ทำไมยักษ์ใหญ่จาก Silicon Valley ถึงได้ล้มเหลวในดินแดนมังกร

ในฐานะบริการชั้นนำจากอเมริกา หรือ ทั่วโลก บริการอย่าง eBay, Google , Uber , Airbnb , Amazon ทุกบริษัทล้วนแล้วแต่มีความพยายามในการเอาชนะตลาดในประเทศจีน

แม้นักวิเคราะห์หลาย ๆ รายได้พยายามสรุปความล้มเหลวของบริการจาก Silicon Vallley เหล่านี้ว่ามาจากการควบคุมของรัฐบาลจีน

แต่ ไค ฟู ลี อดีตผู้บริหารระดับสูงของทั้ง Microsoft และ Google ทั้งในอเมริกาและประเทศจีนกลับมองต่างออกไป

เขามองว่าการที่บริษัทจากอเมริกันนั้น พยายามทำทุกอย่างในประเทศจีน เหมือนตลาดอื่น ๆ ที่พวกเขาครอบครองได้ทั่วโลก นั่นคือข้อผิดพลาดที่สำคัญที่สุด

การที่บริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้ ไม่ลงทุนในทรัพยากร หรือให้ความยืดหยุ่นกับทีมงานในประเทศจีน ที่จำเป็นอย่างมากในการแข่งขันกับบริการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศจีนเอง เพื่อปรับบริการต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมชาวจีนนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่บริการเหล่านี้ ไม่สามารถสู้กับบริการท้องถิ่นในประเทศจีนได้

ไค ฟู ลี ได้กล่าวว่า ในบางบริการนั้น อาจจะต้องเริ่มต้นกันใหม่ตั้งแต่ต้น เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดจีน การทำเพียงแค่ แปลเป็นภาษาจีน แล้วใช้ทุกสิ่งทุกอย่างเหมือนกับในอเมริกานั้น ทำให้ทีมงานที่อยู่ในพื้นที่รู้สึกถึงความไม่ใส่ใจที่แท้จริง

ความแตกต่างที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ บริษัทยักษ์ใหญ่จาก Silicon Valley ได้สูญเสียทรัพยากรบุคคลที่เก่งกาจในประเทศจีนไปเป็นจำนวนมากเนื่องจากปัญหาข้างต้น เหล่าบริษัท สตาร์ทอัพของจีน รวมถึงคนหนุ่มสาวที่มีความทะเยอทะยานที่สุดส่วนใหญ่นั้นมักเลือกที่จะเข้าร่วมกับบริษัทในท้องถิ่น

เพราะพวกเขารู้ดีว่า หากเข้าร่วมกับบริษัทอเมริกัน ผู้บริหารของบริษัทนั้น จะมองพวกเขาเป็นเพียงแค่ แรงงานในพื้นที่ ตลอดไป พวกเขาจะไม่ได้รับโอกาสในการไต่เต้าขึ้นสู่การเป็นผู้บริหารระดับสูงที่แท้จริง ซึ่งสูงสุดเป็นได้เพียงแค่ ผู้จัดการประจำประเทศของบริการนั้น ๆ เพียงเท่านั้น

เพราะฉะนั้น คนหนุ่มสาวเหล่านี้ ที่มีความทะเยอทะยานสูง เลือกที่จะก่อตั้งบริษัทสตาร์ทอัพของตัวเอง หรือเข้าร่วมกับบริษัทในประเทศจีน เพื่อเอาชนะบริการยักษ์ใหญ่เหล่านี้ที่มาจาก Silicon Valley นั่นเอง

เพราะฉะนั้นทรัพยากร แรงงานส่วนใหญ่ที่ บริษัทจาก Silicon Valley ได้ไปนั้น มักจะเป็นกลุ่มคนที่ หวังเพียงแค่เงินเดือน หรือ หุ้น มากกว่ากลุ่มคนที่มีความทะเยอทะยานเพื่อเอาชนะในตลาดจีนอย่างแท้จริง

ในขณะที่นักวิเคราะห์จากต่างชาติยังคงสงสัยในคำถามที่ว่า ทำไม บริษัทยักษ์ใหญ่จาก Silicon Valley ไม่สามารถเอาชนะในจีนได้ แต่ บริษัทของจีน กำลังยุ่งอยู่กับการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ดีขึ้น

Weibo ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม ไมโครบล็อกที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก Twitter ขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีการเพิ่ม Features ต่างๆ มากมาย และทำให้ตอนนี้มีมูลค่ามากกว่า Twitter ที่พวกเขาไป copy มาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

หรือบริการอย่าง Didi ที่เลียนแบบมากจาก Uber ได้ขยายบริการและผลิตภัณฑ์อย่างมาก และให้บริการรถโดยสารในประเทศจีนในแต่ละวัน มากกว่าที่ Uber ทำได้ทั่วโลกเสียอีก หรือ Toutiao ซึ่งเป็นแพล็ตฟอร์มข่าวของจีน ที่ถูกเปรียบเทียบกับ BuzzFeed ใช้ อัลกอริธึม Machine Learning ขั้นสูง เพื่อปรับแต่งเนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้ใช้แต่ละคน

ซึ่งต้องบอกว่า การเติบโตของ Ecosystem ผู้ประกอบการของจีนนั้น เป็นมากกว่าการคิดเพียงแค่แข่งขันกับบริการจาก Silicon Valley หลังจากที่บริษัทต่าง ๆ เช่น Alibaba , Baidu หรือ Tencent นั้นได้พิสูจน์แล้วว่า ตลาดอินเทอร์เน็ตของจีนนั้นสามารถสร้างกำไรได้มากเพียงใด

มันทำให้คลื่นลูกใหม่ของบริษัทด้านการลงทุน ก็เริ่มหลั่งไหลเข้าสู่อุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีของประเทศจีน และตลาดก็กำลังร้อนแรงเป็นอย่างมาก จำนวน สตาร์ทอัพในประเทศจีนก็เติบโตขึ้นอย่างทวีคูณ

แม้การต่อสู้กับยักษ์ใหญ่จาก Silicon Valley นั้นจะทำให้เหล่าบริการของจีนยิ่งแข็งแกร่ง แต่การแข่งขันภายในประเทศ กับคู่ต่อสู้ภายประเทศของเขาเองต่างหาก ที่เป็นบทพิสูจน์ที่แท้จริงของบริษัทเทคโนโลยีในประเทศจีน ว่าพวกเขาเจ๋งจริง นั่นเองครับ

References : https://www.vox.com/recode/2019/5/1/18511540/silicon-valley-foreign-money-china-saudi-arabia-cfius-firrma-geopolitics-venture-capital
https://lareviewofbooks.org/article/a-chinese-silicon-valley-not-so-fast/
https://www.businessinsider.com/google-isnt-the-only-silicon-valley-company-struggling-in-china-2010-1
http://parisinnovationreview.cn/en/2016/07/14/why-american-internet-companies-fail-in-china-a-cultural-perspective/
https://startupsventurecapital.com/why-shanghai-china-might-be-the-next-silicon-valley-and-why-we-should-care-811672cb12dd

เมื่ออเมริกากำลังสร้าง Social Credit System เลียนแบบประเทศจีน

ในประเทศจีนตัวเลขสามหลักระหว่าง 350 ถึง 950 ที่บ่งบอกถึง Social Credit Score นั้น สามารถกำหนดได้ว่าจะมีการอนุมัติสินเชื่อบุคคลหรือไม่ หรือพวกเขาสามารถเดินทางออกนอกประเทศได้หรือไม่ และยังครอบคลุมถึงการที่พวกเขาจะสามารถออกเดทในคืนวันศุกร์ได้หรือไม่

หมายเลขนั้นคือคะแนนเครดิตทางสังคม (Social Credit) ของพวกเขาและพวกเขาได้รับผ่านระบบที่ประเทศจีนได้เริ่มดำเนินการขึ้นในปี 2014

ภายใต้ระบบเครดิตทางสังคมหากชาวจีนทำสิ่งที่เจ้าหน้าที่เห็นว่า “ดี” เช่น จ่ายเงินตรงเวลาหรือบริจาคเลือดเป็นประจำ  คะแนนของพวกเขาอาจเพิ่มขึ้น ในทางกลับกันหากพวกเขาทำอะไรที่ “ไม่ดี” เช่นวิจารณ์รัฐบาลหรือจูงสุนัขไปเดินโดยไม่มีสายจูงคะแนนของพวกเขาอาจลดลงได้เช่นเดียวกัน

ชาวอเมริกันหลายคนอาจพบพลังของระบบเครดิตทางสังคมของจีนที่มีความน่าอัศจรรย์เป็นอย่างยิ่ง แต่เรื่องราวของ Fast Company ที่ตีพิมพ์เรื่องราวดังกล่าวนั้น ได้ระบุว่าตอนนี้ผู้คนในสหรัฐอเมริกาก็ได้รับการยอมรับในระบบที่คล้ายคลึงกันนี้ ซึ่งเป็นเพียงการจัดตั้งและบังคับใช้โดยบริษัทเอกชนแทนที่จะเป็นรัฐบาลเหมือนที่จีนทำ

ตัวอย่างเช่น บริษัท ประกันชีวิตสามารถใช้เบี้ยประกันของบุคคลตามเนื้อหาของโซเชียลมีเดียฟีดของลูกค้าได้ ในขณะเดียวกัน บริษัท ที่เรียกว่า  PatronScan ยังคงมีรายชื่อของ“ ลูกค้าที่ไม่น่ารัก” ที่บาร์และร้านอาหารสามารถใช้มันเป็นข้อกำหนดเพื่อยกเว้นผู้เข้าร่วมงานบางคนได้นั่นเอง

และดูเหมือนว่าเหล่าแพลตฟอร์มขนาดใหญ่กำลังได้เปรียบ  ตอนนี้ Airbnb มีรายชื่อของลูกค้ามากกว่า 6 ล้านราย ดังนั้นการสั่ง Ban จากแอพ ก็อาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อความสามารถของเหล่าบุคคลต่าง ๆ ในการหาที่พัก และ Airbnb สามารถแบนใครก็ได้ที่ต้องการ โดยที่ไม่จำเป็นต้องให้เหตุผล

Uber ยังสามารถแบนผู้ใช้บางคนไม่ให้เดินทาง ในขณะที่การแบนโดย WhatsApp หรือบริการที่คล้ายกันอาจส่งผลเสียต่อความสามารถของใครบางคนในการสื่อสารกับส่วนที่เหลือของโลกนั่นเอง

ตามที่ Fast Company รายงาน  ลักษณะของระบบสังคมที่ให้ความเชื่อถือกันของสหรัฐคือการลงโทษ ซึ่งการกระทำต่าง ๆ เหล่านี้จะอยู่นอกระบบยุติธรรมปรกติของสังคมที่รัฐเป็นผู้จัดการ

“ มันเป็นระบบกฎหมายทางเลือกที่ผู้ถูกกล่าวหาจะมีสิทธิ์น้อยลง”  ซึ่งมีกล่าวเพิ่มเติมในภายหลังว่าหาก“ แนวโน้มในปัจจุบันมีแนวโน้มที่เป็นไปได้ว่าในอนาคตผู้กระทำความผิดส่วนใหญ่ในอนาคตและแม้แต่กระทั่งเรื่องใหญ่ ๆ อย่างอาชญากรรม ผู้ทำผิดจะถูกลงโทษ ไม่ใช่เพียงแค่จากกฏหมายของรัฐเท่านั้น แต่จะโดยลงโทษโดย บริการต่าง ๆ บน Silicon Valley เช่นเดียวกันนั่นเอง”

References : 
https://www.fastcompany.com

ประวัติ Airbnb สตาร์ทอัพการแบ่งปันที่พักชื่อดัง

ตอนนี้ชื่อของ Airbnb นั้นกลายเป็นบริษัทชั้นนำระดับโลกไปแล้ว หลังจากกระแสเรื่อ่ง Sharing Economy มาแรงมาก ๆ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การเกิดขขึ้นของ Airbnb นั้นต้องบอกเป็นสิ่งที่น่าทึ่งมาก ๆ

จากจุดกำเนิดเล็ก ๆ ใน San Francisco ในปี 2008 จากผู้ก่อตั้งอย่าง Brian Chesky และ Joe Gebbia ในอพาร์ตเม้น เล็ก ๆ ของเค้านั้น ณ ตอนนี้กลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่าหลายหมื่นล้านเหรียญสหรัฐ  และกำลังเป็นที่ถูกพูดถึงจากทั่วโลก จากกระแสของ Sharing Economy

ซึ่งต้องเรียกได้ว่า Airbnb นั้นเป็นต้นแบบของรูปแบบธุรกิจใหม่ที่เป็น Sharing Economy ที่ ตอนหลังมีการพัฒนากับ Service ต่าง ๆ อย่าง Uber ที่มาจับตลาดเรื่องการบริการขนส่งคน ทั้ง ๆ ที่บริษัทเหล่านี้แทบไม่มี Resource จริง ๆ ของตัวเอง Airbnb นั้นไม่มีโรงแรมเป็นของตัวเอง รวมถึง Uber ที่ไม่มีรถเป็นของตัวเองด้วยซ้ำ แต่กลายมาเป็นธุรกิจระดับโลกได้อย่างไร

ผู้ร่วมก่อตั้ง Airbnb ในยุคแรก ๆ

ผู้ร่วมก่อตั้ง Airbnb ในยุคแรก ๆ

หลายคนอาจจะคิดว่า Airbnb นั้นเกิดมาไม่นาน แต่ความจริงนั้นต้องย้อนกลับไปในช่วงตั้งแต่ปี 2008 เกือบสิบปีที่ผ่านมา Airbnb นั้นผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านการ Tranform ธุรกิจมาหลายครั้งถ้านับจากจุดเริ่มต้นที่ต้องการเป็นแค่ บริการสำหรับ คนที่ต้องการหาที่พักราคาถูก ๆ แต่ได้เปลี่ยนการบริการให้ครบวงจรมากขึ้น โดยได้มอบประสบการณ์การท่องเที่ยวที่แปลกใหม่จากนักท่องเที่ยวทั่วโลก ซึ่งไม่สามารถหาได้จากการนอนโรงแรมทั่ว ๆ ไปได้

ในช่วงแรก ๆ ของ Airbnb นั้น ยังไม่สามารถทำให้เป็นกระแสได้เหมือนปัจจุบัน ผู้คนต่างไม่เข้าใจความคิดของผู้ก่อตั้งทั้งสอง การที่คนจะไปพักในบ้านคนอื่นในขณะ ท่องเที่ยวนั้น มันจะเป็นไปได้จริง ๆ หรือ?

การทำความเข้าใจกับผู้ที่จะมาใช้บริการนั้นค่อนข้างเป็นประเด็นที่ยากของการก่อตั้ง service ลักษณะนี้ ในอดีต เราคงคิดว่าเป็นเรื่องยากมาก ๆ ที่เราจะไปพักบ้านใครก็ไม่รู้ และ ที่สำคัญ host นั้นก็ต้องคิดเหมือนกันว่า จะให้ใครก็ไม่รูัมาพักในบ้านตัวเองนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยากมาก ๆ

Joe และ Brian นั้นต้องใช้เวลานานกว่าหลายปี กว่าที่คนจะเข้าใจถึงรูปแบบบริการดังกล่าว การมอบประสบการณ์การท่องเที่ยว ที่แปลกใหม่ การได้เรียนรู้ถึงวัฒนธรรมท้องถิ่นจริง ๆ จาก host นั้น เป็นสิ่งที่ทำให้นักท่องเที่ยวจำนวนมาก เริ่มหันมาสนใจ บริการของ Airbnb ในช่วงหลัง และการเกิดของกระแส social network ต่างๆ  นั้นก็ทำให้บริการของพวกเค้าเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ

ช่วงที่แย่ของ Joe และ Brian นั้น เค้าทั้งสองไม่มีเงินขนาดต้องใช้ บัตรเครดิต ส่วนตัวมาจ่ายค่าจ้างพนักงานในช่วงแรก แล้วใช้การหมุนเงินผ่านบัตรเครดิต เพื่อให้ประทัง Airbnb ให้สามารถมีลมหายใจต่อไปได้ ซึ่งเค้าทั้งสองมั่นใจว่าบริการลักษณะนี้นั้นจะต้องเกิด อย่างแน่นอน แต่แค่รอเวลาที่สมควรเท่านั้น

เคยทำ ซีเรียล มาขายจริง ๆ เพื่อพยุงสถานะบริษัท

เคยทำ ซีเรียล มาขายจริง ๆ เพื่อพยุงสถานะบริษัท

ทั้งสองเคยต้องหาเงินโดยการต้องทำ ซีเรียล ขนมอบกรอบ เพื่อหาเงินมาประทังบริการของเค้า ในช่วงแรก ๆ ของการทำ Airbnb หลายครั้งที่ทั้งสองคนเริ่มท้อกับการสร้าง Airbnb แต่เค้าก็ยังสุ้ต่อไป

จุดที่เริ่มเปลี่ยนจริงๆ  นั้นน่าจะมาจากการแนะนำของที่ปรึกษาทางธุรกิจของทั้งสองให้เข้าไปหาลูกค้า รวมถึง host โดยตรงเพื่อไปรับฟังปัญหาต่าง ๆ รวมถึงความต้องการของ host เพื่อนำมาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ ทั้งสองได้ลงไปหาข้อมูลด้วยตัวเองในรัฐต่างๆ  ทั่วอเมริกา เพื่อนำความต้องการของลูกค้า รวมถึง host มาปรับปรุงบริการให้ดีขึ้น

เรื่องที่สำคัญอย่างนึงคือ เรื่องการประกันของ host ที่ต้องประกันทรัพย์สินต่างๆ  เพื่อให้เกิดความมั่นใจกับ host ให้นำที่อยู่ของตนเองเข้ามาบริการใน Airbnb ให้มากที่สุด

ซึ่งตอนนั้น ไม่มีบริษัทรับประกันที่ไหนสามารถรับประกันในสิ่งที่ทั้งสองต้องการได้ จนเกิดมาเป็นระบบประกันของตัวเองของ Airbnb ที่ทำให้ host มั่นใจมากขึ้น ที่จะนำอสังหาของตัวเองมาปล่อยเช่าในระบบของ Airbnb

ซึ่งหลังจากผ่านความพยายามมาหลายปี และการปรับปรุงบริการให้ดีขึ้น ทำตามความต้องการของลูกค้ามากขึ้น Airbnb ก็ค่อย ๆ เติบโตแบบก้าวกระโดด จนเป็นที่แพร่หลายทั่วโลกอย่างในปัจจุบัน และกำลังกลายเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่แห่งหนึ่งของโลกในอนาคตอันใกล้นี้อย่างแน่นอน

ติดตาม ด.ดล Blog เพิ่มเติมได้ที่
Fanpage :facebook.com/tharadhol.blog
Blockdit :blockdit.com/tharadhol.blog
Twitter :twitter.com/tharadhol
Instragram :instragram.com/tharadhol

Blog Series : Tokyo in the Rain

สำหรับ ญี่ปุ่นนั้น ผมก็มีโอกาสได้ไปมาหลายครั้งทั้งการท่องเที่ยวผ่านทัวร์ หรือ การไปทำงาน แต่สำหรับการไปเที่ยวด้วยตัวเองนั้น ครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรก จึงอยากเล่าประสบการณ์การเดินไปท่องเที่ยวที่เน้นกิน เน้นเที่ยว ซึ่งได้รับประสบการณ์การท่องเที่ยวที่แตกต่างจากไปกับทัวร์เป็นอย่างมาก เพราะทุกอย่างเราต้องลุยเองตั้งแต่เริ่มต้น ตั้งแต่ จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบิน รวมถึงการจองรถเช่า เพื่อใช้ขับในญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประสบการณ์หลายอย่างที่เป็นครั้งแรกของผม จึงอยากนำมาเล่าให้ได้ติดตามกันครับ

ตอนที่ 0 : 

ตอนที่ 1 :

ตอนที่ 2 :

ตอนที่ 3 :

ตอนที่ 4 :

 

Credit Image : tokyocheapo.com