South Korea ตอนที่ 7 : The Glory of Korea

ประเทศเกาหลีใต้ ได้ถือกำเนิดมาในสภาพรัฐที่สิ้นหวัง ทั้งยากจน บอบช้ำจาก การถูกล่าอาณานิคม แถมยังถูกสงครามทำลายอย่างย่อยยับ ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีเพียงน้อยนิด ประเทศที่ถูกแบ่งเหลือเพียงครึ่งเดียว แต่ทุกสิ่งทุกอย่าง ล้วนเป็นแรงผลักดันให้ประเทศเล็ก ๆ แห่งนี้ สามารถที่จะประสบความสำเร็จ ได้อย่างเหลือเชื่อ ในเวลาเพียงแค่ชั่วอายุคนเพียงเท่านั้น ความสามัคคี และรักชาติ นำพาเกาหลีใต้พลิกฟื้นประเทศ จนกลายเป็นประเทศที่ล้ำหน้าที่สุดในโลกประเทศนึงในปัจจุบัน

มันไม่เหมือนประเทศอย่างจีน หรือ สิงคโปร์ ความสำเร็จของเกาหลีใต้นั้น มันไม่ใช่เพียงแค่เรื่องตัวเลขทางเศรษฐกิจเพียงเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึง ทั้งเรื่องการเมือง และ สังคม รวมถึงความเป็นประชาธิปไตยที่แข็งแกร่งของเกาหลีด้วย

ผลงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม ก็ไม่น้อยหน้าประเทศไหนในโลก  สังคมของเกาหลีใต้ กำลังได้ก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ ที่เปิดกว้างมากยิ่งขึ้น และยังคอยพัฒนาอย่างต่อเนื่องแบบไม่หยุดยั้ง เรายังไม่ได้เห็นจุดสูงสุดของประเทศเกาหลีใต้ในเวลาอันใกล้นี้อย่างแน่นอน เพราะพวกเขากำลังพัฒนาด้วยอัตราเร่ง แบบไม่ได้ชะลอความรวดเร็วลงไปเลย

ด้วยบุคลิก และ ลักษณะทางสังคมที่มีความยืดหยุ่นนั้น ทำให้คนในสังคมเกาหลีใต้อยู่ร่วมกันได้ท่ามกลางความขัดแย้งและแตกต่าง มันก็เหมือนกับทุกประเทศที่ผู้คนต่างมีอุดมการณ์ไม่ว่างทางการเมือง ศาสนา หรือ จารีต ประเพณีต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน

แต่เกาหลีใช้จุดนี้ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพมากกว่าจะถ่วงความเจริญก้าวหน้า นิสัยหลาย ๆ อย่างของชาวเกาหลี ไม่ว่าจะเป็นความแน่วแน่ และทุ่มเทอย่างไม่ลดละเพื่อเป้าหมาย ก็สามารถช่วยให้คนเกาหลีสร้างความเจริญก้าวหน้าในหลาย ๆ ด้านได้อย่างรวดเร็ว จนเป็นที่อิจฉาของทุก ๆ ชาติ

แต่มันก็ต้องแลกด้วยอะไรหลายอย่าง คนเกาหลีใต้ ต้องทำงานหนักกว่าใครเพื่อน เรียนหนักกว่าใครเพื่อน จิตวิญญาณที่รักการแข่งขัน ที่อยู่กับพวกเขาตลอดชีวิต ตั้งแต่เด็กจนถึงวัยเกษียณ มันแลกด้วย ความสุขที่ลดลงไปของชาวเกาหลี

แม้ตอนนี้พวกเขาจะประสบความสำเร็จไปขั้นหนึ่งแล้ว กลายเป็นหนึ่งในประเทศพัฒนาแล้วเทียบเท่า อเมริกา ญี่ปุ่น หรือ ประเทศอื่น ๆ ในยุโรปได้สำเร็จแล้วก็ตาม แต่ดูเหมือนพวกเขายังไม่หยุดที่จะก้าวต่อไป

คนเกาหลียังคงมีชั่วโมงการทำงานที่มากที่สุดเหมือนเคย การลงทุนกับเรื่องการศึกษาที่บ้าคลั่ง ดูเหมือนจะเกิดพอดีไปเสียด้วยซ้ำ การแย่งชิงตำแหน่งงานในบริษัทที่มีชื่อเสียงที่สุด นิสัยชอบการแข่งขัน เหล่านี้นั้น กระตุ้นเร้าให้เกิดการพัฒนาแบบต่อเนื่องอย่างไม่ทีท่าว่าจะลดน้อยลงไปเลย

เกาหลีใต้กับความเจริญที่ไม่มีทีท่าว่าจะหยุดเลย
เกาหลีใต้กับความเจริญที่ไม่มีทีท่าว่าจะหยุดเลย

ซึ่งการแข่งขันกันอย่าบ้าคลั่ง มันส่งผลต่อเกาหลีใต้อย่างใหญ่หลวง ตั้งแต่แต่ทศวรรษ 1960-1980 แม้จะทำให้เกิดความเครียดที่สูงกับชาวเกาหลีบ้างก็ตาม แต่มันไม่ได้มีการต่อต้านจากสังคมแต่อย่างใด มันเหมือนทุกคนในประเทศพร้อมยอมรับในจุดนี้

การแข่งขัน มาตั้งแต่เด็ก ค่าเรียนต่าง ๆ ที่สูงขึ้นทุกปี เงินที่จ่ายไปกับเครื่องสำอางค์ แบรนด์หรู ๆ รวมถึงเรื่องการศัลยกรรมพลาสติก สิ่งเหล่านี้ล้วนช่วยยกระดับสถานะทางสัมคมของคนเกาหลีแทบจะทั้งสิ้น ทุกคนต่างทุ่มเททุกสิ่งทุกอย่างเพื่อนำเสนอตัวตนที่เยี่ยมที่สุดสู่สังคมภายนอก 

แม้คนเกาหลีนั้นจะก้าวผ่านสงครามกลางเมือง และความอดอยาก ยากจน มาแล้ว ก่อนที่จะเปลี่ยนจากดินแดน ผู้ถูกล่า และเป็นเบี้ยล่างมาตลอด ให้กลายมาเป็น ประเทศที่มีระบอบประชาธิปไตย ที่มีการเมืองที่เสถียรภาพแห่งหนึ่งของโลก และความก้าวล้ำทางเทคโนโลยี ที่ไปไกลกว่าใครเพื่อน มันถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่ประเทศแห่งนี้ ควรจะหยุดพักผ่อน แล้วหันมาจิบแชมเปญสักแก้ว แต่อย่างไรก็ตาม สุดท้ายประเทศสุดแสนมหัศจรรย์อย่างเกาหลีใต้นั้น ก็ยังมีอีกสิ่งนึงที่ต้องพิชิตให้ได้ ซึ่งก็คือ การบาลานซ์ ความสมดุล ระหว่างความสุขและความพึงพอใจของประชาชนชาวเกาหลี กับการพัฒนาไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วดังที่เราได้เห็นจาก Blog Series ชุดนี้ 

แล้วเราได้อะไรจากการเรื่องราวประเทศเกาหลีใต้ จาก Blog Series ชุดนี้

ห้าสิบปีที่แล้ว เกาหลีคือประเทศยากจนที่บอบช้ำจากสงคราม  แทบจะไม่คงเหลือประเทศในฐานะรัฐ ๆ หนึ่ง และเกาหลีใต้ได้ผ่านพ้นวิกฤติมาได้อย่างมั่นคงจนได้กลายเป็นแม่แบบให้กับประเทศกลังพัฒนาทั่วโลก รวมถึงไทยเองด้วยก็ตามที

แม้ตอนนี้พวกเขายังคงไม่พอใจกับการเป็นประเทศพัฒนาแล้ว อย่างที่ได้ตั้งความหวังไว้ ยังมีแรงกดดันอยู่ต่อเนื่อง ในการก้าวขึ้นสู่ขั้นต่อไป เทียบกับมหาอำนาจยักษ์ใหญ่ของโลก พวกเขาได้สร้างมาตรฐาน ที่ดูเหมือนชาติอื่นจะอิจฉา ทั้ง ด้านการศึกษา ด้านเทคโนโลยี ไม้เว้นแม้แต่เชื่อเสียง และ รูปร่างหน้าตา พวกเขาในตอนนี้ ก้าวขึ้นไปอยู่แถวหน้าของโลกได้สำเร็จ

วัฒนธรรมอย่าง K-Pop ที่ฉีกกฏเกณฑ์ ทุกอย่าง ทำให้โลกตะวันตก สามารถยอมรับนับถือวัฒนธรรมของโลกตะวันออกได้ แบบที่ไม่เคยปรากฏขึ้นมาก่อน มันเป็นกำแพงที่สูงชัน แต่เกาหลีสามารถที่จะก้าวผ่านกำแพงนั้นไปได้สำเร็จ ก็ต้องบอกว่าเป็นเรื่องที่ไม่ธรรมดาเลย สำหรับคนเกาหลีใต้

ข้อคิดสำคัญสำหรับเรื่องของประเทศเกาหลีใต้ ก็คือ ไม่ว่าบ้านเมืองจะเละเทะ ถูกย่ำยีเพียงใด เหมือนประเทศไทย ที่อยู่กับทศวรรษ แห่งความหยุดนิ่ง ความแตกแยกที่รุนแรงภายในประเทศ แต่ประเทศเรายังเจออะไรเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสิ่งที่พวกเขาชาวเกาหลีใต้ได้เคยเจอมา

เพราะฉะนั้น ประเทศเราก็ยังมีโอกาสที่จะก้าวไปข้างหน้าได้ ไม่ต่างจากประเทศอย่างเกาหลี หากทุกคนในชาติ นั้นลืมเรื่องความขัดแย้ง และสร้างมันเป็นแรงขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวไปข้างหน้า ด้วยความสามัคคีของคนในชาติ มันก็สามารถให้เปลี่ยนหน้าประวัติศาสตร์ของชาติให้เจริญก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็วแบบที่เกาหลีเคยทำมาแล้วได้อย่างแน่นอน 

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Foundation *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

รวม Blog Series ที่มีผู้อ่านมากที่สุดรวม Blog Series ที่มีผู้อ่านมากที่สุด

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

อย่าลืมติดตามผลงานเรื่องต่อ ๆ ไปของผมก่อนใครได้ที่ blockdit นะครับ โหลดได้เลย

อย่าลืม ค้นหา “ด.ดล Blog” แล้ว กด follow กันด้วยนะครับผม

South Korea ตอนที่ 3 : Trendy Korea

สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งของประเทศเกาหลี ที่มีผลต่อการพัฒนาของชาติอย่างรวดเร็ว และไล่แซงประเทศอื่น ๆ จนกลายเป็นมหาอำนาจระดับต้น ๆ ของโลก ก็คือ พลังแห่งการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อทุก ๆ เรื่อง มันช่วยทำให้ผู้คนหลุดพ้นจากอดีตอันขมขื่นของชาติเกาหลี แล้วมาร่วมแรงร่วมใจกันสร้างประเทศที่พวกเขาภาคภูมิใจขึ้นมาแทน

กรุงโซล เมืองหลวงของประเทศเกาหลีใต้ในวันนี้ เมื่อเทียบกับ 50 ปีที่แล้ว มันเป็นอะไรที่ต่างกันแบบสุดขั้วอย่างสิ้นเชิง มันเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงการที่ประชาชนชาวเกาหลียอมรับความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วที่เกิดขึ้นกับสังคมเกาหลี

ซึ่งด้วยเหตุที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว การพัฒนา โดยนโยบายระดับชาติที่กระตุ้นให้ชาวเกาหลีเร่งรีบพัฒนาให้แซงชาวบ้านนั้น มันเป็นสิ่งบ่มเพาะที่สำคัญที่่ทำให้ชาวเกาหลี กระหายในสิ่งใหม่ๆ  อยู่ตลอดเวลา 

ซึ่งแน่นอนว่ามันมาจากนิสัยที่คนเกาหลี ค่อนข้างใส่ใจกับภาพลักษณ์ของตัวเอง รวมถึง จิตวิญญาณที่รักการแข่งขันมาตั้งแต่เล็กแต่น้อยนั้น มันทำให้ในช่วงที่เศรษฐกิจเฟื่องฟูอย่างสุดขีด บรรดาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไอเดีย หรือ สิ่งต่าง ๆ ที่จะนำ Trend โลก มันน่าดึงดูดใจต่อชาวเกาหลี มากกว่า สิ่งที่มีมาก่อน มันเป็นสังคมที่ถูกปลุกเร้าด้วยผู้คนที่ ไม่อดทนต่อความนิ่งเฉย มันเป็นคุณลักษณะสำคัญอย่างนึง ที่ส่งผลให้คนเกาหลีนั้น ต่างเรียกร้อง ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี โดยที่ไม่มีใครอยากตกยุค หรือ ตามไม่ทันคนอื่นโดยเด็ดขาด

เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมใหญ่ในประเทศอย่าง อุตสาหกรรมมือถือ ในเวลาแค่เพียงสองสามปี มือถือที่เคยเป็นรุ่นท็อปจะกลายเป็นโทรศัพท์โบราณทันที ในสายตาของวัยรุ่นชาวเกาหลี มีข้อมูลที่น่าสนใจอย่างหนึ่งจากยักษ์ใหญ่ทางด้าน Telecom อย่าง SK Telecom ผู้บริโภคชาวเกาหลีซื้อมือถือเครื่องใหม่ ทุก ๆ 26.9 เดือน ในขณะที่คนญี่ปุ่นใช้มือถือนานถึง 46.3 เดือนถึงจะเปลี่ยนเครื่องใหม่

ผู้บริโภคชาวเกาหลี เปลี่ยนมือถือ กัน ถี่มาก ๆ
ผู้บริโภคชาวเกาหลี เปลี่ยนมือถือ กัน ถี่มาก ๆ

ชาวเกาหลีมีลักษณะนิสัยชอบทดลองสิ่งใหม่ๆ  อยู่เสมอ มันส่งผลให้บริษัทยักษ์ใหญ่ อย่าง LG หรือ Samsung สามารถที่จะใช้ตลาดภายในประเทศในการทดสอบอุปกรณ์ใหม่ ๆ ผู้คนที่นี่เป็นผู้นำ Trend อยู่เสมอ สินค้ารุ่นใหม่ล่าสุดในหลาย ๆ ผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ จะทำการเปิดตลาดที่เกาหลีก่อนใครเพื่อนอยู่เสมอ

ซึ่งมันเป็นประโยชน์กับหลายบริษัท ๆ ตัวอย่างเช่นบริษัท กล้องถ่ายรูปสัญชาติ ญี่ปุ่นอย่าง โอลิมปัส ก็ได้ใช้วิธีนี้เช่นกัน พวกเขาจะคอยศึกษาพฤติกรรมจากผู้ใช้งานชาวเกาหลี และดู Feedback การใช้งานจากพวกเขาเหล่านี้ แล้วนำมาปรับปรุงให้สินค้าสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้นเมื่อจะทำการวางขายไปทั่วโลก ซึ่งได้ผลที่ยอดเยี่ยมเป็นอย่างมาก

แม้กระทั่งบริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้านอุปกรณ์เน็ตเวิร์ก อย่าง Cisco จากประเทศอเมริกา ก็ ได้สร้างเมืองที่ชื่อว่า Songdo ใกล้กับสนามบินอินชอน เพื่อทดสอบเทคโนโลยี internet ไร้สายแบบใหม่ ๆ 

บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Cisco ยังใช้เมือง Songdo ทดสอบเทคโนโลยี internet ไร้สาย
บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Cisco ยังใช้เมือง Songdo ทดสอบเทคโนโลยี internet ไร้สาย

การเปิดตัว smartphone ครั้งแรกในปี 2009 นั้น ก็ได้รับความสนใจอย่างท่วมท้นจากประชาชนชาวเกาหลี มียอดการจองถล่มทลายเพียงแค่เปิดตัว เหล่าผู้นำ Trend ชาวเกาหลี พร้อมจะทิ้งมือถือรุ่นเก่า ที่ทำได้เพียงแค่ โทรเข้า-ออก ส่งข้อความ ได้ทันที เมื่อมีสิ่งใหม่อย่าง iPhone ปรากฏขึ้นมา

และคู่แข่งที่สำคัญที่สุดของ apple ในช่วงแรกเริ่มของตลาด smartphone ก็คือ บริษัทซัมซุง หนึ่งใน แชโบล ยักษ์ใหญ่ของประเทศเกาหลีใต้เอง ซึ่งเป็น case study ที่น่าสนใจสำหรับ มือถือ smartphone samsung galaxy s รุ่นแรก ที่กล้าออกมาท้าทาย apple โดยใช้ระบบปฏิบัติการ android ซึ่งออกมาหลัง ระบบปฏิบัติการ IOS ของ apple

การเริ่มทดลอง galaxy s ด้วยตลาด เกาหลีใต้ก่อน มันทำให้ ซัมซุงสามารถที่จะไปปรับปรุงจุดบกพร่องต่าง ๆ ที่เกิดจาก feedback ของชาวเกาหลีเอง รวมถึง การที่ต้องการเป็นผู้นำ trend ตลอดของชาวเกาหลี พวกเขาก็พร้อมที่จะทดลองกับ มือถือรุ่นใหม่ ๆ ระบบปฏิบัติการใหม่ ๆ ของ samsung galaxy s ก่อนที่จะออกขายในตลาดโลก

ซึ่งตอนนั้น galaxy s ของ ซัมซุง เป็นสินค้าผู้ตาม มันเป็นการเลียนแบบการทำงานของ apple เลยก็ว่าได้โดยใช้ระบบปฏิบัติการ android ตามแบบฉบับของธุรกิจเกาหลีที่ทำมา และมันทำให้เกิดกระแสของ galaxy s ให้ติดตลาดได้ โดยการที่ ซัมซุง สามารถที่จะนำสินค้าออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็วทันควัน ก่อนที่คนจะแห่แหนไปใช้ apple iPhone กันหมด มันทำให้ยอดขายของ galaxy s นั้นพุ่งสูงถึง 100 ล้านเครื่องทั่วโลก และเพียงเฉพาะตลาดเกาหลี ก็สามารถขายได้ถึง 5 ล้านเครื่อง

ชาวเกาหลีช่วยเปิดโอกาสให้ samsung galaxy s แจ้งเกิดได้อย่างเหลือเชื่อ
ชาวเกาหลีช่วยเปิดโอกาสให้ samsung galaxy s แจ้งเกิดได้อย่างเหลือเชื่อ

ซึ่งมันทำให้ ซัมซุง สามารถเอาชนะ apple ได้ และมียอดขาย smartphone สูงสุดเป็นอันดับหนึ่งของโลก ต่อเนื่องมาอีกหลายปี หากนักเฉพาะส่วนแบ่งการตลาดของจำนวนเครื่อง

ที่เกาหลีใต้ นั้น ผู้คนทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นคนสูงอายุ 50-60 ปีก็ตาม สามารถที่จะตาม Trend มือถือที่หนุ่มสาวในประเทศอื่นยังตามไม่ทัน คนเกาหลีนั้นติด smartphone กันงอมแงม โดย ผู้บริโภคชาวเกาหลีใช้งาน smartphone เฉลี่ยสูงถึง 1.9 ชั่วโมงต่อวัน

ชาวเกาหลีใช้เวลาเสพมือถือกัน ใช้เวลาสูงติดอันดับต้น ๆ ของโลก
ชาวเกาหลีใช้เวลาเสพมือถือกัน ใช้เวลาสูงติดอันดับต้น ๆ ของโลก

แต่ความเป็นคนนำ Trend ของชาวเกาหลี ไม่ใช่เพียงแค่เฉพาะมือถือ เพียงเท่านั้น ในบรรดาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใหม่ ๆ หรือ สินค้า Gadget ใหม่ ๆ นั้น ตลาดเกาหลีเป็นตลาดที่หอมหวานเลยทีเดียวแหละสำหรับสินค้าประเภทนำ Trend เช่นนี้

ไม่ว่าจะเป็น ระบบ GPS ในรถยนต์  กล้องทั้ง Mirrorless หรือ DSLR หรือเครื่องเล่น Mp3 ชนิดต่าง ๆ ล้วนมาทำตลาดที่นี่ได้สำเร็จก่อนประเทศในทวีปยุโปรหรืออเมริกาแทบจะทั้งสิ้น

และด้วยการที่ผู้นำด้านการผลิตสินค้าพวกนี้นั้นส่วนใหญ่แล้วเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่จากเกาหลีแทบจะทั้งสิ้น ซึ่งมีโอกาสเจาะตลาดคนเกาหลีที่แสนรักชาติยิ่งชีพ เป็นอย่างดี และด้วยงบการตลาดที่มหาศาลและอิทธิพลของบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างซัมซุงมีต่อตลาดภายในประเทศเกาหลีเองนั้น

บริษัทอย่างซัมซุงจึงมีแนวโน้มที่จะชี้นำให้ชาวเกาหลี ได้ใช้อุปกรณ์ Gadget ใหม่ ๆ อยู่เสมอ ใครไม่ใช้ถือว่าตกเทรนด์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ชาวเกาหลีนั้นรับไม่ได้ ตัวอย่างเช่น ทีวีจอแบนนั้นแทบจะเป็นของใช้พื้นฐานในบ้านชาวเกาหลีมานานก่อนใครเพื่อน ส่วนเทคโนโนโลยีอย่าง ทีวี 3D นั้นก็มีขายในเกาหลีก่อนประเทศใดในโลกเช่นเดียวกัน

ชาวเกาหลีพร้อมจะทดลองใช้ gadget ใหม่ ๆ ก่อนใครเพื่อน
ชาวเกาหลีพร้อมจะทดลองใช้ gadget ใหม่ ๆ ก่อนใครเพื่อน

ความเป็นผู้นำทางเทคโนโลยีเปรียบเสมือนเอกลักษณ์ ที่สำคัญของธุรกิจเกาหลีใต้ในปัจจุบัน มันเป็นกลยุทธ์ การ copy & develop เป็นผู้ตามที่เร็วที่สุด และสามารถวิ่งแซงได้ในที่สุด มันถือเป็นกลยุทธ์ ที่ได้ผลสำหรับธุรกิจหลายอย่างของเกาหลี ที่ตอนแรกมักถูกมองเป็นของ copy แต่ภายหลังมันก็ได้พิสูจน์ว่า พวกเขาได้สร้างนวัตกรรมขึ้นมาจากพื้นฐานของคนอื่นที่มีอยู่แล้ว ทำให้สามารถเร่งสปีดแซงหน้าบริษัทจากต่างประเทศได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะสินค้าเทคโนโลยีที่ตอนนี้ถือว่า เกาหลีใต้ ได้แซงหน้าญี่ปุ่นไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ซึ่ง การที่จะทำธุรกิจแล้วประสบความสำเร็จในเกาหลีใต้ได้นั้น ต้องมีการร่วมมือกับ แชโบล ยักษ์ใหญ่ หรือ อีกทางก็คือ ค้นพบตลาด Blue Ocean ใหม่ที่ยังไม่มีใครเข้าไปพบเข้า ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นวงการเทคโนโลยีชั้นสูง เป็นพื้นที่เดียวที่คนทำธุรกิจใหม่ ๆ จะสามารถที่จะต่อสู้กับยักษ์ใหญ่อย่างกลุ่ม แชโบล ได้ เพราะพวกเขายังมองไม่เห็นตลาดใหม่ส่วนนี้

ตัวอย่างเช่น บริษัท NHN ซึ่งเป็นเจ้าของ naver.com ซึ่งเป็นเว๊บท่าเพียงไม่กี่แห่งในโลกที่สามารถต่อกรกับยักษ์ใหญ่อย่าง google ได้สำเร็จ หรือ NCSoft บริษัทผลิตเกมส์ออนไลน์ ซึ่งสองบริษัทดังกล่าว เป็นตัวอย่างที่น่าสนใจ ที่ไม่ได้เป็นบริษัทในกลุ่ม แชโบล หรือ รัฐวิสาหกิจของรัฐบาลที่ผ่านการแปรรูป ที่มีมูลค่าติด 50 อันดับแรกในตลาดหลักทรัพย์เกาหลี

Naver.com สามารถต่อกรกับ google ได้ในบ้านของตัวเอง ซึ่งน้อยบริษัทนักที่จะทำได้
Naver.com สามารถต่อกรกับ google ได้ในบ้านของตัวเอง ซึ่งน้อยบริษัทนักที่จะทำได้

ซึ่งเหมือนกับทุกสิ่งในโลกที่มีทั้งด้านบวก และ ด้านลบ ซึ่งการนำ Trend ของชาวเกาหลี ที่เห่อกับของใหม่อยู่ตลอดเวลา มันก็ทำให้ cycle ของธุรกิจต่าง ๆ นั้นแสนสั้น เพราะมีสิ่งที่ทันสมัยกว่าที่ชาวเกาหลีพร้อมจะแห่กันไปซื้ออยู่ตลอดเวลา มันทำให้เกิดธุรกิจใหม่อยู่ตลอดเวลาก็จริง ๆ แต่ก็พร้อมจะดับไปได้ทุกเมื่อเหมือนกัน

และมันก็ส่งผลต่อเรื่องการเมืองเช่นกัน ที่มาไวไปไว ซึ่งเป็นสิ่งที่น่ากังวลกว่าเรื่องอื่น ๆ เหล่านักการเมืองที่สร้างเรื่องอื้อฉาว ก็อยู่ในกระแสได้ไม่นาน สังคมเกาหลีก็ลืมการกระทำอันเลวร้ายของนักการเมืองเหล่านี้ได้ และยอมให้พวกเขากลับมาเริ่มต้นใหม่

ตัวอย่างที่น่าสนใจอีกอย่างในเรื่องการเมืองก็คือ โรห์ มูฮยอน ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2002 ด้วยคะแนนโหวตที่มาอย่างรวดเร็วผ่านพลังของโลกออนไลน์ในโค้งสุดท้าย แต่เมื่อเขามาบริหารจริง ๆ เสียงที่สนับสนุนเขากลับลดลงอย่างรวดเร็ว

ฝ่ายค้านจึงเล่นงานเขาด้วยการพยายามขับเขาออกจากตำแหน่ง เนื่องจากเขาได้เคยกล่าวสนับสนุนพรรคของตัวเองในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรที่ตามมา ซึ่งในรัฐธรรมนูญของเกาหลีนั้นได้ระบุให้ ประธานาธิบดีต้องเป็นกลาง

ซึ่งทำให้จุดชนวนให้ประชาชนกว่าหนึ่งล้านคนออกมาชุมนุมบนท้องถนน เพื่อสนันสนุนประธานาธิบดีของพวกเขา มันทำให้คะแนนนิยมที่มีต่อตัวผู้นำของชาวเกาหลีกลับมาพุ่งสูงขึ้นอีกครั้ง แต่หลังจากนั้นไม่นานคะแนนนิยมของเขาก็ตกลงมาอีกครั้ง

กระแสที่พลิกไปมาของ ประธานาธิบดี โรห์ มูฮยอน
กระแสที่พลิกไปมาของ ประธานาธิบดี โรห์ มูฮยอน

ซึ่งมันกลายเป็นว่า ความนิยม อยู่ที่กระแสขึ้น ๆ ลง ๆ ของชาวเกาหลี ซึ่งเป็นสิ่งที่คาดเดาได้ยากของประชาชนชาวเกาหลี  บางครั้งคนจำนวนมากก็คิดว่าเขาดี หลังจากนั้นก็ไม่ดี แล้วกลับมาดีอีก สุดท้ายก็กลับไปไม่ดีอีกครั้ง ซึ่งจากข้อมูลในปี 2012 นั้น ประธานาธิบดี โรห์ มูฮยอน นับเป็นประธานาธิบดีผู้มีคะแนนนิยมสูงสุดตลอดกาลอันดับสองรองจากท่านประธานาธิบดี ปาร์ค ซุงฮี เพียงเท่านั้น จะเห็นได้ว่าความเห่อกระแสใหม่ ๆ ของชาวเกาหลีนั้น ไม่ได้มีเพียงแต่ข้อดี เพียงอย่างเดียว มันยังมีข้อเสียให้เห็น โดยเฉพาะเรื่องใหญ่ ๆ อย่างความนิยมของประธานาธิบดี ก็ ยังโดนเหมือนกัน

แต่สุดท้าย การเป็นผู้นำ Trend อยู่สม่ำเสมอ ก็ถือเป็นปัจจัยสำคัญ ให้ธุรกิจยักษ์ใหญ่ของเกาหลี สร้างสิ่งที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อมาตอบสนองชาวเกาหลีอยู่สม่ำเสมอ ซึ่งนวัตกรรมเหล่านี้ สุดท้ายแล้วก็สามารถกระจายไปสู่กระแสหลักทั่วโลกได้แทบจะทุกครั้ง มันก็ยิ่งทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่จากเกาหลีเติบโตขึ้น พร้อมกับตัวเลขการส่งออกที่เพิ่มขึ้น และสุดท้ายมันก็ผลักดันให้ประเทศเกาหลีเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ในแบบที่ประเทศอื่น ๆ ไม่สามารถที่จะวิ่งตาม Trend ของพวกเขาทันได้นั่นเองครับ

–> อ่านตอนที่ 4 : Friend , Foe or Foreigner?

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Foundation *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

South Korea ตอนที่ 2 : Fighting DNA

สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งของประเทศเกาหลี คือ จิตวิญญาณของนักสู้ ว่ากันว่า มีแต่เหล่านักสู้เท่านั้้นที่จะอยู่รอดในสังคมของประเทศเกาหลีใต้ได้ ทุกคนต่างต้องแข่งขันกัน ขับเคี่ยวกันในทุกเรื่องในชีวิต ตั้งแต่ การพยายามอย่างหนักในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย การหางาน การเลือกคู่ครอง ต้องเรียกได้ว่าคนเกาหลีนั้นจะต้องแข่งขันตั้งแต่วัยเด็ก และไม่มีทีท่าว่าจะลดลงเลยแม้จะเกษียณจากการทำงานไปแล้วก็ตาม

หลังจากสงครามเกาหลีจบสิ้น แม้มันจะไม่ได้เป็นการจบเลยเสียทีเดียว มันเป็นแค่การเจรจาสงบศึกชั่วคราวมาจวบจนถึงปัจจุบันเพียงเท่านั้น ด้วยความยากจนข้นแค้น เป็นชาติที่ถูกรุกราน และถูกโจมตีอยู่เสมอ มันบีบให้เกาหลีใต้ต้องคิดหาทางให้หลุดพ้นจากสถานภาพอันเลวร้ายนี้

ซึ่งทางออกเดียวที่มีคือ การทุ่มเทพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างเต็มที่เพื่อ จะได้ไปเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป

แม้ในปี 1945 มีประชากรชาวเกาหลีใต้เพียง 5% เท่านั้นที่ได้รับการศึกษาระดับมัธยม หรือ สูงกว่า แต่หลังจากที่นายพล ปาร์ค ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในปี 1961 นั้น ประชาชนได้ถูกกระตุ้น ให้ทำงานอย่างหนัก และร่วมแรงแข็งขันกัน เพื่อพัฒนาชาติ และยกระดับให้เกาหลีใต้เหนือกว่าประเทศอื่นให้จงได้

ท่านประธานาธิบดี ปาร์ค ต้องการให้เกาหลีเติบโตให้เร็วที่สุด
ท่านประธานาธิบดี ปาร์ค ต้องการให้เกาหลีเติบโตให้เร็วที่สุด

ถึงขั้นที่ว่า มีการ รณรงค์ ให้ โค่นญี่ปุ่น โดยผ่านการพัฒนาอุตสาหกรรม มีการปลุกจิตวิญญาณนักสู้ของชาวเกาหลี มีการตั้งเป้าหมายของประเทศ ให้ทำลายสถิติการส่งออกผลิตภัณฑ์ ให้ได้ทุก ๆ ปี เพื่อให้เกาหลีใต้นั้น ก้าวสู่การพัฒนาอย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ มันเป็นการร่วมแรงร่วมใจของชาวเกาหลีทุกคน ไม่ว่าอุตสาหกรรม ยักษ์ใหญ่ แรงงาน หรือ เหล่าชนชั้น กลาง ทุกคนต่างร่วมใจกันพัฒนาให้เกาหลีใต้ ก้าวขึ้นไปเทียบเคียงกับยักษ์ใหญ่อย่างญี่ปุ่นให้ได้

เกาหลีต้องการโค่นญี่ปุ่นลงให้จงได้ ทั้งสองมีประวัติที่ไม่ลงรอยกันมานาน
เกาหลีต้องการโค่นญี่ปุ่นลงให้จงได้ ทั้งสองมีประวัติที่ไม่ลงรอยกันมานาน

ถึงขั้นที่ว่า คนเกาหลีนั้นถูกปลุกฝังตั้งแต่เยาว์วัย ว่า เมื่อเติบโตขึ้นนั้น เขาจะต้องเป็นเหมือนดั่งนักรบ นักรบในอุตสาหกรรม เด็ก ๆ ทุกคนมีหน้าที่ในการสร้างประวัติศาสตร์ในการฟื้นฟูชาติขึ้นมาใหม่ เหล่านักเรียนทุกคน ต้องขยันเรียนมากขึ้น มากกว่าชาติอื่น ๆ ที่เขาร่ำเรียนกัน เพราะเมื่อเติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่แล้วนั้น เหล่าเด็ก ๆ เหล่านี้ จะต้องอุทิศกำลังทั้งชีวิต เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้ดีขึ้น เป้าหมายใหญ่ของประเทศในตอนนั้นคือ การขยับตัวเลขการส่งออกของเกาหลีใต้ให้ไต่เต้าขึ้นไปอยู่อันดับต้น ๆ ของโลกให้จงได้

มันเป็นเพราะสถานะที่ไม่มั่นคงเลยของเกาหลี พวกเขาได้พลิกวิกฤตนี้ให้เป็นโอกาส พวกเขาต้องรีบสั่งสมอำนาจทางเศรษฐกิจโดยเร็วที่สุด ประเทศเล็ก ๆ แห่งนี้เกิดมาพร้อมกับความยากจน ทรัพยากรก็น้อยนิด แถมยังมาถูกแบ่งแยกจากเขตอุตสาหกรรมที่มีอยู่เดิมในแถบทิศเหนือ ที่ตอนนี้กลายเป็นของเกาหลีเหนือเป็นที่เรียบร้อย

เกาหลีใต้ถูกโอบล้อมด้วยรัฐที่มีทั้งอำนาจและแข็งแกร่งกว่าในทุก อย่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นจีน รัสเซีย หรือ ญี่ปุ่นก็ตาม เหล่าผู้นำจึงต้องพยายามทำทุกอย่าง ให้เกาหลีใต้มีความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจมากที่สุด และเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งการค้าขายนั้น ไม่ได้เพียงทำให้เกาหลีใต้มีความมั่งคั่งเพียงเท่านั้น แต่มันยังช่วยให้ประเทศอยู่อย่างปลอดภัยจากชาติมหาอำนาจรอบข้างด้วยอีกอย่างหนึ่ง

เกาหลีใต้ถูกโอบรอบด้วยชาติมหาอำนาจทั้ง จีน รัสเซีย ญี่ปุ่น รวมถึง เกาหลีเหนือที่มีความไม่แน่อน
เกาหลีใต้ถูกโอบรอบด้วยชาติมหาอำนาจทั้ง จีน รัสเซีย ญี่ปุ่น รวมถึง เกาหลีเหนือที่มีความไม่แน่อน

มีอุตสาหกรรมอย่างนึงที่น่าสนใจเป็นอย่างมากคือ อุตสาหกรรมการต่อเรือ ซึ่ง ในช่วงแรกนั้น เกาหลีใต้แทบจะไม่มีอุตสาหกรรมต่อเรืออยู่เลย แต่ท่านผู้นำอย่างปาร์ค นั้นต้องการให้เกาหลีใต้เป็นประเทศอุตสาหกรรมต่อเรืออันดับหนึ่งของโลก และพยายามหาช่องทางทุกวิถีทางให้ยุทธศาสตร์นี้เป็นจริงขึ้นมาได้ และเรื่องเหลือเชื่อก็คือ เป้าหมายนี้สำเร็จได้ในช่วงปี 1980 แต่เสียดายว่าในตอนนั้น ท่านนายพล ปาร์ค ได้เสียชีวิตไปเสียแล้ว ไม่ได้มาเห็นความฝันของท่าน เป็นจริงได้สำเร็จ

นโยบายที่สำคัญของการศึกษาของเกาหลีใต้ ก็คือ ความเสมอภาค รวมถึงสิทธิในการเข้าถึงการศึกษาอย่างเท่าเทียม ซึ่งมันทำให้การแข่งขันเพื่อเข้าศึกษาในปริญญาตรีของเกาหลีใต้เป็นไปอย่างดุเดือด

งานราชการ งานกฏหมาย การแพทย์ และงานในบริษัทชั้นนำอย่างกลุ่ม แชโบล นั้น สามารถเปลี่ยนชีวิตเด็กคนนึงได้จากความยากจนข้นแค้น ให้กลายเป็นคนที่มีความมั่งคั่งได้ ซึ่งมันทำให้เกิดการแข่งขันอย่างรุนแรง ทุกคนต้องเป็นนักสู้ ต้องมีการทำสิ่งต่าง ๆ ให้เหนือกว่าผู้อื่นอยู่เสมอ ตั้งแต่แต่ที่โรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือแม้กระทั่งในที่ทำงานก็ตาม 

และมันได้ส่งผลรุ่นต่อรุ่น มายังลูกหลานของพวกเขาด้วย จิตวิญญาณแห่งการต่อสู้ รวมถึงการเอาชนะนั้น ทุกครอบครัวต้องต่อสู้กัน มันเลยได้นำพาเกาหลีใต้ ก้าวไกลมาได้จนถึงปัจจุบัน มันเหมือน DNA ของชาวเกาหลีใต้ ที่ถูกปลูกฝังมารุ่นต่อรุ่น ตั้งแต่ยุคหลังสงครามเกาหลีเลยก็ว่าได้

ซึ่งการศึกษาของเกาหลีนั้น มีการแข่งขันที่สูงมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกเลยก็ว่าได้ เหล่าผู้ปกครองพร้อมที่จะทุ่มหมดหน้าตักให้ลูกหลานของตัวเองได้เรียนในโรงเรียนกวดวิชา หรือ ครูสอนพิเศษ

การแข่งขันด้านการเรียนในเกาหลีใต้ นั้นสูงมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
การแข่งขันด้านการเรียนในเกาหลีใต้ นั้นสูงมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

ซึ่งนับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 นั้น เหล่าเด็ก ๆ ในเกาหลีใต้จะใช้ช่วงเวลาในช่วงบ่ายและเย็นเรียนพิเศษในวิชาต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงการที่ต้องทำการบ้านทั้งของโรงเรียน และ ที่มาจากการเรียนพิเศษด้วย และ มันเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมากสำหรับบรรดาผู้ปกครองชาวเกาหลีใต้ ซึ่งสิ่งนี้ได้ส่งผลต่ออัตราการเกิดของเกาหลีใต้ที่ลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ

และการที่ทุกคนต้องลงทุน และ ลงแรงอย่างหนักเพื่อให้ประสบความสำเร็จทางด้านการศึกษานี่เอง มันจึงส่งผลต่อการเรียนในระดับปริญญาตรี ซึ่งหากมีผลการเรียนที่ดีนั้น ก็จะเปิดโอกาสให้สามารถหางานที่ดีได้ แต่ ด้วยจำนวนงานนั้นมีอยู่อย่างจำกัด

มันทำให้วังวนแห่งการแข่งขันนี้ยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นไปอีก ต่างคนต่างถูกบีบให้สร้างความโดดเด่นขึ้นมาให้เหนือคนอื่น ซึ่งมันทำให้ในปัจจุบันนั้น ปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยชั้นน้ำของเกาหลีอย่าง มหาวิทยาลัยโซล นั้นไม่เพียงพออีกต่อไป

มันทำให้ทุกคนต่างไขว่ขว้า โอกาสที่สูงขึ้นไปอีก โดยเฉพาะมหาลัยชั้นนำระดับท็อป ๆ ของโลก ตัวอย่างเช่นที่ มหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ด มีจำนวนนักศึกษาเกาหลีใต้สูงเป็นอันดับสามในบรรดานักศึกษาต่างชาติทั้งหมด ด้วยเหตุนี้เหล่าผู้ปกครองที่มีเงินมากพอ ก็จะพยายามส่งลูกหลานไปในประเทศชั้นนำในมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ทั้งหมดก็เพื่อแต้มต่อในการสมัครงานของลูกหลานของพวกเขานั่นเอง

แม้ในระดับประเทศ เกาหลีใต้นั้น จะสั่งสมอำนาจทางเศรษฐกิจมาโดยตลอด คนเกาหลีใต้ถูกปลูกฝังให้มีความสำเร็จจากการศึกษาเป็นบันได้ขั้นแรก ซึ่ง แม้ในขณะที่ประเทศจะติดอันดับประเทศร่ำรวยแล้วในช่วงปี 1990 นั้น แต่จิตวิญญาณแห่งการแข่งขันมันก็ไม่ได้ลดลงเลย 

ต้องแข่งขันแม้กระทั่งตอนทำงาน ยิ่งบริษัทยักษ์ใหญ่ยิ่งแข่งขันสูง
ต้องแข่งขันแม้กระทั่งตอนทำงาน ยิ่งบริษัทยักษ์ใหญ่ยิ่งแข่งขันสูง

บริษัททั้งหลายโดยเฉพาะยักษ์ใหญ่อย่าง กลุ่ม แชโบล นั้น ก็ยังคงกระตุ้นให้พนักงานทำงานหามรุ่งหามค่ำต่อไป ทุก ๆ ปี พนักงานชาวเกาหลีนั้นทำงานโดยเฉลี่ย 2,193 ชั่วโมง ซึ่งสูงที่สุดในกลุ่มประเทศ OECD แุถมบางครั้งยังต้องทำงานนอกเวลาแบบไม่จ่ายค่าแรงอีกด้วย

วงเวียนแห่งการแข่งขันของชาวเกาหลีนั้น ยังคงหมุนอย่างไม่หยุดหย่อน ทุก ๆ ปีจะมีบัณฑิตจบใหม่จำนวน 500,000 คน ในขณะที่บริษัทใหญ่ ๆ หน่วยงานรัฐ มีตำแหน่งรองรับเพียงแค่ 100,000 ตำแหน่งเท่านั้น และมันทำให้ อีก 400,000 คนนั้น ต้องทำงานกับบริษัทขนาดกลางหรือขนาดเล็กที่ไม่มีความมั่นคงแต่อย่างใด บริษัทขนาดเล็กเหล่านี้ ไม่สามารถที่จะต่อการกับบริษัทยักษ์ใหญ่ใน แชโบล ได้เลย 

ซึ่งทั้งหมดทั้งมวล นั้นเป็นสิ่งที่เรียกว่า Fighting DNA ของชาวเกาหลี ที่มีมาตั้งแต่เยาว์วัย มันทำให้ชาติสามารถเจริญรุดหน้าไปได้ก็จริง แต่ก็มีการถกเถียง เรื่องของคุณภาพชีวิตของชาวเกาหลีที่ดูแย่ลงเรื่อย ๆ 

แม้ประเทศจะก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว แต่คุณภาพชีวิต โดยเฉพาะเรื่องการทำงานนั้น ย่ำแย่สำหรับชาวเกาหลี
แม้ประเทศจะก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว แต่คุณภาพชีวิต โดยเฉพาะเรื่องการทำงานนั้น ย่ำแย่สำหรับชาวเกาหลี

พวกเขาเริ่มที่จะตระหนักว่าการพักผ่อนไม่เพียงพอ และการทุ่มเทแรงกายอย่างไม่มีสิ้นสุดนั้น อาจจะเริ่มส่งผลให้การทำงานไม่มีประสิทธิภาพ มันทำให้เกิดความเครียดสูงในหมู่ชาวเกาหลี  และการแข่งขันนี้เอง ที่เป็นปัจจัยให้ประเทศนี้มีอัตรการฆ่าตัวตายที่สูงมาก

ซึ่ง ความเครียด การไร้ความสุขในการทำงาน คุณภาพชีวิต สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ อาจจะเป็นปัจจุัยที่คอยขัดขวางการเกิดขึ้นของนวัตกรรมใหม่ ๆ ซึ่งถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของเกาหลีในอนาคต

ซึ่ง Fighting DNA นี่แหละเป็นปัจจัยสำคัญ และเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ ที่ทำให้เกาหลีใต้ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว แต่ทั้งหมดนี้ ก็ต้องแลกมาด้วยผลเสียทางลบที่ คอยบั่นทอนอารมณ์ และจิตใจของผู้คนชาวเกาหลีเช่นเดียวกัน ซึ่งบางทีนั้น ตอนนี้ในวันที่เกาหลีใต้ได้กลายเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วสำเร็จ เป้าหมายหลายอย่างของพวกเขาก็ประสบความสำเร็จแล้วแทบจะทั้งสิ้น มันก็อาจจะถึงเวลาที่พวกเขาอาจจะต้องละทิ้งความทะเยอทะยานที่จะเป็นที่หนึ่งลงเสียบ้าง เพื่อแลกกับคุณภาพชีวิตของชาวเกาหลีที่ดีขึ้นกว่าเดิม

–> อ่านตอนที่ 3 : Trendy Korea

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Foundation *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

South Korea ตอนที่ 1 : Foundation

ประเทศเกาหลีใต้ในขณะนี้นั้นได้กลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมชั้นแนวหน้าของโลก เป็นประเทศที่ผลิต chip ที่เป็นชิ้นส่วนสำคัญที่เป็นหัวใจของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิค ทั่วโลกได้มากกว่าใครในโลก มันนับเป็นก้าวย่างที่รวดเร็วมากที่สามารถทำให้ประเทศเกาหลีใต้ก้าวมาถึงจุดนี้ได้

หลาย ๆ คนทั่วโลกยังเข้าใจผิดในหลาย ๆ เรื่องเกี่ยวกับประเทศเศรษฐกิจใหม่แห่งนี้ การร่วมมือ และร่วมใจของคนทั้งชาติ การทำงานอย่างหนัก ความคิดสร้างสรรค์ที่สุดโต่ง ล้วนเป็นสิ่งที่นำพาให้ประเทศเกาหลีใต้มาถึงจุดนี้ได้ 

ซึ่งการปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐานของประเทศใหม่ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งคมนาคม หรือ โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี ที่มีหัวใจคือ ระบบ internet Hi-Speed มันช่วยยกระดับประเทศเกาหลีให้เปลี่ยนแปลงไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วได้อย่างเหลือเชื่อ

ไม่ใช่แค่เรื่องเทคโนโลยีเพียงเท่านั้น เกาหลีใต้ ยังเป็นผู้นำทางด้านศิลปะ มีการสร้างงานศิลปะ ระดับ World-Class รวมถึงเรื่องดนตรี ที่ K-Pop นั้นได้กระจายกลายเป็นวัฒนธรรมใหม่ไปทั่วโลก ทุกคนหลงรัก K-Pop แม้กระทั่งชาติมหาอำนาจอย่าง อเมริกาเองก็ตามยังต้องยอมสยบให้กับวัฒนธรรมที่กำลังบุกรุกอย่างบ้าคลั่งของ K-Pop มันไม่ใช่แค่บุกเพียงทวีปเอเชียแล้วแต่ตอนนี้มันกำลังบุกไปทั่วโลก

กระแส K-Pop ที่ได้บุกไปทั่วโลกแล้ว
กระแส K-Pop ที่ได้บุกไปทั่วโลกแล้ว

ซึ่งเมื่อย้อนไปเมื่อร้อยปีที่แล้ว นั้น ประเทศแห่งนี้ ถูกบุกรุก จนแทบจะสูญสิ้นประเทศ จากสงครามต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นจากเพื่อนบ้านกันเองอย่างญี่ปุ่น หรือ การถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองระหว่างประเทศในการแบ่งแยก เกาหลีเหนือ – เกาหลีใต้ แต่พวกเขาใช้เวลาเพียงแค่ 2 ชั่วอายุคนเท่านั้น ในการเปลี่ยนโฉมหน้าประเทศ จากประเทศที่แสนยากจนข้นแค้น GDP ต่อหัว เพียงแค่ 100 เหรียญสหรัฐเท่านั้น จนกลายมาเป็นมหาอำนาจที่มี GDP ต่อหัว สูงถึงกว่า 30,000 เหรียญในปัจจุบัน 

จากการที่ต้องถูกแบ่งประเทศเป็น เกาหลีเหนือ และ เกาหลีใต้ ผลพวงจากยุคสงครามเย็นระหว่างมหาอำนาจยักษ์ใหญ่ของโลกอย่าง สหภาพโซเวียต และ สหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ช่วงปี 1950 แม้สงครามของทั้งสองจะจบลงแล้วตั้งแต่ ปี 1953 ก็ตาม แต่มันก็ยังไม่สามารถรวมทั้งสองประเทศให้กลายเป็นหนึ่งได้เหมือนในอดีต

และนี่ก็น่าจะเป็นส่วนสำคัญอย่างนึงที่ถ้าเทียบกับเหล่าประเทศผู้นำ G20 ทั่วโลก มันก็คือ ความขัดแย้งที่ยังคงมีอยู่ระหว่าง เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ มันเป็นแรงผลักสำคัญให้ชาวเกาหลีใต้รีบสร้างเทคโนโลยีต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นมาโดยเร็วที่สุด ความไม่มั่นคงกับปัญหานิวเคลียร์ ระหว่างเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้ ต้องเรียกได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญอย่างนึงเลยก็ว่าได้ มันเปรียบเหมือนชาวเกาหลีใต้กำลังอยู่ภายใต้ความมืดมนที่ปกคลุมอยู่ มันเป็นปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้มานานหลายทศวรรษแล้ว สำหรับความแตกแยกระหว่างประเทศทั้งสอง

การเร่ง สปีดการพัฒนาของเกาหลีใต้ นั้น แม้ตอนเริ่มต้นดูเหมือนเกาหลีเหนือจะได้เปรียบอยู่บ้าง เนื่องจากอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในยุครวมประเทศนั้นอยู่ในแถบดินแดนเกาหลีเหนือ แต่ตอนนี้ เกาหลีใต้ได้แซงหน้าไปไกลแล้ว GDP ต่อหัวของ เกาหลีใต้นั้นมากกว่า เกาหลีเหนือกว่า 130 เท่า 

แม้ช่วงทศวรรษ 1950 นั้น เกาหลีใต้จะอยู่ในสภาพที่ยากจนที่สุด  ผลจากสงครามเกาหลี ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เป็นคนไร้บ้าน GDP ที่ต่ำเตี้ยเรี่ยดินต่ำกว่าหัวละ 100 เหรียญสหรัฐ รัฐบาลจำเป็นต้องพึ่งพาเงินช่วยเหลือจากต่างชาติโดยเฉพาะสหรัฐ การเมืองก็เต็มไปด้วยการคอรัปชั่น มองไม่เห็นอนาคตของเกาหลีในปัจจุบันได้เลยด้วยซ้ำ

จุดเปลี่ยนที่น่าสนใจของประเทศเกาหลีใต้ นั้น มาจากการที่ นายพลปาร์ค ซุงฮี ซึ่งได้ฉวยโอกาสจากสถานการณ์ย่ำแย่ดังกล่าว ตัดสินใจยึดอำนาจในวันที่ 16 พฤษภาคม 1961 และได้คิดริเริ่มวางแผนการในการที่จะทำให้ประเทศเกาหลีใต้กลายเป็นประเทศร่ำรวยให้จงได้

แนวทางการบริหารแบบเผด็จการ มีอำนาจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด แต่ก็ต้องยอมรับว่าเป็นคนที่ได้รับเครดิตสำคัญในการชุบชีวิตเศรษฐกิจของเกาหลีใต้เลยก็ว่าได้ ในช่วงยุค 1950 อันเลวร้ายนั้น เหล่านักธุรกิจที่ใกล้ชิดกับรัฐบาลก่อนหน้า ต่างร่ำรวยขึ้นจากการกว้านซื้อทรัพย์สินที่เจ้าอาณานิคมญีปุ่นในยุคก่อนหน้าทิ้งไว้

นายพล ปาร์ค ผู้มาพลิกโฉมประเทศเกาหลีใต้
นายพล ปาร์ค ผู้มาพลิกโฉมประเทศเกาหลีใต้

และหนึ่งในบริษัทที่ได้รับประโยชน์สูงสุดคือ บริษัทซัมซุงนั่นเอง โดย ลี บยองซอล ผู้ก่อตั้ง ซัมซุง เป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จที่สุดในเกาหลีใต้ช่วงทศวรรษ 1950 นายพลปาร์คนั้น ลีบยองซอล ถูกกล่าวหาอย่างร้ายแรงว่าเป็นผู้ครอบครองทรัพย์สินที่มิชอบ ซึ่งท่านนายพลปาร์คมองว่าเป็นทรัพย์สินของชาติ

แต่ ด้วยไหวพริบและความสามารถในการเจรจาของเขา จึงได้ยื่นข้อเสนอต่อนายพล ปาร์ค โดยจะบริจาค ทรัพย์สินส่วนใหญ่คืนให้กับประเทศ และจะชวนเหล่าผู้ประกอบการให้คล้อยตามแผนเศรษฐกิจที่ท่านนายพลปาร์คได้ร่างไว้

และนี่เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้นาย ลี บยองซอล ผู้ก่อตั้งซัมซุง ได้รับการแต่งตั้งจากนายพลปาร์คเป็นหัวหน้ากลุ่มอุตสาหกรรมเกาหลี (Federation of Korean Industries) ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อดูแลเหล่าบริษัทยักษ์ใหญ่จนมาจวบจนถึงปัจจุบันนี้

โดยนายพล ปาร์ค นั้นมุ่งวางโครงสร้างพื้นฐานด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมตั้งแต่ปี 1962-1967 และเริ่มมีจำนวนบริษัทเอกชนที่ตบเท้าเข้าร่วมเพิ่มมากขึ้น หนึ่งในนั้นคือ คิม วูซุง ผู้ก่อตั้งบริษัท Daewoo ซึ่งแรกเริ่มเดิมทีนั้น Daewoo เป็นบริษัทผลิตสิ่งทอ แต่ภายหลังได้เปลี่ยนไปผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ และเรือเดินสมุทร เพื่อให้สอดรับกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลที่กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว

คิม วูซุง ผู้ก่อตั้ง Daewoo (ภาพจาก Getty Image)
คิม วูซุง ผู้ก่อตั้ง Daewoo (ภาพจาก Getty Image)

และเนื่องด้วยรัฐบาลนั้นมีเงินมากมายจากการอัดฉีดของต่างชาติที่นำโดยอเมริกา จึงได้เป็นแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยถูกผ่านธนาคารแห่งชาติเกาหลี เพื่ออัดฉีดให้เหล่าบริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้ได้ไปก่อร่างสร้างตัว

นายพลปาร์ค ที่ต่อมาได้กลายเป็นประธานาธิบดีปาร์ค นั้นได้เริ่มนโยบายที่จะส่งเสริมการส่งออก เพื่อให้เหล่าบริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้เรียนรู้ที่จะแข่งขันในระดับสากลได้ แต่ยังคงกำแพงภาษีไว้สูงเพื่อกีดกันการแข่งขันจากต่างชาติ เมื่อต้องแข่งขันในประเทศ ในขณะเดียวกันการส่งเสริมการส่งออกนั้นก็ช่วยให้บริษัทอย่างซัมซุงหรือแอลจี สามารถดำเนินการได้อยา่งมีประสิทธิภาพมีมาตรฐานสากลมากยิ่งขึ้น

ซึ่งเครือข่ายธุรกิจเหล่านี้ ภายใต้การอัดฉีดเงินจากรัฐบาลด้วยดอกเบี้ยต่ำทำให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ ถูกเรียกในภายหลังว่า แชโบล โดยใช้แนวคิดคล้าย ๆ กับระบบของประเทศญี่ปุ่น แต่แชโบล นั้นจะเน้นรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลางมากกว่า และรัฐบาลจะรับหน้าที่จัดการเรื่องการเงินให้ โดยมีพี่ใหญ่อย่าง ประธานาธิบปาร์ค นั้นเป็นคนคอยคุมกระเป๋าเงินให้

กลุ่มธุรกิจยักษ์ใหญ่ มีอิทธิพลต่อประเทศ ถูกเรียกว่า แชโบล
กลุ่มธุรกิจยักษ์ใหญ่ มีอิทธิพลต่อประเทศ ถูกเรียกว่า แชโบล

ส่วนเรื่องการบริหารงานแบบ แชโบลนั้น ก็เป็นแนวคิดแบบภายในครอบครัวเป็นหลัก กล่าวคือ ลูกชายของประธานบริษัทจะค่อย ๆ ไต้เต้าขึ้นมาจากตำแหน่งล่าง ๆ จนได้รับโอกาสดูแลธุรกิจในเครือในที่สุด โดยทายาทที่มีผลงานดีที่สุดนั้น จะได้รับการสืบทอดตำแหน่งประธานของกลุ่มบริษัททั้งหมดต่อจากพ่อ ซึ่งแชโบลนั้นใช้รูปแบบนี้มาจวบจนถึงปัจจุบัน โดย แชโบลใหญ่ ๆ จะบริหารโดยสืบสายเลือดหรืออาจจะเป็นลูกเขยของเหล่าผู้ก่อตั้งแทบจะทั้งสิ้น 

ซึ่งมันทำให้เศรษฐกิจของเกาหลีถูกครอบครองโดยยักษ์ใหญ่เหล่านี้แทบจะทั้งสิ้น ไม่ต้องพูดถึงการแข่งขันแบบเสรี มันไม่มีเกิดขึ้นในเกาหลีใต้ เหล่าแชโบลยักษ์ใหญ่มักจะแข่งขันอย่างหนักในตลาดต่างประเทศมากกว่า

แต่มันไม่ใช่ชาวเกาหลี ที่ไม่มีทางเลือกมากนัก สินค้าแทบจะทุกอย่างในประเทศผลิตจากแชโบลยักษ์ใหญ่เหล่านี้แทบจะทั้งสิ้น ซึ่งส่วนใหญ่นั้นเป็นสินค้า copy จากต่างชาติ หรือ สินค้าที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์มาจากต่างชาติ

และมันทำให้อิทธิพลของบริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้นั้นครอบคลุมไปทั้งประเทศ ไม่มีวัฒนธรรมการสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ เมื่อเรียนจบเหล่านักศึกษาก็จะมุ่งเข้าหาบริษัทยักษ์ใหญ่ของแชโบลแทบจะทั้งสิ้น 

มันมีเพียงธุรกิจสมัยใหม่เท่านั้น ที่พอจะก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาได้ เช่นธุรกิจทางด้าน internet ตัวอย่างเช่น NHN เจ้าของ Naver.com หรือ NCSoft บริษัทผลิตเกมส์ชื่อดัง ซึ่ง internet นั้นได้สร้างความเท่าเทียมทางการแข่งขันให้กับเหล่านักธุรกิจรุ่นใหม่ได้พอจะลืมตาอ้าปากได้บ้าง แต่พวกเขาก็ยังคงหลีกเลี่ยงธุรกิจที่จะต้องแข่งขันกับเหล่า แชโบล ยักษ์ใหญ่โดยตรงอยู่ดี

มีเพียงธุรกิจ internet เท่านั้นที่พอจะลืมตาอ้าปากในประเทศเกาหลีใต้ได้
มีเพียงธุรกิจ internet เท่านั้นที่พอจะลืมตาอ้าปากในประเทศเกาหลีใต้ได้

ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า จุดเปลี่ยนสำคัญของประเทศเกาหลีใต้การผสานความร่วมมือระหว่าง รัฐบาล กับเหล่าธุรกิจยักษ์ใหญ่อย่าง แชโบลนั้น แม้ถ้ามองในปัจจุบันระบบแบบนี้อาจจะไม่เหมาะกับรูปแบบเศรษฐกิจในยุคใหม่ แต่ผลลัพธ์ของเกาหลีใต้นั้นมันทำให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล

มันช่วยให้ประเทศหลุดพ้นจากความยากจนได้สำเร็จ ตัวเลขการส่งออกถีบตัวขึ้นสูงถึง 10,000 ล้านเหรียญ ในปี 1977 เป็นการเติบโตสูงถึง 100 เท่าหากเริ่มนับจากจุดเปลี่ยนครั้งครั้งสำคัญในปี 1964 ซึ่งแนวคิดหลักในการบริหารดังกล่าวนั้น มักจะเปิดให้มีการเล่นพรรคพวก และ เปิดช่องให้โกงแบบไม่น่าเกลียดจนเกินไป แต่มันเป็นวิธีแก้ปัญหาระดับชาติที่ได้ผล มันยกระดับชาติจากประเทศยากจน ที่แทบจะแตกสลายให้มาลุกขึ้นยืนได้สำเร็จ และมันถึงเวลาแล้วที่เกาหลีใต้จะวิ่งแซงประเทศอื่น ๆ ได้เสียที แล้ว วิธีการใด ที่ทำให้ เกาหลีใต้สามารถเร่งสปีดแซงหน้าประเทศต่าง ๆ กลายมาเป็นประเทศมหาอำนาจได้อย่างในปัจจุบัน โปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไปนะครับผม

–> อ่านตอนที่ 2 : Fighting DNA

Credit แหล่งข้อมูลบทความ