Geek Monday EP33 : Future of US

ต้องบอกว่า ก่อนหน้านี้ ที่ IBM เคยเอาชนะแชมป์หมากรุกโลกได้นั้น ถือเป็นเรื่องเล็ก ๆ ไปเลย เมื่อเทียบกับเกมส์โกะ เพราะเกมส์โกะ เป็นเกมส์ที่มีความน่าจะเป็นในกระดานสูงมาก และต้องคิดแบบหลายชั้น ซึ่งการที่ AI สามารถเอาชนะขีดจำกัดในข้อนี้ของมนุษย์ได้นั้น ถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่ธรรมดา เราต้องลองจินตนาการว่า หาก Alpha Go สามารถเอาชนะแชมป์โลกโกะ ได้ แล้วต่อไปจะเกิดอะไรขึ้น เมื่อ AI สามารถเรียนรู้การทำงานของมนุษย์ และรู้ถึงจุดอ่อนของมนุษย์เราได้

แต่ก็อยู่ที่ว่ามนุษย์เรานั้นจะสามารถยอมรับได้หรือไม่ หากต่อไป นั้น เราจะถูกวินิจฉัยโดย AI ซึ่งไม่ใช่หมอ เช่นเดียวกับ ในอนาคตอันใกล้นี้ เราจะยอมรับได้มั๊ยว่า รถแบบขับเคลื่อนอัตโนมัตินั้น จะเป็นรถปรกติที่วิ่งบนถนนเดียวกับเรา ซึ่ง ยังไงอัตราการเกิดอุบติเหตุจาก AI เหล่านี้ ก็น่าจะน้อยกว่ามนุษย์อยู่แล้ว เพราะความแม่นยำที่สามารถตรวจสอบได้ และขีดจำกัดหลาย ๆ อย่างของมนุษย์นั้น จะไม่สามารถทำงานได้เทียบเท่า AI อีกต่อไป

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน Podbean : http://bit.ly/2tuKuof

ฟังผ่าน Apple Podcast : https://apple.co/2lEqPPg

ฟังผ่าน Google Podcast :  http://bit.ly/2ZPzz4L

ฟังผ่าน Spotify :  https://spoti.fi/2MXUHR4

ฟังผ่าน Youtube : https://youtu.be/lraW0KddTmE

*** หมายเหตุ ใน EP โปรดใช้วิจารณญาณในการรับฟังนะครับ เป็นการคาดเดาสิ่งที่จะเกิดขึ้น จากที่ผมได้ติดตามเรื่องราวเทคโนโลยีใหม่ ๆ ตลอดหลายปีที่ผ่านมาเท่านั้นครับ ***

5 ตัวอย่างกับการใช้ AI ในอุตสาหกรรม Healthcare อย่างมีประสิทธิภาพ

อุตสาหกรรมทางการแพทย์ นั้น อุตสาหกรรมหนึ่งเลยที่มีความน่าสนใจอย่างยิ่ง ที่จะนำเอา AI เพื่อมาเพิ่มประสิทธภาพการทำงานของทั้งตัวหมอเอง รวมถึง เพิ่งประสิทธิภาพของโรงพยาบาลให้ดีขึ้น

แม้ทางการแพทย์นั้น จะยุ่งเกี่ยวกับความเป็นความตายขอคนไข้ ซึ่งการนำเอาเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้นั้น ก็ต้องคำนึงถึงหลาย ๆ ส่วน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลคนไข้  , เรื่อง privacy ของคนไข้ รวมถึง ความ error ต่าง ๆ ของการนำเอาเทคโนโลยี มาใช้ เพราะล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับความเป็นความตายของคนไข้แทบจะทั้งสิ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ Sensitive กว่า Domain อื่น ๆ อยู่มาก

มาดูกันว่า 5 ตัวอย่างของการใช้ AI ในอุตสาหกรรมการแพทย์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพนั้นมีอะไรกันบ้าง

1.AI-assisted robotic surgery

ในวงการศัลยแพทย์ นั้น ได้เริ่มมีการนำหุ่นยนต์ เข้ามาใช้ช่วยเหลือ ศัลยแพทย์เป็นเวลาช่วงหนึ่งแล้ว โดย AI นั้นสามารถที่จะช่วยได้ตั้งแต่การ วิเคราะห์ข้อมูล ของคนไข้ เพื่อ Guide ให้ศัลยแพทย์ ได้ใช้เครื่องไม้ เครื่องมือ ที่ถูกต้องกับคนไข้ เป็นการลดเวลาในการเตรียมความพร้อมในการผ่าตัดไปได้มาก ซึ่งหุ่นยนต์ผ่าตัดนั้น สามารถที่จะช่วยเหลือศัลยแพทย์ ให้ผ่าตัดในจุดที่มีความเสียหายกับร่างกายน้อยที่สุด ไม่ต้องมีการผ่าตัดในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป ทำให้แผลผ่าตัดนั้น มีขนาดเล็กลง

ด้วยความสามารถของ AI  ทำให้หุ่นยนต์ผ่าตัดนั้น สามารถที่จะเรียนรู้จากการผ่าตัดครั้งก่อน ๆ หน้า เพื่อปรับเทคนิคในการผ่าตัดครั้งตอไปให้กับคนไข้ได้  ซึ่งมี Case Study ที่นำเอา AI มาช่วยเหลือหมอผ่าตัดกระดูกและข้อ ซึ่งสามารถลดจำนวนการผ่าตัดได้ถึง 5 เท่า หากเทียบกับ ให้หมอ Orthopedic ได้ทำการวิเคราะห์ด้วยตัวเองเพียงคนเดียว

Da Vinci

สำหรับการผ่าตัดในจุดที่มีความละเอียดค่อนข้างสูงอย่างการผ่าตัดตานั้น หุ่นยนต์ผ่าตัดชื่อดังอย่าง Da Vinci ก็สามารถที่จะช่วยเหลือแพทย์ในส่วนที่ซับซ้อนที่ยากต่อการเข้าถึงได้ดีกว่า การผ่าตัดแบบเดิม ๆ อย่างมาก ทำให้สามารถผ่าตัดในส่วนที่เข้าถึงยาก และมีความซับซ้อน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แม้กระทั่งในการผ่าตัดอวัยวะที่สำคัญที่สุดของมนุษย์อย่างการผ่าตัดหัวใจก็เช่นกัน หุ่น Heartlander หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดด้านหัวใจ ก็สามารถที่จะเปิดแผลที่มีขนาดเล็กมากบริเวณหน้าอก เพื่อเข้าถึงการรักษาบริเวณเนื้อเยื่อของหัวใจคนไข้ได้ โดยไม่ต้องใช้การผ่าตัดแบบเปิดผลขนาดใหญ่เหมือนที่เคยทำมา สำหรับการผ่าตัดหัวใจ

2. Virtual nursing assistants

ในด้านการพยาบาลก็เช่นเดียวกัน ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงส่วนนึง ของอุตสาหกรรม Healthcare ในอเมริการนั้น ประเมินได้ว่า หากมีการนำระบบ Vitual nursing มาใชนั้น สามารถลดรายจ่ายไปได้กว่า สองหมื่นล้านเหรียญในแต่ละปี ซึ่ง งานบางงานที่ต้องทำอะไรซ้ำ ๆ นั้น สามารถที่จะใช้ Robot หรือ AI มาช่วยเหลือได้

ซึ่งคล้าย ๆ กับ ระบบ Chatbot ที่กำลังเป็นที่นิยมในขณะนี้ การมีผู้ช่วยเหลืออย่าง Virtual Nursing นั้น สามารถที่จะทำงานได้ตลอด 24 ชม. โดยไม่ต้องมีการพักเปลี่ยนเวร แต่อย่างใด รวมถึง ได้ประสิทธิภาพบางอย่างที่ดีกว่าด้วย สามารถตอบคำถามได้อย่างรวดเร็วกว่าการใช้มนุษย์เป็นอย่างมาก หากเป็นคำถามที่ซ้ำ ๆ ที่ AI สามารถที่จะเรียนรู้ได้

แถมยังช่วบลดความไม่จำเป็นในการเข้ามาที่โรงพยาบาลได้อีกด้วย ตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จของ Virtual Assistant เช่น Care Angel’s ที่มีความสามารถทีช่วยเช็คสุขภาพเบื้องต้นของผู้ป่วยผ่านทางการสื่อสารด้วยเสียง และความสามารถของ AI ที่จะช่วยคัดกรองคนไข้ เพื่อไม่ต้องเข้ามาที่โรงพยบาลหากไม่ใช่เรื่องจำเป็นจริง ๆ

3. Aid clinical judgement or diagnosis

ในปัจจุบันมีหลาย use case ที่น่าสนใจในการนำ AI เข้ามาร่วมในการวินิจฉัยผลของคนไข้  ตัวอย่างนึงที่น่าสนใจคือทาง มหาวิทลัย Standford ได้ทำการทดสอบ AI Algorithm ในการตรวจมะเร็งผิวหนัง โดยมีการเปรียบเทียบกับ หมอผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง แล้วพบว่า ผลของการวินิจฉัยด้วย AI นั้น มีความสามารถเทียบเท่ากับการใช้หมอผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังในการวินิจฉัย แต่สิ่งที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน คือ เวลา ที่ใช้ในการวินิจฉัยต่างกันอย่างมาก AI สามารถทำได้ภายในระยะเวลาไม่กี่นาที ต่างกับ หมอผู้เชี่ยวชาญที่ต้องใช้เวลาหลายชม. ในการวิเคราะห์ผล

งานวิจัยอีกชิ้นที่น่าสนใจของ Danish AI software นั้น ได้ทำการทดสอบ algorithm ในการฟังเสียงสนทนา เมื่อมีการโทรศัพท์ฉุกเฉินเข้ามาในโรงพยาบาล กรณีผู้ป่วยในโรคหัวใจ โดยการดักฟังโทนเสียงของผู้ป่วย รูปแบบการพูด พบว่าสามารถคัดกรองผู้ป่วยที่มีโอกาสที่จะมีอาการหัวใจวายได้ถึง 93% ซึ่งสูงกว่ารูปแบบปรกติที่ใช้มนุษย์คัดกรองที่ทำได้เพียงแค่ประมาณ 73% เท่านั้น

ส่วนทางฝั่งยักษ์ใหญ่ Search Engine จากจีนอย่าง Baidu Research นั้น ก็ได้ทำการทดสอบ Deep learning algorithm ที่สามารถที่จะระบุถึงการแพร่กระจายของมะเร็งเต้านม ได้ดีกว่าการวิเคราะห์จากมนุษย์

ส่วนทางด้านประเทศอังกฤษ นายกรัฐมนตรี Theresa May ก็ได้ประกาศวาระสำคัญของชาติ คือ AI Revolution ซึ่งจะช่วยเหลือ National Health Service (NHS) ซึ่งคงคล้ายๆ  สปสช. ของบ้านเรา ในการช่วยทำนายผู้ป่วยที่มีโอกาสเกิดโรคมะเร็ง โดยการวิเคราะห์จาก ข้อมูลทางด้านสุขภาพ พฤติกรรมการใช้ชีวิต รวมถึงพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และยังวิเคราะห์จากข้อมูลทางด้าน พันธุกรรมของคนไข้ เพื่อช่วยทำนายว่า คนไข้ มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งหรือไม่ โดยใช้ AI และข้อมูลจาก NHS

4. Workflow and administrative tasks

งานด้านเอกสารหรือธุรการต่าง ๆ ภายใน workflow ของระบบโรงพยาบาลนั้นก็เป็นต้นทุนสำคัญอย่างนึงของโรงพยาบาล ซึ่ง ประมาณได้ว่า ในปี ๆ หนึ่ง ๆ ในประเทศอเมริกา หากสามารถนำ AI มาช่วยงานเหล่านี้ได้นั้น สามารถที่จะลดต้นทุนไปได้กว่า 18,000 ล้านเหรียญ สหรัฐเลยทีเดียว

ซึ่ง AI สามารถที่จะช่วยเหลือในงานต่าง ๆ ได้ไม่ว่าจะเป็น voice-to-text transcriptions หรือการแปลงจากเสียงมาเป็นtext  งานด้านเอกสารกำกับยา หรืองานที่เกี่ยวข้องกับ chart notes

ซึ่งตัวอย่างนึงที่ใช้ AI ในการช่วยเหลืองานด้าน Admin คือการร่วมมือกันระหว่าง Cleveland Clinic และ IBM โดยมีการนำเอา IBM’s Watson มาช่วยในการวางแผนการรักษาให้กับแพทย์ โดยทำการวิเคราะห์จากข้อมูล medical record โดยใช้เทคโนโลยี Natural language processing เพื่อช่วยวางแผนการรักษาให้กับแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

5. Image analysis

ต้องบอกว่าเป็นงานที่สำคัญอย่างหนึ่งเลยสำหรับการวิเคราะห์ภาพเช่นในการ ทำการ X-RAY , MRI หรือ Ultrasound ซึ่ง effect โดยตรงต่อผู้ป่วย เพราะเป็นการวิเคราะห์ ให้เจอสาเหตุของโรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย

ซึ่งโดยปรกติแล้วนั้นงานทางด้าน Image Analysis โดยผู้เชี่ยวชาญนั้น เป็นงานที่ต้องใช้เวลาในการวิเคราะห์เป็นอย่างมาก

ตัวอย่างสำคัญในการวิเคราะห์ที่ทำให้ process เหล่านี้ทำได้รวดเร็วขึ้น คือ ในงานวิจัยของ MIT ได้ทำการพัฒนา machine learning algorithm ที่สามารถจะวิเคราะห์ภาพ Scan 3D จากการถ่าย MRI , CT-SCAN โดยสามารถที่จะวิเคราะห์ได้เร็วกว่าผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมนุษย์ถึง 1000 เท่า ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่าสนใจเลยทีเดียว

ซึ่ง AI นั้นจะมาช่วยเหลืออย่างมากกับงานด้านรังสีแพทย์ เพราะเป็นงานที่ AI สามารถทำงานได้ดีที่สุด เนื่องจากเป็นการใช้ประสบการณ์การเรียนรู้จากข้อมูลในอดีต หากมีคลังข้อมูลที่มากพอ ก็ทำให้ AI มีผลการวิเคราะห์ที่แม่นยำกว่ารังสีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเสียอีก

รวมถึงการที่ AI สามารถมาช่วยเหลืองานด้าน Telemedicine ในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งคนไข้สามารถที่จะใช้ Smartphone ในการถ่ายภาพเบื้องต้น ของบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ หรือ ต้องการรักษา ซึ่ง AI สามารถที่จะช่วยเหลือในการวิเคราะห์อาการเบื้องต้นจากภาพถ่ายเหล่านี้ได้ และสามารถ guide แนวทางการรักษาเบื้องต้นให้กับผู้ป่วยที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลได้

AI จะเข้ามาช่วยเหลือหรือแย่งงานจากคนในอุตสาหกรรม Healthcare

ต้องบอกว่าด้วยพื้นฐานทางเทคโนโลยีในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นด้าน AI , Machine Learning รวมถึงเทคโนโลยีทางด้านหุ่นยนต์ กล้อง รวมถึงเซ็นเซอร์อัจฉริยะ ต่าง ๆ นั้น ถึงแม้จะยังไม่ผลิตออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มาช่วยเหลือแพทย์ได้ทุกแขนงในปัจจุบัน หรือยังเป็นงานวิจัยอยู่ก็ตาม เราต้องยอมรับว่า เทคโนโลยีเหล่านี้ได้ไปไกลเกินความสามารถของเหล่าผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมนุษย์ในปัจจุบันแล้ว

ซึ่งต้องยอมรับเช่นกันว่าเครื่องมือเหล่านี้ล้วนมาช่วยเหลือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมนี้ได้อย่างมาก จนหลาย ๆ งานสามารถที่จะเข้าไปทดแทนงานของมนุษย์ได้จริง แต่งานที่เกี่ยวข้องกับคนไข้นั้นยังไง ผู้ป่วยย่อมจะไม่ยอมรับผลการรักษา 100% จาก AI แน่นอนอยู่แล้ว

แต่อย่างไรก็ดีในอนาคตอันใกล้ หากเทคโนโลยีเหล่านี้พัฒนาจนเป็นที่ยอมรับของมนุษย์ได้ 100% จริง ๆ เหมือนที่ใครจะคิดว่าจะมีรถยนต์อัตโนมัติ มาวิ่งให้เรานั่งได้กันแบบสบาย ๆ  ซึ่งก็เช่นเดียวกัน ในวงการอุตสาหกรรม Healthcare นั้น ต่อไปเราก็อาจจะได้เห็น ทุก process ที่เกี่ยวกับคนไข้ สามารถทำได้โดยผ่าน AI หรือ Robot ได้จริง ๆ ตั้งแต่ การเตรียมข้อมูลคนไข้ ไปจนถึงงานระดับยาก ๆ อย่างการผ่าตัดหัวใจ หรือสมอง ซึ่งผมเชื่อว่า หากมีการแข่งขันกันจริง ระหว่างมนุษย์กับผู้เชี่ยวชาญ ไม่ว่าสาขาใด ๆ แม้จะงานยากขนาดไหนก็ตาม ก็จะพบจุดจบเดียวกันกับที่ Alpha go สามารถชนะ Lee Sedol มนุษย์ที่เล่นเกมโกะได้เก่งที่สุดในโลก เพราะตอนนี้เราต้องยอมรับว่า AI มีขีดความสามารถเกินกว่าที่มนุษย์เราจะทำได้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

References : www.forbes.com

ติดตาม ด.ดล Blog เพิ่มเติมได้ที่
Fanpage :facebook.com/tharadhol.blog
Blockdit :blockdit.com/tharadhol.blog
Twitter :twitter.com/tharadhol
Instragram :instragram.com/tharadhol

Alpha Go กับมุมมองที่เปลี่ยนไปต่อ AI

ต้องบอกว่า Blog นี้ มาจากการที่ได้มีโอกาสดู Documentary ของ Netflix ที่ชื่อว่า Alpha Go  ซึ่งเป็นการเล่าเรื่องถึง ความเป็นมาของ Alpha Go ของทาง Lab Deepmind ของ Google ที่มีฐานอยู่ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

ก่อนหน้าที่จะเกิด Alpha Go นั้น ทาง Lab Deepmind ก็ได้ทำการทดลองกับเกมส์ Classic อย่าง Atari Breakout  ซึ่งเป็นเกมส์ที่ไม่ได้เล่นยากเกินไปถ้าเทียบกับเกมส์ อย่าง โกะ หรือ หมากรุก ซึ่งต้องบอกว่าผลการทดสอบกับ Atari-Breakout นั้นได้ผลลัพธ์ที่น่าสนใจ คือ การเรียนรู้ด้วยตัวเองของ AI ทำให้สามารถเรียนรู้ที่จะชนะเกมส์อย่าง Break Out ได้อย่างเด็ดขาด

หลังจากนั้น ก็เริ่มทำการทดลองกับเกมส์ที่ยากขึ้นอย่าง โกะ ซึ่งต้องบอกว่าเป็น บอร์ดเกมส์ ที่ขึ้นชื่อว่ายากที่สุด และมีความน่าจะเป็นที่เกิดขึ้นกับกระดานโกะ มากกว่า เกมส์อย่าง หมากรุก หรือ หมากฮอส หลายเท่า

ซึ่งการที่จะพัฒนา AI ที่เล่นเกมส์โกะ ให้เอาชนะแชมป์โลกได้นั้น เป็นเรื่องที่ไกลเกินเอื้อม และคงไม่มีนักเล่นโกะคนใด ที่คิดว่า Alpha Go จะสามารถเอาชนะ แชมป์โลกโกะได้ในขณะนั้น แต่ Deepmind นั้นก็ได้เริ่มพัฒนา Alpha Go ขึ้นมาโดยเริ่มแรกให้เรียนรู้จาก ผู้เล่น Online ที่อยู่ในระบบก่อน โดยเป็นการเรียนรู้การเล่นกว่าแสนเกมส์ ทำให้ช่วงแรกนั้นก็ยังมีข้อผิดพลาดอยู่บ้าง

จนถึงการมาพบกับแชมป์โกะของยุโรป อย่าง Fan Hui ซึ่งเป็นเจ้าของแชมป์ยุโรปคนล่าสุด  ต้องบอกว่าก่อนมาแข่งนั้น Fan Hui  นั้นมั่นใจมาก ๆ ว่า Alpha Go ไม่สามารถเอาชนะเขาได้แน่ ๆ แต่การแข่งขันจริงนั้น เขาแพ้ให้กับ Alpha Go ไปแบบหมดรูป 5-0 เกมส์ ทำให้มุมมองของ Fan Hui นั้นเปลี่ยนไปเลยทีเดียว ต้องหันกลับมามอง เจ้า Alpha Go ใหม่อีกครั้ง และสุดท้ายก็ยอมเป็นที่ปรึกษาให้กับ Deepmind เพื่อทำการพัฒนาเจ้า Alpha Go ให้เก่งขึ้นไปอีกระดับ ก่อนที่จะมาแข่งขันจริงกับ Lee Sedol แชมป์โลก ระดับ 9 ดั้ง ซึ่งถือเป็นชั้นสูงสุดของวงการเกมส์โกะ

ซึ่งต้องบอกว่าก่อนแข่งนั้น Lee Sedol ได้ปรามาส Alpha Go ไว้ค่อนข้างเยอะ และ ค่อนข้างมั่นใจเช่นเดียวกับ Fan Hui ว่าเขาสามารถเอาชนะ เจ้า Alpha Go ได้แน่ ๆ

ต้องบอกว่าเกมส์ นี้ เป็นเกมส์เดิมพันที่ค่อนข้างสูงเลยทีเดียว Deepmind มีโอกาสที่จะเสียหน้าต่อสายตาคนทั้งโลกเลยก็ว่าได้  แม้กระทั่งหัวหน้าด้านการวิจัย Alpha Go ของ Deepmind เองก็ยังไม่ค่อยมั่นใจเท่าไหร่ในตอนแรกว่า Alpha Go จะสามารถเอาชนะ Lee Sedol ได้หรือไม่  เพราะก่อนแข่งนั้น Fan Hui ที่มารับบทที่ปรึกษาได้ค้นพบจุดอ่อนบางอย่างของ Alpha Go ซึ่งไม่สามารถที่จะแก้ไขได้ทันการแข่งขัน จึงต้องทำการ Build Version ที่เสถียรที่สุดออกไปก่อน เพราะการแข่งขันได้ถูกกำหนดวันที่ไว้เป็นทีเ่รียบร้อยแล้ว

แต่ต้องบอกว่า การแข่งขันจริงนั้น Lee Sedol พ่ายแพ้ไปอย่างหมดรูป โดยเฉพาะ 3 เกมส์แรกนั้น ต้องบอกว่าการเดินหมากของ Lee Sedol นั้นไม่เป็นตัวของตัวเองเลยด้วยซ้ำ เหตุผลนึงน่าจะมาจาก เค้าไม่สามารถรับรู้ได้ถึงความรู้สึกของคู่แข่ง เหมือนแข่งกันมนุษย์จริง ๆ เพราะ Alpha Go ใช้คนเดินหมากแทน โดยให้ Alpha Go เป็นคนคิดว่าจะวางหมากไว้จุดใด ซึ่งทำให้ Lee Sedol ไม่สามารถอ่านใจคู่แข่งได้เลย ว่าอยู่ในอารมณ์ไหน ซึ่งเป็นจุดสำคัญจุดนึงเลยก็ว่าได้ ที่ Alpha Go มีความได้เปรียบ เพราะ ไม่มีการแสดงออกทางกายภาพเลยว่า ตอนนี้หมากในเกมส์เป็นอย่างไร ได้เปรียบ หรือ เสียเปรียบอยู่

พอถึงเกมส์ที่ 4 ซึ่ง Lee Sedol เริ่มไร้ความกดดันใด ๆ แล้ว เพราะยังไงก็แพ้แน่นอนแล้ว จึงทำให้สามารถกลับมาเล่นในเกมส์ของตัวเองได้อีกครั้ง และครั้งนี้ เหมือนกับ Alpha Go จะมีการเดินหมากที่ผิดพลาดอยู่หลายครั้งมาก ทั้งที่ควรจะชนะไปได้แบบไม่ยากเย็น แต่ Lee Sedol ก็สามารถแก้เกมส์กลับมาเอาชนะไปได้ ซึ่งความกดดันนั้นน่าจะเป็นเหตุผลหลักเหตุผลนึงเลยก็ว่าได้ ที่ทำให้ Lee Sedol แพ้ไปอย่างหมดรูปใน 3 เกมส์แรก พอเริ่มคลายความกดดัน จึงสามารถเล่นเกมส์ ของตัวเองได้ จนมาชนะในเกมส์ที่ 4 แต่ในเกมส์สุดท้าย Alpha Go ก็กลับมาชนะได้อีกครั้ง รวมเป็นผล 4-1  ต้องถือว่าบรรลุเป้าหมายของทาง Deepmind ที่สามารถเอาชนะมนุษย์ที่เก่งเกมส์โกะ ที่สุดในโลกไปได้

การเอาชนะแชมป์โกะเปลี่ยนแปลงมุมมองต่อ AI อย่างไร?

ต้องบอกว่า ก่อนหน้านี้ ที่ IBM เคยเอาชนะแชมป์หมากรุกโลกได้นั้น ถือเป็นเรื่องเล็ก ๆ ไปเลย เมื่อเทียบกับเกมส์โกะ เพราะเกมส์โกะ เป็นเกมส์ที่มีความน่าจะเป็นในกระดานสูงมาก และต้องคิดแบบหลายชั้น ซึ่งการที่ AI สามารถเอาชนะขีดจำกัดในข้อนี้ของมนุษย์ได้นั้น ถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่ธรรมดา เราต้องลองจินตนาการว่า หาก Alpha Go สามารถเอาชนะแชมป์โลกโกะ ได้ แล้วต่อไปจะเกิดอะไรขึ้น เมื่อ AI สามารถเรียนรู้การทำงานของมนุษย์ และรู้ถึงจุดอ่อนของมนุษย์เราได้

ต่อจากนี้เราก็อาจจะได้เห็น Alpha Go ในทุก Domain เลยก็ว่าได้ลองจินตนาการว่า  หมอที่เก่งที่สุดในโลกในด้านที่ AI สามารถจำลองการทำงานได้ เช่น รังสีแพทย์ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ผลจากการถ่าย X-RAY ไม่ว่าจะเป็น Ultrasound , MRI , CT-Scan เพื่อใช้ในการวิเคราะห์โรคร้ายต่าง ๆ ซึ่งหมอเล่านี้นั้น ต้องใช้การเรียนรู้ + ประสบการณ์ในการ วิเคราะห์ภาพที่ได้จากเครื่อง X-RAY ชนิดต่าง ๆ ซึ่ง ไม่ยากเลยสำหรับ AI ที่จะเรียนรู้แบบหมอได้ และเทคโนโลยีปัจจุบันนั้น คิดว่า สมมติว่ามีการแข่งขัน ให้หมอที่เทพที่สุดด้านนี้ มาแข่งกับ AI ผลน่าจะไม่ต่างจากเกมส์โกะ ที่สามารถเอาชนะแชมป์โลกไปได้อย่างไม่ยากเย็น แต่ก็อยู่ที่ว่ามนุษย์เรานั้นจะสามารถยอมรับได้หรือไม่ หากต่อไป นั้น เราจะถูกวินิจฉัยโดย AI ซึ่งไม่ใช่หมอ เช่นเดียวกับ ในอนาคตอันใกล้นี้ เราจะยอมรับได้มั๊ยว่า รถแบบขับเคลื่อนอัตโนมัตินั้น จะเป็นรถปรกติที่วิ่งบนถนนเดียวกับเรา ซึ่ง ยังไงอัตรการเกิดอุบติเหตุจาก AI เหล่านี้ ก็น่าจะน้อยกว่ามนุษย์อยู่แล้ว เพราะความแม่นยำที่สามารถตรวจสอบได้ และขีดจำกัดหลาย ๆ อย่างของมนุษย์นั้น จะไม่สามารถทำงานได้เทียบเท่า AI อีกต่อไป

 

References : Netflix.com

AI กำลังช่วยนักดาราศาสตร์ค้นพบดาวดวงใหม่

เราได้เห็นเทคโนโลยีทางด้าน AI ที่กำลังก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ทั้งรถที่ขับเคลื่อนได้อัติโนมัติ หรือ AlphaGo ที่สามารถเล่นเกมโกะ ชนะมนุษย์ได้ แต่มีอีกศาสตร์แขนงหนึ่งที่กำลังน่าสนใจที่นำ AI มาช่วยคือ AI กำลังมาช่วยเหล่านักดาราศาสตร์แก้ปัญหาเรื่องความลึกลับของจักรวาลของเรา

แรกเริ่มนั้น AI ถูกใช้ในภารกิจในการค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือภารกิจของ Nasa Kepler Mission ในการนำเครื่องมือ Kepler-90 Solar system ไปยังดาวเคราะห์ 8 ดวง ซึ่งพบว่าในระบบสุริยะที่พบนั้นมีหนึ่งในนั้นรูปแบบคล้ายกับโลกมนุษย์เรา

ซึ่งดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะส่วนใหญ่นั้นจะถูกค้นพบโดยใช้วิธีการที่เรียกว่า transit method โดยจะใช้กล้องโทรทรรศน์ชี้ไปที่ดวงดาวที่ศึกษาโดยจะใช้เวลาช่วงหนึ่งซึ่งยาวนานพอสมควร ซึ่งจะทำให้เหล่านักดาราศาสตร์สามารถมองเห็นส่วนมืดส่วนนึงปรากฏอยู่เมื่อดาวดังกล่าวเคลื่อนที่มาปรากฏตรงหน้า

และแทนที่จะใช้การมองภาพดังกล่าว การปรากฏตัวของดาวเคราะห์ดวงใหม่ ๆ นั้นมีแนวโน้มที่จะถูกค้นพบโดยการศึกษาจากข้อมูลจำนวนมากที่ได้จากกล้องโทรทรรศน์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความสว่างของภาพ ซึ่งเมื่อระบบสุริยะนั้นมีดาวเคราะห์มากกว่า 1 ดวง การเกิดรูปแบบนี้นั้นก็จะมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น และทำให้สามารถที่จะคำนวณขนาดของมวล รวมถึงระยะห่างระหว่างดาวเคราะห์ ผ่านความซับซ้อนเหล่านี้ได้

ซึ่งรูปแบบ pattern เหล่านี้นั้น เดิมใช้ความเชี่ยวชาญของนักดาราศาสตร์ในการวิเคราะห์ แต่งานเหล่านี้ในปัจจุบันสามารถที่จะใช้ระบบ computer เพื่อมาช่วยในการวิเคราะห์ให้มีประสิทธิภาพที่มากขึ้น

When a planet crosses in front of its star as viewed by an observer, the event is called a transit. Transits by terrestrial planets produce a small change in a star’s brightness of about 1/10,000 lasting for 2 to 16 hours. Credit NASA

 

เช่นเดียวกันงานส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลที่มีความซับซ้อน Machine Learning นั้นสามารถที่จะช่วยเหลือในงานรูปแบบดังกล่าวได้ ดังที่ได้กล่าวมาในหลาย ๆ blog ก่อนหน้านี้ ซึ่งในการค้นพบครั้งล่าสุดนั้นนักวิจัยได้ทำการนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับภาพทางดาราศาสตร์ของระบบสุริยะมาทำการ Train ผ่าน Machine Learning เพื่อตรวจหาจุดเล็ก ๆ บนความสว่างเหล่านี้ที่ไม่เคยได้พบเห็นมาก่อน

ซึ่งการทำงานร่วมกันของ Christopher Shallue วิศวกรของ google และ Andrew Vanderburg นักดาราศาสตร์แห่ง University of Texas,Austin ได้ทำการใช้ Machine Learning เพื่อที่จะเรียนรู้วิธีในการระบุดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ ที่ได้ทำการบันทึกภาพผ่านเครื่องมืออย่าง Kepler โดยพวกเค้าได้ใช้ สัญญาณกว่า 15,000 แบบในการ train โดยใช้ Neural network ซึ่งเป็นรูปแบบการทำงานที่เลียนแบบการทำงานของสมอง ซึ่งจะเห็นได้ว่า จะใช้รูปแบบการทำงานคล้ายกับที่ผมเคยทำวิจัยในเรื่อง Machine Learning กับการวิเคราะห์มะเร็งเต้านม  ซึ่งในงานวิจัยมะเร็งนั้น จะทำการหาจุดขาวผ่านภาพ Xray Digital Mammogram โดยผ่านการ train โดยใช้ Machine Learning เหมือนกัน แต่ในส่วนของการค้นหาดาวเคราะห์นั้น จะเป็นการหาจุดมืด ที่อยู่บนความสว่างของภาพดังรูปข้างต้น

โดยหลังจากทำการทดลองนั้นพบว่าระบบ Neural Network ของ Shallue มีความแม่นยำในการระบุดาวเคราะห์สูงถึง 96% แม้ว่าอาจจะมีความผิดพลาดอยู่บ้าง แต่ก็สามารถที่จะระบุได้ถึงดาวเคราะห์จริง ๆ ได้เป็นจำนวนมากเช่นกัน เช่น กลุ่มดาว 8 ดวงของ Kepler-90i ซึ่งอยู่ห่างจากโลกเราประมาณ 2,545 ปีแสง ซึ่งการใช้เทคโนโลยีทางด้าน AI เข้ามาช่วยเหลือนั้น ก็ถือว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ในวงการดาราศาสตร์ ที่จะช่วยเหลือเหล่านักวิจัย รวมถึงนักดาราศาตร์ในอนาคตข้างหน้า ให้ช่วยไขความลับบางอย่างของจักรวาลที่ยังไม่สามารถหาคำตอบได้ ณ จนถึงปัจจุบัน

Artist’s impression of Planet Nine. Credit Tom Ruen/ESO

จากการค้นหากลุ่มดาว planet nine  ซึ่งเป็นกลุ่มดาวลึกลับที่คาดการณ์ว่าจะอยู่นอกสุดของระบบสุริยะของเรา ซึ่งแม้ว่าการปรากฏตัวของกลุ่มดาวดังกล่าวยังไม่ไดัรับการยืนยัน แต่ Andrew Vanderburg ได้กล่าวไว้ว่า Machine Learning นั้นจะสามารถช่วยหากลุ่มดาว planet nine ได้อย่างแน่นอน แม้กลุ่มดาวดังกล่าวยังไม่ได้รับการอธิบายที่ดีพอจากทฤษฏีอื่น ๆ ก่อนหน้านี้

หนึ่งในนวัตกรรมที่สำคัญที่สุดของ Machine Learning ที่เกี่ยวข้องกับดาราศาสตร์ คือ ความสามารถในการระบุวัตถุ หรือ จุด ที่น่าสนใจผ่านข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีการเก็บข้อมูลมาอย่างยาวนาน ซึ่งในปี 2015 ได้มี paper ทางวิชาการ ที่กลุ่มนักดาราศาสตร์ได้เริ่มใช้ AI เพื่อค้นหากลุ่มดาว planet nine หรือวัตถุอื่นๆ  ในระบบสุริยะที่ยังไม่สามารถหาคำตอบได้ ซึ่งสิ่งนึงที่เราสามารถรู้ได้อย่างแน่นอนในตอนนี้นั้นในด้านดาราศาสตร์นั้น AI กำลังเข้ามามีบทบาที่สำคัญ และอาจจะทำให้เกิดการค้นพบครั้งยิ่งใหญ่ในเร็ววันนี้ก็เป็นไปได้ คำตอบของจักรวาลที่เรายังไม่รู้ อาจจะสามารถหาคำตอบได้ผ่านเครื่องมือใหม่ ๆ เหล่านี้ในอนาคตอันใกล้นี้

References : www.wired.co.uk

 

 

The Secret Rules of Modern Living Algorithms

Featured Video Play Icon

ถือว่าเป็น Documentary ที่เจ๋งมากเลยทีเดียว ที่บังเอิญได้เจอบนหน้า feed facebook ซึ่งทำให้เราเห็นว่า computer algorithm นั้นสำคัญกับมนุษย์เราเพียงใด ยิ่งในโลกยุค digital age อย่างในปัจจุบันนั้น computer algorithm นั้นส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของเราอย่างมาก

จาก video นั้นเราจะเห็นถึงการอธิบายหลักการของ computer algorithm ให้เข้าใจได้ง่าย และเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันอย่างไรบ้าง

  • Sorting algorithm  ตัวเป็น basic algorithm ที่คิดว่าคนที่เรียนทางด้านคอมพิวเตอร์ ได้เรียนมาทุกคนอยู่แล้ว และใช้ในการแก้ปัญหาทางด้าน math หลายอย่างมาก ซึ่งใน video ก็ได้อธิบายความแตกต่าง bubble sort และ merge sort ให้เข้าใจได้อย่างง่ายดาย
  • Page Rank algorithm อันนี้ยกตัวอย่าง google ที่ได้เปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตของมนุษย์ของเราไปเป็นอย่างมาก ทำให้ความเหลื่อมล้ำทางด้าน knowledge ต่างๆ  นั้นเขยิบเข้าใกล้กันมากขึ้น เนื่องจากข้อมูลแทบจะทุกอย่างบนโลกนี้ สามารถค้นหาได้เพียง 1 click ผ่าน google ซึ่ง algorithm pagerank นั้นก็เป็น ส่วนหลักในการพัฒนาการค้นหาของ google ให้ตรงตามความต้องการของ user มากที่สุด  โดยใน video นั้นนำมาเปรียบเทียบกับการเล่นฟุตบอลให้เข้าใจง่าย คือ การรับส่งบอลเปรียบเสมือน link ที่เชื่อมต่อกันระหว่าง website page ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดก็คือ page ที่มี link เข้าหามากที่สุด ตามการคำนวณของ google ซึ่งเปรียบเสมือนนักฟุตบอลที่มีส่วนร่วมกับเกมส์การแข่งขันมากที่สุดนั่นเอง
  • Matching Algorithm เนื่องจากเราจะเห็นว่าในปัจจุบัน web dating online นั้นเกิดขึ้นมากมายมหาศาล และทำอย่างไรให้มีการ matching คู่ที่เหมาะสมกับเรามาที่สุด ก็เช่นเดียวกัน ต้องใช้ computer algorithm เข้าช่วยในการค้นหาสิ่งที่ match ที่สุดกับเรา ทั้งในการ life style หรือ ลักษณะทางกายภาพ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ล้วนถูกประมวลผลผ่าน computer algorithm ทั้งสิ้น
  • Shortest Path Algorithm การหาเส้นทางที่สั้นที่สุดนั้น เป็น algorithm สำคัญในหลาย ๆ งานทั้งทางด้าน logistics หรือ งานด้านการขาย ซึ่งใน video นั้นได้ยกตัวอย่างของการวิ่งเข้าหาดอกไม้ของผึ้ง โดยจำลองเป็นสถานที่แต่ละแห่ง และให้ผึ้งบินไปหาดอกไม้ในทุก ๆ เส้นทาง ซึ่งจะพบว่าสุดท้ายแล้ว ผึ้งก็จะหาทางที่ใกล้ที่สุดในการเดินทางไปทุก ๆ ที่รูปแบบเดียวกับ shortest path algorithm นั่นเอง
  • Machine Learning Algorithm ส่วนนี้เป็นส่วนสำคัญในเทคโนโลยีในยุคปัจจุบันเป็นอย่างมาก ทั้งในด้าน AI อย่างตัวอย่างของ alpha go ที่ปราบนั่งเล่นโกะมืออันดับ 1 ของโลกอย่าง Lee sedol ไปอย่างไม่ยากเย็น ทำให้เราได้เห็นถึงการพัฒนาของ machine learning ที่เริ่มส่งผลกระทบอย่างมากต่อการดำเนินชีวิตในปัจจุบันแล้ว รวมถึง เทคโนโลยีทางด้าน healthcare อย่างการใช้ machine learning มาตรวจหาเนื้องอกในสมอง ซึ่งทำให้ช่วยเหลือรังสีแพทย์ให้สามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น

จะเห็นได้ว่าจากที่กล่าวมานั้น computer algorithm นั้นเริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญกับการดำเนินชีวิตในยุคปัจจุบันแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่ข้อมูลข่าวสารสามารถแพร่กระจายไปได้อย่างรวดเร็วในปัจจุบัน การจัดการข้อมูลต่างๆ  ที่จะเข้าสู่เราก็ต้องใช้ computer algorithm เข้ามาช่วยคัดสรรข้อมูลที่แทบจะล้นทะลักในปัจจุบัน ซึ่งหากการใช้ computer algorithm ต่างๆ  ไปใช้ประโยชน์กับมนุษย์ของเราก็เป็นสิ่งที่ดีทีีควรพัฒนา แต่เราต้องไม่ลืมว่า สามารถนำไปพัฒนาเทคโนโลยี ที่อาจจะกลับมาย้อนทำร้ายเราในอนาคตก็เป็นไม่ได้ หากไปอยู่ในคนที่ไม่ดี