ประวัติ Michael Dell ตอนที่ 9 : Moving Beyond

เมื่อ Dell เข้าสู่ระบบ ecommerce เพื่อเริ่มที่จะใช้อินเทอร์เน็ตมาขยายธุรกิจ Michael นั้นมีเป้าหมายหลัก 3 ประการคือ ทำให้การทำธุรกิจกับ Dell เป็นเรื่องง่าย ลดต้นทุน และขยายความสัมพันธ์ระหว่าง Dell กับลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น

และเพียงไม่นาน Dell ก็สามารถที่จะสร้างยอดขายได้กว่า 12 ล้านเหรียญ ต่อวันผ่านอินเทอร์เน็ต และสุดท้ายอินเทอร์เน็ตก็กลายเป็นส่วนสำคัญของธุรกิจของ Dell ในที่สุด

ต้องบอกว่าแม้อุตสาหกรรมไฮเทคที่ Dell กำลังแข่งขันอยู่นั้น ขึ้นชื่อเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่การนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้าไปใช้ รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารที่ Dell ทำผ่านเทคโนโลยีใหม่ ๆ นั้น ทำให้การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยสำคัญต่อธุรกิจของพวกเขาไปแล้ว

และหนึ่งในปรากฏการณ์ที่สำคัญที่สุดที่เกิดขึ้นกับอินเทอร์เน็ต คือ อินเทอร์เน็ตได้สร้างตลาดใหม่ ๆ ที่ Dell ไม่เคยพบเจอมาก่อน และมันทำให้พวกเขา มีอัตราการเติบโตมากกว่า 30% ในแทบจะทุก ๆ ปี ซึ่งถือว่ามากกว่าอัตราเติบโตโดยเฉลี่ยของอุตสาหกรรม

Dell ไม่เคยหยุดที่จะสร้างบริการใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น บริการให้เช่าซื้อเครื่อง DellPlus และบริการบริหารสินทรัพย์ให้ลูกค้า หรือการขยายตัวไปในพื้นที่ต่าง ๆ อย่างเช่น ประเทศจีน และอเมริกาใต้ ทำให้รักษาการเจริญเติบโตในอัตราระดับที่สูงถึง 50% ในหลาย ๆ ปี

ขยายธุรกิจไปในจีน ซึ่งเป็นตลาดที่มีมูลค่ามหาศาล
ขยายธุรกิจไปในจีน ซึ่งเป็นตลาดที่มีมูลค่ามหาศาล

แน่นอนว่า Michael เอง ก็ต้องสร้างและปรับโครงสร้างบริษัทเพื่อให้ทันกับการเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาความสมดุลไม่ให้โครงสร้าบริษัทใหญ่เกินกว่าที่ต้องการ ซึ่งต้องบอกว่าเป็นสิ่งที่ยากและท้าทายสำหรับบริษัทที่มีอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดดแบบ Dell มาก

Michael จึงมองว่า ต้องมีการเรียนรู้จากการกระทำเป็นหลัก ความอยู่รอดของบริษัทนั้นขึ้นอยู่กับการปรับตัวให้ทัน เนื่องจากคนและสิ่งที่มีอยู่ต้องมีการขยายออกไปอย่างรวดเร็ว และต้องมีโครงสร้างเพียงพอที่จะควบคุมการเติบโตได้ แต่ต้องไม่ใหญ่มากเสียจนกลายเป็นอุปสรรคต่อการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วได้นั่นเอง

ต้องบอกว่า Dell นั้นเป็นหนึ่งในบริษัทด้านเทคโนโลยีที่เติบโตได้รวดเร็วที่สุดบริษัทหนึ่ง ในระยะเวลาเพียงแค่ 10 ปี ราคาหุ้นของ Dell นั้นพุ่งขึ้นไปกว่า 36,000% และบริษัทก็ก้าวจากบริษัทที่เริ่มต้นด้วยทุนเพียง 1,000 เหรียญ ไปเป็นบริษัทที่มียอดขายกว่า 18,000 ล้านเหรียญ (ปี 2019 Dell มียอดขายประมาณ 90,000 ล้านเหรียญ)

ต้องบอกว่า Michael นั้นได้สร้าง Dell เดินทางมาไกลมากจากจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ ในหอพักของเขา และการตัดสินใจครั้งสำคัญที่เปลี่ยนชีวิตเขาที่ต้องออกจากการเรียนมามุ่งสู่ธุรกิจแบบเต็มตัว

แน่นอนว่า Dell นั้นก็ยังคงไม่หยุดสร้างบริการหรือนวัตกรรมใหม่ ๆ ขยายตลาดไปในพื้นที่ใหม่ ๆ แนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ออกสู่ตลาด แบ่งกลุ่มและเพิ่มบริการใหม่ ๆ ซึ่งกุญแจความสำคัญที่สุดที่ทำให้ Dell ประสบความสำเร็จอย่างที่เราได้เห็นในปัจจุบัน เกิดมาจากชายที่ชื่อ Michael Dell ที่รู้จักจุดแข็งของตัวเองและพร้อมรับมือกับการทดลองสิ่งใหม่ ๆ ความคิดที่จะเรียนรู้บทเรียนที่ได้รับจากความผิดพลาดในอดีต และหาทางปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความกล้าที่จะไม่ยอมทำตามแนวคิดแบบเดิม ๆ และสิ่งที่สำคัญที่สุดของเขาก็คือ การทำให้ลูกค้ารู้สึกพึงพอใจมากที่สุดนั่นเองครับ

แล้วเราได้อะไรจากการเรื่องราวของ Dell จาก Blog Series ชุดนี้

ต้องบอกว่าเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจมากของการสร้างธุรกิจของ Michael Dell ที่ปฏิวัติการขายอุปกรณ์อย่างคอมพิวเตอร์ให้กับลูกค้าโดยตรง ติดต่อกับผู้ผลิตชิ้นส่วนโดยตรง ซึ่งทั้งหมดนั้นเราจะเห็นได้ว่า เป็นการกำจัดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นและไม่มีประสิทธิภาพที่อยู่ตรงกลางออกไปทั้งหมด

โมเดยที่ Michael สร้างขึ้นมาอย่าง Direct Model นั้น ทำให้พวกเขาสามารถสร้างบริษัทให้กลายมาเป็นบริษัทชั้นแนวหน้าของโลกได้อย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน ซึ่งมันเริ่มต้นจากคำว่าเป็นไปไม่ได้ เมื่อเริ่มแรกนั้นไม่มีใครเชื่อว่า Dell จะสามารถทำโมเดลของการส่งตรงได้สำเร็จกับธุรกิจคอมพิวเตอร์ ที่แทบจะไม่มีใครเคยทำมาก่อน

ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนั้น เราสามารถที่จะเรียนรู้และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ หลายคนอาจจะเคยเจอกับคำพูดที่ว่า สิ่ง ๆ ที่คุณกำลังทำอยู่มันเป็นไปไม่ได้ Michael แสดงให้เห็นว่า คุณไม่จเป็นต้องเป็นอัจฉริยะ หรือ ต้องเรียนจบสูง ๆ จึงจะสามารถคิดในแบบที่ไม่เหมือนใครได้ แต่ขอให้คุณเพียงแค่มีเค้าโครงและความฝัน ก็มีโอกาสประสบความสำเร็จอย่างที่ Michael Dell ทำให้เราเห็นได้นั่นเองครับ

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 : Life’s Choices *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

รวม Blog Series ที่มีผู้อ่านมากที่สุดรวม Blog Series ที่มีผู้อ่านมากที่สุด

อย่าลืมติดตามผลงานเรื่องต่อ ๆ ไปของผมก่อนใครได้ที่ blockdit นะครับ โหลดได้เลย

อย่าลืม ค้นหา “ด.ดล Blog” แล้ว กด follow กันด้วยนะครับผม

ประวัติ Michael Dell ตอนที่ 6 : Direct Sales 1.1

แม้ Dell นั้นจะมีจุดเด่นในเรื่องการขายตรงก็ตาม แต่ต้องบอกว่า ในช่วงปี 1994 นั้น ร้านขายปลีกได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งขณะนั้นเหล่าคู่แข่งของ Dell กำลังขยายกิจการอย่างบ้างคลั่งผ่านร้านค้าปลีกอย่าง CompUSA หรือ Circuit City

แม้ Dell นั้นจะมีการขายผ่านร้านค้าปลีกอยู่ด้วยก็ตาม และได้เข้าไปในธุรกิจผ่านค้าปลีกนี้กว่า 4 ปีมาแล้ว Michael กลับคิดต่าง โดยคิดที่จะถอนตัวออกจากธุรกิจค้าปลีกที่กำลังแข่งขันกันอย่างเมามันส์

Mort และ Michael นั้น ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างละเอียด และพบว่าแม้จะประสบความสำเร็จจากการขายผ่านเครือข่ายร้านค้าปลีกเหล่านี้ก็ตามที แต่พบว่ากำไรที่ได้นั้นน้อยมาก ๆ และเชื่อว่าเหล่าคู่แข่งของเขาก็แทบจะกำไรน้อยมากเช่นเดียวกัน

Michael จึงได้ทำการตัดสินใจในสิ่งที่ไม่มีใครกล้าทำมาก่อน นั่นก็คือ ถอนตัวออกจากธุรกิจค้าปลีกทันที ซึ่งตอนนั้นต้องบอกว่ารายได้จากธุรกิจค้าปลีกนั้นเป็นเพียงส่วนน้อยนิดจากรายได้ทั้งหมดในขณะนั้น จึงไม่ได้ส่งผลกระทบต่อ Dell มากนักอย่างที่นักวิเคราะห์ได้ออกมาโจมตี Dell ในเรื่องดังกล่าว

Dell เลือกจะถอนตัวออกจากการขายผ่านร้านค้าปลีก
Dell เลือกจะถอนตัวออกจากการขายผ่านร้านค้าปลีก

และประโยชน์ที่สำคัญของการถอนตัวออกจากธุรกิจค้าปลีกนั่นก็คือ มันเป็นการบังคับให้ Dell Computer พุ่งเป้าแบบ 100% ไปที่การขายแบบส่งตรง ทำให้พวกเขาโฟกัสกับตลาดนี้มากขึ้น และเป็นตลาดที่พวกเขานั้นแข็งแกร่งเป็นอย่างมากนั่นเอง

ก้าวสู่การขายแบบส่งตรง Version 1.1

ต้องบอกว่าใน version 1.0 ของการขายแบบส่งตรงนั้น Michael ได้กำจัดคนกลางออกไปเพื่อทำการลดต้นทุน และ การปรับเข้าสู่ version 1.1 จะทำให้สามารถยกระดับ Dell ขึ้นไปอีกขั้นด้วยการลดต้นทุนชิ้นส่วนที่ไม่มีประสิทธิภาพออกไปนั่นเอง

ซึ่งรูปแบบการผลิตการสินค้าแบบเดิมนั้น การผลิตสินค้าโดยเฉพาะคอมพิวเตอร์นั้นจะต้องเกี่ยวข้องกับผู้ผลิตชิ้นส่วนต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น CPU , RAM , Harddisk หรือ การ์ดแสดงผล

ซึ่งแน่นอนว่าการผลิตแต่ละรุ่นออกมานั้น ก็มักจะต้องการทำกำไรจากรุ่นนั้น ๆ ให้มากที่สุด เพราะมีการลงทุนมากมายตั้งแต่การผลิตไปจนถึงการตลาด และร้านค้าปลีกก็ต้องพยายามขายรุ่นนั้น ๆ ออกไปให้มากที่สุดแม้จะมีการผลิตรุ่นใหม่มาแล้วก็ตามที

และหากตัวเครื่องรุ่นเก่าเริ่มขายไม่ออก ก็ต้องมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่ต้องเก็บสินค้าคงคลังเครื่องรุ่นเหล่านี้ไว้ และต้องนำออกขายแบบลดราคา เพื่อทำการระบายสต๊อกออกไปให้ได้ ซึ่งปรกติในธุรกิจคอมพิวเตอร์นั้น หากร้านค้าปลีกไม่สามารถขายได้ตามราคาที่ตั้งไว้ โรงงานผู้ผลิตก็จะต้องรับผิดชอบจ่ายค่าส่วนต่างเหล่านี้แทน (ชดเชยเงินให้กับร้านค้าปลีก)

แน่นอนว่าบริษัทที่มีการจำหน่ายซับซ้อนและมากมายหลายขั้นตอนนั้น มักจะส่งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ล้าสมัยแล้วไปเก็บไว้ที่ร้านค้าปลีก เพื่อทำการโละสต๊อกเครื่องรุ่นเก่าที่ล้าสมัย และเป็นการนำเงินสดเข้าสู่บริษัท ซึ่งระบบดังกล่าวนั้นไม่มีประสิทธิภาพ เป็นการผลักภาระสินค้าให้ผู้จำหน่าย ซึ่งสุดท้ายมันก็จะส่งผลร้ายต่อทุกฝ่าย ซึ่งรวมถึงลูกค้าที่ได้รับเครื่องคอมพิวเตอร์ตกรุ่นไปใช้นั่นเอง

เนื่องจาก Dell นั้นผลิตตามคำสั่งซื้อจากลูกค้าโดยตรง ทำให้ไม่มีสินค้าที่ประกอบสำเร็จรูปเหลือในแต่ละวัน และเนื่องจากได้มีการปรับระบบให้ผู้ส่งชิ้นส่วนส่งเฉพาะชิ้นส่วนที่ต้องการ จำนวนวัตถุดิบที่ต้องเก็บไว้จึงลดน้อยลงมาก และทำให้ส่งสินค้าให้กับลูกค้าได้รวดเร็วมากขึ้น

และแน่นอนมันส่งผลต่อลูกค้าทันที ลูกค้ามีความสุขมากขึ้น ทำให้ความสามารถในการแข่งขันของ Dell ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และที่สำคัญที่สุดเนื่องจากเป็นสินค้าทางด้านเทคโนโลยีที่มีการตกรุ่นอย่างรวดเร็ว การปรับรูปแบบครั้งนี้ ทำให้ Dell สามารถส่งเครื่องที่ใช้เทคโนโลยีล่าสุดให้ลูกค้าได้เร็วกว่าคู่แข่งอีกด้วย

Direct Sales 1.1 ที่ปรับเรื่องการจัดการชิ้นส่วนจากเหล่าผู้ผลิต
Direct Sales 1.1 ที่ปรับเรื่องการจัดการชิ้นส่วนจากเหล่าผู้ผลิต

และมันส่งผลสำคัญถึงสินค้าในคงคลังที่ลดน้อยลง ทำให้ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการจัดการสินค้าคงคลังลดลง ซึ่งแน่นอนว่าในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์นั้น ชิ้นส่วนต่าง ๆ มีราคาลดลงอย่างรวดเร็วตามเวลาที่ผ่านไป

และการปรับครั้งนี้จะทำให้ผู้ส่งชิ้นส่วนต่าง ๆ สามาาถนำเสนอชิปที่ทำงานได้รวดเร็วกว่า ฮาร์ดดิสก์ขนาดใหญ่กว่า หรือโมเด็มที่ทำงานได้เร็วกว่าอยู่ตลอดเวลา เมื่อเทียบกับคู่แข่งนั่นเอง

ตัวเลขที่ชัดเจนที่สุดก็คือ ในปี 1993 Dell มียอดขาย 2.9 พันล้านเหรียญ และมีสินค้าคงคลังเพื่อรอขายจำนวน 220 ล้านเหรียญ และหลังจากนั้น 4 ปีในปี 1997 หลังจากมีการปรับใช้การขายแบบส่งตรง version 1.1 นั้น ทำให้ Dell สามารถสร้างยอดขายได้ถึง 12.3 พันล้านเหรียญ และมีสินค้าคงคลังเพื่อรอขายจำนวน 223 ล้านเหรียญ และมีของรอในสินค้าคงคลังน้อยกว่า 8 วัน ถือเป็นก้าวครั้งสำคัญมาก ๆ ของบริษัทในการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินในการขายแบบส่งตรงครั้งนี้

ต้องเรียกได้ว่าการปฏิวัติการขายตรงใน version 1.1 ของ Dell ในครั้งนี้ ทำให้สามารถที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของบริษัทได้อย่างชัดเจนมาก ๆ และ จากยอดขายระดับพันล้านเหรียญ ก็สามารถพุ่งขึ้นไปสูงถึงระดับหมื่นล้านเหรียญได้ภายในระยะเวลาเพียงแค่ 4 ปีเท่านั้น ต้องบอกว่าเป็นสิ่งที่น่าทึ่งมาก ๆ ที่ Dell สามารถก้าวมาได้ถึงจุดได้อย่างรวดเร็ว แต่มันก็ยังมีอีกหนึ่งตลาดที่สำคัญ ที่จะทำให้ Dell กลายเป็นยักษ์ใหญ่ที่มาต่อกรกับ ยักษ์ใหญ่ในวงการตัวจริงอย่าง IBM หรือ HP ได้ แล้วตลาดนั้นคืออะไร โปรดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 7 : Winners Take All

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Life’s Choices *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

References : https://www.emprende.cl/michael-dell-la-mezcla-perfecta-entre-pasion-estrategia-y-juventud/