Geek Book EP29 : Losing the Signal กับเรื่องราวเบื้องหลังการผงาดขึ้นสู่จุดสูงสุดวงการสมาร์ทโฟนของ BlackBerry

เป็นเรื่องราวที่สุดมันส์ของบริษัทที่โค่นยักษ์ใหญ่ระดับโลกก่อนที่จะยอมจำนนต่อกองกำลังที่โหดเหี้ยมจาก Silicon Valley ที่นำโดย Steve Jobs แห่ง Apple ตัวอย่างของความล้มเหลวในธุรกิจสมัยใหม่ การวางกลยุทธ์ที่พลาดพลั้งในธุรกิจที่กำลังกลายเป็นตลาดขนาดยักษ์ ที่สามารถทำให้องค์กรล่มสลายได้

Losing the Signal ได้เปิดเผยเรื่องราววงในของการผงาดขึ้นของบริษัทที่เริ่มต้นจากร้านขายเบเกิลในออนแทรีโอ หัวใจหลักของหนังสือเล่มนี้คือ คือการร่วมงานกันที่ไม่น่าเป็นไปได้ระหว่างวิศวกรผู้มีวิสัยทัศน์อย่าง Mike Lazaridis และ Jim Balsillie ผู้สำเร็จการศึกษาจาก Harvard Business School พวกเขาได้ร่วมกันออกแบบอุปกรณ์อีเมลพกพารุ่นบุกเบิกที่กลายเป็นเครื่องมือที่ประธานาธิบดีและซีอีโอระดับท็อปต่างเลือกใช้  และการเติบโตที่ไร้ซึ่งระเบียบแบบแผนทำให้บริษัทกลายเป็นอัมพาตเมื่อเผชิญกับบททดสอบที่โหดเหี้ยมที่สุด นั่นคือ การเข้ามาของ Apple และ Google ในโทรศัพท์มือถือ

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
http://bit.ly/3MzM7r5

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
http://bit.ly/3KOtP3d

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/411fYgw

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
http://bit.ly/3o4E5MU

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/18Cfg8cAlY0

BlackBerry กับยุครุ่งเรืองที่กลายเป็นสิ่งเสพติดสำหรับสภาคองเกรส

ถามว่าหนึ่งในจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญที่ทำให้ BlackBerry กลายเป็นอุปกรณ์ที่ยอดฮิตสำหรับชาว อเมริกาเกิดขึ้นเมื่อใด ต้องบอกว่า สภาคองเกรส ของสหรัฐถือเป็นอีกหนึ่งตัวแปรที่สำคัญในการเจาะตลาดอเมริกาได้สำเร็จของ BlackBerry

ต้องย้อนกลับไปที่เหตุการณ์ 9/11 ที่อเมริกาถูกโจมตี ที่ตอนนั้นมีแทบจะเครือข่ายเดียวที่สามารถติดต่อกับภายนอกได้นั่นก็คือ BlackBerry แม้ว่า email จะมีความล่าช้าด้วยความแออัดของเครือข่าย แต่ email เหล่านั้น ก็เข้าคิวและส่งในไม่กี่วินาทีต่อมา ซึ่งล้วนเป็น สิ่งสำคัญที่ คนที่อยู่ในตึกต้องการส่ง message ไปหาคนที่เค้ารัก

หลังจาเหตุการณ์ 9/11 ทำให้ หน่วยงานดับเพลิง รวมทั้งหน่วยงานรัฐบาลกลางสหรัฐ เข้ามาลงชื่อเพื่อใช้งาน BlackBerry กันอย่างกว้างขวาง

ในสภาคองเกรส ที่ BlackBerry สามารถบุกเข้ามาได้อย่างจริงจัง ครั้งแรก เมื่อนักการเมือง และพนักงานทุกคนได้รับอุปกรณ์ และผู้แนะนำก็ได้ชักชวนสมาชิกรัฐสภาและผู้ทำธุรกิจในวอชิงตันก็ทำตาม

และมันได้ทำให้ Capitol Hill กลายเป็นมหานครแห่งแรกของ BlackBerry

BlackBerry เจาะสภาคองเกรสได้สำเร็จด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย
BlackBerry เจาะสภาคองเกรสได้สำเร็จด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย

และด้วยความโชคดีที่เครื่องบินที่จะมาโจมตีรัฐสภา นั้นตกไปเสียก่อน ทำให้ Fred Upton ตัวแทนจากรัฐมิชิแกน ซึ่งเป็นเจ้าของ BlackBerry อยู่แล้ว เป็นหนึ่งในไม่กี่คนที่สามารถรับข้อความเข้าออกได้ในช่วงที่เกิดความโกลาหล

และนั่นเองที่ทำให้เป็นสาเหตุให้ BlackBerry กลายเป็นบริการที่มีชื่อเสียงในด้านความปลอดภัยในสหรัฐอเมริกาทันที

เมื่อเผชิญกับหลากหลายวิกฤติในยุคนั้น ทำให้ รัฐสภาสหรัฐได้ทุ่มเงิน 6 ล้านดอลลาร์ เพื่อซื้อ BlackBerry Enterprise Servers และ อุปกรณ์อีกกว่า 3,000 ตัว สำหรับสมาชิกวุฒิสภาทั้ง 100 คน สมาชิกสภา 435 คน และ เจ้าหน้าที่อีกหลายพันคน และไม่มีขู่แข่งอื่นๆ เลยที่จะมาสู้ในการเข้าสู่คองเกรส ครั้งนี้ของ BlackBerry

และไม่นาน BlackBerry ก็ได้กลายเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่ เหล่าสมาชิกในสภาคองเกรสเสพติดอย่างหนัก ภายในเวลาไม่กี่ปี สภาคองเกรส ได้ ติดตั้งมากกว่า 8,200 เครื่อง และ Server ของรัฐสภา ต้องจัดการกับข้อความและอีเมล มากกว่า 25 ล้านข้อความต่อเดือน

และจากนั้น BlackBerry ก็ได้กลายเป็นสิ่งสำคัญของรัฐสภาอย่างรวดเร็ว จนถึงขนาดที่ว่า อดีตประธานาธิบดี บารัก โอบามา ก็ใช้เครื่องมือของ BlackBerry เป็นอุปกรณ์สื่อสารหลักนับจากนั้นเป็นต้นมานั่นเองครับผม

References : https://www.popularmechanics.com/technology/gadgets/a21636/blackberry-use-ending-on-capitol-hill/
https://www.blackberry.com/us/en/company/newsroom/press-releases/2016/blackberry-software-selected-for-u-s–senate-crisis-communications-on-capitol-hill
https://digital.hbs.edu/platform-digit/submission/blackberrys-fall-from-grace/
https://www.gettyimages.com/photos/senator-blackberry

ประวัติ Blackberry อดีตราชันผู้ยิ่งใหญ่แห่งวงการมือถือโลก

ปี 1984 สองหนุ่มคู่หูวิศวกรต่างมหาวิทยาลัยอย่าง Mike Lazaridis นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งวอเตอร์ลู และ Douglas Fregin นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแห่งวินเซอร์  ร่วมกันเปิดบริษัทชื่อ Research In Motion (RIM)

โดยที่ในช่วง 4 ปีแรกของการก่อตั้งบริษัทนั้น ทั้งสองได้สร้างบริการสำหรับรับส่งข้อมูลขนาดสั้นผ่านเครือข่ายไร้สาย เลียนแบบ Walkie – Talkie ซึ่งบริษัท RIM ที่ทั้งสองเป็นผู้ก่อตั้งนั้น ยังกลายเป็นบริษัทแรกนอกเขตสแกนดิเนเวียที่พัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับการเชื่อมต่อให้กับระบบเครือข่ายการสื่อสารข้อมูลแบบแพ็กเกตสวิตชิ่งไร้สาย ซึ่งลูกค้ากลุ่มแรก ๆ ของพวกเขานั้นเป็นองค์กรของรัฐบาล เช่น ทหาร ตำรวจ ตำรวจดับเพลิง และโรงพยาบาล

เมื่อผ่านมาถึงปี 1996 RIM ได้ออกเพจเจอร์ของตัวเอง ชื่อ RIM Inter@ctive 900 เป็นเพจเจอร์แบบที่มีจอที่สามารถพับได้เครื่องแรกที่มีแผงปุ่มกดติดมาด้วย ทำให้คู่สนทนาทั้ง 2 ฝ่ายนั้นสามารถที่จะส่งข้อความหากันเองได้โดยที่ไม่ต้องโทรเข้าไปฝากข้อความกับโอเปอร์เรเตอร์เหมือนในอดีต

RIM Inter@ctive 900 นวัตกรรมใหม่ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในขณะนั้น
RIM Inter@ctive 900 นวัตกรรมใหม่ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในขณะนั้น

ซึ่งนี่เองที่ได้กลายเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในยุโรปและอเมริกา ทำให้ RIM ได้ออกเพจเจอร์ตามมาอีกหลายๆ รุ่น ทำให้ปีต่อมา (1997)  RIM ได้เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ของโตรอนโตในประเทศแคนาดา และสามารถที่จะระดมเงินทุนได้กว่า 3,680 ล้านบาท

แบล็คเบอร์รี่ (BlackBerry) เป็นสมาร์ตโฟนและโทรศัพท์มือถือที่ถูกสร้างขึ้นโดย บริษัทแบล็คเบอร์รี่จำกัด (BlackBerry Limited) ซึ่งเดิมก็คือ บริษัทรีเสิร์ชอินโมชั่น (Reserch in Motion Limited – RIM) นั่นเอง โดย Blackberry เครื่องแรกนั้นได้การเริ่มผลิตขึ้นในปี 1999 โดยมีลักษณะเป็นเพจเจอร์แบบสองทาง


ส่วนของมือถือ BlackBerry เครื่องแรกที่มาพร้อมกับแผงปุ่มกด QWERTY เหมือนบนคีย์บอร์ดบนคอมพิวเตอร์ ถูกเปิดตัวขึ้นในปี 2002 ในชื่อรุ่น Blackberry 6710 และตลอดเวลาที่มีการผลิตมือถือ โดยส่วน User Interface ที่โด่งดังและเป็นที่นิยมที่สุดของ BlackBerry คือแป้นพิมพ์แบบ QWERTY ขณะที่ BlackBerry รุ่นใหม่ ๆ จะใช้ส่วนประสานงานผู้ใช้แบบหน้าจอสัมผัสและคีย์บอร์เสมือนดังเช่น iPhone

BlackBerry สามารถ่ายรูปและวิดีโอ รวมถึงเล่นเพลงได้ นอกจากนั้นยังตอบสนองการใช้งานด้านอีเมล์ เว็บเบราว์เซอร์ เมสเซนเจอร์ โดยเฉพาะ BlackBerry Messenger ซึ่งบริษัท BlackBerry เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ และเคยเป็นที่นิยมของผู้ใช้ทั่วโลก

ฉีกกรอบมือถือเดิม ๆ ด้วยนวัตกรรมคีย์บอร์ด QWERTY
ฉีกกรอบมือถือเดิม ๆ ด้วยนวัตกรรมคีย์บอร์ด QWERTY

ในปี 2011 BlackBerry กินส่วนแบ่งตลาด โทรศัพท์มือถือ ทั่วโลกได้ถึง 3% กลายเป็นผู้ผลิตโทรศัพท์มือถืออันดับ 6 ของโลก ระบบอินเทอร์เน็ตของBlackBerry เปิดให้บริการใน 91 ประเทศ ทั่วโลก ภายใต้ผู้ให้บริการเครือข่ายกว่า 500 ราย ในเดือนกันยายน ปี 2012 มีผู้ใช้ BlackBerry ถึง 80 ล้านเครื่องทั่วโลก

โดยผู้คนกลุ่มประเทศแคริบเบียนและละตินอเมริกาใช้แบล็คเบอร์รี่มากที่สุด คิดเป็น 45% ของจำนวนเครื่อง BlackBerry ที่มีจำหน่ายทั้งหมดทั่วโลก แม้กระทั่งประธานาธิบดีสหรัฐอย่าง บารัก โอบามา ก็ใช้งาน BlackBerry เป็นมือถือเครื่องหลักของเขา

แต่สุดท้ายแล้ว BlackBerry ก็ตัดสินใจไปมุ่งเน้นการพัฒนาซอฟต์แวร์บนสมาร์ทโฟนมากกว่าการพัฒนาตัวอุปกรณ์ และจะส่งต่อส่วนธุรกิจการผลิตสมาร์ทโฟนให้กับแบรนด์ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนรายอื่นรับช่วงไปแทน

สุดท้ายเดิมพันดังกล่าวก็ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง รายได้ของทางบริษัทมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี  2010 ซึ่ง ณ เวลานั้นถือเป็นจุดสูงสุดของความนิยมในมือถือ BlackBerry รวมถีง แอพพลิเคชั่นแชท BlackBerry Messenger และระบบอีเมลเทคโนโลยีขั้นสูงทำให้เกิดกระแสฮิตในหมู่กลุ่มผู้ใช้งานหนุ่มสาวและผู้ใช้งานเชิงธุรกิจ แม้กระทั่งในประเทศไทยเอง Blackberry ก็กลายเป็นมือถือยอดนิยมอยู่ชั่วขณะหนึ่งเลยด้วยซ้ำ

จนกระทั่งการเกิดขึ้นของ iOS ของ Apple และ Android ของ Google ที่มาพร้อมแอพพลิเคชั่นนับล้านและระบบทัชสกรีนเต็มรูปแบบก็ทำให้ผู้ใช้งานทั่วโลก มอง BlackBerry ว่าอุปกรณ์ของพวกเขา เป็นสิ่งที่ล้าสมัยไปเสียแล้ว และ Blackberry Messenger อาวุธหลักของพวกเขาก็ไม่สามารถดึงดูดใจได้อีกต่อไปเมื่อมีการเกิดขึ้นของ Chat Platform ใหม่ที่ใช้งานทุกอย่างได้ฟรี อย่าง Whatsapp

แม้ว่าในปี 2012  Blackberry จะพยายามกอบกู้สถานการณ์ด้วยการเข็นผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาดทั้ง BlackBerry Q10, Z10และล่าสุด Z30 แต่ยอดขายโดยรวมยังลดลงอย่างต่อเนื่อง สมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ๆของ Blackberry นั้นถูกวิจารณ์อย่างหนักว่าเป็นการปรับเปลี่ยนเฉพาะการออกแบบรูปลักษณ์และเพิ่มลักษณะพิเศษในการใช้งาน

แม้จะพยายามออกรุ่นใหม่เป็นมือถือแบบทัชสกรีน แต่มันก็สายไปเสียแล้วสำหรับ Blackberry
แม้จะพยายามออกรุ่นใหม่เป็นมือถือแบบทัชสกรีน แต่มันก็สายไปเสียแล้วสำหรับ Blackberry

แต่มันได้ขาด “นวัตกรรม” ใหม่ๆ และผู้บริหารของบริษัทก็ถูกมองว่ายึดติดกับความสำเร็จในช่วงต้นศตวรรณที่ 21 ที่ Blackberry เคยเขย่าวงการสมาร์ทโฟนในฐานะเครื่องมือสำหรับนักธุรกิจอย่างไร้คู่แข่งมากจนเกินไป

ซึ่งในท้ายที่สุดแล้วนั้น สมาร์ทโฟนภายใต้แบรนด์ BlackBerry ก็เหลือแค่เพียง “ตำนาน” หน้าหนึ่งที่เคยบันทึกไว้ในวงการธุรกิจมือถือว่าเคยเป็นดาวรุ่งพุ่งแรง แต่ตอนนี้แทบจะไม่เหลือพื้นที่ยืนบนตลาดมือถือโลก เหมือนดั่งที่เราได้เห็นในปัจจุบันนั่นเองครับ

References : 
https://www.wikipedia.org
https://www.pocket-lint.com/phones/news/137319-farewell-blackberry-os-here-are-the-23-best-blackberry-phones-that-changed-the-world
https://www.silicon.co.uk/e-innovation/science/tales-tech-history-blackberry-223557