Compaq Computer ผู้ปฏิวัติวงการ PC ตัวจริงที่ถูกลืม

ถ้ากล่าวถึงแบรนด์อย่าง Compaq คิดว่าหลายคนคงจะลืมกันไปแล้วว่ามีแบรนด์ นี้อยู่ในโลกด้วยหรือ แต่ถ้าย้อนไปในยุคเริ่มต้นของการกำหนดของ PC หรือ ยุคคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลนั้น ต้องถือว่า Compaq เป็นแบรนด์แรก ๆ ที่กล้ามาต่อกรกับยักใหญ่อย่าง IBM ในสมัยนั้นได้

ต้องบอกว่า Compaq นั้นมีประวัติที่น่าสนใจ ที่ไม่ค่อยมีคนกล่าวถึงกันนัก ซึ่ง Campaq นั้นเกิดขึ้นในช่วงประมาณปี 1982 ซึ่งเป็นยุคตั้งไข่ของ PC พอดิบพอดี ซึ่งก่อตั้งโดยอดีตพนักงานของบริษัทยักษ์ใหญ่ในสมัยนั้นอย่าง Texus Intrument ซึ่งเหล่าผู้ก่อตั้งทั้ง 3 คนประกอบไปด้วย Rod Canion , Jim Harris และ Bill Murto

ต้องบอกว่าเป็นส่วนผสมที่ลงตัวเลยทีเดียวสำหรับการเริ่มธุรกิจ ซึ่ง Rod Canion นั้นถนัดทางด้านบริหารธุรกิจ Murto ถนัดทางด้านการตลาด ส่วน Harris นั้น จะถนัดทางด้าน Engineer แต่ต้องบอกว่า การที่ทั้งสามออกจากบริษัทยักษ์ และมั่นคงอย่าง Texus Intrument แล้วมาเริ่มธุรกิจนั้น มีแต่คนหาว่าพวกเขาบ้าแม้กระทั่งครอบครัวของพวกเขาเองก็ตาม

เริ่มต้นจากงานอดิเรก และความคิดบ้า ๆ

มันเป็นการเริ่มต้นจากงานอดิเรกพร้อมกับความคิดบ้า ๆ ของทั้งสามคน ที่ต้องการจะก่อตั้งบริษัท ซึ่งตอนนั้นต้องบอกว่าทั้งสามไม่ได้มีเงินมากมายรวมถึงไม่ได้มีแหล่งเงินทุนที่เข้าถึงง่ายอย่าง Startup ในปัจจุบัน ทั้งสามต้องจำนองบ้าน รวมถึงขายรถเพื่อมาเป็นทุนในการเริ่มต้นเปิดบริษัท

ในยุคนั้นต้องบอกว่า IBM นั้นถือเป็นยักษ์ใหญ่มาก ๆ ของวงการธุรกิจของอเมริกาควบคุมทุกอย่างอย่างเบ็ดเสร็จในโลกเทคโนโลยี ทำทุกอย่างตั้งแต่ computer mainframe สำหรับองค์กร ไปจนถึง คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล การที่จะมาสู้กับยักษ์ใหญ่อย่าง IBM นั้นถือว่าไม่ใ่ช่เรื่องที่ควรจะทำเป็นอย่างยิ่ง

แต่อย่างไรก็ดีเหล่า 3 ผู้ก่อตั้งแห่ง Compaq นั้นได้เห็นช่องว่างทางการตลาดบางอย่าง ที่ IBM ยังครอบครองแบบไม่เบ็ดเสร็จนั่นก็คือตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่สามารถพกพาได้ หรือ ตลาด notebook ในปัจจุบันนั่นเอง

ถ้าย้อนกลับไปในยุคนั้น ต้องบอกว่าแม้จะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถพกพาได้ แต่ขนาดเครื่องก็มีขนาดใหญ่เทอะทะ และมีรูปร่างไม่สวยรวมถึงไม่ได้มีแบตเตอรี่ที่รองรับการใช้งานแบบไม่ต้องเสียบปลั๊กเหมือนในยุคปัจจุบัน

การเริ่มหาทุนในการตั้งบริษัทนั้น ในขณะที่ทั้งสามมีแต่ไอเดียและร่างแบบคร่าว ๆ ของคอมพิวเตอร์แบบพกพา ก็ต้องบอกว่ามันเป็นเรื่องยากที่จะหาทุนเริ่มต้นในสมัยนั้น

ทาง Rod Canion จึงได้เขียนแผนธุรกิจคร่าว ๆ ขึ้นมา และได้มีโอกาสไปพบกับ Ben Rosen โดยเริ่มลงทุนให้ 750,000 เหรียญเป็นทุนตั้งต้นในการเริ่มธุรกิจ ซึ่งถ้าย้อนกลับไปในยุคนั้น Silicon Valley ยังคงเป็นเพียงแค่ทุ่งและ สวนผลไม้

ทั้งสามคนก็ได้เริ่มว่าจ้างทีมงานจากเงินลงทุนเริ่มต้น และเริ่มทำการผลิตตัว Compaq Portable ตัวแรกออกมา โดยใช้วิธีการ Reverse Engineer หรือ วิศวกรรมย้อนกลับจาก IBM PC  เนื่องจาก IBM ขณะนั้นประสบความสำเร็จ และขายได้ติดตลาดไปแล้ว ต้องทำทุกอย่างให้สามารถ Run Software ของ IBM ได้ทั้งหมด ก็จะเข้าถึงตลาดขนาดมหาศาลที่ IBM ได้เริ่มเปิดตลาดไว้แล้ว

การเริ่มต้นคือต้องทำการลอก Code ของ IBM ที่เป็นตัว Chip หลักที่ใช้ Control PC เพราะส่วนประกอบอื่น ๆ ของ PC นั้นสามารถหาได้ตามท้องตลาดทั่วไป สิ่งที่เป็นจุดต่างคือ Chip ที่มีรหัสพิเศษของ IBM เท่านั้น เครื่องก็จะสามารถทำงานกับ Software และ Hardware ต่าง ๆ ของ IBM ได้

ผลิตภัณฑ์ตัวแรก Compaq Portable PC
ผลิตภัณฑ์ตัวแรก Compaq Portable PC

ในทีุ่สดพวกเขาก็ทำสำเร็จ และสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ตัวแรกอย่าง Compaq Portable PC ออกมาได้ และสามารถใช้งานได้กับ Software ของ IBM ได้ทุกอย่าง โดยมีขนาดเบากว่าและราคาที่ถูกกว่า บริษัทได้เชิญสื่อมามากมายในวันเปิดตัวปี 1982 ใน นิวยอร์ก

จากการเปิดตัวทำให้บริษัทเริ่มมีชื่อเสียงผู้คนเริ่มชอบในผลิตภัณฑ์ของ Compaq ซึ่งต้องบอกว่าพวกเขาได้สร้างผลิตภัณฑ์ตัวแรกมาได้อย่างดีมาก พนักงานที่ขายผลิตภัณฑ์ของ IBM อยู่แล้วก็ไม่ยากเลยที่จะขายผลิตภัณฑ์ของ Compaq เพราะมันสามารถทำงานได้เหมือนกัน ต้องบอกว่าสินค้าขายดีมากและผลิตแทบจะไม่ทันกันเลยทีเดียวในปีแรกที่ออกวางจำหน่าย

แค่ปีแรกเพียงปีเดียว Compaq สามารถขาย Portable PC ของตัวเองไปได้ถึง 53,000 เครื่อง สื่อถึงกับยกให้บริษัท Compaq นั้นเป็นบริษัทที่เติบโตได้เร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ของอเมริกา

สู้กับยักษ์ใหญ่อย่าง IBM

หลังจากนั้น IBM ก็ได้ออก Portable PC เพื่อมาตอบโต้กลับในปี 1984  โดยออกมาเพื่อจะฆ่า Compaq โดยเฉพาะ แต่สิ่งที่พวกเขาพลาดไปและมั่นใจเกินไปนั่นคือ Portable PC ของ IBM นั้นไม่สามารถรัน Software บางส่วนของ IBM PC เดิมได้

และนั่นได้กลายเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของอุตสาหกรรม PC เลยก็ว่าได้  Compaq แทบไม่ต้องทำอะไรเลย เพราะ Portable PC นั้นสามารถ run ทุกอย่างของ IBM PC ได้ ทำให้ยอดขายยิ่งกระฉูดขึ้นไปอีก มีการขยายโรงงานการผลิต รวมถึงรับพนักงานมากจนถึงกว่า 1000 คนภายในเวลาเพียงแค่ 2 ปีเท่านั้น

สร้างวัฒนธรรมใหม่ให้กับ Silicon Valley

ถ้าถามว่าวัฒนธรรมการแจกอาหารฟรี รวมถึงบริการต่าง ๆ ที่ให้กับพนักงานได้อย่างเต็มที่ของบริษัท Startup ในปัจจุบันนั้นใครเป็นคนริเริ่ม ก็ต้องบอกว่า Compaq นี่แหละเป็นผู้ที่สร้างวัฒนธรรมนี้ให้กับ Silicon Valley

เพราะ Compaq เป็นบริษัทแรกที่มีการแจกอาหารและเครื่องดื่ม ให้พนักงานได้รับประทานกันแบบฟรี ๆ ในยุคนั้น ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่แปลกใหม่พอสมควร ทำให้คนสนใจที่จะมาทำงานกับ Compaq มากยิ่งขึ้น และสามารถ Focus กับงานที่ทำได้อย่างเต็มที่

แล้วบริษัทอย่าง Apple หายไปไหนในช่วงนั้น

ช่วงปีต้น ๆ ของ Compaq นั้น Apple ก็ได้ออกวางจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของตัวเองเป็นที่เรียบร้อย แต่ก็ต้องยอมรับว่า ขนาดตลาดของ Apple เมื่อเทียบกับขนาดตลาดของ PC ที่ IBM เป็นคนเปิดตลาดมีความแตกต่างกันอย่างมาก ถ้าเทียบตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั้งหมดนั้น Apple สามารถครองส่วนแบ่งทางการตลาดได้เพียงแค่ 4-5% เท่านั้น


และการที่ Apple เป็บระบบปิดไม่สามารถเชื่อมต่อกับใครได้ software ก็รันของตัวเอง ก็ทำให้ครองส่วนแบ่งการตลาดได้น้อยมาก ๆ แม้จะวางจำหน่ายแมคอินทอชพร้อมระบบ Inteface ใหม่ พร้อม mouse ที่เป็นการปฏิวัติวงการในขณะนั้น

แต่ก็ต้องยอมรับว่าสุดท้ายแล้ว Apple เป็นเพียงบริษัทเล็ก ๆ ไปเลยเมื่อเทียบกับตลาด PC ที่ IBM ครองตลาดอยู่ในตอนนั้น ซึ่ง Compaq มาแย่งส่วนแบ่งการตลาดของ IBM ซึ่งใหญ่มาก ๆ ทำให้ Compaq แทบจะเป็นบริษัทที่เติบโตเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์การก่อตั้งบริษัทของประเทศอเมริกา

การเติบโตแบบก้าวกระโดด

ด้วยความผิดพลาดของ IBM รวมถึง Apple ก็ไม่สามารถแจ้งเกิดได้กับแมคอินทอชรวมถึงลิซ่า ทำให้ Steve Jobs ก็ต้องถูกบีบให้ออกจาก apple ไปในที่สุด เมื่อถึงตอนนั้น ก็ไม่มีใครจะมาขัดขวางการเติบโตของ compaq ได้อีกต่อไปแล้ว

ไม่ว่าจะเป็นทั้งเรื่องของเทคโนโลยีรวมถึงการตลาด ที่เริ่มนำเอาผู้มีเชื่อเสียงมาช่วยในงานเปิดตัวผลิตภัณฑ์ทำให้ยอดขายของ Compaq เติบโตขึ้นเกินกว่าปีละ 100% ตลอดในช่วงแรกเริ่มและพุ่งไปถึงกว่า 500 ล้านเหรียญในปี 1985

จุดเปลี่ยนที่สำคัญกับการเข้ามาของ Intel Chipset 386

IBM นั้นมักจะได้สิทธิ์ Exclusive กับ Chip ของบริษัทชื่อดังอยู่เสมอ แต่ครั้งนี้ต้องบอกว่าเป็นครั้งแรกที่ IBM ถูกปฏิเสธโดย Intel ซึ่ง Chipset 386 นั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงสถาปัตยกรรมครั้งใหญ่ รวมถึงเรื่องของประสิทธิภาพการทำงานของ Chip ที่ทำให้การทำงานของ PC ก้าวกระโดดไปอีกขั้น

เมื่อ Intel ไม่ได้ Exclusive ตัว Chip 386 กับ IBM แล้ว  Compaq ก็เร่งในการสร้างผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ที่ใช้ Chipset 386 เพื่อออกสู่ตลาดให้เร็วที่สุด

ผลิตภัณฑ์อย่าง Desktop386 ขายดีสุด ๆ
ผลิตภัณฑ์อย่าง Desktop386 ขายดีสุด ๆ

ไม่เพียงแค่ Chipset Intel 386 เท่านั้น เมื่อ Compaq ออกผลิตภัณฑ์อย่าง Desktop386 ก็ได้มีการร่วมมือกับ Microsoft ของ Bill Gate ที่ยอมให้ระบบปฏิบัติการของ Windows สามารถรันได้บน Compaq ได้แบบที่ว่าไม่ต้องไปทำการ Copy Chip Code ใด ๆ จาก IBM อีกต่อไป  เป็นการเปลี่ยนหน้าประวัติศาสตร์คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลอย่างสิ้นเชิงและปลดแอกจาก IBM ในที่สุด

ความสุดยอดของ Chipset 386 ทำให้ Compaq เติบโตอย่างก้าวกระโดด และเริ่มฉีกหนี IBM ออกไป และสามารถแย่งส่วนแบ่งการตลาดจาก IBM ไปได้อย่างมาก

แม้ตลาดองค์กร IBM จะเป็นเจ้าตลาดอยู่ก็ตามแต่ตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลนั้นต้องบอกว่า Compaq ได้ทำยอดขายแซง IBM ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว Compaq ใช้เวลาเพียง 3 ปีก็เข้าสู่ทำเนียบ Fortune 500 ได้สำเร็จ

สามผู้ก่อตั้งต่างร่ำรวยจากมูลค่าหุ้นที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการฉลองกันอย่างยิ่งใหญ่พนักงานกลุ่มแรก ๆ ที่ได้หุ้น ก็ทยอยกลายเป็นเศรษฐีกันไปด้วย ต้องบอกว่า Compaq เป็นบริษัทที่ใช้เวลาสร้างกิจการได้รวดเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกา และสามารถทำยอดขายแตะ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐได้เร็วที่สุดอีกด้วย

ความผิดพลาดซ้ำสองของ IBM

การพ่ายแพ้อย่างหมดรูปของ IBM ถือเป็นครั้งแรก ๆ ในประวัติศาสตร์ของบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง IBM ที่ต้องพ่ายแพ้ให้กับบริษัทที่เพิงเกิดใหม่เพียงไม่กี่ปีอย่าง Compaq

IBM ต้องเริ่มใช้การฟ้องร้องเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายจากการละเมิดสิทธิบัตรของ Compaq โดยใช้การ Reverse Engineer ที่ Compaq ทำมาตั้งแต่ต้น ซึ่งก็ถือว่ามีความสุ่มเสี่ยงเหมือนกันที่ Compaq จะถูกฟ้องร้องจนอาจต้องถูกปิดบริษัทไปเลย แต่สุดท้าย Rod Canion ก็ใช้วิธีการเจรจาและชดใช้ค่าเสียหายจนตกลงกันได้ที่ประมาณ 130 ล้านเหรียญสหรัฐ

IBM PS2 ความผิดพลาดที่ไม่น่าให้อภัยของ IBM
IBM PS2 ความผิดพลาดที่ไม่น่าให้อภัยของ IBM

ความผิดพลาดที่ร้ายแรงที่สุดของ IBM คือการต้องการออกแบบระบบใหม่ทั้งหมด เพื่อไม่ให้ Compaq สามารถลอกเลียนแบบได้ โดยออกระบบปฏิบัติการใหม่คือ PS/2 ที่ยากที่คู่แข่งจะเลียนแบบ ซึ่งต้องบอกว่า IBM ต้องการฆ่าทุกคนในธุรกิจนี้เลยก็ว่าได้

แต่หารู้ไม่การสร้างระบบปฏิบัติการใหม่ที่ไม่สามารถเข้ากับผลิตภัณฑ์ตัวเดิมของ IBM ได้เลยนั้นถือเป็นการฆ่าตัวตายของ IBM เอง เพราะองค์กรใหญ่หลาย ๆ องค์กรในสหรัฐได้สั่งซื้อเครื่อง computer ของ IBM ไปเป็นจำนวนมากแล้ว ซึ่งหากต้องการเปลี่ยนต้องมีการเปลี่ยนแบบยกองค์กรและต้องใช้เงินจำนวนมหาศาล ทำให้องค์กรหลาย ๆ องค์กรไม่ต้องการซื้อ PS/2 ของ IBM เพราะต้องมาเริ่มเรียนรู้กันใหม่หมดซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่มหาศาลมาก ๆ

เหมือนยื่นดาบให้ศัตรูมาฆ่าตัวเองเลยก็ว่าได้สำหรับ IBM ชัดเจนว่าต่อจากนี้ ตลาด PC นั้นได้เปลี่ยนไปแล้ว IBM ไม่ได้เป็นผู้กำหนดตลาดอีกต่อไป มีการรวมตัวของผู้ผลิต PC ขนาดใหญ่จำนวน 9 ราย รวมถึงมีการเจรจากับ Bill Gate จาก Microsoft และพัฒนามาตรฐานของพวกเค้าเองในชื่อ EISA (Extended Industry Standard Architecture) โดยที่ไม่เกี่ยวข้องใด  ๆ กับ IBM อีกต่อไปเป็นการถีบ IBM ออกจากตลาด PC แบบถาวรเลยก็ว่าได้

เมื่อ Compaq เข้าสู่ยุคตกต่ำ

แม้การรวมตัวจะเป็นผลดีและทำให้ตลาดมีขนาดใหญ่ขึ้นและที่สำคัญสามารถกำจัด IBM ออกจากตลาดได้สำเร็จ แต่ขนาดองค์กรของ Compaq ก็ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ จนเริ่มยากที่จะบริหารให้ได้เหมือนตอนเริ่มต้นกิจการ

Compaq เริ่มมีการขยายตลาดไปยังยุโรป ทำให้ได้เจอกับ Eckhard Pfeiffer ที่ถนัดในเรื่องการผลิตในปริมาณมาก ๆ แต่ตัว Rod Canion เองนั้นอยากให้ผลิตภัณฑ์ยังมีคุณภาพเหมือนเดิมต่อไป รวมถึงผู้ผลิตจากญี่ปุ่นอย่างโตชิบ้าก็สามารถผลิตในราคาที่ถูกกว่าซึ่งเป็นการเข้ามากำจัดจุดเด่นของ Compaq ในยุคแรก ๆ ไปเลยก็ว่าได้

ปัญหาต่าง ๆ เริ่มรุมเร้าตัว Rod Canion เองและไม่สามารถแก้ปัญหาได้เริ่มมีการตีตลาดจากแบรนด์นอก รวมถึงดาวรุ่งที่พุ่งแรงขึ้นมาอย่าง Dell ที่สามารถผลิตสินค้าในราคาถูกกว่า Compaq

ทำให้ยอดขายของ Compaq เริ่มตก บริษัทเริ่มปลดพนักงานออกไป Rod Canion เริ่มถูกกดดันจากกรรมการบริษัทคล้าย ๆ กรณีของ Steve Jobs ที่ถูกกดดันให้ออกจาก Apple

Rod Canion เริ่มทนกระแสกดดันไม่ไหวจนต้องยอมถอนตัวออกไป เป็นการสิ้นสุด Compaq ของยุคผู้ก่อตั้งทั้งสามและให้ Eckhard Pfeiffer เข้ามาเป็น CEO แทน

ซึ่งสุดท้ายก็มีการควบรวมกิจการกับ HP เพื่อกลายเป็นบริษัทคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกในปี 2002 เป็นการสิ้นสุดแบรนด์ Compaq ไปในท้ายที่สุดนั่นเองครับผม

References :
https://www.wikipedia.org
https://history-computer.com/the-real-reason-compaq-failed-spectacularly/
https://www.pcmag.com/news/the-golden-age-of-compaq-computers
https://www.wnyc.org/story/unlikely-pioneers-who-founded-compaq-and-transformed-tech/

ประวัติ Michael Dell ตอนที่ 5 : Future Plans

ตั้งแต่ได้มืออาชีพอย่าง Tom Meredith เข้ามาช่วยเรื่องการเงินก็ทำให้ Dell Computer นั้นเริ่มหันมาเน้นการเติบโตให้อย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายหลัก 3 ประการก็คือ มีเงินสดที่ใช้หมุนในกิจการ สร้างกำไร และ การเติบโตอย่างยั่งยืนนั่นเอง

ข้อดีของการได้มืออาชีพที่มีประสบการณ์ มาช่วยเหลือองค์กรของ Dell ก็คือ การมาช่วยปรับโครงสร้าง สร้างระบบและกระบวนการ จ้างพนักงาน รักษา และทำการพัฒนาทักษะของเหล่าพนักงานให้ดียิ่งขึ้นไป พร้อมที่จะสู่กับคู่แข่งไม่ว่าจะเล็กจะใหญ่ขนาดไหน Dell ก็พร้อมที่จะสู้แล้ว

ตั้งแต่เดือนสิงหาคมปี 1993 ถือเป็นช่วงที่ท้าทายบริษัทมากที่สุด Michael ได้เริ่มที่จะร่างแบบแผนเพื่อปรับโครงสร้างของบริษัท และหนึ่งในสิ่งที่สำคัญก็คือ เขาเสนอที่จะขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก

Michael นั้นรู้ดีว่าในบริษัทของเขานั้น บางแผนกทำเงิน และมีอีกหลายแผนกที่ไม่ทำเงิน แต่เขาก็ไม่รู้ได้อย่างแน่ชัดว่าเป็นแผนกไหนบ้าง ดังนั้นเขาจึงได้เลือกบริษัท Bain & Company เข้ามาช่วยเหลือ เพื่อทำการตรวจสอบ

Bain & Company ที่เป็นบริษัท Consult มาช่วยเหลือ Dell
Bain & Company ที่เป็นบริษัท Consult มาช่วยเหลือ Dell

ตัว Michael และผู้บริหารระดับสูงได้ทำงานกับ Bain โดยทำการแบ่งบริษัทออกเป็นส่วน ๆ ทำให้สามารถตรวจสอบได้อย่างชัดเจนว่า ธุรกิจส่วนไหนที่ประสบความสำเร็จที่แท้จริง และส่วนไหนที่ไม่ประสบความสำเร็จ

และเมื่อเขาได้รู้ว่าส่วนไหนของบริษัทที่ไม่ทำเงินนั้น ก็จะทำการศึกษาและหาทางปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น และหากยังไม่ได้ผลอีก ก็จะปิดส่วนนั้นไปทันที และมาตรการดังกล่าวหลังจากมาทำการวิเคราะห์อย่างแท้จริงนั้นได้ยกระดับบริษัท Dell ให้มีประสิทธิภาพการทำงานได้อย่างเหลือเชื่อ

ซึ่งเหมือนกับบริษัทอื่น ๆ ทั่วไป ที่ Dell Computer มีการแยกการทำงานออกเป็นแผนกต่าง ๆ เช่น แผนกพัฒนาผลิตภัณฑ์ แผนกการเงิน แผนกขาย และการตลาด และแผนกการผลิต ซึ่งเมื่อบริษัทเติบโตขึ้น ต่างฝ่ายต่างแข่งขันกัน ทำให้เกิดปัญหาในการทำงานเป็นทีมขึ้น

และตัวของ Michael เองก็ไม่ต้องการเจอสภาพเดียวกับหลาย ๆ บริษัทที่ต้องพบเจอเมื่อองค์กรมีขนาดใหญ่ขึ้น มีตัวอย่างหลายบริษัทที่พุ่งขึ้นมาอย่างรวดเร็ว และ ล้มหายตายจากไปเพียงในระยะเวลาไม่นานเช่นเดียวกัน หรือ บริษัทที่เหล่าผู้ก่อตั้งถูกขับจากบริษัทตัวเองที่สร้างมากับมือ Michael ไม่ต้องการที่จะเจอสภาพเดียวกับ สตีฟ จ๊อบส์ ที่ถูกขับออกจาก Apple ในปี 1985 หรือ กรณีของ รอด แคนนอน กับ compaq เคยเจอมานั่นเอง

แน่นอนว่าเขาต้องจ้างเหล่ามืออาชีพมาช่วยเหลือเขาให้มากที่สุด Mort Topfer เป็นอีกหนึ่งในผู้บริหารระดับสูงที่เข้ามาร่วมกับ Dell ในปี 1994 ตัว Mort เองนั้นเคยเป็นรองประธานบริษัทโมโตโรล่า และเป็นผู้นำของบริษัททางด้านอุปกรณ์สื่อสารและข้อมูลภาคพื้นดิน

เขามีประสบการณ์สำคัญในการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานแบบแผนกไปสู่การทำงานแบบองค์กรโครงสร้างใหญ่ ๆ นั่นเป็นเหตุให้ Michael ต้องพึ่งพา Mort ในปรับเปลี่ยนโครงสร้างขององค์กรครั้งใหญ่นั่นเอง

โดย Michael นั้นจะมุ่งไปดูเรื่องผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยี และกลยุทธ์โดยรวมของบริษัท เป็นหลัก โดยให้ Mort มาดูแลเรื่อง Operation การขาย การตลาด เป็นหลักในฐานะรองประธานของบริษัท

Mort Topfer ที่เป็นมือดีมาช่วยงาน Michael Dell
Mort Topfer ที่เป็นมือดีมาช่วยงาน Michael Dell (ภาพจาก GettyImages)

ในปี 1994 นั้นดูเหมือนบริษัท จะอยู่ในเส้นทางที่สดใสมากขึ้น หลังจากได้เหล่ามืออาชีพเข้ามาช่วย Michael ในการกำหนดทิศทางของบริษัท และเป็นครั้งแรกที่มีการวางแผนงานของบริษัทได้เกินกว่า 12 เดือน และมีเวลาในการศึกษาศักยภาพของธุรกิจในระยะยาวได้อย่างจริงจังนั่นเอง

Mort นั้นชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่ต้องทำงานอย่างมีระเบียบ และวางแผนมากขึ้น ซึ่งแผนงานนั้นไม่ได้กำหนดเฉพาะรายไตรมาสเท่านั้น แต่ต้องดำเนินเรื่อย ๆ และไม่ได้เกี่ยวข้องเฉพาะภายในบริษัทเพียงเท่านั้น แต่ต้องเกี่ยวข้องกับทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็น ผู้ค้าส่ง ลูกค้า ไปจนถึงเหล่าพนักงานในทุกระดับ

ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่บริษัทสามารถวางแผนสามปีล่วงหน้าได้ ซึ่งรวมถึงประเด็นที่สำคัญ ๆ ไมว่าจะเป็น เกี่ยวกับองค์กร ระบบสาธารณูปโภค โครงสร้างองค์กร รวมถึงโอกาสในการเติบโต มองปลีกย่อยไปถึง ส่วนแบ่งการตลาดในแต่ละประเทศ แต่ละผลิตภัณฑ์ รวมถึงการวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขันของคู่แข่ง รวมถึงเรื่องสำคัญอย่าง เรื่องต้นทุน ที่สามารถจะแข่งขันได้นั่นเอง

ซึ่งแน่นอนว่า กุญแจความสำเร็จจริง ๆ ของการวางแผนต่าง ๆ เหล่านี้ให้สำเร็จก็คือ แผนที่แม้จะมีความท้าทาย แต่สามารถทำได้จริง และมีข้อมูลที่ดีที่จะนำมาวิเคราะห์ ซึ่งการปรับเปลี่ยนครั้งสำคัญนี้ Dell มุ่งหน้าสู่บริษัทที่บริหารงานโดยใช้ข้อมูลอ้างอิงเป็นหลัก เพราะข้อมูลถือเป็นกลไกที่สำคัญที่สุดที่ไม่ทำให้บริษัทเดินไปในทางที่ผิดนั่นเอง

และแน่นอนว่า แผนงานต่าง ๆ นั้น เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เหล่าพนักงานของ Dell ทำงานโดยมีเป้าหมาย และมีเป้าหมายเดียวกันทั้งทีม ซึ่งเป็นแรงกระตุ้นที่สำคัญที่จะทำให้พวกเขาสามารถทำได้สำเร็จนั่นเอง ซึ่งแน่นอนว่าบริษัทไหนก็ตามที่ต้องการเติบโตต่อไปนั้น สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ

มาถึงตอนนี้จะเห็นได้ว่า Michael นั้นต้องการให้ Dell เป็นองค์กรที่มีความยั่งยืน และสามารถแข่งขันกับคู่แข่งยักษ์ใหญ่ได้ จึงได้พยายามทำทุกวิถีทาง ที่จะปรับองค์กร และจ้างมืออาชีพมาช่วยจัดการให้องค์กรของเขา มีประสิทธิภาพพร้อมที่จะแข่งขันในระยะยาวได้นั่นเอง ดูเหมือนทุกอย่างจะเริ่มลงตัว แล้วแผนต่อไปของ Michael คืออะไร จะพา Dell ไปถึงจุดสูงสุดได้แค่ไหน โปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 6 : Direct Sales 1.1

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Life’s Choices *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

References : https://ries.typepad.com/ries_blog/2009/07/the-demise-of-dell.html

Geek Story EP7 : Compaq ผู้ปฏิวัติวงการ PC ตัวจริงที่ถูกลืม

ถ้ากล่าวถึง brand Compaq คิดว่าหลายคนคงจะลืมกันไปแล้วว่ามี Brand นี้อยู่ในโลกด้วยหรือ แต่ถ้าย้อนไปในยุคเริ่มต้นของการกำหนดของ PC หรือ ยุคคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลนั้น ต้องถือว่า Brand Compaq เป็น Brand แรก ๆ ที่กล้ามาต่อกรกับยักใหญ่อย่าง IBM ในสมัยนั้นได้

ต้องบอกว่า Compaq นั้นมีประวัติที่น่าสนใจ ที่ไม่ค่อยมีคนกล่าวถึงกันนัก ซึ่ง Campaq นั้นเกิดขึ้นในช่วงประมาณปี 1982 ซึ่งเป็นยุคตั้งไข่ของ PC พอดิบพอดี ซึ่งก่อตั้งโดยอดีตพนักงานของบริษัทยักษ์ใหญ่ในสมัยนั้นอย่าง Texus Intrument ซึ่งเหล่าผู้ก่อตั้งทั้ง 3 คนประกอบไปด้วย Rod Canion , Jim Harris และ Bill Murto

มันเป็นการเริ่มต้นจากงานอดิเรก พร้อมกับความคิดบ้า ๆ ของทั้งสามคน ที่ต้องการจะก่อตั้งบริษัท ซึ่งตอนนั้นต้องบอกว่าทั้งสามไม่ได้มีเงินมากมาย รวมถึง ไม่ได้มีแหล่งเงินทุน ที่เข้าถึงง่ายอย่าง Startup ในปัจจุบัน ทั้งสามต้อง จำนองบ้าน รวมถึงขายรถ เพื่อมาเป็นทุนในการเริ่มต้นเปิดบริษัท

ในยุคนั้นต้องบอกว่า IBM นั้นถือเป็นยักษ์ใหญ่มาก ๆ ของวงการธุรกิจของอเมริกา ควบคุมทุกอย่างอย่างเบ็ดเสร็จในโลกเทคโนโลยี ทำทุกอย่างตั้งแต่ computer mainframe สำหรับองค์กร ไปจนถึง คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล การที่จะมาสู้กับยักษ์ใหญ่อย่าง IBM นั้นถือว่าไม่ใ่ช่เรื่องที่ควรจะทำเป็นอย่างยิ่ง

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน Podbean : http://bit.ly/2VKPbEJ

ฟังผ่าน Apple Podcast :   https://apple.co/2lEqPPg

ฟังผ่าน Google Podcast :  http://bit.ly/2B6TsbW

ฟังผ่าน Spotify : https://spoti.fi/2Vz02Bg

ฟังผ่าน Youtube :   https://youtu.be/HHq5I2dqTTU

ประวัติ Elon Musk ตอนที่ 6 : The Outsider

แม้ว่าในตอนแรกนั้น มัสก์ ยังไม่มั่นใจนักว่าจะได้ทำงานในเรื่องที่สนใจ อย่าง อินเตอร์เน็ต , พลังงานที่ยั่งยืน หรือ เรื่องการสำรวจอวกาศ ซึ่งล้วนจะมีอิทธิพลอย่างสูงต่ออนาคตของมนุษยชาติ ซึ่งตัวเขาเชื่อว่าทั้งสามสิ่งเหล่านี้ จะทำให้โลกมีความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น หากเขาได้ทำงาน หรือ สร้างธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับทั้งสามเรื่องดังกล่าว

ในช่วงที่เขากำลังศึกษาในระดับ มหาลัยนั้น มัสก์ เริ่มที่จะสนใจ รถยนต์ที่ขับเคลื่อนโดยไฟฟ้า ซึ่งไม่ต้องพึ่งพาพลังงานที่กำลังจะหมดโลกอย่างน้ำมัน ความสนใจของเขามุ่งไปที่การที่จะสร้างแบตเตอรี่ เพื่อใช้ขับเคลื่อนยานพาหนะเหล่านี้

ซึ่งในปี 1995 ได้ทุนการศึกษาเข้าเรียนระดับ PhD ในสาขา materials science & applied physics ที่ Stanford University งานธีสิส ของเขานั้นเป็นไอเดียเกี่ยวกับการสร้างแหล่งพลังงานแบตเตอรี่รูปแบบใหม่ให้กับเหล่ายานพาหนะที่ถูกขับเคลื่อนโดยไฟฟ้านั่นเอง

สำหรับดีกรี PhD ที่จะได้มาหลังเรียนจบนั้นมัสก์ไม่ได้สนใจมันนัก แต่เขาสนใจผลจากงานวิจัยชิ้นนี้มากกว่า เป้าหมายของเขาต้องการที่จะทดแทนแบตเตอรี่รูปแบบเดิมๆ  ด้วยแบตเตอรี่รูปแบบใหม่ที่เขาได้วิจัยขึ้น ซึ่งจะทำให้มันสามารถที่จะชาร์จได้อย่างรวดเร็วที่สุดแบบที่ไม่เคยปรากฏขึ้นมาก่อน

มัสก์ ได้ทุนเรียนต่อ PhD ที่ Stanford University
มัสก์ ได้ทุนเรียนต่อ PhD ที่ Stanford University

และมันเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่ อินเตอร์เน็ต กำลังเติบโตแบบสุดขีด มันทำให้มัสก์ ต้องเลือกทางเดินของชีวิตอีกครั้ง ว่าจะอยู่เรียนระดับ PhD เพื่อทำงานวิจัยให้สำเร็จ และเฝ้ามอง อินเตอร์เน็ตที่กำลังจะเปลี่ยนโลกใบนี้อยู่เฉย ๆ หรือ ออกมาทำความฝันอีกอย่างหนึ่งของเขาในโลกอินเตอร์เน็ตแล้วค่อยกลับมาเรียนต่อที่ Stanford

และเมื่อเขาได้วิเคราะห์อย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้วนั้น เขาก็เลือก อินเตอร์เน็ตก่อน เขาลาออกจากการเรียน PhD ที่ Stanford เพราะดูแล้วว่าการทำความฝันทางด้านอินเตอร์เน็ตนั้นน่าจะบรรลุเป้าหมายได้เร็วกว่าต้องเรียน PhD ที่อีกหลายปีกว่าจะเรียนจบ

ซึ่งตอนนั้นหลาย ๆ คนมองว่าความคิดของเขาเป็นความคิดที่บ้าน่าดู เพราะเขาได้รับทุนที่ stanford และมีเส้นทางที่สดใสสำหรับการเรียนที่ stanford ที่ทุกคนต่างอิจฉา 

เขาต้องเริ่มหางานที่เกี่ยวข้องกับอินเตอร์เน็ตทันที แต่ปัญหาใหญ่ คือ เขาแทบจะไม่มีประสบการณ์ด้านนี้ที่เป็นรูปธรรมมาก่อนเลย แม้เขาจะเป็นอัจฉริยะด้านคอมพิวเตอร์คนหนึ่ง ที่เคยสร้างเกมส์ที่ประสบความสำเร็จมามากมายแล้วก็ตามที

ในขณะนั้น Web Browser ที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่คือ NetScape ซึ่งครองส่วนแบ่งได้ถึง 90% แต่เพียงแค่ปีให้หลัง ก็ถูก Microsoft แย่งชิงตลาดไปจนเกือบหมด ด้วยกลยุทธ์ขายพ่วง Windows และแจก Internet Explorer ให้ใช้กันฟรี ๆ 

มัสก์นั้นเคยสมัครไปทำงานกับ NetScape แต่ก็ถูกปฏิเสธ เขาต้องการทำงานกับบริษัทที่สร้างเทคโนโลยีที่เปลี่ยนโลก และ เมื่อเขาไม่สามารถเข้าไปทำงานกับบริษัทอินเตอร์เน็ตเหล่านี้ได้ อีกทางเลือกหนึ่งคือเขาต้องสร้างบริษัทขึ้นมาเอง

มัสก์ ถูกปฏิเสธ การทำงานกับ NetScape จนต้องคิดมาสร้างบริษัทตัวเอง
มัสก์ ถูกปฏิเสธ การทำงานกับ NetScape จนต้องคิดมาสร้างบริษัทตัวเอง

มัสก์ นั้นฉุกคิดถึงเรื่องธุรกิจอินเตอร์เน็ตได้จาก ในวันหนึ่งเขาได้พบกับพนักงานขายของเยลโลว์เพจเจส ซึ่งพนักงานขายคนนั้นได้นำเสนอเรื่องการทำบัญชีรายชื่อออนไลน์เพื่อพัฒนารายชื่อแบบดั้งเดิม ที่ปรกติก็คือสมุดหน้าเหลือเหล่าหนาเต๊อะ ให้มาอยู่ในอินเตอร์เน็ต

และ ไอเดียนี้ นี่เองที่ทำให้มัสก์นั้นได้ไปคุยกับ คิมบัล น้องชายของเขา และได้พูดถึงไอเดียแนวคิดที่จะช่วยธุรกิจต่าง ๆ ให้สามารถก้าวสู่โลกออนไลน์ได้เป็นครั้งแรก ซึ่งในปี 1995 สองพี่น้องก็ได้เริ่มก่อตั้ง Global Link Information Network บริษัทสตาร์ทอัพ ที่สุดท้ายได้กลายร่างมาเป็นบริษัท Zip2 

สองพี่น้องมาร่วมกันตั้ง Zip2
สองพี่น้องมาร่วมกันตั้ง Zip2

ในตอนนั้น มีธุรกิจขนาดเล็กเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น ที่เข้าใจอิทธิพลของอินเตอร์เน็ตที่มีต่อธุรกิจพวกเขาเหล่านี้ ยังมีน้อยคนนักที่จะรู้ว่าจะใช้ประโยชน์จากอินเตอร์เน็ตได้อย่างไร มัสก์ กับน้องชาย นั้นมีแนวคิดที่จะโน้มน้าว ร้านอาหาร ร้ายขายเสื้อผ้า ร้านทำผม และร้านที่เป็นธุรกิจขนาดย่อมอื่น ๆ และพาพวกเขาเหล่านี้ขึ้นสู่ระบบอินเตอร์เน็ต

สองพี่น้องมัสก์ และ คิมบัล ได้ให้กำเนิด Zip2 ขึ้นใน พาโล แอลโต พวกเขาได้เช่าสำนักงานขนาดเล็กเท่าอพาร์ตเมนต์แบบสตูดิโอ ขนาด กว้าง 20 ฟุต คูณ 30 ฟุต มันเป็น ออฟฟิสขนาดเล็ก ๆ เพื่อให้พวกเขาได้เริ่มธุรกิจกันได้เท่านั้น

ช่วงแรกนั้น มัสก์ ที่มีพื้นฐานด้านโปรแกรมมิ่งมาจากการเขียนเกมส์มาก่อน เป็นคนเขียนโค้ดหลักทั้งหมดด้วยตัวเขาเอง เขาได้ซื้อฐานข้อมูลธุรกิจในเขตเบย์แอเรียมาได้ ในราคาไม่แพงนัก ซึ่งจะมีการรวบรวมรายชื่อที่อยู่และธุรกิจต่าง ๆ เพื่อมาเป็นฐานข้อมูลตั้งต้นของ Zip2

ส่วนเรื่องของแผนที่นั้น มัสก์ ได้ไปเจรจากับ บริษัท Navteq บริษัทด้านแผนที่ในอุปกรณ์นำทางแบบจีพีเอสในยุคแรก ๆ มัสก์ได้ใช้เทคนิคเจรจาจนได้เทคโนโลยีมาใช้แบบฟรี ๆ ซึ่งเหล่าวิศวกรของ Zip2 ก็ได้เพิ่มข้อมูลฐานข้อมูลและเชื่อมกับแผนที่ ที่ได้จาก Navteq ให้กลายเป็นระบบพื้นฐานและเปิดใช้งานให้ได้อย่างเร็วที่สุด

Navteq บริการด้านแผนที่ชื่อดังในขณะนั้น
Navteq บริการด้านแผนที่ชื่อดังในขณะนั้น

แม้ Zip2 นั้นจะเป็นกิจการอินเตอร์เน็ตที่น่าจะเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ในยุคบูมสุดขีดของ อินเตอร์เน็ต แต่การที่จะจูงใจให้เหล่าธุรกิจต่าง ๆ มาเข้าร่วมนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเลยทีเดียว มัสก์ ต้องทำการจ้างทีมเซลล์ เพื่อไปเคาะประตูขายไอเดียดังกล่าวให้ธุรกิจขนาดเล็กที่เป็นลูกค้าเป้าหมายของเขาถึงหน้าบ้าน

มัสก์ ทำงานอย่างหนักจนแทบจะไม่ได้หลับไม่ได้นอนเลยด้วยซ้ำ  เขาแทบจะใช้ชีวิตอยู่ในออฟฟิส นอน กิน ทำงาน ทุกอย่างอยู่ภายในออฟฟิส มันทำให้ Zip2 พัฒนาได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเปลี่ยนจากแค่การพิสูจน์แนวคิด มาเป็นผลิตภัณฑ์จริงๆ  ที่ใช้และสาธิตให้ลูกค้าเห็นภาพได้

และเหล่านักลงทุนนั้นเชื่อในความทุ่มเทถวายชีวิตให้บริษัทของมัสก์ ตอนนี้มัสก์ได้แขวนชีวิตไว้กับการสร้างแพลตฟอร์มนี้ขึ้นมา เขาจะพลาดไม่ได้ เขาทุ่มสุดตัวกับโปรเจคนี้เป็นอย่างมาก 

หนึ่งในนักลงทุนคนสำคัญ คนแรก ๆ คือ เกรก โครี นักธุรกิจชาวแคนาดา ซึ่งเจอพี่น้องมัสก์ ในเมืองโตรอนโต และร่วมสนับสนุนการระดมความคิดของ Zip2 ยุคแรก ๆ เขาได้ลงทุนกว่า 6,000 เหรียญ จนในปี 1996 เขาย้ายไปยังแคลิฟอร์เนียและร่วมเป็นผู้ก่อตั้ง Zip2

ซึ่งเกรก นี่เองเป็นหนึ่งในไม่กี่คนที่ อีลอน มัสก์ นั้นจะฟัง และมีวิธีอธิบายสิ่งต่าง ๆ ให้มัสก์เข้าใจได้ ซึ่งการที่มัสก์ เป็นคนที่ฉลาดมาก ๆ ทำให้บางทีหลาย ๆ คนไม่เข้าใจว่ามัสก์กำลังคิดอะไรอยู่ และจะสื่อสารกับเขาได้อย่างไร

ในตอนต้นปี 1996 Zip2 ก็ได้รับการลงทุนจาก  Mohr Davidow Ventures โดยได้รับเงินทุนกว่า 3 ล้านเหรียญ และได้เริ่มว่าจ้างวิศวกรเพิ่มมากขึ้น รวมถึง ปรับ โมเดล ธุรกิจใหม่ให้กลายเป็นระบบบอกทางที่ดีที่สุดบนเว๊บไซต์  และได้เริ่มขยายธุรกิจไปทั่วประเทศ

Mohr Davidow Ventures บริษัทด้านการลงทุนแรก ๆ ทีสนใจ Zip2 ของ มัสก์
Mohr Davidow Ventures บริษัทด้านการลงทุนแรก ๆ ทีสนใจ Zip2 ของ มัสก์

แม้ภายหลังมัสก์ นั้นจะถูกบีบให้ขึ้นไปเป็นประธานฝ่ายเทคโนโลยี และ ให้ ริช ซอร์คิน มาเป็น CEO ของบริษัทแทนก็ตาม เพื่อให้บริษัทเป็นมืออาชีพมากยิ่งขึ้น ซึ่งมัสก์ ก็ยอมแต่โดดยดี แม้จะขมขื่นกับการที่ต้องวางมือจากบริษัทที่เขาสร้างมาเองก็ตาม แต่มันก็แลกกับผลประโยชน์จำนวนมหาศาลที่เขาได้รับ

ซึ่งการสร้าง Zip2 ของมัสก์นั้น มันได้เพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเขาเป็นอย่างมาก เขาควบคุมอารมณ์ได้มากขึ้น และเริ่มรู้ตัวและจัดการกับนิสัยเสีย ๆ บางอย่างของตัวเองเช่น การชอบไปวิพากษ์วิจารณ์คนอื่นแบบแรง ๆ 

มัสก์นั้นก็ยังเป็นขุมกำลังหลักในบริษัทเหมือนเดิม เขาเป็นผู้นำปลุกใจเหล่าพนักงานของเขาได้อย่างดี ตอนนี้ภาวะผู้นำของเขานั้นได้เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน และ Zip2 ก็เริ่มที่เห็นความสำเร็จที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น

การเปลี่ยนโมเดลธุรกิจใหม่ นั้น ได้รับการตอบรับที่ดีจากบริษัทสื่อใหญ่ ๆ ไม่ว่าจะเป็น หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ ไนท์รีดเดอร์ หรือ เฮิร์สท์คอร์เปอเรชั่น และสื่อใหญ่ ๆ อื่น ๆ อีกมากมายต่างลงทะเบียนมาใช้บริการ

บางแห่งก็ได้ทำการลงทุนเพิ่มใน Zip2 เลยด้วยซ้ำ บางรายให้สูงถึง 50 ล้านเหรียญ ตอนนั้นบริการอย่าง Craigslist นั้นเพิ่งเริ่มจะก่อตั้งขึ้น ยังไม่ได้เป็นคู่แข่งกับ Zip2 เสียทีเดียว 

Zip2 ก็เป็นที่กล่าวขวัญ ในวงกว้าง เนื่องจากสื่อยักษ์ใหญ่เหล่านี้อยากได้โฆษณาย่อย และรายชื่อสำหรับหน้าอสังหาริมทรัพย์ รถยนต์ และข่าวบันเทิง และมันทำให้เงินไหลเทมาที่ Zip2 อย่างต่อเนื่อง และทำให้เติบโตอย่างรวดเร็ว 

เพียงแค่ 2 ปีหลังจากนั้น Zip2 ได้รับข้อเสนอในการรวมกิจการกับคู่แข่งอย่าง CitySearch ซึ่งข้อตกลงมีมูลค่ากว่า 300 ล้านเหรียญ ทำให้ทั้งสองแข็งแกร่งยิ่งขึ้น ทั้งทางด้านการตลาดจาก CitySearch และเหล่าวิศวกรอัจฉริยะจาก Zip2

แต่การรวมกันของสององค์กรที่มีวัฒนธรรมแตกต่างกันนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ทั้งสองมีการทำงานที่ซับซ้อนกันอยู่หลายส่วน ต้องมีการตัดบางส่วนออกไป หรือ ผู้บริหารบางคนของ Zip2 ก็ถูกลดความสำคัญลงไป มัสก์นั้นแม้ตอนแรกจะสนับสนุนการควบรวม ก็ได้เปลี่ยนเป็นมาต่อต้านแทนในที่สุด

การรวมกับ CitySearch ดูจะไม่ค่อย Work สำหรับมัสก์
การรวมกับ CitySearch ดูจะไม่ค่อย Work สำหรับมัสก์

แต่ข้อตกลงต่าง ๆ มันได้คุยกันไปไกลมากแล้ว ตอนนี้ สถานการณ์ของ Zip2 เป็นฝ่ายเสียเปรียบอย่างมาก แถม ยังมีคู่แข่งรายใหญ่อย่าง ไมโครซอฟต์ กำลังเข้ามาสู่ตลาดนี้ รวมถึงสตาร์ทอัพรายอื่น ๆ ก็กำลังสนใจตลาดนี้เช่นกัน มันทำให้คู่แข่งเริ่มเข้ามาเพิ่มขึ้นแบบทวีคูณ

แต่แล้ว ในปี 1999 เหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น เมื่อ บริษัท คอมแพค ที่ผลิตคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลรายใหญ่ของโลกในขณะนั้น ได้เสนอขอซื้อ Zip2 ด้วยเงินสดถึง 307 ล้านเหรียญ มันแทบจะเป็นสวรรค์มาโปรดสำหรับผู้ลงทุนใน Zip2 ที่สถานการณ์กำลังย่ำแย่ และพวกเขาแทบจะไม่ต้องคิดอะไรเลยในการตกลงรับข้อเสนอดังกล่าว

ข้อเสนอของ คอมแพค นี้มันทำให้ มัสก์ และ คิมบัล สองพี่น้อง กลายเป็นเศรษฐีย่อม ๆ มัสก์ ได้ส่วนแบ่งถึง 22 ล้านเหรียญ ส่วน คิมบัล นั้นได้ไป 15 ล้านเหรียญ มันเป็นเงินมากมายที่พวกเขาแทบไม่เคยได้จับมาก่อน มันเป็นความสำเร็จครั้งแรกของมัสก์เลยก็ว่าได้ในเรื่องของการทำธุรกิจ และที่สำคัญมันเพิ่งจะเป็นธุรกิจแรกของเขาเท่านั้น

Zip2 ธุรกิจแรกของมัสก์ สามารถขายให้ compaq ได้สำเร็จ ทำให้เขากลายเป็นเศรษฐีย่อม ๆ
Zip2 ธุรกิจแรกของมัสก์ สามารถขายให้ compaq ได้สำเร็จ ทำให้เขากลายเป็นเศรษฐีย่อม ๆ

และแน่นอน ว่าเงินจำนวนนี้ ที่มัสก์ได้มานั้น เขาต้องการลงมือในโปรเจคต่อไปทันที มัสก์ยอมรับว่า การสร้างบริษัทแรกอย่าง Zip2 นั้น มันมีข้อผิดพลาดหลายอย่าง ซึ่งเขาแทบจะไม่เคยบริหารบริษัทมาก่อนเลยด้วยซ้ำ

การดูและลูกน้องก็ทำได้ไม่ดีนัก มัสก์ มักจะไปแก้งานของพวกเขา โดยไม่คุยกันก่อน เขามองว่าตัวเองเป็นอัจฉริยะ ที่พวกลูกน้องต้องทำตามให้ได้ สไตล์การเผชิญหน้ากับลูกน้องของมัสก์ ก็ไม่ใช่แนวทางของผู้บริหารบริษัทที่ดีเลย มักจะมีแต่เสียกับเสียเสมอ เวลามัสก์ต้องเผชิญหน้ากับลูกน้องพร้อมกับปัญหา

มัสก์ ผู้ซึ่งดิ้นรนต่อสู้ในยุคดอทคอม ต้องเรียกได้ว่า มีทั้งความสามารถและมีดวงผสมอยู่ด้วย เขามีไอเดียเหมาะเจาะที่มาทำ Zip2 ได้ถูกที่ถูกเวลา และทำให้มันกลายเป็นบริการได้จริง ๆ แถมสามารถก้าวออกมาพร้อมเงินทุนที่จะไปสร้างธุรกิจใหม่ ตอนนี้ เขามีเงินทุนมากพอที่จะสร้างธุรกิจอะไรบางอย่างที่เปลี่ยนโลกได้แล้ว แล้วธุรกิจนั้น จะเป็นธุรกิจอะไร และมัสก์จะปรับตัวในการเป็นนักธุรกิจที่ดีได้มากขึ้นแค่ไหน จะเกิดอะไรขึ้นต่อกับชายที่จะก้าวมาเป็นบุคคลหนึ่งทีทรงอิทธิพลที่สุดของโลกอย่างในปัจจุบัน โปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 7 : Joining the Mafia

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Sand Hill Road *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ