Amazon เตรียมออกเครื่องอ่านอารมณ์มนุษย์

รายงานล่าสุดจาก Bloomberg : Amazon กำลังสร้างอุปกรณ์ทำงานบนอุปกรณ์สวมใส่ที่เปิดใช้งานด้วยเสียงและสวมผ่านข้อมือ และสามารถตรวจจับ อารมณ์ของมนุษย์ ได้ ซึ่งนี่จะเป็นอุปกรณ์เพื่อสุขภาพที่ค่อนข้างแปลกใหม่ที่เรามักจะคุ้นเคยกับการเห็นในแคมเปญคราวด์ฟันดิ้ง แทนที่จะเป็นหนึ่งใน บริษัท เทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง Amazon

Bloomberg ได้พูดคุยกับแหล่งข้อมูลและตรวจสอบเอกสารภายในของ Amazon ซึ่งมีรายงานว่าทีมพัฒนาซอฟต์แวร์ด้านเสียงของ Alexa และ ฝ่ายฮาร์ดแวร์ที่ชื่อว่า Lab126 ของ Amazon ร่วมมือกันพัฒนาอุปกรณ์สวมใส่ได้ อุปกรณ์ที่ทำงานพร้อมกับแอพสมาร์ทโฟนซึ่งจะมีไมโครโฟนที่สามารถ“ แยกแยะอารมณ์ของผู้สวมใส่จากเสียงของพวก” 

Lab126 จะรับผิดชอบในเรื่องของ Kindle, Fire Phone และลำโพง Echo ซึ่งได้มีการเปิดตัว Alexa เป็นครั้งแรกและรายงานเมื่อปีที่แล้วชี้ให้เห็นว่า Lab126 กำลังพัฒนาหุ่นยนต์ใช้งานในบ้านด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งความพยายามด้านฮาร์ดแวร์ทั้งหมดของอเมซอนในขณะนี้คือการสร้างระบบนิเวศของอุปกรณ์ที่มีคุณสมบัติของ Alexa ด้วยความสามารถของหุ่นยนต์ ที่มีข่าวลือว่าทำให้ Alexa สามารถการตรวจจับอารมณ์จากเสียงของผู้ใช้งานได้

ซึ่งเทคโนโลยีตามข่าวลือดังกล่าวนี้ เป็นหนึ่งในสิ่งที่ยังไม่มีใครทำได้เพราะมันยากที่จะทำให้เป็นจริง ซึ่งจากข่าวลือในตอนนี้ก็ยังไม่ชัดเจนว่าโครงการของ Amazon เข้าใกล้ความเป็นจริงแค่ไหน และจะทำให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ออกมาจำหน่ายได้หรือไม่ ดังนั้นในอนาคตอันใกล้นี้ เราอาจจะได้เห็นเครื่องมือที่สามารถตรวจสอบอารมณ์มนุษย์ได้จาก Amazon นั่นเองครับ

References : 
https://www.theverge.com/circuitbreaker/2019/5/23/18636839/amazon-wearable-emotions-report

SMART LIVING in THE SMART WORLD

Thailand 4.0 คงเป็นคำที่พวกเราได้ยินกันบ่อยขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา ในขณะที่ Smart Phone Tablet คืออุปกรณ์ที่แทบจะทำได้ทุกอย่างที่ช่วยให้การใช้ชีวิตของผู้คนในปัจจุบันสะดวกสบายกันมากขึ้น และในอุปกรณ์เหล่านี้ที่พวกเราใช้งานกันอยู่นั้นจะมีระบบนึงที่เรียกว่า “Voice Recognition” ที่คอยช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งาน แต่พวกเราอาจมองข้ามและอาจไม่ค่อยได้ใช้สักเท่าใดนัก เพราะการใช้งานโดยการพิมพ์ หรือสัมผัสหน้าจอนั้นค่อนข้างถนัดหรือทันใจกว่าการที่เราจะต้องสั่งงานด้วยเสียง และตัดปัญหาในเรื่องของกำแพงภาษาออกไป

Siri ในฐานะ Intelligent Assistant ของระบบ Voice Recognition บน iPhone 4S ที่ได้เปิดตัวเป็นที่รู้จักครั้งแรกเมื่อปี 2011 ทำให้การสั่งงานอุปกรณ์ด้วยเสียงนั้นได้เริ่มกลายเป็นเทรนด์ใหม่ของโลก Smart Devices ในปัจจุบัน ต่อมาทาง Google เอง ก็ได้มี Google Now ทาง Microsoft เจ้าของระบบปฏิบัติการอย่าง Windows 10 ก็มี Cortana

แต่ด้วยข้อจำกัดด้านความสามารถของเหล่า Intelligent Assistant เหล่านี้ที่ได้กล่าวไปแล้วว่าผู้ใช้สามารถค้นหาและทำทุกอย่างได้เองบนมือถือ รวมถึงการที่ตัว Intelligent Assistant ต้องไปอยู่บนสมาร์ทโฟน อีกเหตุผลที่สำคัญคือผู้ใช้เองก็ไม่กล้าสั่งงานด้วยเสียงในที่สาธารณะและตัวระบบเองก็ไม่พร้อมที่จะรองรับคำสั่งตลอดเวลา แต่ต้องมีการกดปุ่มโฮมค้างไว้เพื่อออกคำสั่ง ทำให้ Intelligent Assistant หรือการสั่งงานด้วยเสียงช่วงแรกๆ ไม่ตอบโจทย์ผู้ใช้มากนัก จนกระทั่งปัจจุบันได้มีการพัฒนาให้ Intelligent Assistant นั้นมาอยู่บนลำโพงที่มีการเปิดระบบให้พร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา (always-on) หรือที่เรียกว่า “Smart Speakers”

การย้าย Intelligent Assistant ไปอยู่บนลำโพงที่ always-on ที่สามารถรองรับคำสั่งได้ตลอดเวลาทั้งจากระยะไกลและ/หรืออยู่ในพื้นที่ส่วนตัวอย่างในบ้าน ออฟฟิศ ทำให้ลำโพงกลายเป็นแพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์การสั่งงานด้วยเสียงมากกว่าบนสมาร์ทโฟน

เมื่อ Intelligent Assistant ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รองรับคำสั่งมากขึ้นและเป็นธรรมชาติมากขึ้น จึงมีการเปิดตัวอุปกรณ์ Smart Speakers ออกมาอย่างมากมายในช่วงปีกว่าๆที่ผ่านมา ที่เป็นที่รู้จักและใช้งานกันอยู่ ณ เวลานี้นั้นได้แก่ “Amazon Echo” ของ Amazon “Google Home” ของ Google และ “Homepod” ของ Apple และที่กำลังจะตามมาอย่าง “Bixby” ของ Samsung รวมไปถึง “Cortana” ของ Microsoft

เหล่า Smart Speaker แบรนด์ต่าง ๆ

เหล่า Smart Speaker แบรนด์ต่าง ๆ

เกริ่นมาเสียยาว ว่าแต่เจ้า “Smart Speakers” นี่มันทำอะไรได้บ้าง สำคัญอย่างไร จำเป็นหรือยังกับวิถีการใช้ชีวิตในปัจจุบัน ความสามารถทั่วไปนั้น ก็เหมือนกับตอนที่อยู่ใน Smart Phone อย่างเช่น การค้นหาข้อมูล หรือตอบคำถามต่างๆ คล้ายกับว่าเรากำลังพูดคุย สนทนากับใครสักคนที่ค่อนข้างรอบรู้ไปหมดทุกเรื่อง หรือช่วยเราหาข้อมูลต่างๆได้มากมาย แน่นอนว่าถ้าความสามารถแค่นี้ อาจจะยังไม่ค่อยสำคัญหรือจำเป็นสักเท่าไหร่

แต่สิ่งที่ Smart Speakers สามารถทำได้มากไปกว่านั้นคือ การสั่งงานอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆภายในบ้าน ออฟฟิศ จะเพียงแค่เปิด-ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านั้น หรือจะให้ปรับรายละเอียดต่างๆก็แล้วแต่ว่าเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นๆจะมีการสั่งงานได้มากเพียงใด ยกตัวอย่างเช่น เราต้องการเปิด-ปิดทีวี ก็แค่ออกเสียงสั่งการ จะปรับระดับเสียงทีวี ก็แค่ออกเสียงสั่งการ จะเปิด-ปิดแอร์ หรือปรับอุณหภูมิก็แค่ออกเสียงสั่งการ  รวมไปถึงการเปิด-ปิดไฟ และอีกหลายๆเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีภายในบ้าน ก็สามารถที่จะควบคุมสั่งการได้เพียงออกเสียง

ไม่เพียงแค่นั้น Smart Speakers ยังสามารถที่จะตอบสนองความต้องการด้านอื่นๆได้อีก เช่น เราต้องการฟังเพลงอะไร ก็แค่สั่งการออกไป มันก็จะสามารถเล่นเพลงที่เราต้องการได้ รวมไปถึงออกคำสั่งให้เป็นการตั้งปลุก เตือน หรือสร้างกำหนดการนัดหมายต่างๆในชีวิตประจำวันก็ทำได้ เสมือนมีเลขาส่วนตัวในบ้าน ในออฟฟิศ โดยเฉพาะคนที่อยู่คนเดียว Smart Speakers ก็สามารถเป็นเพื่อนที่คอยสนทนา หรือเล่นเกมส์ด้วยกันได้อีกด้วย

Jarvis กำลังจะมาใช้ในโลกแห่งความเป็นจริงไม่ใช่แค่เพียงในหนัง

Jarvis กำลังจะมาใช้ในโลกแห่งความเป็นจริงไม่ใช่แค่เพียงในหนัง

ทั้งหมดที่กล่าวมา ในโลกปัจจุบันที่อะไรๆก็สามารถเป็นจริงได้ ลองนึกภาพของ Jarvis ระบบ Artificial Intelligent (AI) ในภาพยนตร์เรื่อง Iron Man ซึ่งมีความเป็นไปได้มากขึ้นที่เกิดขึ้นจริงในอนาคตอันใกล้ และถ้าการพัฒนาเจ้า Smart Speakers นี้สามารถเป็นอุปกรณ์ที่สามารถพกพาติดตัวไปไหนก็ได้ เราก็จะมี AI ที่คอยอำนวยความสะดวกให้เราตลอดเวลา

กอปรกับปัจจุบันกระแสการพัฒนาด้าน AI ที่แทบจะมาแทนการทำงานหลายๆอย่างของมนุษย์นั้นกำลังเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ถ้าจะให้เห็นภาพง่ายๆ ก็อย่างเช่นการทำธุรกรรมทางการเงินทุกอย่างผ่านแอพพลิเคชันใน Smart Phone โดยที่เราไม่ต้องไปธนาคารอีกต่อไป เจ้าหน้าที่ธนาคารก็อาจจะแทบไม่มีความจำเป็นอีกแล้วในอนาคต การชำระสินค้าบริการต่างๆในปัจจุบันที่ต้องไม่ต้องพกเงินสด เพียงคุณหยิบ Smart Phone ขึ้นมา แล้วสแกนผ่าน QR Code และอีกหลายๆอย่างในหลายๆวงการที่นำ AI เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการบริหารจัดการ

Artificial Intelligent (AI) ในความคิดของผมไม่ได้มาทำให้มนุษย์เราเป็นง่อย งอมืองอเท้าทำอะไรไม่เป็น แต่มันคือสิ่งที่มาทำให้มนุษย์เรามีเวลามากขึ้นในการที่จะเอาตัวเองไปพัฒนาทักษะทางด้านอื่นที่จำเป็นกับชีวิตของตนเอง และ “เวลา” ก็ยังคงเป็นสิ่งที่มีค่ากับมนุษย์เราเสมอ ในวันที่โลกช่างหมุนเร็ว และเร็วขึ้นเรื่อยๆ อย่างไม่มีวันที่จะชะลอลงเลย

สวัสดีครับ

ปล. สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถติดตามอ่านเพิ่มเติมได้จากแหล่งข้อมูลอ้างอิง ตามนี้นะครับ

Google Assistant vs Alexa กับการเดินเกมใหม่ของ Google เพื่อสู้ Amazon

https://www.blognone.com/node/99773

รู้จักกับ ระบบสั่งงานด้วยเสียง ( Intelligent Personal Assistant ) บนสมาร์ทโฟน

https://www.it24hrs.com/2014/siri-svoice-google-now/

แนะนำเครื่องมือ Artificial Intelligence (AI) ที่ช่วยเสริมกลยุทธ์การตลาดและเพิ่มยอดขายอย่างชาญฉลาด

https://www.contentshifu.com/productivity/artificial-intelligence-ai-marketers/

 

บทความจาก spcial guest  : Yupawat Thukngamdee

Credit Image : bellanaija.com

ศึกชิงตัวบุคคลากรด้าน AI ของยักษ์ใหญ่แห่ง Silicon Valley

ต้องบอกว่ากระแสของ AI นั้นมาแรงจริง ๆ ในช่วงนี้ ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องที่เป็นบุคลลากรด้าน AI ทั้งนักวิจัย รวมถึงวิศวกรต่าง ๆ ที่มีความสามารถทางด้าน AI เป็นที่ต้องการจากบริษัทยักษ์ใหญ่ของ silicon valley ไม่ว่าจะเป็น google , microsoft , apple หรือ facebook ซึ่งล้วนแล้วต่างมี project ที่เกี่ยวข้องกับ AI กันแทบทั้งสิ้น

แต่ไม่ใช่เฉพาะบริษัทยักษ์ใหญ่เท่านั้น เหล่า startup เล็ก ๆ ก็ให้ข้อเสนอที่เย้ายวนใจสำหรับบุคคลากรด้านนี้เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของหุ้น ซึ่งอาจจะทำให้เป็นเศรษฐีได้หากบริษัท startup เล็ก ๆ เหล่านั้นประสบความสำเร็จแบบบริษัทรุ่นพี่ขึ้นมาจริง ๆ เหมือนที่ google , facebook เคยทำได้ในอดีต

ต้องบอกว่าการแข่งขันทางด้านการแย่งตัวบุคคลากรนั้น ค่อนข้างรุนแรง เนื่องจากมีพนักงานที่มีคุณสมบัติด้าน AI ที่เป็นไปตามความต้องการของบริษัทเหล่านี้อยู่ไม่มาก จึงต้องมีการแย่งชิงตัวกัน โดยมีข้อเสนอเงินรายได้จำนวนมหาศาลเพื่อเป็นสิ่งล่อใจในการแย่งชิงตัวบุคลากรเหล่านี้

ซึ่งต้องบอกว่าเหล่าบริษัทยักษ์ใหญ่ใน silicon valley เดิมพันค่อนข้างสูงกับเทคโนโลยี AI ไล่มาตั้งแต่ ระบบการสแกนหน้าผ่าน smartphone เทคโนโลยีทางด้าน healthcare รวมไปถึง ในอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่กำลังมุ่งสู่ยานยนต์ไร้คนขับ ซึ่งกำลังเดิมพันด้วยจำนวนเงินที่น่าตกใจ ทำให้รายได้ของพนักงานเหล่านี้สูงขึ้นตามไปด้วย

ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้าน AI ซึ่งรวมถึง ดอกเตอร์ที่เพิ่งจบปริญญาเอกมาใหม่ ๆ หรือแม้กระทั่งพนักงานที่มีประสบการณ์ไม่มากนัก แต่มีความรู้ด้าน AI ตามความต้องการของบริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้ ก็สามารถเสนอค่าตอบแทนได้สูงถึง 300,000 – 500,000 เหรียญสหรัฐต่อปี รวมถึงให้ข้อเสนอทางด้านหุ้น เพื่อเป็นสิ่งล่อใจให้กับบุคคลากรเหล่านี้ให้เข้ามาอยู่กับบริษัทตัวเองให้ได้

สำหรับผู้ที่มีประสบการณ์การทำงานใน field AI มาบ้างแล้วนั้นก็ได้ค่าตอบแทนที่สูงขึ้นไปอีกในหลักล้านเหรียญสหรัฐต่อปี รวมถึงจำนวนหุ้นที่เป็นข้อเสนอก็จะมีจำนวนมากตามประสบการณ์ของพนักงานคนนั้น ๆ และรูปแบบการต่อสัญญานั้นบางครั้งก็คล้าย ๆ กับนักกีฬาอาชีพเลยก็ว่าได้ ซึ่งสามารถเรียกค่าตอบแทนเพิ่มมากขึ้นในการต่อสัญญาใหม่ โดยสัญญาอาจจะเป็นระยะสั้น เพื่อให้สามารถต่อรองเรื่องสัญญาใหม่ได้เร็วขึ้นนั่นเองเพราะมีหลายบริษัทที่คอยจะฉกตัวกันไปอยู่แล้ว เพราะความต้องการใน domain ดังกล่าวนั้นมีล้นมาก แต่บุคคลากรยังไม่พอต่อความต้องการ

ยิ่งไม่ต้องพูดถึงในระดับผู้บริหารที่มีประสบการณ์กับโครงการ AI นั้น บางรายอาจจะมีปัญหาถึงกับต้องเข้าสู่กระบวนการศาลกันเลยทีเดียวเช่น ในกรณีของ Anthony Levandowski ซึ่งเป็นลูกจ้างเก่าของ google ที่ได้เริ่มงานกับ google มาตั้งแต่ปี 2007 ได้รับค่าแรงจูงใจหรือ incentive ในการไปเซ็นสัญญาเข้าร่วมงานกับบริษัท Uber กว่า 120 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งต้องทำให้ทั้ง google และ Uber ต้องมีปัญหาขึ้นโรงขึ้นศาลกันเนื่องมาจากปัญหาเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาที่อาจจะถูกละเมิดได้

Anthony Levandowski

มีปัจจัยเร่งไม่กี่อย่างที่ทำให้อัตราการจ่ายค่าจ้างของบุคคลากรด้าน AI นั้นถีบสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว หนึ่งในนั้นคือ การแย่งตัวจาก อุตสาหกรรมรถยนต์ ที่กำลังพัฒนาในส่วนรถไร้คนขับ ซึ่งต้องการบุคคลากรแนวเดียวกันกับที่บริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้าน internet ใน silicon valley ต้องการ ซึ่งส่วนของบริษัททางด้าน internet อย่าง facebook หรือ google นั้นต้องการแก้ปัญหาหลายอย่างที่ต้องใช้ AI ในการแก้เช่น การสร้างผู้ช่วย digital สำหรับ smart phone หรือ IoT device ที่อยู่ภายในบ้าน หรือการคัดกรองเนื้อหา content ที่ไม่เหมาะสมในระบบก็ต้องอาศัย AI ในการช่วยคัดกรอง ซึ่งการแก้ไขปัญหาเหล่านี้นั้นไม่เหมือนกับการสร้าง application mobile ธรรมดา ๆ ที่สามารถหาบุคคลากรได้ไม่ยาก แต่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญในด้าน AI เพื่อช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ให้ง่ายขึ้น

ต้องอาศัยเงินไม่ใช่น้อยหากจะสร้าง Lab ทางด้าน AI ตัวอย่างของ  Deepmind ที่เป็น Lab ที่วิจัยทางด้าน Deep Learning ที่ถูก google aqquired ไปเมื่อปี 2014 มูลค่ากว่า 650 ล้านเหรียญสหรัฐนั้น มีรายจ่ายในการจ้างพนักงาน และเหล่านักวิจัยกว่า 400 คน สูงถึง 138 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งโดยเฉลี่ย ต่อคนสูงถึง 345,000 เหรียญสหรัฐต่อปี ซึ่งเป็นการยากที่บริษัทเล็ก ๆ จะสามารถแข่งขันเรื่องค่าจ้างกับบริษัทยักษ์ใหญ่ดังกล่าวได้

สำหรับความสำเร็จของงานวิจัยด้าน AI นั้นขึ้นอยู่กับ เทคนิคที่เรียกว่า Deep Neural networks ซึ่ง เป็น อัลกอรึธึมทางคณิตศาสตร์ ที่สามารถเรียนรู้ผ่านข้อมูลได้ด้วยตัวเอง เช่น การมองหารูปแบบของสุนัขนับล้านตัว ซึ่งทำให้ Neural Network สามารถเรียนรู้ที่จะจดจำรูปแบบของสุนัขได้ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนั้นต้องย้อนกลับไปตั้งแต่ยุค 1950 แต่มันยังคงอยู่ในรูปแบบของการศึกษาเท่านั้นจนกระทั่ง 5 ปีที่ผ่านมา ถึงได้เริ่มมีการนำมาประยุกต์ใช้ในงานจริง

googleplex

ในปี 2013 นั้น google , facebook รวมถึงบริษัทอื่น ๆ จำนวนหนึ่งนั้นได้ทำการเริ่มรับสมัครนักวิจัยเพียงไม่กี่คนที่เข้าใจถึง เทคนิคดังกล่าว ซึ่ง Neural Network ในตอนนี้สามารถที่จะช่วยจดจำใบหน้าในภาพถ่ายที่ post ไปยัง facebook หรือ สามารถระบุคำสั่งได้ใน Amazon Echo รวมถึงสามารถที่จะช่วยแปลภาษาต่างประเทศได้ผ่านบริการ skype ของ Microsoft ซึ่งล้วนแล้วแต่เกิดจากการพัฒนาทางด้าน Neural Network และมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจจริงแทบทั้งสิ้น

ซึ่งการใช้ อัลกอริธึมทางคณิตศาสตร์ในลักษณะเดียวกันนั้น นักวิจัยกำลังทำการพัฒนารถยนต์แบบไร้คนขับ รวมถึงพัฒนาบริการของโรงพยาบาลในการวิเคราะห์โรค ผ่าน ภาพทางการแพทย์เช่น ภาพ X-Ray รวมถึงในวงการตลาดเงินหรือตลาดทุนนั้น ก็มีการพัฒนาหุ่นยนต์ที่คอยช่วยซื้อขายหุ้นแบบอัตโนมัติ ซึ่งนักวิจัยเหล่านี้ล้วนเป็นพวกมันสมองที่จบจากมหาวิทยาลัยดัง ๆ ของสหรัฐทั้งนั้น

Uber นั้นได้ทำการว่าจ้างนักจัยกว่า 40 คนจาก Carnegie Mellon เพื่อมาช่วยพัฒนายานยนต์ไร้คนขับของ Uber  และ 1 ใน 4 ของนักวิจัยด้าน AI ชื่อดังได้ลาออกจากงานจากตำแหน่งศาสตราจารย์ที่มหาลัยสแตนฟอร์ด ส่วนในมหาวิทยาลัยวอชิงตันนั้น 6 ใน 20 ของนักวิจัยที่อยู่ในมหาลัย รวมถึงคณาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญกำลังลาออก และ ไปทำงานให้กับภาคเอกชนยักษ์ใหญ่ของอเมริกา

แต่ก็มีบางรายที่ออกไปอยู่กับองค์กรที่ไม่แสดงหาผลกำไร ตัวอย่าง Oren Etzioni ผู้ซึ่งลาออกจากตำแหน่งศาสตาจารย์จาก University of Washington เพื่อไปดูแล Allen Institute for Artifical Intelligence ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร

ส่วนบางรายก็ใช้รูปแบบการประนีประนอม Luke Zettlemoyer จาก University of Washington ได้มารับตำแหน่งที่ห้องทดลองทางด้าน AI ของ google ในเมือง ซีแอตเติล ซึ่งสามารถจ่ายเงินให้มากกว่าสามเท่าของรายได้เดิมของ Luke โดย google อนุญาติให้เขาสามารถสอนหนังสือต่อได้ที่ Allen Institute

ซึ่ง Zettlemoyes นั้นได้กล่าวไว้ว่า มีสถาบันการศึกษามากมายที่รองรับการทำงานทั้งสองรูปแบบ ที่สามารถแบ่งเวลาให้กับทั้งภาคเอกชน รวมถึง สามารถแบ่งเวลาส่วนนึงให้กับภาคการศึกษาได้ ปัจจัยหลักนั้นเกิดจากความแตกต่างอย่างสุดขั้วของรายได้ระหว่างการทำงานในภาคเอกชนกับภาคการศึกษา ซึ่งคนที่สามารถทำงานทั้งสองอย่างได้นั้น ก็เนื่องมาจากเขาสนใจในงานด้านวิชาการจริง ๆ

เพื่อเป็นการสร้างบุคคลากรรุ่นใหม่ทางด้าน AI ให้เพิ่มมากขึ้น บริษัทอย่าง google หรือ facebook นั้น ได้สร้าง class ที่สอนเนื้อหาเกี่ยวกับ “deep learning” รวมถึงเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้กับพนักงานที่มีอยู่ เพื่อเป็นการสร้างบุคคลากรรุ่นใหม่ภายในบริษัทเอง รวมถึงการเปิด online course ให้กับพนักงานผู้ที่สนใจด้าน AI ได้เข้ามาเรียนรู้

ซึ่งแนวคิดพื้นฐานของ Deep Learning นั้นก็ไม่ได้ยากเกินไปที่จะเรียนรู้ ซึ่งอาศัยความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานหลักของเหล่าวิศวกรในบริษัทเหล่านี้อยู่แล้ว แต่ การที่จะสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านนี้จริง ๆ นั้นต้องอาศัย ความรู้ทางด้านคณิศาสตร์ชั้นสูง รวมถึงความรู้เฉพาะด้าน ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสาขาต่าง ๆ เช่น รถขับเคลื่อนอัตโนมัติ หรือ การวิเคราะห์ข้อมูลด้านสุขภาพ

แต่สำหรับบริษัทเล็ก ๆ นั้นการที่จะแข่งขันกับบริษัทยักษ์ใหญ่นั้นก็มีทางเลือกไม่มากนัก ก็ต้องมองหาทางเลือกอื่นที่ใช้งบประมาณไม่สูงเท่า เช่น บางบริษัทได้ว่าจ้าง นักฟิสิกส์ หรือ นักดาราศาสตร์ ที่มีทักษะทางคณิตศาสตร์ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับ AI ได้ หรือ มองหาพนักงานจากเอเชีย ยุโรปตะวันออก หรือ ที่อื่น ๆ ที่มีค่าแรงต่ำกว่าแทน

แต่เหล่าบริษัทยักษ์ใหญ่ อย่าง google , facebook หรือ Microsoft ก็ได้ทำการเปิดห้องทดลองด้าน AI ในต่างประเทศ เช่น Microsoft นั้นได้เปิดขึ้นที่ แคนาดา ส่วน google นั้นก็มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นในประเทศจีนเหมือนกัน

ซึ่งสาเหตุต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนแต่ทำให้ไม่แปลกใจว่าการขาดแคลนบุคคลากรด้าน AI นั้นคงจะไม่บรรเทาลงไปในเร็ว ๆ วันนี้อย่างแน่นอน เพราะการสร้างบุคคลากรด้านนี้ขึ้นมานั้นไม่ใช่เรื่องง่ายแต่อย่างใด มหาลัยที่เชี่ยวชาญที่สามารถสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพออกได้ก็มีไม่มาก ซึ่งส่วนใหญ่ก็อยู่ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งจากสาเหตุที่ demand และ supply ของบุคคลากรด้าน AI ยังไม่สมดุลในขณะนี้ ก็มีแนวโน้มที่รายได้ของบุคคลากรในด้านนี้ก็จะยังคงสูงขึ้นต่อไปเรื่อย ๆ อย่างแน่นอน

 

References : www.nytimes.com , www.paysa.com , qz.com