ประวัติ Elon Musk ตอนที่ 12 : Rocket Launcher

หลังจากมัสก์ ได้พาทั้ง Tesla และ SpaceX ผ่านวิกฤติครั้งสำคัญมาได้สำเร็จ มันก็ถึงเวลาที่เขาจะได้สร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่ต่อไป ที่จะเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของมนุษยชาติ เป้าหมายใหญ่ของมัสก์ สำหรับ SpaceX คือ การใช้ความก้าวหน้าทางการผลิตและพัฒนาการของแท่นปล่อยเพื่อทำให้ต้นทุนสำหรับนำสิ่งต่าง ๆ ไปยังอวกาศถูกลงจนกลายเป็นธุรกิจได้

ฟัลคอน 9 นั้นถือเป็นหน้าเป็นตาของ SpaceX จรวดที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ 9 ตัว โดยมีเครื่องหนึ่งอยู่ตรงกลาง และ อีกแปดเครื่องล้อมรอบไว้ มันได้มีการใส่ตู้สัมภาระรูปกลมสำหรับขนดาวเทียม หรือ แคปซูล ที่สามารถขนส่งมนุษย์ขึ้นอวกาศได้ 

ซึ่งรูปลักษณ์ภายในนอกของฟัลคอน 9 นั้นไม่มีอะไรฉูดฉาดเป็นพิเศษ มันคือยานอวกาศที่เทียบเท่ากับแล็ปท็อปของ apple มันเป็นเครื่องจักรที่เรียบหรูมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน สำหรับงานด้านอวกาศ

หลังการปล่อยได้ 20 วินาที ผู้ชมที่อยู่ห่างออกไปสองไมล์ จึงจะได้ยินเสียงกึกก้องแบบเต็ม ๆ หูของฟัลคอน 9 เป็นเสียงที่ไม่เหมือนใคร ราวหนึ่งนาทีให้หลังมันจะเหลือแค่จุดสีแดงบนท้องฟ้า แล้วจากนั้นก็หายวับไปในอวกาศ

ฟัลคอน 9 กับเครื่องยนต์ 9 ตัว
ฟัลคอน 9 กับเครื่องยนต์ 9 ตัว

สำหรับอีลอนมัสก์ ภาพที่น่าตื่นเต้นเหล่านี้กลายเป็นประสบการณ์ที่คุ้นชินอย่างหนึ่ง SpaceX ส่งจรวดขึ้นไปประมาณเดือนละครั้ง ขนส่งดาวเทียมให้บริษัทและชาติต่าง ๆ รวมทั้งเสบียงไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ

ตอนที่ฟัลคอน 1 พุ่งทะยานจาก ควาจนั้น มันยังเป็นผลงานของสตาร์ทอัพ ซึ่งต่างจาก ฟัลคอน 9 ที่เป็นผลงานของประเทศมหาอำนาจทางการบินและอวกาศ SpaceX สามารถตัดราคาคู่แข่งในสหรัฐของตัวเอง ทั้ง โบอิ้ง ล็อกฮีดมาร์ติน และ ออร์บิทัลไซแอนเซส ด้วยราคาที่มีส่วนต่างมากจนเหลือเชื่อ

มัสก์ได้พิสูจน์ว่า จรวดสามารถที่จะผลักดันสัมภาระขึ้นสู่อวกาศจากนั้นก็กลับมายังโลก และลงจอดอย่างแม่นยำที่สุดบนแท่นที่ลอยอยู่กลางทะเล หรือ แม้แต่แท่นปล่อยเดิมของมันเองก็ตาม

ซึ่งแทนที่จรวดจะแตกเป็นเสี่ยง ๆ หลังกระแทกลงในทะเล SpaceX ใช้เครื่องยนต์ขับดับถอยกลับค่อย ๆ ลดลงจอดอย่างนุ่มนวล และนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ซึ่งทำให้ในอนาคตนั้น SpaceX คาดไว้ว่าจะตัดราคาลงเหลือแค่ หนึ่งในสิบของคู่แข่งได้สำเร็จ

ซึ่งโมเดลการนำจรวดกลับมาใช้ใหม่นั้น มันไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน มันทำให้เกิดการลดราคาครั้งใหญ่ในอุตสาหกรรมด้านอวกาศ และมันจะกลายเป็นข้อได้เปรียบที่สำคัญที่สุดของ Spacex ที่คู่แข่งที่จะเข้ามาใหม่ยากที่จะตามทัน

ซึ่งสุดท้าย มัสก์มองว่า มันจะกลายเป็นอุตสาหกรรมใหม่ เหมือนกับสายการบินต่าง ๆ ในทุกวันนี้ ที่ใช้เครื่องบินลำเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพื่อสร้างรายได้ ซึ่ง SpaceX นั้นหวังจะยึดส่วนแบ่งการตลาดใหญ่ในการปล่อยจรวดเชิงพาณิชย์ของโลกให้ได้

ซึ่งเป้าหมายของมัสก์คงไม่ได้ไกลเกินเอื้อม ในปัจจุบันนั้น SpaceX ส่งดาวเทียมให้ลูกค้า ทั้งชาว แคนาดา ยุโรป และ เอเชีย ไปกว่า 24 ครั้ง มีลูกค้ามารอต่อคิวกับ SpaceX กว่า 50 ราย ซึ่งมีมูลค่ารวมกันกว่า 5,000 ล้านเหรียญ

SpaceX นั้นไม่ได้พึ่งพา ซัพพลายเออร์จากต่างชาติมากนัก ซึ่งเป็นโมเดลที่หลาย ๆ บริษัทมักจะทำกัน มันทำให้ง่ายที่จะเข้ามาในอุตสาหกรรมนี้ แต่ก็ทำให้ต้นทุนสูงเช่นเดียวกัน สำหรับ SpaceX นั้น นอกจากจะสร้างเครื่องยนต์ ลำตัวจรวด และแคปซูลเองแล้ว SpaceX ยังออกแบบเมนบอร์ด และแผงวงจร เซ็นเซอร์ตรวจจับการสั่นสะเทือน ซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์ รวมถึง แผงพลังงานแสงอาทิตย์ของตัวเองด้วย

SpaceX พยายามอยู่หลายปีเพื่อพิสูจน์กับ NASA ว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาตรฐานก็ดีพอที่จะสู้กับอุปกรณ์เฉพาะราคาแพงที่เชื่อกันมาในอดีต ซึ่งอุปกรณ์ของ SpaceX โดยส่วนใหญ่นั้นมักจะสร้างขึ้นจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับอุปโภคที่หาได้ทั่วไปเป็นส่วนใหญ่

ซึ่งหลาย ๆ เทคโนโลยีของ SpaceX นั้น เริ่มลอกเลียนแบบโดยคู่แข่ง โดยเฉพาะคู่แข่งทีสำคัญอย่าง Blue Origin ของ เจฟฟ์ เบซอส ซึ่งใช้วิธีการดึงคนของ SpaceX โดยเสนอเงินให้มากกว่าถึงสองเท่า มันทำให้ความสัมพันธ์ของมัสก์ และ เบซอสย่ำแย่

Blue Orign ของ เจฟฟ์ เบซอส คู่รักคู่แค้นของ มัสก์
Blue Orign ของ เจฟฟ์ เบซอส คู่รักคู่แค้นของ มัสก์

ตัวของมัสก์เองนั้น เติบโตในฐานะของ CEO และผู้เชี่ยวชาญด้านจรวด พร้อม ๆ กับที่ SpaceX ได้รับการบ่มเพาะในฐานะบริษัทจนได้ที่ ในตอนเริ่มต้นการเดินทางของ ฟัลคอน 1 ที่ SpaceX มัสก์นั้นได้เรียนรู้จากหน้างานเสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งรวมกับตำราที่เขาหามาอ่านเพื่อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับจรวดขนาดใหญ่ขึ้นมา 

และ SpaceX ไม่เคยหยุดนิ่งในการพัฒนา พวกเขายังทำการทดลองยานพาหนะใหม่ ๆ ระหว่างการปล่อยจรวดจริง ๆ ในแบบที่บริษัทอื่นไม่กล้าทำกัน หลายครั้ง SpaceX มักประกาศว่าพวกเขากำลังทดลองเครื่องยนต์ใหม่หรือขาสำหรับลงพื้นแบบใหม่

ซึ่งทั้งหมดทั้งมวล ก็ล้วนแล้วมาจากความคิดของมัสก์แทบจะทั้งสิ้น มัสก์มักจะขอให้พนักงานทำเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ และความทะเยอทะยานในการทำสิ่งใหม่ ๆ ของมัสก์ก็ไม่มีทีท่าว่าจะหมดลงไป

ตัวอย่างการปล่อยยานในเดือนธันวาคมปี 2010 ซึ่ง SpaceX ได้ส่ง ดรากอนอคปซูลไปยังวงโคจรโลกและกลับมาได้สำเร็จ  ซึ่งถือเป็นความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ของบริษัท และใคร ๆ ก็ทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยมานานหลายปีกับโครงการดังกล่าว

ดรากอน แคปซูลของ SpaceX
ดรากอน แคปซูลของ SpaceX

ซึ่งหลังจากปล่อยสำเร็จ ก็ได้มีงานเลี้ยงฉลองขึ้น แต่แทนที่จะเป็นการฉลองชัยสำหรับ SpaceX แต่มัสก์นั้นกลับต่อว่าทีมงานเป็นชั่วโมง เพราะโครงยึดหลังคาสำหรับจรวดในอนาคตล่าช้ากว่ากำหนด

แต่สุดท้ายนั้นคำถามที่ค้างคาใจของเหล่าพนักงาน SpaceX คือ เมื่อไหร่กันที่พวกเขานั้นจะได้เห็นผลตอบแทนก้อนโต หลังจากความพยายามทุ่มเทอย่างหนักให้กับ SpaceX ตลอดหลายปีที่ผ่านมา แม้พนักงาน SpaceX ส่วนใหญ่นั้นจะได้รับค่าจ้างที่ดี แต่มันก็ไม่ได้มากมายจนเกินไปเมื่อเทียบกับความทุ่มเท และความอัจฉริยะของพวกเขาเหล่านี้

ส่วนใหญ่พวกเขามาเพราะต้องการที่จะสร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่ร่วมกับมัสก์ พวกเขาเห็นวิสัยทัศน์ที่ยิ่งใหญ่ แม้จะสามารถไปทำงานที่รับเงินเดือนได้สูงกว่านี้ แต่ เป้าหมายของ SpaceX เป็นสิ่งที่ท้าทายพวกเขาให้ยืนหยัดอยู่สู้กับมัสก์ เพื่อสร้างสิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ของมนุษย์ชาติเราในเรื่องอวกาศนั่นเอง 

–> อ่านตอนที่ 13 : The Revenge of The Electric Car

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Sand Hill Road *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ