ประวัติ Blackberry อดีตราชันผู้ยิ่งใหญ่แห่งวงการมือถือโลก

ปี 1984 สองหนุ่มคู่หูวิศวกรต่างมหาวิทยาลัยอย่าง Mike Lazaridis นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งวอเตอร์ลู และ Douglas Fregin นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแห่งวินเซอร์  ร่วมกันเปิดบริษัทชื่อ Research In Motion (RIM)

โดยที่ในช่วง 4 ปีแรกของการก่อตั้งบริษัทนั้น ทั้งสองได้สร้างบริการสำหรับรับส่งข้อมูลขนาดสั้นผ่านเครือข่ายไร้สาย เลียนแบบ Walkie – Talkie ซึ่งบริษัท RIM ที่ทั้งสองเป็นผู้ก่อตั้งนั้น ยังกลายเป็นบริษัทแรกนอกเขตสแกนดิเนเวียที่พัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับการเชื่อมต่อให้กับระบบเครือข่ายการสื่อสารข้อมูลแบบแพ็กเกตสวิตชิ่งไร้สาย ซึ่งลูกค้ากลุ่มแรก ๆ ของพวกเขานั้นเป็นองค์กรของรัฐบาล เช่น ทหาร ตำรวจ ตำรวจดับเพลิง และโรงพยาบาล

เมื่อผ่านมาถึงปี 1996 RIM ได้ออกเพจเจอร์ของตัวเอง ชื่อ RIM Inter@ctive 900 เป็นเพจเจอร์แบบที่มีจอที่สามารถพับได้เครื่องแรกที่มีแผงปุ่มกดติดมาด้วย ทำให้คู่สนทนาทั้ง 2 ฝ่ายนั้นสามารถที่จะส่งข้อความหากันเองได้โดยที่ไม่ต้องโทรเข้าไปฝากข้อความกับโอเปอร์เรเตอร์เหมือนในอดีต

RIM Inter@ctive 900 นวัตกรรมใหม่ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในขณะนั้น
RIM Inter@ctive 900 นวัตกรรมใหม่ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในขณะนั้น

ซึ่งนี่เองที่ได้กลายเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในยุโรปและอเมริกา ทำให้ RIM ได้ออกเพจเจอร์ตามมาอีกหลายๆ รุ่น ทำให้ปีต่อมา (1997)  RIM ได้เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ของโตรอนโตในประเทศแคนาดา และสามารถที่จะระดมเงินทุนได้กว่า 3,680 ล้านบาท

แบล็คเบอร์รี่ (BlackBerry) เป็นสมาร์ตโฟนและโทรศัพท์มือถือที่ถูกสร้างขึ้นโดย บริษัทแบล็คเบอร์รี่จำกัด (BlackBerry Limited) ซึ่งเดิมก็คือ บริษัทรีเสิร์ชอินโมชั่น (Reserch in Motion Limited – RIM) นั่นเอง โดย Blackberry เครื่องแรกนั้นได้การเริ่มผลิตขึ้นในปี 1999 โดยมีลักษณะเป็นเพจเจอร์แบบสองทาง


ส่วนของมือถือ BlackBerry เครื่องแรกที่มาพร้อมกับแผงปุ่มกด QWERTY เหมือนบนคีย์บอร์ดบนคอมพิวเตอร์ ถูกเปิดตัวขึ้นในปี 2002 ในชื่อรุ่น Blackberry 6710 และตลอดเวลาที่มีการผลิตมือถือ โดยส่วน User Interface ที่โด่งดังและเป็นที่นิยมที่สุดของ BlackBerry คือแป้นพิมพ์แบบ QWERTY ขณะที่ BlackBerry รุ่นใหม่ ๆ จะใช้ส่วนประสานงานผู้ใช้แบบหน้าจอสัมผัสและคีย์บอร์เสมือนดังเช่น iPhone

BlackBerry สามารถ่ายรูปและวิดีโอ รวมถึงเล่นเพลงได้ นอกจากนั้นยังตอบสนองการใช้งานด้านอีเมล์ เว็บเบราว์เซอร์ เมสเซนเจอร์ โดยเฉพาะ BlackBerry Messenger ซึ่งบริษัท BlackBerry เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ และเคยเป็นที่นิยมของผู้ใช้ทั่วโลก

ฉีกกรอบมือถือเดิม ๆ ด้วยนวัตกรรมคีย์บอร์ด QWERTY
ฉีกกรอบมือถือเดิม ๆ ด้วยนวัตกรรมคีย์บอร์ด QWERTY

ในปี 2011 BlackBerry กินส่วนแบ่งตลาด โทรศัพท์มือถือ ทั่วโลกได้ถึง 3% กลายเป็นผู้ผลิตโทรศัพท์มือถืออันดับ 6 ของโลก ระบบอินเทอร์เน็ตของBlackBerry เปิดให้บริการใน 91 ประเทศ ทั่วโลก ภายใต้ผู้ให้บริการเครือข่ายกว่า 500 ราย ในเดือนกันยายน ปี 2012 มีผู้ใช้ BlackBerry ถึง 80 ล้านเครื่องทั่วโลก

โดยผู้คนกลุ่มประเทศแคริบเบียนและละตินอเมริกาใช้แบล็คเบอร์รี่มากที่สุด คิดเป็น 45% ของจำนวนเครื่อง BlackBerry ที่มีจำหน่ายทั้งหมดทั่วโลก แม้กระทั่งประธานาธิบดีสหรัฐอย่าง บารัก โอบามา ก็ใช้งาน BlackBerry เป็นมือถือเครื่องหลักของเขา

แต่สุดท้ายแล้ว BlackBerry ก็ตัดสินใจไปมุ่งเน้นการพัฒนาซอฟต์แวร์บนสมาร์ทโฟนมากกว่าการพัฒนาตัวอุปกรณ์ และจะส่งต่อส่วนธุรกิจการผลิตสมาร์ทโฟนให้กับแบรนด์ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนรายอื่นรับช่วงไปแทน

สุดท้ายเดิมพันดังกล่าวก็ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง รายได้ของทางบริษัทมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี  2010 ซึ่ง ณ เวลานั้นถือเป็นจุดสูงสุดของความนิยมในมือถือ BlackBerry รวมถีง แอพพลิเคชั่นแชท BlackBerry Messenger และระบบอีเมลเทคโนโลยีขั้นสูงทำให้เกิดกระแสฮิตในหมู่กลุ่มผู้ใช้งานหนุ่มสาวและผู้ใช้งานเชิงธุรกิจ แม้กระทั่งในประเทศไทยเอง Blackberry ก็กลายเป็นมือถือยอดนิยมอยู่ชั่วขณะหนึ่งเลยด้วยซ้ำ

จนกระทั่งการเกิดขึ้นของ iOS ของ Apple และ Android ของ Google ที่มาพร้อมแอพพลิเคชั่นนับล้านและระบบทัชสกรีนเต็มรูปแบบก็ทำให้ผู้ใช้งานทั่วโลก มอง BlackBerry ว่าอุปกรณ์ของพวกเขา เป็นสิ่งที่ล้าสมัยไปเสียแล้ว และ Blackberry Messenger อาวุธหลักของพวกเขาก็ไม่สามารถดึงดูดใจได้อีกต่อไปเมื่อมีการเกิดขึ้นของ Chat Platform ใหม่ที่ใช้งานทุกอย่างได้ฟรี อย่าง Whatsapp

แม้ว่าในปี 2012  Blackberry จะพยายามกอบกู้สถานการณ์ด้วยการเข็นผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาดทั้ง BlackBerry Q10, Z10และล่าสุด Z30 แต่ยอดขายโดยรวมยังลดลงอย่างต่อเนื่อง สมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ๆของ Blackberry นั้นถูกวิจารณ์อย่างหนักว่าเป็นการปรับเปลี่ยนเฉพาะการออกแบบรูปลักษณ์และเพิ่มลักษณะพิเศษในการใช้งาน

แม้จะพยายามออกรุ่นใหม่เป็นมือถือแบบทัชสกรีน แต่มันก็สายไปเสียแล้วสำหรับ Blackberry
แม้จะพยายามออกรุ่นใหม่เป็นมือถือแบบทัชสกรีน แต่มันก็สายไปเสียแล้วสำหรับ Blackberry

แต่มันได้ขาด “นวัตกรรม” ใหม่ๆ และผู้บริหารของบริษัทก็ถูกมองว่ายึดติดกับความสำเร็จในช่วงต้นศตวรรณที่ 21 ที่ Blackberry เคยเขย่าวงการสมาร์ทโฟนในฐานะเครื่องมือสำหรับนักธุรกิจอย่างไร้คู่แข่งมากจนเกินไป

ซึ่งในท้ายที่สุดแล้วนั้น สมาร์ทโฟนภายใต้แบรนด์ BlackBerry ก็เหลือแค่เพียง “ตำนาน” หน้าหนึ่งที่เคยบันทึกไว้ในวงการธุรกิจมือถือว่าเคยเป็นดาวรุ่งพุ่งแรง แต่ตอนนี้แทบจะไม่เหลือพื้นที่ยืนบนตลาดมือถือโลก เหมือนดั่งที่เราได้เห็นในปัจจุบันนั่นเองครับ

References : 
https://www.wikipedia.org
https://www.pocket-lint.com/phones/news/137319-farewell-blackberry-os-here-are-the-23-best-blackberry-phones-that-changed-the-world
https://www.silicon.co.uk/e-innovation/science/tales-tech-history-blackberry-223557

Smartphone War ตอนที่ 1 : Phone & Microsoft

Nokia ถือเป็นผู้บุกเบิกตัวจริงของแนวความคิดเกี่ยวกับ Smartphone ซึ่งคือการสร้างโทรศัพท์มือถือ ที่ทำได้มากกว่าแค่การโทรศัพท์ ซึ่ง แน่นอนว่าต้องทำงานได้เหมือนกับคอมพิวเตอร์แบบมือถือ ที่สามารถทำงานด้วยโปรแกรมของตัวเองได้ และใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด เนื่องจากต้องมีการพกพาอยู่ตลอดเวลา

Nokia ได้เริ่มสร้าง ระบบปฏิบัติการของตัวเอง และ สามารถทำให้ มือถือสามารถท่องเว๊บ และจัดการ Email สำหรับเหล่านักธุรกิจได้ ซึ่ง Nokia ได้ผลิตรุ่นแรกที่เป็น Smartphone ออกมาจริง  ๆ ก็คือรุ่น Nokia Communicator ที่ปล่อยออกมาในช่วงปี 1996 และเพียงแค่ปีเดียวเท่านั้น เนื่องจากยังไม่มีใครเข้ามาแข่งขันในตลาดนี้ ถือว่าเป็นตลาดใหม่ที่ใน ปี 1997 Nokia สามารถขาย Smartphone ไปได้กว่า 80 ล้านเครื่องทั่วโลก เพียงแค่ปีแรกที่ได้ผลิต Smartphone ออกมาเท่านั้น

Nokia Communicator กับการเป็น Smartphone เครื่องแรกของโลก
Nokia Communicator กับการเป็น Smartphone เครื่องแรกของโลก

และเพียงไม่นาน Nokia ก็เจอคู่แข่งรายแรก ซึ่งก็คือ Palm ซึ่งเริ่มต้นจากการผลิตคอมพิวเตอร์มือถือก่อน แล้วค่อยทำการใส่ฟังก์ชั่นของการโทรศัพท์เข้าไป ซึ่งถือว่าเป็นการเริ่มต้นคนละแบบกับ Nokia อย่างสิ้นเชิงเลยก็ว่าได้

แต่ปัญหาใหญ่ของ Plam ก็คือ การมีระบบปฏิบัติการที่ค่อนข้างล้าสมัยมาก ส่วนใหญ่จะทำงานได้ดีกับ PDA ที่ไม่มีฟังก์ชั่นการโทรศัพท์มากกว่า เพราะ Palm ถนัดในเรื่องนี้มากกว่านั่นเอง ซึ่งทำให้ ปี 2004 ผู้บริหารของ Palm เริ่มคิดถึงอนาคตว่า Palm คงก้าวต่อไปข้างหน้าไม่ได้ ต้องมีการหา Partner โดยด่วน

ซึ่ง Palm นั้นได้สร้างแนวคิดแรกของเครื่อง PDA ที่เปรียบเสมือคอมพิวเตอร์แบบพกพาขนาดเล็กมากกว่า และด้วยการที่ตลาดของ PDA ที่เริ่มหดตัวลงเรื่อย ๆ โทรศัพท์มือถือต่างเริ่มใส่ Features ต่าง ๆ เช่น ปฏิทิน และ แม้แต่การเช็ค Email เข้าไป มันทำให้อนาคตของ PDA นั้นเริ่มมืดมนลงไปทุกทีด้วยนั่นเอง

Palm ที่ในขณะนั้น สร้าง PDA ออกมาขายดิบขายดี
Palm ที่ในขณะนั้น สร้าง PDA ออกมาขายดิบขายดี

และนี่เองก็เป็นที่มาของการเข้ามาร่วมมือกันระหว่าง Palm และ Microsoft ในปี 2005 ซึ่งแน่นอนว่าสำหรับบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Microsoft นั้นการได้ Palm เข้ามาร่วมมือ ถือเป็นหลักชัยครั้งยิ่งใหญ่ของบริษัท ในการที่จะเป็นผู้กำชัยในตลาดมือถือนั่นเอง

ซึ่ง Microsoft ได้มีการออกระบบปฏิบัติการ Windows Mobile มาก่อนหน้านั้นแล้ว แต่ถือว่ายังไม่สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เนื่องจาก Microsoft นั้นไม่ถนัดได้ตลาดมือถือ หรือ อุปกรณ์พกพา เพราะตัว Windows หลักเองก็ใช้งานกับ PC ที่มีประสิทธิภาพสูงซะเป็นส่วนใหญ่นั่นเอง

ซึ่งการร่วมมือกันครั้งนี้ Palm ได้รับการอนุญาติให้มีการปรับแต่ง Interface กับ Features บางอย่างของ Windows Mobile ได้ เช่น การไม่ต้องรับสายที่เข้ามาแทนการส่งข้อความไปหาคนที่โทรเข้า หรือ ฟังก์ชั่นในการจัดการ Voicemail ให้ง่ายขึ้นเป็นต้น

ซึ่งเหล่าผู้บริหารของ Palm นั้นหันมา Focus ใหม่กับ Windows Mobile ของ Microsoft แทนการพัฒนาระบบปฏิบัติการด้วยตัวเองเหมือนเดิม รวมถึง ไม่สนใจที่จะใช้ระบบปฏิบัติการ Symbian ที่เป็น Open Source แต่มี Nokia เป็นพี่ใหญ่ในการหนุนหลังอยู่

ซึ่งแน่นอน ถือว่าเป็นการเดินเกมที่ถูกต้องอย่างยิ่งสำหรับทั้ง Palm และ Microsoft ในการร่วมมือกันครั้งนี้ เพราะเป็นการผสมผสานที่ลงตัวระหว่างความถนัดของทั้งสอง เพื่อพัฒนาระบบปฏิบัติการ รวมถึง Features ที่ให้ประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน Windows Mobile นั่นเอง

ซึ่งในขณะนั้น ถือเป็นยุครุ่งเรืองสุดขีดของความร่วมมือระหว่างทั้งสอง เพราะ ระบบปฏิบัติการ Windows Mobile กลายเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็ว และ เหล่านักธุรกิจต่าง ๆ นั้นก็เลือกใช้ Windows Mobile เสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งแตกต่างจากผู้ใช้งานทั่วไปที่จะใช้ มือถือของ Nokia 

และที่สำคัญที่สุดก็คือ Ecosystem ของ Windows Mobile นั้นกำลังแจ้งเกิดอย่างสวยงาม เพราะมีเหล่านักพัฒนา Software บนมือถือ มากกว่า 10,000 รายที่กำลังร่วมกันเขียน Application ที่จะใช้กับ Windows Mobile ซึ่งเป็นจุดที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้สำหรับระบบปฏิบัติการมือถือที่จะแจ้งเกิดได้ เหมือนกับที่เราเห็นกับ iOS หรือ Android ในปัจจุบัน ที่เมื่อสามารถจูงใจนักพัฒนาได้นั้น ก็สามารถทำให้ ผู้คนหันมาใช้งาน เพราะคนส่วนใหญ่เลือกใช้งานตาม Application ที่มีในระบบปฏิบัติการเป็นหลักนั่นเอง

ซึ่ง ณ ปี 2006 Microsoft Windows Mobile นั้นถือได้ว่าอยู่จุดสูงสุดของ Ecosystem ของ ระบบปฏิบัติการมือถือ กำลังที่จะกลายเป็นระบบปฏิบัติการมือถือ ที่คนใช้งานทั่วโลกได้ เหมือนที่ Microsoft สามารถทำได้กับ Windows on PC ซึ่งตอนนั้น ถือได้ว่าได้นำหน้าทั้ง Symbian ของ Nokia หรือน้องใหม่อย่าง RIM ผู้ผลิต Blackberry จากแคนาดา

แล้วมันเกิดอะไรขึ้น Microsoft ที่ควรจะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในระบบปฏบัติการของ Smartphone ทั่วโลก และในตอนนั้นมี Partner ที่สำคัญอย่าง Palm เข้ามาเสริมทัพ กลับกลายเป็น ต้อง สูญหายไปจากระบบปฏิบัติการมือถือโลกอย่างที่เราได้เห็นในทุกวันนี้ โปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 2 : Android & Google

Goodbye BBM! Blackberry ประกาศยุติบริการแล้ว

เมื่อเดือนที่แล้ว Emtek ประกาศยุติบริการ BlackBerry Messenger (BBM) สำหรับผู้บริโภคเป็นที่เรียบร้อยแล้ว บริการส่งข้อความที่ครั้งหนึ่งเคยยิ่งใหญ่มี การทำงานที่ดีถูกใจผู้ใช้งานทั่วโลก และยังสามารถพา Blackberry พุ่งขึ้นไปเป็นมือถืออันดับต้น ๆ ของโลกได้

การเปิดตัวในปี 2005 หลังจากได้รับความนิยมสุดขีด จนการก้าวเข้ามาของ iPhone และ App Messenger อย่าง Whatsapp ก็ทำให้ BBM เริ่มเสื่อมถอยลงไปอย่างรวดเร็ว จนตอนหลัง ถูกขายให้กับกลุ่ม บริษัทเทคโนโลยีของอินโดนีเซียอย่าง Emtek และได้ดำเนินบริการต่อมาอีก 11 ปี

ซึ่งกาลเวลามันได้พิสูจน์ แล้วว่า เวลาหลายปีที่ BBM ได้รับการยกย่องว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่แข็งแกร่งที่สุดของ BlackBerry (Research in Motion) โดยมีผู้ใช้งานที่เป็นแฟนพันธ์แท้บางรายละทิ้งอุปกรณ์ Android และ iOS เพื่อมาใช้ Blackberry 

แต่ท้ายที่สุดการแข่งขันก็พิสูจน์แล้วว่ามันถึงเวลาของ BBM ที่ต้องจากลาแล้ว ด้วยเทคโนโลยีและโลกเคลื่อนห่างออกไปจาก BBM และ BlackBerry ขึ้นเรื่อย ๆ  ดูเหมือนว่าของตอนนี้ผลตอบแทนมันจะไม่คุ้มต้นทุนการดำเนินการของบริษัทอีกต่อไป

“ เราเทใจของเราอย่างเต็มร้อยและเราภูมิใจในสิ่งที่เราสร้างขึ้นมา” Emtek เขียนในบล็อกโพสต์เมื่อเดือนที่แล้ว “ อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมเทคโนโลยีมีการแข่งขันสูงมากและถึงแม้จะมีความพยายามอย่างมากของเราเพื่อรั้งผู้ใช้ไว้ให้ได้นานที่สุด แต่ผู้ใช้ก็ย้ายไปยังแพลตฟอร์มอื่น ๆ ในขณะที่ผู้ใช้ใหม่นั้นเริ่มมองได้ยากเต็มที”

เหล่าแฟนพันธ์แท้ยังคงสามารถดาวน์โหลดไฟล์ภาพถ่ายและวิดีโอจากบริการได้ในวันนี้ ก่อนที่พวกเขาจะลบทิ้งให้หายไปตลอดกาล แต่ส่วนของ BBM Enterprise จะยังใช้งานต่อไปสำหรับผู้ใช้ทางธุรกิจ แต่การบอกลาของรุ่นผู้ใช้งานทั่วไป น่าจะบอกได้ว่าเป็นจุดสิ้นสุดของยุคที่สำคัญสำหรับสมาร์ทโฟนอย่าง Blackberry แล้วนั่นเองครับ

แล้วเพื่อน ๆ ล่ะ ยังจำความรู้สึกตอนยังใช้ BBM กันได้หรือไม่?

References : 
https://techcrunch.com/2019/05/31/goodbye-blackberry-messenger/

Ark OS กับชีวิตหลัง Android ของ Huawei

จากข่าวใหญ่ที่ว่า Huawei อาจสูญเสียการเข้าถึงแพลตฟอร์ม Android ของ Google ซึ่งทำให้ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนจากจีนจำเป็นต้องมีระบบปฏิบัติการใหม่สำหรับโทรศัพท์มือถือในอนาคตและตอนนี้ชื่อของระบบปฏิบัติการใหม่ได้ถูกเปิดเผยออกมาแล้ว

ดูเหมือนว่า Huawei จะมีเครื่องหมายการค้าสองสามชื่อในยุโรปโดยมีแอพพลิเคชั่นที่เป็นพาดหัวข่าวของ Android ซึ่งชี้ไปที่ระบบปฏิบัติการใหม่ซึ่งถูกเรียกว่า Huawei Ark OS

ในความเป็นจริงมีหลายชื่อที่ Huawei มีเครื่องหมายการค้าอยู่รอบชื่อเล่นนี้รวมถึง “Huawei Ark”, “Ark” และ “Ark OS” ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงว่า Ark OS นั้นจะเป็นระบบปฏิบัติการใหม่ของ Huawei ที่แอบซุ่มทำมานาน

การทำงานในระบบปฏิบัติการใหม่

สัญญาณค่อนข้างชัดเจนแล้วว่าหัวเว่ยกำลังสร้างระบบปฏิบัติการมือถือของตัวเอง ในกรณีที่มีการสั่งห้ามยังไม่มีทีท่าว่าจะจบลงง่าย ๆ ดังนั้นข่าวที่เกี่ยวกับชื่อของระบบปฏิบัติการที่เป็นไปได้ที่หัวเว่ยได้ทำการจดเครื่องหมายการค้านั้นเป็นส่งที่ไม่น่าแปลกใจเลย 

แม้จะไม่มีการรับประกันว่า Ark OS จะเกี่ยวข้องกับแพลตฟอร์มมือถือใหม่ของ บริษัท แต่ช่วงเวลานี้ ดูเหมือนเรื่องดังกล่าวจะมีโอกาสเป็นไปได้สูงมาก โดยมีรายงานว่าระบบปฏิบัติการใหม่นี้อาจพร้อมสำหรับการเปิดตัวก่อนสิ้นปีนี้

ภาพหลุด Ark OS ที่เป็นระบบปฏิบัติการในอนาคตของ Huawei
ภาพหลุด Ark OS ที่เป็นระบบปฏิบัติการในอนาคตของ Huawei (ที่มา: Huawei Central)

ยังไม่ชัดเจนว่าปัญหาเรื่องสงครามการค้าจะเป็นจุดจบอย่างเป็นทางการของการเป็นพันธมิตรกับ Android ของ Huawei หรือหาก Google กลับมาในภายหลังหากมีการเจรจากันได้สำเร็จ  แต่ตอนนี้บริษัทจีนมีแนวโน้มที่จะเลิกใช้ Android อย่างถาวรสูง เพื่อลดความเสี่ยง และหันไปในแนวทางที่จะเป็นเจ้าของระบบปฏิบัติการเสียเอง

เราได้เห็นระบบปฏิบัติการมือถือทางเลือกจำนวนมากพยายามที่จะเข้ามาแข่งขัน ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเช่น Windows Phone, BlackBerry OS, Sailfish OS, Ubuntu สำหรับสมาร์ทโฟน และ Firefox OS – พิสูจน์ได้ว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะแข่งขันกับผู้เล่นรายใหญ่อย่าง Android และ iOS

ความล้มเหลวที่สำคัญของระบบปฏิบัติการทางเลือกเหล่านี้คือการขาดแอพพลิเคชั่นและหาก Huawei มีความหวังว่าจะมีแพลตฟอร์มใหม่ที่อยู่นอกประเทศบ้านเกิดของตน พวกเขาจะต้องแน่ใจว่าได้รองรับแอพหลัก ๆ ที่เหล่าลูกค้าทั่วโลกใช้งานอยู่ – ซึ่งมันคงจะไม่เป็นเรื่องง่าย ๆ เลยทีเดียว เหมือนที่หลายๆ ระบบปฏิบัติการเคยลองมาแล้ว และไม่สำเร็จนั่นเอง

References : 
https://www.techradar.com/news/huawei-may-be-building-an-ark-os-as-it-prepares-for-life-after-android