MUSA หุ่นยนต์ผ่าตัดระดับ Super Micro ที่มนุษย์ไม่สามารถทำได้

ลองจินตนาการการผ่าตัดของแพทย์ ที่พยายามขยับมือในระดับความห่างแค่เพียงมิลลิเมตรมันเป็นสิ่งที่ทำได้ยากจริง ๆ หากต้องทำโดยใช้แพทย์ที่เป็นมนุษย์

นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมเรื่องราวของหุ่นยนต์ MUSA มันถึงไม่ธรรมดาที่หุ่นยนต์ผ่าตัดจากเนเธอแลนด์ตัวใหม่ ที่เพิ่งจะเข้าผ่าตัดด้วยกล้องจุลทรรศน์กำลังประสบความสำเร็จในมนุษย์จริง ๆ

ตามเอกสารที่ตีพิมพ์เมื่อวันอังคารในวารสารทางการแพทย์ Nature Communications แพทย์ทำการผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ระดับ Super Micro เป็นครั้งแรกโดยใช้อุปกรณ์หุ่นยนต์ผ่าตัดรูปแบบเฉพาะ 

โดย MUSA ผลิตโดย บริษัท Microsure ของเนเธอแลนด์ โดย MUSA’s จะถูกดำเนินการผ่านแพทย์โดยใช้จอยสติ๊กแบบคีมที่ติดตั้งบนโต๊ะผ่าตัดและคันเหยียบสำหรับบังคับการเคลื่อนไหว

สิ่งที่ทำให้ MUSA แตกต่างจากอุปกรณ์ผ่าตัดที่ใช้หุ่นยนต์ช่วยอื่น ๆ เช่น หุ่นยนต์ DaVinci ที่ใช้กันมาอย่างยาวนานแล้ว เพราะมันเป็นหุ่นยนต์ผ่าตัดที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด นั่นคือมันสามารถเข้าไปในที่ DaVinci ไม่สามารถทำได้: เป้าหมายการผ่าตัดในระดับมิลลิเมตรที่ MUSA สามารถเข้าถึงได้ :

MUSA ช่วยแพทย์ผ่าตัดผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งเต้านม lymphedema ซึ่งแต่เดิมนั้นอัตราการรอดชีวิตจากมะเร็งเต้านมมีเพียงแค่หนึ่งในสาม ในสองปีหลังจากการผ่าตัดมะเร็งเต้านมครั้งแรก

การศึกษายืนยันประสิทธิภาพของหุ่นยนต์แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดระดับ Super Micro ของ MUSA ได้ช่วยปรับปรุงผลลัพธ์ที่เหนือกว่าหุ่นยนต์ผ่าตัดแบบอื่น ๆ ที่เคยมีมา ซึ่งทำให้ผู้ป่วยหายเร็วขึ้น

ตอนนี้ยังไม่มีราคาที่แน่นอนสำหรับหุ่นยนต์ผ่าตัดตัวใหม่นี้ และระบบที่ใกล้เคียงที่สุดกับ MUSA คือ DaVinci ที่มีราคาสูงถึง 2 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งก็อย่าคาดหวังที่จะเห็นมันในโรงพยาบาลทั่วไป เพราะเป็นการลงทุนที่สูงมาก ๆ

แต่สิ่งที่เราคาดหวังว่าจะได้เห็นในไม่ช้า คือ ข่าวเรื่องการทดลองการใช้ MUSA มากขึ้น และการพัฒนาเทคโนโลยีชนิดที่จะช่วยให้สามารถนำไปใช้ในวงกว้างมากยิ่งขึ้นในอนาคต หุ่นยนต์ DaVinci ปรากฏตัวขึ้นในปี 2000 และเพียงยี่สิบปีต่อมา เทคโนโลยีรวมถึงเซ็นเซอร์ใหม่ ๆ กำลังทำให้หุ่นยนต์เหล่านี้ ผ่าตัดในพื้นที่ขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ ในระดับต่ำกว่ามิลลิเมตร 

และต้องบอกว่า MUSA นั้นเป็นมากกว่าการปฏิวัติการผ่าตัด มันทำให้เราเห็นว่าหุ่นยนต์กำลังจะเข้ามาท้าทายอาชีพหลัก ๆ ของมนุษย์เราเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ แม้กระทั่งอาชีพหมอผ่าตัด

แม้ตอนนี้มันจะเป็นเพียงแค่ตัวช่วยที่ยอดเยี่ยมของศัลยแพทย์ก็ตามที แต่อย่าลืมว่า ด้วยเทคโนโลยีอย่าง AI , Machine Learning ผสานกับ อุปกรณ์เซ็นเซอร์ที่มีความละเอียดสูงต่าง ๆ ที่กำลังก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบันนั้น อีกไม่นาน เราอาจจะต้องยอมรับให้หุ่นยนต์ทั้งตัวเป็นผู้ผ่าตัดมนุษย์จริง ๆ ด้วยตัวมันเอง โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งแพทย์ต่อไปอีกเลย ก็เป็นได้ครับผม

References : https://futurism.com/neoscope/musa-robot-surgery-supermicrosurgery-success

5 ตัวอย่างกับการใช้ AI ในอุตสาหกรรม Healthcare อย่างมีประสิทธิภาพ

อุตสาหกรรมทางการแพทย์ นั้น อุตสาหกรรมหนึ่งเลยที่มีความน่าสนใจอย่างยิ่ง ที่จะนำเอา AI เพื่อมาเพิ่มประสิทธภาพการทำงานของทั้งตัวหมอเอง รวมถึง เพิ่งประสิทธิภาพของโรงพยาบาลให้ดีขึ้น

แม้ทางการแพทย์นั้น จะยุ่งเกี่ยวกับความเป็นความตายขอคนไข้ ซึ่งการนำเอาเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้นั้น ก็ต้องคำนึงถึงหลาย ๆ ส่วน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลคนไข้  , เรื่อง privacy ของคนไข้ รวมถึง ความ error ต่าง ๆ ของการนำเอาเทคโนโลยี มาใช้ เพราะล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับความเป็นความตายของคนไข้แทบจะทั้งสิ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ Sensitive กว่า Domain อื่น ๆ อยู่มาก

มาดูกันว่า 5 ตัวอย่างของการใช้ AI ในอุตสาหกรรมการแพทย์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพนั้นมีอะไรกันบ้าง

1.AI-assisted robotic surgery

ในวงการศัลยแพทย์ นั้น ได้เริ่มมีการนำหุ่นยนต์ เข้ามาใช้ช่วยเหลือ ศัลยแพทย์เป็นเวลาช่วงหนึ่งแล้ว โดย AI นั้นสามารถที่จะช่วยได้ตั้งแต่การ วิเคราะห์ข้อมูล ของคนไข้ เพื่อ Guide ให้ศัลยแพทย์ ได้ใช้เครื่องไม้ เครื่องมือ ที่ถูกต้องกับคนไข้ เป็นการลดเวลาในการเตรียมความพร้อมในการผ่าตัดไปได้มาก ซึ่งหุ่นยนต์ผ่าตัดนั้น สามารถที่จะช่วยเหลือศัลยแพทย์ ให้ผ่าตัดในจุดที่มีความเสียหายกับร่างกายน้อยที่สุด ไม่ต้องมีการผ่าตัดในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป ทำให้แผลผ่าตัดนั้น มีขนาดเล็กลง

ด้วยความสามารถของ AI  ทำให้หุ่นยนต์ผ่าตัดนั้น สามารถที่จะเรียนรู้จากการผ่าตัดครั้งก่อน ๆ หน้า เพื่อปรับเทคนิคในการผ่าตัดครั้งตอไปให้กับคนไข้ได้  ซึ่งมี Case Study ที่นำเอา AI มาช่วยเหลือหมอผ่าตัดกระดูกและข้อ ซึ่งสามารถลดจำนวนการผ่าตัดได้ถึง 5 เท่า หากเทียบกับ ให้หมอ Orthopedic ได้ทำการวิเคราะห์ด้วยตัวเองเพียงคนเดียว

Da Vinci

สำหรับการผ่าตัดในจุดที่มีความละเอียดค่อนข้างสูงอย่างการผ่าตัดตานั้น หุ่นยนต์ผ่าตัดชื่อดังอย่าง Da Vinci ก็สามารถที่จะช่วยเหลือแพทย์ในส่วนที่ซับซ้อนที่ยากต่อการเข้าถึงได้ดีกว่า การผ่าตัดแบบเดิม ๆ อย่างมาก ทำให้สามารถผ่าตัดในส่วนที่เข้าถึงยาก และมีความซับซ้อน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แม้กระทั่งในการผ่าตัดอวัยวะที่สำคัญที่สุดของมนุษย์อย่างการผ่าตัดหัวใจก็เช่นกัน หุ่น Heartlander หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดด้านหัวใจ ก็สามารถที่จะเปิดแผลที่มีขนาดเล็กมากบริเวณหน้าอก เพื่อเข้าถึงการรักษาบริเวณเนื้อเยื่อของหัวใจคนไข้ได้ โดยไม่ต้องใช้การผ่าตัดแบบเปิดผลขนาดใหญ่เหมือนที่เคยทำมา สำหรับการผ่าตัดหัวใจ

2. Virtual nursing assistants

ในด้านการพยาบาลก็เช่นเดียวกัน ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงส่วนนึง ของอุตสาหกรรม Healthcare ในอเมริการนั้น ประเมินได้ว่า หากมีการนำระบบ Vitual nursing มาใชนั้น สามารถลดรายจ่ายไปได้กว่า สองหมื่นล้านเหรียญในแต่ละปี ซึ่ง งานบางงานที่ต้องทำอะไรซ้ำ ๆ นั้น สามารถที่จะใช้ Robot หรือ AI มาช่วยเหลือได้

ซึ่งคล้าย ๆ กับ ระบบ Chatbot ที่กำลังเป็นที่นิยมในขณะนี้ การมีผู้ช่วยเหลืออย่าง Virtual Nursing นั้น สามารถที่จะทำงานได้ตลอด 24 ชม. โดยไม่ต้องมีการพักเปลี่ยนเวร แต่อย่างใด รวมถึง ได้ประสิทธิภาพบางอย่างที่ดีกว่าด้วย สามารถตอบคำถามได้อย่างรวดเร็วกว่าการใช้มนุษย์เป็นอย่างมาก หากเป็นคำถามที่ซ้ำ ๆ ที่ AI สามารถที่จะเรียนรู้ได้

แถมยังช่วบลดความไม่จำเป็นในการเข้ามาที่โรงพยาบาลได้อีกด้วย ตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จของ Virtual Assistant เช่น Care Angel’s ที่มีความสามารถทีช่วยเช็คสุขภาพเบื้องต้นของผู้ป่วยผ่านทางการสื่อสารด้วยเสียง และความสามารถของ AI ที่จะช่วยคัดกรองคนไข้ เพื่อไม่ต้องเข้ามาที่โรงพยบาลหากไม่ใช่เรื่องจำเป็นจริง ๆ

3. Aid clinical judgement or diagnosis

ในปัจจุบันมีหลาย use case ที่น่าสนใจในการนำ AI เข้ามาร่วมในการวินิจฉัยผลของคนไข้  ตัวอย่างนึงที่น่าสนใจคือทาง มหาวิทลัย Standford ได้ทำการทดสอบ AI Algorithm ในการตรวจมะเร็งผิวหนัง โดยมีการเปรียบเทียบกับ หมอผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง แล้วพบว่า ผลของการวินิจฉัยด้วย AI นั้น มีความสามารถเทียบเท่ากับการใช้หมอผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังในการวินิจฉัย แต่สิ่งที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน คือ เวลา ที่ใช้ในการวินิจฉัยต่างกันอย่างมาก AI สามารถทำได้ภายในระยะเวลาไม่กี่นาที ต่างกับ หมอผู้เชี่ยวชาญที่ต้องใช้เวลาหลายชม. ในการวิเคราะห์ผล

งานวิจัยอีกชิ้นที่น่าสนใจของ Danish AI software นั้น ได้ทำการทดสอบ algorithm ในการฟังเสียงสนทนา เมื่อมีการโทรศัพท์ฉุกเฉินเข้ามาในโรงพยาบาล กรณีผู้ป่วยในโรคหัวใจ โดยการดักฟังโทนเสียงของผู้ป่วย รูปแบบการพูด พบว่าสามารถคัดกรองผู้ป่วยที่มีโอกาสที่จะมีอาการหัวใจวายได้ถึง 93% ซึ่งสูงกว่ารูปแบบปรกติที่ใช้มนุษย์คัดกรองที่ทำได้เพียงแค่ประมาณ 73% เท่านั้น

ส่วนทางฝั่งยักษ์ใหญ่ Search Engine จากจีนอย่าง Baidu Research นั้น ก็ได้ทำการทดสอบ Deep learning algorithm ที่สามารถที่จะระบุถึงการแพร่กระจายของมะเร็งเต้านม ได้ดีกว่าการวิเคราะห์จากมนุษย์

ส่วนทางด้านประเทศอังกฤษ นายกรัฐมนตรี Theresa May ก็ได้ประกาศวาระสำคัญของชาติ คือ AI Revolution ซึ่งจะช่วยเหลือ National Health Service (NHS) ซึ่งคงคล้ายๆ  สปสช. ของบ้านเรา ในการช่วยทำนายผู้ป่วยที่มีโอกาสเกิดโรคมะเร็ง โดยการวิเคราะห์จาก ข้อมูลทางด้านสุขภาพ พฤติกรรมการใช้ชีวิต รวมถึงพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และยังวิเคราะห์จากข้อมูลทางด้าน พันธุกรรมของคนไข้ เพื่อช่วยทำนายว่า คนไข้ มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งหรือไม่ โดยใช้ AI และข้อมูลจาก NHS

4. Workflow and administrative tasks

งานด้านเอกสารหรือธุรการต่าง ๆ ภายใน workflow ของระบบโรงพยาบาลนั้นก็เป็นต้นทุนสำคัญอย่างนึงของโรงพยาบาล ซึ่ง ประมาณได้ว่า ในปี ๆ หนึ่ง ๆ ในประเทศอเมริกา หากสามารถนำ AI มาช่วยงานเหล่านี้ได้นั้น สามารถที่จะลดต้นทุนไปได้กว่า 18,000 ล้านเหรียญ สหรัฐเลยทีเดียว

ซึ่ง AI สามารถที่จะช่วยเหลือในงานต่าง ๆ ได้ไม่ว่าจะเป็น voice-to-text transcriptions หรือการแปลงจากเสียงมาเป็นtext  งานด้านเอกสารกำกับยา หรืองานที่เกี่ยวข้องกับ chart notes

ซึ่งตัวอย่างนึงที่ใช้ AI ในการช่วยเหลืองานด้าน Admin คือการร่วมมือกันระหว่าง Cleveland Clinic และ IBM โดยมีการนำเอา IBM’s Watson มาช่วยในการวางแผนการรักษาให้กับแพทย์ โดยทำการวิเคราะห์จากข้อมูล medical record โดยใช้เทคโนโลยี Natural language processing เพื่อช่วยวางแผนการรักษาให้กับแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

5. Image analysis

ต้องบอกว่าเป็นงานที่สำคัญอย่างหนึ่งเลยสำหรับการวิเคราะห์ภาพเช่นในการ ทำการ X-RAY , MRI หรือ Ultrasound ซึ่ง effect โดยตรงต่อผู้ป่วย เพราะเป็นการวิเคราะห์ ให้เจอสาเหตุของโรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย

ซึ่งโดยปรกติแล้วนั้นงานทางด้าน Image Analysis โดยผู้เชี่ยวชาญนั้น เป็นงานที่ต้องใช้เวลาในการวิเคราะห์เป็นอย่างมาก

ตัวอย่างสำคัญในการวิเคราะห์ที่ทำให้ process เหล่านี้ทำได้รวดเร็วขึ้น คือ ในงานวิจัยของ MIT ได้ทำการพัฒนา machine learning algorithm ที่สามารถจะวิเคราะห์ภาพ Scan 3D จากการถ่าย MRI , CT-SCAN โดยสามารถที่จะวิเคราะห์ได้เร็วกว่าผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมนุษย์ถึง 1000 เท่า ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่าสนใจเลยทีเดียว

ซึ่ง AI นั้นจะมาช่วยเหลืออย่างมากกับงานด้านรังสีแพทย์ เพราะเป็นงานที่ AI สามารถทำงานได้ดีที่สุด เนื่องจากเป็นการใช้ประสบการณ์การเรียนรู้จากข้อมูลในอดีต หากมีคลังข้อมูลที่มากพอ ก็ทำให้ AI มีผลการวิเคราะห์ที่แม่นยำกว่ารังสีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเสียอีก

รวมถึงการที่ AI สามารถมาช่วยเหลืองานด้าน Telemedicine ในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งคนไข้สามารถที่จะใช้ Smartphone ในการถ่ายภาพเบื้องต้น ของบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ หรือ ต้องการรักษา ซึ่ง AI สามารถที่จะช่วยเหลือในการวิเคราะห์อาการเบื้องต้นจากภาพถ่ายเหล่านี้ได้ และสามารถ guide แนวทางการรักษาเบื้องต้นให้กับผู้ป่วยที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลได้

AI จะเข้ามาช่วยเหลือหรือแย่งงานจากคนในอุตสาหกรรม Healthcare

ต้องบอกว่าด้วยพื้นฐานทางเทคโนโลยีในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นด้าน AI , Machine Learning รวมถึงเทคโนโลยีทางด้านหุ่นยนต์ กล้อง รวมถึงเซ็นเซอร์อัจฉริยะ ต่าง ๆ นั้น ถึงแม้จะยังไม่ผลิตออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มาช่วยเหลือแพทย์ได้ทุกแขนงในปัจจุบัน หรือยังเป็นงานวิจัยอยู่ก็ตาม เราต้องยอมรับว่า เทคโนโลยีเหล่านี้ได้ไปไกลเกินความสามารถของเหล่าผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมนุษย์ในปัจจุบันแล้ว

ซึ่งต้องยอมรับเช่นกันว่าเครื่องมือเหล่านี้ล้วนมาช่วยเหลือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมนี้ได้อย่างมาก จนหลาย ๆ งานสามารถที่จะเข้าไปทดแทนงานของมนุษย์ได้จริง แต่งานที่เกี่ยวข้องกับคนไข้นั้นยังไง ผู้ป่วยย่อมจะไม่ยอมรับผลการรักษา 100% จาก AI แน่นอนอยู่แล้ว

แต่อย่างไรก็ดีในอนาคตอันใกล้ หากเทคโนโลยีเหล่านี้พัฒนาจนเป็นที่ยอมรับของมนุษย์ได้ 100% จริง ๆ เหมือนที่ใครจะคิดว่าจะมีรถยนต์อัตโนมัติ มาวิ่งให้เรานั่งได้กันแบบสบาย ๆ  ซึ่งก็เช่นเดียวกัน ในวงการอุตสาหกรรม Healthcare นั้น ต่อไปเราก็อาจจะได้เห็น ทุก process ที่เกี่ยวกับคนไข้ สามารถทำได้โดยผ่าน AI หรือ Robot ได้จริง ๆ ตั้งแต่ การเตรียมข้อมูลคนไข้ ไปจนถึงงานระดับยาก ๆ อย่างการผ่าตัดหัวใจ หรือสมอง ซึ่งผมเชื่อว่า หากมีการแข่งขันกันจริง ระหว่างมนุษย์กับผู้เชี่ยวชาญ ไม่ว่าสาขาใด ๆ แม้จะงานยากขนาดไหนก็ตาม ก็จะพบจุดจบเดียวกันกับที่ Alpha go สามารถชนะ Lee Sedol มนุษย์ที่เล่นเกมโกะได้เก่งที่สุดในโลก เพราะตอนนี้เราต้องยอมรับว่า AI มีขีดความสามารถเกินกว่าที่มนุษย์เราจะทำได้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

References : www.forbes.com

ติดตาม ด.ดล Blog เพิ่มเติมได้ที่
Fanpage :facebook.com/tharadhol.blog
Blockdit :blockdit.com/tharadhol.blog
Twitter :twitter.com/tharadhol
Instragram :instragram.com/tharadhol

เมื่อเทคโนโลยี Robot สามารถที่จะช่วยเหลือศัลย์แพทย์ในการผ่าตัดกระดูกและข้อ

หลังจากข่าวล่าสุดที่ Johnson & Johnson Medical Devices Companies บริษัทจำหน่ายเครื่องมือแพทย์อันดับต้น ๆ ของโลก ได้ประกาศการเข้าซื้อบริษัท Orthotaxy จากฝรั่งเศษ ผู้พัฒนาหุ่นยุนต์ช่วยผ่าตัดกระดูกและข้อ ซึ่งรวมถึงการการผ่าตัดแบบเปลี่ยนข้อเข่าของคนไข้ได้จริง

บริษัท Orthotaxy จากฝรั่งเศษ ได้ก่อตั้งขึ้นในปี 2009 ซึ่งในขณะที่ถูกเข้าซื้อโดย Johnson & Johnson ยักษ์ใหญ่จากสหรัฐอเมริการนั้น ยังอยู่ในช่วงของการพัฒนาและวิจัย ในส่วนการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าของคนไข้เท่านั้น  แต่การ take over ครั้งนี้ มีสัญญาณที่บ่งชี้ให้เห็นว่า ตลาดทางด้านการผ่าตัดกระดูกและข้อนั้นเป็นตลาดที่ใหญ่มาก

ซึ่งประเมินคร่าวๆ ได้ว่า ในแต่ละปีนั้น มีการเปลี่ยนข้อเข่า ของคนไข้ในสหรัฐสูงถึง 780,000 ราย ซึ่งมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นถึง 3.48 ล้านราย จากการประมาณการในปี 2030 ซึ่งการที่มี Robot มาช่วยนั้นก็จะสามารถช่วยเหลือศัลยแพทย์ให้สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วขึ้น และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ซึ่งในขณะนี้ หุ่นยนต์ผ่าตัดชื่อดังอย่าง Da Vinci ของบริษัท Intuitive Surgical ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับวงการศัลย์แพทย์อย่างมหาศาล โรงพยาบาลขนาดใหญ่หลายแห่งเริ่มมีการนำมาใช้ช่วยเหลือในการผ่าตัด ซึ่งโดยเฉพาะการผ่าตัดต่อมลูกหมากนั้น ถือว่า Da Vinci ทำได้อย่างยอดเยี่ยมเป็นอย่างมาก และช่วยเหลือศัลย์แพทย์ได้อย่างมากมายในการผ่าตัด

ผลงานของ Da Vinci นั้นทำให้ Market Cap ของ บริษัท Intuitive สูงขึ้นไปถึง 47,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งทำให้ไม่แปลกใจกับการต้องกระโจนเข้ามาสู่เทคโนโลยีทางด้านหุ่นยนต์ผ่าตัดของ Johnson & Johnson ในขณะนี้เพื่อทำให้เป็นผู้นำในตลาดหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดกระดูกและข้อ ที่มีมูลค่าทางการตลาดมหาศาลให้เร็วที่สุด

และต้องบอกว่า เนื่องจากเป็นตลาดที่มีการแข่งขันสูง ทำให้มีการจดสิทธิบัตรในเทคโนโลยีของตน ไม่ต่างจากอุตสาหกรรมอื่น ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้คู่แข่งได้เลียนแบบเทคโนโลยีของตนเองได้อย่างง่าย

ซึ่งทาง Intuitive ได้ทำการตกลงในลักษณะ Licensing deals กับ JustRight Surgical สำหรับการใช้สิทธิบัตรในส่วนของการผ่าตัดในเด็ก ซึ่งจะทำให้สามารถใช้งานเทคโนโลยีในห้องผ่าตัดได้ทั่วโลก

แต่บริษัทอย่าง Auris Surgical ซึ่งก่อตั้งโดย Federic Moll ซึ่งเป็น Co-founder ของ Intuitive ได้ใช้ประโยชน์จากสิทธิบัตรของตนเอง เพื่อให้สามารถสร้างกำไรได้มากที่สุด ซึ่ง สิทธิบัตรของ Auris หลายฉบับนั้นเกี่ยวข้องกับการผ่าตัดเนื้อเยื่อที่บอบบางมาก ๆ เช่น เนื้อเยี่อปอด

ซึ่ง ในช่วงปีที่แล้วนั้น Auris ได้ใช้เงินกว่า 80 ล้านเหรียญสหรัฐ เข้า Take Over บริษัท Hansen Medical เพื่อครอบครองสิทธิบัตรที่มีประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับการผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์หลายฉบัยที่ Hansen Medical ถืออยู่

อย่างไรก็ดีรายละเอียดของข้อตกลงระหว่าง Johnson & Johnson และ Orthotaxy นั้นยังไม่ได้รับการเปิดเผย และยังไม่มีกำหนดการที่จะนำผลิตภัณฑ์หุ่นยนต์ที่ช่วยผ่าตัดกระดูกและข้อ ออกสู่ตลาด

สงคราม Surgical Robot & สิทธิบัตร

ต้องบอกว่าตลาดของการผ่าตัดในทุก ๆ ส่วนของร่างกายนั้นเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่มหาศาลเลยทีเดียว เพราะแทบจะเป็นรายได้ลำดับต้น ๆ ให้กับโรงพยาบาล โดยเฉพาะโรงพยาบาลเอกชนเลยก็ว่าได้ ก่อนหน้านี้ เราจะได้เห็นการซื้อตัวศัลยแพทย์เก่ง ๆ มากมาย จากทำงานให้รัฐ ให้เข้ามาทำงานเอกชน

และผลงานที่ถือว่าเป็นต้นแบบของหุ่นยนต์ผ่าตัดอย่าง Da Vinci ที่เริ่มมีใช้งานกันแล้วทั่วโลกนั้น ทำให้สามารถช่วยเหลือศัลยแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การพัฒนาของเทคโนโลยีอย่างหุ่นยนต์ รวมถึงเซ็นเซอร์ต่างๆ  นั้น รวมถึงกล้องความละเอียดสูงที่มีขนาดเล็กนั้น

นับว่าเป็นส่วนนึงที่จะช่วยเหลือการผ่าตัดของแพทย์ให้มีความแม่นยำมายิ่งขึ้น ซึ่งเครื่องมือต่าง ๆ เหล่านี้นั้น สามารถช่วยเหลือ ศัลยแพทย์ ให้เข้าถึงในส่วนที่ยาก ๆ เช่น สมอง หัวใจ ที่ต้องใช้ความละเอียดแม่นยำสูงมาก และมีผลต่อชีวิตคนไข้เป็นอย่างมาก

ต้องยอมรับว่าถึงแม้ศัลยแพทย์ ที่เป็นมนุษย์นั้นจะเก่งแค่ไหนก็ตาม แต่ยังไง มนุษย์ก็ต้องมีขีดจำกัดในการทำงานในสภาวะที่ยาก ๆ เช่น ในบริเวณชิ้นส่วนของร่างกายที่มีขนาดเล็กมาก ๆ หรือ การเข้าถึงส่วนที่ผิดปรกติของร่างกาย บางครั้งแพทย์ก็รู้ว่าส่วนที่ผิดปรกตินั้นอยู่ตำแหน่งใด

แต่เนื่องจากขีดจำกัดบางอย่าง ก็ไม่สามารถเข้าถึงชิ้นส่วนของร่างกายที่ผิดปรกตินั้นได้ ซึ่งภายในไม่กี่ปีนี้ Robot นั้นจะมีการนำมาใช้อย่างกว้างขวางอย่างแน่นอน เพราะเป็นตลาดที่มีมูลค่ามหาศาล รวมถึง สิทธิบัตรต่าง ๆ ที่บริษัทใหญ่ ๆ ถือครองอยู่ แม้จะเป็นอุปสรรคในการเข้าถึง แต่ บางที Robot ที่สามารถก้าวผ่านขีดจำกัดของมนุษย์ได้นั้น แม้จะแพงแค่ไหน ยังไงก็เป็นสิ่งที่น่าลงทุนอยู่ดี เพราะสามารถที่จะช่วยเหลือชีวิตเราได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม

References : www.zdnet.com

ติดตาม ด.ดล Blog เพิ่มเติมได้ที่
Fanpage : facebook.com/tharadhol.blog
Blockdit : blockdit.com/tharadhol.blog
Twitter : twitter.com/tharadhol
Instragram : instragram.com/tharadhol