เมื่อเทคโนโลยี Robot สามารถที่จะช่วยเหลือศัลย์แพทย์ในการผ่าตัดกระดูกและข้อ

หลังจากข่าวล่าสุดที่ Johnson & Johnson Medical Devices Companies บริษัทจำหน่ายเครื่องมือแพทย์อันดับต้น ๆ ของโลก ได้ประกาศการเข้าซื้อบริษัท Orthotaxy จากฝรั่งเศษ ผู้พัฒนาหุ่นยุนต์ช่วยผ่าตัดกระดูกและข้อ ซึ่งรวมถึงการการผ่าตัดแบบเปลี่ยนข้อเข่าของคนไข้ได้จริง

บริษัท Orthotaxy จากฝรั่งเศษ ได้ก่อตั้งขึ้นในปี 2009 ซึ่งในขณะที่ถูกเข้าซื้อโดย Johnson & Johnson ยักษ์ใหญ่จากสหรัฐอเมริการนั้น ยังอยู่ในช่วงของการพัฒนาและวิจัย ในส่วนการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าของคนไข้เท่านั้น  แต่การ take over ครั้งนี้ มีสัญญาณที่บ่งชี้ให้เห็นว่า ตลาดทางด้านการผ่าตัดกระดูกและข้อนั้นเป็นตลาดที่ใหญ่มาก

ซึ่งประเมินคร่าวๆ ได้ว่า ในแต่ละปีนั้น มีการเปลี่ยนข้อเข่า ของคนไข้ในสหรัฐสูงถึง 780,000 ราย ซึ่งมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นถึง 3.48 ล้านราย จากการประมาณการในปี 2030 ซึ่งการที่มี Robot มาช่วยนั้นก็จะสามารถช่วยเหลือศัลยแพทย์ให้สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วขึ้น และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ซึ่งในขณะนี้ หุ่นยนต์ผ่าตัดชื่อดังอย่าง Da Vinci ของบริษัท Intuitive Surgical ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับวงการศัลย์แพทย์อย่างมหาศาล โรงพยาบาลขนาดใหญ่หลายแห่งเริ่มมีการนำมาใช้ช่วยเหลือในการผ่าตัด ซึ่งโดยเฉพาะการผ่าตัดต่อมลูกหมากนั้น ถือว่า Da Vinci ทำได้อย่างยอดเยี่ยมเป็นอย่างมาก และช่วยเหลือศัลย์แพทย์ได้อย่างมากมายในการผ่าตัด

ผลงานของ Da Vinci นั้นทำให้ Market Cap ของ บริษัท Intuitive สูงขึ้นไปถึง 47,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งทำให้ไม่แปลกใจกับการต้องกระโจนเข้ามาสู่เทคโนโลยีทางด้านหุ่นยนต์ผ่าตัดของ Johnson & Johnson ในขณะนี้เพื่อทำให้เป็นผู้นำในตลาดหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดกระดูกและข้อ ที่มีมูลค่าทางการตลาดมหาศาลให้เร็วที่สุด

และต้องบอกว่า เนื่องจากเป็นตลาดที่มีการแข่งขันสูง ทำให้มีการจดสิทธิบัตรในเทคโนโลยีของตน ไม่ต่างจากอุตสาหกรรมอื่น ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้คู่แข่งได้เลียนแบบเทคโนโลยีของตนเองได้อย่างง่าย

ซึ่งทาง Intuitive ได้ทำการตกลงในลักษณะ Licensing deals กับ JustRight Surgical สำหรับการใช้สิทธิบัตรในส่วนของการผ่าตัดในเด็ก ซึ่งจะทำให้สามารถใช้งานเทคโนโลยีในห้องผ่าตัดได้ทั่วโลก

แต่บริษัทอย่าง Auris Surgical ซึ่งก่อตั้งโดย Federic Moll ซึ่งเป็น Co-founder ของ Intuitive ได้ใช้ประโยชน์จากสิทธิบัตรของตนเอง เพื่อให้สามารถสร้างกำไรได้มากที่สุด ซึ่ง สิทธิบัตรของ Auris หลายฉบับนั้นเกี่ยวข้องกับการผ่าตัดเนื้อเยื่อที่บอบบางมาก ๆ เช่น เนื้อเยี่อปอด

ซึ่ง ในช่วงปีที่แล้วนั้น Auris ได้ใช้เงินกว่า 80 ล้านเหรียญสหรัฐ เข้า Take Over บริษัท Hansen Medical เพื่อครอบครองสิทธิบัตรที่มีประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับการผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์หลายฉบัยที่ Hansen Medical ถืออยู่

อย่างไรก็ดีรายละเอียดของข้อตกลงระหว่าง Johnson & Johnson และ Orthotaxy นั้นยังไม่ได้รับการเปิดเผย และยังไม่มีกำหนดการที่จะนำผลิตภัณฑ์หุ่นยนต์ที่ช่วยผ่าตัดกระดูกและข้อ ออกสู่ตลาด

สงคราม Surgical Robot & สิทธิบัตร

ต้องบอกว่าตลาดของการผ่าตัดในทุก ๆ ส่วนของร่างกายนั้นเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่มหาศาลเลยทีเดียว เพราะแทบจะเป็นรายได้ลำดับต้น ๆ ให้กับโรงพยาบาล โดยเฉพาะโรงพยาบาลเอกชนเลยก็ว่าได้ ก่อนหน้านี้ เราจะได้เห็นการซื้อตัวศัลยแพทย์เก่ง ๆ มากมาย จากทำงานให้รัฐ ให้เข้ามาทำงานเอกชน

และผลงานที่ถือว่าเป็นต้นแบบของหุ่นยนต์ผ่าตัดอย่าง Da Vinci ที่เริ่มมีใช้งานกันแล้วทั่วโลกนั้น ทำให้สามารถช่วยเหลือศัลยแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การพัฒนาของเทคโนโลยีอย่างหุ่นยนต์ รวมถึงเซ็นเซอร์ต่างๆ  นั้น รวมถึงกล้องความละเอียดสูงที่มีขนาดเล็กนั้น

นับว่าเป็นส่วนนึงที่จะช่วยเหลือการผ่าตัดของแพทย์ให้มีความแม่นยำมายิ่งขึ้น ซึ่งเครื่องมือต่าง ๆ เหล่านี้นั้น สามารถช่วยเหลือ ศัลยแพทย์ ให้เข้าถึงในส่วนที่ยาก ๆ เช่น สมอง หัวใจ ที่ต้องใช้ความละเอียดแม่นยำสูงมาก และมีผลต่อชีวิตคนไข้เป็นอย่างมาก

ต้องยอมรับว่าถึงแม้ศัลยแพทย์ ที่เป็นมนุษย์นั้นจะเก่งแค่ไหนก็ตาม แต่ยังไง มนุษย์ก็ต้องมีขีดจำกัดในการทำงานในสภาวะที่ยาก ๆ เช่น ในบริเวณชิ้นส่วนของร่างกายที่มีขนาดเล็กมาก ๆ หรือ การเข้าถึงส่วนที่ผิดปรกติของร่างกาย บางครั้งแพทย์ก็รู้ว่าส่วนที่ผิดปรกตินั้นอยู่ตำแหน่งใด

แต่เนื่องจากขีดจำกัดบางอย่าง ก็ไม่สามารถเข้าถึงชิ้นส่วนของร่างกายที่ผิดปรกตินั้นได้ ซึ่งภายในไม่กี่ปีนี้ Robot นั้นจะมีการนำมาใช้อย่างกว้างขวางอย่างแน่นอน เพราะเป็นตลาดที่มีมูลค่ามหาศาล รวมถึง สิทธิบัตรต่าง ๆ ที่บริษัทใหญ่ ๆ ถือครองอยู่ แม้จะเป็นอุปสรรคในการเข้าถึง แต่ บางที Robot ที่สามารถก้าวผ่านขีดจำกัดของมนุษย์ได้นั้น แม้จะแพงแค่ไหน ยังไงก็เป็นสิ่งที่น่าลงทุนอยู่ดี เพราะสามารถที่จะช่วยเหลือชีวิตเราได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม

References : www.zdnet.com

ติดตาม ด.ดล Blog เพิ่มเติมได้ที่
Fanpage : facebook.com/tharadhol.blog
Blockdit : blockdit.com/tharadhol.blog
Twitter : twitter.com/tharadhol
Instragram : instragram.com/tharadhol