การปฏิวัติยูเครน Winter On Fire (Ukraine’s Fight For Freedom)

เป็นเวลากว่าร้อยปี ที่ ประเทศยูเครน เป็นจุดกึ่งกลางระหว่างฝั่งตะวันตก และ ตะวันออกของประเทศรัสเซีย ซึ่งในที่สุดในปี 1991 ยูเครนก็ได้รับเอกราช

การเมืองของยูเครนนิ่งมานาน จนการมาถึงของ วิคเตอร์ ยานูโควิช ในช่วงปี 2013 ผู้นำคนสำคัญที่เปลี่ยนประวัติศาสตร์ประเทศยูเครนอย่างสิ้นเชิง จากการที่เขาเป็นคนฝักใฝ่ฝ่ายรัสเซีย และออกห่างจากยุโรป ซึ่งเป็นวิธีการที่ชาวยูเครนส่วนใหญ่รับไม่ได้ เพราะเป็นการพาประเทศเดินถอยหลังกับการไปคบหากับรัสเซีย

จุดเริ่มต้นของการปฏวัตินั้นเริ่มที่จตุรัส ไมดาน กลางกรุงเคียฟ เมืองหลวงของรัสเซีย ซึ่งเริ่มมีประชาชนที่ไม่พอใจ ประธานาธิบดี ยานูโควิช ได้ทยอย ๆ เข้าร่วมร่วมกับผู้นำฝ่ายค้าน ที่มาเข้าร่วมชุมนุมกับประชาชน

ด้วยกระแสทาง Social Network อย่าง Facebook ทำให้ประชาชนเริ่มทยอยมาที่จตุรัสไมดานมากขึ้นเรื่อย ๆ เป็นการต่อสู้ด้วยพลังของประชาชนอย่างแท้จริง ไม่มีม๊อบจัดตั้งแบบบางประเทศแถวเอเชีย

ประชาชนต้องการเรียกร้องให้นำยูเครนเข้าสู่สหภาพยุโรป โดยวันแล้ววันเล่าที่ประชาชนต่างมาเรียกร้อง ก็ยังไม่มีการตอบสนองจากรัฐบาลเกิดขึ้น

เริ่มมีการปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ทางรัฐบาลส่งมาปราบปราม ภาพการปะทะนั้นได้รับการเผยแพร่ไปทั่ว Social Network รวมถึงช่องทีวีดัง ๆ จากทั่วโลก

หลังจากการถูกปราบปรามจากตำรวจที่จตุรัส ไมดานแล้วนั้น ผู้คนส่วนใหญ่ก็ได้หนีไปยังโบสถ์ เซ็นต์ไมเคิล หรือ วิหารทองคำ  และเริ่มมีการจัดระเบียบการชุมนุมมากขึ้น เริ่มมีส่วนของสเบียงอาหาร รวมถึง มีส่วนของศูนย์การแพทย์ เพื่อช่วยเหลือผู้ชุมนุม ซึ่งในช่วงเริ่มต้นของการชุมนุมนั้น ส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่เป็นวัยรุ่นยุคใหม่ทั้งสิ้น

หลังจากการถูกปราบปรามในครั้งแรกก็ทำให้เริ่มมีประชาชนหลั่งไหลมาจากทั่วทุกสารทิศ ทั่วประเทศเพิ่มมากขึ้น ไม่เพียงเฉพาะประชาชนเมืองเคียฟแล้วเท่านั้น ซึ่งทำให้ขนาดของการชุมนุมมีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าครั้งแรกที่จตุรัสไมดานอย่างเห็นได้ชัด

คนนับแสนเริ่มหลั่งไหลเข้าสู่ใจกลางเมืองเคียฟ ไม่ใช่แค่เพียงเหล่านักศึกษารุ่นใหม่อีกต่อไป ชาวยูเครนต่างพร้อมใจกันเป็นฝ่ายเดียว ไม่มีแบ่งแยกสี จากนั้นก็เดินหน้ากลับไปที่จตุรัสไมดานอีกครั้ง

ซึ่งคราวนี้ เหล่าคนดังทั้งหลาย รวมถึง เซเลบชื่อดัง ต่างมาร่วมชุมนุมด้วยทั้งสิ้น ทำให้การชุมนุมกลับมาครึกครื้นขึ้นอีกครั้งหลังจากการถูกปราบปรามในครั้งแรก

หลายคนที่โกรธแค้นจากที่ถูกปราบปรามในครั้งแรกนั้น เริ่มคิดแผนที่จะยึดทำเนียบประธานาธิบดี ที่อยู่ไม่ไกลจาก จตุรัสไมดาน ซึ่งคราวนี้เริ่มมีการใช้ความรุนแรงขึ้นจากกลุ่มผู้ชุมนุมเอง ตำรวจก็ต้องเริ่มจัดการโดยใช้แก๊สน้ำตาอีกครั้ง และ ด้วยจำนวนตำรวจที่มาป้องกันนั้นมีมากกว่าชุมนุม พร้อมอาวุธคือ กระบอง ที่ใช้ในการจัดการผู้ชุมนุม

การปะทะกันรอบสองนี้ทำให้ผู้ชุมนุมบาดเจ็บไปเป็นจำนวนมากกว่าครั้งแรก หลายคนบาดเจ็บสาหัส จากการกระทำของกลุ่มตำรวจ ทำให้ภาพเหล่านี้กระจายไปยังวงกว้าง ผ่านทั้ง Social Media รวมถึงช่องทีวีต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ

หลังจากนั้นเริ่มมีกระแสกดดันจากนานา ประเทศ เริ่มได้ส่งตัวแทนเข้ามาเจรจาปัญหากับรัฐบาลยูเครน เพื่อให้แก้ปัญหานี้อย่างสันติ

แต่ท่าทีของรัฐบาลนั้นเริ่มชัดเจนว่า ต้องการกวาดล้างผู้ชุมนุมสร้างความวุ่นวายให้หมด โดยยกกองกำลังตำรวจจำนวนมหาศาล มาล้อมจตุรัสไมดานไว้

ซึ่งในคืนวันที่ 11 ธันวาคมของ ปี 2013 สถานการณ์ก็เริ่มเปลี่ยน เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจที่พยายามผลักดันผู้ชุมนุมให้สลาย ไม่สามารถต้านทานพลังของผู้ชุมนุมที่เข้ามามากขึ้นได้ ทำให้ต้องถอนกำลังออกไป เริ่มมีการประนามจากนานาประเทศ เนื่องจากเหล่าผู้ชุมนุม ส่วนใหญ่ได้มีการชุมนุมอย่างสันติ

เมื่อถึงวันที่ 20 ของการชุมนุม รูปแบบการชุมนุม ก็พร้อมมากขึ้น มีการฝึกปฏิบัติกับสถานการณ์หากถูกสลายการชุมนุม เริ่มมีการตั้งสิ่งกีดขวาง ไม่ให้เจ้าหน้าที่เข้าถึงได้ รวมถึง เริ่มมีหน่วยลาดตระเวนบริเวณที่ชุมนุม เพื่อรักษาความปลอดภัย และไม่ให้ตกเป็นเครื่องมือของกลุ่มมือที่สามที่มีโอกาสเข้ามาสร้างสถานการณ์ รวมถึงกลุ่มผู้นำศาสนาเริ่มเข้ามามีบทบาทกับการชุมนุมมากยิ่งขึ้น

ในที่สุด ชาวยูเครนก็ต้องมาฉลองปีใหม่ที่จตุรัสไมดาน ร่วมกัน เค้าดาวน์ ต้อนรับปีใหม่ 2014 ร่วมกับกลุ่มผู้ชุมนุม กว่าแสนชีวิต

หลังจากนั้นการชุมนุมก็ยืดเยื้อมากว่า 2 เดือน ไม่มีอะไรเกิดขึ้นที่เป็นรุปธรรม ตามความต้องการของผู้ชุมนุมเลย พรรคฝ่ายค้านที่ไปทำหน้าที่ในสภาก็ไม่สามารถทำให้อะไรดีขึ้นไปได้ มีแต่การประชุม ๆ ซึ่งไม่มีอะไรคืบหน้าสำหรับเหล่าผู้ชุมนุมเลย รวมถึง ทาง ยานูโควิช ก็แสดงเจตจำนงให้ปล่อยให้การชุมนุมยืดเยื้อไปอย่างงี้ และไม่ได้ตอบสนองใด  ๆกับสิ่งที่ผู้ชุมนุมเรียกร้อง

กลุ่มผู้ชุมนุม เริ่มไม่เชื่อ กับการแก้ไขปัญหาโดยนักการเมือง เริ่มมีการต่อสู้อย่างจริงจรังกับตำรวจ โดยมีการปะทะกันหลายครั้ง ซึ่งรอบนี้ตำรวจเริ่มใช้ไม้แรงขึ้นเรื่อย ๆ เริ่มยิงกระสุนยาง เพื่อต้านกลุ่มผุ้ชุมนุม แต่เนื่องจากสถานการณ์เริ่มยืดเยื้อมานาน ทำให้กลุ่มผู้ชุมนุม ไม่กลัวตำรวจอีกต่อไป รวมถึง มีการฝึกรับมือมาอย่างดี ทำให้ เริ่มมีการใช้ความรุนแรงจากทั้งสองฝ่ายมากยิ่งขึ้น กลุ่มผู้ชุมนุมเริ่มใช้อาวุธอย่าง ระเบิดเพลิง  เริ่มมีการจุดไฟเผายาง เพื่อป้องกันไม่ให้ตำรวจเข้าจู่โจม สถานการณ์เริ่มเลวร้ายลงไปเรื่อย ๆ

พอถึงวันที่ 63 ของการชุมนุม เริ่มมีความอลหม่านมากยิ่งขึ้น ตำรวจเริ่มจะมีการสลายการชุมนุมอีกครั้ง ตอนนี้สถานการณ์เริ่มร้ายแรง ตำรวจเข้าทำลาย แม้กระทั่ง สถานพยาบาลชั่วคราวที่ไว้รักษาอาการบาดเจ็บของผู้ชุมนุม  เริ่มมีการใช้กระสุนจริง กับผู้ชุมนุม ทำให้มีคนตายในที่สุด

หลังจากยืดเยื้อไปถึงวันที่ 90  ก็ได้มีการปะทะครั้งใหญ่ขึ้นอีกครั้ง ณ ขณะนี้ จตุรัส ไมดาน กลายเป็นกองเพลิงขนาดใหญ่ ที่ผู้ชุมนุมต่างจุดไฟเผา เพื่อไล่กลุ่มตำรวจ ต้องบอกว่า สถานการณ์เลวร้ายแบบสุด ๆ เริ่มมีการเผาตึกรามบ้านช่อง ทำให้เคียฟ กลายเป็นทะเลเพลิง เริ่มมีผู้เสียชีวิตมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งฝ่ายผู้ชุมนุม และ ตำรวจ  เริ่มกลายเป็นสงครามกลางเมืองเข้าไปทุกที ตอนนี้เริ่มมีการใช้อาวุธหนักเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตำรวจเริ่มนำปืนกลมาใช้ รวมถึง สไนเปอร์ เพื่อดักยิงกลุ่มผู้ชุมนุม แต่กลุ่มผู้ชุมนุม ก็ยังไม่มีท่าทีจะยอมแพ้แต่อย่างใด แม้ต้องเอาตัวเองไปรับกระสุน เพื่อช่วยเหลือเพื่อนที่บาดเจ็บออกมาก็ตาม

หลังจากผ่านวันสุดเลยร้าย รัฐบาลเริ่มโอนอ่อน เริ่มมีการเสนอทางเลือกให้ มีการเลือกตั้งในช่วงปลายปี 2014  แต่ต้องบอกว่าหลังจากความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงนั้น กลุ่มผู้ชุมนุม ไม่ยอมรับข้อเสนอดังกล่าว ต้องการให้ ยานูโควิช ลาออกเท่านั้น

สุดท้ายด้วยความกดดันจากทุกทาง ที่มีมาเรื่อย ๆ รวมถึงผู้คนที่ล้มตายไปเป็นจำนวนมาก ประชาชนก็ไม่ยอม ต้องให้เค้าออกเพียงอย่างเดียวเท่านั้น สุดท้าย ยานูโควิช ก็ทนความกดดันไม่ไหว ต้องหนีออกจากเคียฟไปในที่สุด  และชัยชนะ ก็เป็นของเหล่าผู้ชุมนุมในที่สุด เป็นการสิ้นสุดการปฏิวัติ ครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งนึงของโลกเราเลยก็ว่าได้

การปฏิวัติยูเครน บ่งบอกอะไร เมื่อ เปรียบเทียบกับการชุมนุมในไทย?

ต้องบอกว่าการปฏิวัติครั้งนี้ ถือเป็นผลสำเร็จของการชุมนุมโดยประชาชนโดยแท้จริง สุดท้ายรัฐบาลก็ไม่สามารถทนต่อแรงกดดัน ที่ประชาชนต่อสู้มาอย่างยาวนานต่อเนื่องได้ จุดเปลี่ยนสำคัญน่าจะเกิดจากการใช้กำลังจนเริ่มควบคุมไม่อยู่ ทำให้มีการสังหารประชาชนโดยใช้กระสุนจริง ๆ และอาวุธที่ร้ายแรงอย่างต่อเนื่อง ๆ

ต้องบอกว่าการชุมนุมประท้วงครั้งนี้นั้น เป็นพลังบริสุทธิ์ ที่มาจากประชาชนโดยแท้จริง  ๆ ซึ่งหากเราเทียบกับการประท้วงของประเทศเรา ซึ่งอยู่ในห้วงเวลาเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นการชุมนุมของฝั่งเสื้อแดง หรือ รอบล่าสุดอย่าง การชุมนุม ของกปปส. นั้น มันมีนัยยะทางการเมือง ของนักการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง จะบอกว่าเป็นการชุมนุมที่เหมือนกับยูเครนมั๊ย ต้องบอกว่าต่างกันสิ้นเชิง

ที่ยูเครน เค้าสู้ด้วยพลังที่บริสุทธิ์อย่างแท้จริง แม้จะมีแกนนำที่เป็นนักการเมืองฝ่ายค้านอยู่ด้วย แต่สุดท้าย เค้าก็ไม่เชื่อแกนนำเหล่านี้อยู่ดี เพราะมีผลประโยชน์ทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ ถึงแม้จะมีคนตายจำนวนมาก เค้าก็พร้อมที่จะฝ่าดงกระสุน โดยใช้เพียงโล่เป็นเกราะป้องกันเท่านั้น จะเห็นได้ถึงความบริสุทธิของพลังมวลชนจริง ๆ

จุดจบของการประท้วงหลายครั้ง ก็ เริ่มมาจากความรุนแรง จากฝั่งรัฐบาลทั้งนั้น ถ้าปราบปรามได้สำเร็จก็ถือเป็นผู้ชนะ แต่ที่ยูเครน แม้จะใช้กำลังยังไง ประชาชนก็ต่อสู้จนหยดสุดท้ายของชีวิต โดยแทบไม่มีอาวุธในการต่อกรกับตำรวจเลย ต่างจากประเทศไทยเรา ที่ได้มีการนำกลุ่มกองกำลัง มาสู้กับรัฐ ซึ่งมันกลายเป็นสงครามกลางเมืองดี ๆ นี่เอง ซึ่งในไทยสุดท้ายแล้ว คนที่เป็นเหยื่อก็คือผู้ร่วมชุมนุม ที่ไปปฏิบัติตามแกนนำ เช่นการไปเผาสถานที่ราชการ หรือ การใช้อาวุธมาต่อสู้กับทหาร จุดจบของการชุมนุมทุกครั้งของประเทศไทย คือ ความพ่ายแพ้

แม้ใครจะบอกว่า กปปส สามารถชุมนุมจนชนะล้มล้างนายกยิ่งลักษณ์จนสุดท้ายหนีออกไปอยู่ต่างประเทศได้ แต่ต้องบอกว่า การยืมมือทหาร เข้ามาปฏิวัติ แบบที่ไทยเราเคยเจอมาตลอดในรอบ 20 ปีหลัง  นี่แหละเป็นความพ่ายแพ้อย่างแท้จริงของการชุมนุมในไทย ซึ่งเทียบไม่ได้เลยกับการปฏิวัติของยูเครน โดยพลังบริสุทธิ์ของประชาชนโดยแท้จริง

References : netflix.com

ติดตาม ด.ดล Blog เพิ่มเติมได้ที่
Fanpage :facebook.com/tharadhol.blog
Blockdit :blockdit.com/tharadhol.blog
Twitter :twitter.com/tharadhol
Instragram :instragram.com/tharadhol

Movie Review : No Escape


Review

 

ถือว่าเป็นผลงานที่น่า Surprise ผมอยู่เหมือนกันสำหรับหนังเรื่อง No Escape ที่เห็นผ่านตามานาน และเพิ่งได้มีโอกาสได้ดูเนื่องจากเห็นแว๊บ ๆ ว่าฉาก location ที่ใช้ถ่ายทำน่าจะเป็นที่ ประเทศไทย ที่จังหวัดเชียงใหม่

โดยส่วนตัวก็ชื่นชอบผลงานส่วนใหญ่ของ Owen Wilson อยู่แล้ว แต่ส่วนใหญ่จะเน้นไปทาง Comedy ซะมากกว่าสำหรับการแสดงของ Owen Wilson ไม่ค่อยได้เห็นเขาใน บทบาที่ Serious เหมือนในหนังเรื่องนี้ สำหรับ No Escape นั้นเป็นผลงานการกำกับของ John Erick Dowdle ซึ่งก็ไม่เคยได้ติดตามผลงานของแกมาก่อนหน้านี้เลย และได้ดารานำอย่าง Pierce Brosnan ที่ห่างหายหน้าจอไปนาน มารับบทสายลับที่เข้ามาประจำการที่ประเทศ ( ในหนังไม่ได้กล่าวงถึงว่าเป็นประเทศอะไรเลย)  และมีการเปลี่ยนภาษาตามป้ายต่างๆ ในท้องถนนให้เป็นภาษาอะไรก็ไม่รู้ แต่ในบทพูดนั้นเราจะเห็นอยู่ว่าตัวละครพูดภาษาไทยอย่างชัดเจน

ทำไมเรื่องนี้ถึงน่าสนใน ก็เนื่องจากการนำเรื่องของเหตุการณ์ทางการเมืองของบ้านเรามาใส่ในหนังเรื่องนี้อย่างชัดเจน ถึงแม้จะไม่เอ่ยถึงชื่อประเทศ ก็สามารถเดาได้อย่างชัดเจนว่าหนังเรื่องนี้กล่าวถึงประเทศไทย รวมถึงสัญลักษณ์ต่างๆ  ในหนัง เช่น การก่อม๊อบ รวมถึงการปิดผ้าโพกหัวสีแดง นั้นก็ถือเป็นสัญลักษณ์ที่สอดคล้องกับเหตุการณ์ทางการเมืองในบ้านเรา ที่เคยประสบมาในอดีตแล้วทั้งสิ้น

ก็น่าคิดเหมือนกันว่าคนไทยเราอาจจะเคยชินกับภาพเหตุการณ์ดังกล่าวแล้ว แต่สำหรับต่างชาตินั้น เค้าก็มองในด้านลบสำหรับเหตุการณ์ในบ้านเรา ถึงขึ้นนำมาทำเป็นหนังได้ ก็แสดงถึงความคิดของทางฝั่งเค้าว่ามองกับการเมืองของเราอย่างไร รวมถึงบางอย่างที่แสดงออกในหนัง อย่างตลาดที่มีของสดออกมาขายเต็มไปหมดหรือ การเชือดปลาในตลาดสด ๆ นั้น ถือว่าเป็นสิ่งที่มองเราในเชิงดูถูกก็ว่าได้ ซึ่งเราจะเห็นได้จากหนัง hollywood หลายๆ เรื่องที่เอ่ยถึงบ้านเราก็มักจะมีแต่เรื่องเดิม ๆ ถ่ายในสถานที่เดิม ๆ เช่นใน ถนนข้าวสาร หรือ ที่ ๆ ไม่มีความเจริญ ดูตึกรามบ้านช่องไม่ทันสมัย รวมถึงอาชีพของผู้หญิงกลางคืนของบ้านเรา ที่แทบจะอยู่ในบทของหนัง hollywood แทบทุกเรื่องที่เอ่ยถึงบ้านเรา

เมื่อพูดถึงการแสดง ถือว่า Own Wilson นั้นแสดงได้ดีมาก ๆ ในเรื่องนี้ลืมภาพเก่า ๆ ของเค้าไปได้เลย กับ บท comedy แนวสนุกสนาน แต่เรื่องนี้เนื้อเรื่องค่อนข้างที่จะ serious สมกับชื่อเรื่อง No Escape ที่ตัวเอกต้องหนีจากสถานการณ์วุ่นวายของประเทศ ที่ไล่ฆ่าฟัน กันอย่างบ้าเลือด รวมถึง การจัดการกับนักท่องเที่ยวต่่างชาติทุกคน เนื่องจากการที่จะเข้ามายึดเอาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของประเทศนี้ ( ตัวเอกทำงานให้กับบริษัทที่เกี่ยวข้องกับสัมปทานการประปา)  สำหรับคนไทย ก็จะอินกับเรื่องได้ง่าย เนื่องจากเคยประสบเหตุการณ์ที่ใกล้เคียงเหตุการณ์ ตามเนื้อเรื่องมาแล้ว ก็ถือว่าทางผู้กำกับได้นำเสนอมุมของประเทศเราได้อย่างน่าสนใจเลยทีเดียวสำหรับหนังเรื่องนี้ ถึงแม้จะไม่มีการเอ่ยกันตรง ๆ ว่าเป็นประเทศไทย

เก็บตกจากหนัง

  • เป็นหนังที่มีเนื้อหาเกี่ยวโยงกับปัญหาทางด้านการเมืองของประเทศเราในอดีตที่ผ่านมา
  • หนังค่อนข้างตีความประเทศในเรื่องหลายอย่างในแง่ลบเกินไป
  • เราอาจจะลืมบทบาทเก่าๆ  ของ Owen Wilson ไปเลยเมื่อได้ดูหนังเรื่องนี้

คะแนน

9/10


สรุป
“เป็นการนำสถานการณ์การเมืองในประเทศสมมติที่มีนำมาเสนอในมุมของหนังได้อย่างน่าสนใจเลทีเดียว”