ไม่เป็นไร

ได้นั่งอ่าน A day ฉบับล่าสุด 171 ใน main course ที่เกี่ยวกับชาวญี่ปุ่นในเชียงใหม่  ก็ได้ทำความเข้าใจกับชาวญี่ปุ่นมากขึ้นว่าทำไมเขาถึงต้องย้ายที่พำนักมาอยู่ที่เชียงใหม่เป็นจำนวนมาก

5503300202

โดยส่วนตัวนั้นก็เคยได้ไปเที่ยวญี่ปุ่นหลายครั้ง ซึ่ง ถ้าเราพิจารณากันที่เมืองต่าง ๆ ของญี่ปุ่น ทั้งในเขตเมืองหรือชนบทนั้น แทบจะหาที่ ๆ ไม่เจริญได้ยากมาก  ๆ การนั่งรถผ่านเมืองแต่ละเมืองในญี่ปุ่นนั้น จะสังเกตเห็นความเจริญอยู่ทุกหย่อมหญ้า ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจะต่างจากประเทศไทย ที่นอกจากกรุงเทพมหานครแล้วนั้น ถ้านั่งขับรถไปตามต่างจังหวัด จะรู้สึกว่าเหมือนเป็นคนละประเทศกัน มีความแตกต่างทางด้านความเจริญนั้นสูงมาก ๆ ซึ่งจะต่างจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจะมีการกระจายความเจริญไปในหลาย ๆ เมือง ไม่ใช่มีแค่ โตเกียวเท่านั้น รวมถึง ชนบท ส่วนใหญ่ก็จะเป็นเมืองที่ใหญ่ ๆ  จะไม่ค่อยมีตำบล ย่อย ๆ ซึ่งชาวญี่ปุ่นนั้น นิยมที่จะไปอาศัยพำนัก กระจุกตัวอยู่ตามหัวเมืองต่าง ๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นเมืองที่อยู่ติดทะเล ไม่ทางใด ก็ทางหนึ่ง

1_1269173767KGF8

สำหรับ A day ฉบับนี้นั้นความน่าสนใจของเนื้อหาคือ ทำไม ชาวญี่ปุ่นถึงได้ย้ายมาพำนักในเชียงใหม่เป็นจำนวนมาก บางคนก็มาใช้ชีวิตถาวรที่นี่ ซึ่ง ถ้าพูดถึงความสวยงามของเชียงใหม่แล้วนั้น ถือว่าในญี่ปุ่น มีเมืองในรูปแบบนี้ อยู่เยอะมาก  ๆ  เพราะญี่ปุ่นจะเต็มไปด้วยหุบเขาอยู่แล้ว ส่วนใหญ่จะมีความสวยงามยิ่งกว่า เชียงใหม่ บ้านเราอีก แล้วทำไม เค้าถึงไม่เลือกที่จะอยู่ในชนบทในประเทศเค้า ต้องย้ายมาตั้งถิ่นฐานที่เชียงใหม่ ซึ่งจากการนั่งอ่านบทสัมภาษณ์ นั้น แทบจะทุกคน จะพูดเหมือนกันคือ ชอบคำว่า “ไม่เป็นไร” ของประเทศไทย ซึ่งเป็นคำปรกติที่บ้านเราใช้กันในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว ซึ่ง ๆ คำ ๆ นี้ จะไม่นิยมใช้ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่มีการแข่งขันกันสูงมาก ทำให้ชีวิตมีแต่ความเครียด ต้องเคารพผู้อวุโส ซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานที่สำคัญของความเจริญของประเทศญี่ปุ่นในยุคนี้ แต่ เชื่อว่า ชาวญี่ปุ่น ไม่ได้มีความสุขทุกคนกับชีวิตที่ต้องมีการแข่งขันกันสูงอย่างนั้น เชียงใหม่จึงเป็น แหล่งพำนักสำคัญของพวกเค้า เนื่องจาก การดำเนินวิถีชีวิตในจังเชียงใหม่นั้น เป็นไปอย่างไม่เร่งรีบ จึงคิดว่าทำให้คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ชอบในเมืองเชียงใหม่ ณ จุดนี้ ซึ่งจะหาไม่ได้ในประเทศของเค้าอย่างแน่นอน แม้แต่ในชนบท

ถ้ามามองในมุมของชาวไทย นั้น ก็ถือว่า คำว่า “ไม่เป็นไร” นั้นเป็นวัฒนธรรมอย่างนึงของชาวไทยที่มีเสน่ห์ ซึ่งต่างชาติ ก็แปลกใจในส่วนใหญ่ ทั้งชาวยุโรป หรือ ชาว เอเชียอื่น ๆ กับคำ ๆ นี้ ซึ่งฝรั่ง หรือ ชาวญี่ปุ่นจะไม่นิยมใช้คำแบบนี้กัน ทำให้เรามีรากฐานที่สำคัญของการบริการที่ดีเยี่ยม จะเห็นได้การบริการของประเทศไทยนั้น ติดระดับ top  ของโลก ซึ่งจะไม่สามารถหาได้จากส่วนไหนของโลกนี้อีกแล้วในการบริการแบบไทยๆ  ซึ่งถือเป็นเสน่ห์ที่สำคัญ ที่ช่วยดึงดูดชาวต่างชาติให้เข้ามาเที่ยว หรือ มาพำนักในประเทศไทย สร้างรายได้ให้กับประเทศไทยเป็นจำนวนเงินมหาศาล

แต่บางครั้งนั้นคำว่า “ไม่เป็นไร” นี่ก็ถือว่าเป็นข้อเสียอย่างนึงของคนไทยสำหรับการทำงานกับชาวต่างชาติซึ่งจะมีความตรงไปตรงมา ต้องการได้คำตอบจากการทำงานที่ชัดเจนมากกว่า ซึ่ง บางครั้งเราใช้คำ ๆ นี้กันจนชิน แต่ในการทำงานกับชาวต่างชาติบางครั้งนั้น คำๆ  นี้อาจจะส่งผลเสียต่อการทำงานกับประเทศที่ไม่เข้าใจวัฒนธรรมของเรา หลายครั้งที่เราใช้คำ ๆ นี้ แล้วส่งผลลบกับการทำงานทำงานของเรา ถึงแม้จะเป็นการแสดงถึงความอ่อนน้อม ของชาวไทย ซึ่งความแตกต่างของวัฒนธรรมก็เป็นสิ่งสำคัญในการทำงานร่วมกันของคนในแต่ละประเทศ เราก็ต้องเข้าใจวัฒนธรรมของแต่ละประเทศให้มากยิ่งขึ้นเพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ฺBook Review : ดาวหางเหนือทางรถไฟ

หนังสือเล่มนี้เป็นของ คุณ ทรงกลด บางยี่ขัน บก.ใหญ่แห่ง A day  เล่มนี้เป็นหนังสือเล่มแรกที่มีโอกาสได้อ่านจากคุณ ทรงกลด ซึ่ง แนวหนังสือ ของ A day นั้น จะออกมา Style คล้าย ๆ นิตยสาร A day ซึ่งส่วนใหญ่ ก็จะเป็น columnist ในหนังสือ A day แล้วมาออกหนังสือ เป็นจำนวนมาก ซึ่งหนังสือของ เครือ A day นั้นเป็นหนังสือที่อ่านค่อนข้างง่าย ๆ ใช้ภาษาง่าย ๆ แต่สามารถสนุกไปกับมันได้อย่าง ดี ซึ่งผมก็เป็นแฟนพันธ์แท้  ของนิตยสาร A day เช่นกัน ได้รอซื้อในทุก ๆ  เล่มที่ ออกมา

ว่ากันด้วยเรื่องของหนังสือ ดาวหางเหนือทางรถไฟ  ซึ่งเป็นหนังสือแนวบันทึกการเดินทาง โดยเนื้อหาจะเป็นการนั่งรถไฟ สาย ทรานไซบีเรีย จากปักกิ่งไปยัง มอสโคว์ ซึ่งเป็นทริปในฝันของนักเดินทางหลายๆ  คน เชื่อว่าหลายคนคงคิดว่า การนั่งรถไฟเป็นสัปดาห์ จะมีอะไรมากมายนัก ซึ่งโดยส่วนตัวก็ถือว่าเป็นประสบการณ์ที่ยิ่งใหญ่ ที่ควรที่จะลองซักครั้งหนึ่งในชีวิต

หนังสือเล่มนี้ บันทึกการเดินทางตั้งแต่การเที่ยวที่เมืองปักกิ่ง  มองโกเลีย  รัสเซีย ซึ่งเป็นทางผ่านของทางรถไฟสายนี้ โดยที่ คุณทรงกลด ได้แวะเยี่ยมเมืองต่าง ๆ ระหว่างทาง เพื่อบันทึกการเดินทางของรถไฟสายนี้  เนื้อหาโดยรวม ถือว่า เป็นสไตล์ ที่อ่านง่าย ๆ จะดูคล้าย ๆ หนังสือ โตเกียวไม่มีขา ของคุณนิ้วกลม ซึ่ง จากการอ่านเล่มนี้ พบว่า สไตล์การเขียนจะคล้าย ๆ กันมาก แต่ ในเล่มนี้นั้นไม่ได้พบเจอประสบการณ์ที่แปลกประหลาดอะไรมากมาย ๆ เป็นการเดินทางที่เรียบง่าย แต่เล่าเรื่องได้สนุกพอสมควร ก็เป็นหนังสือที่อ่าน และสะสม สำหรับนักอ่าน ยามว่างที่ดีอีกเล่มนึงเลยทีเดียว

เก็บตกจากหนังสือ

  • ชาวรัสเซียเป็นคนที่ยิ้มยาก อย่างยิ่ง
  • เราสามารถนั่งรถไฟ จากหัวลำโพงไปยัง ยุโรปได้ จริง ๆ
  • หนังสือ ใช้ภาษาอ่านง่าย ๆ เล่าเรื่องได้สนุก
  • ยังไม่มีส่วนเนื้อหาที่พบเจอเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน ระหว่างการเดิน ซึ่งการเดินทางในเล่มนี้ค่อนข้างราบเรียบ