Facial Recognition กับการตรวจจับความกลัวของมนุษย์

เทคโนโลยีการจดจำใบหน้า (Facial Recognition) ของ Amazon Web Services ‘Rekognition สามารถตรวจจับความกลัวของมนุษย์ได้แล้วในขณะนี้

ซึ่งตามที่ Amazon ได้เปิดเผยออกมาล่าสุด แต่เนื่องจากเทคโนโลยีได้รับทดสอบแล้วว่าไม่แม่นยำอย่างที่ Amazon ได้กล่าวอ้าง จึงทำให้มันเป็นเรื่องยากที่จะบอกได้ว่าความสามารถที่ประกาศใหม่ใช้งานได้จริงตามที่โฆษณาไว้หรือไม่

เมื่อวันจันทร์ Amazon Web Services (AWS) เผยแพร่บล็อกโพสต์ซึ่งมีรายละเอียดการอัปเดตหลายอย่างเกี่ยวกับความสามารถใหม่ของเทคโนโลยี Facial Recognition ที่มีการถกเถียงในเรื่องของความแม่นยำที่เพิ่มขึ้น ในการตรวจจับ 7 อารมณ์บนใบหน้าของบุคคล 

บริษัท ยังอ้างว่าได้ปรับปรุงความสามารถของ Rekognition ในการตรวจจับเพศ และ อายุของบุคคล ด้วยเทคโนโลยีดังกล่าวเช่นกัน

ซึ่งการที่ต้องมีการอัพเดทเพื่อปรับปรุงการทำงานนั้น ก็เนื่องมาจากการถูกวิจารณ์ในโลกออนไลน์อย่างหนาหู โดยเฉพาะ Corey Quinn นักเศรษฐศาสตร์ ด้าน Cloud Computing ซึ่งสังเกตว่าข้อมูลบ้างอย่างนั้นไม่น่าเชื่อถือ จาก Features ของ Rekognition ที่มีการเปิดเผยล่าสุด

“AWS ตกอยู่ภายใต้การถกเถียงที่ร้อนแรงในโลกออนไลน์ สำหรับการที่จะมาขาย Rekognition ให้กับรัฐบาลสหัรฐ ซึ่งในทางกลับ คือ มันเหมือนการสร้างค่ายกักกันสำหรับเด็กหรือบุคคลทั่วไป ซึ่งต้องคอย Monitor พวกเขาเหล่านี้อยู่ตลอดเวลานั่นเอง ‘และ ทำการ ‘ตรวจสอบความกลัว’ จากผู้คนเหล่านี้ด้วยเทคโนโลยีดังกล่าว คล้าย ๆ กับที่จีนทำกับเด็กนักเรียนของพวกเขา 

นอกจากนี้ยังมีความเป็นไปได้ที่เทคโนโลยีนั้นยังไม่สามารถใช้งานได้จริง  แต่สิ่งสำคัญมันคือการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ซึ่งต้องมีการออกหมายเพื่อละเมิดความเป็นส่วนตัวดังกล่าวของบุคคลทั่วไป ซึ่งเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ยากในประเทศเสรีประชาธิปไตยอย่างอเมริกา

การทดสอบหลาย ๆ ครั้งของ  Rekognition ได้เปิดเผยข้อบกพร่องของเทคโนโลยี และวันหนึ่งหลังจาก AWS เผยแพร่โพสต์บล็อกใหม่ สหภาพด้านเสรีภาพพลเรือน แห่งแคลิฟอร์เนียตอนเหนือ ได้จัดงานแถลงข่าวเพื่อประกาศผลการทดสอบอีกครั้ง คราวนี้ Rekognition มีความผิดพลาดในการ จับคู่ ของรูปถ่ายบุคคลที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติของรัฐแคลิฟอร์เนีย จำนวนถึงห้าคนเลยทีเดียว

ฟิล ติงหนึ่งในฝ่ายนิติบัญญัติของรัฐแคลิฟอร์เนีย กล่าวระหว่างการแถลงข่าวว่า “ เทคโนโลยีนี้ มันอาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการหางานของคุณได้ และมันยังส่งผลกระทบอย่างมากต่อความสามารถในการหาที่อยู่อาศัยของคุณ และจะมีหลาย ๆ คนที่อาจมีผลกระทบอย่างแท้จริงหากนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้”

และความจริงที่ว่า AWS ดูเหมือนจะไม่ลังเลที่จะประกาศการอัปเดตใหม่ ๆ ของ Features ดังกล่าว ต่อไปอีก แม้ยังไม่ได้แก้ปัญหาในปัจจุบัน ซึ่ง บริษัท Amazon ก็จะยังคงผลักดันผลิตภัณฑ์ตัวนี้ออกไปให้กับทุกคนที่ยินดีที่จะซื้อมันนั่นเอง

References : 
https://www.businessinsider.com/

ประวัติ Jeff Bezos แห่ง Amazon ตอนที่ 9 : Amazon Web Service

แม้ Kindle นั้นจะเป็นหนึ่งในนวัตกรรมสำคัญที่ เจฟฟ์ เบซอส ได้สร้างขึ้นมาและพา amazon ขึ้นสู่บริษัทนวัตกรรม แบบเดียวที่ สตีฟ จ๊อบส์ ทำกับ apple ได้สำเร็จ แต่ความพยายามเปลี่ยนภาพลักษณ์ของ amazon จากบริษัทค้าปลีกให้กลายเป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีนั้น มันยังไม่สำเร็จเสียทีเดียว โครงการใหม่ ๆ เช่น Search Engine อย่าง A9.com  ล้มเหลวและถูกปิดตัวลงไปหลังจากออนไลน์ได้ไม่นาน โครงการ BlockView โดน StreetView ของ google แซงหน้าไป บริการค้นหาในเล่ม (Search Inside Book) น่าสนใจแต่ไม่สามารถช่วยให้ amazon ผงาดขึ้นมาได้

ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดที่ เจฟฟ์ และ amazon เจอคือ บรรดาวิศวกรที่ยอดเยี่ยมที่สุดในโลกกำลังหนีตาย จากวัฒนธรรมองค์กรที่เริ่มล้าหลังของ amazon แห่กันไปหา google รวมถึง startup เปิดใหม่แห่งอื่นใน ซิลิกอน วัลเลย์ ซึ่งหาก เจฟฟ์ เบซอส ต้องการพิสูจน์ให้โลกรู้ว่าแท้จริงแล้ว amazon เป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีอย่างที่เขามักกล่าวอยู่เสมอ เขาต้องอาศัยการค้นพบครั้งยิ่งใหญ่

ทิม โอไรล์ลี นักเผยแพร่การใช้เว๊บและผู้จัดพิมพ์หนังสือคอมพิวเตอร์ ได้บินมาซีแอตเทิลเพื่อมาพูดคุยกับ เจฟฟ์ เบซอส โดย โอไรล์ลี นั้นได้กล่าวกับ เจฟฟ์ ว่า amazon ทำตัวเหมือนเว๊บปลายทางโดดเดี่ยวและไม่ยอมข้องแวะกับใคร เขาอยากให้ amazon เปิดเผยข้อมูลของ amazon ให้แก่สังคมภายนอก

ทิม โอไรลีย์ ผู้เปิดแนวคิดให้ amazon สร้าง API ให้นักพัฒนาภายนอก
ทิม โอไรลีย์ ผู้เปิดแนวคิดให้ amazon สร้าง API ให้นักพัฒนาภายนอก

โอไรล์ลี ได้สร้างเครื่องมือที่เรียกว่า amarank ซึ่งเป็นเครื่องมืออันซับซ้อนมาให้เจฟฟ์ ได้ดู โดยเครื่องมือดังกล่าวนั้นจะทำการเข้าเยี่ยมชมเว๊บไซต์ amazon ทุก ๆ สองสามชั่วโมง และคัดลอกการจัดอันดับหนังสือของสำนักพิมพ์โอไรล์ลีมีเดีย รวมถึงหนังสือของคู่แข่ง แต่มันเป็นกระบวนการที่ช้าอืดอาดมาก เพราะใช้เทคนิคแบบเก่า และรูปแบบการทำงานคล้าย ๆ hack ข้อมูลจากหน้าจอ amazon.com

โอไรล์ลี แนะนำว่า amazon ควรที่จะพัฒนาชุดเครื่องมือออนไลน์ที่เรียกว่า ส่วนต่อประสานประยุกต์ ( application programming interface) หรือ API เพื่อให้บุคคลภายนอกติดตามข้อมูลเรื่องราคา ผลิตภัณฑ์ และอันดับการขายได้อย่างง่ายดาย

เจฟฟ์ เบซอส เริ่มเห็นโอกาสบางอย่างจากการพบกับ โอไรล์ลี ครั้งนี้  เขาคิดถึงเรื่องของความสำคัญของการเป็นแพลตฟอร์ม และการพัฒนา API เพื่อให้คนภายนอกได้ใช้งานเป็นเรื่องที่น่าสนใจ

เขาจึงสั่งดำเนินการให้ทีมงานสร้า API ชุดใหม่เพื่อให้นักพัฒนาเชื่อต่อเข้าเว๊บ amazon ได้ ซึ่งมันจะทำให้ เว๊บไซต์อื่นสามารถเผยแพร่รายการสินค้าจากแคตตาล็อกของ amazon ได้ รวมถึงแสดงราคา และ คำอธิบายประกอบสินค้าอย่างละเอียด ทั้งยังอนุญาติให้ใช้ระบบชำระเงินและตะกร้าสินค้าของ amazon ได้อีกด้วย

ตัวเจฟฟ์ เบซอส เองนั้นก็ได้ยอมรับหลักคิดใหม่เกี่ยวกับการเปิดกว้างขึ้นของเว๊บ amazon ได้เริ่มมีการจัดประชุมนักพัฒนาครั้งแรกขึ้น และได้เชิญบุคคลภายนอก ที่เดิมเคยคิดจะเจาะเข้ามาระบบของ amazon ให้มาร่วมพัฒนา API กับ amazon เสียเลย  ซึ่งมันทำให้นักพัฒนากลายมาเป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งของ amazon ecosystem และเจฟฟ์ นั้นได้ตั้งชื่อโครงการนี้อย่างเป็นทางการว่า บริการ amazon web service (AWS) 

จากแนวคิด API พัฒนาจนกลายมาเป็น Amazon Web Service ( AWS)
จากแนวคิด API พัฒนาจนกลายมาเป็น Amazon Web Service (AWS)

และมันทำให้ในปัจจุบันนั้น บริการ amazon web service หรือ AWS กลายเป็นธุรกิจขายโครงสร้างพื้นฐานทางด้านคอมพิวเตอร์ เช่น การจัดเก็บข้อมูล ฐานข้อมูล หรือระบบการคำนวณแบบสมรรถนะสูง มันทำให้บริษัทเกิดใหม่อย่าง Pinterest หรือ Instragram สามารถกำเนิดขึ้นมาได้ โดยมีค่าใช้จ่ายเริ่มต้นไม่สูงมากนัก 

หรือแม้กระทั่งบริษัทขนาดใหญ่อย่าง Netflix ก็ใช้บริการของ amazon เพื่อทำการสตรีมภาพยนต์ส่งให้ลูกค้า และ AWS เองก็จำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำรายได้ในอนาคตของบริษัทเทคโนโลยีเกิดใหม่ ซึ่งมันก็กลายเป็นแหล่งรายได้ใหม่ของ amazon ที่ไม่ได้พึ่งพาแค่ อีคอมเมิร์ซอีกต่อไป

ให้บริการตั้งแต่บริษัท startup ขนาดเล็กไปจนถึงบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Netflix
ให้บริการตั้งแต่บริษัท startup ขนาดเล็กไปจนถึงบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Netflix

ต้องบอกว่าการเกิดขึ้นของ AWS นั้น ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ ด้าน บริการเว๊บเซอร์วิส ที่เข้าถึงง่าย และราคาไม่แพงของ amazon ช่วยให้เกิดบริษัทตั้งใหม่ด้าน internet อีกเป็นพัน ๆ แห่ง ซึ่งไม่สามารถที่จะตั้งขึ้นมาได้เลยหากไม่มีบริการดังกล่าว

นอกจากนี้ บริการ AWS ของ amazon ยังส่งผลให้บริษัทขนาดใหญ่เช่า super computer ในระบบ cloud ได้ จนนำไปสู่ยุคใหม่แห่งนวัตกรรมแขนงต่าง ๆ เช่น การเงิน น้ำมันและก๊าซ สุขภาพ และวิทยาศาสตร์ มันไม่ใช่คำกล่าวที่เกินจริงเลยที่จะพูดได้ว่า AWS ช่วยฉุดเทคโนโลยีทั้งหมดขึ้นมาหลังจากป่วยเรื้อรังจากยุคดอทคอม และกำหนดนิยามใหม่ของคลื่นลูกถัดไปในเรื่องการประมวลผลระดับองค์กรธุรกิจขึ้นมาใหม่

และการปฏิรูปที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอาจเป็นภาพลักษณ์ของ amazon นั่งเอง AWS นั้นขยายขอบข่ายความเป็นสรรพสินค้าออกไปอีก อีกทั้งยิงมีสินค้าอื่นๆ  ที่ดูจะแตกต่างออกไปด้วย amazon จึงได้ฉีกหนีคู่แข่งไปอีกขั้น ไม่ว่าจะเป็นวอลมาร์ต และบริษัทค้าปลีกที่เป็นคู่แข่งรายอื่น ๆ amazon ได้สร้างเสน่ห์ใหม่ ๆ ให้บริษัทสามารถดึงดูดเหล่าวิศวกรอัจฉริยะให้เข้ามาทำงานได้อีกครั้ง และที่สำคัญหลังผ่านความล้มเหลวและความขมขื่นภายในมานานนับปี ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ตอนนี้ amazon ได้กลายเป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีแล้ว อย่างที่เจฟฟ์ เบซอส นึกฝันอยากให้เป็นเสมอมา

–> อ่านตอนที่ 10 : From Zero to No.1 (ตอนจบ)

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 : My name is Jeff Bezos *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

ประวัติ Jeff Bezos แห่ง Amazon ตอนที่ 4 : The Innovator

หลังจากพยายามพัฒนาและปรับปรุงเว๊บไซต์ amazon ในช่วงทดลองมาหลายเดือน สุดท้าย amazon.com เวอร์ชั่นแรกที่สมบูรณ์ที่สุดก็ได้เริ่มออนไลน์ ในวันที่ 16 กรกฏาคม 1995 ถือเป็นวันที่ประวัติศาสตร์ของ amazon.com ได้เริ่มต้นขึ้นอย่างสมบูรณ์

มันเป็นช่วงเวลาที่ดีมาก ๆ เพราะขณะนั้น internet เริ่มแพร่กระจายไปสู่คนหมู่มากในอเมริกาแล้ว และทีสำคัญ มันเป็นการออกตัวก่อนคู่แข่ง ที่ตอนนั้นหลาย ๆ บริษัทเริ่มตื่นตัวกับ internet แล้ว และกำลังสร้างบริการคล้าย ๆ กันอยู่

amazon.com เป็นเว๊บไซต์ค้าปลีกแรกๆ  ที่ดูจะมีความสมบูรณ์ที่สุด การปรุงแต่งด้วยเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด รวมถึง การ design ที่ดูสะอาดตา และมีความเรียบง่าย ทำให้สามารถเป็นที่ต้องตาของเหล่าหนอนหนังสือตัวยงได้อย่างรวดเร็ว

ต้องเรียกได้ว่าเรียบง่าย ใช้งานง่าย โหลดเร็ว ทำให้ลูกค้าติดใจอย่างรวดเร็ว
amazon.com ยุคแรก ต้องเรียกได้ว่าเรียบง่าย ใช้งานง่าย โหลดเร็ว ทำให้ลูกค้าติดใจอย่างรวดเร็ว

หลังจากเปิดตัว คำสั่งซื้อเริ่มหลั่งไหลเข้ามาอย่างรวดเร็ว และค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้แคปแฟน และ เดวิส โปรแกรมเมอร์หลัก ต้องสร้างระบบ เพื่อแจ้งเตือน เมื่อมีคำสั่งซื้อเข้ามา โดยให้มีเสียงกระดิ่งเตือนเมื่อมีคำสั่งซื้อใหม่เข้ามา แต่มันก็ใช้งานได้ไม่นาน เพราะคำสั่งซื้อมันเข้ามาอย่างรวดเร็วและเริ่มเยอะขึ้นเรื่อย ๆ  จนเสียงกระดิ่งไปรรบกวนการทำงานทุกคนในทีม

ในช่วงแรกของการเปิดตัวเว๊บไซต์ต้องบอกว่า เจฟฟ์ นั้นจัดโปรโมชั่นหนักมากหวังดึงลูกค้ามาใช้อย่างเต็มที่ โดยลดราคาของหนังสือ จนแทบจะไม่มีกำไรเลยด้วยซ้ำ หนังสือชื่อดังถูกนำมาลดราคาบ้างครั้งสูงถึง 40% เรียกได้ว่าในช่วงแรกนั้นยิ่งขายได้มากก็ยิ่งติดลบมาก

และปัจจัยอย่างนึงที่ทำให้ amazon.com นั้นดังอย่างรวดเร็ว เนื่องมาจาก เจอร์รี่ หยาง CEO ของ YAHOO ในขณะนั้น ได้เห็นเว๊บไซต์ amazon ในไม่กี่วันแรก หลังจากที่เว๊บออนไลน์

ตอนนั้นหน้าหลักของ YAHOO มี Section ที่เรียกว่า What’s Cool Page ซึ่งเป็นส่วนแนะนำเว๊บไซต์ใหม่ ๆ ที่เจ๋ง ๆ และน่าสนใจสำหรับชาว internet ซึ่งต้องบอกว่าในยุคนั้น YAHOO ถึอเป็นยักษ์ใหญ่ในวงการผู้คนมักมาที่ YAHOO ก่อนเป็นดับแรกเพื่อหาเว๊บไซต์ที่น่าสนใจที่ทาง YAHOO ได้ทำเป็นระบบไดเร็คทอรี่ไว้

ได้แรงโปรโมตจาก YAHOO ทำให้เว๊บ amazon ดังอย่างรวดเร็ว
ได้แรงโปรโมตจาก YAHOO ทำให้เว๊บ amazon ดังอย่างรวดเร็ว

และการขึ้นไปอยู่ในส่วนของ What’s Cool Page ของ YAHOO นั้นทำให้ amazon โด่งดังภายในพริบตาเดียวเลยก็ว่าได้ เพียงสัปดาห์แรกหลังจากถูกแนะนำใน YAHOO มีคำสั่งซื้อมูลค่ารวมกว่า 12,000 เหรียญ  หลังหลังจากนั้นอีกสัปดาห์ถัดไปก็พุ่งขึ้นไปถึง 15,000 เหรียญ ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนคำสั่งซื้อที่น่าเซอไพรซ์มากสำหรับเว๊บไซต์เปิดใหม่อย่าง amazon.com

ตอนที่เว๊บไซต์ amazon ออนไลน์อย่างเป็นทางการนั้น ทีมงานโปรแกรมเมอร์ รวมถึง เจฟฟ์ ก็ทำการตรวจสอบในระดับหนึ่งแล้วว่า สามารถทำงานได้  แต่ พอใช้งานจริง ๆ ก็พบเจอกับหลากหลายปัญหามากเพราะจำนวนผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เจฟฟ์ และทีมจึงทยอยปรับแก้ปัญหาไปเรื่อย ๆ และเจฟฟ์นั้นต้องการให้ amazon.com ยึดหัวหาดในตลาดหนังสือออนไลน์ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ปัญหาอีกประการก็คือ ตอนนั้น เจฟฟ์ นั้นไม่ได้นึกถึงทีมงานที่จะต้องมานั่งแพ็คสินค้า หรือ จัดการด้านคลังสินค้าเลยด้วยซ้ำ แรกเริ่มเขาจึงต้องใช้ทีมงานเท่าที่มีอยู่มาช่วยกันแพ็คหนังสือลงกล่องเพื่อจัดส่งให้ลูกค้า ซึ่งต้องใช้เวลาในช่วงกลางคืนหลังจากแต่ละคนเคลียร์งานของตัวเองเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งทำให้บางคืนต้องทำงานกันจนถึงเกือบเช้าเพื่อจัดการคำสั่งซื้อที่เข้ามาทั้งหมด

มันเป็นการเริ่มต้นอย่างทุลักทุเลเลยก็ว่าได้ เพราะการเติบโตอย่างรวดเร็วของ amazon ทำให้ตอนนั้น เจฟฟ์ก็ยังไม่ได้วางแผนว่ามันจะเติบโตได้เร็วถึงเพียงนี้  พนักงานช่วงยุคแรกเริ่มนั้นทำงานกันหลายตำแหน่งมาก ๆ บางคนเป็นทั้งโปรแกรมเมอร์ และต้องมาตอบคำถามลูกค้าในหน้าเว๊บ หรือ พนักงานบัญชีที่ต้องมานั่งช่วยแพ็คสินค้า รวมถึงจ่าหน้าสินค้า แม้กระทั่งเรื่องการ print เอกสารต่าง ๆ  พนักงานยังต้องไป print ที่ร้านข้างนอก การประชุมก็อาศัยร้านกาแฟ ที่อยู่ใกล้ ๆ ออฟฟิส เป็นที่ประชุมงาน

ถึงแม้บริษัทจะไม่มีงบโฆษณาใด  ๆเลยด้วยซ้ำในช่วงเริ่มก็ตั้ง แต่ amazon.com มันกลายเป็นกระแสบอกปากต่อปาก โดยเฉพาะในโลกออนไลน์ มีแต่ผู้คนกล่าวถึง เว๊บไซต์หน้าใหม่ไฟแรงอย่าง amazon.com และด้วยการที่มันขึ้นด้วยตัว A ทำให้เวลามีการเรียงลำดับเว๊บไซต์ มันก็ทำให้ amazon ขึ้นไปอยู่อันดับต้น ๆ เสมอ

ซึ่งร้านหนังสือยักษ์ใหญ่อย่างบาร์นแอนด์โนเบิล นั้นก็เริ่มเห็นกระแสของ amazon ที่เริ่มเป็นที่น่าสนใจในวงกว้างมากยิ่งขึ้น จึงได้ทำการริเริ่มสร้างเว๊บไซต์มาแข่ง แต่ เจฟฟ์ และทีมงาน amazon เตรียมการเรื่องนี้ไว้อย่างดีแล้ว 

ทีมงานเร่งปรับตัวเว๊บไซต์ เพิ่ม features ต่าง ๆ มากมาย ที่ไม่เคยมีเว๊บไซต์ไหนทำมาก่อน ตัวอย่างเช่นการ review หรือแสดงความคิดเห็นต่อหนังสือ นั้น amazon ก็เป็นเจ้าแรก ๆ ที่ได้คิดฟังก์ชั่นนี้ขึ้นมา และสร้างเป็นเครือข่ายสังคมขนาดย่อมของคนรักหนังสือขึ้นมา ต้องบอกว่า amazon ตอนนี้ไม่ใช่เป็นแค่เพียงเว๊บไซต์ขายหนังสือเท่านั้น แต่ยังกลายเป็นเครือข่ายสังคมรุ่นแรก ๆ สำหรับแฟนหนังสืออีกด้วย

ระบบ review หรือ rating amazon เป็นคนริเริ่มขึ้นมาก่อนที่จะถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลาย
ระบบ review หรือ rating amazon เป็นคนริเริ่มขึ้นมาก่อนที่จะถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลาย

เจฟฟ์ นั้นมีไอเดียใหม่ ๆ เสมอสำหรับเว๊บไซต์ amazon.com ของเขา ในเดือน กรกฏาคม ปี 1996 มีหญิงคนหนึ่งชอบเขียนแนะนำหนังสือลงเว๊บไซต์ของตนเอง และทำลิงก์มายังเว๊บไซต์ของ amazon เพื่อให้สะดวกกับคนที่สนใจจะซื้อหนังสือ

เจฟฟ์เห็นไอเดียว่า การมีทราฟฟิกจากภายนอก ลิงก์มายัง amazon นั้นจะช่วยสนับสนุนการขายได้อย่าดี เขาจึงตั้งโปรแกรมที่เรียกว่า โครงการพันธมิตรการขาย (Associates Program) ขึ้นมา โดยบุคคุลภายนอกที่สร้างลิงก์มายังเว็บไซต์ amazon จะได้รับค่านายหน้าจากการขายหากมีคนคลิกผ่านเว๊บไซต์ของตัวเองมาสั่งซื้อหนังสือในเว๊บไซต์ amazon.com

เจฟฟ์ได้คิดค้น amazon Associates Program ขึ้น ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ของวงการค้าออนไลน์ ช่วยสร้างรายได้ให้กับผู้ที่มีเว๊บไซต์
เจฟฟ์ได้คิดค้น amazon Associates Program ขึ้น ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ของวงการค้าออนไลน์ ช่วยสร้างรายได้ให้กับผู้ที่มีเว๊บไซต์

และมันยังทำให้ เครือข่ายของ amazon กระจายเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็ว และถือว่าเป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่สรรค์สร้างโดย เจฟฟ์ เบซอส เลยก็ว่าได้ ซึ่งบางครั้งนวัตกรรมเล็ก ๆ อย่างเครือข่าย Associates Program ที่คิดโดยเจฟฟ์ นั้นมันก็สร้าง Impact ครั้งยิ่งใหญ่ให้กับ amazon  มันเป็นความแตกต่างระหว่างผู้ประกอบการรุ่นใหม่อย่างเจฟฟ์ กับผู้บริหารหัวโบราณที่ไม่เข้าใจและลังเลที่จะเป็นส่วนหนึ่งของโลกออนไลน์

การอ่านเกมขาดของเจฟฟ์ เบซอส ในเรื่องนี้นั้นมันช่วยให้เขาเดินหน้าไปในธุรกิจดอทคอมได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และตอนนี้ amazon.com กำลังเดินในเส้นทางนั้นเรียบร้อยแล้ว แต่ปัญหาคือ การที่ยิ่งขายได้มากในช่วงแรก ๆ นั้น มันจะยิ่งใช้ทุนมากมายมหาศาลเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และตอนนี้เงินทุนของเจฟฟ์ นั้นก็เริ่มร่อยหรอแล้วหลังจากการเติบโตอย่างไม่คาดคิดของ amazon.com แล้วเขาจะทำอย่างไรต่อ ปัญหาเรื่องเงินทุนเป็นปัญหาใหญ่มาก ๆ ของเจฟฟ์ โปรดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 5 : Growth Fund

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 : My name is Jeff Bezos *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

 

 

การลงทุนด้าน AI กลายเป็น Priority ที่สำคัญที่สุดของบริษัทยักษ์ใหญ๋ในอเมริกา

ต้องบอกว่า ณ ขณะนี้นั้น ยุค Mobile First ได้จบลงไปแล้ว สำหรับการแข่งขันของบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของอเมริกา

ตอนนี้ ทุก ๆ บริษัทนั้นกำลังมุ่งเน้นมาที่ AI First ซึ่งเป็นคลื่นลูกใหม่ของเทคโนโลยี ที่จะมีผลต่อการแข่งขันของเหล่าบริษัทยักษ์ใหญ่ทั้งหลายไม่ว่าจะเป็น Google , Apple , Facebook , Amazon, IBM  หรือ Microsoft

จากการที่ Apple ได้ทำการจ้างอดีตหัวหน้าฝ่าย Search & AI มาจาก Google ได้นั้น ต้องถือว่าเป็นการย้ายสลับขั้วที่เป็นข่าวใหญ่เลยทีเดียว

เป็นการเสียมือดีอย่าง John Giannandrea ซึ่งฝากผลงานไว้อย่างมากมายกับเทคโนโลยีสุดล้ำของ Google ซึ่งสุดท้ายก็ได้ทำสิ่งที่เหลือเชื่อคือ การย้ายข้ามฝากมาทำงานกับ Apple ซึ่งจะดูเป็นรองในด้าน AI เมื่อเที่ยบกับ Google

ซึ่งจากรายงานของนักวิเคราะห์จาก Morgan Stanley อย่าง Katy Huberty นั้น พบว่าในบริษัทยักษ์ใหญ่ในอเมริกาในขณะนี้นั้น Priority ที่สำคัญที่สุดในการที่จะแข่งขันกับคู่แข่งได้ คือ การลงทุนด้าน AI ไม่ว่าจะเป็นนักวิจัย หรือ ผู้เชี่ยวชาญด้าน AI นั้นบริษัทเหล่านี้พร้อมที่จะทุ่มเทงบประมาณเต็มที่เสมอ เพื่อดึงตัว สุดยอดฝีมือทางด้าน AI ให้มาเข้าร่วมกับตนเองให้ได้ ดังตัวอย่างที่ Apple สามารถทำได้มาแล้ว

John Giannandrea

ซึ่งการจ้าง John Giannandrea ทำให้เค้ากลายเป็นผู้บริหารสำคัญลำดับต้น ๆ ของ Apple ในขณะนี้ โดยต้องรายงานตรงไปยัง Tim Cook CEO ของบริษัท Apple เพียงคนเดียวเท่านั้น ต้องถือว่าข่าวนี้เป็นการแสดงให้เห็นถึงการประกาศอย่างชัดเจนว่า Apple จะเป็นผู้เล่นรายสำคัญ ในอุตสาหกรรม AI/Machine Learning ที่จะมีบทบาทสำคัญต่อโลกของเราอย่างมากในอนาคตอันใกล้นี้ เนื่องจากทุก ๆ บริษัทยักษ์ใหญ่ตอนนี้ได้มุ่งเน้นมายัง AI First กันแทบทั้งหมด

การที่ apple เข้ามา Focus ในส่วนของ AI นั้น ก็เพื่อช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่าง SIRI ให้มีความสามารถมากยิ่งขึ้น รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ apple แอบซุ่มพัฒนาอยู่อย่าง self-driving car ซึ่งต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูงทางด้าน AI และต้องใช้บุคคลากรที่มีความสามารถสูงอย่าง John Giannandrea จึงจะบรรลุเป้าหมายที่ apple ต้องการได้

AI Vendor ระดับท็อป

สำหรับ Google , Apple และ Facebook นั้น ผลิตภัณฑ์ทางด้าน AI จะเน้นไปยังกลุ่ม Consumer เป็นหลัก แต่ ถ้าพูดถึงตลาดสำหรับองค์กรนั้น จากการสำรวจ AI Vendor ระดับท็อป อย่าง Amazon , Microsoft และ IBM ผ่านการสำรวจกับ CIO ของบริษัทต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกา และ ยุโรป พบว่า Amazon Machine Learning ใน AWS ของ Amazon และ Microsoft Machine Learning ใน Cortana ของ บริษัท Microsoft นั้นมาเป็นอันดับหนึ่งในผลการสำรวจ โดยได้คะแนนถึง 13% จากผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด โดยผู้ที่เข้าร่วมตอบแบบสอบนั้นจะเป็นคนที่ใช้เทคโนโลยีทางด้าน AI หรือ มีแผนที่จะใช้เทคโนโลยีทางด้าน AI เหล่านี้อยู่แล้ว

อันดับที่ 3 คือ IBM Watson จากบริษัท IBM ที่ได้คะแนน 12% ตามมาด้วย Salesforce.com (CRM) Machine Learning ที่ได้ไป 7%

ซึ่งผลจากการที่ปีที่แล้ว IBM นั้นได้เสียหัวหน้าฝ่ายวิจัยด้าน AI ไปให้กับคู่แข่ง และการพัฒนาขึ้นมาอย่างรวดเร็วของ Amazon และ Microsoft นั้นทำให้สามารถแซง IBM ที่ผลิตภัณฑ์เด่นอย่าง IBM Watson ขึ้นมาได้จากการสำรวจดังกล่าว

ซึ่งการแข่งขันทางด้าน AI/Machine Learning ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ของอเมริกานั้น ล้วนแล้วแล้วแต่ต้องพี่งพาผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จากบริษัทเทคโนโลยีใน Silicon Valley แทบทั้งสิ้น ในทุก ๆ อุตสาหกรรม ที่มีการใช้ IT ในการขับเคลื่อนธุรกิจ

ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ของสหรัฐนั้น มีการใช้งบทางด้าน Information Technology อยู่ทีประมาณ 5.8% ในแต่ละปี ซึ่งตลอด 10 ปีที่ผ่านมางบดังกล่าว ก็ได้เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ตามกระแสของเทคโนโลยีที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว

ซึ่งในยุค AI First นั้น องค์กรต่าง ๆ ก็ต้องการผลิตภัณฑ์ที่จะตอบโจทย์ธุรกิจของตนเอง เพื่อให้สามารถเป็นอาวุธในการแข่งขันในตลาดที่ดุเดือด และเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอย่างเช่นในปัจจุบันได้ หากองค์กรใดที่ไม่ยอมปรับตัว ก็มีโอกาสที่ ธุรกิจที่มีมาร้อย ๆ ปี อาจจะล่มสลายได้ในเวลาเพียงไม่นาน เหมือนที่หลาย ๆ ธุรกิจ อย่าง สิ่งพิมพ์ เพลง หรือบริษัทมือถือยุคเก่าอย่าง Blackberry,Nokia เคยล้มมาแล้วในเวลาอันสั้น หากไม่ยอมคิดที่จะปรับตัว

 

References : thenextweb.com wikipedia.org www.investors.com