Geek Daily EP35 : สมองเทียม Plug and Play กับการทดสอบครั้งแรกในผู้ป่วยที่เป็นอัมพาต

นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการสาธิตอวัยวะสมองเทียมแบบ“ Plug and Play” ที่ควบคุมโดยผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตเป็นครั้งแรก

ระบบใช้เทคโนโลยี Machine Learning เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยแต่ละคนสามารถควบคุมอินเทอร์เฟซคอมพิวเตอร์ด้วยสมอง ซึ่งแตกต่างจากอินเทอร์เฟซคอมพิวเตอร์สมอง (BCI) ส่วนใหญ่ ซึ่งเทคโนโลยี AI ใหม่นี้สามารถทำงานได้โดยไม่ต้องฝึกอบรมใหม่ทุกวัน

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3bLrfsz

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/3ii6RSg

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/KlXFMwOcORk

Geek Monday EP61 : Neural Link กับความคืบหน้าล่าสุดจาก Elon Musk

Elon Musk ได้ขึ้นเวทีที่สำนักงานใหญ่ของ Neural Link เพื่อเปิดเผยต้นแบบ V2 ของเครื่อง Neural Link ที่ได้มีการเปิดตัวไปเมื่อปีที่แล้ว

และการเปิดเผยครั้งสำคัญในครั้งนี้ เรียกได้ว่าเป็นการ ปฏิวัติวงการแพทย์ เมื่อชิป ดับกล่าวจะสามารถ วัดอุณหภูมิ ความดัน และ การเคลื่อนไหวของผู้ป่วย ซึ่งอาจให้คำเตือบล่วงหน้าเกี่ยวกับ อาการหัวใจวาย หรือ โรคหลอดเลือดสมอง ที่เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่คร่าชีวิตของมนุษย์ในลำดับต้น ๆ

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ 

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3jpyXv6

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/3lth6VY

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/JztCGywUueE

References : https://www.somagnews.com/elon-musk-introduced-neuralink-all-the-details/

Geek Daily EP30 : เมื่อเทคโนโลยีโพลีเมอร์เฉพาะทางทำให้เราเข้าใกล้ Cyborgs มากขึ้นอีกขั้น

การพัฒนาสารเคลือบโพลีเมอร์ที่เข้ากันได้ทางชีวภาพใหม่สำหรับการปลูกถ่ายร่วมกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเดลาแวร์อาจเป็นกุญแจสำคัญในการทำความเข้าใจกล่องดำ ความลึกลับของสมองมนุษย์ให้ดีขึ้น

โพลีเมอร์เหล่านี้ไม่เพียง แต่ทำให้เกิดรอยแผลเป็นบนเนื้อเยื่อชีวภาพน้อยกว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เคลือบด้วยอนินทรีย์ แต่ยังช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถปรับความไวของโพลีเมอร์ได้อย่างละเอียดซึ่งอาจช่วยให้สามารถสร้างระบบเตือนภัยล่วงหน้าสำหรับการปรากฏตัวของโรคที่เป็นอันตรายได้เช่นกัน

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3l22TPC

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/2m0PTzR

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/0M-cpvVjnHA

References https://www.inverse.com/innovation/integrating-electronics-with-the-body-study

Brain Chip กับการช่วยผู้ป่วยอัมพาตให้กลับมามีความรู้สึกอีกครั้ง

การผ่าตัดฝัง Chip ที่ทันสมัยได้ทำให้ผู้ป่วยอัมพาต สามารถกลับมามีความรู้สึกและขยับมือของเขาอีกได้ครั้งหลังจากผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บที่ไขสันหลังซึ่งทำให้ร่างกายบางส่วนอัมพาต

ต้องถือเป็นครั้งแรกที่การทำงานของมอเตอร์และความรู้สึกจากการสัมผัสได้รับการฟื้นฟูโดยใช้อินเตอร์เฟซสมองกับคอมพิวเตอร์ Brain Computer Interface (BCI)

หลังจากตัดไขสันหลังของเขาเมื่อสิบปีที่แล้ว Ian Burkhart ได้ทำการนำเอาอุปกรณ์ BCI ที่พัฒนาโดยนักวิจัยที่ Battelle องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหากำไรที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการแพทย์นำไปฝังอยู่ในสมองของเขาตั้งแต่ปี 2014

ซึ่งเดิมนั้นอาการบาดเจ็บได้ตัดการเชื่อมต่อสัญญาณไฟฟ้าจากสมองของ Burkhart ไปยังมือของเขาผ่านทางเส้นประสาทไขสันหลัง แต่นักวิจัยคิดว่าพวกเขาสามารถใช้วิธีในการปรับแต่งเส้นประสาทไขสันหลังเพื่อเชื่อมโยงคอร์เทกซ์สมองของ Burkhart โดยตรงและเชื่อมต่อเข้ากับมือของเขาผ่านการปลูกถ่าย

ซึ่งอุปกรณ์ที่มีพอร์ตที่ด้านหลังกะโหลกศีรษะของเขาจะทำการส่งสัญญาณไปยังคอมพิวเตอร์ ซึ่งซอฟต์แวร์พิเศษจะทำการถอดรหัสสัญญาณและแยกสัญญาณระหว่างสัญญาณที่สอดคล้องกับการเคลื่อนไหวและสัมผัสตามลำดับ สัญญาณทั้งสองนี้จะถูกส่งไปยังแขนที่มีขั้วไฟฟ้าที่อยู่รอบ ๆ แขนจริง ๆ ของ Burkhart

Burkhart ที่กลับมามีความรู้สึกได้อีกครั้ง

แต่ต้องบอกว่าการทำความเข้าใจกับสัญญาณเหล่านี้เป็นสิ่งที่ยากมาก

“เราแยกความคิดที่เกิดขึ้นเกือบจะพร้อมกัน และมันมีความเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวและการสัมผัสซึ่งถือเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่มาก ๆ ของเรา” หัวหน้านักวิจัย Ganzer ที่ Battelle บอกกับ Wired

ทีมได้เห็นความสำเร็จในเบื้องต้นเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวซึ่งเป็นเป้าหมายเริ่มต้นของ BCI ที่ทำให้ Burkhart สามารถกดปุ่มตามคอนโทรลเลอร์ของเกม “Guitar Hero” ได้สำเร็จ

แต่การกลับมารู้สึกถึงสัมผัสที่มือของเขานั้นเป็นงานที่น่ากลัวกว่ามาก ด้วยการใช้อุปกรณ์การสั่นสะเทือนอย่างง่ายหรือ “ระบบสัมผัสที่สามารถสวมใส่ได้” Burkhart สามารถบอกได้ว่าเขาสัมผัสวัตถุหรือไม่ โดยไม่ต้องเห็นมัน

“แน่นอนมันดูแปลกประหลาด” Burkhart บอกกับ Wired “ แม้ตอนนี้มันยังไม่ปกติ แต่ก็ดีกว่าไม่มีข้อมูลทางประสาทสัมผัสใด ๆ เลย กลับไปที่ร่างกายของผม”

เราได้เห็นเทคโนโลยี ที่มีการเชื่อมต่อสมองเข้ากับคอมพิวเตอร์ (Brain Computer Interface) ที่มีการวิจัยเรื่องราวเหล่านี้เป็นจำนวนมากในช่วงปีที่ผ่านมา ซึ่งรวมถึงโครงการ NeuralLink ของ Elon Musk ด้วยเช่นกัน

เช่นเดียวกับเทคโนโลยี Brain Computer Interface เทคโนโยโลยีอย่างที่เราเห็นในบทความนี้ นั้นก็ใช้รูปแบบคล้าย ๆ กัน ซึ่งมุ่งเน้นไปที่ส่วนต่อประสานระหว่างคอมพิวเตอร์และสมองที่ช่วยให้ผู้ป่วยหลังการผ่าตัดใช้ในการควบคุมแขน เพื่อการฟื้นฟูระบบประสาท หรือผู้ป่วยที่เป็นอัมพาต  

ซึ่งผมก็เชื่อว่า เราจะเห็นเทคโนโลยีเหล่านี้ ที่กำลังก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีปัญหากับอวัยวะต่าง ๆ ของพวกเขาไม่ว่าจะเป็นดวงตา แขนขา ที่พิการ หรือ อื่น ๆ ได้อีกมากมายในอนาคตอย่างแน่นอนครับ

References : https://www.wired.com/story/a-brain-implant-restored-this-mans-motion-and-sense-of-touch/

ติดตาม ด.ดล Blog เพิ่มเติมได้ที่
Fanpage :facebook.com/tharadhol.blog
Blockdit :blockdit.com/tharadhol.blog
Twitter :twitter.com/tharadhol
Instragram :instragram.com/tharadhol

Brain to Speech กับอุปกรณ์สุดล้ำที่เปลี่ยนความคิดเป็นคำพูด

อุปกรณ์เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์สมองใหม่จะถอดรหัสกิจกรรมของสมองเพื่อค้นหาว่ามีใครพยายามพูดอะไรและใช้ข้อมูลนั้นในการสังเคราะห์ประโยคแบบเต็มและเปลี่ยนเป็นเสียงให้ได้ยิน

อุปกรณ์นี้ยังห่างไกลจากความสมบูรณ์แบบและการวิจัยยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น แต่อุปกรณ์นี้เป็นอุปกรณ์แรกที่สร้างประโยคแบบเต็มรูปแบบในแบบที่คนอื่นเข้าใจได้โดยอ้างอิงจาก Scientific American -เป็นความหวังสำหรับผู้ที่ สูญเสียความสามารถในการสื่อสารจากการป่วยในโรคต่าง ๆ

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียซานฟรานซิสโกอธิบายว่า อุปกรณ์เหล่านี้ที่พยายามแปลพฤติกรรมของสมองเป็นการพูดด้วยเสียงนั้นซับซ้อนเกินไปตามการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature

แต่พวกเขาใช้เทคโนโลยีของปัญญาประดิษฐ์เพื่อเชื่อมโยงสัญญาณที่สมองส่งไปยังผู้ใช้งานที่สอดคล้องกับคำศัพท์เฉพาะซึ่งท้ายที่สุดเป็นการจำลองพฤติกรรมของการสร้างคำที่ฟังดูสมจริง ในการทดสอบการทำงานอุปกรณ์สามารถสังเคราะห์เสียงพูดในขณะที่ผู้คนพูดคำอย่างเงียบ ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คนที่ได้ฟังประโยคจากเครื่องดังกล่าวนั้นยังเข้าใจผิดอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของประโยคทั้งหมด แต่ถือว่าเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญของอุปกรณ์เหล่านี้

“สำหรับคนที่หูหนวก หรืออยู่ในสภาพที่ไม่สามารถสื่อสารได้นั้น ข้อผิดพลาดเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้ยังพอที่จะรับได้” มหาวิทยาลัย Northwestern University neuroengineer Mark Slutzky ที่ได้ดำเนินโครงการที่คล้ายกันบอกกับทาง SCIAM “ เห็นได้ชัดว่าคุณสามารถ พูดอะไรก็ได้ที่คุณต้องการ แต่มันก็ยังดีกว่าการพิมพ์คำตัวอักษรทีละตัวซึ่งเป็นการสื่อสารที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน และเทคโนโลยีนี้กำลังมีความก้าวหน้าครั้งสำคัญสำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถสื่อสารได้นั่นเอง”

References : https://www.scientificamerican.com/article/scientists-take-a-step-toward-decoding-speech-from-the-brain/ https://www.news-medical.net/news/20190425/Device-converts-brain-signals-into-speech-offers-hope-for-patients.aspx