หุ่นยนต์กับการเรียนรู้ด้านภาษาศาสตร์

ในบรรดาหลายๆ สิ่งที่มนุษย์มีวิวัฒนาการเหนือกว่าสัตว์ชนิดอื่น ๆ คือเรื่องของภาษาที่ซับซ้อนของเรา แน่นอนว่าสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ก็มีความสามารถในการพูดคุยกันได้ แต่เรามีหลากหลายภาษาที่เป็นภาษาเขียน ซึ่งมีความซับซ้อนทั้งในเรื่องไวยากรณ์และการพูด 

โดยนักวิจัยที่ Brown University ได้สร้างหุ่นยนต์ทำสิ่งที่ไม่น่าเป็นไปได้ในเรื่องของภาษา: หลังจากมีการฝึกฝนการเขียนตัวอักษรญี่ปุ่นด้วยมือแล้วหุ่นยนต์ก็เริ่มคัดลอกคำแบบเดียวกันในภาษาอื่น ๆ ที่ไม่เคยเขียนมาก่อน รวมถึงภาษาฮินดี กรีก และอังกฤษเพียงแค่ดูตัวอย่างลายมือนั้นเพียงเท่านั้น 

ก้าวข้ามเรื่องการสื่อสารด้วยภาษาต่าง ๆ ของมนุษย์
ก้าวข้ามเรื่องการสื่อสารด้วยภาษาต่าง ๆ ของมนุษย์

เช่นเดียวกับการก้าวเดินได้ด้วยสองขา การเขียนด้วยลายมือก็ถือเป็นหนึ่งในเสน่ห์ที่เรียบง่ายของมนุษย์ที่ดูแล้วเหมือนจะมีความซับซ้อน เมื่อคุณเขียนคำใด ๆ คำหนึ่ง คุณก็จะต้องรู้ว่าจะวางปากกาของคุณนานแค่ไหนในการวาดเส้นและการวางทิศทางในการเขียน ซึ่งมันไม่เป็นเรื่องง่ายเลยที่หุ่นยนต์จะสามารถเลียนแบบความสามารถนี้ของมนุษย์ได้

ดังนั้นเพื่อให้หุ่นยนต์สามารถเขียนได้เหมือนกับมนุษย์  จะต้องให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีจัดรูปแบบตัวอักษรแต่ละตัว   Stefanie Tellex และ Atsunobu Kotani  นักพัฒนาหุ่นยนต์ของ Brown University ผู้เป็นพัฒนาระบบ กล่าว “ และนั่นคือสิ่งที่อัลกอริทึมเรียนรู้ที่จะทำตามรูปแบบของมนุษย์”

ระบบการเรียนรู้ของหุ่นยนต์แบ่งออกเป็นสองรูปแบบที่แตกต่างกัน แบบแรก นั้นรับผิดชอบเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับจังหวะของปากกา ดังนั้นการเล็งไปในทิศทางที่ถูกต้องและกำหนดวิธีที่จะหาจังหวะสิ้นสุดของการเขียน และแบบที่สอง นั้นมีหน้าที่ในการเคลื่อนย้ายการเขียนของหุ่นยนต์ไปยังตัวอักษรถัดไป

ในการฝึกอบรมหุ่นยนต์นักวิจัยได้ป้อนคลังข้อมูลของตัวอักษรญี่ปุ่นและให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่องค์ประกอบของตัวอักษารแต่ละตัว “ จากนั้นมันจะเรียนรู้แบบจำลองที่ดูที่ระดับพิกเซลของภาพและคาดการณ์ว่าจะต้องเริ่มจังหวะต่อไปที่ใดและต้องเคลื่อนที่ในขณะที่กำลังวาดเส้นเพื่อสร้างตัวอักษรให้ออกมาได้” Tellex กล่าว

จากนั้นพวกเขาจึงตัดสินใจที่จะทำให้หุ่นยนต์สับสนโดยการเขียนคำว่า “Hello” บนกระดานไวท์บอร์ดในภาษาฮินดี, ทมิฬและภาษายิดดิช ซึ่งทั้งหมดนี้ใช้รูปแบบการเขียนที่ไม่เหมือนใคร 

และไม่น่าเชื่อว่าหุ่นยนต์จะสามารถใช้เทคโนโลยี Machine Vision และเขียนคำศัพท์ของตัวเอง แม้ว่าตัวมันจะฝึกการเขียนเฉพาะภาษาญี่ปุ่นเพียงเท่านั้น 

จากนั้นเมื่อมีเด็ก ๆ อนุบาลหลายคนไปเยี่ยมห้องทดลองของ Tellex  แม้เด็ก ๆ จะใช้การเขียนด้วยลายมือที่ไม่ดี แต่เจ้าหุ่นยนต์มันเลียนแบบพวกเขาได้อย่างง่ายดาย “ เพียงเพื่อดูแล้วทำซ้ำ ซึ่งการเขียนด้วยลายมือที่อ่านได้ยากของเด็กน้อยอายุ 6 ปีเหล่านี้ มันเป็นเรื่องเหลือเชื่อที่ไม่เคยเห็นมาก่อนและเจ้าหุ่นยนต์ก็ไม่เคยฝึกฝนในเรื่องนี้” Tellex กล่าว

เลียนแบบการวาดภาพของมนุษย์
เลียนแบบการวาดภาพของมนุษย์

แต่ไม่มีทำได้สมบูรณ์แบบ เนื่องจากนักวิจัยฝึกฝนหุ่นยนต์กับภาษาญี่ปุ่นยุคใหม่ซึ่งเขียนจากซ้ายไปขวา หุ่นยนต์อาจคุ้นชินกับภาษาอังกฤษซึ่งเขียนในทิศทางเดียวกันได้ แต่มันก็ดูเหมือนจะได้ไม่ดีนักกับภาษาที่เขียนจากขวาไปซ้ายในทิศทางกลับกันนั่นเอง

และตอนนี้หุ่นยนต์จากงานวิจัยชิ้นนี้ กำลังพัฒนาก้าวไปสู่การสื่อสารรูปแบบใหม่ระหว่างมนุษย์และเครื่องจักร แม้อาจจะไม่เห็นผลมากนักในระยะเวลาอันใกล้นี้ แต่สักวันอาจมีหุ่นยนต์ที่สามารถทิ้งโน้ตที่เขียนด้วยลายมือของเราก็เป็นได้นั่นเองครับ

References :  
https://www.wired.com/story/robot-writing/