Geek Story EP32 : ประวัติ Jeff Bezos แห่ง Amazon (ตอนที่ 3 – ตอนจบ)

จากตอนที่แล้ว เจฟฟ์ ได้รับเลือกให้เป็นบุคคลแห่งปี ของนิตยสารไทม์ ในปี 1999 ทำให้เขาได้ก้าวไปสู่จุดสูงสุดของอุตสาหกรรมที่เขาเป็นคนสร้างขึ้นมา และดูเหมือนว่าตอนนี้จะไม่มีใครสามารถทาบรัศมีได้เลย

แต่หารู้ไม่ว่าในเวลานั้นยอดเขาที่เจฟฟ์ เบซอส ยืนอยู่นั้น กำลังจะล้มพังครืนลงมาเต็มทีแล้ว มันมีสิ่งหนึ่งที่ยังเป็นภารกิจที่เขายังทำไม่เสร็จ นั่นคือพา amazon เข้าสู่การเป็นธุรกิจที่ทำกำไรได้จริง ๆ เสียที แล้วจะเกิดอะไรขึ้นต่อกับ amazon เจฟฟ์ จะสามารถพา amazon ทำกำไรได้จริง ๆ เหมือนธุรกิจอื่นได้เมื่อไหร่? รับฟังกันต่อได้เลยครับผม

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3l5yezY

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/34f4pX4

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/3hzjeZNmcUU

References : https://www.thehansindia.com/technology/tech-news/how-worlds-richest-man-jeff-bezos-lost-141-billion-this-year-560853
https://www.tharadhol.com/blog-series-jeff-bezos-and-the-rise-of-amazon-com/

Space Industries กับแนวคิดการย้ายโรงงานอุตสาหกรรมไปอยู่บนอวกาศ

ดูเหมือนนิยายวิทยาศาสตร์ แต่ความคิดในการเคลื่อนย้ายอุตสาหกรรมหนักออกไปจากโลกดูเหมือนจะมีโอกาสเข้าใกล้ความจริงเข้าไปทุกที ซึ่งการจัดเก็บภาษีทรัพยากรจากดาวเคราะห์ดวงอื่นหรือดาวเคราะห์น้อยแทนการใช้ทรัพยากรที่เรามีเหลืออยู่บนโลกที่เริ่มลดน้อยถอยลงไปเรื่อย ๆ อาจจะเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างความมั่นใจว่ามนุษย์จะอยู่รอดต่อไปได้ในอนาคต จากรายงานของ DiscoverMagazine

“ระบบพลังงานแสงอาทิตย์สามารถรองรับอุตสาหกรรมทั้งหมดมากกว่าที่เรามีในโลก” ฟิล  เมทซ์ นักวิทยาศาสตร์ด้านดาวเคราะห์ที่มหาวิทยาลัยเซ็นทรัลฟลอริดา บอกกับ DiscoverMagazine “ เมื่อคุณไปสู่อารยธรรมที่กว้างใหญ่กว่าที่โลกเรามี ซึ่งสามารถรองรับอุตสาหกรรมทุกอย่างบนโลกเราได้”

เมื่อทรัพยากรบนโลกลดน้อยลงจำนวนประชากรก็เพิ่มมากขึ้น อย่างน้อยมันก็คือเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังแหล่งผลิตแห่งใหม่ของ บริษัทยักษ์ใหญ่ทั่วโลก ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา

ตัวอย่างเช่น Planetary Resources Inc. ได้สรรหาเงินทุนหลายสิบล้านดอลลาร์เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการขุดเจาะบนดาวเคราะห์น้อย แต่ปัญหาด้านการเงินทำให้ บริษัท ต้องชะลอการสำรวจดาวเคราะห์น้อยดวงแรกออกไปอย่างไม่มีกำหนด

Billionaire Blue Origin และ CEO ของ Amazon Jeff Bezos ก็มีทุกอย่างเช่นเดียวกัน

“ เหตุผลที่เราต้องไปยังอวกาศในทัศนะของผมคือเพื่อช่วยโลก” เบโซส กล่าวในระหว่างการประกาศการลงจอดบนดวงจันทร์ของ บริษัทด้านอวกาศของเขาเมื่อเดือนที่แล้ว

“ ปัญหาระยะยาวที่สำคัญมากคือพลังงานบนโลกเรากำลังจะหมด” เบโซสกล่าวในงาน “ นี่เป็นแค่ตัวเลขทางคณิตศาสตร์ และมันจะเกิดขึ้นจริง ๆ “

Blue Origin ของมหาเศรษฐี เจฟฟ์ เบซอส
Blue Origin ของมหาเศรษฐี เจฟฟ์ เบซอส

แม้แต่องค์การนาซ่ายังได้เลือกที่จะลงทุนหลายล้านดอลลาร์ในแนวคิดเทคโนโลยีที่สามารถช่วยเราสำรวจดาวเคราะห์น้อยในเทคโนโลยีของการขุดเจาะ

ไม่เพียง แต่ทรัพยากรทางกายภาพเท่านั้นที่จะสามารถเป็นทางออกสำหรับโลกเราที่มีภาระมากเกินไปในขณะนี้ สถานีพลังงานแสงอาทิตย์ในอวกาศสามารถส่งลำแสงพลังงานที่ไร้ขีด จำกัดกลับคืนสู่โลกได้เช่นกัน และเป็นแผนการที่จีนกำลังดำเนินการเพื่อนำไปใช้จริง

แต่ไม่ใช่ทุกคนที่มีความคิดเหมือนกัน: กลุ่มนักวิทยาศาสตร์มารวมตัวกันเพื่อลงนามในข้อเสนอเรียกร้องให้ระบบสุริยะนั้นได้รับการปกป้องจากการรุกรานของมนุษย์

“ ถ้าเราไม่คิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ในตอนนี้เราจะเดินหน้าต่อไปในแนวทางที่ทำลายระบบสุริยะของเรา และในอีกไม่กี่ร้อยปีเราจะต้องเผชิญกับวิกฤติที่รุนแรงยิ่งกว่าที่เรามีบนโลกนี้มากนัก” มาร์ติน เอลวิส นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์อาวุโส ที่ สมิธโซเนียน กล่าว “ เมื่อคุณใช้ประโยชน์จากระบบสุริยจักรวาลเราก็ไม่มีเหลือทางเลือกอีกต่อไปแล้ว”

ก่อนที่การสร้างการผลิตในอวกาศและการขุดจะกลายเป็นความจริง ยังมีงานอีกมากที่ต้องทำเนื่องจากนักวิทยาศาสตร์ยังอยู่ในขั้นตอนเริ่มต้นเพียงเท่านั้น โดยเมื่อ 5 ปีก่อนบริษัท Startup ในแคลิฟอร์เนียอย่าง Made In Space กลายเป็นบริษัทแรกที่พิมพ์วัตถุ 3 มิติด้วยแรงโน้มถ่วงที่เป็นศูนย์

Made In Space กับการพิมพ์ 3 มิติบนแรงโน้มถ่วงเป็นศูนย์
Made In Space กับการพิมพ์ 3 มิติบนแรงโน้มถ่วงเป็นศูนย์

โดยบริษัทเดียวกันนี้ได้ทำสัญญาครั้งสำคัญกับ NASA ในปี 2018 เพื่อพัฒนา “ระบบการผลิตโลหะไฮบริดสำหรับการสำรวจอวกาศ” โดยจะเป็นการพิมพ์ชิ้นส่วนโดยใช้โลหะเกรดอากาศยานเช่นไทเทเนียมและอลูมิเนียม

อย่างไรก็ตามความพยายามเหล่านี้ยังคงเป็นหนทางที่ยาวไกล ที่การขุดดาวบนเคราะห์น้อยสามารถรองรับอารยธรรมมนุษย์ทั้งหมดได้ในห้วงอวกาศ เราไม่ได้คิดด้วยซ้ำว่าประเทศไหนจะเป็นเจ้าของทรัพยากรเหล่านั้น ซึ่งแน่นอนว่าเป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดความไม่สบายใจทางการเมืองระหว่างประเทศ

แต่ด้วยเวลาที่กำลังจะหมดลง – การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและทรัพยากรที่ถูกทำลายอย่างรวดเร็วกำลังบังคับให้เรามองข้ามโลกที่เป็นบ้านเกิดของเรา และหวังว่าเราจะสามารถทำการเปลี่ยนแปลงสิ่งเหล่านี้ได้ก่อนที่มันจะสายเกินไปนั่นเอง

References : 
http://blogs.discovermagazine.com

โลกไร้มลพิษ! กับแนวคิดการย้ายโรงงานอุตสาหกรรมไปอยู่นอกโลก

แม้จะดูเหมือนเป็นเรื่องเพ้อฝันเหมือนนิยายวิทยาศาสตร์ แต่ความคิดในการเคลื่อนย้ายอุตสาหกรรมหนักออกไปจากโลกดูเหมือนจะเข้าใกล้ความเป็นจริงมากกว่าที่เคยมีมา

การจัดเก็บภาษีทรัพยากรจากดาวเคราะห์ดวงอื่น แทนการใช้ทรัพยาการที่มีเหลืออยู่น้อยนิดบนโลกเรา อาจจะเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างความมั่นใจว่ามนุษย์จะอยู่รอดต่อไปได้อีกนานแสนนาน ท่ามกลางทรัพยากรธรรมชาติที่กำลังถูกนำไปใช้อย่างรวดเร็ว

“พลังงานแสงอาทิตย์สามารถรองรับอุตสาหกรรมในขนาดที่ยิ่งใหญ่กว่าที่เรามีในโลก” ฟิลเมทซ์ นักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ ที่มหาวิทยาลัยเซ็นทรัลฟลอริดา บอกกล่าวว่า “ เมื่อเราก้าวไปสู่อารยธรรมที่ใหญ่กว่าระดับที่โลกสามารถรองรับได้ ดังนั้นสิ่งที่อารยธรรมที่มนุษย์เราได้สร้างมาหลายล้านปีนั้น สามารถทำมันได้เช่นกันบนดาวดวงอื่น”

การลงทุนในอวกาศ

เมื่อทรัพยากรบนโลกลดน้อยลงแถมจำนวนประชากรก็เพิ่มมากขึ้น ซึ่งนั่นคือเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังของการเกิดขึ้นของ บริษัท มากมาย ที่กำลังพยายามที่จะเป็นผู้บุกเบิกเพื่อทำการรวบรวมทรัพยากรนอกอวกาศ

ตัวอย่างเช่น Planetary Resources Inc. ได้รวบรวมเงินทุนหลายสิบล้านดอลลาร์เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการขุดบนดาวเคราะห์น้อย แต่ปัญหาด้านการเงินทำให้ บริษัท ต้องชะลอการสำรวจดาวเคราะห์น้อยดวงแรกออกไปอย่างไม่มีกำหนด

Blue Origin และ CEO ของ Amazon Jeff Bezos ก็สนใจในเรื่องเหล่านี้เช่นเดียวกัน

“ เหตุผลที่เราต้องไปยังอวกาศในทัศนะของผมคือเพื่อช่วยโลก” เบโซสกล่าวในระหว่างการประกาศการลงจอดบนดวงจันทร์ของ บริษัท อวกาศของเขาอย่าง Blue Origin เมื่อเดือนที่แล้ว

“ ปัญหาระยะยาวที่สำคัญมากคือพลังงานบนโลกของเรากำลังหมดไปเรื่อย ๆ ” เบโซสกล่าวในงาน “ ซึ่งเป็นแค่สิ่งที่มันจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในยุคของลูกหลานของเรา.”

Blue origin ของ มหาเศรษฐี เจฟฟ์ เบซอส
Blue origin ของ มหาเศรษฐี เจฟฟ์ เบซอส

แม้แต่องค์การนาซ่ายังได้เลือกที่จะลงทุนหลายล้านดอลลาร์ในแนวคิดเทคโนโลยีที่สามารถช่วยเราสำรวจในการขุดเจาะบนดาวเคราะห์น้อย

ไม่เพียง แต่ทรัพยากรที่เป็นรูปแบบทางกายภาพเท่านั้นที่จะสามารถเป็นทางออกสำหรับดาวเคราะห์ที่มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากเกินไปอย่างโลกเราได้ สถานีพลังงานแสงอาทิตย์ในอวกาศสามารถส่งพลังงานที่ไร้ขีดจำกัดได้เช่นเดียวกัน 

กรีนพีซ 2.0

แต่ไม่ใช่ทุกคนที่มีความคิดเหมือนกัน: กลุ่มนักวิทยาศาสตร์มารวมตัวกันเพื่อลงนามในข้อเสนอเรียกร้องให้มากกว่า 85 เปอร์เซ็นต์ ของระบบสุริยะได้รับการปกป้องจากการบุกรุกของมนุษย์

“ ถ้าเราไม่คิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ในตอนนี้เราจะเดินหน้าต่อไปแบบไม่ยั้งคิดและในอีกไม่กี่ร้อยปีข้างหน้าเราจะต้องเผชิญกับวิกฤติที่รุนแรงยิ่งกว่าที่เรามีบนโลกนี้มากนัก” มาร์ติน เอลวิสนักดาราศาสตร์ฟิสิกส์อาวุโส ได้นำเสนอบอกสำนักข่าวเดอะการ์เดียน“ เมื่อคุณเริ่มใช้ประโยชน์จากระบบสุริยจักรวาลสุดท้ายมันก็ไม่มีเหลืออีกแล้ว”

จุดเริ่มต้น

ก่อนที่การผลิตในอวกาศและการขุดเจาะดาวเคราะห์ต่าง ๆ จะกลายเป็นความจริง ยังมีงานอีกมากที่ต้องทำเนื่องจากตอนนี้้นักวิทยาศาสตร์ได้ทำเพียงขั้นตอนเริ่มต้นเพียงเท่านั้น เมื่อห้าปีก่อน  Made In Space ในแคลิฟอร์เนีย ได้กลายเป็น บริษัทแรกที่พิมพ์วัตถุ 3 มิติด้วยแรงโน้มถ่วงเป็นศูนย์ได้สำเร็จ

ซึ่ง Made In Space  ได้ทำสัญญาสำคัญกับ NASA ในปี 2018 เพื่อพัฒนา “ระบบการผลิตโลหะไฮบริดสำหรับการสำรวจอวกาศ” ความคิดคือการพิมพ์ชิ้นส่วนโดยใช้โลหะเกรดอากาศยานเช่นไทเทเนียมและอลูมิเนียมนั่นเอง

และหน่วยงานที่ญี่ปุ่นอย่าง JAXA เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้มีการทำการลงจอดยานอวกาศ Hayabusa2 บนดาวเคราะห์น้อยขนาดเล็ก และได้มีการวางระเบิดที่พื้นผิวเพื่อการเก็บตัวอย่างของหินบนดาวเคราะห์ดังกล่าว

อย่างไรก็ตามความพยายามเหล่านี้ยังคงเป็นหนทางที่ยาวไกลในการพัฒนาอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ทำร้ายโลกเราไปอยู่นอกอวกาส แต่เนื่องด้วยเวลาที่กำลังจะหมดลง  การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและทรัพยากรที่ถูกทำลายอย่างรวดเร็วกำลังบังคับให้เรามองข้ามดาวโลกที่เป็นบ้านเกิดของเราทุกคน และหวังว่าเราจะสามารถทำการเปลี่ยนแปลงก่อนที่ทุกอย่างมันจะสายเกินไปนั่นเองครับ

References : 
https://futurism.com/billionaires-dead-serious-space-factories

ประวัติ Elon Musk ตอนที่ 12 : Rocket Launcher

หลังจากมัสก์ ได้พาทั้ง Tesla และ SpaceX ผ่านวิกฤติครั้งสำคัญมาได้สำเร็จ มันก็ถึงเวลาที่เขาจะได้สร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่ต่อไป ที่จะเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของมนุษยชาติ เป้าหมายใหญ่ของมัสก์ สำหรับ SpaceX คือ การใช้ความก้าวหน้าทางการผลิตและพัฒนาการของแท่นปล่อยเพื่อทำให้ต้นทุนสำหรับนำสิ่งต่าง ๆ ไปยังอวกาศถูกลงจนกลายเป็นธุรกิจได้

ฟัลคอน 9 นั้นถือเป็นหน้าเป็นตาของ SpaceX จรวดที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ 9 ตัว โดยมีเครื่องหนึ่งอยู่ตรงกลาง และ อีกแปดเครื่องล้อมรอบไว้ มันได้มีการใส่ตู้สัมภาระรูปกลมสำหรับขนดาวเทียม หรือ แคปซูล ที่สามารถขนส่งมนุษย์ขึ้นอวกาศได้ 

ซึ่งรูปลักษณ์ภายในนอกของฟัลคอน 9 นั้นไม่มีอะไรฉูดฉาดเป็นพิเศษ มันคือยานอวกาศที่เทียบเท่ากับแล็ปท็อปของ apple มันเป็นเครื่องจักรที่เรียบหรูมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน สำหรับงานด้านอวกาศ

หลังการปล่อยได้ 20 วินาที ผู้ชมที่อยู่ห่างออกไปสองไมล์ จึงจะได้ยินเสียงกึกก้องแบบเต็ม ๆ หูของฟัลคอน 9 เป็นเสียงที่ไม่เหมือนใคร ราวหนึ่งนาทีให้หลังมันจะเหลือแค่จุดสีแดงบนท้องฟ้า แล้วจากนั้นก็หายวับไปในอวกาศ

ฟัลคอน 9 กับเครื่องยนต์ 9 ตัว
ฟัลคอน 9 กับเครื่องยนต์ 9 ตัว

สำหรับอีลอนมัสก์ ภาพที่น่าตื่นเต้นเหล่านี้กลายเป็นประสบการณ์ที่คุ้นชินอย่างหนึ่ง SpaceX ส่งจรวดขึ้นไปประมาณเดือนละครั้ง ขนส่งดาวเทียมให้บริษัทและชาติต่าง ๆ รวมทั้งเสบียงไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ

ตอนที่ฟัลคอน 1 พุ่งทะยานจาก ควาจนั้น มันยังเป็นผลงานของสตาร์ทอัพ ซึ่งต่างจาก ฟัลคอน 9 ที่เป็นผลงานของประเทศมหาอำนาจทางการบินและอวกาศ SpaceX สามารถตัดราคาคู่แข่งในสหรัฐของตัวเอง ทั้ง โบอิ้ง ล็อกฮีดมาร์ติน และ ออร์บิทัลไซแอนเซส ด้วยราคาที่มีส่วนต่างมากจนเหลือเชื่อ

มัสก์ได้พิสูจน์ว่า จรวดสามารถที่จะผลักดันสัมภาระขึ้นสู่อวกาศจากนั้นก็กลับมายังโลก และลงจอดอย่างแม่นยำที่สุดบนแท่นที่ลอยอยู่กลางทะเล หรือ แม้แต่แท่นปล่อยเดิมของมันเองก็ตาม

ซึ่งแทนที่จรวดจะแตกเป็นเสี่ยง ๆ หลังกระแทกลงในทะเล SpaceX ใช้เครื่องยนต์ขับดับถอยกลับค่อย ๆ ลดลงจอดอย่างนุ่มนวล และนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ซึ่งทำให้ในอนาคตนั้น SpaceX คาดไว้ว่าจะตัดราคาลงเหลือแค่ หนึ่งในสิบของคู่แข่งได้สำเร็จ

ซึ่งโมเดลการนำจรวดกลับมาใช้ใหม่นั้น มันไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน มันทำให้เกิดการลดราคาครั้งใหญ่ในอุตสาหกรรมด้านอวกาศ และมันจะกลายเป็นข้อได้เปรียบที่สำคัญที่สุดของ Spacex ที่คู่แข่งที่จะเข้ามาใหม่ยากที่จะตามทัน

ซึ่งสุดท้าย มัสก์มองว่า มันจะกลายเป็นอุตสาหกรรมใหม่ เหมือนกับสายการบินต่าง ๆ ในทุกวันนี้ ที่ใช้เครื่องบินลำเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพื่อสร้างรายได้ ซึ่ง SpaceX นั้นหวังจะยึดส่วนแบ่งการตลาดใหญ่ในการปล่อยจรวดเชิงพาณิชย์ของโลกให้ได้

ซึ่งเป้าหมายของมัสก์คงไม่ได้ไกลเกินเอื้อม ในปัจจุบันนั้น SpaceX ส่งดาวเทียมให้ลูกค้า ทั้งชาว แคนาดา ยุโรป และ เอเชีย ไปกว่า 24 ครั้ง มีลูกค้ามารอต่อคิวกับ SpaceX กว่า 50 ราย ซึ่งมีมูลค่ารวมกันกว่า 5,000 ล้านเหรียญ

SpaceX นั้นไม่ได้พึ่งพา ซัพพลายเออร์จากต่างชาติมากนัก ซึ่งเป็นโมเดลที่หลาย ๆ บริษัทมักจะทำกัน มันทำให้ง่ายที่จะเข้ามาในอุตสาหกรรมนี้ แต่ก็ทำให้ต้นทุนสูงเช่นเดียวกัน สำหรับ SpaceX นั้น นอกจากจะสร้างเครื่องยนต์ ลำตัวจรวด และแคปซูลเองแล้ว SpaceX ยังออกแบบเมนบอร์ด และแผงวงจร เซ็นเซอร์ตรวจจับการสั่นสะเทือน ซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์ รวมถึง แผงพลังงานแสงอาทิตย์ของตัวเองด้วย

SpaceX พยายามอยู่หลายปีเพื่อพิสูจน์กับ NASA ว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาตรฐานก็ดีพอที่จะสู้กับอุปกรณ์เฉพาะราคาแพงที่เชื่อกันมาในอดีต ซึ่งอุปกรณ์ของ SpaceX โดยส่วนใหญ่นั้นมักจะสร้างขึ้นจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับอุปโภคที่หาได้ทั่วไปเป็นส่วนใหญ่

ซึ่งหลาย ๆ เทคโนโลยีของ SpaceX นั้น เริ่มลอกเลียนแบบโดยคู่แข่ง โดยเฉพาะคู่แข่งทีสำคัญอย่าง Blue Origin ของ เจฟฟ์ เบซอส ซึ่งใช้วิธีการดึงคนของ SpaceX โดยเสนอเงินให้มากกว่าถึงสองเท่า มันทำให้ความสัมพันธ์ของมัสก์ และ เบซอสย่ำแย่

Blue Orign ของ เจฟฟ์ เบซอส คู่รักคู่แค้นของ มัสก์
Blue Orign ของ เจฟฟ์ เบซอส คู่รักคู่แค้นของ มัสก์

ตัวของมัสก์เองนั้น เติบโตในฐานะของ CEO และผู้เชี่ยวชาญด้านจรวด พร้อม ๆ กับที่ SpaceX ได้รับการบ่มเพาะในฐานะบริษัทจนได้ที่ ในตอนเริ่มต้นการเดินทางของ ฟัลคอน 1 ที่ SpaceX มัสก์นั้นได้เรียนรู้จากหน้างานเสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งรวมกับตำราที่เขาหามาอ่านเพื่อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับจรวดขนาดใหญ่ขึ้นมา 

และ SpaceX ไม่เคยหยุดนิ่งในการพัฒนา พวกเขายังทำการทดลองยานพาหนะใหม่ ๆ ระหว่างการปล่อยจรวดจริง ๆ ในแบบที่บริษัทอื่นไม่กล้าทำกัน หลายครั้ง SpaceX มักประกาศว่าพวกเขากำลังทดลองเครื่องยนต์ใหม่หรือขาสำหรับลงพื้นแบบใหม่

ซึ่งทั้งหมดทั้งมวล ก็ล้วนแล้วมาจากความคิดของมัสก์แทบจะทั้งสิ้น มัสก์มักจะขอให้พนักงานทำเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ และความทะเยอทะยานในการทำสิ่งใหม่ ๆ ของมัสก์ก็ไม่มีทีท่าว่าจะหมดลงไป

ตัวอย่างการปล่อยยานในเดือนธันวาคมปี 2010 ซึ่ง SpaceX ได้ส่ง ดรากอนอคปซูลไปยังวงโคจรโลกและกลับมาได้สำเร็จ  ซึ่งถือเป็นความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ของบริษัท และใคร ๆ ก็ทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยมานานหลายปีกับโครงการดังกล่าว

ดรากอน แคปซูลของ SpaceX
ดรากอน แคปซูลของ SpaceX

ซึ่งหลังจากปล่อยสำเร็จ ก็ได้มีงานเลี้ยงฉลองขึ้น แต่แทนที่จะเป็นการฉลองชัยสำหรับ SpaceX แต่มัสก์นั้นกลับต่อว่าทีมงานเป็นชั่วโมง เพราะโครงยึดหลังคาสำหรับจรวดในอนาคตล่าช้ากว่ากำหนด

แต่สุดท้ายนั้นคำถามที่ค้างคาใจของเหล่าพนักงาน SpaceX คือ เมื่อไหร่กันที่พวกเขานั้นจะได้เห็นผลตอบแทนก้อนโต หลังจากความพยายามทุ่มเทอย่างหนักให้กับ SpaceX ตลอดหลายปีที่ผ่านมา แม้พนักงาน SpaceX ส่วนใหญ่นั้นจะได้รับค่าจ้างที่ดี แต่มันก็ไม่ได้มากมายจนเกินไปเมื่อเทียบกับความทุ่มเท และความอัจฉริยะของพวกเขาเหล่านี้

ส่วนใหญ่พวกเขามาเพราะต้องการที่จะสร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่ร่วมกับมัสก์ พวกเขาเห็นวิสัยทัศน์ที่ยิ่งใหญ่ แม้จะสามารถไปทำงานที่รับเงินเดือนได้สูงกว่านี้ แต่ เป้าหมายของ SpaceX เป็นสิ่งที่ท้าทายพวกเขาให้ยืนหยัดอยู่สู้กับมัสก์ เพื่อสร้างสิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ของมนุษย์ชาติเราในเรื่องอวกาศนั่นเอง 

–> อ่านตอนที่ 13 : The Revenge of The Electric Car

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Sand Hill Road *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ