล่านี้ ล้วนเป็นผลดีต่อผู้บริโภคชาวไทย ที่ได้ใช้สินค้าราคาถูกมาก ๆ ซึ่งถูกจนเหลือเชื่อในสินค้าบางรายการ ที่เรียกได้ว่าเป็นการ สปอยล์ ผู้ใช้งานชาวไทย ด้วยการลดราคาแบบกระหน่ำ โดยแบกรับภาระต่าง ๆ ด้วยตัวของแพล็ตฟอร์มเอง

ซึ่งเราจะได้เห็นถึงผลประกอบการอย่างที่รู้ ๆ กันว่า พวกเขายิ่งโต ก็ยิ่งขาดทุน และขาดทุนเพิ่มขึ้นจำนวนมหาศาล ผ่านการอัดฉีดเม็ดเงินในการโฆษณา และ จัดแคมเปญ อย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างนิสัยใหม่ให้คนไทยมาซื้อสินค้าผ่าน แพล็ตฟอร์มออนไลน์ของพวกเขา เหมือนที่ทำสำเร็จในประเทศจีนมาแล้วนั่นเอง

และสินค้าจากประเทศจีน ซึ่งเป็นประเทศที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็น โรงงานผลิตสินค้าของโลก​ ไปแล้ว ก่อนหน้านี้ หลายธุรกิจทั่วโลกต่างพากันสั่งสินค้าจากจีนมาขายในประเทศของตน แล้วเพิ่มกำไรเข้าไป และทำกำไรได้อย่างมหาศาล

แต่ตอนนี้พ่อค้าแม่ค้าที่ไปนำสินค้าจากจีนมาขาย กำลังจะค่อยๆ หายไป เพราะตอนนี้ หลายๆ ธุรกิจและผู้ผลิตของจีน ได้เริ่มรุกคืบ เปิดตลาดการค้าของตน ขายตรงไปยังผู้บริโภคทั่วโลกผ่านทางแพล็ตฟอร์มออนไลน์เหล่านี้ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งดีลเลอร์หรือพ่อค้าคนกลางอีกต่อไป

หรือแม้กระทั่งยังส่งผลกระทบไปยังธุรกิจ Retail เองก็ตาม โดยเฉพาะในสินค้าบางหมวดหมู่ที่ตอนนี้ พฤติกรรมของผู้ซื้อได้เปลี่ยนไป เราเพียงแค่ไปจับ ไปทดลองในห้าง แล้วมาสั่งซื้อสินค้าจริง ๆ ผ่าน online โดยเฉพาะหมวดสินค้า Gadgets IT หรือ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ตอนนี้มาลดกระหน่ำบนแพล็ตฟอร์มออนไลน์ที่มีต้นทุนในการบริหารสินค้าที่ถูกกว่าร้านค้า Retail ที่เป็น physical จริง ๆ

และที่น่าสนใจ ผมเป็นคนหนึ่งที่เข้าไป join group ที่เป็นกลุ่มพ่อค้าในแพล็ตฟอร์มต่าง ๆ เหล่านี้ พบว่าตอนนี้แพล็ตฟอร์มเหล่านี้ เริ่มบีบพ่อค้าต่าง ๆ ในแพล็ตฟอร์มมากขึ้น เพื่อดึงเงินคืนเข้าสู่ระบบ ไม่ว่าจะเป็นการบังคับเข้าร่วม โปรโมชั่นต่าง ๆ เช่น ส่งฟรี ซึ่งเป็นการผลักภาระไปให้กับพ่อค้าที่กำไรแทบจะน้อยนิดอยู่แล้ว หรือ การเริ่มลดการมองเห็นสินค้า เพื่อให้ต้องมีการลงโฆษณากับแพล็ตฟอร์มเพิ่มมากขึ้น

ซึ่งเราจะเห็นบทเรียนจากช่วงก่อนหน้านี้ที่กระแส Social Commerce มาแรงนั้น Facebook ก็ได้ทำในลักษณะเดียวกัน คือการลด Reach และ บีบให้พ่อแม่ค้ามาลงโฆษณา ที่ดูเหมือนต้นทุนค่าโฆษณาจะแพงขึ้นเรื่อย ๆ จนแทบจะไม่เหลือกำไรให้อยู่รอดกันอีกต่อไปแล้ว สำหรับพ่อค้าหลาย ๆ รายที่พึ่งพา facebook เป็นแพล็ตฟอร์มหลัก

ซึ่งในระยะยาว นั้นต้องบอกว่า แพล็ตฟอร์มเหล่านี้ เหล่าพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ต่าง ๆ ต้องมองเป็นหนึ่งในช่องทางการขายเพียงเท่านั้น ไม่ใช่ช่องทางการขายหลัก ต้องกระจายความเสี่ยงออกไปในหลาย ๆ ทางเพิ่มมากขึ้น และหาพยายามสร้างเว๊บไซต์ของตัวเองเพื่อให้เป็นฐานหลักที่เราสามารถ control ทุกอย่างได้โดยไม่ต้องรอลุ้นว่าใครจะปรับอะไรของเราได้ในอนาคตนั่นเองครับ

Geek Story EP30 : ประวัติ Jeff Bezos แห่ง Amazon (ตอนที่ 1)

หลังจาก Podcast Series ชุดที่แล้วว่าด้วยเรื่องของ แจ๊ค หม่า ราชัน อีคอมเมิร์ซแห่งแดนมังกรกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ใน Series ชุดใหม่นี้ ผมขอนำเสนอเจ้าพ่อ อีคอมเมิร์ซ แห่งโลกตะวันตกอย่าง Jeff Bezos แห่ง amazon.com กันบ้างครับ

ทั้งสองต่างเป็นราชันผู้ยิ่งใหญ่ของโลกอีคอมเมิร์ซ และมีบทบาทสำคัญต่อวงการการค้าโลก เรื่องของ Jeff Bezos นั้นก็น่าสนใจไม่แพ้เรื่องราวการต่อสู้ของแจ๊ค หม่า จากจุดเริ่มต้นจากร้านหนังสือออนไลน์ จนกลายเป็นร้านค้าที่มีสินค้าและบริการทุกอย่าง มียอดขายกว่าแสนล้านเหรียญ และมีลูกค้าอยู่ทั่วโลกได้อย่างไร

Podcast Series ชุดนี้จะนำเสนอเรื่องราวทุกแง่มุมของ Amazon ทั้งความสำเร็จ และความล้มเหลวที่ Jeff Bezos ประสบพบเจอตอนสร้าง Amazon.com ให้กลายเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่ได้อย่างที่เห็นในปัจจุบัน

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3ifa5VK

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/36kItMK

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/MMkUE3S7gFU

References : https://abcnews.go.com/Technology/expect-amazons-fire-smartphone/story?id=24675041
https://www.tharadhol.com/blog-series-jeff-bezos-and-the-rise-of-amazon-com/

Pomelo กับการใช้พลังของ Big Data ในการขับเคลื่อนธุรกิจด้าน Fashion

แนวโน้มแฟชั่นเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ด้วยข้อมูลจำนวนมากบนโซเชียลมีเดียแบรนด์แฟชั่นรวมถึง Pomelo Fashion ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยกำลังใช้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อวิเคราะห์รสนิยมความต้องการความสนใจและความชอบของผู้บริโภค

“ เราใช้ Big Data จำนวนมากเพื่อวิเคราะห์แนวโน้มของสื่อโซเชียลและเพื่อดูว่าเราสามารถปรับปรุงความเร็วและต้นทุนการผลิตของเราได้อย่างไร ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นซัพพลายเชนหรือการออกแบบผลิตภัณฑ์หรือกลยุทธ์การทำตลาดของเรา ทุก ๆ ส่วนของพื้นที่เหล่านั้นสามารถพัฒนาได้อย่างมหาศาลผ่านการใช้ Big Datra” David Jou ผู้ร่วมก่อตั้งและ CEO ของแบรนด์แฟชั่น Pomelo Fashion กล่าว

เขาบอกว่า Pomelo ยังใช้แพลตฟอร์มอัตโนมัติทางด้านการจัดการ Supply Chain ที่สร้างขึ้นมาเอง เพื่อช่วยในการตัดสินใจในการจัดเก็บและการขายสินค้าออนไลน์

เมื่อถูกถามเกี่ยวกับแนวโน้มใหญ่ที่เขาเห็นในภาคการค้าปลีกของเอเชีย Jou กล่าวว่า จะไม่มีความแตกต่างระหว่างยอดขายออนไลน์และออฟไลน์อีกต่อไป “ผมคิดว่าทุกแบรนด์ผู้ค้าปลีกทุกรายต้องหาวิธีที่พวกเขาสามารถรวมสองช่องทางเข้าด้วยกันอย่างราบรื่นเพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญมากกว่าเพียงแค่ออนไลน์หรือออฟไลน์แยกกัน” เขากล่าว

ใช้กลยุทธ์ omnichannel ที่แข็งแกร่งเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ของลูกค้า 

เพื่อยกระดับมาตรฐานการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง Pomelo จึงให้ความสำคัญกับความคิดเห็นของลูกค้าอย่างจริงจัง “ ผมคิดว่าคำนิยามของการเป็นแบรนด์แนวตั้งแบบดั้งเดิม [Pomelo] หมายความว่า คุณกำลังทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อรับฟังความคิดเห็นของลูกค้าของคุณเพื่อปรับปรุงผลิตภัณฑ์ แบรนด์ รวมถึงประสบการณ์ของลูกค้า” Jou กล่าว .

เขาได้ยินเสียงตอบรับจากลูกค้าของ Pomelo ที่มีเสียงดังและชัดเจนมาก ๆ เมื่อผู้ตอบแบบสอบถามหลายคนกล่าวในการสำรวจประจำปีโดยบริษัท ว่าพวกเขาต้องการเห็นร้านค้าที่เป็น Physical ลูกค้าของ Jou กล่าวว่า “ในขณะที่ Ecommerce นั้นยอดเยี่ยม เราไม่ชอบที่จะจัดการกับเสื้อผ้าที่ส่งคืนและเสื้อผ้าที่ไม่เหมาะสม และสนุกกับการช้อปปิ้งออนไลน์ แต่คุณรู้ว่าสิ่งที่ยอดเยี่ยมเกี่ยวกับออนไลน์คือคุณมีผลิตภัณฑ์ให้เลือกไม่จำกัด และมีจำนวนมากให้เลือกและสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น”

เพิ่มประสบการณ์ให้กับลูกค้าด้วยร้านค้าแบบ Physical
เพิ่มประสบการณ์ให้กับลูกค้าด้วยร้านค้าแบบ Physical

นั่นคือเหตุผลที่ Pomelo มีสถานที่สามประเภทให้ลูกค้าลองสวมใส่ ที่แรกก็คือร้านค้ามาตรฐานของ Pomelo ซึ่งตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ประเภทที่สองคือที่ตั้งของ บริษัท ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าร้านในห้างสรรพสินค้าโดยจัดให้มีส่วนของห้องฟิตติ้งเท่านั้น ส่วนที่สามคือสถานที่ตั้งของพันธมิตรของ Pomelo ซึ่งรวมถึงร้านกาแฟ โรงยิม และCo-Working Space โดยทั้งสามประเภทสามารถพบได้ในประเทศไทย ในสิงคโปร์

“คุณเพียงแค่สั่งซื้อ และเข้าไปลองสัมผัสกับผลิตภัณฑ์ที่ร้านค้าของเราในสิงคโปร์ หรือจากที่รับสินค้ากว่า 60 แห่งในประเทศไทย ให้แน่ใจว่าคุณรักผลิตภัณฑ์อย่างแน่นอนจากนั้นค่อยจ่ายเงินเฉพาะสิ่งที่คุณต้องการมันจริง ๆ  มันจะช่วยลดความเสี่ยงทั้งหมดของการช็อปปิ้งออนไลน์” เขากล่าวเสริม

Jou กล่าวว่ากลยุทธ์ omnichannel ของ Pomelo นั้นไม่เหมือนใคร ลูกค้ามุ่งมั่นที่จะชำระเงินหลังจากที่พวกเขาลองเสื้อผ้าของพวกเขาและมั่นใจว่าพวกเขาต้องการที่จะซื้อผลิตภัณฑ์นั้น ๆ  เป็นวิธีการทำสิ่งที่แตกต่างจากการดำเนินการคลิกใส่ตะกร้าแล้วจ่ายเงินออนไลน์แบบเดิม ๆ  Jou คาดว่าแบรนด์อื่น ๆ จะทำเช่นเดียวกันในอนาคต

บริษัท เปิดร้านค้าปลีกแห่งแรกในกรุงเทพฯ เมื่อประมาณปี 2018 และตอนนี้มีร้านค้าทั้งหมด 8 แห่งในประเทศไทย ในเดือนมิถุนายน 2019 Pomelo ได้เปิดตัวร้านค้าแห่งแรกนอกประเทศไทยที่ 313 @ Somerset ซึ่งตั้งอยู่ในใจกลางแหล่งช็อปปิ้งของสิงคโปร์ Orchard Road มันเป็นร้านค้าที่ใหญ่ที่สุดที่บริษัทมีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

“เราคิดว่ามันเป็นเรื่องของเวลาก่อนที่ผู้คนจะรู้สึกสะดวกสบายในการซื้อออนไลน์ แต่ปรากฎว่าพวกเขาต้องการสิ่งที่แตกต่าง เหตุผลหลักคือความกลัวของเสื้อผ้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ไม่เหมาะกับตัวลูกค้าเอง ซึ่งดูเหมือนว่าพวกเขาจะต้องจัดการยุ่งยากในการทำเรื่องเพื่อคืนเงินหรือคืนสินค้า และทั้งหมดนี้ มันไม่ใช่ประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมสำหรับลูกค้า” Jou กล่าว

เมื่อถามว่าทำไม Pomelo เลือกสิงคโปร์เป็นที่ตั้งแห่งแรกในต่างประเทศนอกประเทศไทย Jou กล่าวว่า “ผมคิดว่าสิงคโปร์เป็น Flagship ที่สำคัญ สำหรับส่วนที่เหลือของภูมิภาคนี้ เห็นได้ชัดว่าไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี หรือค้าปลีก หรือแม้แต่การท่องเที่ยว ผมคิดว่าสิงคโปร์เป็นศูนย์กลางในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หากคุณพบว่าแบรนด์ของคุณกำลังสร้างฐานที่มั่นในสิงคโปร์ได้ คุณก็สามารถแปลมันให้ประสบความสำเร็จในระดับภูมิภาคได้”

การสร้างความยั่งยืนด้านแฟชั่น 

Jou ตระหนักดีถึงความกังวลของผู้บริโภคเกี่ยวกับผลกระทบของแฟชั่นที่รวดเร็วต่อสิ่งแวดล้อม นี่คือเหตุผลที่ Pomelo เปิดตัวคอลเลกชัน (PURPOSE) เพื่อความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น

“อุตสาหกรรมแฟชั่นเป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยมในการที่คุณสามารถแสดงออกได้ มันเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ แต่ผมคิดว่าข้อเสียคือเมื่อแนวโน้มเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วมีของเสียที่ถูกสร้างขึ้นจำนวนมาก ทั้งในกระบวนการผลิตและหลังจากที่ใช้เสื้อผ้าไปแล้ว “Jou กล่าว

Pomelo กำลังใช้เทคนิคการผลิตที่ทันสมัยซึ่งมีความรับผิดชอบต่อสังคมโดยใช้วัสดุอินทรีย์และวัสดุยั่งยืนเช่นพลาสติกรีไซเคิล “เราใช้ขวด PET รีไซเคิล มากกว่า 21,000 ขวดเพื่อสร้างคอลเล็กชั่นกว่า 40% ; ส่วนที่เหลืออีก 60% ทำมาจากวัสดุอินทรีย์เช่นผ้าลินินและผ้าฝ้าย” Jou กล่าว เขากล่าวเสริมว่าการนำพลาสติกไปใช้บนเนื้อผ้าหมายถึงต้นทุนจะสูงขึ้น 30-40%

Purpose กับ คอลเล็กชั่นเพื่อความยั่งยืน
Purpose กับ คอลเล็กชั่นเพื่อความยั่งยืน

อย่างไรก็ตามเขามองโลกในแง่ดีเกี่ยวกับความคิดริเริ่มบนพื้นฐานของการตอบรับเชิงบวกจากผู้มีอิทธิพลด้านแฟชั่นและลูกค้าที่เพิ่งเข้าร่วมการเปิดตัวคอลเลชั่นใหม่ที่เน้นความยั่งยืน และรักสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ในกรุงเทพฯ

ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ มีส่วนช่วยให้ยอดขายโดยรวมของ Pomelo “มีปริมาณที่เติบโตอย่างรวดเร็วมาก”  Jou กล่าวว่าแต่ละคอลเลกชันได้เพิ่มยอดขายเป็นสองเท่าจากก่อนหน้านี้ “ดังนั้นแม้ว่าจะมีจำนวนน้อย แต่ก็เติบโตอย่างรวดเร็วและเราพยายามอย่างมากที่จะพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องนี้และบอกผู้คนว่าทำไมเราถึงคิดว่ามันสำคัญ” เขากล่าว

ระดมทุนเพื่อขยายสายผลิตภัณฑ์

เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2019 Pomelo กล่าวว่า ได้ระดมทุน 52 ล้านเหรียญสหรัฐในรอบ Series C ทำให้กองทุนรวมของบริษัท มีมูลค่าเพิ่มเป็น 83 ล้านเหรียญสหรัฐ

Jou กล่าวว่า Pomelo จะใช้เงินสดเพื่อขยายสายผลิตภัณฑ์และมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาแนวคิดเพื่อความยั่งยืนต่อไป นอกจากนี้ยังวางแผนที่จะเพิ่มแบรนด์ของ 3rd Party บนแพลตฟอร์ม “แบรนด์ท้องถิ่นจะเข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้น  ซึ่งขึ้นอยู่กับแนวโน้มและสิ่งที่เราคิดว่าจะเจ๋งสำหรับลูกค้าของเรา” เขากล่าว

ต้องบอกว่า ถือเป็นอีกหนึ่ง Brand ที่น่าสนใจมาก ๆ สำหรับ Pomelo ซึ่งน่าจะคุ้นตากันดีสำหรับขาช็อปปิ้ง ชาวไทย ซึ่งมีการรวมประสบการณ์ ระหว่าง Online และ การช็อปปิ้ง Offline แบบเดิม ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างมาก ทำให้สามารถสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้กับลูกค้าได้

และที่สำคัญ เราจะเห็นได้ว่า David Jou นั้นมองเห็นถึงภาพใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นกระแส Trend Fashion รวมถึงพฤติกรรมของผู้บริโภค นั้น ก็ล้วนแล้วแต่มาจากพื้นฐานจาก Big Data ที่เขาได้รับมา และนำมาวิเคราะห์ และประยุกต์ ธุรกิจให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนั่นเองครับ

References : https://asia.nikkei.com/Spotlight/Startups-in-Asia/Fast-fashion-newcomer-Pomelo-picks-up-speed-in-Southeast-Asia
https://www.asianentrepreneur.org/david-jou-ceo-founder-of-pomelo-fashion/
https://rocketreach.co/david-jou-email_2418466
https://onstage.ai/talks/d5oxu0VK
https://vulcanpost.com/610494/pomelo-fashion-singapore-eccomerce/
https://www.pomelofashion.com/th/th/clothes/purpose