ทำไมยักษ์ใหญ่จาก Silicon Valley ถึงได้ล้มเหลวในดินแดนมังกร

ในฐานะบริการชั้นนำจากอเมริกา หรือ ทั่วโลก บริการอย่าง eBay, Google , Uber , Airbnb , Amazon ทุกบริษัทล้วนแล้วแต่มีความพยายามในการเอาชนะตลาดในประเทศจีน

แม้นักวิเคราะห์หลาย ๆ รายได้พยายามสรุปความล้มเหลวของบริการจาก Silicon Vallley เหล่านี้ว่ามาจากการควบคุมของรัฐบาลจีน

แต่ ไค ฟู ลี อดีตผู้บริหารระดับสูงของทั้ง Microsoft และ Google ทั้งในอเมริกาและประเทศจีนกลับมองต่างออกไป

เขามองว่าการที่บริษัทจากอเมริกันนั้น พยายามทำทุกอย่างในประเทศจีน เหมือนตลาดอื่น ๆ ที่พวกเขาครอบครองได้ทั่วโลก นั่นคือข้อผิดพลาดที่สำคัญที่สุด

การที่บริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้ ไม่ลงทุนในทรัพยากร หรือให้ความยืดหยุ่นกับทีมงานในประเทศจีน ที่จำเป็นอย่างมากในการแข่งขันกับบริการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศจีนเอง เพื่อปรับบริการต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมชาวจีนนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่บริการเหล่านี้ ไม่สามารถสู้กับบริการท้องถิ่นในประเทศจีนได้

ไค ฟู ลี ได้กล่าวว่า ในบางบริการนั้น อาจจะต้องเริ่มต้นกันใหม่ตั้งแต่ต้น เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดจีน การทำเพียงแค่ แปลเป็นภาษาจีน แล้วใช้ทุกสิ่งทุกอย่างเหมือนกับในอเมริกานั้น ทำให้ทีมงานที่อยู่ในพื้นที่รู้สึกถึงความไม่ใส่ใจที่แท้จริง

ความแตกต่างที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ บริษัทยักษ์ใหญ่จาก Silicon Valley ได้สูญเสียทรัพยากรบุคคลที่เก่งกาจในประเทศจีนไปเป็นจำนวนมากเนื่องจากปัญหาข้างต้น เหล่าบริษัท สตาร์ทอัพของจีน รวมถึงคนหนุ่มสาวที่มีความทะเยอทะยานที่สุดส่วนใหญ่นั้นมักเลือกที่จะเข้าร่วมกับบริษัทในท้องถิ่น

เพราะพวกเขารู้ดีว่า หากเข้าร่วมกับบริษัทอเมริกัน ผู้บริหารของบริษัทนั้น จะมองพวกเขาเป็นเพียงแค่ แรงงานในพื้นที่ ตลอดไป พวกเขาจะไม่ได้รับโอกาสในการไต่เต้าขึ้นสู่การเป็นผู้บริหารระดับสูงที่แท้จริง ซึ่งสูงสุดเป็นได้เพียงแค่ ผู้จัดการประจำประเทศของบริการนั้น ๆ เพียงเท่านั้น

เพราะฉะนั้น คนหนุ่มสาวเหล่านี้ ที่มีความทะเยอทะยานสูง เลือกที่จะก่อตั้งบริษัทสตาร์ทอัพของตัวเอง หรือเข้าร่วมกับบริษัทในประเทศจีน เพื่อเอาชนะบริการยักษ์ใหญ่เหล่านี้ที่มาจาก Silicon Valley นั่นเอง

เพราะฉะนั้นทรัพยากร แรงงานส่วนใหญ่ที่ บริษัทจาก Silicon Valley ได้ไปนั้น มักจะเป็นกลุ่มคนที่ หวังเพียงแค่เงินเดือน หรือ หุ้น มากกว่ากลุ่มคนที่มีความทะเยอทะยานเพื่อเอาชนะในตลาดจีนอย่างแท้จริง

ในขณะที่นักวิเคราะห์จากต่างชาติยังคงสงสัยในคำถามที่ว่า ทำไม บริษัทยักษ์ใหญ่จาก Silicon Valley ไม่สามารถเอาชนะในจีนได้ แต่ บริษัทของจีน กำลังยุ่งอยู่กับการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ดีขึ้น

Weibo ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม ไมโครบล็อกที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก Twitter ขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีการเพิ่ม Features ต่างๆ มากมาย และทำให้ตอนนี้มีมูลค่ามากกว่า Twitter ที่พวกเขาไป copy มาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

หรือบริการอย่าง Didi ที่เลียนแบบมากจาก Uber ได้ขยายบริการและผลิตภัณฑ์อย่างมาก และให้บริการรถโดยสารในประเทศจีนในแต่ละวัน มากกว่าที่ Uber ทำได้ทั่วโลกเสียอีก หรือ Toutiao ซึ่งเป็นแพล็ตฟอร์มข่าวของจีน ที่ถูกเปรียบเทียบกับ BuzzFeed ใช้ อัลกอริธึม Machine Learning ขั้นสูง เพื่อปรับแต่งเนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้ใช้แต่ละคน

ซึ่งต้องบอกว่า การเติบโตของ Ecosystem ผู้ประกอบการของจีนนั้น เป็นมากกว่าการคิดเพียงแค่แข่งขันกับบริการจาก Silicon Valley หลังจากที่บริษัทต่าง ๆ เช่น Alibaba , Baidu หรือ Tencent นั้นได้พิสูจน์แล้วว่า ตลาดอินเทอร์เน็ตของจีนนั้นสามารถสร้างกำไรได้มากเพียงใด

มันทำให้คลื่นลูกใหม่ของบริษัทด้านการลงทุน ก็เริ่มหลั่งไหลเข้าสู่อุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีของประเทศจีน และตลาดก็กำลังร้อนแรงเป็นอย่างมาก จำนวน สตาร์ทอัพในประเทศจีนก็เติบโตขึ้นอย่างทวีคูณ

แม้การต่อสู้กับยักษ์ใหญ่จาก Silicon Valley นั้นจะทำให้เหล่าบริการของจีนยิ่งแข็งแกร่ง แต่การแข่งขันภายในประเทศ กับคู่ต่อสู้ภายประเทศของเขาเองต่างหาก ที่เป็นบทพิสูจน์ที่แท้จริงของบริษัทเทคโนโลยีในประเทศจีน ว่าพวกเขาเจ๋งจริง นั่นเองครับ

References : https://www.vox.com/recode/2019/5/1/18511540/silicon-valley-foreign-money-china-saudi-arabia-cfius-firrma-geopolitics-venture-capital
https://lareviewofbooks.org/article/a-chinese-silicon-valley-not-so-fast/
https://www.businessinsider.com/google-isnt-the-only-silicon-valley-company-struggling-in-china-2010-1
http://parisinnovationreview.cn/en/2016/07/14/why-american-internet-companies-fail-in-china-a-cultural-perspective/
https://startupsventurecapital.com/why-shanghai-china-might-be-the-next-silicon-valley-and-why-we-should-care-811672cb12dd

เมื่อบริการออนไลน์จากจีน ไม่สามารถที่จะก้าวผ่านกำแพงเมืองจีนได้เสียที

ยักษ์ใหญ่ทางด้านบริการออนไลน์ของประเทศจีน หรือ BAT ที่ประกอบไปด้วย Baidu , Alibaba และ Tencent นั้น กำลังพยายามที่จะก้าวข้ามผ่านการเป็นเพียงแค่บริการในประเทศจีนเท่านั้น แต่ดูเหมือนมันเป็นสิ่งที่ยากเย็นแสนเข็ญเหลือเกินสำหรับพวกเขา

เรียกได้ว่า ตัวเลขรายได้นอกประเทศจีนของทั้งสามบริการนั้นมีสัดส่วนเพียงเล็กน้อย Baidu ที่ 1% , Tencent ที่ 5% ส่วน Alibaba ที่มากหน่อยก็ทำได้เพียงแค่ 11% ซึ่งด้วยความพยายามรุกตลาดสากลของ Alibaba โดยการผลักดันโฆษณา ในฐานะผู้สนับสนุนหลักของโอลิมปิกฤดูหนาวปี 2018 ในประเทศเกาหลีใต้

แน่นอนว่าการเข้าสู่ตลาดสหรัฐอเมริกานั้น เป็นความท้าทายมาก ๆ ของ BAT เครื่องมือค้นหาของ Baidu นั้นเคยมีความพยายามในการเข้าสู่ตลาดญี่ปุ่น เมื่อปี 2007 ด้วยการสร้างเครื่องมือค้นหาภาษาญี่ปุ่น ซึ่งมีอักขระคล้ายกับภาษาจีน แต่ในที่สุด ก็ถูกตีพ่ายยับ จากคู่แข่งที่แข็งแกร่งกว่าอย่าง Google และ Yahoo ทำให้ Baidu ต้องหนีออกจากตลาดไปในท้ายที่สุด

Jack Ma นั้นเคยกล่าวไว้ว่าเป้าหมายของ Alibaba คือการได้ยอดขายครึ่งหนึ่งจากนอกประเทศจีน แต่ก็ต้องดิ้นรนอย่างมากเพื่อให้สามารถที่จะตั้งหลักได้ในอเมริกา Jack Ma ได้ขึ้นข่าวพาดหัวหลายครั้ง ในการสัญญากับประธานาธิบดี ทรัมป์ ในการสร้างงานในอเมริกาให้มากขึ้น และเพื่อดึงดูดธุรกิจขนาดเล็กในอเมริกาให้มาใช้บริการของ Alibaba

แต่สงครามการค้าที่ยิ่งทวีความรุนแรงระหว่างจีน กับ อเมริกา ก็ทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างพังทลายลงไปอย่างรวดเร็ว

ในฟากฝั่ง Tencent นั้น บริการอย่าง Wechat ที่ความนิยมแบบผูกขาดในประเทศจีน ไม่ได้ทำให้พวกเขาเข้มแข็งมากนักนอกประเทศจีน แม้ขนาดประเทศไทย Wechat ยังไม่สามารถที่จะต่อกรกับ Line จากประเทศ ญี่ปุ่น ได้เลย มีผู้ใช้บริการเพียงแค่น้อยนิด ซึ่งไม่ต้องพูดถึงในอเมริกา ที่ส่วนใหญ่ ผู้ใช้งานก็มีแค่ ชาวอเมริกันเชื้อสายจีน ที่ต้องติดต่อทำมาค้าขายกับประเทศบ้านเกิดเพียงเท่านั้น

แม้ว่ามีความพยายาม ที่จะปรับบริการให้เข้ากับวัฒนธรรมของอเมริกา ไม่มีการเก็บข้อมูลประวัติของข้อความ หรือเพิ่มบริการชำระเงินเข้าไป ก็ไม่สามารถที่จะต่อกรกับบริการเจ้าถิ่นอย่าง Paypal หรือ Stripe ได้

ซึ่งส่วนใหญ่แอปสำหรับชำระเงินของ Wechat นั้นก็มีไว้เพื่อบริการ ผู้บริหารชาวจีน นักท่องเที่ยว หรือ นักเรียนที่มีบัญชีธนาคารจีน และบัตรประจำตัวประชาชนจีนเป็นหลักเพียงเท่านั้น

นวัตกรรมทางด้านออนไลน์ของจีนเจ๋งจริงหรือ?

ต้องบอกว่า อย่าคาดหวังกับนวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีชั้นนำจากประเทศจีน ที่จะก้าวไปสู่กระแสหลักในประเทศอย่างอเมริกาในเร็ววันนี้

เนื่องด้วยความแตกต่างทางวัฒนธรรม แบรนด์ที่ชาวอเมริกาไม่เหลียวแล และกฏระเบียบต่าง ๆ ของรัฐบาล รวมถึงความกลัวว่าบริการออนไลน์จากจีนจะไม่ปลอดภัย เป็นเหตุผลทั้งหมดทั้งมวลของการก้าวไปสู่ระดับโลกของ แบรนด์ทางด้านเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตจากจีน เพราะมันเป็นเรื่องของปัจจัยทางจิตใจและอารมณ์เสียเป็นส่วนใหญ่

แต่ถามว่า เมื่อดูจากการเจาะตลาดไปยังประเทศอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อเมริกานั้น บริการเหล่านี้ ก็ยังถือว่ายังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ไม่ว่าจะเป็นเอเชียด้วยกันเอง อย่าง ญี่ปุ่น หรือ ไทย พวกเขาก็ไม่สามารถเจาะเข้ามาได้ มีบริการน้อยมากที่จะฮิตกลายเป็นกระแสหลักนอกประเทศจีน เหมือนบริการจากประเทศอเมริกา

ต้องบอกว่าแม้บริการออนไลน์ของพวกเขาจะเจ๋ง มีนวัตกรรมล้ำเลิศแค่ไหนในประเทศจีน แต่ดูเหมือนว่า นอกกำแพงเมืองจีน นั้น แทบจะไม่มีใครสนใจบริการของพวกเขาแต่อย่างใดนั่นเองครับผม

References : https://chinafund.com/great-firewall-of-china/

Geek Story EP20 : Masayoshi Son สุดยอดนักลงทุนอัจฉริยะแห่งวงการเทคโนโลยี

ต้องบอกว่าประวัติที่ผ่านมาของ Masayoshi Son นั้น ถือเป็นนักลงทุนที่น่าทึ่ง แม้เขาจะผิดพลาดในการลงทุนกับ WeWork หรือ Uber

แต่คำ ๆ หนึ่ง นั่นก็คือ คำว่า “Believe” ที่เขามักพูดออกสื่ออยู่บ่อย ๆ นั้น สิ่งที่เขาพูดมักจะกลายเป็นความจริงในทุก ๆ ครั้ง ด้วยความเชื่อ และประสบการณ์ของเขานั้น แม้จะมีความผิดพลาดบ้าง

แต่ความเชื่อของเขาโดยส่วนใหญ่นั้นสามารถทำนายอนาคตของเราได้ว่า เทคโนโลยีใหม่ ๆ ในด้านไหน ที่จะมีบทบาทที่สำคัญอย่างมาก กับการดำรงชีวิตของมนุษย์ในอนาคตนั่นเองครับ

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/2FSHJmQ

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://bit.ly/31v9Fpp

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/2Ejh3vl

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/x4fojSAwPpk

Geek Monday EP56 : Facial Recognition กับการ Disrupt วงการประกันภัยสัตว์เลี้ยง

การประกันสัตว์เลี้ยงนั้นบ่อยครั้ง มันเกี่ยวข้องกับการกรอกแบบฟอร์มกระดาษที่น่าเบื่อ และการเดินทางไปหาสัตว์แพทย์เพื่อปลูกฝังชิปในสัตว์เลี้ยงของพวกเขา Alipay ยักษ์ e-payment ของจีนมีความคิดอื่น

แพลตฟอร์มที่ดำเนินการโดย Ant Financial ซึ่งเป็นของ Alibaba ได้เปิดตัวโครงการประกันครั้งแรกสำหรับแมวและสุนัข การลงทะเบียนนั้นง่ายมาก: ด้วยการใช้แอพ Alipay เจ้าของสามารถตั้งค่าโปรไฟล์สัตว์ของพวกเขาโดยใช้เพียงแค่การถ่ายรูป เท่านั้น

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3f1ew5g

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://bit.ly/3hAcY3G

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/2D9Or6u

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/waWtOxAEVI4

References : https://www.scmp.com/abacus/tech/article/3094053/alipay-allows-pet-owners-buy-insurance-using-facial-recognition-their
https://www.scmp.com/abacus/tech/article/3029476/move-over-humans-startup-making-facial-recognition-pets
http://www.xinhuanet.com/tech/2019-05/14/c_1124493283.htm
https://www.scmp.com/abacus/tech/article/3029362/how-does-facial-recognition-work-pandas
https://abcnews.go.com/GMA/Living/app-reunites-missing-pets-owners-facial-recognition/story?id=59744299

Chinapages กับจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญในชีวิตของ Jack Ma

หลายคนน่าจะทราบกันดีว่าเดิมทีนั้น Jack Ma เป็นครูสอนภาษาอังกฤษ ที่เมืองหังโจว ของประเทศจีน แต่ ครูสอนภาษาอย่างเขา เจอจุดเปลี่ยนอะไรที่ทำให้ กลายมาเป็นเจ้าพ่อบริษัทเทคโนโลยีอย่าง Alibaba ที่เราได้เห็นกันในวันนี้

เรื่องมันเริ่มต้นจากในต้นปี 1995 นั้น เมืองหังโจวเกิดดีความสัญญากับต่างประเทศขึ้นมาคดีหนึ่ง เกี่ยวกับเรื่องการลงทุนสร้างทางด่วนกับบริษัทในอเมริกา ซึ่งมีข้อพิพาทกัน ทำให้เทศบาลเมืองหังโจวต้องตัดสินใจส่งตัวแทนไปติดต่อกับฝ่ายอเมริกัน เพื่อไกล่เกลี่ยข้อพิพาท

ซึ่งมันกลายเป็นภารกิจของแจ๊ค ที่ขณะนั้นเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องภาษาอังกฤษที่สุดแห่งสำนักแปลไห่โป่ ที่ต้องไปช่วยเหลือเทศบาล โดยเขาต้องเดินทางไปยังอเมริกาที่เมือง ลอสแองเจลลิส

ตอนอยู่ประเทศจีนมีครูต่างชาติคนหนึ่งที่ชื่อฟิล ซึ่งเคยเล่าเรื่องลูกเขยของเขาให้ฟัง ว่ากำลังทำอะไรบางอย่างกับ “internet” อยู่ที่เมือง ซีแอตเทิล

นั่นเองเป็นจุดเริ่มต้นที่แจ๊ค ได้ถือโอกาส ไปทำความรู้จักกับ internet โดยหลังจากภารกิจเสร็จ แจ๊คไปตามที่อยู่ที่ฟิลได้ให้ไว้ และไปพบกับลูกเขยของเพื่อนอย่างรวดเร็ว เขาคือแซม ที่ขณะนั้น กำลังก่อตั้งบริษัท VBN บริษัทขนาดเล็ก ซึ่งตอนนั้นกำลังให้บริการ ISP เจ้าแรกแห่ง Silicon Valley แถมยังเป็นบริษัทแรกที่ทำธุรกิจนี้ในอเมริกาอีกด้วย

และนี่เป็นครั้งแรกที่แจ๊ค ได้เห็นเจ้า internet กับตาตัวเอง ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่แจ๊คเห็นตอนนั้นคือเครื่อง PC386 ที่ทันสมัยที่สุดในโลกของยุคนั้น ซึ่งมีราคาอยู่ที่ประมาณ 600-700 เหรียญ

PC 386 เครื่องคอมพิวเตอร์สุดแรงในยุคนั้น
PC 386 เครื่องคอมพิวเตอร์สุดแรงในยุคนั้น

แจ๊คซึ่งตอนนั้นแทบจะไม่เคยเห็นเจ้าคอมพิวเตอร์มาก่อนเลยด้วยซ้ำ ไม่ต้องพูดถึง internet ซึ่งเป็นสิ่งที่ใหม่มากในยุคนั้น และเริ่มทดลองใช้มัน โดยลองพิมพ์คำว่า “Beer” ลงใน Search Engine ของ Yahoo ซึ่งต้องบอกว่าตอนนั้น Yahoo ในยุคก่อนการเกิดของ Google นั้นถือเป็น Search Engine ที่ทันสมัยที่สุดในโลก internet เลยก็ว่าได้

แต่สิ่งที่ทำให้แจ๊คสงสัยมากที่สุด คงจะเป็น ทำไมถึงไม่มีเบียร์จีนโผล่ขึ้นมาเลย แจ๊คนึกในใจว่า หรือเบียร์ฝรั่ง จะมีชื่อเสียงมากกว่าเบียร์จีน พวกฝรั่งคงรู้จักแต่เหมาไถของกุ้ยโจว แต่ไม่รู้จักเบียร์จีนกันอย่างแน่แท้

แต่เขาก็คิดอีกว่า ต่อให้ไม่พบเบียร์จีนใน internet แต่ถ้าจะหา ประเทศจีน ที่มีประชากรถึง 1 ใน 5 ของโลกและมีเนื้อที่ใหญ่โตมหาศาล คงจะหาเจอละมั๊ง

และแล้ว เขาจึงบรรจง คีย์คำว่า “China” ลงในช่อง search engine ของ yahoo อีกครั้ง ผลปรากฏว่าบนจอขึ้นคำที่เหลือมากคือ “no data” หรือไม่มีข้อมูล

และจุดนี้นี่เองที่ทำให้เขาได้ปิ๊งไอเดียที่จะทำการขยายธุรกิจของสำนักแปลไห่โป๋ได้แล้ว โดยจะให้ทีมงานของแซม ช่วยสร้างเว๊บเพจสำนักแปลไห่โป๋เสร็จ และอัพโหลดขึ้น internet ทันที

มันเป็นหน้าเว๊บที่เรียบง่าย จนเข้าขั้นน่าเกลียดเลยด้วยซ้ำ ไม่มีภาพ ไม่มีการเคลื่อนไหว ไม่มีโฆษณา Flash มีแต่คำอธิบายเป็นตัวอักษรไม่กี่ตัวอักษร คือ เป็นการแนะนำสำนักแปลไห่โป๋ บวกกับรายการค่าจ้างแปล เช่น 1,000 ตัวอักษร คิด xx หยวน เป็นต้น พร้อมกับ email ในการติดต่อ

เมื่อแจ๊คเดินทางกลับจากซีแอตเทิลถึงหังโจว ซึ่งการกลับมาครั้งนี้ของแจ๊คนั้นได้นำเอาของวิเศษหนึ่งอย่างมาจากอเมริกาด้วย มันคือ คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คอินเทล 386 ซึ่งเป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในขณะนั้นเลยก็ว่าได้

เพียงแค่คืนแรกที่กลับถึงหังโจว แจ๊ค เขาก็เริ่มเดินหน้าธุรกิจที่เขาได้คิดไว้อย่างทันที เขาเชิญเพื่อนสนิทที่สุด 24 คนมากินข้าวที่บ้าน และเริ่มบรรเลงโชว์ ของวิเศษ (คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คอินเทล 386) ทุกคนที่ถูกเชิญมาต่างอ้าปากค้าง และรู้สึกทึ่งกับเจ้าสิ่งนี้ ซึ่งไม่ต่างจากตอนที่แจ๊ค นั้นเห็นคอมพิวเตอร์สุดแรงนี้ ครั้งแรกที่อเมริกา

Jack Ma กับเพื่อนสนิท 24 คนของเขา
Jack Ma กับเพื่อนสนิท 24 คนของเขา

เขากล่าวกับเพื่อนว่า ๆ จะลาออกจากงานมาเริ่มธุรกิจ internet แต่มันกลับกลายเป็นว่าเพื่อน ๆ ของเขาทั้งหมดแทบจะคัดค้านกับแนวคิดของ แจ๊ค หลาย ๆ คนก็พยายามถามรายละเอียดของ internet จากแจ๊ค 

แต่ก็อย่างที่ทราบ แจ๊ค นั้นก็มีความรู้ทางด้าน internet แบบผิวเผินเท่านั้น ไม่สามารถตอบคำถามใด ๆ จากเพื่อน  ๆ เขาได้เลย ซึ่งหลังจากให้ทำการโหวตปรากฏว่า 23 คันค้าน และมีคนเห็นด้วยกับแจ๊ค เพียงแค่คนเดียวเท่านั้น

และแม้จะแทบไม่มีเสียงสนับสนุน แต่ สัญชาติญาณของแจ๊ค นั้นก็สั่งให้เขาเริ่มธุรกิจนี้แบบทันที ก้าวแรกของการสร้างธุรกิจคือหาเงินทุน ซึ่งแจ๊คและภรรยานั้นได้ทุ่มเงินหมดตัว 6,000 หยวน และทำการรวบรวมจากญาติพี่น้องได้อีกราว  ๆ 40,000 หยวน และ อีกส่วนคือการนำเอาสินทรัพย์ของสำนักแปลภาษาไห่โป๋ธุรกิจแรกของเขาออกเทขายทั้งหมด ซึ่งได้มาอีก 30,000 หยวน รวมเป็นส่วนของตัวเขาและภรรยาทั้งสิ้น 80,000 หยวน

และเพื่อนที่สนับสนุนแนวคิดนี้ของแจ๊คอย่าง เหออิปิง นั้น ก็ได้ร่วมลงทุน 10,000 หยวน ส่วนอีก 10,000 หยวนสุดท้ายได้มาจากเพื่อนอีกคนที่ชื่อ ซ่งเว่ยชิง  ซึ่งทำให้มีเงินลงทุนตั้งต้นของธุรกิจใหม่ของแจ๊คนั้น มีรวมแล้วประมาณ 100,000 หยวน

และในที่สุดบริษัทเทคนิคอินเตอร์เน็ตไห่โป๋ เจ้อเจียง ที่ดำเนินการกิจการไดเร็กทอรี่อุตสาหกรรมการค้าออนไลน์ และเป็นเว๊บไซต์ internet แห่งแรกของประเทศจีน – เยลโล่เพจเจส ประเทศจีน ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อเดือน เมษายน ปี 1995

และในวันที่ 9 พฤษภาคม 1995 ไชน่าเพจเจส (http://www.chinapages.com) ก็ได้ขึ้นออนไลน์อย่างเป็นทางการ และเป็นเว๊บไซต์ธุรกิจเว๊บแรกในประวัติศาตร์ของ internet ของประเทศจีนในที่สุด

Chinapages ธุรกิจ internet แรกของ Jack Ma
Chinapages ธุรกิจ internet แรกของ Jack Ma

แม้ช่วงแรก ๆ จะล้มลุกคลุกคลาน แต่เขาก็พาบริษัทฝ่าวิกฤติ จนสุดท้ายได้หันมา ทำธุรกิจ ecommerce อย่าง alibaba และพาบริษัทก้าวขึ้นเป็นยักษ์ใหญ่ของวงการเทคโนโลยีในประเทศจีนอย่างที่เราได้เห็นกันในทุกวันนี้นั่นเองครับ

–> อ่าน Blog Series : Jack Ma Rise of the Dragon

References : https://socket3.wordpress.com/tag/386/
https://www.alibabagroup.com/en/about/history?year=1999