ตรรกะ ที่ไร้ซึ่ง ตรรกะ ของระบบกฏหมาย

หลังข่าวการถูกศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัย ให้หยุดการทำหน้าที่ ส.ส. ชั่วคราวของ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่อย่างคุณ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ทำให้กระแสการเมืองในไทยกลับมร้อนแรงขึ้นอีกครั้งหลังจากการประชุมสภานัดแรก และ ภาพการปรบมือกึกก้องห้องประชุมสภา ส่งนายธนาธร ออกจากห้องประชุม

มันเป็นภาพที่สวยงามของการกลับมาอีกครั้งของประชาธิปไตยไทย หลังจากอยู่ภายใต้รัฐบาลรัฐประหาร คสช. กว่า 5 ปี แม้การเลือกตั้งครั้งนี้ จะดูเหมือนถูกออกแบบมาเพื่อสานอำนาจต่อของคสช แต่ก็ถือได้ว่าเป็นนิมิตรหมายที่ดีในการก้าวสู่ประชาธิปไตยของประเทศไทย

การแจ้งเกิดอย่างสวยงามของพรรคน้องใหม่ที่เพิ่งตั้งมาไม่ถึงปีอย่าง พรรค อนาคตใหม่ ที่ต้องเรียกได้ว่า เป็นการฉีกกฏการเมืองแบบเดิม ๆ แบบขาดวิ่นเลยก็ว่าได้ ทั้งที่พรรคได้แจ้งเกิดมาเพียงไม่ถึงปี การได้มาถึง 5 ล้านกว่าเสียงต้องบอกว่าเป็นเรื่องที่ไม่ธรรมดาเลยทีเดียวสำหรับพรรคเกิดใหม่อย่างอนาคตใหม่

ผลการเลือกตั้งที่ผู้คนต่างเทคะแนนไปให้อนาคตใหม่เป็นจำนวนมาก จนกลายเป็นพรรคขนาดใหญ่ได้สำเร็จจากผลการเลือกตั้งครั้งแรก  เรียกได้ว่า ไม่ต้องพึ่งพาหัวคะแนนแบบการเมืองแบบเก่าเลยด้วยซ้ำ ถือเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของการเมืองไทย ของการเข้าสู่ยุคใหม่ของการเลือกตั้งอย่างแท้จริง

การได้เห็นเหล่าคนรุ่นใหม่ใน Social Network หันมาสนใจการเมืองนั้น เรียกได้เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนของประเทศไทย ที่เหล่าวัยรุ่นนั้นหันมาสนใจการเมืองได้มากถึงเพียงนี้

ถึงขนาดที่ว่าการประชุมสภาวันแรกนั้น Trend ที่ขึ้นใน Twitter เป็นเรื่องการเมืองแทบจะทั้งสิ้นเรียกได้ว่าฉีกกฏเกณฑ์ที่เคยมีมาของการเมืองไทย ที่เมื่อก่อนวัยรุ่นแทบจะไม่สนใจการเมืองกันเลย

แต่การตัดสินเรื่องคุณธนาธรนั้นก็ยังเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันอยู่ในเรื่องความถูกต้อง จริงเท็จประการใดนั้น ผมไม่อาจล่วงคำตัดสินของศาล

แต่ ปัญหาใหญ่ของกฏหมายในหลาย ๆ เรื่องที่เราได้พบมาตามข่าว ไม่ว่าจะเป็นคดีเล็ก ๆ อย่างการลักทรัพย์ ไปจนคดีใหญ่ ๆ ระดับประเทศอย่างคดีเสือดำ เราจะเห็นได้ว่า มันขึ้นอยู่กับการตีความ รวมถึงความเทพของเหล่านักกฏหมาย หรือ อัยการ แทบจะทั้งสิ้นที่จะมาตีความตามกฏหมายต่าง ๆ เหล่านี้

และแน่นอน มันเกิดขึ้นมานับต่อนับแล้วในเรื่องของการ ทำถูกให้เป็นผิด และ ทำผิดให้เป็นถูก ซึ่งมันสามารถทำได้ในระบบกฏหมายที่ถูกออกแบบมาเป็นแบบนี้ และเป็นเหมือนกันทั่วโลก เพราะฉะนั้น คำว่าทำผิด กับ ทำผิดกฏหมาย มันได้กลายเป็นคนละความหมายกันอย่างสิ้นเชิงหากเรามองเรื่องการตีความกับกฏหมาย

ผมมองไปถึงยุคอนาคต ที่เราอาจจะไม่จำเป็นต้องมีทนาย และ ผู้พิพากษาอีกต่อไปเลยด้วยซ้ำ เมื่อ งานพวกนี้ Robot หรือ AI สามารถที่จะทำงานแทนได้หมด ตอนนี้โลกเราพัฒนา AI ทั้งเทคนิคของ Natural Language Processing , Machine Learning , Sentiment Analysis , Neural Network

ตัวอย่างในต่างประเทศก็เริ่มมีให้เห็น AI NOW ซึ่งวิจัยโดย สถาบันวิจัยตรวจสอบผลกระทบทางสังคมของ AI ได้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการโดยมีเป้าหมายเพื่อรวบรวมผู้สนับสนุนด้านกฎหมายวิทยาศาสตร์และทางด้านเทคนิคที่จะมุ่งเน้นไปที่การตัดสินใจเชิงอัลกอริทึมในหลากหลายด้านของกฎหมาย (เช่นการจ้างงาน ผลประโยชน์สาธารณะ หรือ กฏหมายด้านแรงงาน)


ตัวอย่างความแม่นยำในการวิเคราะห์คดีความต่าง ๆ เมื่อมนุษย์เทียบกับ AI

ซึ่งจากงานวิจัยนั้น มันทำให้เหล่า AI สามารถอ่านกฏหมาย วิเคราะห์กฏหมาย เปรียบเทียบความถูกต้องที่เป็น Logic แบบชัดเจน ไม่คลุมเคลือ ไม่ศรีธนญชัย แถมยังไม่ BIAS เข้าข้างใคร หรือมีอิทธิพลต่อใคร เหมือนที่เคยมีมา เพราะยังไงมนุษย์เราไม่ว่าจะเที่ยงตรง ยุติธรรมขนาดไหน สุดท้ายก็ต้องมีความ BIAS ไม่ว่าข้างใดข้างหนึ่งเสมอนั่นเอง การหาความเป็นกลางของมนุษย์นั้น เป็นเรื่องนามธรรม ที่มันจับต้องได้ยากจริง ๆ 

References Image : https://ichef.bbci.co.uk/news/660/cpsprodpb/123D7/production/_107111747_bwsw7906copy.jpg