Geek Story EP63 : ทำไมยักษ์ใหญ่จาก Silicon Valley ถึงได้ล้มเหลวในดินแดนมังกร

ในฐานะบริการชั้นนำจากอเมริกา หรือ ทั่วโลก บริการอย่าง eBay, Google , Uber , Airbnb , Amazon ทุกบริษัทล้วนแล้วแต่มีความพยายามในการเอาชนะตลาดในประเทศจีน แม้นักวิเคราะห์หลาย ๆ รายได้พยายามสรุปความล้มเหลวของบริการจาก Silicon Vallley เหล่านี้ว่ามาจากการควบคุมของรัฐบาลจีน

แต่ ไค ฟู ลี อดีตผู้บริหารระดับสูงของทั้ง Microsoft และ Google ทั้งในอเมริกาและประเทศจีนกลับมองต่างออกไป

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/2JkU5GJ

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/2m0PTzR

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/0CQAp7uiuS0

References : https://www.vox.com/recode/2019/5/1/18511540/silicon-valley-foreign-money-china-saudi-arabia-cfius-firrma-geopolitics-venture-capital
https://lareviewofbooks.org/article/a-chinese-silicon-valley-not-so-fast/
https://www.businessinsider.com/google-isnt-the-only-silicon-valley-company-struggling-in-china-2010-1
http://parisinnovationreview.cn/en/2016/07/14/why-american-internet-companies-fail-in-china-a-cultural-perspective/
https://startupsventurecapital.com/why-shanghai-china-might-be-the-next-silicon-valley-and-why-we-should-care-811672cb12dd

ทำไม Linkedin ถึงสามารถบุกตลาดจีนได้สำเร็จ

ต้องบอกว่า Linkedin นั้นถือเป็นหนึ่งในบริษัททางด้าน internet น้อยรายจากอเมริกาที่สามารถเข้าถึงได้ในประเทศจีน ซึ่ง Facebook , Google , Twitter หรือ Pinterest นั้นต่างถูกบล็อก

ซึ่ง Linkedin นั้นจะมุ่งเน้นไปที่เครือข่ายของมืออาชีพ และได้รับความสนใจจากประชากรชาวเน็ตในประเทศจีน ซึ่งมีการเติบโตของกลุ่มผู้คนมืออาชีพกว่า 140 ล้านคน ซึ่งเป็นตัวแทนของเหล่าพนักงานที่มีความรู้ประมาณ 1 ใน 5 ของโลก

โดย Jeff Weiner ซีอีโอ ของ Linkedin ได้กล่าวในการเปิดตัวเว๊บไซต์ภาษาจีนในปี 2014 ว่า “เป้าหมายของ Linkedin คือ เชื่อมโยงเหล่าผู้ใช้งานมืออาชีพชาวจีน เข้ากับสมาชิกที่เหลือของ Linkedin กว่า 277 ล้านคนใน 200 ประเทศทั่วโลก”

ต้องบอกว่า Linkedin นั้นได้ทำสิ่งที่แตกต่างจากบริการอื่น ๆ สิ่งแรกคือ เวอร์ชั่นภาษาจีนที่มีเนื้อหาเป็นภาษาท้องถิ่น และมีการตั้งบริษัทเข้าไปลงทุนในประเทศจีน รวมถึงการว่าจ้าง Derek Chen ผู้ประกอบการทางด้านเทคโนโลยีที่มีประสบการณ์ ที่ได้รับการว่าจ้างเป็นผู้นำ Linkedin ในสาขาประเทศจีน

ซึ่ง Chen นั้น มีอิสระในการปรับแต่งเว๊บไซต์ ซึ่งสมาชิก Linkedin ในประเทศจีนนั้นสามารถที่จะ import รายชื่อผู้ติดต่อจาก Weibo และเชื่อมโยงบัญชีของพวกเขาไปยัง Wechat เพื่อทำการแบ่งปันเนื้อหาข้ามเครือข่ายได้

และเป็นเวลาเพียงไม่ถึง 4 ปี ที่ Linkedin China นั้นมีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 8 เท่า และจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้นจาก 4 ล้านคน เป็น 41 ล้านคนในประเทศจีน และนับเป็นความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ที่ทำให้บริการท้องถิ่นที่เข้ามาแข่งขันนั้นต้องปิดตัวลง ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นน้อยมากกับบริการ internet ในประเทศจีน

ซึ่งแม้ว่า Linkedin China นั้นจะรอดพ้นเงื้อมมือจาก Startup ในประเทศจีน ที่ทำการลอกเลียนแบบ Features ของ Linkedin เหมือนกับที่ทำในบริการอื่น ๆ มีบริการอย่าง Vaideo จากฝรั่งเศษ หรือ Ushi บริการอีกรายที่ก่อตั้งในเซี่ยงไฮ้ ที่พยายามทำตัวเป็น Linkedin of china แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ

แล้วสาเหตุใดที่ Linkedin สามารถประสบความสำเร็จได้ในแผ่นดินจีน

ต้องบอกว่ามีปัจจัยหลายประการที่ Linkedin สามารถยืนหยัดได้ในประเทศจีน การทำความเข้าใจกับวัฒนธรรมจีน การปรับแต่งบริการสำหรับผู้บริโภคชาวจีน รวมถึงการให้อำนาจแก่ผู้นำในท้องถิ่น เพื่อการตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว ในตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่ง แตกต่างจากบริการอื่นๆ ก่อนหน้านี้ ที่มักจะใช้นโยบายเดียวกับบริษัทแม่ในอเมริกาเสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งสามารถสรุปเป็นหัวข้อได้ดังนี้

  1. ให้หาหุ้นส่วนจีนในท้องถิ่น อย่าบุกตะลุยเดี่ยวเพียงอย่างเดียว
  2. จ้างทีมงานท้องถิ่นที่มีประสบการณ์ในธุรกิจและเทคโนโลยีของจีน
  3. ให้ความเป็นอิสระแก่ทีมงาน ที่สามารถตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ได้ทันท่วงที โดยไม่ต้องขึ้นกับสำนักงานใหญ่ที่อเมริกา
  4. ปรับแต่งบริการและคุณสมบัติสำหรับลูกค้าชาวจีน
  5. วางกลยุทธ์การซื้อกิจการที่สามารถเริ่มต้นธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว
  6. เรียนรู้ที่จะเจรจากับลูกค้าชาวจีนที่ต้องการ และอย่าคาดหวังว่าจะชนะทุกครั้ง
  7. ตั้งเป้าที่การเติบโตก่อนมองหาผลกำไร
  8. พัฒนากลยุทธ์ส่งเสริมการขายที่สร้างสรรค์
  9. เตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงในเรื่องการเมืองอย่างกะทันหันในจีน
  10. พยายามรักษาวิสัยทัศน์ และ มองการแข่งขันในระยะยาว

References : หนังสือ Tech Titans of China เขียนโดย Rebecca A.Fannin

Geek Talk EP8 : เจาะตลาดจีนผ่านช่องทาง E-Commerce อย่างไร (ตอนที่ 2)

ในปัจจุบัน คนจีนเริ่มเปิดใจให้กับสินค้าไทยมากขึ้น ในขณะเดียวกันคุณภาพของสินค้าไทยอยู่ในระดับมาตรฐานที่ดีอยู่แล้ว ดังนั้นหากเราต้องการเจาะตลาดกลุ่ม CBEC ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง

เราควรมุ่งเน้นและตอกย้ำจุดขายไปที่ความเป็นของแท้จากไทยที่มีคุณภาพสูง เพิ่มความสามารถในการแข่งขันโดยเน้นการสร้างที่มาหรือเรื่องราวของผลิตภัณฑ์ สร้างจุดขายโดยพัฒนาบรรจุภัณฑ์ (Packaging) ให้มีความทันสมัย แปลกใหม่ไม่ซ้ำใคร เพื่อให้สอดคล้องกับ Modern Lifestyle ของชาวจีนที่เพิ่มมากขึ้น

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน Podbean : https://bit.ly/3bu77KA

ฟังผ่าน Apple Podcast :  https://apple.co/2lEqPPg

ฟังผ่าน Google Podcast :  https://bit.ly/3bBUcqg

ฟังผ่าน Spotify : https://spoti.fi/3eILoke

ฟังผ่าน Youtube : https://youtu.be/1i–judnRxo

–> ย้อนกลับไปฟัง ตอนที่ 1

จีนกำลังใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้าเพื่อสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน

โรงเรียนมัธยมในประเทศจีนได้จัดทำระบบเทคโนโลยีการจดจำใบหน้า (Facial Recognition) เพื่อเฝ้าสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในห้องเรียน

เทคโนโลยีการจดจำใบหน้า (Facial Recognition) ที่ทางโรงเรียนใช้ คือการบันทึกการแสดงออกทางสีหน้าของนักเรียนทุกคนขณะที่อยู่ในห้องเรียน ระบบจะทำการสแกนห้องเรียนทุก ๆ 30 วินาทีและจดจำการแสดงออกที่แตกต่างกันเจ็ดอย่าง เช่น ปรกติ, มีความสุข, เศร้า, ผิดหวัง, กลัว, โกรธและประหลาดใจ

ระบบนี้ถูกเรียกว่า “ระบบจัดการพฤติกรรมห้องเรียนอัจฉริยะ” และมันถูกใช้ในโรงเรียนมัธยมหมายเลข 11 ในเมือง หางโจว ด้วยการสแกนการแสดงออกทางใบหน้า ระบบมีความสามารถในการวิเคราะห์พฤติกรรมทั้งหกประเภทของนักเรียน เช่นการลุกขึ้นยืน การอ่าน การเขียน การยกมือ การฟังครู และการเอนตัวลงบนโต๊ะ

ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีที่นักเรียนโต้ตอบและพฤติกรรมในชั้นเรียนเมื่อครูสอน จะถูกส่งไปยังครูเพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ระบบนี้ยังใช้ในการตรวจสอบการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของนักเรียนได้อีกด้วย

แต่ระบบดังกล่าวก็ได้ท้าทายในเรื่องความเป็นส่วนตัวของนักเรียน อย่างไรก็ตามโรงเรียนกลับไม่ได้คิดอย่างงั้น  Zhang Guanchao รองอาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนกล่าวว่าระบบจะรวบรวมและวิเคราะห์ผลลัพธ์ของการวิเคราะห์การจดจำใบหน้าและเก็บไว้ในฐานข้อมูลเฉพาะในโรงเรียน แทนที่จะอัปโหลดไว้ในระบบคลาวด์ และระบบไม่ได้บันทึกภาพเพื่อให้สามารถเข้าถึงได้ทุกคน มีการกำหนดสิทธิ์อย่างชัดเจนในการเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ นักเรียนคนหนึ่งกำลังศึกษาอยู่ที่โรงเรียนหางโจว กล่าวว่า

“ ก่อนหน้านี้เมื่อฉันเรียนในสิ่งที่ฉันไม่ชอบมาก ฉันจะขี้เกียจและอาจงีบอยู่บนโต๊ะหรือแอบไปอ่านการ์ตูน แต่ตอนนี้ฉันไม่กล้าที่จะวอกแวกหลังจากติดตั้งกล้องในห้องเรียน มันเปรียบเหมือนดวงตาลึกลับกำลังเฝ้าดูฉันอยู่ตลอดเวลา”

แล้วคุณมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับเทคโนโลยีการจดจำใบหน้านี้ คิดว่ามันมีประโยชน์สำหรับนักเรียนและครูหรือไม่ครับ?

References : 
https://www.techjuice.pk/this-school-scans-classrooms-every-30-seconds-through-facial-recognition-technology/

ไม่ใช่แค่ Apple! เมื่อเหล่ายักษ์ใหญ่ทางด้านเทคโนโลยีเตรียมย้ายฐานผลิตจากจีน

Apple ไม่ได้เป็นยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีเพียงรายเดียวที่ต้องการย้ายการผลิตออกไปจากประเทศจีน ตามรายงานใหม่วันนี้ HP, Dell, Microsoft, Google, Amazon, Sony, Lenovo, Acer, Asus และ Nintendo เป็นหนึ่งใน บริษัท ที่กำลังพิจารณาแผนการที่คล้ายๆ กัน

ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภคระดับโลก HP, Dell, Microsoft และ Amazon ต่างก็กำลังมองหาวิธีที่จะเปลี่ยนกำลังการผลิตจำนวนมากจากประเทศจีน ไปยังประเทศอื่น ซึ่งจะทำลายสถานะของประเทศจีนในฐานะผู้ผลิตอุปกรณ์เทคโนโลยีระดับโลก

HP และ Dell ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลอันดับ 1 และอันดับ 3 ของโลกที่ครองส่วนแบ่งการตลาดรวมกันประมาณ 40% ของตลาดโลก กำลังวางแผนที่จะย้ายฐานการผลิตโน้ตบุ๊กใหม่ ซึ่งตอนนี้กว่า 30% ของกำลังการผลิต นั้นมาจากแหล่งการผลิตในประเทศจีน .

Microsoft, Google, Amazon, Sony และ Nintendo ก็กำลังมองหาการเคลื่อนย้ายการผลิตเกมคอนโซลบางส่วน และการผลิตลำโพงอัจฉริยะออกไปนอกประเทศเช่นกัน รวมถึง ผู้ผลิตพีซีชั้นนำอื่น ๆ เช่นกลุ่ม Lenovo, Acer และ Asustek Computer กำลังประเมินแผนการที่จะเปลี่ยนตามกระแสข่าวที่ออกมาเช่นเดียวกัน

ซึ่งการเคลื่อนไหวดังกล่าวได้รับแรงกระตุ้นจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับสงครามการค้าที่เริ่มต้นโดยทรัมป์กับจีนโดยที่มีการเพิ่มการเก็บภาษี 25% สำหรับสินค้าทั้งหมดที่นำเข้ามาในสหรัฐฯจากจีน

Foxconn ยืนยันเมื่อต้นปีนี้ว่ากำลังจะเริ่มการผลิตไอโฟนในอินเดียในปลายปีนี้และกล่าวว่าว่าไอโฟนทั้งหมดที่สร้างขึ้นเพื่อขายในสหรัฐอเมริกาสามารถผลิตนอกประเทศจีนได้ รายงานล่าสุดชี้ให้เห็นว่าเป้าหมายของ Apple อาจจะย้ายฐานการผลิตประมาณ 15-30% ของการผลิตทั้งหมดออกนอกประเทศจีนภายในสามปีนี้

ยักษ์ใหญ่ทางด้านเทคโนโลยีรายอื่น ๆ ก็เตรียมย้ายฐานการผลิตเช่นเดียวกัน
ยักษ์ใหญ่ทางด้านเทคโนโลยีรายอื่น ๆ ก็เตรียมย้ายฐานการผลิตเช่นเดียวกัน

สำนักข่าว Nikkei รายงาน ว่านี่คือการสำรวจแนวคิดใหม่นี้โดยแอปเปิ้ล ซึ่งทีมงานทั้งหมดประกอบด้วยคนเพียงไม่กี่คนที่จะตัดสินใจย้ายฐานการผลิต และสิ่งที่พวกเขากำลังทำคือการหารือกับซัพพลายเออร์เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นและรัฐบาลต่าง ๆ ในประเทศปลายทางใหม่เกี่ยวกับแรงจูงใจที่อาจเกิดขึ้น 

ในระยะยาวนั้นแอปเปิ้ลมีความคิดที่จะมีการย้ายฐานการผลิตมากขึ้นเพื่อออกจากประเทศจีนโดย Apple มีจุดประสงค์ในการกระจายความเสี่ยงของ Supply Chain มาอย่างยาวนานโดยเลือกที่จะมีซัพพลายเออร์หลายรายเพื่อให้ได้ส่วนประกอบมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้และการกระจายความเสี่ยงทางด้านสถานที่ผลิตก็มีความสมเหตุสมผลเช่นกัน การพึ่งพาประเทศจีนเป็นความเสี่ยงและเป็นสิ่งหนึ่งที่ Apple ต้องการที่จะลดระดับความสำคัญลงเรื่อย ๆ นับจากนี้

Nikkei กล่าวต่อไปว่าต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นในประเทศจีนเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การผลิตบางส่วนนั้นต้องมีการย้ายออกไปจากจีน

“ ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นของจีนได้นำไปสู่การลดลงของคำสั่งซื้อจากทั่วโลก ตอนนี้ความไม่แน่นอนที่เกี่ยวข้องกับสงครามการค้ากำลังเพิ่มขึ้น” เจ้าหน้าที่ของรัฐกล่าว

แม้ว่าวอชิงตันและปักกิ่งจะแก้ปัญหาข้อพิพาทในระยะยาวได้ แต่การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ก็หมายความว่าจีนจะเผชิญกับการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นในฐานะฐานการผลิตด้านอิเล็กทรอนิกส์ “ ไม่เพียงเกี่ยวกับเรื่องภาษีศุลกากรเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวกับการลดความเสี่ยงในระยะยาว [เช่นต้นทุนแรงงานที่เพิ่มขึ้น]”  “ ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดียจะรวมตัวกันเป็นศูนย์กลางการแข่งขันใหม่ในไม่กี่ปีข้างหน้าสำหรับการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์” TIER’s Chiu นักเศรษฐศาสตร์กล่าวให้สัมภาษณ์กับ Nikkei

References : 
https://9to5mac.com/2019/07/03/production-out-of-china/