ประวัติ Jeff Bezos แห่ง Amazon ตอนที่ 9 : Amazon Web Service

แม้ Kindle นั้นจะเป็นหนึ่งในนวัตกรรมสำคัญที่ เจฟฟ์ เบซอส ได้สร้างขึ้นมาและพา amazon ขึ้นสู่บริษัทนวัตกรรม แบบเดียวที่ สตีฟ จ๊อบส์ ทำกับ apple ได้สำเร็จ แต่ความพยายามเปลี่ยนภาพลักษณ์ของ amazon จากบริษัทค้าปลีกให้กลายเป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีนั้น มันยังไม่สำเร็จเสียทีเดียว โครงการใหม่ ๆ เช่น Search Engine อย่าง A9.com  ล้มเหลวและถูกปิดตัวลงไปหลังจากออนไลน์ได้ไม่นาน โครงการ BlockView โดน StreetView ของ google แซงหน้าไป บริการค้นหาในเล่ม (Search Inside Book) น่าสนใจแต่ไม่สามารถช่วยให้ amazon ผงาดขึ้นมาได้

ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดที่ เจฟฟ์ และ amazon เจอคือ บรรดาวิศวกรที่ยอดเยี่ยมที่สุดในโลกกำลังหนีตาย จากวัฒนธรรมองค์กรที่เริ่มล้าหลังของ amazon แห่กันไปหา google รวมถึง startup เปิดใหม่แห่งอื่นใน ซิลิกอน วัลเลย์ ซึ่งหาก เจฟฟ์ เบซอส ต้องการพิสูจน์ให้โลกรู้ว่าแท้จริงแล้ว amazon เป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีอย่างที่เขามักกล่าวอยู่เสมอ เขาต้องอาศัยการค้นพบครั้งยิ่งใหญ่

ทิม โอไรล์ลี นักเผยแพร่การใช้เว๊บและผู้จัดพิมพ์หนังสือคอมพิวเตอร์ ได้บินมาซีแอตเทิลเพื่อมาพูดคุยกับ เจฟฟ์ เบซอส โดย โอไรล์ลี นั้นได้กล่าวกับ เจฟฟ์ ว่า amazon ทำตัวเหมือนเว๊บปลายทางโดดเดี่ยวและไม่ยอมข้องแวะกับใคร เขาอยากให้ amazon เปิดเผยข้อมูลของ amazon ให้แก่สังคมภายนอก

ทิม โอไรลีย์ ผู้เปิดแนวคิดให้ amazon สร้าง API ให้นักพัฒนาภายนอก
ทิม โอไรลีย์ ผู้เปิดแนวคิดให้ amazon สร้าง API ให้นักพัฒนาภายนอก

โอไรล์ลี ได้สร้างเครื่องมือที่เรียกว่า amarank ซึ่งเป็นเครื่องมืออันซับซ้อนมาให้เจฟฟ์ ได้ดู โดยเครื่องมือดังกล่าวนั้นจะทำการเข้าเยี่ยมชมเว๊บไซต์ amazon ทุก ๆ สองสามชั่วโมง และคัดลอกการจัดอันดับหนังสือของสำนักพิมพ์โอไรล์ลีมีเดีย รวมถึงหนังสือของคู่แข่ง แต่มันเป็นกระบวนการที่ช้าอืดอาดมาก เพราะใช้เทคนิคแบบเก่า และรูปแบบการทำงานคล้าย ๆ hack ข้อมูลจากหน้าจอ amazon.com

โอไรล์ลี แนะนำว่า amazon ควรที่จะพัฒนาชุดเครื่องมือออนไลน์ที่เรียกว่า ส่วนต่อประสานประยุกต์ ( application programming interface) หรือ API เพื่อให้บุคคลภายนอกติดตามข้อมูลเรื่องราคา ผลิตภัณฑ์ และอันดับการขายได้อย่างง่ายดาย

เจฟฟ์ เบซอส เริ่มเห็นโอกาสบางอย่างจากการพบกับ โอไรล์ลี ครั้งนี้  เขาคิดถึงเรื่องของความสำคัญของการเป็นแพลตฟอร์ม และการพัฒนา API เพื่อให้คนภายนอกได้ใช้งานเป็นเรื่องที่น่าสนใจ

เขาจึงสั่งดำเนินการให้ทีมงานสร้า API ชุดใหม่เพื่อให้นักพัฒนาเชื่อต่อเข้าเว๊บ amazon ได้ ซึ่งมันจะทำให้ เว๊บไซต์อื่นสามารถเผยแพร่รายการสินค้าจากแคตตาล็อกของ amazon ได้ รวมถึงแสดงราคา และ คำอธิบายประกอบสินค้าอย่างละเอียด ทั้งยังอนุญาติให้ใช้ระบบชำระเงินและตะกร้าสินค้าของ amazon ได้อีกด้วย

ตัวเจฟฟ์ เบซอส เองนั้นก็ได้ยอมรับหลักคิดใหม่เกี่ยวกับการเปิดกว้างขึ้นของเว๊บ amazon ได้เริ่มมีการจัดประชุมนักพัฒนาครั้งแรกขึ้น และได้เชิญบุคคลภายนอก ที่เดิมเคยคิดจะเจาะเข้ามาระบบของ amazon ให้มาร่วมพัฒนา API กับ amazon เสียเลย  ซึ่งมันทำให้นักพัฒนากลายมาเป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งของ amazon ecosystem และเจฟฟ์ นั้นได้ตั้งชื่อโครงการนี้อย่างเป็นทางการว่า บริการ amazon web service (AWS) 

จากแนวคิด API พัฒนาจนกลายมาเป็น Amazon Web Service ( AWS)
จากแนวคิด API พัฒนาจนกลายมาเป็น Amazon Web Service (AWS)

และมันทำให้ในปัจจุบันนั้น บริการ amazon web service หรือ AWS กลายเป็นธุรกิจขายโครงสร้างพื้นฐานทางด้านคอมพิวเตอร์ เช่น การจัดเก็บข้อมูล ฐานข้อมูล หรือระบบการคำนวณแบบสมรรถนะสูง มันทำให้บริษัทเกิดใหม่อย่าง Pinterest หรือ Instragram สามารถกำเนิดขึ้นมาได้ โดยมีค่าใช้จ่ายเริ่มต้นไม่สูงมากนัก 

หรือแม้กระทั่งบริษัทขนาดใหญ่อย่าง Netflix ก็ใช้บริการของ amazon เพื่อทำการสตรีมภาพยนต์ส่งให้ลูกค้า และ AWS เองก็จำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำรายได้ในอนาคตของบริษัทเทคโนโลยีเกิดใหม่ ซึ่งมันก็กลายเป็นแหล่งรายได้ใหม่ของ amazon ที่ไม่ได้พึ่งพาแค่ อีคอมเมิร์ซอีกต่อไป

ให้บริการตั้งแต่บริษัท startup ขนาดเล็กไปจนถึงบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Netflix
ให้บริการตั้งแต่บริษัท startup ขนาดเล็กไปจนถึงบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Netflix

ต้องบอกว่าการเกิดขึ้นของ AWS นั้น ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ ด้าน บริการเว๊บเซอร์วิส ที่เข้าถึงง่าย และราคาไม่แพงของ amazon ช่วยให้เกิดบริษัทตั้งใหม่ด้าน internet อีกเป็นพัน ๆ แห่ง ซึ่งไม่สามารถที่จะตั้งขึ้นมาได้เลยหากไม่มีบริการดังกล่าว

นอกจากนี้ บริการ AWS ของ amazon ยังส่งผลให้บริษัทขนาดใหญ่เช่า super computer ในระบบ cloud ได้ จนนำไปสู่ยุคใหม่แห่งนวัตกรรมแขนงต่าง ๆ เช่น การเงิน น้ำมันและก๊าซ สุขภาพ และวิทยาศาสตร์ มันไม่ใช่คำกล่าวที่เกินจริงเลยที่จะพูดได้ว่า AWS ช่วยฉุดเทคโนโลยีทั้งหมดขึ้นมาหลังจากป่วยเรื้อรังจากยุคดอทคอม และกำหนดนิยามใหม่ของคลื่นลูกถัดไปในเรื่องการประมวลผลระดับองค์กรธุรกิจขึ้นมาใหม่

และการปฏิรูปที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอาจเป็นภาพลักษณ์ของ amazon นั่งเอง AWS นั้นขยายขอบข่ายความเป็นสรรพสินค้าออกไปอีก อีกทั้งยิงมีสินค้าอื่นๆ  ที่ดูจะแตกต่างออกไปด้วย amazon จึงได้ฉีกหนีคู่แข่งไปอีกขั้น ไม่ว่าจะเป็นวอลมาร์ต และบริษัทค้าปลีกที่เป็นคู่แข่งรายอื่น ๆ amazon ได้สร้างเสน่ห์ใหม่ ๆ ให้บริษัทสามารถดึงดูดเหล่าวิศวกรอัจฉริยะให้เข้ามาทำงานได้อีกครั้ง และที่สำคัญหลังผ่านความล้มเหลวและความขมขื่นภายในมานานนับปี ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ตอนนี้ amazon ได้กลายเป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีแล้ว อย่างที่เจฟฟ์ เบซอส นึกฝันอยากให้เป็นเสมอมา

–> อ่านตอนที่ 10 : From Zero to No.1 (ตอนจบ)

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 : My name is Jeff Bezos *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ