Failed Startup Stories : Napster The digital music revolution

ต้องบอกว่าเป็น startup รุ่นปู่เลยทีเกียวสำหรับ Napster ซึ่งหลาย ๆ คนอาจจะคิดว่า ipod เป็นจุดเริ่มต้นของ digital music แต่ถ้าถามถึงต้นตอจริง ๆ ของการปฏวัติอุตสาหกรรมดนตรี จาก analog ไปสู่ digital นั้น ต้องบอกว่า Napster ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นหนึ่งที่สำคัญต่อการปฏิวัติวงการดนตรีเลยก็ว่าได้

ประวัติ Napster

Napster นั้นถูกสร้างโดย Shawn Fanning , John Fanning  และ Sean Parker  ผู้โด่งดัง โดยใช้รูปแบบการ share แบบ peer-to-peer file sharing ซึ่งในสมัยนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่ใหม่มากและคนค่อนข้างตื่นตะลึงกับการเกิดขึ้นของระบบ peer-to-peer อย่างสูง 

โดย Napster นั้นเปิดให้บริการในช่วงปี 1999 ถึง ปี 2001  โดยรูปแบบการบริการคือให้ผู้ใช้งานทั่วไปสามารถ share เพลงในรูปแบบ mp3 ของตัวเองกับคนอื่นได้ผ่าน internet ซึ่งถ้ามองในยุคนี้ต้องบอกว่าเป็นเรื่องปรกติไปเสียแล้ว แต่ในยุคปี 1999 นั้นถือว่าเป็นเรื่องที่ใหม่มาก

ย้อนกลับไปในยุคนั้น IRC ถือว่าดังมาก ๆ
ย้อนกลับไปในยุคนั้น IRC ถือว่าดังมาก ๆ

ถึงแม้ว่าในยุคนั้นจะเริ่มรูปแบบการ share file ผ่าน internet เช่น IRC , Hotline หรือ Usenet แล้วนั้น แต่ความพิเศษของ Napster คือ พวกเค้า focus ที่ไฟล์ mp3 และทำให้ user interface ใช้งานง่ายมาก ๆ คนทั่วไปสามารถค้นหา หรือ download file มาใช้งานได้อย่างง่ายดาย ทำให้ Napster ดังเป็นพลุแตกในยุคนั้น  โดยในช่วงที่ขึ้นสู่จุดสูงสุดนั้น มีผู้ใช้งานที่เป็น registered user ถึง 80 ล้านคน ซึ่งถือว่าสูงมากในยุคนั้น

ความดังของ Napster ถึงกับทำให้เหล่าบรรดา network ในมหาลัยต่าง ๆ ของสหรัฐอเมริกา นั้นกว่า 60% ของ traffic มาจากการ share file mp3 ทำให้หลาย ๆ มหาลัยทำการ block service ของ Napster เพราะกังวลเกี่ยวกับปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ที่จะเกิดขึ้น  ซึ่งทำให้กล่าวได้ว่าศิลปินในขณะนั้นได้เริ่มเลิกการออกอัลบั้มเต็ม เปลี่ยนมาเป็นออก single แทนเลยทีเดียว

Macintosh Version

เริ่มต้นนั้น Napster สร้างโดยใช้งานได้เพียงระบบปฏิบัติการ windows เป็นหลัก อย่างไรก็ดีในปี 2000 ได้มีการสร้างบริการเลียนแบบ ชื่อ Macster บนระบบปฏิบัติการ Macintosh ด้วยความดังทำให้ Napster ตัดสินใจเข้า takeover  Macster และรวมเป็นบริการ “Napster for Mac”  และในภายหลังได้มีการปล่อย source ของ Macster เพื่อให้บริการที่เป็น 3rd-party นั้นสามารถเรียกใช้ได้จากทุกระบบปฏิบัติการ โดยใช้รูปแบบของการโฆษณาเพื่อหารายได้แทน

ความท้าทายทางด้านกฏหมาย

อย่างที่รู้กันว่าบริการลักษณะนี้เริ่มเกิดขึ้นมากมายในช่วงนั้น ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการ share file ที่ผิดกฏหมายทั้งสิ้น  ซึ่งในตอนนั้นวง Metallica ได้ออก demo single ในเพลง “I Disappear”  แต่ก็ถูกทำการนำไปปล่อย share อย่างผิดกฏหมาย ก่อนที่จะทำการออก Release อย่างเป็นทางการ

ทำให้หลาย ๆ คลื่นวิทยุ สามารถนำเพลงมาออกอากาศก่อนที่วงจะปล่อยออกมาอย่างเป็นทางการ ทำให้ในปี 2000 ทางวงเริ่มมีการตั้งทนายเพื่อทำการฟ้องร้อง Napster และหลังจากนั้นไม่นาน rapper ชื่อดังอย่าง Dr.Dre ก็เข้าร่วมในการฟ้องร้องครั้งนี้ด้วย หลังจาก Napster ปฏิเสธที่จะนำงานเพลงของพวกเขาออกจากบริการ Napster

วงชื่อดังอย่าง Metallica ใช้การฟ้องศาลเพื่อหยุดการเผยแพร่
วงชื่อดังอย่าง Metallica ใช้การฟ้องศาลเพื่อหยุดการเผยแพร่

ซึ่งหลายๆ  ศิลปินก็โดนผลกระทบในรูปแบบเดียวกัน single “Music” ของ Madonna ก็ถูกปล่อยออกมาผ่านทาง Napster ก่อนวันที่จะ Release อย่างเป็นทางการ ซึ่งส่งผลเสียหายต่อรายได้ ของศิลปินในขณะนั้นอยู่มาก

การต่อสู้บนชั้นศาลก็เริ่มขึ้น โดยในปี 2000 ค่ายเพลงต่าง  ๆ ได้รวมตัวกันเพื่อทำการฟ้องร้อง Napster ในข้อหาการละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่ง Napster ก็ได้ต่อสู้ แม้จะแพ้ในศาลชั้นตั้น ก็ทำการอุทรณ์เพื่อสู้ต่อไปให้ถึงที่สุด

พลังแห่งการโปรโมต

รูปแบบ peer to peer ทำให้ traffic โตขึ้นอย่างรวดเร็ว
รูปแบบ peer to peer ทำให้ traffic โตขึ้นอย่างรวดเร็ว

ถึงแม้ว่าพลังของ Napster ที่ให้บริการ free นั้นจะได้ทำลายอุตสาหกรรมดนตรี รวมถึงทำให้ยอดขาย album นั้นตกลงไปเป็นอย่างมาก แต่ก็เกิดปรากฏการณ์บางอย่างในทางตรงกันข้ามขึ้นกับวง Rock Radiohead’s จากอังกฤษ  ในปี 2000 พวกเขาได้ออกอัลบั้ม Kid A ซึ่งก็เหมือนเคย อัลบั้มถูกปล่อยออกไปทาง Napster ก่อนที่จะ Release อย่างเป็นทางการถึง 3 เดือน 

แต่ผลของ Radiohead’s นั้นแตกต่างจาก Madonna  , Dr. Dre หรือ Metallica วง Radiohead นั้นไม่เคยแม้จะติด top 20 ของ chart ในสหรัฐอเมริกา พวกเค้าถูกเผยแพร่ผ่าน Napster รวมถึงคลื่นวิทยุเล็ก ๆ อย่าง radio airplay

Radiohead ใช้ Napster เป็นสื่อโปรโมตให้เค้าดังอย่างรวดเร็วได้เช่นกัน
Radiohead ใช้ Napster เป็นสื่อโปรโมตให้เค้าดังอย่างรวดเร็วได้เช่นกัน

ในช่วงที่ออก Release อัลบั้มอย่างเป็นทางการนั้น เพลงของพวกเค้า ได้ถูก download ผ่านบริการ share ไฟล์ ไปกว่า 1 ล้านครั้ง ทั่วโลก  ทำให้ในเดือนตุลาคม ปี 2000 นั้น อัลบั้ม Kid A ของพวกเค้าเข้าไปติดใน Billboard200 sales chart ได้เป็นครั้งแรก

ซึ่งมาจาก effect ของการโปรโมตผ่านบริการอย่าง Napster ทำให้สามารถเพิ่มยอดขายจากวงที่ตอนนั้นไม่ดังมาก และไม่ถูกคาดหวัง แต่สามารถประสบความสำเร็จได้ ผ่านการ promote จากบริการของ Napster นั่นเอง

ซึ่งตั้งแต่ปี 2000 ศิลปินหลาย ๆ คนก็เริ่มที่จะไม่เซ็นสัญญากับค่ายเพลงใหญ่ ๆ และไม่จำเป็นต้องทำการ promote ผ่าน mass media อย่างรายการทีวีหรือวิทยุชื่อดัง แต่หันมาใช้ Napster ในการ promote แทน ด้วยกระแสปากต่อปาก

ทำให้สุดท้ายแล้วนั้นสามารถเพิ่มยอดขายอัลบั้มในระยะยาวได้ ซึ่งหนึ่งในศิลปินที่ช่วยปกป้อง Napster ในยุคนั้นคือ Dj xealot รวมถึง Chuck D และ Public Enemy ก็ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าพวกเค้า support Napster

สุดท้ายก็ต้องปิดบริการ

แต่ด้วยปัญหากับค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ ในเดือนกรกฎาคม ปี 2001 ต้องให้หยุดให้บริการของพวกเค้าชั่วคราว และต้องจ่ายค่าปรับจากการฟ้องร้องของค่ายเพลงกว่า 26 ล้านเหรียญรวมถึงต้องจ่ายค่า licensing ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอีกกว่า 10 ล้านเหรียญหากดื้อด้านที่จะเปิดให้บริการต่อไป ทางทีมงานจึงพยายามปรับตัวเองจากบริการใช้ฟรี เป็นแบบ subscription model เพื่อหารายได้ เพื่อมาจ่ายค่า license เหล่านี้

อย่างไรก็ดีหลังจากนั้น traffic ของ Napster ก็ตกลงอย่างมหาศาล ซึ่ง Prototype ของบริการแบบใหม่ subscription model นั้นได้ถูกนำมาทดสอบเริ่มใช้ในปี 2002 ในชื่อ “Napster 3.0 Alpha” ซึ่งจะเปลี่ยน file ไปเป็น .nap  ซึ่งเป็นการเข้ารหัสเพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์

แต่เมื่อจะเปิดใช้บริการจริง ก็ต้องพบกับปัญหาในเรื่องค่า license สำหรับศิลปินชื่อดังต่าง ๆ ทำให้ในเดือน พฤษภาคมปี 2002 นั้น Napster ได้ประกาศขายกิจการให้กับ Bertelsmann บริษัททางด้าน media จากประเทศเยอรมัน ในมูลค่ากว่า 85 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมีเป้าหมายในการปรับรูปแบบของ Napster ให้เป้น online music subscription service

แต่อย่างไรก็ดี สุดท้ายการซื้อขายก็ไม่ได้เกิดขึ้น เมื่อ Napster ถูกศาลล้มละลายกลางสหรัฐ blocked ไม่ให้ขายให้กับ Bertelsmann และทำการบังคับเพื่อยึดทรัพย์สินทั้งหมดของ Napster และเข้าสู่กระบวนการล้มละลายเป็นอันสิ้นสุดยุคของ Napster อย่างเป็นทางการ

สรุป

สำหรับ Napster นั้นได้ทำการแจ้งเกิดได้ถูกที่ ถูกเวลา ในช่วงที่ internet กำลังพัฒนาเรื่อง speed จนสามารถเกิดบริการในรูปแบบ file sharing ขึ้นมาได้ idea ของ Napster นั้นต้องบอกว่าเจ๋งมากในขณะนั้น

ผู้ใช้งานต่างยกย่องบริการอย่าง Napster เพื่อมาช่วยเหลือในเรื่องการฟังดนตรี ที่สามารถเข้าถึง single หรือ album ดัง ๆ ได้อย่างง่ายดายขึ้น ผู้คนไม่ต้องไปซื้อ CD ตามร้านอีกต่อไป แต่ ปัญหาหลักใหญ่ของ ระบบแบบนี้คือ ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์

ซึ่งกลุ่มที่เสียหายคือ ค่ายเพลงรายใหญ่จำนวนมาก ซึ่งถือว่าเป็นคู่ต่อสู้ที่ไม่น่าไปสู้ด้วยแต่อย่างใด ถึงแม้ว่าบริการนี้จะถูกใจผู้ใช้งานเพียงใด แต่สุดท้ายแล้วมันก็เป็นสิ่งกฏหมาย

ซึ่งการที่เราสร้าง startup ที่เสี่ยงที่จะถูกฟ้องร้องในภายหลังนั้น ก็ไม่น่าจะควรทำมาตั้งแต่แรกดังตัวอย่างของ Napster ที่ถึงกับล้มละลาย เพราะไม่มีเงินไปเสียค่าปรับต่างๆ  จากการฟ้องร้องแม้จะพยายามที่จะปรับตัว แต่ user นั้นชินกับการบริการแบบฟรีไปแล้วหากมาเปลี่ยนรูปแบบก็ทำให้ user หนีไปยังบริการชนิดอื่นได้อย่างง่ายดายเช่นกันซึ่งสุดท้ายธุรกิจก็ไปไม่รอดอยู่ดี

Reference : en.wikipedia.org,godisageek.com

Streaming Music ทำให้เพลงสั้นลงได้อย่างไร?

 Charlie Harding และ Nate Sloan เข้าร่วมกับบรรณาธิการ Nilay Patel The Verge เพื่อแกะเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมการฟังเพลงจาก Streming Music ที่ว่ากันว่าตอนนี้ความยาวของเพลงชื่อดังนั้นลดลงเรื่อย ๆ 

นี่คือข้อความบทสัมภาษณ์จากนักแต่งเพลง Charlie Harding และนักดนตรี Nate Sloan เพื่ออธิบายว่าทำไมเพลงจึงเริ่มสั้นลงในยุคของการสตรีม

บทสัมภาษณ์

Nilay Patel: เห็นได้ชัดว่าบริการสตรีมเพลงของทุกที่ เพลย์ลิสต์อัลกอริธึมมีอยู่มากมายทุกหนทุกแห่ง การสร้างอัลบั้มมันกำลังพังทลายลง เพลงก็สั้นลงเรื่อย ๆ เมื่อเวลาผ่านไป เมื่อคุณถามว่า“ เทคโนโลยีทำอะไรดนตรีได้บ้าง” และนี่เป็นสิ่งที่เป็นรูปธรรม คือ เพลงมีความยาวลดลงกว่า 30 วินาทีในช่วง 18 ปีที่ผ่านมา

ชาร์ลีฮาร์ดิง:ใช่ หนึ่งในแนวโน้มหลักที่เราเห็นในเพลงและธุรกิจสตรีมมิ่งคือเพลงที่สั้นลงจากยุค ’90s ถึงตอนนี้ เวลาเฉลี่ยของเพลงลดลงและเราเห็นว่ามีเพลงที่สั้นมากๆ Spotify ออกมาในปี 2006 แต่เมื่อเร็ว ๆ นี้การสตรีมเพลงได้กลายเป็นกำลังสำคัญของการแพร่กระจายของเพลงและตอนนี้เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับคนเขียนเพลง

หนึ่งในสิ่งสำคัญที่มีการเปลี่ยนแปลงคือวิธีการรับเงินและมันมีผลต่อวิธีการเขียนเพลง ในอดีตคุณเคยได้รับเงินถ้าคุณขายได้ทั้งอัลบั้มผ่านรูปแบบเทป หรือ CD ในปี 1995 เรามีเพลงที่มีเวลาโดยเฉลี่ย สี่นาที 30 วินาที วันนี้ความยาวของเพลงลงไปเหลือเฉลี่ย สามนาที 42 วินาทีเพราะความแตกต่างในวิธีการได้รับเงินของศิลปินรวมถึงนักแต่งเพลงในตอนนี้ 

แทนที่จะได้รับเงินจากการขายที่เป็น Physical อย่าง เทป หรือ CD คุณจะได้รับเงินจากการจำนวนการเล่นเพลง ซึ่งจะนับเฉพาะเมื่อมีคนฟังเพลง 30 วินาที จริง ๆ แล้วมันสมเหตุสมผลถ้าคุณสามารถสตรีมเพลงได้มากขึ้นในแต่ละครั้ง

ซึ่งหมายความว่าคุณต้องการที่จะสร้างอัลบั้มของคุณที่เต็มไปด้วยเพลงที่สั้นๆกว่าเดิมมาก ดังนั้นหากคุณมีอัลบั้มเช่น Drake’s Scorpion ซึ่งเป็นอัลบั้มที่มีความยาวมาเกือบ 90 นาที แต่เขามีเพลงสั้น ๆ มากมายเพราะเขาได้รับเงินสำหรับเพลงทุกเพลงที่คุณฟัง ไม่ว่าคุณจะฟังทั้งอัลบั้มหรือไม่ก็ตาม

ไม่เพียง แต่เพลงจะสั้นลงเท่านั้น แต่วิธีที่ศิลปินแนะนำเพลงของพวกเขากำลังเปลี่ยนไป  วันนี้เราไม่เพียงแต่จะเห็นเพลงที่สั้นลงเท่านั้น แต่มีโครงสร้างเพลงใหม่ที่เราสังเกตเห็นว่าเราเรียกว่า pop overture โดยที่เพลงในตอนแรกจะเล่นแบบไร้เสียงร้อง การเริ่มร้องจะเริ่มในห้าถึง 10 วินาทีแรกเพื่อให้ไม่ให้คุณ Skip ไปเพลงอื่น โดยหวังว่า คุณจะฟังไปอยู่จนถึงประมาณ 30 วินาที เพื่อทำเงินจากการ Stream ของคุณ

การถูกบรรจุเข้าไปใน Playist จะทำร้ายได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก
การถูกบรรจุเข้าไปใน Playist จะทำร้ายได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก

Nilay Patel: มันคล้ายกับตัวอย่างภาพยนตร์มีตัวอย่างย่อย ๆ ก่อนตัวอย่างจริง ๆ จะออกมา

เนทสโลน:ใช่แน่นอน

Nilay Patel: คุณกำลังบอกว่าเพลงจะสั้นลงเนื่องจากการให้บริการสตรีมและวิธีการที่ศิลปินได้รับเงินเมื่อผู้ฟังถึง 30 วินาทีจากนั้นทุกอย่างหลังจาก 30 วินาทีนั้นก็ไม่คุ้มค่า และพวกเขาต้องการพาคุณไปสู่เพลงถัดไปหรือไม่

เนทสโลน:แน่นอนว่ายังไม่มีแรงจูงใจให้ฟังเพลงทั้งหมดและนั่นอาจเป็นส่วนหนึ่งของการทำให้เพลงสั้นลงเช่นกัน คุณไม่ต้องการเสี่ยงที่จะสูญเสียความสนใจต่อเพลงของคนฟัง ผลตอบแทนอาจไม่ใช่ตัวเงิน แต่อย่างน้อยก็ใน Spotify หากผู้ฟังฟังทั้งแทร็กซึ่งเพิ่มโอกาสที่แทร็กจะปรากฏในเพลย์ลิสต์ขนาดใหญ่ได้ ใน Spotify พวกเขาจะคำนึงถึงว่าหากมีคนฟังเพลงทั้งหมดของเพลง คุณจะได้รับเงินมากขึ้น และการถูกจัดในเพลย์ลิสต์อาจทำให้เกิดการคลิกได้มากขึ้น ดังนั้นคุณต้องการผู้ฟังที่จะฟังเพลงอย่างครบถ้วน ไม่ใช่แค่ 30 วินาทีแรก

Charlie Harding:สิ่งที่เปลี่ยนไปจริงๆคือการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของเพลง ที่มีความยาวภายในสามนาที ซึ่งมีการเติบโตโดยเฉพาะในกลุ่มฮิปฮอป เพลงเช่น “Gucci Gang” ของ Lil Pump ซึ่งมีความยาวเพียงแค่ สองนาทีสี่วินาที หากคุณดูทั้งอัลบั้มของเขา 14 จาก 19 เพลงมีความยาวไม่เกินสามนาที 

แต่ประเด็นของเนทนั้นถูกต้องคุณต้องการผู้ฟังที่จะฟังไปจนจบเพลง คุณไม่ต้องการให้ใครข้ามเพลงของคุณไปเลย  ฉันไม่คิดว่าเรากำลังเข้าสู่ยุคที่การโน้มน้าวให้ผู้ฟัง ฟังแค่ 35 วินาที  คุณต้องแน่ใจว่าพวกเขาฟังจนจบเพลงแล้ว ถึงจะออกไปสู่เพลงถัดไปเพื่อทำเงินต่อนั่นเอง

References : 
https://www.theverge.com/2019/5/28/18642978/music-streaming-spotify-song-length-distribution-production-switched-on-pop-vergecast-interview

Geek Monday EP2 : Recommendation Model อาวุธที่พา Spotify ติดปีก

Spotify นั้นรู้รสนิยมในการฟังเพลงของลูกค้ามากกว่าบริการอื่นใด แต่ระบบเบื้องหลังการทำงานนั้น ทำอย่างไรล่ะ ที่จะคอยหาเพลงที่เราจะชอบมัน ในทุก ๆ สัปดาห์ ผ่าน Features Discover Weekly  ซึ่งเพลงเหล่านั้น เราแทบจะไม่เคยได้ฟังมาก่อน แต่มาโดนกับรสนิยมเราได้ 

ปล. EP นี้ได้ถูกสร้างขึ้นก่อน EP1 ในเสียงจึงได้กล่าวว่าเป็น EP แรกครับต้องกราบขออภัยด้วย

ในวันที่ DJ Playlist พ่ายแพ้ต่อ AI Playlist

ถือเป็นข่าวที่ เซอร์ไพรซ์ ไม่น้อยเลยทีเดียวสำหรับการปิดตัวลงของคลื่นเพลงสากล ที่มีแฟน ๆ ติดตามอยู่มากมาย อย่างคลื่น Get 102.5 เป็นการปิดต้อนรับปีใหม่เลยทีเดียว โดยแทบจะไม่ได้แจ้งข่าว ให้ แฟน ๆ ทราบล่วงหน้ามาก่อนเลยด้วยซ้ำ

โดยส่วนตัว ก็ถือเป็นแฟนตัวยงของคลื่น Get 102.5 มักจะเปิดไว้เสมอเวลาขับรถไปทำงาน หรือ ถือว่าเป็นคลื่นเพลงสากล ที่เปิดเพลงฮิต ใหม่ ๆ ได้โดนใจแฟน  ๆ เป็นอย่างยิ่งและมักมีกิจกรรม มาให้ร่วมสนุกอยู่เสมอ

ต้องบอกว่ากระแสของ Digital Disruption นั้นกำลังลามไปทั่วทุกวงการสื่อจริง ๆ ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ ที่ปิดตัวกันเป็นว่าเล่น หรือแม้สื่อระดับ mass media ทั้งวิทยุ หรือ โทรทัศน์ ก็โดนไปตาม ๆ กัน ต่างทยอยปิดตัวลง ไม่ก็ขายหุ้นทิ้งกันเป็นว่าเล่น

ปิดตัวต้อนรับปีใหม่เลยทีเดียวสำหรับ คลื่น Get 102.5
ปิดตัวต้อนรับปีใหม่เลยทีเดียวสำหรับ คลื่น Get 102.5

อิทธิพลที่เคยทรงอำนาจ ของสื่อต่างๆ  ในอดีตเหล่านี้ กำลังถูกท้าทายจาก สื่อ online ที่เริ่มแตก segment ระดับย่อยให้ผู้เสพ ได้เสพกันเรื่อย ๆ มี เพจ มีช่องรายการตาม youtube ต่างๆ  มากมาย ที่น่าสนใจ ที่แย่งดึงความสนใจไปจากสื่อหลักอย่างชัดเจน ด้วยต้นทุนการสร้างที่เรียกได้ว่าแตกต่างกันมาก แต่ในขณะที่ผู้รับชมนั้น แทบจะไม่ต่างจากสื่อหลักเลย ทำให้ สื่อหลักเก่า ๆ เริ่มที่จะอยู่ยากขึ้นในกระแส Digital Disruption นี้

การปิดตัวไปเงียบ ๆ ของคลื่น Get 102.5 ก็น่าจะเกิดจากหลายสาเหตุทั้งต้นทุน ทั้งค่าโฆษณาที่ลดลง หรือ แม้แต่ฐานผู้ชมที่อาจจะมีจำนวนลดลงไปเรื่อย ๆ 

แล้วทำไมผู้คนถึงฟังวิทยุน้อยลง โดยเฉพาะคลื่นเพลง?

ตรงนี้สาเหตุหลัก ๆ เลยน่าจะมาจาก Platform ของ Music Streaming อย่างชัดเจนที่มาทำลายตลาดธุรกิจคลื่นวิทยุที่เป็นคลื่นเพลงโดยเฉพาะ เพราะ Keyหลักของ คลื่นเพลงนั้นชัดเจนมากว่ามาจาก Playlist จาก DJ ว่าจะเปิดเพลงอะไรให้ผู้ฟังได้ติดตาม

Online Music Streaming ที่มีให้เลือกมากมายในปัจจุบันเป็นส่วนสำคัญ
Online Music Streaming ที่มีให้เลือกมากมายในปัจจุบันเป็นส่วนสำคัญ

และในอดีต ผู้ฟังส่วนใหญ่ ก็จะติดตามคลื่นวิทยุ จาก Playlist ของ DJ เหล่านี้ ซึ่ง Get 102.5 ก็เป็นคลื่นหนึ่งที่ผมยอมรับว่า จัด Playlist ของเพลงออกมาได้ดีมาก คือ ฟังแล้ว ก็ต้องฟังต่อไปเรื่อย ๆ เป็นสิ่งดึงดูดให้เราได้ฟังวิทยุต่อไป

แล้ว AI Playlist จาก Platform Music Streaming ล่ะ?

ตัวอย่างทั้ง Spotify , Apple Music หรือแม้ กระทั่ง Joox เองก็ตามนั้น ต้องยอมรับว่า AI เข้ามามีบทบาท อย่างชัดเจนในการคัดเลือก Playlist เพลงมาให้ผู้ฟังได้เสพกัน

เราจะได้เห็น Playlist มากมายจาก Platform Music Streaming เหล่านี้ มีทั้งตาม อารมณ์ เศร้า เหงา ดีใจ ตื่นเต้น มีครบทุกอารมณ์

หรือจะเป็น Playlist ตามยุคสมัย  ไม่ว่าจะเป็น ยุค 80′ , 90′ , 2000′   มีให้เลือกทั้งหมดเรียกได้ว่าตามไปเสพกันแทบจะไม่ครบเลยทีเดียวสำหรับ เหล่า Playlist จาก AI ที่คอยเลือกมาให้เราทั้งหมดเหล่านี้

ผมเคยเขียน Blog ในเรื่อง Function Discovery Weekly ที่เป็น Playlist ที่จัดโดย AI ของ Spotify ( Spotify’s Discover Weekly : Machine Learning ช่วยเลือกเพลงที่โดนใจเราได้อย่างไร )

ซึ่งมันเป็นความได้เปรียบอย่างชัดเจนของ AI เมื่อเทียบกับความสามารถของมนุษย์ที่เป็น DJ มาจัด Playlist เพราะ DJ ตามคลื่นวิทยุต่าง ๆ นั้น จะจัด Playlist ตามความรู้สึกและอารมณ์หรือความชอบของตัวเองเป็นหลัก

AI เลือกเพลงตามรสนิยมของผู้ใช้งานจริง ๆ ต่างจาก DJ ที่เลือกตามรสนิยมของตัวเอง
AI เลือกเพลงตามรสนิยมของผู้ใช้งานจริง ๆ ต่างจาก DJ ที่เลือกตามรสนิยมของตัวเอง

แต่ การสร้าง Playlist ของ AI นั้นได้ใช้วิธีการคำนวน ทาง computer algorithm ในการหาเพลงที่เข้ากับรสนิยมของผู้ฟังมากที่สุด โดยมองผู้ฟังเป็นหลัก ไม่ได้จัดโดยยึดจากอารมณ์ของตัวเอง เหมือน DJ ตามคลื่นวิทยุ ซึ่งนั่นทำให้ ผู้ฟังต่างหลงใหลใน Platform Music Streaming ต่าง ๆ มากกว่าจะไปฟังวิทยุเหมือนอดีตแล้ว

อนาคตของคลื่นวิทยุ

มันเป็นทิศทางที่ชัดเจนว่า คลื่นวิทยุ โดยเฉพาะคลื่นเพลงนั้น น่าจะโดน กระแส Digital Disruption ก่อนใครเพื่อน จาก เหล่า Platform Music Streaming และผมมองว่าเมื่อก่อนนั้น เราอาจจะต้องพึ่งวิทยุในยามขับรถกันอยู่บ้าง และเริ่มฟังจากที่บ้านน้อยลงไปเรื่อย ๆ 

แต่ปัจจุบัน ด้วยการเติบโตของระบบเครือข่ายมือถือทั้ง 4G จนจะกลายเป็น 5G แล้วนั้น การแข่งขัน ที่เกิดขึ้นทำให้เกิด Package แบบ Unlimited สามารถใช้งานได้ไม่จำกัด แต่อาจจะจำกัดความเร็ว ซึ่ง ส่วนนี้ ก็เป็นปัจจัยสำคัญ เพราะเราสามารถใช้งาน Platform Music Streaming เหล่านี้ได้ โดยไม่ต้องมากังวล เรื่อง internet จะหมดเหมือนในอดีตอีกต่อไป

โปรโมชั่น Unlimit Internet แบบไม่ลดสปีด ช่วยให้สามารถฟังเพลงจาก Platform ต่าง ๆ ได้ตลอดเวลา
โปรโมชั่น Unlimit Internet แบบไม่ลดสปีด ช่วยให้สามารถฟังเพลงจาก Platform ต่าง ๆ ได้ตลอดเวลา

ซึ่งเป็นตัวเร่งให้เราได้หนีออกจากคลื่นวิทยุออกไปเร็วขึ้น แม้กระทั่งตอนนั่งรถไปทำงาน หรือ ในเวลาว่างอื่นๆ เราสามารถหยิบมือถือมาฟังเพลงได้ โดยไม่ต้องกังวลเรื่อง internet อีกต่อไป

เพราะฉะนั้นคลื่นวิทยุ ที่เป็นคลื่นเพลงนั้น จะเริ่มอยู่ยากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะคนฟังจะทยอยหายไปเรื่อย ๆ จะเหลือไว้แต่คลื่นวิทยุเฉพาะกลุ่มเท่านั้น เช่น  คลื่นกีฬา , คลื่นจราจร  หรือ คลื่นข่าว ซึ่งอาจจะพออยู่ได้ในกระแส Digital Disruption ที่กำลังถาโถม เข้าสู่สื่อยุคเก่าอย่างรุนแรงในปัจจุบัน